สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    สังวรคาถา


    lphor_tesna_vn.jpg


    30 กรกฎาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
    โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ กุสีตํ หีนวีริยํ
    ตํ เว ปสหตี มาโร วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลนฺติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในสังวรคาถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภความสำรวม ระวัง เพราะเราท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย คฤหัสถ์บรรพชิตทุกท่านถ้วนหน้า เมื่อได้มา ปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ถ้าปราศจากความสำรวมระวังแล้วก็เป็นประพฤติปฏิบัติดีไม่ได้ ถ้าว่าไม่ปราศจากความสำรวมระวังแล้ว เป็นอันประพฤติดีได้ ปฏิบัติดีได้ เหตุนั้นเราท่าน ทั้งหลายควรตั้งอยู่ในความสำรวมระวัง ความสำรวมระวังนี้พระองค์ทรงรับสั่งนัก ตักเตือน อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ สามเณร ในธรรมวินัย เพื่อจะให้ตรงต่อมรรคผลนิพพานทีเดียว ถ้าแม้ว่าปราศจากความสำรวมระวังแล้ว จะไปสู่มรรคผลนิพพานไม่ได้ ต้องเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่รู้จักจบจักแล้ว ต้องเวียนว่ายข้องขัดอยู่ในวัฏฏะทั้ง 3 คือ กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ พ้นจากวัฏฏะไปไม่ได้ จะไปจากวัฏฏะได้ต้องอาศัยความ สำรวมระวัง ที่พระองค์ทรงรับสั่งตามวาระพระบาลีว่า สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุ ํ กุสีตํ หีนวีริยํ ตํ เว ปสหตี มาโร มารย่อมรังควานบุคคลนั้นได้ คือ สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ ผู้เห็นตามซึ่งอารมณ์อันงามอยู่ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จัก ประมาณในโภชนะการบริโภคอยู่ กุสีตํ จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด คือไม่มีศรัทธา เกียจคร้าน หีนวิริยํ มีความเพียรเลวทราม วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ เหมือนลมเมื่อพัดมาแต่ เล็กน้อยเท่านั้น ต้นไม้ที่ใกล้จะทลายอยู่แล้ว ไปกระทบลมเข้าจากทิศ ทั้ง 4 ทิศแต่อย่างใด อย่างหนึ่ง ก็โค่นล้มลงไปง่ายๆ เพราะมันใกล้จะล้มอยู่แล้วนั้น อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ โภชนมฺหิ มตฺตญฺญุ ํ สทฺธํ อารทฺธวีริยํ ตํ เว นปฺปสหตี มาโร วาโต เสลํว ปพฺพตํ บุคคลผู้เห็นตามอารมณ์อันไม่งามอยู่ สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ เครื่องใช้สอยกินอยู่บริโภค มีศรัทธา ปรารภความเพียร นั้นแหละ มารรังควานไม่ได้ เหมือนลมซึ่งจะพัดภูเขาอันล้วนแล้วด้วยหินให้สะเทือนไม่ได้ จกฺขุนา สํวโร สาธุ สำรวม นัยน์ตาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สาธุ โสเตน สํวโร สำรวมหูได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ฆาเนน สํวโร สาธุ สำรวมจมูกได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สาธุ ชิวฺหาย สํวโร สำรวมลิ้นได้ยังประโยชน์ ให้สำเร็จ กาเยน สํวโร สาธุ สำรวมกายได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สาธุ วาจาย สํวโร สำรวม วาจาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ มนสา สํวโร สาธุ สำรวมใจได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร สำรวมในทวารทั้ง 6 นั้นได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกษุผู้ สำรวมได้แล้วในทวารทั้งสิ้น สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ด้วย ประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้

    ต่อจากนี้จะได้อรรถาธิบายขยายความในสังวรคาถาเป็นลำดับๆ ไป เพราะว่าเป็น ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี เมื่อไม่มีความสำรวมแล้ว จะเป็นภิกษุที่ดี ไม่ได้ หรือจะเป็นสามเณรที่ดีก็ไม่ได้ หรือจะเป็นอุบาสกที่ดีก็ไม่ได้ เป็นอุบาสิกาที่ดีก็ไม่ได้ เพราะปราศจากความสำรวม ถ้าว่าสำรวมได้เสียแล้วก็เป็นคนดี ภิกษุก็เป็นภิกษุดี สามเณร ก็เป็นสามเณรดี อุบาสกก็เป็นอุบาสกดี อุบาสิกาก็เป็นอุบาสิกาดี เพราะความสำรวมเสียได้

    ผู้สำรวมได้-ไม่ได้ เป็นไฉน ผู้เห็นตามอารมณ์ที่งามอยู่ รูปก็น่าจะชอบใจ น่าปลื้มใจ น่าปีติ น่าเลื่อมใส ไปเพลินในรูปเสียแล้ว เสียงเป็นที่ชอบใจก็ชอบใจในเสียง เสียงอันน่า ปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ ร่าเริงบันเทิงใจ ไปเพลินในเสียงเสียแล้ว กลิ่นหอม เป็นที่นิยมชมชอบประกอบด้วยความเอิบอาบ ปลื้มปีติ ปลาบปลื้มในใจด้วยกันทั้งนั้น เอ้า! ไปเพลินในกลิ่นเสียแล้ว รสเป็นที่ชอบใจ ปลื้มปีติในรสนั้น ชอบเพลิดเพลินในรสนั้นๆ เอ้า! ไปเพลินในรสนั้นๆ เสียแล้ว สัมผัสเป็นที่ชอบใจ ร่าเริงบันเทิงใจ ไม่อยากทิ้งไม่อยากขว้าง ไม่อยากห่างไป เหมือนนกกระเรียนตกเปือกตม เพลินอยู่ในสัมผัสนั้น ทิ้งสัมผัสไม่ได้ เพลิดเพลินในสัมผัสเสียแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นี่เรียกว่า โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่เกิด กับใจ นอนครึ่งคืนค่อนคืนไม่หลับ เพลิดเพลินอารมณ์ที่ล่วงไปเสียแล้วคราวนั้นๆ เพลิด เพลินนึกถึงอารมณ์ก็เพลินไปในเรื่องอารมณ์นั้นๆ อารมณ์ในปัจจุบันละก้อ เพลิดเพลิน เหมือนกัน จะพบอารมณ์ต่อไปข้างหน้าเรื่อยทีเดียว จะพบอารมณ์ต่อไปข้างหน้า เพลิดเพลิน อีกเหมือนกัน ถ้าไปเพลิดเพลินอารมณ์ดังนั้น ได้ชื่อว่าสำรวมไม่ได้ เมื่อสำรวมไม่ได้เช่นนี้

    เรียกว่าเพลิดเพลินยินดีในอารมณ์ที่ชอบใจ หลงใหลในอารมณ์ที่ชอบใจ คลั่งไคล้ในอารมณ์ ที่ชอบใจ ร่าเริงบันเทิงใจในอารมณ์ที่ชอบใจ เมื่อสำรวมไม่ได้เช่นนี้ เมื่อเพลิดเพลินเสียดังนี้ ละก้อ อินฺทฺริเยสุ อสํวุโต มันก็ไม่ระวังตา ไม่ระวังหู ไม่ระวังจมูก ไม่ระวังลิ้น ไม่ระวังกาย ไม่ระวังใจ ไม่ระวังอินทรีย์ทั้ง 6 อินทรีย์ทั้ง 6 เป็นตัวศีลสำคัญของพระภิกษุสามเณรทีเดียว ถ้าทอดธุระเสียแล้วก็เหลวไหลทีเดียว ถ้าไม่ทอดธุระละก็ใช้ได้ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุ ํ ไม่รู้จัก ประมาณในโภชนาหาร ไม่รู้จักบริโภคโภชนาหาร ถึงกับเป็นหนี้เป็นข้าเป็นบ่าวเขาเชียวหนา ไม่รู้จักบริโภคในโภชนาหารนะ คือไม่รู้จักประมาณใช้สอย หาเงินเท่าไรก็ใช้ไม่พอ หาเงิน เท่าไรก็หมด ใช้ไม่รู้จักประมาณ บริโภคก็ไม่รู้จักประมาณ ไม่รู้จักประมาณในวันนี้ พรุ่งนี้ต่อไป ก็ไม่รู้จักประมาณ ต้องกู้หนี้ยืมสินเขาบริโภคใช้สอยไป นี่เพราะไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย ในการบริโภค นี่ก็ร้ายกาจนัก หรือบริโภคเข้าไปแล้ว ไฟธาตุย่อยอาหารไม่สำเร็จ เกิดโรคภัย ไข้เจ็บขึ้น ถึงแก่เป็นอันตรายแก่ชีวิตทีเดียว นี่ต้องคอยระแวดระวัง โภชนาอาหารต้องระวัง มากทีเดียว ถ้าระวังไม่มากก็ให้โทษแก่ตัวไม่ใช่น้อย กุสีตํ จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึง เกลียด กุสีตํ เขาแปลว่า คนเกียจคร้าน คนไม่มีศรัทธา มาอยู่วัดอยู่วาก็นอนอืด อยู่บ้านก็ นอนอืด ไม่มีศรัทธาไม่เชื่อมั่นเข้าไปในพระรัตนตรัย เป็นคนปราศจากความศรัทธา เป็นคน เกียจคร้านเช่นนี้แล้วละก็ บัณฑิตเกลียดนัก ท่านถึงได้แปลว่า กุสีตํ ผู้จมอยู่ด้วยอาการอัน บัณฑิตพึงเกลียด คนมีปัญญาเกลียดนักคนเกียจคร้าน แต่ชอบสรรเสริญนิยมคนขยัน คนหมั่น ขยัน คนเพียร คนมีศรัทธาเลื่อมใส นั่นเป็นที่ชอบของนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลาย คนเกียจ คร้านเป็นไม่ชอบ หีนวีริยํ มีความเพียรเลว มีความเพียรเลวทำแต่ชั่วด้วยกาย ชั่วด้วยวาจา ชั่วด้วยใจต่างๆ ความเพียรใช้ไม่ได้ ถึงจะเพียรทำไปสักเท่าใด ก็ให้โทษแก่ตัว ไม่ได้ประโยชน์ แก่ตัว ในจำพวกเหล่านี้ได้ชื่อว่าไม่พ้นมาร มารย่อมรังควานได้ เป็นลูกมือของพญามาร มาร จะต้องการอย่างไรก็ได้สมความปรารถนาของมารทุกสิ่งทุกประการ จะให้ครองเรือนเสียตลอด ชาติ ไม่ขยันตัว จำศีลภาวนาได้ ก็ต้องเป็นไปตามอำนาจของมาร จะให้ไปดูมหรสพต่างๆ ตามใจมาร บังคับให้เป็นไปตามอัธยาศัยของมารแท้ๆ เหตุนี้แหละ เหมือนต้นไม้ทุพพลภาพ อยู่เต็มทีแล้ว น้ำก็เซาะเข้าไปๆ ใกล้จะพังอยู่เต็มทีแล้ว ร่องแร่งอยู่เต็มทีแล้ว ลมพัดไม่สู้แรง นักหรอก กระพือมาพักหนึ่งค่อยๆ ก็เอนไปแล้ว นั่นฉันใด พวกที่ไม่สำรวมเห็นอารมณ์งาม ไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย ไม่มีศรัทธา เป็นคนเกียจคร้าน พวกเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ พญามารทั้งนั้น ไม่ใช่ลูกศิษย์ของพระ เป็นลูกศิษย์ของพญามาร มารจูงลากไปเสียตามความ ปรารถนา ฉันนั้น

    ส่วนลูกศิษย์ของพระอีกพวกหนึ่ง อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ เห็นตามอารมณ์ว่าไม่งามอยู่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เห็นว่าไม่งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เหล่านั้นเห็นว่าไม่งาม ไม่งามทั้งนั้น รูปเมื่อมีแล้วก็หาไม่ เกิดแล้วดับไป แปรผันอยู่เนืองนิจ อัตรา แม้จะงามก็ทำกิริยาหลอกลวงทั้งนั้น ตัวจริงไม่มี ตัวจริงของรูปงามไม่มี เสียงไพเราะ ก็ไม่มี เสียงหลอกลวงทั้งนั้น เป็นเสียอย่างนี้ กลิ่นจริงๆ ก็ไม่มี กลิ่นหอมหลอกลวงทั้งนั้น รสจริงๆ ก็ไม่มี รสหลอกลวงทั้งนั้น สัมผัสก็ไม่มี สัมผัสหลอกลวงทั้งนั้น ธรรมารมณ์ก็ไม่มี หลอกลวงทั้งนั้น เมื่อเห็นไม่งามอยู่ดังนี้ละก็ อินฺทฺริเยสุ สํวุโต ก็สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านยืนยันไว้ในท้ายบทนี้ว่าสำรวมนัยน์ตาได้ ยังประโยชน์ ให้สำเร็จ สำรวมหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมจมูกได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวม ลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมกายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมใจได้ ก็ยังประโยชน์ ให้สำเร็จหนักขึ้นไป นี่เป็นข้อสำคัญ ต้องสำรวมระวังไว้ ถ้าสำรวมระวังไม่ได้มันก็ให้โทษ

    ดังจะชักตัวอย่าง สำรวมตาไม่ได้ ชอบดู ชอบไปดูโน่นดูนี่ ในการไปดูเป็นอย่างไร บ้าง เป็นอันตราย รถชนก็มี ไปดูไฟไหม้เหยียบกันเหลวแหลกตายก็มี นี่เพราะอะไร ชอบดู ละซิ ชอบดูนั่น ร้ายนักหละ ในกลางค่ำกลางคืนเขาประหารซึ่งกันและกัน พลาดเนื้อพลาดตัว ถึงกับเขายิงตาย ฟันตาย แทงตายกันอเนกอนันต์สุดซึ้งจะพรรณา มีทุกบ้านทุกช่องไป นี่ เพราะระวังการดูไว้ไม่ได้ อยากดูอยากฟัง นี่เป็นข้อสำคัญอยู่ ให้สำรวมระวังไว้เถอะ ไม่ไร้ โทษนัก ต้องคอยระแวดระวังทีเดียว เพราะการดูเป็นคุณก็มี โทษก็มี ภิกฺขูนํ ทสฺสนาย ดูแลพระภิกษุไม่เป็นโทษ ดูแลหมู่พระภิกษุให้เล่าเรียนศึกษาคันถธุระ วิปัสสนาธุระ ดูแลเหมือนอย่างกับพ่อแม่ดูแลลูกนั้น อย่างนี้ไม่เป็นโทษ หรือพ่อแม่ดูแลลูกให้เล่าเรียน ศึกษาทำความดีต่อไป อย่างนี้ไม่มีโทษ การดูแลอย่างอื่น ดูแลมหรสพต่างๆ เสียเงินด้วย เสียเวลาด้วย ด้วยประการทั้งปวง เหตุนี้ต้องระแวดระวังทีเดียว ต้องสำรวมระวังรักษาทีเดียว ถ้าว่าระวังนัยน์ตาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ระวังหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมระวัง จมูกได้อย่างเดียว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมระวัง กายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมระวังใจได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทีเดียว อินฺทฺริเยสุ สํวุโต สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย โภชนมฺหิ มตฺตญฺญุ ํ รู้จักประมาณในการบริโภคพอดี เรื่องนี้ ครั้งพุทธกาลก็ดี หลังพุทธกาลก็ดี แข่งขันกันนักในเรื่องรู้จักประมาณในการบริโภค บาง ท่านตวงเอาเครื่องตวงมาตวงบ้าง เอาแล่งตวงบ้าง หรือไม่เช่นนั้นก็วัดกำหนดอาหาร เท่านั้นเท่านี้บ้าง กำหนดด้วยข้าวสารบ้าง ด้วยข้าวสุกบ้าง บริโภคพอในเขตที่สำรวมของ ตนๆ ไม่ให้พ้นความสำรวมไปได้ ระวังอยู่ดังนี้ บางท่านเอาท้องเป็นประมาณ กุจฺฉิปฺปมาณํ ประมาณท้องอิ่มแล้วเป็นหยุดทีเดียว ไม่ให้เกินอิ่มไป สักคำเดียวก็ไม่ให้เกิน หรือ หย่อนอิ่มไว้สักคำ เผื่อน้ำไว้เล็กน้อยให้ท้องไม่อืด ให้ท้องไม่เฟ้อ ประสงค์ให้ธาตุย่อยง่ายๆ อย่างนี้เรียกว่ารู้จักสำรวม เช่นนี้แล้วก็รู้จักสำรวม ไม่สำรวมพอดีพอร้าย ของนี่เคยบริโภค ไหม เป็นประโยชน์แก่ร่างกายแค่ไหน บริโภคเข้าไปแล้วเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ให้ความ สุขแก่ร่างกายไหม ถ้าสิ่งใดให้ความสุขแก่ร่างกายก็รับสิ่งนั้นพออิ่มเท่านั้น สิ่งใดให้โทษทุกข์ แก่ร่างกายก็ไม่รับสิ่งนั้นเด็ดขาด ห้ามสิ่งนั้นทีเดียว เพราะกลัวจะไปประทุษร้ายร่างกาย สิ่งใดที่ให้โทษร่างกายก็งดสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดให้ประโยชน์แก่ร่างกายก็บริโภคสิ่งนั้น การบริโภค ไม่ใช่บริโภคทั่วไป ไม่ใช่ดีเสมอไป แม้ชอบใจแล้ว ไปวันหลัง เดือนหลัง ปีหลัง ก็ชอบใจก็ได้ เป็นอย่างคนแก่ชอบมะระ เด็กๆ ไม่ชอบ บอกว่าขม คนแก่ชอบมะระ ขมนี่ มันไม่เหมือนกัน อย่างนี้ มันต่างกันอย่างนี้ อย่างนี้เป็นตัวอย่าง บางท่านชอบอย่างนั้นอย่างนี้ นี่สังกัดหรือ จำกัดมิได้ แล้วแต่ธาตุธรรมของตนซึ่งจะเป็นไปอย่างไร เมื่อสะดวกแก่ร่างกายด้วยประการ ใดแล้ว ก็ให้สำรวมวิถี ให้รู้จักประมาณในการใช้นั้น ให้สมควรแก่ร่างกายนั้นๆ ให้ได้รับความ สุขพอสมควรแก่ร่างกายของตนๆ อันนี้แหละได้ชื่อว่ารู้จักประมาณในการใช้สอย ไม่ใช่ใช้สอย แต่อาหารอย่างเดียวนะ ผ้าสำหรับใช้สอยก็ต้องรู้จักกระเหม็ดกระแหม่ ต้องรู้จักเปลือง รู้จักเก่า รู้จักเสียหาย ถ้าไม่รู้จักก็จักเป็นหนี้เป็นบ่าวเขาทีเดียวนะ เพราะเหตุว่าใช้ผ้านุ่งห่ม ไม่เป็น ไม่ใช่แต่ผ้านุ่งเท่านั้น ไม่ใช่ผ้านุ่ง อาหารเลี้ยงท้องเท่านั้น อื่นอีกที่จะใช้สอยต่อไป เสนาสนะที่นั่งนอน บ้านเรือนของตนด้วย เมื่อทรุดโทรมเข้าแล้ว ไม่ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ หรือใช้ให้ทำลาย ของถูกน้ำอย่าเอาน้ำไปราดไปทำเข้า ของนั้นก็ผุเสียหายไป ที่ผุเสียหาย ต้องแก้ทีเดียว ถ้าปล่อยให้ผุเสียหายเสียเงินต้องซ่อมแซมปฏิสังขรณ์อีก บ้านสำหรับอยู่พัก อาศัยก็ต้องดูแลและฉลาดในการใช้สอยบ้านช่องของตนนั้นๆ หยูกยารักษาไข้ก็เช่นเดียวกัน จะใช้ก็ใช้ในเวลาเป็นไข้ เมื่อไม่เป็นไข้แล้วไปใช้ยาก็ลงโทษ เสียค่ายา เสียยาเปล่า ไม่รู้จัก ประโยชน์ นี่ไม่รู้จักประมาณทั้งนั้น พวกรู้จักประมาณและก็ใช้ถูกกาลเวลาเสมอไปในผ้า สำหรับนุ่งห่มและเครื่องเลี้ยงท้อง เสนาสนะบ้านช่องสำหรับพักอาศัย หยูกยาสำหรับ รักษาไข้ ปัจจัย 4 สำรวมระวังเป็นอันอย่างชนิดนี้ ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สำรวม รู้จักใช้สอย รู้จักประมาณกาล ควรหรือไม่ควร ศรัทธา ความเชื่อ เมื่อประพฤติถูกเช่นนี้ เชื่อแน่ก็ได้รับ ความสุขแท้ๆ ไม่ต้องไปสงสัย เชื่อมั่นลงไปทีเดียว เชื่อมั่นลงไปเช่นนั้นละก้อ การประพฤติ ปฏิบัติในพระธรรมวินัยของพระศาสดาเล่าเชื่อมั่นทีเดียว เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริงอยู่ พระ ธรรมมีจริงอยู่ พระสงฆ์มีจริงอยู่ เราเข้ายังไม่ถึง หรือ เราเข้าถึงแล้ว จักรักษาให้มั่น อย่าให้ ฟั่นเฟือนต่อไป อย่าให้มัวหมอง ให้ผ่องใสหนักขึ้น ให้เข้าถึงจุดหมายปลายทางที่พระพุทธเจ้า ไปแค่ไหนก็ไปให้ถึงแค่นั้น หรือ เมื่อรู้จักทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์แล้ว ตั้งใจให้ แน่วแน่ๆ ไม่ให้คลาดเคลื่อน รักษาไว้ นั่งนอนยืนเดินให้เห็นเสมอไป ให้รู้แน่ว่าเราตายจาก มนุษย์ชาตินี้ ต้องไปเกิดที่นี่ ที่อยู่เป็นดังนี้ๆ เห็นปรากฏ ผู้ที่เขาตายไปแล้วก็เห็นปรากฏ ผู้ที่เขาเกิดมาแล้ว มีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ เพราะทำสิ่งอันใด เมื่อรู้ชัดดังนั้นก็ทำแต่ สิ่งที่ดี ชอบดีก็ทำแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่ชั่วก็ไม่ทำต่อไป ดังนี้ได้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วยศรัทธา ความเชื่อ อารทฺธวิริโย ปรารภความเพียรอยู่เนืองนิจอัตรา ไม่ละเมินเหินห่างจากความ เพียร เมื่อรักษาศีล ก็เพียรรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่คลาดเคลื่อน เมื่อทำสมาธิก็เพียรทำสมาธิ ให้ยิ่งขึ้นไป เมื่อประกอบปัญญาก็ทำปัญญาให้รุ่งเรืองหนักขึ้นไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน ประกอบ ด้วยความเพียรอันนี้ หรือว่าเพียรต่ำลงไปกว่านั้น เพียรเลี้ยงอัตภาพร่างกายให้เป็นไปได้ สะดวก หรือเพียรแก้ไขใจ ให้เป็นไปได้โดยสะดวก ให้ถูกต้องร่องรอยทางไปของพระพุทธเจ้า อรหันต์ ดังนี้ก็ได้ชื่อว่า อารทฺธวีริโย ผู้ปรารภความเพียร ปรารภความเพียรอย่างนี้ใช้ได้ เมื่อทำได้ขนาดนี้ ท่านก็เชื่อชี้ว่ามารย่อมรังควานเขาไม่ได้ เพราะเขาเป็นผู้ตั้งอยู่ในความ มั่นคง เป็นเชื้อสายของพระสมณโคดม เป็นเชื้อสายของพระพุทธศาสนาทีเดียว ได้ชื่อว่า เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นลูกศิษย์ของพระยามาร มารรังควานไม่ได้ ทำอะไร ไม่ได้ ท่านจึงได้วางตำรับตำราไว้ จกฺขุนา สํวโร สาธุ สาธุ โสเตน สํวโร ฆาเนน สํวโร สาธุ ชิวฺหาย สาธุ สํวโร กาเยน สํวโร สาธุ สาธุ มนสา สํวโร สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกขุ สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ เมื่อสำรวมระวังดีได้เช่นนี้ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ให้รู้หลัก พระพุทธศาสนาเป็นสำคัญอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักเช่นนี้แล้ว เราจะต้องตั้งใจให้แน่แน่วบัดนี้ เป็นภิกษุก็ต้องตั้งอยู่ในศีล อยู่ในกรอบพระวินัย เป็นอุบาสก ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ สมาทาน ศีล ตั้งอยู่ในกรอบพระวินัยเหมือนกัน ศีล 5 ก็ต้องสำรวมระวังศีล 5 ให้ถูกร่องรอยเป็น อันดี ศีล 8 ก็ต้องสำรวมระวังศีล 8 ให้ถูกต้องร่องรอยเป็นอันดี ไม่ฉลาด ก็ต้องศึกษา เล่าเรียนให้เข้าเนื้อเข้าใจ ถ้าว่าศีล 10 ก็สำรวมระวังศีล 10 ให้ดี ถ้าไม่เข้าใจ ก็ต้อง ศึกษาให้เข้าเนื้อเข้าใจ ถ้าศีล 227 หรือเรียกว่า อปริยันตปาริสุทธิศีล ก็ตั้งอยู่ในศีลนั้น สำรวมระวังศีลให้ดี อย่าให้คลาดเคลื่อนจากศีล สำรวมระวัง

    จะสำรวมระวังอย่างไร

    สำรวมศีล ใจต้องอยู่ศูนย์กลางกายที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ นั่นแหละที่ตั้งของศีล ที่เกิดของศีลนั้น จะต้องอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมนั้นอยู่กลาง กายมนุษย์ ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มตรึง ขวาทะลุซ้ายขึงด้ายกลุ่มตรึง ตรงกลางเส้นด้ายกลุ่มนั้นจรดกัน กลางกั๊กที่ตัดกันนั่นเรียกว่า “กลางกั๊ก” ตรงดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ เอาใจไปหยุดอยู่ตรงนั้น เอาใจหยุด ตรงนั้น ถ้าหยุดตรงนั้นไม่ได้ละก้อ ไม่ถูกความสำรวมหละ สำรวมไม่ถูกเสียแล้ว อยู่ตรง นั้นได้ ใจหยุดเสีย เอ้า! ตากระทบรูปฉาดเข้าให้ ใจก็หยุดเสีย พอตากระทบรูปฉาดเข้าให้ มันก็แลบแปลบเข้ามาถึงใจ หยุดนั่นเชียว ที่ใจหยุดนั่นเทียว บอกว่าเอาไม่เอาละ สวยยิ่ง เหลือเกิน ถ้าใจหยุดล่ะ อ้ายนี่เป็นพิษแก่ข้า ข้าไม่เอา หยุดเสียอย่างเก่า ไม่ขยับเขยื้อน ทีเดียว นี่สำรวมอย่างนี้ วิธีสำรวม หูกระทบเสียงแปลบเข้า อ้า! เป็นที่ปลาบปลื้มของใจจริง อย่างไร เอาหรือไม่เอา ไม่ได้ๆๆๆๆ ไปรักมันเข้าละก้อ มันเป็นอภิชฌา เดี๋ยวก็ไปเพ่งมัน เดี๋ยวก็เป็นโทมนัส เดี๋ยวก็ดีใจเสียใจกับเสียงหละ ไม่ได้การ ใจหยุดกึกเสีย ไม่เป็นไปตาม ความปลื้มใจ อิ่มในเสียงนั้น กลิ่นกระทบจมูกชาบเข้าให้ แล่นเข้าใจแปลบเข้าไปอีกเหมือนกัน อย่างไร กลิ่นนี้มันหอมชื่นใจนัก จะเอาหรือไม่เอา ใจก็หยุดกึกเสีย ไม่ได้อ้ายนี่ ถ้าว่าปล่อย ให้ อภิชฌา โทมนัส ถ้าไปติดมันเดี๋ยวก็ดีใจเสียใจหละ อ้ายนี่ ทำให้ดีใจเสียใจของเราให้ต่ำ ให้หยุดเสียให้ได้ อ้ายนี่เป็นข้าศึกต่อเราตรงๆ ไม่ใช่เป็นสภาคแก่เรา เป็นวิสภาค แก่เราแท้ๆ ใจก็หยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดนิ่ง กระทบรสฉาดเข้าไปอีก แหม! เป็นที่ชอบใจเสียจริงๆ อ้ายรสนี่สำคัญแท้ๆ ใจก็นิ่งเสียอีกไม่ข้องแวะ ไม่เหลียวแล ไม่ระวังระไว มันเป็นโทษแก่เรา ถ้าว่าขืนไปรักอ้ายรสนี้ละก็ เดี๋ยวความดีใจเสียใจมันต้อง ประทุษร้ายเรา ใจก็จะนิ่งอยู่ไม่ได้ มันก็จะฆ่าเราเสียเท่านั้น ไม่ได้ เราก็ไม่ไป นิ่งเสียอีก ใจนิ่ง อยู่นั้น เหมือนกันครานี้ ต่อไปสัมผัสกระทบร่างกาย เย็นร้อนอ่อนแข็ง เอ้า! ชอบใจหรือไม่ ชอบใจเล่า ที่ปลาบปลื้ม ที่เย็นใจ ที่สบายกายหละ ถูกเข้ามันนิ่มนวลชวนปลาบปลื้มทีเดียว ไม่ได้ ไปยุ่งกับอ้ายความสัมผัสไม่ได้ อ้ายนี่เข้ายุ่งกับมันเข้าประเดี๋ยวเถอะ พาโทมนัสมา ประทุษร้ายใจเรา ใจเราหยุดไม่ได้ เดี๋ยวเสียภูมิ ใจของเรานักปราชญ์ จะเป็นใจของคนพาล เสีย ก็ไม่ไป หยุดนิ่งเสียอีกเหมือนกัน เมื่อหยุดนิ่งเช่นนั้น ทั้ง 5 อย่างมารวมกันเป็นกลุ่ม กึ๊กเข้าให้อีก มากระทบอีกแล้ว ทั้งดีทั้งชั่วนั้นแหละ ไม่เข้าใจหละ ข้าไม่เป็นไปกับเจ้า ข้าใจ หยุดนิ่ง หยุดหนักเข้า หยุดในหยุดหนักเข้าไป ให้เลยเข้ามานี้ไม่ได้ ถ้าเลยเข้ามานี้ได้ ก็ขาดความสำรวม ถ้าขาดความสำรวมก็เป็นโทษ ใจก็เป็นโทษ เป็นโทษเป็นอย่างไร อภิชฌา เขาก็บังคับใจ เดี๋ยวก็ดีใจเสียใจ ถ้าหากว่าญาติพี่น้องวงศาลูกตายหรือเมียตาย ก็จะต้อง ร้องไห้โร่ไปเท่านั้นแหละ อภิชฌา โทมนัสบังคับเสียแล้ว ถ้าจะให้อภิชฌา โทมนัส บังคับไม่ได้ ก็จงทำใจให้หยุดเสีย ตายเราก็ตายเหมือนกัน เขาก็ตายเหมือนกันหมดทั้งสากลโลก ไม่เหลือ แต่คนเดียว ตายหมดกัน ถ้านิ่งอยู่ที่เดียวก็เห็นจริงอยู่อย่างนี้ เมื่อเห็นจริงมันก็ไม่ร้องไห้ ไม่เสียใจ ไม่โทมนัส ไม่ดีใจไม่เสียใจ เพราะสำรวมระวังไว้ได้ ถ้าสำรวมระวังไว้ไม่ได้ มันก็ เสียใจเท่านั้น ที่กระทบตัว ฆ่าตัวเองตาย อย่างนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำรวมไม่ได้ เพราะ นิดเดียวเท่านั้นแหละ มีพระดาบสคนหนึ่งแกอยู่ในป่าช้า ป่าชัฏทีเดียว อยู่มาหลายสิบปี วันหนึ่ง โลณมฺพิลเสวนตฺถาย ต้องการจะเสพรสเค็มรสเปรี้ยวเข้ามาแล้ว เข้าไปอยู่ในบ้าน ใกล้เคียงบ้านเขา ไปแสวงหาอาหารบาตรเหมือนพระบิณฑบาตดังนั้นแหละ ชาวบ้านเขาก็ ใส่แกงเหี้ยมาให้ถ้วยหนึ่ง ดาบสคนนั้น มหาโคธาเหี้ยใหญ่ตัวหนึ่งปฏิบัติแกดีอยู่ ด้วยว่า เป็นเหี้ยโพธิสัตว์ พอแกได้ฉันแกงเหี้ยไปถ้วยหนึ่ง รสมันดีเหลือเกิน กลับมาถามเจ้าของ ใน วันรุ่งขึ้นว่า แกงที่ให้ไปนั้นเป็นแกงอะไร รสมันอร่อยนัก ผู้เจ้าของที่เขาใส่แกงไปให้ เขาบอก ว่าแกงเหี้ยละซิ พระคุณเจ้า โอ้! นึกในใจ อ้ายเหี้ยมันมีรสชาติดีขนาดนี้เชียวหรือ อ้ายเหี้ย ที่ปฏิบัติเราอยู่ตัวหนึ่ง มันคงจะกินได้หลายวัน เราจะฆ่าอ้ายเหี้ยตัวใหญ่เสียเถอะ เราจะไม่ เอาไว้หละ นั่นแน่สำรวมไม่ได้หละ นี่มันสำรวมไม่ได้ มันติดรสเสียแล้วหละ ติดรสถึงกับ จะฆ่าไอ้เหี้ยเสียนั่นแน่ะ ไม่ใช่พอดีพอร้ายนะ ไอ้ที่ฆ่าฟันกันตายอยู่โครมๆ นี้แหละ ฆ่าตัวเอง ตายบ้าง ฆ่าคนอื่นตายบ้าง ฟันแทงกันตายบ้าง เกิดรบรากันนะ ติดรสทั้งนั้นนะ ไม่ติดรส ก็ติดสัมผัส ไม่ติดสัมผัสก็ติดรูป ไม่ติดรูปก็ติดเสียง ไม่ติดเสียงก็ติดกลิ่น ไม่ติดกลิ่นก็ติดรส นี่แหละติดเหล่านี้ทั้งนั้น ที่ฆ่ากันตายร้ายนักทีเดียว ถ้าสำรวมไม่ได้ ร้ายนักทุกสิ่งทุกอย่าง หละ เป็นภัยหนักทีเดียว เหตุนี้ต้องตั้งอยู่ในความสำรวม แต่ว่าวิธีสำรวมบอกไว้แล้วนั้น ใจต้องหยุดอยู่กลางนั่นนะ หยุดนิ่งทีเดียว ต้องคอยระวังรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสใดๆ หรือ ธัมมารมณ์ใดๆ มันเล็ดลอดเข้าไปถึงที่ใจหยุดละก้อ มีรสมีชาติ รู้จักทุกคนแล้วว่ารสชาติ มันเป็นอย่างไร พอเวลามันเข้าไปเป็นอย่างไรล่ะ ไอ้รสชอบใจ รูปเป็นอย่างไรเล่า ก็เคยชอบ ใจรูปด้วยกันทุกคนนะ รสมันอย่างไรก็รู้จักกันทั้งนั้นแหละ นั่นแหละ มันเข้าไปเสียดแทงใจ ไอ้เสียงที่ชอบใจละ ไอ้เสียงที่ชอบใจก็รู้จักรสกันทุกคนแล้วว่าเป็นรสมันเป็นอย่างไร รู้จัก ทั้งนั้นแหละ เคยชอบใจเสียง ชอบใจกลิ่นละ ก็รู้จักด้วยใจทั้งนั้น ใจรู้กันทั้งนั้นแหละ เรียนแล้วด้วยกันทั้งนั้นแหละ เรียนอยู่เสมอแหละ กลิ่นรสนะ สัมผัสละ ก็รู้แล้วเหมือนกัน นี่รู้แล้วด้วยกันทั้งนั้น และถูกสัมผัสอยู่เสมอ นี่ธัมมารมณ์ที่เกิดกับใจก็นอนนิ่งอยู่ในมุ้ง คืน ยังรุ่ง ไม่หลับไม่นอน ก็คิดถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่ผ่านไปแล้วบ้าง ที่ในปัจจุบันบ้าง ที่จะมาข้างหน้าบ้าง ไปนอนตรึกตรองอยู่นั่นนะ ความยินดีหละ ไม่ให้ความยินดีเข้าไปประทุษ ร้ายใจหยุดนิ่งเสีย ให้ใจหยุดเสีย หยุดนั้นแหละถูกต้องร่องรอยความประสงค์พระพุทธศาสนา ที่ได้แนะนำไว้ในครั้งก่อนๆ แล้วว่า อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา พระอริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้กระทำการสละปล่อยอารมณ์ รูปารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์ ปล่อยหมดทีเดียว ลภติ สมาธึ ได้สมาธิแล้วใจหยุดนิ่ง นั่นแน่เราจะทำ การปล่อยอารมณ์เสีย อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา อริยสาวกในธรรมวินัยของ พระตถาคตเจ้านี้กระทำปล่อยอารมณ์ สละอารมณ์เสียได้แล้ว ลภติ สมาธึ จิตไม่เกี่ยวกับ อารมณ์ ใจไม่เกี่ยวกับอารมณ์ หยุดนิ่งทีเดียว ได้ซึ่งสมาธิ ลภติ จิตฺตสฺเสกกฺคตํ นิ่งหนักเข้า พอได้หนักเข้า แน่นหนาเข้าทุกที ก็ได้เอกัคคตาจิต นี่ต้องสำรวมอย่างนี้นะ จึงจะถูกต้องความ ประสงค์ใจดำของพระพุทธศาสนา สำรวมได้เช่นนี้จะเอาตัวรอดได้ เข้าถึงซึ่งสมาธิ เมื่อเข้าถึง ซึ่งสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นลำดับได้ ก็จะได้บรรลุมรรคผลสมมาดปรารถนา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาในสังวรคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ ต้นจนอวสานนี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า บรรดามาสโมสรเพื่อทำสวนกิจในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอสมควร แก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    รตนัตตยคมนปณามคาถา


    lphor_tesna_vn.jpg


    6 มีนาคม 2492

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ
    นานาโหนฺตมฺปิ วตฺถุโต
    เอกิภูตมฺปนตฺถโต
    ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ จาติ
    อญฺญมญฺญาวิโยคาว
    พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา
    สงฺโฆ จ สาวโก พุทฺธสฺส
    อิจฺเจกาพุทฺธเมวิทนฺติ.
    ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก



    อาตมาขอโอกาสแด่ท่านมหาชนทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบรรดามีศาสนาเป็นภารกิจ หวังปฏิบัติให้ถูกสนิทตามศาสนาของตนๆ จึงได้อุตส่าห์พากันทรมานร่างกายในเวลาทำกิจทางศาสนา ทุกๆ ศาสนาล้วนแต่สอนให้ละความชั่วประพฤติความดีสิ้น ด้วยกันทุกชาติทุกภาษา

    ส่วนในทางพระพุทธศาสนา เวลาเช้าเวลาเย็นไหว้พระบูชาพระ และสวดสังเวคกถา ปสาทกถา ตามกาลเวลาเสร็จแล้ว ที่มีกิจเรียนคันถธุระก็เรียนไป ที่มีกิจเรียนวิปัสสนาธุระก็เรียนไป ฝ่ายพระเถรานุเถระก็เอาใจใส่ตักเตือนซึ่งกันและกันตามหน้าที่ เพื่อจะได้รักษาเนติแบบแผนอันดีของสาธุชนในพุทธศาสนาไว้ ให้เป็นตำรับตำราสืบสายพระศาสนาไป

    บัดนี้ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย ฟังปณามคาถา ความนอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต อนาคต ปัจจุบัน และถึงเป็นที่พึ่ง โดยย่อ

    ความนอบน้อมมาจาก นโม “นโม” แปลว่า นอบน้อม เป็นบุคลาธิษฐาน คือ นอบน้อมด้วยกาย นอบน้อมด้วยวาจา นอบน้อมด้วยใจ นอบน้อมในพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์มีพระชนมายุอยู่ อุบาสกอุบาสิกาเข้าไปสู่ที่เฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือกราบพร้อมด้วยองค์ 5 เข่าและศอกทั้ง 2 ต่อกัน ฝ่ามือทั้ง 2 วางลงให้เสมอกัน ก้มศีรษะลงให้หน้าจรดพื้นในระหว่างมือทั้ง 2 นั้น หรือในระหว่างที่เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั้น คอยฟังพระโอวาทานุสาสนีของพระองค์ ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาออกในระหว่างที่พระองค์ทรงรับสั่งอยู่ เป็นการรบกวนพระองค์ด้วยวาจา ให้เป็นที่ระแคะระคายพระทัย

    อนึ่ง เมื่อเข้าไปสู่ที่เฝ้า ไม่นั่งให้ไกลนัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ ด้วยต้องออกพระกำลังเสียงในเวลารับสั่ง ไม่นั่งให้ใกล้นัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ด้วยกายอันเป็นของปฏิกูล จะเป็นที่รำคาญพระนาสิกในเวลากลิ่นกายฟุ้งไป ไม่นั่งในที่เหนือลม ด้วยเคารพพระองค์ กลัวจะลมพัดเอากลิ่นกายที่ฟุ้งออกไปมากระทบพระนาสิกของพระองค์ ไม่นั่งในที่ตรงพระพักตร์นัก กลัวจะเป็นที่รำคาญพระเนตรทั้งสองของพระองค์ ไม่นั่งในที่เบื้องหลังนัก เกรงว่าพระองค์จะต้องหันพระพักตร์มากไปในเวลาจะทรงรับสั่ง ต้องนั่งในที่สมควรนอกจากที่ๆ แสดงมาแล้ว ในเวลาอยู่ในที่เฝ้า ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาให้เป็นที่รำคาญพระทัยแด่พระองค์ ดังนี้แล นอบน้อมด้วยกายในพระองค์

    ในเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ยังเหลือแต่เจดีย์ 4 เหล่า คือ บริโภคเจดีย์ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ พุทธศาสนิกชนไปถึงที่เช่นนั้นเข้าแล้ว ในเมื่อกั้นร่ม ควรลดร่มลง ห่มผ้าปิด 2 บ่า ควรลดออกเสียบ่าหนึ่ง ในเมื่อสวมรองเท้าเข้าไป ควรถอดรองเท้าเสีย และเข้าไปในที่นั้นไม่ควรแสดงอึงคะนึงและไม่เคารพ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องแสดงเคารพอย่างจริงใจ ไม่ทิ้งของที่สกปรกลงไว้ เช่น ก้นบุหรี่ หรือชานหมาก น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่บริเวณนั้น เมื่อเข้าไปในที่นั้นเห็นรกปัดกวาดเสีย ถากถางเสีย เห็นไม่สะอาด ทำให้สะอาด เห็นผุพัง ควรแก้ไข ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ได้ก็ยิ่งดี ดังนี้เป็นความนอบน้อมพระผู้มีพระภาคด้วยกาย โดยบุคลาธิษฐาน

    อนึ่ง นำเรื่องของพระรัตนตรัยไปสรรเสริญในที่นั้น แก่บุคคลนั้นอยู่เนืองๆ ดังนี้ ก็ชื่อว่า นอบน้อมด้วยวาจา

    และคิดถึงพระรัตนตรัยอยู่เนืองๆ ไม่ยอมให้ใจไปจรดอยู่กับอารมณ์สิ่งอื่นมากนัก คอยบังคับใจให้จรดอยู่กับพระรัตนตรัยเนืองๆ ดังนี้ ชื่อว่า นอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยใจ

    ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นองค์อรหันต์ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายต้องว่าดังนี้ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายในเวลาทำศาสนกิจทุกครั้ง เช่น พระเถรานุเถระกระทำสังฆกรรม และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายจะสมาทานศีล ก็ต้องว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” ถึง 3 หน จะว่าแต่เพียงหนหนึ่งหรือสองไม่ได้ หรือได้เหมือนกันแต่ว่าไม่เต็มรัตนตรัยทั้ง 3 กาล จะให้เต็มหรือถูกรัตนตรัยทั้ง 3 กาลแล้ว ต้องว่าให้เต็ม 3 หน หนที่ 1 นอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต หนที่ 2 นอบน้อมพระรัตนตรัยในปัจจุบัน หนที่ 3 นอบน้อมพระรัตนตรัยในอนาคต ทั้งหมดต้องว่า 3 หน จึงครบถ้วนถูกพระรัตนตรัยทั้ง 3 กาล

    รัตนตรัย แบ่งออกเป็น 2 คือ รัตนะ 1 ตรัย 1, รัตนะ แปลว่า แก้ว ตรัย แปลว่า 3 รัตนตรัยรวมกันเข้า แปลว่า แก้ว 3 พุทธรัตนะ แก้วคือพระพุทธ ธรรมรัตนะ แก้วคือพระธรรม สังฆรัตนะ แก้วคือพระสงฆ์ ทำไมจึงต้องเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มาเปรียบด้วยแก้ว ที่ต้องเปรียบด้วยแก้วนั้น เพราะแก้วเป็นวัตถุทำความยินดีให้บังเกิดแก่เจ้าของผู้ปกครองรักษา ถ้าผู้ใดมีแก้วมีเพชรไว้ในบ้านในเรือนมาก ผู้นั้นก็อิ่มใจ ดีใจ ด้วยคิดว่าเราไม่ใช่คนจน ปลื้มใจของตนด้วยความมั่งมี แม้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเล่า เห็นแก้วเห็นเพชรเข้าแล้ว ที่จะไม่ยินดีไม่ชอบนั่นเป็นอันไม่มี ต้องยินดีต้องชอบด้วยกันทั้งนั้น ฉันใด รัตนตรัยแก้ว 3 ดวง คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง 3 นี้ ก็เป็นที่ยินดีปลื้มใจของเทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย ฉันนั้น

    พระรัตนตรัยเป็นแก้วจริงๆ หรือเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปริยัติเข้าใจตามอักขระแล้ว เป็นอันเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปฏิบัติเข้าใจตามปฏิบัติแล้ว เป็นแก้วจริงๆ ซึ่งนับว่าประเสริฐ เลิศกว่าสวิญญาณกรัตนะและอวิญญาณกรัตนะ ซึ่งมีในไตรภพ ลบรัตนะในไตรภพทั้งหมดสิ้น

    จะกล่าวถึงรัตนะในทางปฏิบัติ “ปฏิปตฺติ” แปลว่า ถึงเฉพาะ ผู้ปฏิบัติถึงเฉพาะซึ่งพระรัตนตรัย การถึงรัตนตรัยของผู้ปฏิบัติในยุคนี้ต่างๆ กัน ผู้ไม่ได้เล่าเรียนศึกษาก็ถึงรูปพระปฏิมาในโบสถ์วิหารการเปรียญ ถึงพระธรรมในตู้ในใบลาน ถึงพระสงฆ์สมมติทุกวันนี้ ผู้ได้เล่าเรียนศึกษา รู้พุทธประวัติ ก็ถึงพระสิทธัตถราชกุมารที่ได้ตรัสรู้ใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ที่ได้มาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ถึงพระธรรมก็คือปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กับธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ให้ได้บรรลุมรรคผล ทั้งสิ้น ถึงพระสงฆ์ก็คือพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 จนถึงสุภัททภิกษุซึ่งเป็นปัจฉิมสาวกเวไนย

    ผู้มีสติปัญญา เป็นผู้เฒ่าเหล่าเมธา เล่าเรียนศึกษามาก การถึงรัตนตรัยของท่านลึกล้ำ ท่านคิดว่า “พุทธ” ก็แปลกันว่า ตรัสรู้ ตรัสรู้เป็นภาษาเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าท่านเป็นเจ้า จึงแปลว่า “ตรัสรู้” ภาษาสามัญก็แปลว่า “รู้” เท่านั้น ท่านก็ทำขึ้นในใจของท่านว่ารู้นั่นเอง เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ถึงความรู้ของท่านที่ถูกดี ถึงธรรมของท่านความดีไม่มีผิด ถึงสงฆ์ของท่าน “สงฺเฆน ธาริโต” พระสงฆ์ทรงไว้ ตัวของเรานี้เองที่รักษาความรู้ถูกรู้ดีไม่ให้หายไป เป็นสงฆ์

    การถึงพระรัตนตรัยดังแสดงมาแล้วนี้ก็ถูก เหมือนต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กะเทาะ ก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่เปลือกก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กระพี้ก็ถูกต้นไม้ ถูกแต่ กะเทาะ เปลือก กระพี้ เท่านั้น หาถูกแก่นของต้นไม้ไม่

    การถึงพระรัตนตรัย ต้องเอากาย วาจา ใจ ของเราที่ละเอียด จรดเข้าไปให้ถึงแก่นพระรัตนตรัยจริงๆ รัตนตรัยซึ่งแปลว่า แก้ว 3 แก้วคือพระพุทธ 1, แก้วคือพระธรรม 1, แก้ว คือพระสงฆ์ 1 ได้ในบทว่า สกฺกตฺวา พุทฺธรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือพุทธ สกฺกตฺวา ธมฺมรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือธรรม สกฺกตฺวา สงฺฆรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือสงฆ์

    การเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องใช้กายวาจาใจที่ละเอียด ที่หยาบเข้าไม่ถึง กายที่ละเอียดซึ่งได้กับกายสังขาร วาจาที่ละเอียดซึ่งได้กับวจีสังขาร ใจที่ละเอียดซึ่งได้กับจิตสังขาร กายสังขารคือลมหายใจเข้าออกซึ่งปรนเปรอกายให้เป็นอยู่ วจีสังขารคือความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขารคือความปรุงของจิตสำหรับใช้ทางใจ กายสังขารหยุด วจีสังขารก็หยุด จิตสังขารก็หยุด เป็นจุดเดียวกัน อยู่ที่ตรงศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสดังกระจกส่องเงาหน้า กายวาจาใจที่ละเอียดจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมนั้น ก็หยุดพร้อมทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นับว่าหยุดเป็นจุดเดียวกัน ได้ชื่อว่าสังขารสงบ การสงบสังขารชนิดนี้ เด็กในท้องมารดาก็สงบ จึงอยู่ในที่แคบเป็นอยู่ได้ เทวดาใน 6 ชั้นทำได้ รูปพรหมและอรูปพรหมทำได้ เด็กในท้องก็นับว่าสังขารสงบ เทวดาก็นับว่าสังขารสงบได้ รูปพรหมและอรูปพรหมก็นับว่าสังขารสงบได้ การสงบสังขารเสียเป็นสุข สมด้วยคาถา 4 บาท ในบาทเบื้องปลายว่า “เตสํ วูปสโม สุโข” สงบสังขารเหล่านั้นเสียได้ นำมาซึ่งความสุข นี้สงบสังขารได้ตามสมควร เป็นทางทำตนให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    กายสังขารสงบคือลมหายใจหยุด วจีสังขารสงบคือความตรึกตรองหยุด จิตสังขารสงบคือใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ชื่อว่า สันติ ลมหยุดลงไป ในที่เดียวกันชื่อว่า อานาปาน ซึ่งแปลว่าลมหยุดนิ่งหรือไม่มี เมื่อสังขารทั้ง 3 หยุดถูกส่วนเข้าแล้ว เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยส่วนหนึ่ง เมื่อสังขารสงบมีความสุขเกิดขึ้น เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตคิดว่าเป็นสุขเรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในเมื่อสติปัฏฐานทั้ง 3 ถูกส่วนพร้อมกันเข้า เกิดเป็นดวงใสขึ้นเท่าฟองไข่แดง หรือเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทเหมือนกระจกส่องเงาหน้านั่นแหละ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงนี้บางท่านเรียกว่าพระธรรมดวงแก้ว โบราณท่านใช้แปลในมูลกัจจายน์ว่า “ปฐมมรรค” ธรรมดวง นี้แหละคือ ดวงศีล เพราะอยู่ในเหตุว่างของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ไม่มีราคี ตาของกายทิพย์เห็น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ตรงกลางของดวงศีลนั้น ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่ พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไปเห็นดวงสมาธิ เอาใจหยุดนิ่ง ลงไปที่กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงปัญญาที่อยู่ในกลางดวงสมาธินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ทำให้ใจหยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติ ก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะที่อยู่ในกลางดวงวิมุตตินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสะก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายมนุษย์ เห็นตัวของกายมนุษย์ฉะนั้น ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ แต่พอถูก ส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็ว่างออกไป ตาของกายรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายทิพย์เห็นตนของกายทิพย์เองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายอรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายรูปพรหมเห็นตนของกายรูปพรหมเองฉะนั้น ที่แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายธรรมก็เห็นกายของพระองค์เองอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายอรูปพรหม เห็นตนของตนเองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้เป็นวิธีที่ทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    เมื่อทำมาถึงกายธรรมหรือธรรมกายดังนี้แล้ว ก็รู้จักตัวตนชัดเจนโดยไม่ต้องสงสัย เพราะกายทั้ง 5 บอกตัวของตัวเอง กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้ง 4 กายนี้ บอกตัวเองอยู่ว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเป็นแต่สมมติเท่านั้น รู้ได้เองว่ากายมนุษย์มาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ชั่วคราวตามอายุขัยและวัย สิ้นปัจจัยคือบุญและบาปแล้วก็แตกสลายไป รู้ได้จริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่แต่รู้เห็นด้วยตาของตนทุกๆ คนด้วยกันทั้งนั้น

    ส่วนกายทิพย์ หรือ รูปพรหม อรูปพรหม สิ้นอำนาจของบุญกรรม และรูปฌาน อรูปฌานแล้ว ก็แปรไปเหมือนกายมนุษย์ ต่างกันแต่ช้าและเร็วเท่านั้น

    ส่วนกายธรรมหรือธรรมกายเป็นตัวยืนบอกความจริงว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว ส่วนกาย ทั้ง 4 เป็นตัวยืนบอกเท็จว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เท็จต่อความจริงอย่างนี้ เมื่อไม่รู้เห็นจริง จะรู้เห็นเท็จได้อย่างไร ต้องรู้จริงเห็นจริงเสียก่อน จึงย้อนมารู้จักเท็จได้ดังนี้

    ธรรมกายนี้เองเป็นพุทธรัตนะ ซึ่งแปลว่าแก้วคือพุทธะ เมื่อรู้จักพุทธรัตนะแล้ว ก็ควรรู้จักธรรมรัตนะเสียทีเดียว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม อรูปพรหม เป็นธรรมรัตนะ แต่เป็นส่วนโลกีย์ ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั้นเป็นโคตรภู ต่อเมื่อใด ธรรมกายเลื่อนขึ้นไปเป็นพระโสดาแล้ว ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดานั้นเองเป็นโลกุตตระ

    ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม แลกายอรูปพรหมเป็นโลกียมรรค เพราะกายทั้ง 4 นั้นเป็นโลกีย์ ธรรมจึงเป็นโลกีย์ไปตามกาย ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเป็นโลกุตตระ เพราะธรรมกายของพระโสดาเป็นโลกุตตระ ธรรมจึงเป็นโลกุตตระไปตามกาย ธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ นี้เอง เป็นธรรมรัตนะ ซึ่งแปลว่า แก้วคือธรรม เมื่อรู้จักธรรมรัตนะแล้วก็ควรรู้จักสังฆรัตนะเสียทีเดียว ธรรมกายหรือกายธรรมหมดทั้งสิ้น ยกธรรมกายของพระสัพพัญญู และธรรมกายของพระปัจเจกพุทธเจ้าออกเสีย นอกจากนั้นเป็นธรรมกายของสาวกพุทธทั้งสิ้น มีมากน้อยเท่าใดเป็นสังฆรัตนะ แก้วคือสงฆ์

    การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยที่ถูกแท้นั้น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์เท่าๆ ฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่ศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีเหมือนกันหมดทุกคน จำเดิมแต่อยู่ในท้องมารดา ใจของกุมารกุมารีจรดจี้หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมนั้นทุกคน ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมมีว่างอยู่ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร ใจของกุมารหรือกุมารีก็จรดอยู่ศูนย์กลางนั้น

    ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก ขอผู้จงรักภักดีต่อตนของตนที่แท้แล้ว จงตั้งใจแน่แน่ว ให้ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เถิดประเสริฐนัก พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไปทางเดียวเหมือนกันทั้งหมด

    เพราะฉะนั้นพวกเราที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย จึงต้องทำใจให้หยุดให้นิ่ง ให้ตรงต่อทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ จึงจะถูกหลักฐานในพุทธศาสนา ทั้งถูกตำราของสัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดด้วย สัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดเข้าสิบไม่ถูก ก็ไม่ตกศูนย์ เมื่อไม่ตกศูนย์ก็ไปเกิดมาเกิดไม่ได้ ธรรมดาของเกิดแลตาย ต้องมีสิบศูนย์เป็นเครื่องหมายเหมือนกันทั้งหมด ทั้งในภพ และนอกภพ การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยก็เหมือนกัน ต้องเข้าสิบศูนย์เป็นชั้นๆ ไป จึงจะเข้าถึงพระรัตนตรัยได้ ดังแสดงมาตั้งแต่ต้นเป็นชั้นๆ มาแล้วทุกประการ

    รัตนะทั้ง 3 นี้ เป็นแก้วจริงๆ จังๆ แก้วที่มีในไตรภพนี้มีคุณภาพไม่เทียมทัน ส่วนแก้วในไตรภพที่มนุษย์ใช้อยู่บัดนี้ เพชรเป็นสูงกว่า หรือแก้วที่มีรัศมีเป็นของหายาก ไม่มีใครจะใช้กันนัก แก้วชนิดอย่างนั้น มีสีต่างๆ ถ้าสีนั้นเขียว ใส่ลงไปในน้ำ น้ำก็เขียวไปตามสีแก้วนั้น ถ้าสีเหลือง น้ำก็เหลืองไปตาม ถ้าแดง น้ำก็แดงไปตามสีแก้ว ตกว่าแก้วสีอะไร น้ำก็เป็นไปตามสีแก้วนั้นๆ นี้เป็นรัตนะที่สูงในโลก สูงยิ่งกว่านี้ขึ้นไป ก็ต้องเป็นแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ์

    พระเจ้าจักรพรรดิ์มีแก้ว 7 ประการคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว แก้ว 7 ประการนี้เกิดขึ้นในโลกกาลใด มนุษย์ในโลกได้รับความสุข ปราศจากการไถและหว่าน สำเร็จความเป็นอยู่ อาศัยแก้ว 7 ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ให้เป็นอยู่ได้โดยตลอดชีวิต ไม่ต้องทำกิจการใดๆ ทั้งสิ้น พระเจ้าจักรพรรดิ์สอนให้ตั้งอยู่ในศีล 5 กรรมบถ 10 ครั้นสิ้นชีพแล้ว ไปบังเกิดในสุคติโดยส่วนเดียว ไม่มีตกไปอยู่ในทุคตติเลย

    แก้วทั้งหลายในโลกพิเศษถึงเพียงนี้แล้ว ยังไม่มีพิเศษเท่าแก้ว คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แก้วคือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั้น ถ้าผู้ใดเข้าไปได้เข้าไปถึงแล้ว ลืมแก้วลืมสวรรค์ลิบๆ ในโลกหมดทั้งสิ้น

    ผู้ที่จะเข้าไปได้ถึงแก้วทั้ง 3 นี้ ต้องดำเนินไปตามต้น กาย วาจา ใจ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ดังแสดงมาแล้วในเบื้องต้น จนถึงธรรมกาย คือให้ดำเนินไปตามโพธิปักขิยธรรม 37 ตั้งต้นแต่ กาย เวทนา จิต ธรรม ไป แต่พอถึงธัมมานุปัสสนา ก็เห็นเป็นดวงใส ที่เรียกว่าดวงศีล ต่อแต่นั้นก็ถึงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งนับว่าเป็นที่รวมพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกรวมอยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ทั้งสิ้น เมื่อจับที่รวมของกายมนุษย์ได้แล้ว กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายธรรม ก็เหมือน กันดังแสดงมาแล้ว

    ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ เป็นวิธีให้เข้าถึงรัตนะทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มีอาการต่างๆ กัน ในเมื่อจับหลักยังไม่ได้ ต่อเมื่อจับหลักคือธรรมกายเสียได้แล้ว จะเห็นว่าไม่ต่างกัน เนื่องเป็นอันเดียวกันแท้ๆ

    สมด้วยกระแสบาลีในเบื้องต้นว่า “หมวด 3 ของรัตนะนี้ คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ” แม้ต่างกันโดยวัสดุ แต่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน เป็นของเนื่องซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมพระสงฆ์ทรงไว้ พระสงฆ์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เนื่องเป็นอันเดียวกันเป็นบรรทัดฐาน ดังแสดงทุกประการ พอสมควรแก่เวลา ด้วยประการฉะนี้.
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    a.jpg







    เขมาเขมสรณาคมน์
    ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗


    เทศนาโดย หลวงปู่สด


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)


    พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ ปพฺพตานิ วนานิ จ
    อารามรุกฺขเจตฺยานิ มนุสฺสา ภยตชฺชิตา
    เนตํ โข สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ
    เนตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ
    โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต
    จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ
    ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ
    อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ
    เอตํ โข สรณํ เขมํ เอตํ สรณมุตฺตมํ
    เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ.






    เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ



    ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖ นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง เขมาเขมสรณทีปิกคาถา วาจาเครื่องกล่าวแสดงซึ่ง ที่พึ่งอันเกษมและไม่เกษมทั้ง ๒ สองอย่าง จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย จะชี้แจงแสดงเป็นทางปริยัติ เป็นทางปฏิบัติ เป็นทางปฏิเวธ ให้เป็นเหตุสอดคล้องต้องด้วยพุทธศาสนา เริ่มต้นจะแสดงทางปริยัติก่อน ในตอนหลังจะได้แสดงทางปฏิบัติต่อไป แล้วปฏิเวธก็จะรู้คู่กันไปในทางปฏิบัติ พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า จงเงี่ยโสตทั้งสองรองรับรสพระสัทธรรมเทศนา ดังอาตมาจะได้ชี้แจงแสดง ต่อไป ณ บัดนี้
    เริ่มต้นแห่งวาระพระบาลีว่า พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ เป็นอาทิว่า มนุษย์เป็นอันมาก อันภัยคุกคามเข้าแล้ว ย่อมถึงภูเขาทั้งหลายบ้าง ถึงป่าทั้งหลายบ้าง ถึงอารามและต้นไม้และเจดีย์ทั้งหลายบ้างว่าเป็นที่พึ่ง เนตํ โข สรณํ เขมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันเกษมไม่ เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันอุดมไม่ เนตํ สรณมาคมฺม ถ้าอาศัยอันนั้นเป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหาหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปได้ไม่ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ใดถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า ว่าเป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ มาเห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ตามปัญญาอันชอบ ทุกฺขํ คือทุกข์ ทุกขสมุปฺปาทํ คือ ตัณหาเป็นแดนให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ คือ การก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ คือหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึก ทุกฺขูปสมคามินํ ให้ถึงพระนิพพาน เป็นที่สงบระงับทุกข์ เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่ง อันอุดม เอตํ สรณมาคมฺม มาถึงอันนี้เป็นที่พึ่งได้แล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ด้วยประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา
    ต่อแต่นี้จะแสดงเป็นปริยัติเทศนา ในเขมาเขมสรณาคมน์ต่อไป ปริยัติเทศนาว่า มนุษย์เป็นอันมาก ไม่ใช่น้อย หมดทั้งสากลโลก ชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกาย มีเท่าไรที่เป็นมนุษย์หรือทิพย์ก็ช่าง หรือรูปพรหม อรูปพรหม ก็ช่าง เมื่อพากันมาฟังธรรมเทศนาแล้ว นั่นแหละก็อยู่ในพวกมนุษย์นั่นทั้งนั้น มีมากน้อยเท่าใด มนุษย์ทั้งหลายมากด้วยกัน ภยตชฺชิตา อันภัยคุกคามเข้าแล้ว เมื่อคุกคามเข้าเช่นนั้น แล้วทำไง บางพวกไปถึงภูเขาใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงป่าใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงอารามใหญ่ๆ เช่น เชตวนาราม หรืออารามใหญ่ๆ กว่านั้นก็ช่าง หรือเล็กกว่านั้นก็ช่าง ที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น อย่างวัดโสธรอย่างนี้ พอถึงวัดเข้าไหว้แล้ว แต่ว่าไหว้กลัวฤทธิ์กลัวเดชพระยามาร อ้ายที่มีฤทธิ์มีเดชอยู่ที่นั่น ไม่ใช่เคารพต่อพระพุทธเจ้าโดยตรง เคารพในฤทธิ์เดชของพระยามารมัน กลัวพระยามารมัน อารามหรือต้นไม้เป็นเจดีย์ บัดนี้ก็ยังปรากฏอยู่นั่นแน่ เจริญพาสน์นั่นแน่ ต้นมะขามใหญ่ นั่นแน่ ไปถึงก็ต้องไหว้เชียว ต้องไหว้ กลัว กลัวใครละ กลัวฤทธิ์พระยามาร มันมีฤทธิ์มีเดช มันสิงมันทรงได้ มันบอกไหว้นบเคารพเสีย มันให้ความสุขความเจริญ ถ้าว่าไม่ไหว้นบ เคารพ นบบูชาแล้ว ก็ลงโทษต่างๆ นานา กลัวมัน ต้องไหว้มันอย่างนี้ ไปถึงอาราม หรือ ต้นไม้ เจดีย์เช่นนั้นเข้าแล้ว ก็ต้องไหว้ กลัวต้องภัยได้ทุกข์ ถึงอ้ายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ว่าเป็น ที่พึ่งทีเดียว
    นั่นพระพุทธเจ้าปฏิเสธแล้ว เนตํ โข สรณํ เขมํ ภูเขาก็ดี ป่าก็ดี อารามก็ดี ต้นไม้ก็ดี นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันผ่องใส ไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด หรืออันอุดม ไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดมอันสูงสุด เนตํ สรณมาคมฺม อาศัยอันนั้นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว น ปมุจฺจติ สพฺพทุกฺขา ย่อมหาหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะต้องติดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ อยู่นี่เอง จนไปนิพพานไม่ได้ เพราะเข้าถึงที่พึ่งไม่ถูก พลาดไปเรื่องนี้ เราเห็นอยู่ต่อตาทั่วๆ กัน ในประเทศไทยนี่ อะไรต่อมิอะไรกันไขว่เชียว เพราะเหตุอะไร ? เพราะเหตุว่า ไม่รู้จัก พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ น่ะซี พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ไม่ได้อยู่เรี่ยราดเช่นนั้น พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ อยู่ในตัวทุกคน กายเป็นชั้นๆ เข้าไป กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด นั่นแน่ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ นั่นแน่ กายธรรม-กายธรรมละเอียด กายธรรม นั่นแหละเป็น พุทฺโธ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเป็น พุทฺโธ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม นั่นแหละ เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ดวงนั้นแหละเป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นเรียกว่า ธมฺโม กายธรรมละเอียดอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย แต่ว่าใหญ่กว่ากายธรรม นั่นแหละเรียกว่า สงฺโฆ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเรียกว่า สงฺโฆ ถ้าตัวจริงละก้อ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั่นแหละเป็นตัวจริงที่เราจะถึง จะไปถึงสิ่งอื่นไม่ได้ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง หรือถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ นั้นว่าเป็นที่พึ่ง
    เมื่อถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ต้องเห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ตามปัญญาอันชอบที่ถูก ไม่ให้ผิดจากอริยสัจธรรมทั้ง ๔ อริยสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นธรรมสำคัญในทางพระพุทธศาสนา แต่เราไม่เดียงสาทีเดียวว่าอะไรเป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เราไม่เดียงสาทีเดียว ไม่เดียงสาอย่างไร ? ทุกขสัจน่ะคืออะไรล่ะ ? ความเกิดน่ะซีเป็นทุกขสัจจะ สมุทัยสัจล่ะ เหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นสมุทัยสัจ นิโรธสัจล่ะ ความดับเหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นนิโรธสัจ มรรคสัจ ข้อปฏิบัติหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึกให้ถึงพระนิพพานที่เป็นที่สงบระงับนั่นแหละ เป็นมรรคสัจ นี้เป็นตัวสำคัญนัก วันนี้มุ่งมาดปรารถนาจะแสดงในทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ นี้ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะแสดงทางปริยัติก่อน แล้วจึงย้อนไปแสดงทางปฏิบัติให้เข้าเนื้อเข้าใจชัดว่า ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ น่ะ อยู่ที่ไหน อะไรให้รู้กันเสียที
    เมื่อเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นที่พึ่งดีเช่นนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงรับสั่ง เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม อันผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ นี่ท่านแสดงย่อย่นสกลพุทธศาสนา ธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นที่ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ คือ สัจธรรมทั้ง ๔ รู้จริงรู้แท้ทีเดียวในสัจธรรมทั้ง ๔ นี้ ถ้าไม่รู้จริงรู้แท้ในสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นพระอรหันต์ก็ไม่ได้ เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ เป็นไม่ได้ทีเดียว นี่ธรรมสำหรับทำให้เป็นพระพุทธเจ้าทีเดียว สัจธรรมทั้ง ๔ นะ เพราะฉะนั้นวันนี้เราควรฟัง ที่แสดงมาแล้วนี้เป็นทางปริยัติ
    ถ้าจะแสดงโดยปฏิบัติ ให้แน่ชัดลงไปแล้วละก็ ในสัจธรรม ๔ นี่น่ะคือใคร ถ้ารู้จักพระพุทธเจ้าเสียก่อน
    พระพุทธเจ้าน่ะคือใครที่ไปเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ น่ะ เห็นด้วยพระสิทธัตถกุมารหรือด้วยตาของพระสิทธัตถราชกุมาร ความเห็น ความรู้ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? ไม่ใช่
    หรือเห็นด้วยกายละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร กายที่นอนฝันออกไปน่ะ ? ไม่ใช่ ไม่ได้เห็นด้วยตานั้นกายนั้น
    เห็นด้วยตากายทิพย์ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? กายที่ฝันในฝันออกไปนะ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยกายนั้นเป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ได้
    เห็นด้วยตากายทิพย์ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ถึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ? ไม่ใช่ ไม่เห็น เช่นนั้น เพราะสัจธรรมนี่เห็นขั้นท้ายไม่ใช่เห็นขั้นต้น เห็นด้วยตากายรูปพรหมหรือรูปพรหม ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ? เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ? ไม่ใช่
    เห็นด้วยตากายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร เป็นกายที่ ๗ ที่ ๘ กระนั้นหรือ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยตากายนั้น มันอยู่ในภพ มันทะลุหลุดสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ มันยังติดภพอยู่
    ท่านเห็นด้วยตาธรรมกาย ธรรมกายที่เป็นโคตรภูนะ ยังหาได้เป็นพระโสดา-สกทาคาไม่ ยังหาได้เป็นโสดาปัตติมรรคผล สกทาคามิมรรคผล อนาคามิมรรคผล อรหัตมรรคผลไม่ เห็นด้วยตากายธรรม รู้ด้วยญาณของกายธรรม ไม่ใช่รู้ด้วยดวงวิญญาณ เพราะกายมนุษย์มีดวงวิญญาณ ญาณไม่มี กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด มีดวงวิญญาณทั้งนั้น ดวงญาณไม่มี กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี กายอรูปพรหม-อรูปพรหม ละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี พอถึงกายธรรมเข้า มีญาณทีเดียว
    ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ? ตาธรรมกายก็เหมือนรูปพระปฏิมาอย่างนี้แหละ เหมือนมนุษย์อย่างนี้แหละ แบบเดียวกันแต่ทว่าละเอียด แล้วมีญาณของกายธรรม ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? ดวงวิญญาณอยู่ในกลางกายมนุษย์นี่ เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายทิพย์ก็เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายมุนษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียด ก็แบบเดียวกัน หรือกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็มีดวงวิญญาณแบบเดียวกัน ดวงวิญญาณเท่านั้นไม่อาจจะเห็นอริยสัจได้ ต่อเมื่อใด ไปถึงกายธรรมเข้า ดวงวิญญาณจะขยายส่วนออกไปเป็นดวงญาณ หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ก็กว้างแค่นั้น ถ้าหน้าตักศอกหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางศอกหนึ่ง หน้าตักวาหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางวาหนึ่ง กลมรอบตัว ถ้าว่าหน้าตักธรรมกายนั้น ๒ วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา กลมรอบตัว ขยายอย่างนั้น ถ้าหน้าตัก ๔ วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๔ วา กลมรอบตัว แล้วแต่หน้าตักธรรมกาย หน้าตักธรรมกายโคตรภูนั่นไม่ถึง ๕ วา หย่อน ๕ วาเล็กน้อย ถ้าเป็นพระโสดาจึงจะเต็ม ๕ วา ถ้ายังไม่ถึงพระโสดาหย่อนกว่า ๕ วา หน้าตักของธรรมกายนั่นโตเท่าไหน ดวงญาณก็โตเท่านั้น ดวงญาณนั้นแหละสำหรับรู้ละ นั่นแหละ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ เห็นตามปัญญาอันชอบ เห็นชัดๆ ทีเดียว ดวงญาณของธรรมกายขยายออกไป ดังนั้นเมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ธรรมกายจะเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรจสัจ มรรคสัจ ต้องเข้าสมาบัติ ธรรมกายต้องเข้าสมาบัติธรรมกายนั่งนิ่งเพ่งฌานทีเดียว ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย หยุดนิ่ง เมื่อนิ่งถูกส่วนเข้าแล้ว ที่ธรรมกายนั่งนั่นแหละเกิดเป็นดวงฌานขึ้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา ๘ ศอก กลมเป็นวงเวียน เป็นกงจักร กลมเป็นกงเกวียนทีเดียว เหมือนแผ่นกระจกหนาคืบหนึ่ง วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง รองนั่งของธรรมกายนั้นมาจากไหน ดวงฌานที่เกิดขึ้นน่ะมาจากไหน ที่มาของดวงฌานน่ะมีมาก มาจากกสิณก็เป็นดวงฌานได้ มาจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็เป็นดวงฌานได้ แต่ว่าเมื่อถึงธรรมกายแล้ว ใช้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเองเป็นปฐมฌาน ขยายส่วน เห็นใส เมื่อดูใสแล้วก็ขยายส่วนออกไป ขยายส่วนออกไป ๒ วา กลมรอบตัว แต่ว่าหนาคืบหนึ่ง กลมเหมือนยังกับกงจักรหรือกงเกวียน กลมเหมือนอย่างวงเวียนอย่างนั้น หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นแก้วผลึกทีเดียว รองนั่งของธรรมกาย ธรรมกายเมื่อเข้าถึงปฐมฌานเช่นนั้นนั่นแหละ พอถึงปฐมฌานเข้าเช่นนั้น ก็มีวิตก ความตรึก วิจาร ความ ตรอง ปีติ ชอบเนื้อชอบใจ วิตกว่าฌานนั้นมันมาจากไหน เห็นแล้วมันมาจากนั่น วิจาร ไตร่ตรองไป ตรวจตราไปถี่ถ้วน เป็นของที่ไม่มีที่ติ ปลื้มอกปลื้มใจ ดีอกดีใจ มีความปีติขึ้น ปลื้มอกปลื้มใจ เต็มอกเต็มใจ เต็มส่วนของปีติ มีความสุข นิ่งอยู่กลางฌานนั่น สุขในฌาน อะไรจะไปสู้ ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก สุขในฌานนะ สุขลืมสมบัตินั่นแหละ สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้ สุขในฌานนะ สุขนักหนาทีเดียว เต็มส่วนของความสุขก็หนึ่ง เฉยวิเวกวังเวง เปลี่ยวเปล่า เรามาคนเดียวไปคนเดียวหมดทั้งสากลโลก คนทั้งหลายไปคนเดียวทั้งนั้น ไม่มีคู่สองเลย จะเห็นว่าลูกสักคนหนึ่งก็ไม่มี สามีสักคนหนึ่งก็ไม่มี ภรรยาสักคนหนึ่งก็ไม่มี ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด เป็นจริงอย่างนี้ ปล่อยหมด ไม่ว่าอะไร ไม่ยึดถือทีดียว เรือกสวนไร่นา ตึกร้านบ้านเรือน ก่อนเราเกิดเขาก็มีอยู่อย่างนี้ หญิงชายเขาก็มีกันอยู่อย่างนี้ เราเกิดแล้วก็มีอยู่อย่างนี้ เราตายไปแล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้ เห็นดิ่งลงไปทีเดียว เข้าปฐมฌานเข้าแล้ว เห็นดิ่งลงไปเช่นนี้ เมื่อเข้าปฐมฌานก็แน่นิ่งอยู่ ฌานที่ละเอียดกว่านี้มี พอนึกขึ้นมาเช่นนั้น ก็ อ้อ! ที่ละเอียดขึ้นมากว่านี้มีอยู่ ก็นิ่งอยู่กลางปฐมฌานนั่น กลางดวงปฐมฌานนั่นนิ่ง ใจของธรรมกายหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย นิ่งพอถูกส่วนเข้า ฌานนั่นเปลี่ยนแล้ว ปฐมฌานนั่นจางไป ทุติยฌานมาแทนที่รองนั่ง จะไปไหน ไปคล่องแคล่วยิ่งกว่าขึ้นเครื่องบิน ปฐมฌานเหมือนกัน ทุติยฌานเหมือนกัน พอเข้าฌานที่ ๒ ได้แล้ว ก็นึกว่าฌานที่ ๒ มันใกล้ฌานที่ ๑ มันเสื่อมง่าย ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายอีก ถูกส่วนนิ่งเข้าอีก ทุติยฌานก็จางไป ตติยฌานมาแทนที่ นิ่งอยู่กลางตติยฌานนั่น พอถูกส่วนเข้าตติยฌานแล้ว ละเอียดกว่าตติยฌานนี่มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่น ถูกส่วนเข้า เมื่อนึกถึงฌาน ตติยฌานก็จางไป จตุตถฌานเข้ามาแทนที่ ยังไม่พอแค่นั้น นิ่งอยู่กลางจตุตถฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี ว่าละเอียดกว่านี้มี จตุตถฌานก็จางไป อากาสานัญจายตนฌาน กลางของจตุตถฌานว่างออกไปเท่ากัน ดวงเท่ากัน ดวงเท่ากันนี้เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน ธรรมกายก็นั่งอยู่กลางของอากาสานัญจายตนฌาน เรียกว่า เข้าอากาสานัญจายตนฌาน แล้ว ใจก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น ถูกส่วนเข้าก็นึกว่าฌานนี้ คล่องแคล่วว่องไวดี แต่ว่าละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากาสานัญจายตนฌานก็จางไป วิญญาณัญจายตนฌานเข้ามาแทนที่ ดวงก็เท่ากัน นิ่งอยู่กลางดวงวิญญาณัญจายตนฌานนั่น ว่าละเอียดกว่านี้มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น แต่ว่าเพ่งฌาน นิ่ง พอถูกส่วนเข้า วิญญาณัญจายตนฌานจางไป อากิญจัญญายตนฌานเข้ามาแทนที่ รู้ละเอียด จริง นี่เป็นรู้ละเอียดจริง นิ่งอยู่อากิญจัญญายตนฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากิญจัญญายตนฌานจางไป เนวสัญญานาสัญญายตนะเข้ามาแทนที่ เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกนึกในใจทีเดียวว่า สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ นี่ละเอียดจริง ประณีตจริง นี่เข้าฌานดังนี้ นี่เขาเรียกว่า เข้าฌานโดยอนุโลม
    เข้าฌานโดยปฏิโลม ถอยกลับจากฌานที่ ๘ นั้น จากเนวสัญญานาสัญญายตนะเข้าหา อากิญจัญญายตนะ มาวิญญาณัญจายตนะ เข้าอย่างไรก็ออกมาอย่างนั้น มาถึงอากาสานัญจายตนะ ถอยจากอากาสานัญจายตนะ มาถึงจตุตถฌาน ถอยจากจตุตถฌาน มาถึงตติยฌาน ถอยจากตติยฌาน มาถึงทุติยฌาน ถอยจากทุติยฌาน มาถึงปฐมฌาน เข้าไปดังนี้อีก นี่เรียกว่าปฏิโลมถอยกลับ อนุโลมเข้าไปอีก ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ ไปอีก ถอยจากที่ ๘ มาถึง ที่ ๗ ที่ ๖ ที่ ๕ ที่ ๔ ที่ ๓ ที่ ๒ ที่ ๑ มาถึงอีก นี่เรียกว่า อนุโลมปฏิโลมไปอย่างนี้ พออนุโลมปฏิโลมถูกส่วนเข้าก็เห็นทีเดียวว่า อ้อ! สัตว์โลกนี่เป็น ทุกข์ละ เห็นทุกข์ละนะ นี่ทางปฏิบัติเห็นทุกข์ละ ตาธรรมกายเห็นอายตนะที่ดึงดูดของสัตว์โลก เขาเรียกว่า โลกายตนะ อ้อ! มนุษย์นี่เกิดขึ้นไม่ใช่อื่นเลย ความเกิดนี่ อายตนะของโลกเขาดูดนะ ก็เห็นอายตนะทีเดียว มนุษย์นี่ก็มีอายตนะอยู่อันหนึ่ง เราเคยค้นพบ เรารู้จักแล้ว อายตนะของมนุษย์ รู้จักกันทั่วแหละ อายตนะของมนุษย์ ที่เราติดอยู่ ก็ติดอายตนะนั่นแหละมันดึงดูด อายตนะอยู่ที่ไหน ? ที่บ่อเกิดของมนุษย์ อายตนะแปลว่าบ่อเกิด บ่อเกิดมันอยู่ที่ไหน ? นั่นแหละเป็นตัวอายตนะของมนุษย์ทีเดียว อายตนะของทิพย์ละ มันมีมากด้วยกันนี่ อายตนะกำเนิดของสัตว์มีถึง ๔ คือ อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ สังเสทชะ เกิดด้วยเหงื่อไคล ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ อายตนะที่ว่านี้เป็นชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ โอปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เอากันละคราวนี้ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ เป็ด ไก่ ทั้งนั้น เป็นอายตนะอันหนึ่ง สังเสทชะ เหงื่อไคลเป็นอายตนะอันหนึ่ง สำหรับเหนี่ยวรั้งใจให้สัตว์เกิดนั่น เป็นอายตนะสำหรับบ่อเกิด ชลาพุชะ มีน้ำสำหรับเป็นอายตนะให้เกิด โอปปาติกะ อายตนะของจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตตวสวัตตี นี่เป็นอายตนะของทิพย์ทั้งนั้น มีอายตนะดึงดูดให้เกิดเหมือนกัน ไม่ใช่เท่านั้น อายตนะที่ทรามลงไปกว่านี้ อายตนะให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน คล้ายมนุษย์เหมือนกัน อายตนะให้เกิดเป็นอสุรกาย แบบเดียวกันกับมนุษย์ อายตนะเกิดเป็นเปรต แบบเดียวกับมนุษย์ อายตนะในอบายภูมิทั้ง ๔ สัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาฏะ โรรุวะ มหาโรรุวะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจีนรก นรกทั้ง ๘ ขุมใหญ่นี้ ขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรกเป็นบริวารล้อมรอบ ๔ ด้านๆ ละ ๔ ขุม เป็น ๑๖ ขุม แล้วมียมโลกนรก ตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๔ ทิศๆ ละ ๑๐ ขุม เป็น ๔๐ ขุม นรกทั้ง ๔๕๖ ขุมเป็นอายตนะดึงดูดสัตว์โลกทั้งนั้น เมื่อทำดีทำชั่วไปถูกส่วนเข้าแล้ว อายตนะของนรกก็ดึงเป็นชั้นๆ ดูดเป็นชั้นๆ ต้องไปติด ใครทำอะไรเข้าไว้ อายตนะมันดึงดูดไปติด ฝ่ายธรรมกายไปเห็นก็ อ้อ! สัตว์โลก มันติดอย่างนี้เอง ติดเพราะอายตนะเหล่านี้ อ้ายที่มาเกิดเหล่านี้ใครให้มาเกิดละ อ้ายที่มาเกิด เป็นอบายภูมิทั้ง ๔ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ ชั้นนี้ ใครให้เกิดละเห็นทีเดียวแหละ เห็นทีเดียว ทุกฺขสมุปฺปาทตณฺหา ตัณหานี่แหละเป็นแดนให้เกิดพร้อมทีเดียว
    ตัณหาคืออะไรล่ะ ? กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา แยกออกไปเป็น ๓ เห็นตัณหาอีก อ้อ! อ้ายเจ้ากามตัณหานี้ อยากได้กาม อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส นั่นเอง เจ้าถึงต้องมาเกิด เออ อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ไปตีรันฟันแทงกันป่นปี้ รบราฆ่าฟันกันยับเยินเปินทีเดียว เพราะอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ ไม่ใช่เรื่องอะไร เห็นชัดๆ อย่างนี้ว่า อ้อ ! อ้ายนี่เองเป็นเหตุให้เกิด กามตัณหานี่เอง อ้อ! นี่ อายตนะของกามตัณหาทั้งนั้น ในอบายภูมิทั้ง ๔ นรก อสุรกาย เปรต สัตว์ดิรัจฉานเหล่านี้ มนุษย์ สวรรค์ ๖ ชั้น นี่กามตัณหาทั้งนั้น อ้ายกามนี่เองเป็นตัวสำคัญเป็นเหตุ อ้ายนี่สำคัญนัก
    ไม่ใช่แต่กามตัณหาฝ่ายเดียว ไปดูถึงรูปพรหม ๑๖ ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัปผลา อสัญญสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐ รูปพรหม ๑๖ ชั้นนี่เป็น ภวตัณหา อ้ายนี่อยากได้รูปฌานที่เราดำเนินมานั่นเอง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อ้ายนี่เป็นรูปพรหม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อ้ายนี่ให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อ้ายนี่ติด อ้าย ๘ ดวงนี่เอง เมื่อไปติดเข้าแล้วมันชื่นมื่นมันสบายนัก กามภพสู้ไม่ได้ มันสบายเหลือเกิน มันสุขเหลือเกิน ปฐมฌานก็สุขเพียงเท่านั้น ทุติยฌานก็สุขหนักขึ้นไป ตติยฌานสุขหนักขึ้นไป จตุตถฌานสุขหนักขึ้นไป อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน สุขหนักขึ้นไป อากิญจัญญายตนฌานสุขหนักขึ้นไป เนวสัญญานาสัญญายตนฌานสุข หนักขึ้นไป มันพิลึกกึกการละ มันยิ่งใหญ่ไพศาลทีเดียว ส่วนรูปภพนั้นเป็นภวตัณหา อ้ายภวตัณหานี่เองเป็นเหตุให้เกิดในรูปภพทั้ง ๑๖ ชั้นนี่
    ฝ่ายอรูปภพทั้ง ๔ ชั้นนี่เป็นวิภวตัณหา เข้าใจว่า นี่เอง หมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บ หมดตาย เสียแล้ว เข้าใจว่า นี่เองเป็นนิพพาน เมื่อไม่พบศาสนาของพระบรมศาสดาจารย์ ก็เข้าใจว่า อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่เอง เป็นนิพพานทีเดียว เข้าใจอย่างนั้น ค้นคว้าหาเอาเอง นี่เป็นวิภวตัณหา ไปติดอยู่อ้ายพวกนี้เอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อ้าย ๓ ตัวนี่แหละสำคัญนัก ไปเห็นหมด เห็นรูปพรรณสัณฐาน ฌานก็เห็น กามตัณหาก็เห็น กามตัณหาทั้ง ๑๑ ชั้นนี่เห็น ภวตัณหาทั้ง ๑๖ ชั้นนั่นก็เห็น วิภวตัณหาทั้ง ๔ ชั้นน่ะ เห็นหมด เห็นปรากฏทีเดียว เอ! นี่จะทำอย่างไร ? ต้องละอ้ายพวกนี้ ต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้ ถ้าละไม่ได้ละก้อ หลุดพ้นไปไม่ได้ละ ก็ทุกข์อยู่นี่ ไม่พ้นจากทุกข์ แน่นอนทีเดียว แน่นอนในใจของตัวทีเดียว เข้าสมาบัติดูอีก ตรวจทบไปทวนมาดูอีก ดูหนักเข้าๆๆ เห็นชัดหมดทุกสิ่งทุกประการแล้ว ในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูไปดูมา อ้อ! เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี่ ถ้าว่าไม่ละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี่ให้ขาดเสียละก้อ เราจะต้องมีชาติไม่จบไม่แล้ว จะต้องทุกข์ไม่จบไม่แล้ว จะต้องหน้าดำคร่ำเครียดไม่จบไม่แล้ว จะต้องลำบากยากแค้นไม่จบไม่แล้ว เมื่อคิดดังนี้เข้าใจดังนี้แล้ว ตาธรรมกายก็มองเห็นแจ่ม เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ละอย่างไร ? วิธีจะละ ละอย่างไรนะ ? เออ ! วิธีจะละ ละท่าไหนกันนะ ? เห็นทางทีเดียวว่า อ้อ ! พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ที่เราเดินมาทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกายมนุษย์มาถึงกายมนุษย์ละเอียด ในกายทิพย์มาถึงกายทิพย์ละเอียด ในกายรูปพรหมมาถึงกายรูปพรหมละเอียด ในกายอรูปพรหมมาถึงกายอรูปพรหมละเอียด จนกระทั่งมาถึงกายธรรมกาย ธรรมกายละเอียดนี้ เราต้องเดินในช่องทางของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่เอง ใจต้องหยุด ต้องหยุดทีเดียวถึงจะละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้ เริ่มต้นต้องหยุดเชียว พอหยุดกึ๊กเข้าก็ได้การทีเดียว อ้อ! พอหยุดกึ๊กเข้า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับหมด ถ้าว่าไม่หยุดละก้อ เป็นไม่ได้การทีเดียว ไปไม่รอดไม่พ้นทีเดียว
    หยุดอะไรละ ใจหยุดสิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ หยุดกลางของกลาง กลางของหยุด กลางที่หยุดนั่นแหละ ถ้าว่าถึงดวงสมาธิ กลางดวงสมาธิ กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ พอหยุดแล้วก็กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว หยุดอยู่ศูนย์กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าก็เห็นกายพระโสดา เข้าถึงกายพระโสดา อ้อ! พอเข้าถึงกายพระ โสดารู้จักเชียว นี่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ไม่ใช่ไปทางอื่นเลย แต่พอเข้าถึงกายพระโสดาละเอียด ทำแบบเดียวกันอย่างนั้น หยุดอย่างเดียวกันนั่นแหละ หยุดอย่างนั้นแหละ พอหยุดเข้ารูปนั้นจริงๆ เข้าถึงกายพระสกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด ก็รู้รสชาติของใจทีเดียว พอเข้าถึงพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เข้าแล้วหลุดหมด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกฺขูปสมคามินํ อย่างนี้เอง ถึงพระนิพพานเป็นที่ดับแห่งทุกข์ พอถึงพระอรหัตก็เห็นนิพพานแจ่ม เข้านิพพานไปได้ทีเดียว นี้ไปอย่างนี้ ไปจริงๆ อย่างนี้ ก็ไปได้ เพราะเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว ก็เข้ามาคลุมสัจธรรมทั้ง ๔ ไว้ ยังไม่ปล่อยทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มั่นกับใจดูแล้วดูอีก ทบทวนแล้วทบทวนอีก แน่นอนในใจ พอแน่นอนในใจ เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ พอครบ ๔ เข้าเท่านั้นแหละ ได้บรรลุพระโสดาทันที พอพระโสดาเข้าสมาบัติ นิ่งอยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมาๆ ตาธรรมกายของพระโสดาไปเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ รู้ด้วยญาณของพระโสดา พอครบรอบ ๔ เข้าเท่านั้น ได้บรรลุพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูมใสบริสุทธิ์หนักขึ้นไป ธรรมกายพระสกทาคาเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมา แบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม เห็นชัด พอถูกส่วนเข้า ก็ได้บรรลุพระอนาคา พระอนาคาเดินสมาบัติแบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหมเข้าก็ได้บรรลุพระอรหัตทีเดียว หมดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานทีเดียว ถ้าหลักฐานเรียกว่า โสฬสกิจ เรียกว่าแค่นี้สำเร็จโสฬสกิจแล้ว โสฬสกิจแปลว่ากระไร ? กิจ ๑๖ ในเพลงที่เขาวางไว้เป็นหลักว่า เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖ นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา ทางพระอรหัตแค่นี้ นี้ทางปฏิบัติ เทศนาดังนี้เป็นทางปฏิบัติ ไม่ใช่ทางปริยัติ นี่ทางปฏิบัติอันนี้แหละ พระพุทธศาสนาในทางปริยัติ ดังแสดงแล้วในตอนต้น พุทธศาสนาในทางปฏิบัติดังแสดงแล้วในบัดนี้ แต่ปริยัติ ปฏิบัติ ที่เรียกว่าเข้าถึงปฏิบัติ เดินสมาบัติทั้ง ๘ นั้น เป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังนี้ นี่เป็นทางปฏิบัติแท้ๆ
    เมื่อกายธรรมเห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้เข้าเห็นพระโสดา บรรลุถึงพระโสดา นั่นปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว ได้เข้าถึงพระโสดาแล้ว ทั้งหยาบทั้งละเอียด เมื่อพระโสดา เดินสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์เข้าทั้งหยาบทั้งละเอียด ได้บรรลุพระสกทาคา
    เมื่อถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นเข้านั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดในสกทาคาเข้าแล้ว เมื่อพระสกทาคาเข้าสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหมเข้า เห็นในสัจจธรรมทั้ง ๔ ชัดอีก ได้บรรลุ พระอนาคา นี้ที่ได้เห็นตัวพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด และทั้งธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา นั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดเห็นจริงทีเดียว เห็นปรากฏทีเดียว
    เมื่อพระอนาคาเข้าสมาบัติ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดใน ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้บรรลุพระอรหัต
    เมื่อเห็นกายพระอรหัต ทั้งธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดทีเดียว นั่นเห็นชัดอันนั้นแหละได้ชื่อว่า เป็นปฏิเวธแท้ๆ เชียว รู้แจ้งแทงตลอด
    นี้ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ศาสนามีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ถ้าว่านับถือศาสนา ปฏิบัติศาสนา เข้าปริยัติก็ไม่ถูก ปฏิบัติก็ไม่ถูก ปฏิเวธก็ไม่ถูก มันก็ไปต่องแต่งอยู่นั่น เอาอะไรไม่ได้ สัก ๑๐ ปี ๑๐๐ ปี ก็เอาอะไรไม่ได้ ถึงอายุจะแก่ปานใด จะโง่เขลาเบาปัญญาปานใด ถ้าเข้าถึงทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ไม่ได้ ไม่เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังแสดงมาแล้วนี้ จะปฏิบัติศาสนาเอาเรื่องราวไม่ได้ ถ้าว่าคนละ โมฆชิณฺโณ แก่เปล่า เอาอะไรไม่ได้ เอาเรื่องไม่ได้ เหตุนี้แหละทางพุทธศาสนาจึงนิยมนับถือนักในเรื่อง สัจธรรมทั้ง ๔ นี้
    ที่แสดงมานี้ก็เพื่อจะให้รู้สัจธรรมทั้ง ๔ เมื่อรู้จักสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว สัจจธรรมทั้ง ๔ นี้ใครเป็นคนรู้คนเห็น ธรรมกาย ธรรมกายโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นผู้เห็นเป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เหล่านี้ นี้แหละเป็นธรรมสำคัญในพุทธศาสนา เมื่อได้สดับ ตรับฟังแล้ว พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า เมื่อรู้จักธรรมที่พระองค์ทรงรับ สั่งว่า เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้ที่พึงอันเกษมผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้ที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ด้วยประการดังนี้ ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย เป็นไปในทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติใน เขมาเขมสรณาทีปิกคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็น สยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนา ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    ผู้ถึงธรรมกายแล้วมีลักษณะเหมือนเข้าฌานหรือไม่ เวลาปกติไม่ได้นั่งสมาธิ สภาพจิต ยังคงสภาพของธรรมกายไว้ได้ตลอดไปหรือ ?

    ตอบ:


    การที่เราจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ จะต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะฉะนั้นระดับสมาธิก็ขึ้นสูงไปเป็นลำดับ เหมือนกับท่านจะส่งดาวเทียมออกนอกโลก ท่านต้องใช้ “ฐาน” ไม่มีฐาน ยิงไม่ได้ ไม่ทะยานขึ้น ฐานนั้นอุปมาดัง “ศีล” ต้องมีท่อนเชื้อเพลิง ที่จะจุดเพื่อให้เกิดพลังผลักดัน เพื่อจะผลักดันจรวดให้พ้นออกนอกโลก อาจจะ 2-3 ท่อน แล้วแต่พลังของเชื้อเพลิงนั้น นี้อุปมาดั่ง “สมาธิ” และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้น ก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุด เหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้นก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุดเหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด “ปัญญา” ปัญญาส่งให้ดับกิเลสและเข้าถึงธรรมกาย อันเป็นธาตุล้วนธรรมล้วน เพราะฉะนั้นทั้งศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เป็นขันธ์ 5 มีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ ตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียดเป็นไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ฯลฯ โดยตลอด เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยสมาธิเพื่อเป็นแรงขับดัน กล่าวคือ เพื่อชำระกิเลสนิวรณ์ออกจากใจ เพื่อให้ใจหยุดนิ่ง เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วน คือ “ธรรมกาย” ให้ถึงให้ได้เสียก่อน เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละคน คนที่ธาตุธรรมแก่กล้ามากขึ้น ก็จะเห็นธรรมกายสว่างโพลง อยู่ได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชำระกิเลสได้มาก ยิ่งเข้าเขตความเป็นพระอริยบุคคลเพียงไร ธรรมกายนั้นย่อมสว่างโพลงตลอดเวลาเพียงนั้น แม้จะเดิน จะยืน จะนอน จะลืมตา หลับตา ก็ย่อมจะเห็นอยู่

    เพราะฉะนั้นสมาธิเบื้องต้น จึงเป็นเสมือนพลังของจรวดที่จะผลักดันหัวจรวด ซึ่งมีดาวเทียมให้หลุดออกไปนอกแรงดึงดูดของโลก เมื่อพ้นแนวแรงดึงดูดของโลกแล้วก็จะลอยได้ พ้นโลกได้ เหมือนกับคนที่ก้าวข้ามโคตรปุถุชนได้แล้ว ธรรมกายจะสว่างโพลงตลอด จะยืน นอน นั่ง เดิน ทุกอิริยาบถ แต่ญาณ (ความเบิกบาน) ของธรรมกายจะไม่เท่ากัน ของพระโสดาบันนั้น ประมาณ 5 วาขึ้นไป สกิทาคามี 10 วาขึ้นไป อนาคามี 15 วาขึ้นไป พระอรหัต 20 วาขึ้นไป ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ใหญ่โตขึ้นไปตามลำดับ

    ทีนี้ แม้ผู้ที่จะเป็นโคตรภูบุคคลก็ดี หรืออาจจะก้าวเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคลก็ดี ก็ย่อมเห็นธรรมกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เห็น หรือผู้ที่ธาตุธรรมแก่ ถึงแม้จะยังไม่ถึง แต่ใกล้ความเป็นพระอริยบุคคล ก็ย่อมเห็นได้มากได้บ่อย เพราะฉะนั้น ใครที่จรดใจอยู่ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ดับหยาบไปหาละเอียดไปเสมอ มากเพียงไร ธาตุธรรมของท่านผู้นั้นก็แก่กล้ามากเพียงนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เดิน ยืน นั่ง นอน ท่านก็จะเห็นอยู่ เรียกว่า มีนิพพานคือความสงบระงับจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน (ความยึดติดในขันธ์ 5) ในอารมณ์ แต่ว่าท่านจะถอนออกมาครึ่งหนึ่ง หรือกว่าครึ่งก็แล้วแต่ ถ้าอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดๆ ดับหยาบไปหาละเอียด ใจจรดอยู่ที่สุดละเอียดอยู่เสมอ สติก็ครบบริบูรณ์ยิ่งขึ้นตามส่วน ใจก็จะไม่ไปรับอารมณ์อื่นให้เกิดตัณหาอุปาทานได้มาก

    เพราะฉะนั้นเรื่องธรรมกายจึงเป็นที่เข้าใจว่า ถึง ธรรมกายแล้วมีหยาบ-ละเอียด มีอ่อน มีแก่ ตามธาตุธรรม ถ้าใครทำดับหยาบไปหาละเอียดได้เรื่อยตลอดเวลา จิตจรดที่ก้อนธาตุก้อนธรรมอยู่เรื่อย อย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถรท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ จิตท่านจรดอยู่ที่สุดละเอียดในอายตนะนิพพานเป็นตลอดเวลา อยู่ที่ธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดละเอียดของนิพพาน แม้ขณะพูดหลวงพ่อฯ ก็ทำวิชชาอยู่ เท่าที่อาตมาทราบหลวงพ่อพระภาวนาฯ ก็เป็นเช่นนั้นมาก จิตท่านในส่วนละเอียดบริสุทธิ์มาก

    เพราะฉะนั้นคงจะเข้าใจขึ้น อยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละบุคคล บางคนอยู่ในระดับโคตรภูมาก ธาตุธรรมยังอ่อนอยู่ ก็ต้องทำ (ภาวนา) ต่อให้สุดละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะฉะนั้นพวกที่ธาตุธรรมอ่อนก็มักจะหลุดๆ ติดๆ ที่ธรรมกาย ซึ่งเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนนั้น เห็นๆ หายๆ ก็ต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่าธาตุธรรมจะแก่กล้า แล้วจะเห็นและเป็นถี่ขึ้น จนถึงตลอดเวลาเอง คงจะเข้าใจได้ว่า ในสมัยพุทธกาลพอพระพุทธเจ้าท่านแสดงนิดเดียว ผู้ฟังส่งใจไปตามธรรมนั้น ก็บรรลุแล้วนั้นแหละธาตุธรรมเขาแก่กล้ามาก
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    เมื่อกระผมทำภาวนา ความตั้งใจของกระผมเกือบทั้งหมดจะจับอยู่ที่ดวงกลมใส และกายในกายต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมา แล้วเมื่อไรกระผมจึงจะมีโอกาสพิจารณาสภาวธรรม และเมื่อไรกระผมจึงจะสามารถพัฒนาปัญญาที่สำคัญทั้งหมดได้ ?

    ตอบ:

    เวลาใดที่ใจเป็นอิสระจากกิเลสนิวรณ์ ท่านก็สามารถจะดำเนินการพิจารณาสภาวธรรมได้เสมอ ตัวอย่างเช่น ท่านเห็นดวงกลมใส ท่านก็สามารถขยายให้ใหญ่ขึ้นได้ตามปรารถนา ซึ่งเมื่อนั้นหมายความว่า ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ของท่านจะ ขยายใหญ่ขึ้นด้วย ให้ทำเช่นนั้นไปจนกระทั่งใหญ่ประมาณขนาดเท่าร่างกายทั้งหมดของท่าน

    ในสภาวะนั้นทิพจักษุก็จะเกิดและเจริญขึ้น ให้ท่านสามารถพิจารณาเห็นทุกส่วนต่างๆ ของร่างกายของท่านพร้อมๆ กันได้ หรืออาจจะพูดได้ว่า ท่านไม่ต้องเลื่อนการเห็นจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง ต่อๆ ไป เพื่อให้เห็นทั่วร่างกาย แต่ท่านจะเห็นได้โดยรอบเลยทีเดียว

    บัดนี้ท่านก็จะสามารถพิจารณาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายของท่าน ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงได้ว่า ไม่มีแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดที่น่ารักใคร่เลย แท้จริงแล้วอวัยวะทุกส่วน ล้วนแต่เป็นของไม่สะอาด นี้เป็นวิธีพิจารณากายคตาสติที่มีประสิทธิภาพมาก ที่จะช่วยให้จิตใจของท่านสงบจากกามตัณหา ดังที่อาตมาจะขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง

    เมื่อครั้งที่อาตมายังเป็นฆราวาสอยู่ วันหนึ่งอาตมานั่งรถสองแถวกลับบ้าน อาตมาโชคดีที่ได้ที่นั่ง รถแน่นมากจนต้องยืนเบียดกัน มีสาวรุ่นคนหนึ่งยืนข้างหน้าของอาตมา หันหน้าเข้าหาอาตมาเสียด้วย หน้าอกของเธอสัมผัสที่หน้าอาตมาหลายครั้งเมื่อรถโคลงไปมา อาตมาทำภาวนาตลอดเวลา ตั้งใจดูในสมาธิว่าเธอเป็นอย่างไร ระหว่างการเดินทางนั้น ในสมาธิ อาตมาเห็นทุกส่วนของร่างกายเธอที่ต้องการจะดู ขณะนั้นอาตมาตระหนักว่า แท้จริงแล้ว ทุกส่วนของร่างกายนั้นสกปรกมาก พอดีเห็นเธอกำลังมีประจำเดือนอยู่ และขณะนั้นอาตมาก็รับรู้สัมผัสได้ด้วยใจ ถึงกลิ่นที่ค่อนข้างน่ารังเกียจนั้นด้วย

    นั้นเป็นการพิจารณากายคตาสติ และอาตมาก็ได้ใช้วิธีการนั้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทั้งในการพิจารณาสังขารร่างกายของตนเอง และของผู้อื่นช่วยให้อาตมาสามารถประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับภรรยาของอาตมาได้ดีเป็นเวลา 10 ปีก่อนที่จะบวช

    เมื่อท่านมีความรู้สึกทางเพศควรกำหนดใจทันที ใช้ปัญญาของท่านเริ่มพิจารณากายคตาสติทันที จะช่วยให้สามารถกำจัดนิวรณ์ได้ แล้วจงชำระจิตใจของท่านให้บริสุทธิ์ โดยวิธีดับหยาบไปหาละเอียดให้มากขึ้นๆ เมื่อท่านถึงจุดที่ใจบริสุทธิ์ผ่องใสที่สุด สงบที่สุด กามตัณหาของท่านจะสงบลง โดยการพิจารณาเห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายตามที่เป็นจริง ว่าน่ารังเกียจ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมจึงควรพิจารณากายคตาสตินี้ตลอดเวลา.
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    อุปกิเลสเหล่านี้ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
    ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป •


    การเจริญภาวนาธรรมนั้น มีเงื่อนไขหลายอย่าง ที่ผู้ปฏิบัติพึงจะต้องทราบ และคอยสอดส่องพิจารณา ให้การปฏิบัติเป็นไปโดยถูกถ้วนสมบูรณ์และตรงประเด็น

    พร้อมด้วยพิจารณาในเหตุและสังเกตในผลของการปฎิบัติว่า ให้ผลในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษด้วย

    พระพุทธองค์เคยทรงมีพระดำรัส กับเหล่าพระภิกษุเกี่ยวกับอุปกิเลสของสมาธิ ปรากฏอยู่ในอุปกิเลสสูตร ในสุญญตวัคค์ อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย หน้า 302 ข้อ 452 มีใจความว่า

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ที่ป่าชื่อว่า ปาจีนวังสะทายวัน แขวงเมืองโกสัมพี

    ณ ที่นั้นภิกษุสามรูป คือ พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ และพระกิมพิละ ได้ทูลพระองค์ว่า

    "ข้าพระองค์ทั้งสาม พยายามกำหนดเห็นแสงสว่าง แล้วเห็นรูปทั้งหลาย แต่แสงสว่างและรูปนั้น เห็นอยู่ไม่นาน ก็หายไป ข้าพระองค์ทั้งสามไม่ทราบว่า เป็นเพราะเหตุไร "

    พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย (พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระภิกษุทั้งสามองค์ แต่ได้ทรงเรียกอนุรุทธะเป็นองค์แรก ในบาลีจึงใช้"อนุรุทธา")

    แม้เราเอง ครั้งก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ กำหนดเห็นแสงสว่างได้ และเห็นรูปทั้งหลาย แต่ไม่นานเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น ก็หายไป เราเกิดความสงสัยว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    เราก็คิดได้ว่า อุปกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    อุปกิเลสเหล่านี้คือ

    1. วิจิกิจฉา ความลังเลหรือความสงสัย

    2. อมนสิการ ความไม่ใส่ใจไว้ให้ดี

    3. ถีนมิทธะ ความท้อและความเคลิบเคลิ้มง่วงนอน

    4. ฉัมภิตัตตะ ความสะดุ้งหวาดกลัว

    5. อุพพิละ ความตื่นเต้นด้วยความยินดี

    6. ทุฏฐุลละ ความไม่สงบกาย

    7. อัจจารัทธวิริยะ ความเพียรจัดเกินไป

    8. อติลีนวิริยะ ความเพียรหย่อนเกินไป

    9. อภิชัปปา ความอยากที่จะเห็นนิมิตจนเกินไป

    10. นานัตตสัญญา ความฟุ้งซ่าน นึกไปในสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เคยผ่านมา หรือเคยจดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ

    11. รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ ความเพ่งต่อรูปหรือนิมิตจนเกินไป

    อนุรุทธะทั้งหลาย เมื่ออุปกิเลสเหล่านี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราก็เคลื่อนไป เพราะอุปกิเลสเหล่านี้เป็นต้นเหตุ

    เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ก็หายไป

    ฉะนั้น เราพยายามสอดส่องดูว่า วิธีใดจะทำให้อุปกิเลสเหล่านี้ เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็ทำใจไว้โดยวิธีนั้น

    อนุรุทธะทั้งหลาย เรารู้ชัดว่า วิจิกิจฉาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของจิต จึงได้ละเสีย"

    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ตรัสกับพระภิกษุเหล่านั้นอีกด้วยว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย เราคิดได้ว่า ขณะใด สมาธิของเราน้อย ขณะนั้น จักษุก็มีน้อย ด้วยจักษุอันน้อยนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างน้อย เห็นรูปก็น้อย

    ขณะใด สมาธิของเรามาก ขณะนั้น จักษุก็มีมาก ด้วยจักษุอันมากนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างมาก เห็นรูปก็มาก เป็นดังนี้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง"


    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    temp_hash-69c9765adf8a0084ff39f7cd42801e98-jpg-jpg.jpg
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    นึกถึงลูกแก้ว แต่จิตไม่ยอมภาวนา พอฝืนทำไปจะเครียด ?
    เมื่อผมนั่งสมาธิปล่อยกายสบายดีแล้ว เอาจิตนึกถึงลูกแก้ว แล้วไปจรดไว้ที่ฐานที่ 7 นึกจะภาวนา แต่จิตไม่ยอมภาวนา พอฝืนภาวนาไปจะมีอาการตึงเครียด มึนศีรษะและอึดอัด เป็นเพราะอะไร ? จะแก้ไขอย่างไร ?

    ตอบ:

    โดยปกติ ถ้าจิตรวมดิ่งหยุดนิ่งไปแล้วนั้น องค์บริกรรมภาวนา (คำว่าสัมมาอรหัง) ก็จะหายไปด้วย กล่าวคือ เมื่อลมหายใจ (กายสังขาร) ระงับ จิตจะยิ่งละเอียดและหยุดนิ่ง ความนึกคิด (วจีสังขาร) ก็จะระงับด้วย นี่แหละ ที่ใจกำลังรวมหยุดเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ถึงขั้นฌาน



    วจีสังขารระงับด้วยนั้นคืออย่างไร ? คือเมื่อจิตละเอียดและรวมลงแล้ว องค์บริกรรมภาวนาจะเลือนไปเอง แต่ถ้าเราฝืนบริกรรมภาวนาเข้า ก็ผิดหลักปฏิบัติ เพราะจิตละเอียดและรวมลงแล้ว บางคนลืมองค์ภาวนา ก็ไม่ต้องภาวนา ไม่เป็นไร ขอแต่อย่าให้เคลื่อนศูนย์ ให้หยุดในหยุด กลางของหยุดๆๆ ปล่อยให้ใจดิ่งหยุดนิ่งๆ แล้วก็อย่าบังคับหรือเพ่งแรง เมื่อจิตยิ่งดิ่งละเอียดลงไปแล้ว ขอให้หยุดนิ่งๆ เบาๆ ประเดี๋ยวจิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 ตรงระดับสะดือ แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาใสสว่างตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือเอง

    ธรรมชาติของใจ เมื่อใจจะรวมหยุด

    1. ประการแรก ลมหายใจจะหยุดด้วย แต่เราแทบไม่รู้สึกตัว คือลมหายใจของผู้ที่เป็นสมาธิจะละเอียดเหมือนกับจะไม่ได้หายใจ ถ้าลมหายใจยังหยาบอยู่ ยังไม่เป็นสมาธิที่แนบแน่น ใจที่จะเป็นสมาธิแนบแน่น ลมหายใจจะละเอียดและสั้นเข้าๆ แล้วรวมลงหยุดนิ่งสนิท แต่ไม่รู้สึกอึดอัด ใจจะเบาและสบายเป็นปกติ อาการที่ลมหายใจหยุดนั้น เรียกว่า “กายสังขาร” ระงับแล้ว
    2. ส่วน “วจีสังขาร” กล่าวคือองค์บริกรรมภาวนา (คำว่าสัมมาอรหัง) ก็จะค่อยๆ ระงับตามไป จะรู้สึกลืมๆ เลือนหายไปไม่เป็นไร ขอแต่อย่าให้เคลื่อนศูนย์ ให้เห็นศูนย์ไว้เรื่อย หยุดในหยุดกลางของหยุดๆๆ ปล่อยใจให้ดิ่ง หยุดนิ่งลงไป ประเดี๋ยวก็ใสสว่างขึ้นมาเอง
    ท่านผู้นี้ได้ถามต่อไปว่า “เมื่อผมภาวนาไม่ได้ ผมก็เปลี่ยนละครับ ไม่ภาวนา เอาจิตไปจรดไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 แล้วกำหนดลมในท้องกระเพื่อมไปกระเพื่อมมา” นี่คงเคยติดการภาวนายุบหนอพองหนอมา ไม่เป็นไร แต่ว่าต่อไปไม่ต้องไปมองเห็นความกระเพื่อม ไม่ต้องสนใจความกระเพื่อม จิตจะได้หยุดดิ่งนิ่งสนิทลงไปจริงๆ

    ถ้าบังคับจิตให้เข้าๆ ออกๆ จากสมาธิ พอจิตจะหยุดนิ่งเข้า ก็ไปฝืนให้จิตทำงานคือบริกรรมภาวนาใหม่อีก อย่างนั้นย่อมจะทำให้จิตเครียด เพราะถูกบังคับจึงเกร็ง อย่างนั้นผิดวิธี จงปล่อยใจตามสบาย กายก็ปล่อยตามสบาย อย่าเกร็งเป็นอันขาด คือเราอย่าไปสนใจ เพราะฉะนั้นมันจะไม่เกร็ง การเกร็งนั้นเป็นอาการหนึ่งของใจที่ถูกเราบังคับเกินไป พอบังคับเกินไป จิตก็จะไม่ยอมรวมลง ไม่ยอมหยุด จงนึกถึงการกดลูกปิงปองให้จมลงน้ำ ถ้ากดแรง ลูกปิงปองจะหลุดมือ จิตที่ถูกบังคับหรือกดดันมาก จะถอนทันที จิตบังคับไม่ได้ ต้องค่อยๆ ประคองเบาๆ ปล่อยใจสบายๆ แต่อย่าให้สบายจนง่วงและหลับ อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ปล่อยใจตามสบาย คือทำใจให้โปร่งสบายนิ่งๆ อย่าเพ่งนิมิตแรง เพราะความอยากเห็นเกินไป อย่าบีบบังคับใจเกินไป เบาๆ ธรรมดา ไม่ต้องเกร็ง แล้วจิตจะค่อยๆ รวมดิ่งลงไปเอง

    เพราะฉะนั้น จงปรับนิดหน่อย นี่มีประสบการณ์ดีแล้ว ปรับปรุงอีกนิดหน่อยก็จะดีขึ้น ส่วนว่าที่เคยติดยุบหนอพองหนอมานั้น ก็ไม่ต้องสนใจ เพียงแต่จรดใจนิ่งที่ศูนย์กลางของกลางๆๆๆ พอใจหยุดนิ่ง ใสสว่าง ความรู้สึกกระเพื่อมจะหายไปเอง อย่าสนใจก็แล้วกัน

    สรุปว่า จรดใจนิ่งๆ เฉยๆ อย่าเกร็ง อย่าบังคับใจแรง องค์บริกรรมภาวนาจะค่อยๆ ลืมเลือนไป เพราะเราไม่สนใจ ใจไปหยุดดิ่งลงที่กลางของกลางนั้นถูกต้องแล้ว บริกรรมภาวนาคือการท่องในใจนี้ เมื่อกำหนดไปแล้วจะหยุดเอง จิตละเอียดเข้าๆๆ ต่อไปลมหายใจก็ไม่สนใจ แล้วละเอียดเข้าไปๆ ใจจะสงบและหยุดนิ่งนั้นถูกต้องแล้ว แต่อย่าบังคับใจเกินไป อย่าเกร็ง อย่าอยากเห็นเกินไป นิ่งๆ เฉยๆ เบาๆ แล้วใจจะหยุดสงบนิ่งกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หรือดวงปฐมมรรคใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    c_oc=AQm3aZwcJw6fg9k5sd1WRa3N1mE1rmmeMTgzkiIEASI1qQ7n4ZPZSYgz0RSL2Cy4Rao&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    ธชัคคสูตร


    lphor_tesna_vn.jpg

    20 มิถุนายน 2497
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)


    ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ. อถโข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท เทเว ตาวตึเส อามนฺเตสิ สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา มเมว ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ มมํ หิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา โส ปหิยฺยิสฺสตีติ.

    ณ บัดนี้อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยความชนะและความแพ้ 2 กระแส โลกปรารถนาความชนะทุกถ้วนหน้า ไม่มีใครปรารถนาความแพ้เลย ความแพ้ หรือความ ชนะนี้เป็นของคู่กัน ในศึกสงครามใดๆ ในมนุษย์โลก ต่างฝ่ายก็ชอบชนะด้วยกันทั้งนั้น ไม่มี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากจะแพ้ หรือมุ่งมาตรปรารถนาความแพ้ ถ้าว่าคิดว่าแพ้แน่แล้ว ก็ไม่สู้ ถ้าว่าคิดว่าสู้ก็ไม่แพ้ ตั้งใจอย่างนี้

    บัดนี้ สงครามโลกกำลังปรากฏอยู่ ในเกาหลียังปรากฏอยู่ ในอินโดจีนนั้นก็ยัง ปรากฏอยู่ ต่างฝ่ายก็มุ่งเอาชัยชนะด้วยกัน สู้กันจริงๆ จังๆ อย่างนี้

    ทางพุทธศาสนาเล่า มุ่งความชนะยิ่งกว่านั้น แต่ว่าความแพ้มันล่อแหลม มันก็ ปรากฏอยู่เหมือนกัน เหมือนภิกษุที่สวมฟอร์มเป็นภิกษุอยู่เช่นนี้ ถ้ามุ่งความชนะจึงได้ สวมฟอร์มเช่นนี้ เข้าสู้รบทีเดียว ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกาแสดงอากัปกิริยามุ่งความชนะอีก เหมือนกัน แต่ความชนะน่ะ ชนะอะไร ชนะที่สุดต้องชนะความชั่วทั้งหมด ความชั่วทั้งหมด มีมากน้อยเท่าใด มุ่งชนะทั้งหมด จนกระทั่งดีที่สุดถึงพระอรหันต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน มุ่งหลักฐานเช่นนั้น

    โลกดุจเดียวกัน มุ่งความชนะเป็นเบื้องหน้า เพื่อจะหลีกเลี่ยงเสียจากความแพ้ เมื่อได้ชัยชนะแล้ว ก็ได้ความเป็นใหญ่ในประเทศนั้นๆ ชนะทุกประเทศเป็นเอกในชมพูทวีป เรียกว่า ชนะเลิศ การชนะนี้แหละเขาต้องการกันนัก มีแพ้ชนะ 2 อย่างเท่านั้น

    ไม่ว่าแต่ความแพ้ชนะในมนุษย์นี่ ในดาวดึงส์เทวโลกนั่นเทวดายังรบกันเลย เรื่องนี้ ปรากฏตามกำหนดวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรพ์มีมาแล้วในกาลปางก่อน เทวาสุรสงฺคาโม สงครามเทวดาและอสูร สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ ได้ประชิดกันเข้าแล้ว เทวดา และอสูรในดาวดึงส์ทำสงครามกันขึ้นแล้ว เมื่อสงครามเกิดขึ้นเช่นนั้น ในคราวใดสมัยใด พวกอสูรแพ้ท้าวสักกรินทรเทวราช ก็ลงไปตั้งพิภพอยู่ภายใต้เขาพระสุเมรุ บนยอดเขา พระสุเมรุนั้น พระอินทร์ตั้งพิภพอยู่ในที่นั้น เรียกว่าดาวดึงส์ หนทางไกลตั้ง 84,000 โยชน์ จากยอดไปถึงตีนเขาโน่น จากยอดเขาไปถึงยอดเขา 84,000 โยชน์ หนทางไกลขนาดนี้ แต่ว่า เขาพระสุเมรุอยู่ในน้ำ มีน้ำล้อมรอบ

    เมื่อถึงเทศกาลฤดูดอกแคฝอยในพิภพของอสูรบานขึ้นเวลาใด ชาวอสูรตกใจก็ที่พิภพ ของเราที่เราเคยอยู่มันมีดอกปาริฉัตตชาติ นี่ดอกแคฝอยเกิดขึ้นในพิภพของเราเช่นนี้ ไม่ใช่ พิภพของเราเสียแล้ว คิดรู้ว่า อ้อ! เมื่อครั้งเราเมาสุรา ท้าวสักกรินทรเทวราชจับเราโยนลงมา พวกเราจึงมาอยู่ในเขาพระสุเมรุนี้ ที่เกิดพิภพอสูรขึ้นเช่นนี้ก็เพราะบุญของเรา แต่ว่าหักห้ามความแค้นใจนั้นไม่ได้ ต้องผุดขึ้นมาจากน้ำ ออกมาจากเชิงเขาพระสุเมรุจากในน้ำนั้นแหละ เหาะขึ้นไปในอากาศ ไปรบกับท้าวสักกรินทรเทวราช

    ถึงคราวสมัยทำสงครามกับอสูรเวลาใด ท้าวสักกรินทรเทวราช ก็เรียกเทวดาในชั้น ดาวดึงส์ หมู่เหล่าเทวดาในชั้นดาวดึงส์มีมากน้อยเท่าใด เรียกมาสั่งว่า สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา มเมว ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ มมํ หิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา โส ปหิยฺยิสฺสติ ว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าความกลัว หรือความหวาดสะดุ้ง หรือ ความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่ท่านทั้งหลายที่ไปอยู่สงครามแล้ว ท่านทั้งหลายเมื่อความ กลัวเกิดขึ้นเช่นนั้น ให้แลดูชายธงของเรา เมื่อท่านแลดูชายธงของเรากาลใด กาลนั้นความกลัว ความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าอันใดที่มีอยู่ อันนั้นย่อมหายไป เมื่อท่านแลดูชายธงของ เราแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งไม่หายไป ขอท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเทวราชปชาบดีเถิด เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชปชาบดี ความกลัวก็ดี ความ หวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่มีอยู่ ย่อมหายไป เมื่อท่านแลดูชายธงของ เทวราชปชาบดีแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งไม่หายไป ท่านพึงแลดูชายธงของวรุณเทวราช เถิด ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านก็จะหายไป ถ้าว่าเมื่อท่าน แลดูชายธงของเทวราชวรุณแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้านั้นยังไม่ หายไป ทีนั้นท่านพึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อว่าอีสานเถิด เมื่อท่านแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสานแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านจะหายไป

    เมื่อท่านแลดูชายธงของท่านทั้ง 4 เหล่านี้ ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพอง สยองเกล้าบางทีก็หายไปบ้าง บางทีก็ไม่หายบ้าง ตํ กิสฺส เหตุ นั่นเหตุอะไรเล่า สกฺโก หิ ภิกฺขเว เทวานมินฺโท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกรินทรเทวราชผู้เป็นจอมของเทวดา อวีตราโค มีราคะยังไม่ไปปราศแล้ว อวีตโทโส มีโทสะยังไม่ไปปราศแล้ว อวีตโมโห มีโมหะ ยังไม่ไปปราศแล้ว ภิรุ ฉมฺภี อุตฺตราสี ปลายีติ เป็นผู้ยังกลัว ยังหวาด ยังสะดุ้ง ยังหนีไปอยู่ ท่านทั้ง 4 นั้นยังกลัว ยังหวาดสะดุ้ง ยังหนีไปอยู่ อหญฺจ โข ภิกฺขเว เอวํ วทามิ สเจ ตุมฺหากํ ภิกฺขเว อรญฺญคตานํ วา รุกฺขมูลคตานํ วา สุญฺญาคารคตานํ วา อุปฺปชฺเชยฺย ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวอย่างนี้แล เมื่อท่านทั้งหลายไปอยู่ป่าแล้ว ไปอยู่ที่โคนต้นไม้แล้ว ไปอยู่ เรือนว่างเปล่าแล้ว ถ้าแม้ว่าความกลัวความหวาดความสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้น แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเราผู้ตถาคตเข้าเถิด เมื่อท่านระลึกถึงเราผู้ตถาคต แล้วกาลใด กาลนั้นความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านทั้งหลาย จะหายไป เมื่อท่านระลึกถึงเราแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าไม่หายไป ทีนั้นท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมเข้าเถิด เมื่อท่านทั้งหลายระลึกถึงพระธรรมเข้าแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าจะหายไป เมื่อท่านระลึกถึงพระธรรมแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าของท่านไม่หายไป ทีนั้นท่านพึงระลึกถึง พระสงฆ์เข้าเถิด เมื่อท่านระลึกถึงพระสงฆ์เข้าแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพอง สยองเกล้าของท่านก็จะหายไป

    ที่ท่านทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความกลัวความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าหายไป ตํ กิสฺส เหตุ นั่นเหตุแห่งอะไร ตถาคโต อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระตถาคตเจ้าเป็นผู้หมดกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ วีตราโค เป็นผู้มีราคะไปปราศ แล้ว วีตโทโทส มีโทสะไปปราศแล้ว วีตโมโห มีโมหะไปปราศแล้ว อภิรุ อจฺฉมฺภี อนุตฺตราสี อปลายี เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนีไป เพราะท่านเป็นผู้หมด ภัยแล้ว ท่านไม่มีภัยแล้ว เมื่อระลึกถึงท่านเข้า เมื่อระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เข้า ภัยอันใดจักมี ภัยอันใดที่มี ภัยอันนั้นย่อมหายไป อยู่ไม่ได้ นี้เป็นเครื่องมั่นใจของ พุทธศาสนิกชนยิ่งนักหนา

    ฝ่ายท้าวสักกรินทรเทวราช ปชาบดีเทวราช วรุณเทวราช อีสานเทวราช ท่านมี บุญหนักศักดิ์ใหญ่ในดาวดึงส์เทวโลก เป็นผู้ปกครองของเทพเจ้าในดาวดึงส์เทวโลก ท้าว สักกรินทรเทวราชผู้เป็นจอมเทวดา เป็นเทวดาผู้ใหญ่ เป็นที่มั่นใจของเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวโลกฉันใด พุทธศาสนิกชน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มีพระรัตนตรัยเป็นหลัก คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เป็นหลัก เมื่อระลึกถึงหลักอันนี้แล้ว ย่อมไม่หวาดเสียว ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่สะดุ้ง มั่นคงในพระพุทธศาสนา เมื่อมั่นคงในพระพุทธศาสนา เมื่อมั่นคง แน่แท้เช่นนี้แล้ว จะเอาชัยชนะได้ ไม่ต้องสงสัยละ กระทำสิ่งใดสำเร็จสมความปรารถนาทีเดียว

    จะทำอย่างไรพุทธศาสนิกชนที่จะทำจริง ทำแท้แน่นอน เอาจริงเอาจังกันละ ของ ไม่มาก ของนิดเดียวเท่านั้น พุทธศาสนิกชน หญิงก็ดี ชายก็ดี คฤหัสถ์ บรรพชิต ไม่ว่า ต้องทำใจให้หยุด หยุดที่ตรงไหน ที่หยุดมีแห่งเดียว เคลื่อนจากที่หยุดแห่งนั้นละก้อ เป็น เอาตัวรอดไม่ได้ ไม่ถูกเป้าหมายใจดำพุทธศาสนา ทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั้น พอ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่นได้แล้ว นั่นแหละเป้าหมายใจดำพุทธศาสนา ตรงนั้นแหละ เมื่อ มนุษย์จะเกิดมา ต้องเอาใจหยุดตรงนั้น กลางตัวละก้อ หญิงชายเกิดต้องเอาใจไปหยุด ตรงนั้น ที่หยุดของใจ เวลาจะหลับก็ต้องเอาใจไปหยุดตรงนั้นจึงหลับได้ หลับตรงไหน ตื่นตรงนั้น เกิดตรงไหน ตายที่นั่น อ้ายที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่นนั่นแหละ เอาใจไปหยุดตรงนั้น

    พอหยุดถูกส่วนเข้ากลางกายมนุษย์ คราวนี้ก็จะเดินไปแบบเดียวกันนี้แหละ ไม่มีสอง ต่อไปละ พุทธศาสนาแท้ๆ ทีเดียวนา ออกจากโอษฐ์พระบรมศาสดานะ คำว่าหยุดนั่นแหละ เมื่อพระองค์เสด็จไปทรมานองคุลิมาล องคุลิมาลหมดพยศร้ายแล้ว แพ้จำนนพระบรมศาสดาแล้ว เปล่งวาจาว่า สมณะหยุดๆ พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์ สมณะหยุดแล้ว ท่านไม่หยุด คำว่าหยุด นี่ออกจากโอษฐ์พระบรมศาสดา องคุลิมาลพอรู้จักนัยที่พระบรมศาสดาให้เช่นนี้ ก็หมดพยศร้าย มิจฉาทิฏฐิหาย กลายเป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น อ้ายตัว หยุดนี่แหละหนา เลิกเป็นมิจฉาทิฏฐิ กลับเป็นสัมมาทิฏฐิทีเดียว

    หยุดนี่แหละเป็นตัวถูกละก้อ เอาใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไม่หยุดไม่ยอมกัน แก้ไขจนกระทั่งใจหยุดกึ๊ก เมื่อใจหยุด แล้ว เข้ากลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆ ไม่มีเขยื้อน ที่กลางของกลางทีเดียว พอถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใสเป็น กระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าใสเกินใจ ใจก็หยุดอยู่กลางดวงของธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล เท่ากับดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วน เข้า กลางของกลางที่ใจหยุดหนักเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่น หยุดกลางของกลางถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ดวงเท่ากัน เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่น พอหยุด ก็เข้ากลางของกลางที่หยุดนั่น กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เข้ากลางของใจที่หยุด ถูกส่วน เข้า เห็นกายมนุษย์ละเอียดที่ฝันออกไป จำได้ อ้ายนี่เมื่อนอนฝันออกไป เมื่อเวลาไม่ฝัน มาอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี่เอง พอถึง รู้จักทีเดียว กำชับให้ฝันได้ นั่งฝันได้ละคราวนี้ จะฝันสักกี่เรื่องประเดี๋ยวก็ได้เรื่อง ประเดี๋ยว ก็ได้เรื่องฝันได้สะดวกสบาย เมื่อเป็นเช่นนี้ อ้อ! นี่ขั้นหนึ่งแล้ว เข้ามาแต่กายมนุษย์ มาถึง กายมนุษย์ละเอียดแล้ว

    ใจของกายมนุษย์ละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกัน พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสะ แบบเดียวกัน ก็เข้าถึงกายทิพย์ อ้อ! นี่กายที่ 3 แล้ว ใจของกายทิพย์หยุดอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์แบบเดียวกัน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ แล้วก็ไปเห็นกายทิพย์ละเอียด อ้าวถึงกายที่ 4 แล้ว ใจก็หยุดอยู่ศูนย์ กลางที่ 4 นั่น หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่ 4 นั่น ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายรูปพรหม กายที่ 5 ใจกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ใจกายรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียดนั้น ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม กายที่ 7 ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ใจกาย อรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วน เข้า ก็เข้าถึงกายธรรม

    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายธรรม ละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูกส่วนเข้าก็ถึง กายพระโสดา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง กายพระโสดาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายพระสกทาคา ใจพระสกทาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา ถูกส่วนเข้า แบบเดียวกันหมด เข้าถึงกายพระสกทาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระอนาคา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด ใจพระอนาคา ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าก็เข้า ถึงกายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้นไป ใจพระอรหัต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระอรหัต ละเอียด เสร็จกิจในพุทธศาสนาเพียงเท่านี้

    เพราะอาศัยการรบศึกแค่นี้ชนะสงครามแล้วในพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชน ภิกษุ สามเณร ชื่อว่าชนะสงครามแล้ว อุบาสกอุบาสิกามาถึงแค่นี้ได้ชื่อว่าชนะสงครามแล้ว ชนะ สงคราม ชนะความชั่ว ถ้าไปถึงธรรมกายขนาดนั้นละก้อ ความชั่วเท่าปลายขนปลายผมไม่ทำ เสียแล้ว ขาดจากกาย วาจา ใจ ทีเดียว นี่พึงรู้ชัดว่า อ้อ! พุทธศาสนิกชนปฏิบัติได้จริงจังอย่างนี้ โลกชนะสงครามแล้วเขาได้รับความเบิกบานสำราญใจเพียงแค่ไหน ฝ่ายพุทธศาสนิกชน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ได้ชนะสงครามชั่ว หมดกิเลสเข้าไปเป็นชั้นๆ เช่นนี้แล้ว จะเบิกบาน สำราญใจสักแค่ไหน หาเปรียบไม่ได้ทีเดียว เลิศล้นพ้นประมาณเป็นสุขวิเศษไพศาล

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีเป็นหลักเป็นประธาน พอสมควรแก่กาลเวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมี แก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพ พระพุทธเจ้าทั้งปวง สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ทั้งปวง ปิฎกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้ง 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอานุภาพของชินสาวก สาวกของท่านผู้ ชนะมาร จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ จงอุบัติเกิดให้ปรากฎในขันธบรรจกแก่ท่าน ทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    ?temp_hash=870985bd7de749186a792763152f069e.jpg

    ถึงแล้วอาศัยญาณพระธรรมกายพิจารณา ทั้งรู้ทั้งเห็น เพื่อตัดสังโยชน์ทั้ง10ประการ จนเป็นธรรมกายมรรค ธรรมกายผล ไม่เสื่อมถอย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    temp_hash-74064b249bd21a132afdfc629b733de2-jpg.jpg





    เมื่อใจหยุดอยู่ "กลางดวงธรรม"
    ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
    กายมนุษย์มันก็บริสุทธิ์ แม้จะใช้กาย
    กายก็ไม่กระทบกระเทือน ไม่เดือดร้อนใคร
    เย็นตาเย็นใจทุกคน #เข้าใกล้ใคร
    #กายไม่ให้กระทบกระเทือนใครเลย
    #ไม่กระแทกแดกดันด้วยประการใดประการหนึ่ง
    #ไม่แถกด้วยตาว่าด้วยปากอย่างใดอย่างหนึ่ง_ไม่มีเลยทีเดียว
    #ไม่กระทบกระเทือนใครทีเดียว
    #นั่นกายอย่างชนิดนั้นออกจากใจที่หยุด
    #ใจที่เป็นธรรม_ใจที่สงบ
    ออกจากสัทธรรม สงบเงียบเรียบร้อยเป็นอันดี
    เมื่อกายบริสุทธิ์เสีย
    #กล่าววาจาใดๆก็ไม่กระทบตนและบุคคลอื่น
    ไม่เดือดร้อนตน ไม่เดือดร้อนบุคคลอื่น
    #กล่าวออกไปแล้วชุ่มชื่นด้วยกันทั้งนั้น
    #ยิ้มแย้มแจ่มใสสบายอกสบายใจทั้งนั้น
    #นี่ออกจากใจที่หยุด_ออกจากสัทธรรมนั่นทั้งนั้น
    ไม่ใช่ออกจากอื่น
    #ส่วนใจจะคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใด
    #ก็คิดแต่สิ่งที่ดีที่ชอบทั้งนั้น ประกอบแต่สุจริต
    ทุจริตไม่มี ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ
    #นี่เป็นอาการของสัทธรรมทั้งนั้น
    “สัทธรรม” แปลว่า “ธรรมเป็นเครื่องสงบ”
    สงบอย่างไร ?
    #สงบวาจาจากบาปธรรม ไม่มีบาปธรรมเลย
    เหลือแต่วาจาที่ดี
    #สงบกาย_กายก็หมดจากบาปธรรม
    ไม่มีบาปธรรมเลย มีแต่กายที่บริสุทธิ์
    #สงบใจ_ใจก็ไม่มีพิรุธ_มีแต่บริสุทธิ์ฝ่ายเดียว



    * พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    # จากพระธรรมเทศนาเรื่อง : รัตนะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    รัตนะ


    lphor_tesna_vn.jpg


    23 พฤษภาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ
    ทุลฺลภา จ ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภติ.
    ดวงนั้นแหละเป็นสัทธรรมแท้ๆ เมื่อใจเข้าไปอยู่กลางดวงนั้นแล้ว “หยุด” ความชั่วไม่ทำเลย ใจหยุดทีเดียว ถ้าไม่หยุด เข้าไปในดวงนั้นไม่ได้ อยู่ข้างนอกเสีย อยู่ข้างนอกเสีย เป็นถิ่นที่ทำเลของมาร มารก็ปั่นหัวเหมือนเด็กๆ ยุยงส่งเสริมตามชอบใจ บังคับบัญชาตามชอบใจ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เฉลิมเพิ่มเติมศรัทธาของเจ้าภาพ ซึ่งเป็นผู้มีสมานฉันท์พร้อมใจซึ่งกันและกันด้วยมารดาและบุตร พร้อมด้วยวงศาคณาญาติเนื่องด้วยสายโลหิตและเนื่องด้วยความคุ้นเคย เนื่องด้วยสายโลหิตเรียกว่า “ญาติ” เนื่องด้วย ความคุ้นเคยเรียกว่า “วิสฺสาสา ปรมา ญาตี” ญาติ 2 จำพวกนี้ พระองค์ทรงสรรเสริญ วิสฺสาสา ปรมา ญาตี อยู่เหมือนกันว่าเป็นญาติอย่างยิ่ง แต่ว่าญาติทั้ง 2 ฝ่ายนี้เกิดมาในโลก หญิงและชายทุกถ้วนหน้า ย่อมมีญาติ 2 ประการนี้ทั่วกัน เมื่อรู้จักชัดดังนี้แล้ว บัดนี้เราเกิด มาประสบพบพระพุทธศาสนา ปรากฏจำเพาะหน้า รู้อยู่พร้อมกัน พุทธศาสนาแปลว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านสั่งสอนอย่างไร สั่งสอนสัตว์โลกให้ละความชั่ว ด้วยกาย วาจา ตลอดถึงใจ ให้ทำความดีด้วยกาย วาจา ตลอดถึงใจ แล้วก็ทำใจให้ใสด้วย 3 ข้อนี้แหละเป็นคำสั่งสอนของพระศาสดาแท้ๆ เรียกว่า ย่อย่นสกลพุทธศาสนา พระ ศาสดาสอนกว้างออกไปกว่านี้ สอนศีลเป็น 2 ขั้น ว่า เหฏฐิมศีล ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ อุปริมศีล ศีลโดยปริยายเบื้องสูง สอนสมาธิ สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยปริยาย เบื้องสูง สอนทางปัญญา ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง สอนอย่างนี้ โอวาทดังกล่าวแล้วนี้เป็นโอวาทที่ย่อย่นสกลพุทธศาสนาทั้งนั้น แต่ว่าจะแสดงนัยโดยปริยาย เบื้องต่ำ และโดยปริยายเบื้องสูง

    ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ทรงแนะนำคิหิบุคคลผู้ครองเรือนให้มั่นอยู่ในศีล 5 เว้นจากการฆ่าสัตว์ ให้ขาดจากจิตสันดาน เว้นจากถือเอาพัสดุที่เจ้าของเขาไม่ให้ด้วยอาการ แห่งขโมย ให้ขาดจากจิตสันดาน ตลอดถึงฉ้อโกง เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ให้ขาดจากจิตสันดาน เว้นจากการพูดปด คำเท็จ ไม่จริง หลอกลวงต่างๆ ให้ขาดจาก จิตสันดาน เว้นจากการดื่มน้ำที่ทำบุคคลผู้ดื่มให้เมาเป็นเหตุเป็นที่ตั้งของความประมาท ให้ขาดจากจิตสันดาน 5 ประการนี้แหละเป็นเหฏฐิมศีล ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ถ้าแม้ว่า ตั้งอยู่ในศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ รับประกันตัวได้ไม่ต้องราชอาชญาของพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ต้องติดคุกติดตะราง ไม่ต้องมีโทษมีกรณ์ ในส่วนอาณาจักรทำอันตรายไม่ได้ เพราะศีล 5 บริสุทธิ์อยู่ ทำอะไรไม่ได้ กฎหมายก็ไม่มีปรับ เพราะเหตุว่าศีล 5 รับรองเสียแล้ว นี้ ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ถ้าศีลโดยปริยายเบื้องสูงขึ้นไปเหมือนพระภิกษุสามเณรมาบวชใน พระธรรมวินัย เป็นผู้มีศีล แต่ท่านวางศีลไว้ ปาฏิโมกขสังวรศีล ให้สำรวมตามพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าท่านห้าม ทำตามที่พระองค์ทรงอนุญาต 227 สิกขาบท ในพระปาฏิโมกข์ให้บริสุทธิ์ตลอดสาย ได้ชื่อว่าตั้งอยู่ในปาฏิโมกขสังวร อาจารโคจรสัมปันโน ให้ถึง พร้อมแล้วด้วยมารยาท เครื่องประพฤติทั้งกายทั้งวาจาเรียบร้อยดี ไม่มีสะดุดตาสะดุดใจ ผู้หนึ่งผู้ใดเลย ทั้งชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นต่ำ หาตำหนิติไม่ได้ เหมือนภิกษุสามเณรที่เรียบร้อย ประพฤติอยู่ในโคจร ไม่ให้ประพฤติไปในอโคจร คือ “อโคจร” น่ะประพฤตินอกคอกนอก กรณ์ เป็นพระเป็นเณรแล้วไปดูมหรสพ เข้าไปในโรงสุรายาฝิ่น เข้าไปในโรงขายเหล้าขาย สุราเหล่านี้ เข้าไปในโรงนครโสเภณี นี่มันน่าเข้าไปรึ ภิกษุสามเณรอย่างนี้ มหรสพเขามี ที่ไหนไปโผล่ตัวขึ้นที่นั่น อย่างนี้ผิดหน้าที่ของภิกษุสามเณร เรียกว่าอโคจร ใช้ไม่ได้ ต้อง ประพฤติเป็นโคจร ต้องประพฤติอยู่ในกรอบของภิกษุ อยู่ในกรอบของสามเณรแท้ๆ ชาวบ้านตำหนิติเตียนไม่ได้ เรื่องความประพฤติ การไปมาหาสู่ ภิกษุสามเณรไปในสถานที่ ใดๆ ที่เขาติเตียนครหาไม่ไป อย่างนั้นเรียกว่า “โคจรสัมปันโน” ถึงพร้อมแล้วด้วยโคจร อนุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย ขึ้นชื่อว่าชั่ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ แม้แต่นิดหนึ่งไม่ให้กระทบทีเดียว ไม่ให้มีชั่วเข้าไปเจือปนระคนทีเดียว ขึ้นชื่อว่าความชั่วความผิดเป็นไม่ประพฤติกระทำทีเดียว ให้เป็นสุจริตทีเดียว นี่เรียกว่า เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย ขึ้นชื่อว่าโทษชั่วแล้วให้ความสุขแก่ตัวไม่มี มีแต่ ให้ทุกข์แก่ตัวเป็นเบื้องหน้า ก็ละชั่วเสียขาดจากกาย วาจา จิต ให้บริสุทธิ์สนิทเป็นอันดี สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทน้อยใหญ่ ไม่เคลื่อนพระวินัยไป เท่าปลายขนปลายผม ตั้งอยู่ในกรอบพระวินัยแท้ๆ เหมือนน้ำในมหาสมุทรมีมากน้อยเท่าใด ไม่ล้นฝั่ง อยู่ในฝั่งนั่นแหละ อยู่ในขีดขอบสมุทรนั่นแหละ ไม่ล้นขอบสมุทรไปได้ ฉันใด ภิกษุอยู่ในธรรมวินัย อยู่ในกรอบพระวินัย ประพฤติอยู่ในขอบศีลธรรม ไม่ประพฤติละเมิด อื่นจากศีลธรรมไปฉันนั้น อย่างนี้ได้ชื่อว่าเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบทน้อยใหญ่ทั้งหลาย นี่ศีลของภิกษุโดยปริยายเบื้องสูง

    เมื่อกล่าวถึงศีลแล้วต้องกล่าวถึงสมาธิ สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยปริยาย เบื้องสูง สมาธิโดยเบื้องต่ำนั้นท่านแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ปล่อยอารมณ์ทั้ง 6 รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์ ในหยุดนิ่งเฉย ไม่ไปแตะไปเกี่ยวกับอารมณ์เหล่านั้น ไม่ไปกิน อารมณ์เหล่านั้น ไม่ไปเอารสของอารมณ์เหล่านั้นมาพินิจพิจารณา ปล่อยอารมณ์ทั้ง 6 เสีย หมดทีเดียว ใจหยุดทีเดียว ทำได้อย่างนี้ชื่อว่า ลภติ สมาธึ ได้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้จิตที่หยุดนั่นแหละ หนึ่งหนักเข้าเป็นเอกัคคตา จิตอันนั้นแหละเป็น เอกัคคตา เป็นหนึ่งหนักเข้า แน่นหนักเข้า หนึ่งหนักเข้า แน่นหนักเข้า ไม่ขยับเขยื้อนละ นั้น ได้ชื่อว่า ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ เข้าถึงซึ่งความเป็นหนึ่งของจิตทีเดียว ไม่มีสองต่อไป นี้สมาธิ โดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยปริยายเบื้องสูงอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ศึกษาในธรรมวินัย คือภิกษุ ภิกษุนั่นแหละเป็นผู้เข้าถึงซึ่ง “ปฐมฌาน” ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นผู้เข้าถึงซึ่ง “ทุติยฌาน” ประกอบด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เข้าถึงซึ่ง “ตติยฌาน” ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา เป็นผู้เข้าถึงซึ่ง “จตุตถฌาน” ประกอบด้วย เอกัคคตา อุเบกขา หนึ่งเฉยไม่มีสองต่อไป แล้วมีธรรมมารองรับด้วย

    ปฐมฌานดวงใหญ่วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา หนาคืบหนึ่ง กลมเป็นวงเวียนรอบตัว ตั้งอยู่กลางกายมนุษย์ นั่นปฐมฌาน

    ทุติยฌานอยู่ในกำเนิดของปฐมฌาน เมื่อเข้าถึงทุติยฌาน ดวงเท่ากัน กายรูปพรหม ก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางฌานที่หนึ่งที่ 2 นั้น

    เข้าถึงซึ่งตติยฌานอยู่ในกำเนิดของทุติยฌาน ดวงเท่ากัน

    เข้าถึงซึ่งจตุตถฌานอยู่ในกลางกำเนิดของตติยฌาน ดวงเท่ากัน กายอรูปพรหมก็ หยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานนั้น เข้าฌานไหนก็ฌาน นั้นเข้ามาเป็นชั้น จนมาถึงชั้นที่ 4 ถ้าว่าประพฤติได้อย่างนี้ ได้ชื่อว่าภิกษุผู้นั้นเป็นผู้ถึงซึ่ง สมาธิโดยปริยายเบื้องสูงแล้ว นี่สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำและเบื้องสูง

    ส่วน ปัญญา สมาธินั่นแหละเป็นเหตุปัญญา ปัญญาเกิดแต่สมาธิจริงๆ อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต อริยสาวกในพระธรรมวินัย ของพระตถาคตเจ้านี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญาอันหยั่งเข้าถึงซึ่ง ความเกิดดับ เป็นหมดทั้งสากลโลก มีเกิดกับดับเท่านั้นไม่ไปไหน จะเกิดมาเท่าไรก็ช่าง ก็ดับ เท่านั้น เกิดมาหนึ่งก็ดับหนึ่ง เกิดมา 2 ก็ดับ 2 เกิดมา 3 ก็ดับ 3 เกิดมา 4 ก็ดับ 4 เกิดมาห้าก็ดับห้า เกิดมาเท่าไหร่ก็ดับเท่านั้น ไม่เกินกัน เกิดกับดับพอดี ถ้าไม่เกิดก็ไม่ดับ ถ้าเกิดมาเท่าไรก็ดับเท่านั้น ปัญญาเห็นชัดหมดทั้งสากลโลก เห็นชัดๆ อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยา ปัญญาอันถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ อันเป็นเครื่องเบื่อ หน่ายอย่างประเสริฐ เบื่อหน่ายไปหมด เห็นจริงเห็นจังไป มีปัญญาอย่างนี้ เรียกว่า ปัญญา โดยปริยายเบื้องต่ำ

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงนั้น ภิกษุในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้ารู้ความเป็น จริงว่านี่เป็นทุกข์ ควรกำหนดรู้ รู้ความตามเป็นจริงว่าตัณหานี่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี่ควร ละมันเสีย รู้ความตามเป็นจริงว่า นี่เป็นความดับทุกข์ ควรจะทำให้แจ้ง รู้ความตามเป็นจริง ว่านี่เป็นข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์จริงๆ นั่นควรเจริญ ทั้ง 4 ประการนี้ ใน ทุกขสัจจะ สมุทัยสัจจะ นิโรธสัจจะ มรรคสัจจะ เห็นความตามเป็นจริงเหล่านี้ นี่เป็นปัญญาโดยปริยาย เบื้องสูง พระองค์ทรงตรัสเทศนาโดยปริยายเบื้องสูงและเบื้องต่ำอย่างนี้

    บัดนี้เราเป็นภิกษุสามเณรหรือเป็นอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา เป็นพุทธศาสนิกชนรู้จักพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงรับสั่งเมื่อครั้งพญานาคไปเฝ้าพระองค์ ธรรมดา สัตว์เดรัจฉานที่ได้มรรคผลในศาสนานั้นไม่ได้เด็ดขาด พญานาคขอบวชในสำนักพระบรมศาสดา พระองค์ไม่ทรงรับ เพราะสัตว์เดรัจฉานไม่ได้มรรคผล ไม่ทรงรับ พระองค์ทรงตรัส เทศนาแก่เอรกปัตตนาคราช ว่า “ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ ทุลฺลภา จ ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภ” เป็นคาถา 4 บาท ที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ ความเป็นมนุษย์เป็นของได้ยาก ไม่ใช่ของได้ง่าย เราท่านทั้งหลายมาประสบพบ พุทธศาสนา เพราะด้วยอัตภาพได้เป็นมนุษย์นี้ นี่แหละเป็นของได้ยาก ไม่ใช่ของได้ง่าย ยาก อย่างไร เกิดมาเต็มบ้านเต็มเมือง รบราฆ่าฟันกันป่นปี้ ที่ทางไม่พอเป็นอยู่ ไม่ยากอย่างไร นึกถึงสัตว์เดรัจฉานในท้องทะเลเป็นอย่างไรบ้าง นึกถึงมดปลวกในพื้นแผ่นดินบ้าง ที่จำนวน วัดปากน้ำนี่ ที่กำหนดเขตที่ 3 ไร่กว่าๆ นี้แหละ ว่าถึงสัตว์เดรัจฉาน มด ปลวก ไร เหา เล็น ละก้อ มากกว่ามนุษย์ในชมพูทวีปอีก ที่เท่านี้แหละ แผ่นดินกว้างออกไปเท่าไร น้ำ กว้างออกไปเท่าไร น้ำคลองเดียวเท่านั้น ตัวไรน้ำมากกว่ามนุษย์ในชมพูทวีปขนาดนั้นนะ สัตว์เดรัจฉานนะ นั่นสัตว์เดรัจฉาน สัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์เล็กๆ น้อยๆ นะ อ้ายสัตว์ที่เรา เห็นด้วยตา สัตว์ตัวโตๆ ใหญ่ๆ นะ ก็มากมายนักทีเดียวเหมือนกัน นับประมาณไม่ไหว เพราะฉะนั้นที่จะได้เป็นมนุษย์แต่ละคนๆ ไม่ใช่เป็นของได้ง่าย ได้ยากนัก ธรรมที่ทำให้เป็น มนุษย์น่ะมีอยู่ เขาเรียกว่า “มนุษยธรรม” มนุษยธรรมน่ะต้องประพฤติบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์ วาจา บริสุทธิ์ใจ

    บริสุทธิ์กาย ขยายออก 3 เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม ขาด จากใจ นี่บริสุทธิ์กาย

    บริสุทธิ์วาจา ขยายออก 4 เว้นจากการพูดปด ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ โปรยปรายประโยชน์

    บริสุทธิ์ใจ แยกออกเป็น 3 เว้นจากการโลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม นี่เว้นขาด

    เมื่อเว้นขาดด้วยตัวแล้ว ไม่ชักชวนบุคคลอื่นด้วยสิบอย่างนี้ แล้วไม่ยินดีผู้ที่ประพฤติ ผิดในสิบอย่างนี้ด้วย แล้วไม่สรรเสริญพวกประพฤติผิดทั้งสิบอย่างนี้ด้วย ต้องอยู่ในความ สำรวมระวังปกติเป็นอันดี ถ้าบริสุทธิ์เช่นนี้ละก็ จึงจะเป็นมนุษย์กับเขาได้ ถ้าไม่บริสุทธิ์ถึง ขนาดนี้เป็นมนุษย์ไม่ได้ นี่เป็นข้อสำคัญนัก ต้องบริสุทธิ์อย่างนี้จึงจะได้เป็นมนุษย์ ที่ได้ เป็นมนุษย์เพราะบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ แตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์ โลกนี้ ต้องไปเกิดเป็นคัพภเสยยสัตว์ แต่ความบริสุทธิ์นั่นแหละเป็นยอดธรรมปรากฏบังเกิด ขึ้นดวงหนึ่ง เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไปติดอยู่ที่ขั้วมดลูกของมารดา มนุษย์ที่บริสุทธิ์นั้นก็เข้าไป เกิดในดวงนั้น กายละเอียดเข้าไปเกิดในดวงนั้น ไปอยู่ในดวงนั้น เหมือนลูกไก่อยู่ในฟองไข่ ไปอยู่ในดวงนั้นแล้ว นั่นบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ไม่ล่องเสียแล้วกลลรูปก็หุ้มดวงนั้น ของ มารดาบิดาหุ้มดวงนั้น เป็นหญิงก็ดี เป็นชายก็ดี ต้องเกิดท่านี้เหมือนกันหมด นี่เรียกว่า คัพภเสยยสัตว์ เกิดในท้องมารดา เขาทำที่กำเนิดให้มันเกิดไว้แล้ว อายตนะมันดึงดูด เขาเรียก ว่า “โลกายตนะ” โลกายตนะมันอยู่ที่มนุษย์นี่ ต้องมีแม่มีพ่อ อย่างเดียวก็เกิดไม่ได้ มีแม่ อย่างเดียวก็เกิดไม่ได้ มีแต่พ่อคนเดียวแม่คนเดียวเกิดไม่ได้ ต้องมีพ่อแม่มาด้วย รวมกันมา รวมกันเป็น 2 และต้องประกอบธาตุธรรมให้ถูกส่วน1 ไม่ถูกส่วนไม่เกิด เกิดไม่ได้ เขาบอก ว่าง่ายนิดเดียวทำมนุษย์ให้เกิด อ้ายคนที่มันไม่มีลูก มันบอกว่าอยากมีลูกจริง บนบาน ศาลกล่าวเท่าไหร่ก็ไม่ได้ อ้าวไปถามเขาดูสิ ไม่ได้จริงๆ เด็ดขาด ลองดูเถอะ ไม่ได้ทีเดียว ถ้าว่าทำให้ถูกส่วนไม่เป็นละก้อ มันจะไม่เกิดละ ก็เพราะเหตุฉะนั้นเป็นมนุษย์ไม่ใช่เป็นของ เกิดง่ายนักหรอก เป็นของได้ยากนัก เหตุนี้พระองค์จึงได้ทรงรับสั่งว่า ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ ความที่ได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นของได้ยาก ไม่ใช่ของได้ง่าย ถ้าเรานึกถึงตัวของเราไปละก้อ ว่าได้ยากจริง ความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ไม่มีล่องเสีย นั่นนึกดูซิ วันหนึ่งล่วงไปตั้งหลาย หนหลายครั้ง แล้วมันจะได้เกิดเป็นมนุษย์กับเขาได้อย่างไร มันก็เกิดไม่ได้ ต้องบริสุทธิ์จริงๆ จึงจะเกิดได้ นี่ข้อที่หนึ่ง

    ข้อที่ 2 พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นของได้ยาก เกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าน่ะ นี่ยากใหญ่ทีเดียว ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้ายละ ผู้ที่ทำเป็นจึงจะ รู้ว่ายาก จึงจะรู้ว่าเป็นของลึกซึ้ง พวกที่ทำธรรมกายเป็น เข้าถึง “ธรรมกาย” เป็นละก้อ นั่น แหละ เป็นความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทีเดียว ไม่ใช่ง่ายทีเดียว ดูมนุษย์ในประเทศไทย หมดทั้งประเทศ หมดทั้งชมพูทวีป เวลานี้มีธรรมกายในตัวน่ะ มีพวกญาติของพระบวชใหม่2 และพระบวชใหม่นี้เป็นคนรู้แล้วเรียนแล้ว จะเอาไปสอนเขาเป็นไม่กี่คนนัก แล้วก็เป็นอยู่ 30 กว่าคนแล้ว 38 หรือ 40 แล้ว 39 แล้ว ไปสอนเป็น ให้มีธรรมกาย เป็นพระพุทธเจ้าไป 39 คนแล้ว เรียนเป็นไปไม่เท่าไรหรอก สอนได้ขนาดนี้มีฤทธิ์เดชอย่างนี้ องค์นี้แหละ เขา3 สั่งลงมาให้เป็นครูพวกญี่ปุ่น จะสั่งสอน ญี่ปุ่นให้ได้มากทั่วทั้งประเทศนั่นแน่ะ องค์นี้แหละ ญี่ปุ่นจะต้องเคารพยำเกรงหมดทีเดียว สอนศักดิ์สิทธิ์ สอนเก่ง สอนพวกเร็วคล่องแคล่ว เข้าใจสอน พอเป็นธรรมะเท่านั้นก็เข้าใจ แจก เพราะเป็นตัวประกาศเขา3 ส่งเขาสั่งให้มาเป็นมนุษย์มาประกาศพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ มาทำเรื่องอื่น มาประกาศพระพุทธศาสนา ญี่ปุ่นชอบเข้าแล้ว ญี่ปุ่นรู้เรื่องธรรมกาย เรื่อง พระพุทธเจ้าเข้าแล้ว ถ้าญี่ปุ่นเข้าใจได้เช่นนี้ละก็ ญี่ปุ่นทั้งประเทศต้องบูชาประเทศไทย ว่าประเทศไทยนี่มีของดีจริง ต่อไปไม่รบไม่ข่มเหงประเทศไทยแล้ว สงสารประเทศไทย ต้อง ห้อมล้อมดูประเทศไทยทีเดียว นี้เป็นเรื่องสำคัญอยู่อย่างนี้ ไม่ต้องสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ ทำธรรมกายให้เป็นขึ้นให้เข้าถึงพระพุทธเจ้า ทำพระพุทธเจ้าให้เป็นแล้วก้อ พระพุทธเจ้าได้ แจกไป ถ้าแจกไปรู้หมดทั่วประเทศญี่ปุ่นเป็นไง ประเทศญี่ปุ่นก็ไหว้ประเทศไทย ก็ดูแล ประเทศไทย เป็นพี่เลี้ยงประเทศไทยทีเดียว ไม่ต้องระวังเรื่องการเมืองกัน นี่ดีอย่างนี้นะ ไม่ใช่พอดีพอร้าย แล้วก็จะหาเงินหาทองบ้าง เอ้า! เงินทองมาเลี้ยงครอบครัวเล็กๆ น้อยๆ นี่สักร้อยเท่าพันเท่าก็เลี้ยงได้หมดนั่นแหละ ไม่ยากลำบากอะไรหรอก จะเลี้ยงอาหารก็เขา เอามาให้คนละถ้วยละจานเท่านั้นแหละ เลี้ยงไปสักพันครัวก็ไม่หมด ไม่หมดไม่สิ้น นี่เรื่อง พระพุทธศาสนานั้นเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องไปหาเงินทองข้าวของ เมื่อประพฤติถูกส่วนเข้าแล้ว เงินทองข้าวของมันมาหาเอง ข้าวปลาอาหารมาหาเองทั้งนั้น จะไปอยู่ในป่าในดอนในดง ที่ไหนก็ไป แต่เงินทองข้าวของมาหาเองทั้งนั้น นี่ทางพุทธศาสนา แต่ว่าเดินลึก สงเคราะห์ อนุเคราะห์มหาชนอนุชนทั้งหลายให้รู้ธรรมกายจริงๆ

    วิธีสอนให้รู้จักธรรมกาย ให้ถึงธรรมกาย ให้เป็นพระพุทธเจ้า เข้าถึงพระพุทธเจ้าน่ะ จะทำอย่างไร อ้าว ทีนี้ก็สอนความเป็นพระพุทธเจ้าให้ฟัง คอยตั้งใจฟังแล้วก็คอยทำตาม ไปนะ เอาใจหยุดนิ่ง ตั้งกายให้ตรง เอาใจหยุดนิ่งศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้ายขึงด้าย กลุ่มเส้นหนึ่งตึงตรงกันแค่กัน พอขึงตึงเข้าทั้ง 2 เส้นตรงกลางจรดกัน อ้ายตรงกลางด้าย กลุ่มที่จรดกันนั้นแหละ เขาเรียกว่า “กลางกั๊ก” ต้องเอาใจไปหยุดนิ่งอยู่ตรงกลางกั๊กนั่นแหละ จะได้รู้ว่ายากอย่างนี้ไงเล่า ให้เข้าใจว่ายากอย่างนี้จริงๆ นะ เอาใจไปจรดนิ่งอยู่ตรงกลาง กั๊กนั่น พอนิ่งถูกส่วนเข้า “หยุด” พอใจหยุด ก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลาง กลางของกลางๆๆๆ พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อยู่ใน กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆๆ หนักเข้า ก็เห็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์นั่นแน่ะ นั่นแหละขั้นต้นละ คราวนี้ พอขึ้นรูปนั้นละก้อ ใจก็หยุดอยู่ตรงกลาง นั่นอีก หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่นแหละ พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของ กลางๆๆๆๆ พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เข้าถึงดวงศีลแล้ว ดวงเท่ากัน เท่าดวงจันทร์ดวง อาทิตย์ ใสหนักขึ้น ใจก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า พอใจหยุดก็เข้า กลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลางๆๆๆ นิ่งถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ใสเท่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใสหนักขึ้นไป ใจก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ พอหยุดนิ่งอยู่ กลางดวงของสมาธิ ก็หยุดอยู่กลางของกลาง เข้ากลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วน เข้า เข้าถึงดวงปัญญา ดวงเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ เท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา พอใจหยุดก็หยุดนิ่ง เข้ากลางของกลาง หยุดนิ่ง นิ่งหนักเข้าๆๆ เข้าถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอหยุดนิ่ง ก็เข้ากลางของกลางๆ นี่หยุดอันเดียว เราเดินกลางอันเดียว กลางของกลางๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ พอหยุดนิ่งถูกส่วนเข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้า เห็นกายมนุษย์ละเอียด ก็อ้ออ้ายนี่เอง เมื่อเวลาฝันออกไป ไปทำเรื่องของฝันมาเป็นที่เป็นทางเป็นฐาน แล้วมาเล่าให้กายมนุษย์ แล้วกายมนุษย์รู้ขึ้น ตื่นขึ้นก็รู้เรื่องของฝัน อ้ายกายนี้เองนี่เล่า อยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนี้เอง แต่ก่อนเราไม่รู้เลยว่าอยู่ที่ไหนกายนี้ พอเข้าถูกส่วนเข้าเช่นนั้นก็เข้าใจ

    เมื่อไปเห็นกายมนุษย์ละเอียดเข้า ก็ให้กายมนุษย์ละเอียดนั่งเหมือนกายมนุษย์หยาบ นี่แหละ อยู่ข้างใน แบบเดียวกัน ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำ ให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก นิ่งๆๆๆ หนักเข้า พอนิ่งถูกส่วนเข้า พอใจหยุดก็เข้ากลางของ หยุดนั่น กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แบบเดียวกัน ใจหยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้าหยุด ก็เข้ากลางของกลางที่ หยุด กลางของกลางๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลางๆ ก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงสมาธินั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ก็กลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลางๆ หยุดนิ่ง เข้าถึง ดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา พอถูกส่วนเข้า เข้ากลางใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอถูก ส่วนเข้า เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลางๆ เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของ กลางๆ ถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ กายที่ฝันในฝัน เอ้า นี่มันกายที่ 3 นี่

    เห็นกายที่ 3 แล้วใจก็หยุดนิ่ง ให้กายที่ 3 นั่นนั่งเข้าเหมือนกายที่ 2 นั่น ใจของ กายที่ 3 ให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่ 3 นั่น ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิแบบเดียวกัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง วิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ละเอียด เป็นกายที่ 4

    ใจของกายทิพย์ละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายรูปพรหม เป็นกายที่ 5

    ใจของกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ซ้อน กันอยู่ที่เดียว พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูก ส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูก ส่วนเข้า เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด เป็นกายที่ 6

    ใจกายรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียดอีก พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวง ศีล ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวง ปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม

    ใจกายอรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วน เข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุด นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด

    ใจกายอรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง ดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า นี่แน่ะถึงพระพุทธเจ้าแล้ว เห็นไหมล่ะ นี่มาถึงพระพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นแล้ว ยัง ยังไม่พอ ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้าแท้ นี่เป็นแต่เพียงตอนต้นพระพุทธเจ้า ตอนปลายพระ พุทธเจ้าไปอีก 10 กาย ถึงกายพระพุทธเจ้าที่แท้ละ นี่ตอนนี้เป็นพระพุทธเจ้าตอนต้น

    ใจกายธรรมกายก็ขยายส่วนหน้าตักธรรมกายเท่าใด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ก็เท่านั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางกลมรอบตัว ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวง เท่ากับธรรมกายนั่น หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเห็นดวงศีล หยุด อยู่ศูนย์กลางดวงศีล เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูก ส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นธรรมกายละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจธรรมกายละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เข้าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวง สมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นธรรมกายพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจพระโสดาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา พอถูกส่วน เข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูก ส่วนเข้า ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงธรรมกายของพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป นี่เกือบเป็นพระพุทธเจ้าที่สุดละหนา

    ใจกายพระโสดาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ละเอียด พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ธรรมกายพระสกิทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น

    ใจของพระสกิทาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคาแบบเดียว กัน ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุด อยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงธรรมกายพระสกิทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของพระสกิทาคาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคา ละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงธรรมกายพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของพระอนาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงธรรมกายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอก บัวตูม ใสหนักขึ้นไป จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้วหนา จะเป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้ละ

    ใจพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงใหญ่วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา กลม รอบตัว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล ดวง เท่ากัน 20 วา กลมรอบตัวเหมือนกัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวง วิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงธรรมกาย พระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม นี่ตัวพระพุทธเจ้าจริงๆ นี่เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรมจริงๆ หนา ประเสริฐเลิศทีเดียว

    ใจพระอรหัตหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต พอถูกส่วนเข้า ก็ ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงธรรมกายพระอรหัต ละเอียด หน้าตัก 30 วา สูง 30 วา4 เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป นี่ถูกส่วนละ ธรรมกาย ตอนปลายนี้ ธรรมกายพระอรหัตนั่นแหละ ตัวพระพุทธเจ้าแท้ๆ เทียว ธรรมกายพระอรหัต ละเอียดนั่นก็พระพุทธเจ้าแท้ๆ ทีเดียว ธรรมกายพระอรหัตที่หยาบ นั่นเรียกว่า พุทธรัตนะ ธรรมกายที่ละเอียดนั่นเรียกว่าสังฆรัตนะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่นเรียกว่าธรรมรัตนะ

    พุทธรัตนะคือกายพระพุทธเจ้า ธรรมรัตนะคือดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า สังฆรัตนะ ธรรมกายละเอียดอยู่ในดวงธรรมรัตนะนั่นเรียกว่า สังฆรัตนะ นี้พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใส นี่แหละที่เรียกว่า พระพุทธเจ้าล่ะ นี่แหละพระพุทธเจ้าแท้ๆ วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ ละ นี่แหละที่ท่านยก บาลีว่า สงฺขตา วา สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ตาม อสงฺขตา วา อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็ตาม วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ วิราคธรรมประเสริฐเลิศกว่า สังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น เมื่อถึงวิราคธรรมที่เป็นตัวพระพุทธเจ้าแท้ๆ ทั้งหยาบทั้ง ละเอียด เมื่อรู้จักเช่นนี้ เห็นไหมล่ะ แต่เพียงแสดงให้ฟังเช่นนี้เราก็เบื่อเสียแล้ว ไม่ต้องไป ทำละ ก็มันยากอย่างนี้ ฟังก็ยาก เข้าใจก็ยาก รู้ก็ยาก เบื่อทีเดียว ไม่อยากจะฟังเชียว ถ้าว่า ไม่นึกอายในใจ เห็นถ้าจะลุกไปเสียทีเดียว มันน่าลำบาก นี่มันยากแค้นอย่างนี้นี่ เห็นไหมล่ะ มันยากแค้นอย่างนี้ พึงรู้เถิดว่าที่ท่านทรงรับสั่ง พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ ความบังเกิดขึ้นของ พระพุทธเจ้าเป็นของยากอย่างนี้

    นี้พระบวชใหม่ท่านทำเป็นแล้ว เป็นแล้วอย่างนี้ ท่านจึงละสมบัติพัสถานได้ ท่าน จึงบวชจริง ตั้งใจจริง ท่านไปสอนในประเทศญี่ปุ่นมาทั้งประเทศละนี่น่ะ เพราะท่านถึงนี่แล้ว ท่านถึงความเป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้แล้ว ถึงตลอดถึงไกลไปกว่านี้ไปอีกนับไม่ถ้วน ท่าน ไปไกลแล้ว เพราะฉะนั้นท่านเห็นจริงเห็นจังอย่างนี้แล้ว นี่แหละ ธรรมอันนี้เป็นของลึกซึ้ง ถ้าว่าผู้ใดไปถึงเข้าแล้ว ผู้นั้นก็จะรู้สึกนะ ไม่ว่าผู้หญิงผู้ชาย พุทโธ่เอ๋ย เราเกิดมาตั้งแต่เล็ก จนโต เป็นหนุ่มเป็นสาวครองเหย้าครองเรือน เหมือนเด็กจริงๆ เด็กๆ เล่นขายของกันแท้ๆ เดี๋ยวก็ตีเดี๋ยวก็ทะเลาะกัน เพราะอ้ายนั่นไม่พอ อ้ายนี่ไม่พอ หึงหวงกันต่างๆ นานา เหมือน เด็กๆ เล็กๆ แท้ ถ้าไปถึงพระเข้าแล้วก้อ ไอ้นี่มันไม่ใช่เรื่องอย่างนี้หรือนี่ นี่แกก็ไปเห็นอย่าง นั้นเข้าเหมือนกัน แกจึงทิ้งบ้านทิ้งช่อง แม้ใครจะมายอมเป็นภรรยาแกก็ไม่ยอมอีกน่าแหละ แกกลัวจะเล่นเรื่องเด็กกันอีก แกกลัว แกรีบมาเสีย แกกลัวจะไปเล่นเรื่องเด็กกันอีกยุ่งๆ เหยิงๆ กันต่างๆ นานา ที่รบกันไปรบกันมานั้นมันก็เรื่องเด็กๆ นะ ไม่ใช่เรื่องผู้ใหญ่ ถ้าเรื่อง ผู้ใหญ่ไม่รบกันดอก ดูแต่ผู้ใหญ่กับผู้ใหญ่นั้นซิ อยู่ด้วยกันไปๆ ก็ไม่เป็นไร โอบอ้อมอารี ซึ่งกันและกัน ไม่ค่อยจะเป็นอันตรายนัก แต่ว่าต่างคนต่างก็เป็นผู้ใหญ่ เป็นเด็กๆ ไม่รู้ เดียงสา พูดไม่รู้เรื่อง ฟังกันไม่รู้เรื่อง กลับเป็นเด็กๆ เสียอีก เพราะเหตุนี้ความเป็นพระ พุทธเจ้าเป็นของได้ยาก ต้องเป็นผู้ใหญ่จริงๆ นะ จึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ถ้าเป็นเด็กๆ เป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ยังทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่ สมัยเมื่อยังเป็นเด็กๆ พระพุทธเจ้าไม่มี ทะเลาะกันกับใคร ใจดีนักทีเดียว ไม่ข้องแวะกับใคร ไม่กระทบกระเทือนใครทีเดียว สังเกต ดูพระบวชใหม่แกไม่กระทบกระเทือนแก่ใครๆ แกหลีกของแกตามเรื่องของแกทีเดียว เพราะ เหตุอะไร? แกเป็นผู้ใหญ่เข้าแล้ว มีธรรมของผู้ใหญ่เข้าแล้ว มีกระแสพระพุทธเจ้าเข้าแล้ว เป็นพระพุทธเจ้าเข้าแล้ว มีได้ยากอย่างนี้ ของได้ยาก ไม่ใช่ได้ง่าย หลายคนด้วยกัน พี่น้องกันก็มีน้องสุดท้องก็ยังไม่ได้กับเขาเลย ประพฤติกับเขาเหมือนกัน น้องรองมานั้น ได้แล้ว พี่ชายยังไม่ได้ มารดาก็ได้แล้ว เพราะเห็นเข้าแล้วในวันนั้น วันนี้เขาทำบุญเป็นอย่าง แปลกประหลาดอย่างอัศจรรย์ คนที่รู้จักบุญเห็นบุญเช่นนี้ บุญก็ไหลมาเหลือประมาณนับ ประมาณไม่ได้ เจ้าของเขาก็เห็นเป็นดวงใหญ่โตมโหฬารนับประมาณไม่ได้ บุญที่ส่งมาคราว นี้แหละจะได้เป็นกำลังของพระบวชใหม่ ให้ประกาศศาสนาในประเทศญี่ปุ่น ให้ญี่ปุ่นเขา เคารพนบนอบหมดทั้งประเทศ มันสำคัญอย่างนี้ ส่งบุญมาวันนี้ ต้นธาตุส่งบุญมาให้มโหฬาร ทีเดียว นับประมาณไม่ไหว เหตุนี้ความจะได้เป็นพระพุทธเจ้าของได้ยากอย่างนี้ เพราะว่า ขณสมฺปตฺติ ความถึงพร้อมด้วยขณะด้วยสมัยเช่นนี้ไม่ใช่ง่ายนะ หมดทั้งประเทศไทย ไม่ใช่ ง่ายหรอก ทั้งประเทศไทย ทั้ง 18 ล้านเศษๆ นี้ เราเข้าใจ เขานับถือพระพุทธศาสนา ทุกคนหรือ? ที่ไหนก็มี ศาสนาต่างๆ ก็มี ศาสนาผีก็มี เจ้าก็มีต่างๆ นานา ศาสนาพุทธจริงๆ มีน้อย ถ้าไม่เข้าถึงพระพุทธเจ้า ไม่เป็นพระพุทธเจ้า ไม่เห็นพระพุทธเจ้า ที่จะถึงพระ พุทธเจ้าจริงๆ น้อยนัก ต้องเห็นต้องเป็นจึงจะถือแท้แน่นอน ที่เขาถือจริงก็มีอยู่ ยังไม่เห็น ยังไม่เป็นก็ถือจริงเหมือนกัน นั่นก็จริงใช้ได้เหมือนกัน แต่ว่ายังไม่มั่นนัก ต้องเป็นจึงจะ มั่นหมาย ท่านจึงวางตำราไว้ในบาทที่ 3 ว่า ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ ที่จะถึงพร้อมด้วยขณะ ด้วยสมัยเป็นของได้ยาก ไม่ใช่เป็นของได้ง่าย ขณะสมัยเป็นอย่างไร? ขณะสมัย 8 พระพุทธเจ้ามาอุบัติตรัสขึ้นในโลก พระสิทธัตถราชกุมารมาตรัสขึ้นในโลก หรือมีธรรมกาย ปรากฏขึ้นเช่นนี้แล้ว นี่พระพุทธเจ้ามาตรัสขึ้นในโลกแล้ว ในโลก ขันธโลก สัตวโลกแล้ว ใน ตัวสัตว์นี่เองไม่อยู่ที่ไหน ธรรมกายเกิดขึ้นแล้วที่จะมีผู้เชื่อจริงเห็นจริงได้ยากนัก โน้น...เรา ไปเกิดเสียปลายดงปลายแขม แคว้นชนบทบ้านป่าเมืองดอน ธรรมกาย ไม่รู้เรื่องของ พระพุทธเจ้ากับเขา มันจะรู้เรื่องอะไร ร้อยวันพันปีภิกษุสามเณรไม่กรายไปแม้แต่ทีหนึ่ง มันเกิดมาก็ตายเปล่า ไปดูซิ ถามว่าเคยพบพระนครบ้างหรือเปล่า ไม่ได้เคยไปเลย นั่น แน่ะ ถึงขนาดนี้แน่ะ มันไปอยู่ปลายดงปลายแขมเสียขนาดนี้นะ นี่แน่ะ เมื่อพระพุทธเจ้า เกิดขึ้น มันจะรู้เรื่องอะไร ไม่รู้เรื่องทีเดียว นี้เป็น อขณะ อสมัย ทีเดียว พระพุทธเจ้ามาเกิด ขึ้นในโลก โน้น...ไปเกิดในอรูปสัตว์ อสัญญีสัตว์ต่อภพข้างบนโน่นแน่ะ ไปเสวยความสุข เสีย 84,000 อสงไขยกัป 84,000 มหาอสงไขยกัป มันก็ไม่ได้พบพระพุทธเจ้า ไปเป็น อสัญญีสัตว์อยู่พรหมชั้นที่ 11 ไปนั่งไปนอนเป็นตุ๊กตาหินอยู่นั่นเอง นั่นเขาเรียกว่าพรหม ลูกฟัก ไม่รู้บาปรู้บุญ รู้คุณรู้โทษอะไร ไปนอนเฉยอยู่นั่นล่ะ ไม่เอาเรื่องเอาราวกับใครนับ เป็นตั้ง 500 มหากัป อยู่นั่นแหละ พระพุทธเจ้ามาตรัสเท่าไรๆ ก็ไม่รู้เหมือนกัน นั่นมันก็ เป็นอขณะ อสมัยเหมือนกัน มันเกิดกับเขาในโลกที่พระพุทธเจ้ามาตรัสในโลกเหมือนกัน แต่ว่าแกเป็นมิจฉาทิฏฐิไปเสีย ไม่เชื่อความเป็นพระพุทธเจ้าทีเดียว แกไม่เชื่อทีเดียวนั่น แหละ จะกระทำอย่างไรแกก็ไม่เชื่อ แกเป็นมิจฉาทิฏฐิเสีย นั่นถึงจะอยู่รวมหมู่เดียวคณะ เดียวก็เป็นอขณะ อสมัย ไม่ได้เรื่องอีกเหมือนกัน พระพุทธเจ้าอุบัติมาตรัสในโลกปรากฏอยู่ เขาก็เกิดมาในมนุษย์โลกอีกเหมือนกัน ใบ้บ้าบอดหนวกเสีย เอาเรื่องไม่ได้อีก เป็นอขณะ อสมัยอีก พระพุทธเจ้าอุบัติมาตรัสในโลก โน่น...ไปเกิดในอเวจีอีก ไปเกิดในอเวจีนั่นเป็น สัตว์นรกเสียอีกแล้ว ไม่ได้เรื่อง เป็นสัตว์เดรัจฉานเสียอีกแล้ว เป็นเปรต เป็นอสุรกาย อยู่ ในอบายภูมิเสียแล้ว มันก็เป็นอขณะ อสมัย ไม่ได้เรื่อง ต่อเมื่อไรพระพุทธเจ้าอุบัติมาตรัส ในโลกเกิดมาในมนุษย์ รู้ดีรู้ชั่วรู้ผิดรู้ชอบทุกอย่าง รู้สูงรู้ต่ำทุกอย่าง ไม่เข้าใจ แนะนำสั่งสอน คนอื่นไม่ได้ เป็นพุทธศาสนาแท้ๆ เป็นมิจฉาทิฏฐิเสียจนได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เป็นอขณะอสมัย กับเขา เป็นอขณะ อสมัยแท้ๆ ไม่ได้มรรคผล พวกเหล่านี้ ต่อเมื่อใดพระพุทธเจ้าอุบัติมาตรัส ในโลก เชื่อแท้เห็นแท้เหมือนกับพระบวชใหม่ อย่างนี้มันก็ต้องทำธรรมกายเหมือนอย่างนั้น นั่นแน่ะ เขาถึงพร้อมด้วยขณะด้วยสมัยอย่างนั้นแน่ะ สมบูรณ์บริบูรณ์ทีเดียว พระพุทธเจ้าใน นิพพาน ตายเดี๋ยวเขาไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ ไปถามพระพุทธเจ้า ไปจับมือถือแขนท่านก็ได้ พระพุทธเจ้าจะลูบหูลูบหัวท่าน5 ก็ได้ พระพุทธเจ้าท่านจะเอามือลูบหูลูบหัวก็ได้ จับมือถือ แขนท่านก็ได้ อย่างนี้เขาว่องไวอย่างนี้ อย่างนี้แหละ ถึงจะอยู่ใกล้พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ท่านนิพพานไปแล้ว เขาเกิดเป็นมนุษย์เช่นนี้ เขาก็เหมือนพระพุทธเจ้ามีพระชนม์อยู่ เขาจะ เฝ้าพระพุทธเจ้าเวลาใดก็ได้เวลานั้น ให้พระพุทธเจ้ามาสู่หาเวลาใดก็มาสู่หาเขาเวลานั้นในขณะ จิตนั้น ไม่คลาดเคลื่อน นี่เขาถึงพร้อมด้วยขณะด้วยสมัย นัยเป็นอย่างนี้ ได้ยากนี่ ไม่ใช่เป็น ของง่าย ไม่ใช่เป็นของได้ง่าย เป็นของได้ยากนักหนาทีเดียว นี่เรียกว่า ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ ความถึงพร้อมด้วยขณะด้วยสมัย พระพุทธเจ้าน่ะทรงรับสั่งว่าเป็นของได้ยาก ไม่ใช่เป็น ของธรรมดา ธรรมดา

    สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภ สัทธรรมเป็นของได้ยากอย่างยิ่ง นี่เป็นของพระพุทธเจ้าแท้ๆ สัทธรรมเป็นของได้ยากอย่างนี้ สัทธรรมน่ะอะไรเป็นของได้ยากอย่างนี้ สัทธรรมน่ะคือธรรม ที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าน่ะดวงใหญ่อยู่กลางกายพระพุทธเจ้า สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กนั่นพอดี กลางกายนั่นพอดี วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว กายละเอียดก็แบบเดียวกัน กายหยาบก็แบบเดียวกัน นี่เป็นองค์สัทธรรม อันถึงได้ยาก ที่จะเข้าถึงได้ยาก ที่จะรู้จักก็ยาก ธรรมดวงนี้น่ะ แล้วก็ดวงสัทธรรมที่ทำให้ เป็นพระอนาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 15 วา กลมรอบตัว พระอนาคาละเอียด 20 วา กลมรอบตัว นั่นก็เป็นตัวสัทธรรม นั่นก็เป็นสัทธรรม นั่นเป็นสัทธรรมเหมือนกัน สัทธรรม ที่ลดส่วนลงมา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคาวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 10 วา กลมรอบตัว ธรรมกายละเอียดของพระสกิทาคาวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 15 วา กลมรอบตัว นั่นก็เป็น ดวงสัทธรรมแท้ๆ ลดส่วนกว่านั้นลงมา พระโสดา สัทธรรมของพระโสดาวัดผ่าเส้นศูนย์ กลาง 5 วา กลมรอบตัว กายพระโสดาละเอียดวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 10 วา กลมรอบตัว นั่นดวงสัทธรรมแท้ๆ ได้ยาก เข้าถึงยากนัก เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทีเดียว ในกลางดวงนั้น มาถึงโคตรภูบุคคล ธรรมกายละเอียดวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลม รอบตัว ธรรมกายไม่ละเอียดหย่อนกว่า 5 วาลงมา กลมรอบตัวเหมือนกัน นั่นก็ดวง สัทธรรมแท้ๆ นี่ส่วนธรรมกาย ดวงสัทธรรมที่เป็นธรรมกายนั่นแหละ ดวงนั่นแหละเป็นตัวสัทธรรมแท้ๆ

    ลดส่วนลงมากกว่านั้นลงมา กายอรูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย อรูปพรหมละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่ 8 ดวง 8 ฟองเอามา รวมกันเข้าเป็นดวงเดียวกัน ลดเล็กลงมาอย่างนั้น เข้ามาถึงในภพเสียแล้วนี่ เล็กลงมานั่น ตัวพระสัทธรรมแท้ๆ มาถึงกายอรูปพรหมหยาบวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 7 เท่าฟองไข่แดง ของไก่ มาถึงกายรูปพรหมละเอียดวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 6 เท่าฟองไข่แดงของไก่ มาถึง กายรูปพรหมหยาบวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่ มาถึงกายทิพย์ละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่ มาถึงกายทิพย์วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 3 เท่า ฟองไข่แดงของไก่ ในกายที่ 3 มาถึงกายมนุษย์ละเอียดวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 เท่าฟอง ไข่แดงของไก่ มาถึงกายมนุษย์หยาบนี่เท่าฟองไข่แดงของไก่นั่นแหละ

    ดวงนั่นแหละเป็นดวงสัทธรรม ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าต้องไปในทางดวงนั้น เดินไปใน ทางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กาย รูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด, เดินเข้าไปในกายธรรม-กายธรรมละเอียด, กายพระโสดา-โสดาละเอียด, พระสกิทาคา-สกิทาคาละเอียด, อนาคา-อนาคาละเอียด, อรหัต-อรหัตละเอียด เดินเข้าไปในนั้น ดวงนั้นแหละเป็นสัทธรรมแท้ๆ เมื่อ ใจเข้าไปอยู่กลางดวงนั้นแล้ว “หยุด” ความชั่วไม่ทำเลย ใจหยุดทีเดียว ถ้าไม่หยุด เข้าไปใน ดวงนั้นไม่ได้ อยู่ข้างนอกเสีย อยู่ข้างนอกเสียเป็นถิ่นที่ทำเลของมาร มารก็ปั่นหัวเหมือน เด็กๆ ยุยงส่งเสริมตามชอบใจ บังคับบัญชาตามชอบใจ บังคับบัญชาอย่างน่าบัดสีน่าอับอาย มันไม่อายมารมันบังคับเสีย มันไม่อายมันเอาเสียหมด เหมือนจ้าวทรงผีสิงทีเดียว เข้ารบ เข้าราน่ะมันอายกันเพียงไรน่ะ หน้าด้านน่ะ มันอายเมื่อไรล่ะ ทำหน้าเจี๊ยมเลี่ยมสบายอก สบายใจ ใส่ลูกระเบิดเจ้าเข้าให้ ยิงเจ้าเข้าให้ ขึ้นเครื่องบินนั่งยิ้มแย้มแจ่มใส อ้ายนี่มารมัน บังคับทั้งนั้น เหมือนเด็กๆ เล็กๆ มันอายเขาเมื่อไรเล่านั่น ทำชั่วมันควรจะอายมนุษย์ มัน อายได้เมื่อไรเล่านั่น ไปฆ่าเขาไปฟันมันน่าอายเขา เบาไปหรือนี่ เพราะเหตุฉะนั้น สัทธรรม น่ะเป็นดวงใสอย่างนั้น เป็นของได้ยากอย่างยิ่ง

    สัทธรรมถ้าว่าจะกล่าวถึงมัน สัทธรรมโดยปริยาย เมื่อใจหยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายมนุษย์มันก็บริสุทธิ์ แม้จะใช้กาย กายก็ไม่กระทบกระเทือน ไม่ เดือดร้อนใคร เย็นตาเย็นใจทุกคน เข้าใกล้ใคร กายไม่ให้กระทบกระเทือนใครเลย ไม่ กระแทกแดกดันด้วยประการใดประการหนึ่ง ไม่แถกด้วยตาว่าด้วยปากอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีเลยทีเดียว ไม่กระทบกระเทือนใครทีเดียว นั่นกายอย่างชนิดนั้นออกจากใจที่หยุด ใจที่เป็นธรรม ใจที่สงบ ออกจากสัทธรรม สงบเงียบเรียบร้อยเป็นอันดี เมื่อกายบริสุทธิ์เสีย กล่าววาจาใดๆ ก็ไม่กระทบตนและบุคคลอื่น ไม่เดือดร้อนตน ไม่เดือดร้อนบุคคลอื่น กล่าวออกไปแล้วชุ่มชื่นด้วยกันทั้งนั้น ยิ้มแย้มแจ่มใสสบายอกสบายใจทั้งนั้น นี่ออกจากใจ ที่หยุด ออกจากสัทธรรมนั่นทั้งนั้น ไม่ใช่ออกจากอื่น ส่วนใจจะคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็คิดแต่สิ่ง ที่ดีที่ชอบทั้งนั้น ประกอบแต่สุจริต ทุจริตไม่มี ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ นี่เป็นอาการของ สัทธรรมทั้งนั้น

    “สัทธรรม” แปลว่า “ธรรมเป็นเครื่องสงบ” สงบอย่างไร? สงบวาจาจากบาปธรรม ไม่มีบาปธรรมเลย เหลือแต่วาจาที่ดี สงบกาย กายก็หมดจากบาปธรรม ไม่มีบาปธรรมเลย มีแต่กายที่บริสุทธิ์ สงบใจ ใจก็ไม่มีพิรุธ มีแต่บริสุทธิ์ฝ่ายเดียว

    สงบได้อย่างไร? กายฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกามได้ นี่สงบเสียได้อย่างนี้ วาจาพูดปด ส่อเสียด คำหยาบ โปรย ประโยชน์ เมื่อวาจาสงบลงไป วาจาก็พูดจริง พูดสมานไมตรี พูดอ่อนหวาน พูดเป็นหลัก เป็นธรรมเป็นวินัย นี่สงบชั่วเสีย หมดเหลือแต่ดีอย่างนี้ ใจล่ะ สงบชั่วเสีย เลิกอยากได้ ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม ให้ของของเราแก่บุคคลอื่น เหมือน เจ้าของทานอย่างนี้ ให้ของของตัวแก่บุคคลอื่นน่ะ แปลกประหลาดไหมล่ะ แล้วยินดีด้วย ชอบอกชอบใจด้วย เสียเงินเป็นก่ายเป็นกองแล้วชอบอกชอบใจด้วย นี่ชอบใจอย่างนี้ เขาเรียกว่าเพราะถูกสัทธรรมนี่ สัทธรรมท่านก็ช่วยน่ะซี ให้ใจผ่องใส เข้าประคองใจให้ ใจปลาบปลื้ม ให้บุญไหลมา ใจเอิบอิ่มตื้นเต็ม ไม่เสียดงเสียดายอะไร ให้อะไรก็ไม่รู้จักหมด จักสิ้น ทางหลังฉาก6 ก็ไหลมาอีก สัทธรรมท่านก็ช่วยสงเคราะห์อย่างนี้ เมื่อใจสะอาด สะอ้านได้เช่นนี้ เมื่อใจสะอาดสะอ้านจากความโลภที่จะโลภสมบัติของผู้อื่นมาเป็นของ ของตน กลับให้ของของตนแก่บุคคลอื่นเสียได้ นี่เป็นสัทธรรมอย่างนี้ โกรธคิดประทุษร้าย เขา กลับเมตตารักใคร่ปรารถนาจะให้เขาเป็นสุขเสียอีกแล้ว นี่เป็นสัทธรรมอย่างนี้ เห็น ผิดจากคลองธรรม เห็นชอบจะผิดอย่างไรอยู่กับสัทธรรมแล้ว สัทธรรมท่านก็ช่วยพิทักษ์ รักษา ใจก็ปลาบปลื้ม เอิบอิ่ม ตื้นเต็มในความดีอยู่เป็นธรรมดา นี่ได้ชื่อว่าเป็น “สัทธรรม” อย่างนี้นี่แหละเป็นของได้ยากหนา ไม่ใช่ของได้ง่าย

    เมื่อได้สัทธรรมของมนุษย์แล้ว สัทธรรมของมนุษย์ละเอียด, สัทธรรมของกายทิพย์ สัทธรรมของกายทิพย์ละเอียด เป็นลำดับขึ้นไป ฯลฯ สัทธรรมของกายธรรม-กายธรรมละเอียด, กายโสดา-โสดาละเอียด, สกิทาคา-สกิทาคาละเอียด, อนาคา-อนาคาละเอียด, กายอรหัต-อรหัตละเอียด, ที่นอกทำนองคลองธรรมไม่ไป อยู่ในทำนองคลองธรรมฝ่ายเดียว ก็อยู่ในสัทธรรมทั้งสิ้น เป็นของได้ยากจริงๆ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภ สัทธรรมเป็นของได้ยาก จริงๆ อย่างนี้

    บัดนี้เจ้าภาพได้สัทธรรมสมมาดปรารถนา ได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ฝ่ายมารดาฝ่ายโยมผู้หญิงนั่นยังไม่ได้เคยบวชเลยลูก 4 คนด้วยกัน ลูกชายทั้งนั้น คนโต เขาก็ยังไม่ยอมให้บวช คนที่ 3 ที่ 4 เขาก็ยังประกอบการงานอยู่ เขายังไม่เข้าถึงสัทธรรม ฝ่ายคนที่ 2 รองหัวปี7 เข้าถึงสัทธรรม เห็นสัทธรรม ได้สัทธรรม แต่ว่าตัวอย่างที่เขา8 สั่งมาเป็นครูของชาวญี่ปุ่นนา คอยดูไปข้างหน้าซี จะได้พึ่งพาอาศัย จะได้เป็นที่ไหว้ที่บูชาของ ชาวญี่ปุ่นต่อไป เหตุนี้ท่านผู้มีปัญญาเมื่อมาโมทนาในกองการกุศลของท่านภิกษุใหม่ที่มา บวชในพระธรรมวินัยนี้ การบวชในพระธรรมวินัยน่ะ ได้ชื่อว่าสนองคุณมารดาบิดาจริงๆ เชียว มารดาบิดาน่ะ ถ้าว่าเห็นลูกบวชแล้วปลาบปลื้ม เอิบอิ่ม เต็มตื้นนัก อะไรจะไปเท่า ไม่มีล่ะ ร่าเริงบันเทิงใจ จะกินข้าวหรือไม่กินก็ไม่รู้ละ อิ่มเอิบไปหมดบอกไม่ถูกทีเดียว ถ้าว่า ลูกของใครบวชเข้าไปแล้ว ไม่ว่าผู้หญิงผู้ชายปลาบปลื้ม อิ่มเอิบ ตื้นเต็มอย่างนั้น บาลี ท่าน ยืนยันในมงคลทีปนี ว่า มารดาบิดาไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อในพระรัตนตรัย เชื่อพระรัตนตรัยขึ้น นี่เป็นแทนคุณข้อที่ 1, มารดาบิดาไม่มีศีลให้มีศีลขึ้น นี้เป็นแทนคุณข้อที่ 2, มารดาไม่มี ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาให้เลื่อมใสหนักขึ้น นี้เป็นแทนคุณข้อที่ 3, มารดาไม่รู้จัก บาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ แก้ไขมารดาบิดาให้รู้จักประโยชน์มิใช่ประโยชน์ขึ้น เหมือนกับตนผู้บวชในวันนี้ มารดาบิดาไม่เลื่อมใส ทำให้เลื่อมใสหนักขึ้น หรือเลื่อมใสน้อย ทำให้เลื่อมใสมากขึ้น มารดาบิดาไม่มีศีล เข้าใกล้พระรับศีล เมื่อเข้าใกล้ก็รับศีลแล้ว เมื่อ ตอนก่อนก็รับศีลเหมือนกัน นี่เขาก็เคยรับศีลมาบ้างแล้ว รับศีลแน่นหนาหนักขึ้น ให้ทั่วไป กับพระภิกษุอื่น เมื่อลูกบวชเช่นนี้แล้วเห็นพระภิกษุอื่น สามเณรอื่น ก็เหมือนอย่างกับลูกเรา รักใคร่พระภิกษุสามเณรขึ้นทีเดียว สมเพชเวทนามีข้าวปลาอาหารก็เอาเลี้ยงดูทีเดียว นี่เป็น ต้นเป็นตัวอย่าง เมื่อมารดาบิดาไม่เชื่อแท้แน่นอนลงไปในพุทธศาสนา ก็ให้มีธรรมกายเสีย เชื่อแท้แน่นอนแล้ว ลูกน่ะแก้ไขให้มีธรรมกายแท้แน่นอนแล้ว มารดาบิดาไม่รู้จักสูงต่ำ เมื่อ รู้จักพุทธศาสนาแล้ว รู้จักสูงต่ำทีเดียว นี่มันชั้นสูง อ้อ! เมื่อก่อนเราเล่นมีลูกมีเต้ามาเดิมน่ะ มันเล่นอย่างเด็กๆ นี่ นี่พระท่านไม่เล่นด้วย ท่านไปไกลอย่างนี้ มาเป็นธรรมกายพระอรหัต เข้าแล้วไปไกลหนักขึ้นไป ก็ดีอกดีใจ ชอบอกชอบใจอย่างนี้ ได้ชื่อว่าได้แทนคุณมารดาบิดา จริงๆ ทีเดียว ถ้าว่าจะแทนคุณมารดาบิดาน่ะ ให้เอาทองคำมาทั้งแผ่นนั่นแหละ เป็น เจ้าจักรพรรดินิมิตแผ่นปฐพีให้เป็นทองคำทั้งแผ่นมอบให้บิดามารดา มอบให้เป็นสมบัติ กษัตราธิราช ให้บิดาเป็นเจ้าจักรพรรดิกษัตราธิราช ให้มารดาเป็นพระมเหสีของพระเจ้า จักรพรรดิกษัตราธิราช เป็นแต่กตัญญูต่อมารดาบิดา ไม่ใช่ว่าตอบแทนคุณ แม้ว่าจะเอา มารดาบิดาขึ้นนั่งบนจะงอยบ่า ให้มารดาขึ้นนั่งบ่าขวา บิดาขึ้นนั่งบ่าซ้าย ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ บนนั้นเสร็จจนหมดอายุของลูกนั่นแหละ จะชื่อว่าแทนคุณมารดาบิดาก็หาไม่ ได้ชื่อว่าเป็น กตัญญูกตเวทีต่อมารดาบิดาเท่านั้น ชื่อว่าแทนคุณแท้ๆ ดังกล่าวแล้ว มารดาบิดาไม่มีศรัทธา ให้มีศรัทธาขึ้น ไม่มีศีลให้มีศีลขึ้น ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสขึ้น ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ให้รู้จัก บาปบุญคุณโทษขึ้น 4 ประการนี้วางหลักไว้ ผู้หญิงก็แทนคุณบิดามารดาได้ ผู้ชายก็แทนคุณ บิดามารดาได้

    ผู้หญิงจะแทนคุณอย่างไร? แทนคุณบิดามารดา อ้าว! มารดาบิดาอยู่บ้านอยู่ช่อง ตามปกติของมารดาบิดา ถึงวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ แล้วก็เอาหาข้าวหาของหาเครื่องอุปการะ ของอุบาสกอุบาสิกาเข้า “ไปวัดเถอะแม่ ฉันจะไปด้วย” ท่านั้นท่านี้ แก้ไขแก้เสียจนกระทั่ง พ่อแม่เคย จึงต้องไปรักษาศีลให้มีศรัทธาขึ้นแล้ว ให้มีศีลขึ้นแล้ว แล้วก็ให้เลื่อมใสขึ้นแล้ว เมื่อไปรับศีลก็รู้จักบาปบุญคุณโทษขึ้นแล้ว อ้าวให้มีปัญญาขึ้นแล้ว นี่ลูกหญิงก็ดี ลูกชาย ก็ดี ถ้าฉลาดเช่นนี้แทนคุณได้ทุกคน ถ้าว่าไม่ฉลาดแทนคุณไม่ได้ นี่เป็นแง่สำคัญนัก เหตุนั้น การที่จะกล่าวอานิสงส์หรือผลของเจ้าตนผู้บวชของมารดาบิดาของผู้อุปถัมภ์ให้บวชน่ะ มากมายนัก ท่านกล่าวว่า มารดาลูกของตัวบวช มารดาบิดาลูกของตัวบวชในพระธรรมวินัย ของพระศาสดา เป็นเจ้าภาพให้ลูกของตัวบวชเป็นเณรในพระธรรมวินัยของพระศาสดา ได้ อานิสงส์ 8 กัปป์ การให้บวชเป็นพระภิกษุได้อานิสงส์ 16 กัปป์ 8 กัปป์ 16 ประสมกัน เข้าเป็น 24 กัปป์ เหมือนพระบวชใหม่นี้เจ้าภาพก็ได้ ฝ่ายมารดาก็ได้อานิสงส์ 24 กัปป์ กัปป์หนึ่งเท่าไรล่ะ ได้เสวยสุขนะไม่รู้จักนานเท่าไรเอากัปป์รวมกัน กัปป์น่ะ ภูเขากว้างโยชน์ สูงโยชน์หนึ่ง ร้อยปีเทวดาผู้วิเศษเอาผ้าทิพย์เนื้อละเอียดมาปัดลงไปที่ยอดนั้นครั้งหนึ่งก็ หยุดไป พอครบร้อยปีแล้วมาปัดอีกครั้งหนึ่ง เพียรปัดไปดังนี้แหละ ภูเขานั้นสึกด้วยผ้าเทวดา ปัดนั่นแหละ สึกลงมาเรียบร้อยลงมาถึงพื้นดินตามเดิม ไม่รู้ว่าภูเขาอยู่ที่ไหน เป็นพื้นดินไป แล้วเรียบลงมาถึงขนาดนั้น นั่นเรียกว่าได้กัปป์หนึ่ง ได้กัปป์หนึ่ง โอ! มันเหลือลึกอย่างนี้ นั่นภูเขาอีกนัยหนึ่ง สระกว้างโยชน์ลึกโยชน์หนึ่ง สี่เหลี่ยมจตุรัส ร้อยปีมีเทพเจ้าผู้วิเศษเอา เมล็ดพันธุ์ผัดกาดมาทิ้งลงเมล็ดหนึ่ง เทวดาผู้วิเศษก็ไม่ตายเหมือนกัน ร้อยปีก็เอามาทิ้งไว้ เมล็ดหนึ่ง ร้อยปีก็เอามาทิ้งไว้เมล็ดหนึ่ง เอาละ จนกระทั่งเมล็ดพันธุ์ผัดกาดนั้นแหละเต็ม สระที่ลึกโยชน์กว้างโยชน์นั่นน่ะ สี่เหลี่ยมจตุรัสนั่นแหละ นี่มันเท่าไรกันล่ะ นับกันไม่ไหว ต้อง ตวงกันด้วยกัปป์อย่างนี้ นี่บุญกุศลน่ะมันมากมายขนาดนี้ เพราะเหตุฉะนี้เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชสร้างเจดีย์วิหาร 84,000 เงินเท่าไรก็ไม่รู้ 96 โกฏิ สร้างเจดีย์ 84,000 วิหาร ที่ไหนก็เจดีย์องค์หนึ่งที่นั่น 84,000 วิหารก็ 84,000 นับทรัพยพ์สมบัติ 96 โกฏิ พอทำเสร็จแล้วทำการฉลอง พอฉลองเสร็จแล้วพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้ทูลถามพระสงฆ์ เรียนพระสงฆ์ ถามพระสงฆ์ในครั้งนั้นมีพระอรหันต์พระโมคคัลลีบุตรติสสมหาเถร เป็น พระอรหันต์ทีเดียว ถามว่าพระสงฆ์เจ้าข้า โยมทำบุญในครั้งนี้น่ะทำเพียงอย่างนี้น่ะ เมื่อ พระพุทธเจ้ามีพระชนม์น่ะมีใครทำอย่างนี้บ้างไหม หรือเมื่อพระศาสดาเสด็จพระปรินิพพาน ไปแล้วมีใครทำอย่างนี้บ้างไหม? มีศรัทธามากอย่างนี้ พระโมคคัลลีบุตรติสสมหาเถรตอบ “ถวายพระพร ไม่มี ครั้งพระพุทธองค์มีพระชนม์อยู่ ทำบุญมากอย่างนี้ไม่มี เสด็จดับขันธ์ ปรินิพพานไปแล้วก็ไม่มี มีมหาบพิตรนี่แหละทำอย่างมากกว่าเขา คนเดียวเท่านี้”

    “พระคุณเจ้าข้า กระผมทำบุญอย่างนี้น่ะจะได้เป็นญาติกับพระศาสนาได้แล้วหรือ ยัง?” พระโมคคัลลีบุตรติสสเถรพระอรหันต์ตอบ “มหาบพิตรทำบุญทำกุศลอย่างนี้เป็น พุทธศาสนูปถัมภ์ อุปการะพระศาสนาเท่านั้นหนา จะได้เป็นญาติกับพระศาสนาก็หาไม่” พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชตกใจ “โอ๊ะ! อย่างนั้นหรือพระคุณเจ้า นี่จะให้โยมทำอย่างไรจึงจะ ได้เป็นญาติของพระศาสนา” พระโมคคัลลีบุตรติสสเถรกล่าว “ถวายพระพร มหาบพิตร ถ้ามหาบพิตรจะเป็นญาติของพระศาสนาแล้วละก็ ขอให้ราชกุมาร/ราชกุมารีของพระองค์ น่ะบวชเป็นภิกษุภิกษุณี เป็นสามเณรสามเณรี เป็นภิกษุภิกษุณีในพระพุทธศาสนานั่น แหละจะได้เป็นญาติในพระศาสนาละ” “ขอรับ” นี่ได้ฟังเสียงพระโมคคัลลีบุตรติสสมหาเถร ตอบเท่านั้น ดีอกดีใจ ดีพระทัยทีเดียว ลาพระสงฆ์กลับไปพระราชวัง เรียกมหินทกุมาร, สังฆมิตตากุมารี พอเรียกเข้ามาสู่ที่เฝ้า “บัดนี้เจ้าทั้ง 2 น่ะ ปรารถนาเดิมนะให้ลูกทั้ง 2 ครองสมบัติแทนพ่อ บัดนี้พ่อไม่ปรารถนาเสียแล้วสมบัติอย่างนั้น พ่อจะให้ลูกได้กุศล ยิ่งใหญ่ไพศาลยิ่งขึ้นไปกว่านั้น พ่ออยากจะให้ลูกทั้ง 2 น่ะ ฝ่ายมหินทกุมาร สังฆมิตตากุมารีน่ะให้บวชเป็นภิกษุ เป็นสามเณร เป็นสามเณรีในพุทธศาสนา เป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี ในพระพุทธศาสนา จะได้เป็นอายุพระศาสนาต่อไป พ่อหวังอย่างนี้เสียแล้ว” ราชกุมาร/ราชกุมารีก็ตามพระทัยปรารถนา พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชก็นำราชกุมาร/ราชกุมารี ไปฝากพระเถระผู้ใหญ่ให้หัดในเรื่องบวช แล้วก็บวชเป็นสามเณร บวชเป็นภิกษุภิกษุณี ในพุทธศาสนาทีเดียว แล้วก็พระโมคคัลลีบุตรติสสเถรก็สมความปรารถนา เผดียงถาม พระสงฆ์อีก พระสงฆ์บอกว่า มหาบพิตรได้เป็นญาติกับพระพุทธศาสนาแล้ว นี่เป็นญาติ ของพระศาสนาแท้ๆ เหมือนเจ้าภาพวันนี้เป็นโยมของพระก็ได้เป็นญาติของพระศาสนา แท้ๆ พร้อมด้วยญาติสายโลหิตด้วย ญาติเนื่องด้วยสายโลหิต สายโลหิตของตัวเป็นพระ ป้อล่ออยู่เดี๋ยวนี้ปรากฏอยู่นี่ ฝ่ายมารดาละก้อ เป็นพืช ให้พืชมาเป็นลูกเป็นมนุษย์ เป็น ผู้ชาย ก็ได้บวชในพระพุทธศาสนา ปรากฏเห็นสภาวะปานฉะนี้ ชื่อว่าเป็นญาติในพุทธศาสนา ชื่อว่า วิสฺสาสา ปรมา ญาตี พวกเราเล่าที่พร้อมกันมาโมทนาสาธุด้วย เป็นญาติเหมือนกัน ไม่เรียกว่า ญาติสาโลหิตา เรียกว่า วิสฺสาสา ปรมา ญาตี ที่เป็นญาติเนื่องด้วยสายโลหิต เรียกว่า ญาติสาโลหิตา เหมือนกันดุจสายโลหิตอันเดียวกัน ถ้าว่าไม่เนื่องด้วยสายโลหิต อันเดียวกัน เรียกว่า วิสฺสาสา ปรมา ญาตี ก็เป็นญาติในพระศาสนาด้วยความคุ้นเคยอย่างนี้ ก็ใช้ได้เหมือนกัน เหตุนั้นฝ่ายอานิสงส์ของเจ้าภาพน่ะมากมายก่ายกองนับประมาณไม่ได้ ต้องตวงกันด้วยกัปป์ด้วยกัลป์ เล่าให้ฟังแต่เพียงกัปป์เดียว กัปป์เดียวเท่านั้น อเนกอนันต์ นี่มันถึง 24 กัปป์ 24 กัลป์นั่นแน่ อานิสงส์น่ะก็ส่วนเจ้าตัวผู้บวชล่ะ จะมีอานิสงส์หรือผล เป็นประการใดล่ะ นี่เจ้าตัวผู้บวชน่ะ พอบวชเข้าเท่านั้น นั่นเห็นไหมล่ะ แปลกประหลาด ผล หรืออานิสงส์เกิดปัจจุบัน พวกเราเป็นหญิงเป็นชายต้องไหว้นบเคารพหมดทีเดียว ที่เคยพูด ต่ำๆ สูงๆ พูดไม่ได้เสียแล้ว ไหว้นบเคารพเป็นกระถางธูปเสียแล้วนั่นแน่ะ วิเศษประเสริฐ อย่างนี้ ชื่อเสียงเรียงรายก็ปรากฏไปต่างๆ มีปรากฏจำเพาะปัจจุบันทีเดียวเข้าแล้ว ที่สุดจน กระทั่งโทษประหารชีวิต เมื่อครั้งพุทธกาลหรือในเมื่อครั้งแผ่นดินต้นๆ นี่เขาไม่เอาโทษผิดแก่ ผู้บวชแล้ว เมื่อบวชแล้วก็เป็นแล้วกัน ให้อภัยทีเดียว ให้อภัยเป็นอันขาด นี้ก็ด้วยผลานิสงส์ เขาเรียกว่า “สามัญญผล” ผลบังเกิดปัจจุบันทันตาเห็น ไม่ใช่แต่เท่านั้น ผู้บวชน่ะ ถ้าว่ามีธรรม เช่นนี้แล้วละก็ อานิสงส์ชั้นสูงเป็นอายุพระศาสนาต่อไป ก็อานิสงส์ของผู้บวชน่ะ อเนกอนันต์ นับประมาณไม่ได้ ท่านกล่าวไว้ว่า มหิทฺธิโก มหานุภาโว มีเทพบุตรมีฤทธิ์ศักดานุภาพมีเดช มาก จะเนรมิตแผ่นดิน ... ถ้าจะจารจารึกบันทึกไปจนกระทั่งเขาพระสุเมรุเหี้ยนหดหมด ไป... ยังไม่หมด เท่าไรก็ยังไม่หมด อานิสงส์มากมายก่ายกองนักเหลือที่จะคณนา เหตุนี้ ที่ได้ชี้พร่ำร่ำพรรณนามาในอานิสงส์หรือผลของเจ้าตนผู้บวชน่ะในวันนี้ ที่ได้บุญวันนี้ก็เป็น อัศจรรย์นัก ในธาตุในธรรม9 น่ะร่ำลือกันนักว่าเขามีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ได้บุญยิ่งใหญ่ไพศาล ที่จะไปทรมานพวกประเทศญี่ปุ่น ไปพลิกประเทศญี่ปุ่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ให้เป็นพุทธศาสนิกชน ทั่วไปน่ะ ต้นธาตุท่านหลั่งสมบัติมาให้แล้ว ผู้นี้เป็นตัวประกาศศาสนา ไม่ช้าหรอกจะได้รู้เรื่องกัน ในประเทศญี่ปุ่นกับไทย ผู้ที่จะเป็นที่พึ่งของเขาได้มาเกิดปรากฏขึ้นแล้ว เป็นภิกษุบวชใหม่ นี่แล้ว ต่อไปไม่ช้าก็จะได้ไปสั่งสอนเป็นลำดับไป เหตุนี้ขอให้มารดาและวงศาคณาญาติเลื่อมใส อุปการะเอื้อเฟื้อค้ำจุนอุดหนุนไป จะได้เป็นที่พึ่งของตัวสืบต่อไปในภพนี้และต่อไปในภายหน้า ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควร แก่เวลา นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย สรณํ เม รตนตฺตยํ พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอ ความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านเจ้าภาพและสาธุชนทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถ นิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    อุปกิเลสเหล่านี้ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
    ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป •



    การเจริญภาวนาธรรมนั้น มีเงื่อนไขหลายอย่าง ที่ผู้ปฏิบัติพึงจะต้องทราบ และคอยสอดส่องพิจารณา ให้การปฏิบัติเป็นไปโดยถูกถ้วนสมบูรณ์และตรงประเด็น

    พร้อมด้วยพิจารณาในเหตุและสังเกตในผลของการปฎิบัติว่า ให้ผลในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษด้วย

    พระพุทธองค์เคยทรงมีพระดำรัส กับเหล่าพระภิกษุเกี่ยวกับอุปกิเลสของสมาธิ ปรากฏอยู่ในอุปกิเลสสูตร ในสุญญตวัคค์ อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย หน้า 302 ข้อ 452 มีใจความว่า

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ที่ป่าชื่อว่า ปาจีนวังสะทายวัน แขวงเมืองโกสัมพี

    ณ ที่นั้นภิกษุสามรูป คือ พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ และพระกิมพิละ ได้ทูลพระองค์ว่า

    "ข้าพระองค์ทั้งสาม พยายามกำหนดเห็นแสงสว่าง แล้วเห็นรูปทั้งหลาย แต่แสงสว่างและรูปนั้น เห็นอยู่ไม่นาน ก็หายไป ข้าพระองค์ทั้งสามไม่ทราบว่า เป็นเพราะเหตุไร "

    พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย (พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระภิกษุทั้งสามองค์ แต่ได้ทรงเรียกอนุรุทธะเป็นองค์แรก ในบาลีจึงใช้"อนุรุทธา")

    แม้เราเอง ครั้งก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ กำหนดเห็นแสงสว่างได้ และเห็นรูปทั้งหลาย แต่ไม่นานเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น ก็หายไป เราเกิดความสงสัยว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    เราก็คิดได้ว่า อุปกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    อุปกิเลสเหล่านี้คือ

    1. วิจิกิจฉา ความลังเลหรือความสงสัย

    2. อมนสิการ ความไม่ใส่ใจไว้ให้ดี

    3. ถีนมิทธะ ความท้อและความเคลิบเคลิ้มง่วงนอน

    4. ฉัมภิตัตตะ ความสะดุ้งหวาดกลัว

    5. อุพพิละ ความตื่นเต้นด้วยความยินดี

    6. ทุฏฐุลละ ความไม่สงบกาย

    7. อัจจารัทธวิริยะ ความเพียรจัดเกินไป

    8. อติลีนวิริยะ ความเพียรหย่อนเกินไป

    9. อภิชัปปา ความอยากที่จะเห็นนิมิตจนเกินไป

    10. นานัตตสัญญา ความฟุ้งซ่าน นึกไปในสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เคยผ่านมา หรือเคยจดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ

    11. รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ ความเพ่งต่อรูปหรือนิมิตจนเกินไป

    อนุรุทธะทั้งหลาย เมื่ออุปกิเลสเหล่านี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราก็เคลื่อนไป เพราะอุปกิเลสเหล่านี้เป็นต้นเหตุ

    เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ก็หายไป

    ฉะนั้น เราพยายามสอดส่องดูว่า วิธีใดจะทำให้อุปกิเลสเหล่านี้ เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็ทำใจไว้โดยวิธีนั้น

    อนุรุทธะทั้งหลาย เรารู้ชัดว่า วิจิกิจฉาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของจิต จึงได้ละเสีย"

    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ตรัสกับพระภิกษุเหล่านั้นอีกด้วยว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย เราคิดได้ว่า ขณะใด สมาธิของเราน้อย ขณะนั้น จักษุก็มีน้อย ด้วยจักษุอันน้อยนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างน้อย เห็นรูปก็น้อย

    ขณะใด สมาธิของเรามาก ขณะนั้น จักษุก็มีมาก ด้วยจักษุอันมากนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างมาก เห็นรูปก็มาก เป็นดังนี้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง"

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    #อมตวัชรวจีหลวงป๋า

    - ธรรมชาติสองฝ่าย คือ บุญ-บาป
    ต่อสู้กันอยู่ในจิตสันดานของสัตว์โลกมายาวนาน
    โดยที่เราไม่รู้ตัว.

    อยากจะกล่าวถึงคุณของการศึกษาสัมมาปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพานของพระพุทธเจ้า ตามที่แนะนำสั่งสอนมา ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติได้ผลดี คือตามแนวสติปัฏฐาน 4 ด้วยการมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ 5 แล้วก็เจริญสมถภาวนา อบรมจิตให้สงบ ให้ตั้งมั่น แล้วก็ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา นำให้เข้าถึงธรรมในธรรมต่อๆไป คือคุณธรรมของตนเองที่ได้ประพฤติสั่งสมอบรมมา ตั้งแต่ในระดับมนุษยธรรม ถึงเทวธรรม ถึงพรหมธรรม

    เมื่อใจหยุดนิ่ง ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา มีผลให้บุญกุศลที่เราประกอบบำเพ็ญมา มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น ที่เจริญแก่กล้าขึ้นเป็นลำดับเป็นบารมี เป็นคุณความดีอย่างยิ่งยวด เป็นทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ตามลำดับขึ้นมาของแต่ละคนที่ตั้งใจศึกษาสัมมาปฏิบัติอบรมสั่งสมมา เป็นคุณเครื่องชำระกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่เกิดขึ้นในจิตสันดานของเรามานับภพนับชาติไม่ถ้วน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม คือธรรม ธรรมชาติที่เป็นเหตุผลของกันและกันเกิดขึ้น แล้วก็เปลี่ยนแปลงไป แล้วก็ดับไปอยู่เสมอ

    ในฝ่ายบาปอกุศล ด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน ดังกล่าว ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันนั้น มีผลให้กาย เวทนา จิต ธรรม ทั้งฝ่ายรูปธรรม ฝ่ายนามธรรม จากสุดหยาบของกายมนุษย์-ไปสุดละเอียด สุดละเอียดในส่วนบาปอกุศล กายในกายก็เป็นทุคติ เวทนาในเวทนาก็เป็นทุกขเวทนา จิตในจิตก็เศร้าหมองขุ่นมัว ธรรมในธรรมก็เป็นอกุศลธรรม ทับทวีมาตั้ง ตราบใดที่เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารจักรทุกขณะจิต นั่นแหละ สะสมหมักหมมอยู่ในจิตสันดานเป็นอาสวะ ที่หุ้มซ้อนเอิบอาบซึมซาบปนเป็นอยู่ในธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ เป็นกายทุคติ เป็นเวทนาที่เป็นทุกขเวทนา เป็นจิตที่เศร้าหมอง ธรรมในธรรมที่เป็นบาปอกุศล หรืออกุสลาธัมมา สะสมตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานเพราะได้ปฏิบัติมามาก นั้นแหละ หุ้มเคลือบเอิบอาบซึมซาบปนเป็นอยู่ในธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้อย่างหนาแน่น เป็นอาสวะ เป็นอนุสัย

    แต่เมื่อไหร่ ที่ใจเรานั้นยอมรับบุญกุศลคุณความดี นับตั้งแต่รู้จักรับฟัง รู้จักศึกษา รู้จักทำความเข้าใจ ในเรื่องบาปบุญคุณโทษ ตั้งแต่ระดับหยาบๆ กลางๆ ละเอียด แล้วก็ได้เรียนรู้ธรรมะฝ่ายดีฝ่ายบุญกุศล เป็นคุณเครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส กลายเป็นบุญกุศล คุณธรรมในฝ่ายบุญกุศลเรียกว่ากุสลาธัมมาเนี่ย ก็ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมัน ตัวเรานี่แหละ ประพฤติปฏิบัติมาทุกขณะจิตเท่าที่เราปลอดจากฝ่ายบาปอกุศล เหมือนเล่นเก้าอี้ดนตรี ฝ่ายบาปอกุศลมีขึ้น ฝ่ายบุญกุศลก็ชิดซ้ายหายไป แต่พอฝ่ายบุญกุศลเกิดขึ้น เหมือนกับนั่งบนเก้าอี้ดนตรี ฝ่ายบาปอกุศลก็หนีหน้าไป

    ที่นี้ ฝ่ายบุญกุศลยิ่งมีกำลังแรงมาก ก็เป็นคุณเครื่องชำระฝ่ายบาปอกุศล นี่แหละ ธรรมชาติสองฝ่ายนี้ต่อสู้กันมาโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่เมื่อเราศึกษาสัมมาปฏิบัติแล้วเราก็มารู้ว่า ฝ่ายบาปอกุศลนี่เขาพยายามยึดพื้นที่ เหมือนกับเล่นเก้าอี้ดนตรีนั่นแหละ ฝ่ายบุญกุศลก็เป็นคุณความดี ก็พยายามยึดพื้นที่เหมือนกัน แต่ว่าจิตใจของสัตว์โลกมักจะเป็นไปตามอำนาจฝ่ายต่ำ

    นี่..เพราะอะไร ??
    เพราะกิเลสอวิชชา ความไม่มีวิชชาให้เห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะธรรมและอริยสัจธรรมตามความเป็นจริง หลงคิดผิด รู้ผิด เห็นผิด ประพฤติผิดๆ เข้าใจผิดๆ ไอ้เข้าใจผิดๆนี่แหละเรื่องใหญ่เลย นำไปสู่ความเห็นผิดโดยไม่รู้ตัว ก็ปฏิบัติไปตามอำนาจของฝ่ายบาปอกุศล

    แต่ถ้าฝ่ายบุญกุศลดลจิตดลใจให้ตั้งใจศึกษาทำความเข้าใจว่าอย่างนี้เป็นทุกข์ อย่างนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ รู้จักตัวกิเลสให้ชัดเจนขึ้น มากขึ้น ละเอียดขึ้น เพราะกิเลสหยาบมันก็เกิดจากกิเลสกลาง กิเลสกลางก็เกิดจากกิเลสละเอียด จนถึงประพฤติผิดศีลผิดธรรม นี่กิเลสหยาบ

    เมื่อสติปัญญามันเกิดขึ้น รู้บาปบุญคุณโทษพอสมควร ก็เลิกละ ไม่รับฝ่ายกิเลสหยาบ ประพฤติปฏิบัติอยู่ในศีล เบญจศีลเป็นอย่างน้อย ศีล 5 แล้วก็เบญจธรรม ความประพฤติปฏิบัติคุณธรรมของคนดี 5 อย่าง ตรงกันข้ามกัน เป็นต้นว่า เลิกละการเบียดเบียนถึงขนาดฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ประพฤติต่อกันด้วยจิตเมตตากรุณา นี่มาแล้วฝ่ายดี รู้เป็นบาปอกุศล เลิกละการลัก-ฉ้อ-กบฏ-คด-โกง ประกอบอาชีพทุจริต ไปจนถึงกิเลสหนาแน่นเห็นแก่ตัวจัด เห็นแก่ความคิดเห็นของตนเองจัด ไม่ฟังความเห็นของใครๆ ก็กลายเป็นความเห็นแก่ตัวจัดโดยไม่รู้ตัว นำไปสู่การประกอบอาชีพทุจริต การกบฏ-คด-โกง แต่เมื่อฝ่ายบุญกุศลเข้ามาทำหน้าที่แทน จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสจากความตระหนี่ถี่เหนียว จากความเห็นแก่ตัว จากความเห็นแก่ทิฏฐิความเห็นของตัว ทำใจให้กว้าง รู้จักแผ่เมตตากรุณาธรรมต่อกัน เห็นอกเห็นใจกัน ทำความเข้าใจกัน รู้จักให้อภัยให้แก่กัน นี่ฝ่ายเบญจศีล ก็เลิกละอทินนาทาน ฝ่ายเบญจธรรมก็เมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจกัน เผื่อแผ่กัน ยกเว้นยกโทษให้แก่กัน ไม่ถือโทษโกรธกัน เป็นอภัยทาน แล้วก็ข้อที่ 3 เลิกละความประพฤติผิดในกาม หมกมุ่นในกาม สําส่อนในกาม มาคิดรู้ดีรู้ชั่ว เลิกละฝ่ายบาปอกุศล ประพฤติปฏิบัติสันโดษอยู่ในคู่ครองของตน มีความสำรวมในกาม นี่เลิกละกายทุจริต ปฏิบัติอยู่ในกายสุจริต มาแล้ว ตัวเองก็ปฏิบัติ แนะ-นำ-ชักนำ-คนอื่น สั่งสอนคนอื่น ให้ปฏิบัติ ยินดีที่ผู้อื่นปฏิบัติ และสรรเสริญผู้อื่นที่ปฏิบัติได้อย่างนี้ ไม่ใช่ว่าเห็นใครปฏิบัติดีก็ไม่รู้จักสักที ไม่ใช่ ต้องให้รู้คุณค่าของคนอื่นบ้าง ไม่ใช่เอาแต่ใจเรา ดังนี้เป็นต้น

    ละวจีทุจริต ด้วยความเห็นโทษ ใจเขาก็ใจเรา วจีทุจริต กล่าวคำหยาบ ด่าทอ ให้ร้ายป้ายสี กล่าวคำโกหกมดเท็จ หลอกลวงผู้อื่น กล่าวคำยุแยกให้เขาแตกสามัคคีกัน กล่าวคำเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ เลิกละ มาปฏิบัติอยู่ในวจีสุจริต กล่าวแต่คำจริง มีความจริงใจต่อกัน กล่าววาจาสุภาพอ่อนโยน กล่าวคำประสานไมตรี พูดแต่คำพูดที่ดีๆมีคุณประโยชน์เป็นสุภาษิต เป็นข้อปฏิบัติที่ดี ไม่ว่าเป็นคำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพที่สุจริต คำแนะนำในความประพฤติปฏิบัติที่ดีนำไปสู่ความเจริญสันติสุขและถึงความพ้นทุกข์ นี่ ปฏิบัติเองด้วย ชักนำให้ผู้อื่นปฏิบัติด้วย ยินดีที่ผู้อื่นปฏิบัติด้วย สรรเสริญที่ผู้อื่นปฏิบัติได้อย่างนี้ด้วย นี่กล่าวทางส่วนวจีสุจริต นี้ครอบคลุมไปถึงศีล 5 ศีล 5 น่ะเป็นส่วนย่อ กล่าวกายสุจริต วจีสุจริต เป็นส่วนขยายรายละเอียด แล้วเป็นไปด้วยอะไรล่ะ?

    เลิกละมโนทุจริต อะไรล่ะมโนทุจริต เจตนาความคิดอ่านที่เป็นไปด้วยกับกิเลส โลภจัด ตัณหาราคะจัด เห็นแก่ตัวจัด เลิกละซะ ให้มันเบาลงไป ให้มีใจเผื่อแผ่กว้างขวาง รู้จักเสียสละสิ่งของเพื่อความเจริญสันติสุขของผู้อื่น ด้วยการให้ มีอามิสทานเป็นทรัพย์สิ่งของ แบ่งปันกันกินแบ่งปันกันใช้ แล้วสูงขึ้นไปถึงแนะนำข้อปฏิบัติที่ดีที่มีศีลมีธรรม สูงขึ้นไปถึงอภัยให้แก่กัน ไม่ถือโทษโกรธกัน ไม่ยึดถือเอาแต่ว่าเป็นโทษเรื่อยไป รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น นี่ข้อหนึ่งล่ะ ข้อที่สอง เลิกละความโกรธ พยาบาท อาฆาต จองเวรต่างๆ ด้วยอภัยให้แก่ผู้อื่น ประการที่สาม เลิกละความหลงผิด ไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามความเป็นจริง ส่วนมาก บางคนก็ไม่รู้นะ มากต่อมากที่มักจะแสดงความเห็นว่าตนเองนี่รู้แล้ว ก็ยอมรับว่ารู้อยู่ แต่ส่วนเดียว มันมีส่วนที่ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีกมาก ถ้าว่าเมื่อไหร่หมดความหลงตัวเองเมื่อไหร่ เข้าข่าย สู่ความเป็นอริยบุคคล คือทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส รู้เห็นความดีความชั่วตามความเป็นจริง บาปบุญคุณโทษตามความเป็นจริง จากหยาบ กลาง ละเอียด ที่มีมาก เรียกว่ากิเลสร้อยห้า ความจริงไม่ใช่ร้อยห้าหรอก กิเลสหมื่นแสนห้า ตัณหาหมื่นแสนอย่าง มากมาย อย่าไปนึกว่าเรารู้หมดแล้ว ไม่จริง ถ้ารู้หมดแล้วก็เป็นพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้า เป็นภิกษุเรียกว่าพระอริยสงฆ์ เป็นโยมก็เรียกว่าพระอริยเจ้าหรือพระอริยบุคคล เรียกว่าพระนะ เป็นโยมนี่แหละ เรียกว่าพระ ท่านที่เป็นพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้าก็มีมากพอสมควรอยู่ในโลก มนุษย์โลก ในเทวโลก ในพรหมโลก ก็มี ดังนี้เป็นต้น

    _______________

    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
    จากเทศนาธรรมเรื่อง

    เพียรกำจัดกิเลส
    https://youtu.be/6-ImLe07xgM
    _______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า.

    c_oc=AQmRLshDIAzqN3ExQlEc9_TYl2wfQzbHJ9uc-CcjWuTIF_dHWcuLsNLqIwafpb4ZVRI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ (sentient beings come together and unite because of an element)


    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า “สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต” มีปรากฏในสตาปารัทธสูตร นิทานวรรค สังยุตตนิกาย (สํ.นิ.๑๖/๓๖๘-๓๗๒) ดังนี้


    c_oc=AQmkgaUwFJEP2KupIE731gKWHmW5xNT1G7EoMXjjNc8M3Gnte978viep1YfqodQGsY0&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    c_oc=AQkpLWZ5xCtJqNM4t2b8s3zQ-XvYQIxAtcL7B7boCJJmAZAKmbC1o8CAiQmOiIpKkTo&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    c_oc=AQmkgaUwFJEP2KupIE731gKWHmW5xNT1G7EoMXjjNc8M3Gnte978viep1YfqodQGsY0&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg c_oc=AQnHGPhnlupATE0W-NpxgOob_8hwvbHRLc3p72JR0MqWYGTH_aB7eQ4321M6A69tDm4&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg c_oc=AQlSKeO2AxJYHFpcgSowe1nNadhFbN7uYn-7ohfMEYrG8jWSyA88ryWANIG_Pz8wOiE&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    อาจารย์พระมหาศักฎา สุมโน (ป.ธ.๙, รป.ม.) เจ้าอาวาสวัดป่าวิสุทธิคุณ หน้าวนอุทยานเขานางพันธุรัต อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี บรรยายเรื่อง “โพชฌงค์ ๗” อันเป็นธรรมหมวดที่หกในโพธิปักขิยธรรม (อภิญญาเทสิตธรรม)

    https://youtu.be/0naALRXjOSs


     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    อริยธนคาถา


    lphor_tesna_vn.jpg


    23 มกราคม 2498

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา
    สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ
    สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ
    อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ
    ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ
    อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย อริยธนคาถา วาจาเครื่องกล่าวถึง ทรัพย์อันประเสริฐ พระคาถานี้ การย่อย่นเนื้อความแห่งธรรมเทศนาของพระรัตนตรัยยกไว้ ในที่นี้ จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอเป็น เครื่องปฏิการ ประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญา ซึ่งคุณสมบัติของท่านผู้คฤหัสถ์ ทั้งบรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า

    เริ่มต้นตามวาระพระบาลีด้วย ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา ความเชื่อ ของบุคคลใดไม่กลับกลอกตั้งมั่นดีแล้วในพระตถาคตเจ้าคือธรรมกาย สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ ศีลอันดีงามของบุคคลใดอันพระตถาคตเจ้าใคร่สรรเสริญแล้ว สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเชื่อในพระสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใด อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงมีอยู่แก่ บุคคลใด อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า บุคคลนั้นไม่ใช่คนจน เป็นคนมั่งมี อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ความเป็นอยู่ของบุคคลนั้นไม่เปล่าปราศจากประโยชน์ ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ เพราะเหตุนั้น เมื่อ บุคคลมาระลึกถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายแล้ว ควรประกอบตามความเชื่อใน ธรรมกายคือพระตถาคตเจ้า ควรประกอบตามศีล ควรประกอบตามกัลยาณศีล อริยกันตศีล ควรประกอบตามความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ควรประกอบตามความเห็นตรงไว้เนืองๆ ด้วย ประการดังนี้ นี่เนื้อหาของพระบาลี คลี่ความเป็น สยามภาษาได้ความเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป เราท่านทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต หญิงชายทุกถ้วนหน้า บรรดานับถือพระพุทธศาสนา เราจะวางความเชื่อของเราไว้ตรงไหน ถึงจะถูกต้องร่องรอยความประสงค์ทางพระพุทธศาสนา ที่เราจะดำเนินให้ถูกทางมรรคผล ต่อไป จะวางความเชื่อลงไว้ตรงไหน ตำราเขาก็บอกไว้แล้ว ยสฺส สทฺธา ตถาคเต ความเชื่อ ของบุคคลใดไม่กลับกลอก ตั้งมั่นดีแล้วในพระตถาคตเจ้าคือธรรมกาย ตถาคตน่ะ คือ ธรรมกายนี่เอง หรือแปลเสียอีกนัยหนึ่งว่า ความเชื่อของบุคคลใดไม่กลับกลอก ตั้งมั่นดีแล้ว ในธรรมกาย ตถาคตคือตัวธรรมกายทีเดียว มีตำรารับรองว่า ตถาคตสฺส โข เอตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ ว่า ดูก่อนวาเสฏฐโคตรทั้งหลาย คำว่าธรรมกาย ธรรมกายน่ะ เป็น ตถาคตโดยแท้ บอกไว้อย่างนี้ ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราผู้ตถาคตคือธรรมกาย วางหลักไว้ อย่างนี้ ความเชื่อที่ไม่กลับกลอกตั้งมั่นดีแล้วในพระตถาคตเจ้า นี้ถูกแล้ว แปลอย่างนี้ เราจะ ต้องวางความเชื่อลงไว้ในธรรมกายนี้อีก นี้วัดปากน้ำค้นพบแล้ว ได้ตัวจริงแล้ว ไปนรกได้ ไปสวรรค์ได้ ไปนิพพานได้ อาราธนาพระพุทธเจ้าที่อยู่ในพระนิพพาน มาให้มนุษย์เห็นใน วัดปากน้ำมีมากมาย ในวันวิสาขะ มาฆะ ให้เห็นจริงเห็นจังกันอย่างนั้น เท่านั้น แปลบาลีศัพท์หนึ่ง แปลได้ตั้งร้อย ผู้รู้น้อยว่าแปลผิด ไม่ถูก นี่แปลอย่างนี้ถูกเกินถูกอีก แน่นอนทีเดียว ความเชื่อของเราต้องตั้งมั่นลงไปในพระตถาคตเจ้า อย่ากลับกลอก ถ้าว่าไปกลับกลอกเสีย ก็เป็นอันไร้จากประโยชน์ ไร้จากผล ไม่ถูกต้องความสนใจพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลท่าน มีใจตั้งอยู่ในธรรมกายทั้งนั้น ยืนยันอย่างนี้ ตำรานี้ก็ถูกเรียกว่า “อริยธนคาถา” ทรัพย์อัน ประเสริฐของพระอริยเจ้า ถ้าว่าใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นต้องมีศูนย์กลางนะ มนุษย์เล่า ถ้าว่ามนุษย์มีใจไม่ลอกแลก ใจไม่ ง่อนแง่น ใจไม่คลอนแคลน ก็ตั้งอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ นั้นแหละ ถูกหลัก เป้าหมายใจดำของพุทธศาสนา กายมนุษย์ละเอียดที่ฝันออกไป ก็ต้องตั้งมั่นอยู่ในกลางดวง ธรรม อย่างกายมนุษย์ กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด ที่จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ใจก็ต้อง หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด ที่จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ใจกายรูปพรหม กายรูปพรหม ละเอียดก็ต้องตั้งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมที่จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ใจก็ต้องหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียดที่จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ใจกายอรูปพรหม ละเอียดก็ต้องตั้งหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ต้องหยุด อยู่ตรงนั้น กายเบา สลฺลหุกวุตฺติโน เป็นผู้ประพฤติเบาพร้อม กายก็เบา วาจาก็เบา ใจก็เบา ไม่มีหนักเลย ประพฤติดังนี้

    เมื่อเข้าถึงธรรมกาย เคารพธรรมกาย มั่นในธรรมกาย ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา นับถือพระพุทธศาสนา ต้องตั้งมั่นอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกาย ถ้าว่าไม่ได้ธรรมกายละ ก็เข้าถึงธรรมกายให้ได้ จะต้องเอาใจไปตั้ง อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายให้ได้ บัดนี้ วัดปากน้ำมี 150 กว่าคน ใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายได้ 150 กว่า ที่ยังเข้าไม่ถึงก็เพราะประมาทเลินเล่อเผลอตัว ทำไม่จริง เข้าไม่จริง จรดไม่จริง ตั้งไม่จริง ลอกแลก เช่นนี้โกง ตัวเอง เมื่อโกงตัวเองเสียแล้วเข้าถึงธรรมกายไม่ได้ ทำไมโกงตัวเองเล่า มันขี้เกียจทำ ทำเข้า เมื่อยขบเล็กๆ น้อยๆ ขี้เกียจเสียแล้ว หยุดเสียแล้ว ไม่ทำแล้ว ทำก็เห็นลางๆ ไรๆ เอ้า! ปล่อยเสียแล้ว ไม่ทำเสียแล้ว ไปไถลท่าอื่นเสียแล้ว ใจไปจรดที่อื่นเสียแล้ว ไปจรดอะไรเล่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ปัจจุบันบ้าง อดีตบ้าง อนาคตบ้าง

    ไปจรดอยู่ที่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ในปัจจุบันเล่าเป็นอย่างไร ได้ยินเสียงใน ปัจจุบันที่ตั้งอยู่ จรดอยู่ ไปเสียแล้ว เสียงไปแล้ว กำลังนั่งอยู่ไปเห็นรูปเข้า เอ้าไปเสียแล้ว ไปสูดดมกลิ่นเข้า ไปเสียแล้ว ได้ลิ้มรสเข้า เอ้าไปเสียแล้ว ถูกประทุษร้ายด้วยสัมผัส เช่น เหลือบ ยุง ริ้น บุ้ง ร่าน ก็ไปเสียอีกแล้ว ไม่อยู่ที่อย่างนี้ เรียกว่า ลอกแลกในปัจจุบัน ลอกแลกในอดีตเป็นอย่างไรล่ะ นึกถึงรูปที่ล่วงไปแล้ว เสียงที่ล่วงไปแล้ว กลิ่นที่ล่วงไปแล้ว รสที่ล่วงไปแล้ว สัมผัสที่ล่วงไปแล้ว รูปที่ล่วงไปแล้ว รูปที่ล่วงไปแล้วน่ะเป็นอย่างไร ตึกร้าน บ้านเรือน เรือกสวนไร่นา เรือแพนาวา ต้นไม้ต้นไร่ ของที่ตนเห็นด้วยตาของตน เป็นของๆ ตนอยู่ เป็นอันตรายไปเสีย ก็นึกถึงอ้ายเรื่องนั้นยังไม่หาย นั่นแหละนึกถึงอดีตละ รูปเป็น อย่างนั้น เสียงเป็นอย่างนั้น กลิ่นก็เป็นอย่างนั้น รสก็เป็นอย่างนั้น สัมผัสก็เป็นอย่างนั้น ลอกแลกไปเสียในอดีตอีกแล้ว ลอกแลกในอนาคตออกไปข้างหน้า จะได้รูปอย่างนั้น จะได้ เสียงอย่างนั้น จะได้กลิ่นอย่างนั้น จะได้รสอย่างนั้น จะได้สัมผัสอย่างนั้น นึกไปข้างหน้าอีก และวันพรุ่งนี้ออกไป นั่นเป็นข้างหน้า อนาคต จิตมันลอกแลกในธรรม 5 ประการนี้

    ธรรม 5 ประการนี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้สัตว์เนิ่นช้า ปปญฺจาภิรตา ปชา หมู่สัตว์ เนิ่นนานในรูปภพ อรูปภพ ไม่จบไม่แล้ว นี่แหละผู้ที่เลินเล่อเผลอตัว โกงตัวเองก็รูปนี้ ปล่อยใจ ไปจรดรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง ไม่จรดอยู่ที่ศูนย์กลาง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-ธรรมกายละเอียด, จรดอยู่นั่นไม่โกงตัวเอง ให้ความสุข แก่ตัวเองปัจจุบันทันตาเห็น แม้เป็นปุถุชนอยู่ก็เรียกว่า ปุถุชนสาวก ถ้าจรดอยู่ได้ ถ้าจรดอยู่ ไม่ได้ ยังเป็นปุถุชนอยู่ เรียกว่าลอกแลกอยู่นั่นเอง ไม่จัดเข้าในปุถุชนสาวก ถ้าจรดอยู่ ละก้อ จัดเข้าในปุถุชนสาวกละ ต้องเข้าถึงธรรมกายโคตรภูให้หนักขึ้นไป เข้าถึงพระโสดา อริยสาวกทีเดียว เป็นอริยสาวกทีเดียว นี้ความตั้งใจเป็นอย่างนี้นะ วางใจเป็นอย่างนี้ ให้ถูก หลักฐานอย่างนี้ เมื่อถูกหลักฐานอย่างนี้แล้ว นี่ในข้อต้น

    ข้อที่ 2 รองลำดับลงไป สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ นี้ศีลของบุคคลใด อันดีงาม อันพระอริยเจ้ารักใคร่ชอบใจ อันพระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว ศีลอันดีงามน่ะศีลอะไร เขาเรียกว่ากัลยาณศีล อริยกันตศีล ปสังสิตศีล เรียกว่าศีลอันดีงามที่พระอริยเจ้าใคร่ พระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว ศีลอันดีงาม เมื่อใจหยุดจรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย มนุษย์พอดี กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด ทั้ง 8 กาย 9 กาย 10 กาย เป็นลำดับขึ้นไป ถ้าว่าศีลของผู้มีใจหยุดเช่นนั้น ศีลของบุคคลผู้นั้นก็เป็นกัลยาณศีล เป็น อริยกันตศีล เป็นปสังสิตศีลทีเดียว ทำไมเป็นเช่นนั้น ศีลก็แปลว่าปกติ ศีลเขาแปลว่าปกติ ปกติกาย ปกติวาจา ปกติใจ ใจเป็นอัพโพหาริกศีล ด้วยปกติกาย ปกติวาจา ปกติใจ ปกติน่ะ เป็นอย่างไร ใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ถูกเป้าหมายใจดำร่องรอย ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เมื่อใจหยุดแล้ว วาจาก็อยู่ในกรอบของศีล กายก็อยู่ในกรอบ ของศีล ใจก็อยู่ในกรอบของศีล ไม่ละเมิดศีลไปได้ เพราะใจหยุดเสียแล้ว แน่นอนทีเดียว ไม่คลาดเคลื่อน ไม่ฟั่นเฟือนทีเดียว แน่นอนทีเดียว เมื่อแน่นอนเช่นนั้นละก้อ นั่นแหละเป็น กัลยาณศีล เป็นอริยกันตศีล เป็นปสังสิตศีล ศีลโดยตรงทีเดียวนี้แหละ พระอริยเจ้าใคร่ พระอริยเจ้าชอบใจ พระอริยเจ้าสรรเสริญทีเดียว เป็นอย่างนี้ แม้จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยกาย จะพูดสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยวาจา จะคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยใจก็ไม่มีละเมิดศีล อยู่ในกรอบศีลนั่นเอง ไม่เคลื่อนจากศีลไปได้ จึงจัดได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณศีล อริยกันตศีล ปสังสิตศีล ศีลอย่างนี้เป็น ศีลสามัญ ยังไม่เป็นวิสามัญ ศีลวิสามัญ ต้องเห็นศีล ศีลอย่างนี้ถึงจะมีในกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด ทั้ง 8 กายที่มีในไตรภพก็เป็นศีลสามัญ ศีล ของเทวดาต้องมั่นอยู่เป็นปกติธรรมดา กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-รูปพรหม ละเอียด, กายอรูปพรหม-อรูปพรหม ละเอียด, มีอยู่เป็นปกติธรรมดา ศีลของกายมนุษย์ ละเอียดไว้ใจไม่ได้นัก เจ้ากายมนุษย์หยาบ นี้ก็ไว้ใจไม่ได้นัก ยังลอกแลกอยู่ไม่มั่นคง ถ้าว่า ทั้ง 6 กายนี่ละก้อ มั่นคงละ ถ้าว่าไม่อยู่นิ่งละก้อ เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ทีเดียว

    ทั้ง 6 กาย นั้น จึงจัดได้ชื่อว่าเป็นศีลสามัญ

    ศีลวิสามัญน่ะเห็นศีลทีเดียว เห็นศีลคือกาย กายมนุษย์ไม่เห็น กายมนุษย์ละเอียด เห็น กายทิพย์เห็น กายทิพย์ละเอียดเห็น กายรูปพรหมเห็น กายรูปพรหมละเอียดเห็น กายอรูปพรหมเห็น กายอรูปพรหมละเอียดเห็น นั่นเห็นศีล เห็นศีลเป็นดวง ขนาดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทดุจกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าอย่างนี้ เรียกว่าเห็นดวงศีล เมื่อเห็น ดวงศีลเช่นนี้ละก็ เห็นหมดทั้ง 7 กายนั่น เห็นตลอดไป เมื่อเห็นเช่นนี้ละก็ นั่นแหละเป็น กัลยาณศีลแท้ๆ นั่นแหละเป็นอริยกันตศีลแท้ๆ นั่นแหละเป็นปสังสิตศีลแท้ๆ ถูกละ เป็นทาง ไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เมื่อเห็นเช่นนั้นแล้ว ใจของผู้เห็นนั้นก็ติดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล นั่นไม่คลาดเคลื่อนทีเดียว เมื่อติดดวงศีลได้ ดวงสมาธิไม่ต้องไปไหน อยู่ในกลางดวงศีล ดวงปัญญาก็อยู่กลางดวงสมาธิ ดวงวิมุตติไม่ต้องไปไหน อยู่กลางดวงปัญญา ดวงวิมุตติญาณทัสสนะไม่ต้องไปไหน อยู่ในกลางดวงวิมุตติ เข้าทางไปของพระอริยเจ้าพระอรหันต์ ถูกทีเดียว ไม่คลาดเคลื่อนละ นี้ท่านจึงได้วางตำราไว้เป็นข้อที่ 2 เป็นศีลของธรรมกาย นี่ เป็นศีลของธรรมกาย เข้าถึงธรรมกายก็ด้วยวิธีนี้ พอเข้าถึงธรรมกายแล้ว ศีลของธรรมกายก็มี แบบเดียวกันนี้ เป็นลำดับไปทีเดียว ตำราวางไว้แสดงกันแล้วมากมายนี่เป็นข้อที่ 2 เรียกว่าศีล

    ข้อที่ 3 เป็นลำดับไป สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเลื่อมใสใน พระสงฆ์ ความเลื่อมใสในหมู่ สงฺโฆ เขาแปลว่า หมู่ มีอยู่แก่บุคคลใด ความเลื่อมใสในหมู่ มีอยู่แก่บุคคลใด ความเลื่อมใสคือชอบใจ ปีติปราโมทย์ ร่าเริงบันเทิงใจ ปลาบปลื้มตื้นเต็ม เอิบอิ่มในใจ ที่เรียกว่าเลื่อมใส ปลาบปลื้มเอิบอิ่มตื้นเต็มในใจ ความเลื่อมใสคือความ ผ่องใส เมื่อมีศรัทธากำลังบริจาคทานอยู่ก็มีความเลื่อมใส จัดขึ้นเพิ่มอีก เมื่อนั่งทำความ เพียร กำลังนั่งอยู่ เมื่อมีความเลื่อมใส นั่งหนักขึ้นไปอีก นั่นเรียกว่าความเลื่อมใส ความ เลื่อมใส ความผ่องใส นัยหนึ่งว่า “เหม” แปลว่าเป็นแดนสร้างเอกแห่งรัศมี ก็ความ เลื่อมใสเกิดขึ้นแล้ว ดูสีหน้าสีตาก็รู้ ดูสีหน้ารู้ หน้าดำอยู่กลับมีสีงามขึ้นทีเดียว ขาวๆ ก็ ผิวงามขึ้นทีเดียว ผุดผ่องขึ้นทีเดียว นี้เพราะเกิดจากความเลื่อมใส เลื่อมใสนี่แหละ ทำร่างกายให้สะอาดสะอ้าน ทำร่างกายให้สละสวย ให้งดงาม เพราะความเลื่อมใสอันนี้ เลื่อมใสเต็มที่ก็เหาะเหินเดินอากาศไปได้ เลื่อมใสจัดหนักเข้าๆ เหาะเหินเดินอากาศได้ เพราะความเลื่อมใสอันนี้ ไม่ได้เป็นของพอดีพอร้าย ให้เลื่อมใสในหมู่

    เลื่อมใสในหมู่เลื่อมใสอย่างไร อย่างนี้ เหมือนพระเณรอย่างนี้แหละ นับว่าพระก็ 4 แถวๆ ละ 8 องค์ เณรก็ 3 แถวๆ ละ 8 องค์ เขาไม่เลื่อมใส เขามาแต่แถวเดียว เณรพระ ก็มาไม่ครบ 4 แถว นี่เขาไม่เลื่อมใส เพราะขาดความเลื่อมใสเสียแล้ว เขาไม่เลื่อมใสในหมู่ เขาไม่อยากเข้าหมู่ นั่นแน่พวกไม่เลื่อมใสในหมู่ พวกไม่อยากเข้าหมู่ เหมือนพวกเรา อุบาสกอุบาสิกา เวลาถึงวันธัมมัสสวนะจะต้องฟังเทศนา ฟังธรรมกัน จำศีลภาวนากัน ไม่มาเสียแล้ว ขาดตกบกพร่องไปเสียแล้ว นั่นเขาไม่เลื่อมใสในหมู่ เขาขาดความเลื่อมใส ในหมู่เสียแล้ว ถ้าเขาเลื่อมใสในหมู่ละก้อ ไม่ขาดตกบกพร่องเลย สมบูรณ์บริบูรณ์เต็มเปี่ยม ทีเดียว ถึงเวลามาแล้วก็กลัวจะขาดหน้าที่ไป หน้าที่ของตัวจะขาดไป ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ละ นี้พวกนี้เลื่อมใสในหมู่ กลัวหมู่จะขาด กลัวหมู่จะไม่เจริญ กลัวหมู่จะซูบซีด เศร้าหมอง ขุ่นมัว ไม่แน่นหนา ไม่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา รักษาความเลื่อมใสในหมู่ไว้ไม่ให้คลาดเคลื่อน ไม่ยอมทีเดียว รักษาความเลื่อมใสในหมู่ไว้

    นี้พวกเลื่อมใสในหมู่น่ะ หมู่อะไร หมู่พุทธศาสนิกชนนี่แหละ หมู่ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา แต่ว่านกมันก็เลื่อมใสในหมู่เหมือนกันนะ หัวหน้าไปทางไหนละก้อ ไป เป็นแถว ไม่คลาดเคลื่อนละ นั่นก็เลื่อมใสในหมู่เหมือนกัน ขาดหมู่ไม่ได้ หมู่เนื้อ หมู่นก หมู่ปลา เขาก็เลื่อมใสในหมู่ เป็นธรรมชาติของสัตว์พวกนั้น หมู่ภิกษุสามเณรเล่า ก็เป็น ธรรมชาติของหมู่ภิกษุสามเณรเหมือนกัน เพราะมีธรรมเสมอกัน มีธรรมร่วมกัน มีศีล 227 ศีล 10 ร่วมกัน ประพฤติธรรมร่วมกัน มีศีลร่วมกัน สมาธิร่วมกัน ปัญญาร่วมกัน พวกนี้ อยู่ที่ไหนก็รักใคร่กันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน น้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ขาดตกบกพร่อง ทำสิ่งใดก็ ทำพร้อมๆ กัน เลิกสิ่งใดก็เลิกพร้อมกัน ไม่รังเกียจเดียดฉันท์ซึ่งกันและกัน นี่พวกนี้เลื่อมใส ในหมู่ทั้งนั้น ลักษณะเลื่อมใสในหมู่นี่แหละเป็นธรรมสำคัญ มีอยู่แก่บุคคลใด เลื่อมใสในหมู่น่ะ หมู่ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ ผู้มีธรรมกาย หมู่มีธรรมกายก็รักใคร่ในกันและกัน ไม่ทุ่มเถียง กัน พูดก็อนุโลมตามกันอนุมัติกัน ไม่แก่งแย่งกัน พวกที่แก่งแย่งกันเสีย คัดค้านกันเสีย นี่ทำ หมู่ให้แตก ทำพวกให้แตก อย่างนี้เรียกว่าไม่เลื่อมใสในหมู่ คัดค้านในหมู่ ต้องเลื่อมใสในหมู่ ไม่ให้หมู่แตก ไม่ให้หมู่กระเทือนทีเดียว เพราะพร้อมซึ่งกันและกันนี่ สงฺเฆ ปสาโท ความ เลื่อมใสในหมู่มีอยู่แก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่าเป็นคนไม่ยากจน เป็นคนมั่งมีทีเดียว เลื่อมใส ในหมู่น่ะ ฉลาดอยู่คนเดียวไม่ได้ เข้าใกล้ใคร มีลัทธิอันใดที่ตนมีอยู่ ลัทธิของตัวที่มีอยู่นั้น ไม่รังเกียจเดียดฉันท์ เอาใจใส่ แนะนำตักเตือน ให้ซึ่งกันและกัน รู้เหมือนตน มีนิสัยใจคอ อันเดียวกัน ไปไหนก็ไปในหมู่เดียวพวกเดียวกัน

    เหมือนพระพุทธเจ้าท่านอุบัติตรัสขึ้นในโลก ท่านมีธรรมกาย ธรรมกายเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระตถาคตเจ้า ท่านมองทีเดียวแหละ ใครจะมีธรรมกายเหมือนเราบ้าง ท่านมีความ รู้วิเศษ คนนี้มีเหตุได้สั่งสมอบรมมา สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยกันแล้ว บารมีเป็นเหตุ บารมีแก่แล้ว สมควรที่จะได้มรรคผล สมควรจะมีได้ธรรมกายเหมือนเรา ไม่ว่าอยู่ใกล้อยู่ไกล พระองค์ อุตส่าห์พยายามไปแนะนำ ให้มีธรรมกายเหมือนท่าน เมื่อมีธรรมกายเหมือนท่าน ก็เป็นหมู่ เดียวกับท่าน เป็นพวกเดียวกับท่าน พอมีธรรมกายเหมือนท่าน ก็เป็นพวกเดียวกับท่านเป็น หมู่มีธรรมกายน่ะเป็นชั้นๆ เป็นพระอรหันต์ อรหัตบ้าง เป็นพระอนาคาบ้าง เป็นพระสกทาคา บ้าง เป็นพระโสดาบ้าง เป็นโคตรภูบ้าง ไม่ว่าอยู่ที่ไหน พระองค์เสด็จไปแนะนำสั่งสอน ให้มี ธรรมกายปรากฏขึ้นเหมือนพระองค์ เมื่อมีธรรมกายปรากฏขึ้นเหมือนพระองค์แล้ว ก็เป็น พระพุทธเจ้าทีเดียว เมื่อมีธรรมกายก็รู้จักพระตถาคตเจ้าทีเดียว รู้จักพระตถาคตเจ้าว่า อ้อ! นี่เป็นพวกเดียวกันหมู่เดียวกัน นั่นท่านผู้นั้นก็เลื่อมใสในหมู่ อยู่ที่ไหนไม่ว่าใกล้และไกล เวลาจำพรรษาต่างกัน ไกลจากกัน ไปมากันไม่ถึง พอปวารณาพรรษาแล้วละก็ ต่างฝ่าย ต่างมุ่งแน่แน่วไปเฝ้าพระศาสดาที่วิหารเชตวันทีเดียว มาสะบักสะบอมทีเดียว ผ้าผ่อนเปียก น้ำคร่ำฝนมาทีเดียว เคลอะคละมาด้วยตมด้วยเลนทีเดียว พระองค์เห็นความลำบาก ความเลื่อมใสในหมู่ของพระสงฆ์มากด้วยความลำบากเช่นนี้ เมื่อมีความลำบากเช่นนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงอนุญาตวินัยบางข้อ ให้ภิกษุไปมาเฝ้าพระตถาคตเจ้าได้สะดวก ด้วยการไปมา ในเรื่องนี้พระศาสดาถึงความใหญ่ นับความเลื่อมใสในหมู่น่ะ เลื่อมใสในหมู่ หมู่มีศีลก็ต้อง ให้มีศีลเหมือนกัน หมู่มีสมาธิให้มีสมาธิเหมือนกัน หมู่มีปัญญาให้มีปัญญาเหมือนกัน หมู่มีความวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็ให้มีเหมือนกัน ถ้าหมู่มีธรรมกายก็ให้มีธรรมกาย เหมือนกัน นี่เป็นอันเลื่อมใสในหมู่ สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเลื่อมใสในหมู่มีอยู่แก่ บุคคลใด บุคคลนั้นเรียกว่าเป็นคนมีปัญญา เป็นคนมีอริยทรัพย์ภายในทีเดียว แสดงตัวเอง อย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น นี่เป็นข้อที่ 3

    ข้อที่สี่ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรง ความเห็นตรงมีอยู่แก่บุคคลใด เห็นตรง น่ะ เห็นอย่างไร เห็นตรง ไม่คด เห็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ว่า ทางไปของ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์นั้น ไม่ใช่ทางอื่น มีทางเดียว ทางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย เดินไป ในกลางทางนั้น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย กายมนุษย์ก็มีกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ ถ้าว่ากายมนุษย์ละเอียดก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ ก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ กายทิพย์ละเอียดก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ละเอียด กายรูปพรหมก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดก็มี ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย อรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียดก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด กายธรรมก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม กายธรรมละเอียดก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรมละเอียด ในกลางดวงธรรมนั่นแหละ ดำเนินไปทางกลางดวงธรรมนั้น ดำเนินไปใน ทางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เดินไปในทางนั้นเหมือนกันหมด และเข้าถึงกายธรรมละเอียด

    เดินไปในกลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เดินไปในกลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงนั่น ก็เข้าถึงกายทิพย์ เดินไปอย่างนี้ก็จะเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมก็เดินไปอย่างนี้ ไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียดก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายอรูปพรหม ก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียดก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายธรรม ก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายธรรมละเอียดก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ นี้เรียกว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นเป็นธรรมชาติตรงทีเดียว นี่ตรงอย่างลึกลับ ตรงอย่างทางมรรคผล ทีเดียว

    ถ้าตรงผิดจากมรรคผลล่ะ ย่นย่อลงมาเสียกว่านั้น ความเห็นต่ำลงมากว่านั้น โลก ประเพณีวิสัยความเป็นไปของมนุษย์นี่ ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ประพฤติไปตามสุจริตกาย สุจริตวาจา สุจริตใจ ตัวเองก็ไม่ให้รับความเดือดร้อนประการใด ด้วยกาย วาจา ใจของตัว คนอื่นก็ไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะกายวาจาใจของตัว ทั้งตนและ บุคคลผู้อื่นก็ไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะกาย วาจา ใจของตัว นี้เรียกว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงนี้ต่ำลงมา ต่ำลงมากว่าทางมรรคผลดังกล่าวแล้ว

    ต่ำลงไปกว่านั้นอีก การเลี้ยงชีพหารายได้ของมนุษย์ หรือการปกครองสมบัติของ มนุษย์ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ชาวนาทำนาก็ไม่รุกคันไร่คันนากัน ชาวสวนทำสวนก็ไม่รุก คันไร่คันสวนกัน การค้าขายก็ไม่เบียดแว้งกัน ค้าขายกันโดยซื่อตรง ไม่อิจฉาริษยากัน ดังนี้ เรียกว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงเหมือนกัน หรือปกครองประเทศก็ไม่เบียดแว้งขอบ เขต ประเทศกัน ไม่เกี่ยงกัน คนในปกครองในกันและกัน เดินตรงๆ เอ็งจะมาอาศัยก็มาเถอะ โดยตรง ฉันชอบเดินตรงๆ ผู้มาอาศัยเล่าก็มาอาศัยโดยตรงๆ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมเป็นอุบาย ปลอมตัวเข้ามา อย่างนี้เรียกว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงอย่างต่ำลงมา ความเห็นตรง อย่างนี้ก็ใช้ได้ดุจเดียวกัน

    เพราะเหตุนั้น ในข้อที่ 4 นี้ เมื่อมีความเห็นตรงเช่นนี้ก็จะเป็นภิกษุสามเณรหรือ อุบาสกอุบาสิกา ก็ได้ชื่อว่ามีอริยทรัพย์อยู่ภายใน เป็นคนมีอริยทรัพย์ เป็นผู้มีดวงใจจรดถูก กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ความเห็นไม่มีพิรุธเลย หรือความทำก็ไม่มีพิรุธเลย ความพูดก็ไม่มีพิรุธเลย ความคิดก็ไม่มีพิรุธเลย เพราะใจนั้นวางถูกหลัก ถูกเป้าหมายใจดำ ทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เหตุนั้นท่านจึงยืนยันว่า อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ ทั้ง 4 จำพวก การเลื่อมใสไม่กลับกลอก ความเลื่อมใสไม่กลับกลอก มั่นด้วยดีในธรรมกาย ศีล อันดีงามอันพระอริยเจ้าใคร่ชอบใจ อันพระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว และความเลื่อมใสในหมู่ มีอยู่แก่บุคคลใด ความเห็นตรงมีอยู่แก่บุคคลใด อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ ว่านักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นคนมีอริยทรัพย์ เป็นคนไม่ยากจน เป็นคนไม่ขัดสน เป็นคนมีอริยทรัพย์อยู่ภายใน ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนํ เพราะเหตุนั้น เมื่อบุคคลมาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังนี้ ควร ประกอบความเชื่อ ควรประกอบความศีล ควรประกอบตามความเลื่อมใส ควรประกอบตาม ความเห็นธรรมไว้เนืองๆ ให้มั่นในขันธสันดาน ย่อมประสบสุขพิเศษ ไพศาลในปัจจุบันนี้ และต่อไปในภายหน้า

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดา มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอำนาจพระพุทธทั้งปวง สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ ทั้งปวง พุทฺธรตนํ ธมฺมรตนํ สงฺฆรตนํ ติณฺณํ รตนานํ อานุภาเวน ด้วยอานุภาพรัตนะทั้ง 3 พระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ จตุราสีติสหสฺสธมฺมกฺขนฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพ พระธรรมขันธ์ทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ปิฏกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้ง 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอานุภาพชินสาวก สาวก ของท่านผู้ชนะมาร จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ให้อุบัติบังเกิดมีเป็นปรากฏในขันธปัญจก แห่งท่านทานิสราบดีทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียง เท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    เมื่อเจ้าภาพสละไทยธรรมเสร็จขาดลงไป มอบให้แก่พระภิกษุ พระภิกษุรับเป็นสิทธิ์ ใช้ได้บริโภคได้ ให้เด็กให้เล็ก ให้ใครก็ได้เป็นสิทธิ์ของผู้รับ ขาดจากสิทธิ์ของผู้ให้ขณะใด ขณะนั้นแหละ ปุญญาภิสนฺธา บุญไหลมาจากสายธาตุสายธรรมของตัวเองโดยอัตโนมัติ เข้าสู่อัตโนมัติ คือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ในกลางกาย มนุษย์นี้ กลางดวงนั้นแหละเป็นที่ตั้งของบุญ บุญไหลมาติดอยู่กลางดวงนั้น เหมือนยังกับไฟ ติดอยู่ในหลอดไฟฟ้ากี่ร้อยแรงเทียน กี่พันแรงเทียนก็ช่างเถิด แล้วแต่หลอดเขาทำดีกรีไว้เท่าไร จุไฟได้เท่านั้น ส่วนอัตโนมัติ ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ บุญมากเท่าไรก็ ใส่เข้าไปไม่เต็ม เท่าไรๆก็ไม่เต็ม

    คัดลอกบางส่วนจาก
    พระธรรมเทศนา เรื่อง สังคหวัตถุ ๑
    เทศน์เมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๔๙๖
    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,706
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,526
    ?temp_hash=4cd90edc6620c8f70628ced82886f4b1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...