หลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า ศึกษา สะสม ตรวจสอบพระ บ้านๆไม่ใช่เซียน

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย โอ๋สะพาน, 19 มกราคม 2013.

  1. thitinoo

    thitinoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +330
    ขอบคุณพี่โอ๋ครับ:cool:
     
  2. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    ยินดีครับ ขอร่วมศึกษาละกันนะครับ ถ้าไม่เบื่อกันก่อนคงได้ชมพระคุณอีกครับ
     
  3. คนเมืองยศ

    คนเมืองยศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    504
    ค่าพลัง:
    +327
    ฝากคุณโอ๋ แนะนำด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1653.JPG
      IMG_1653.JPG
      ขนาดไฟล์:
      442.9 KB
      เปิดดู:
      188
    • IMG_1654.JPG
      IMG_1654.JPG
      ขนาดไฟล์:
      444.7 KB
      เปิดดู:
      148
  4. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    ศาลหลักเมือง จ.ชัยนาท พื้นที่ก็ห้อยบูชากันนะครับ เนื่องจากมีพระระดับแนวหน้ามากมายมาร่วมปลุกเสก ขอขอบคุณเจ้าของภาพครับ
    <a href="http://img21.imageshack.us/i/ewnb.jpg/" target="_blank"><img src="http://img21.imageshack.us/img21/8972/ewnb.jpg" alt="Free Image Hosting at www.ImageShack.us" border="0"/></a>
     
  5. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    ภาพแตกๆไปนิดนะครับ ดูส่วนที่ลึกลำบาก
     
  6. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ผมได้พระรูปหล่อยืนของลป.สุข ปี2520 (ตัวหนังสือที่ฐานเป็นวัดปากครองมะขามเฒ่า ไม่ใช่ปากคลอง)มานานหลายปีจากญาติห่างๆและเขาบอกว่าลป.โต๊ะและเกจิอาจารย์อีกหลายองค์ที่ร่วมปลุกเสก ขอรบกวนให้ความเห็นด้วยครับว่าใช่หรือไม่สามารถนิมนต์ติดตัวได้หรือเปล่าครับ ขอบคุณมากๆครับ(
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3119.JPG
      IMG_3119.JPG
      ขนาดไฟล์:
      6.1 MB
      เปิดดู:
      285
    • IMG_3121.JPG
      IMG_3121.JPG
      ขนาดไฟล์:
      6.7 MB
      เปิดดู:
      127
    • IMG_3116.JPG
      IMG_3116.JPG
      ขนาดไฟล์:
      5.5 MB
      เปิดดู:
      130
    • IMG_3118.JPG
      IMG_3118.JPG
      ขนาดไฟล์:
      6.5 MB
      เปิดดู:
      88
  7. aoodwing4

    aoodwing4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +282
    เหรียญบรมธาตุ วัดบรมธาตุ

    เหรียญรุ่นนี้น่าจะใช้แทน เหรียญหล่อโบราณหลวงปู่ศุขได้นะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0775.jpg
      DSC_0775.jpg
      ขนาดไฟล์:
      143 KB
      เปิดดู:
      119
    • DSC_0776.jpg
      DSC_0776.jpg
      ขนาดไฟล์:
      145.7 KB
      เปิดดู:
      92
  8. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    ขอบคุณครับที่แนะนำ
     
  9. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    รูปเหมือนท่านยืนถือไม้ ถือเป็นอมตะมากครับ
     
  10. thitinoo

    thitinoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +330
    รบกวนพี่โอ๋ช่วยดูพระวัดนก อีกองค์ครับพี่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_3278.JPG
      DSC_3278.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      103
    • DSC_3279.JPG
      DSC_3279.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      74
    • DSC_3280.JPG
      DSC_3280.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      85
    • DSC_3281.JPG
      DSC_3281.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      102
  11. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    ขออภัยครับไม่ทราบที่มา ขอร่วมศึกษาครับ
     
  12. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    <a href="http://img585.imageshack.us/i/hh2c.jpg/" target="_blank"><img src="http://img585.imageshack.us/img585/3827/hh2c.jpg" alt="Free Image Hosting at www.ImageShack.us" border="0"/></a>
    เก่าถึงยุคครับพระสภาพล้าง เป็นพิมพ์ที่หายากครับ พบน้อย ขอขอบคุณเจ้าของภาพ
     
  13. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    เดี๋ยววันจันทร์ผมร่วมศึกษานะครับ ตอนนี้มา ตจว ใช้โน๊ตบุคครับแสงน้อยด้วย
    แล้วคุยกันครับ
     
  14. K501

    K501 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    243
    ค่าพลัง:
    +272
    ขอบคุณมากครับอาจารย์โอ๋
     
  15. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    ผมเองคุ้นตากับศิลปพิมพ์ทรงแบบนี้ในพระเครื่องหลวงปู่ศุขนะครับ จึงไม่แปลกในพิมพ์แบบนี้ แต่เนื้อหาอายุไขทีเห็นจากภาพนั้นผมเองยังดูว่าเก่าไม่พอครับ อาจเป็นลูกศิษย์ท่านสร้างก็เป็นได้ครับ ในเรื่องของนื้อหาโลหะผสมของหลวงปู่โดยรวมจะดูสุกปลั่งครับไม่เป็นแบบนี้
     
  16. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    สวัสดีตอนเช้าๆทุกท่านครับ
     
  17. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    ลูกศิษย์สายตรงหลวงปู่ศุขครับ

    ปฐมบทของหลวงปู่สุภา กันตสีโล

    ครอบครัวของท่านขุนภักดี หรือผู้ใหญ่บ้านพล วงศ์ภาคำ และนางสอ วงศ์ภาคำ เป็นที่เคารพของชาวบ้านคำบ่อ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร ทั้งนี้เพราะท่านผู้ใหญ่พลสร้างแต่ความดี มีน้ำใจและบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรในปกครองอย่างเสมอหน้า ว่ากล่าวตักเตือนด้วยความเมตตา เมื่อพบผู้กระทำผิดอันพอจะอภัยได้ และกระทำการจับกุมอย่างเด็ดขาดในกรณีที่กฎหมายไม่อาจจะละเว้นหรือตักเตือนได้ ทุกคนจึงพร้อมที่จะร่วมมือกันท่านผู้ใหญ่พลในทุก ๆ ด้าน บ้านคำบ่อจึงอยู่กันอย่างสงบสุขตลอดมา วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๙ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก คุณแม่สอก็ให้กำเนิดบุตรชายคนที่ ๘ ในสกุลวงศ์ภาคำ เป็นเด็กที่มีความอ้วนท้วนสมบูรณ์ หน่วยก้านบอกว่า ต่อไปจะเป็นคนดีของบ้านเมือง และคนดีศรีวงศ์ตระกูล ท่านผู้ใหญ่พล จึงให้นามบุตรชายคนนี้ว่า “ สุภา ” อันประกอบด้วย “ สุ ” แปลว่า “ ดี ” และ “ ภา ” มาจากส่วนหนึ่งของสกุลว่า “ วงศ์ภาคำ ” ซึ่งมีความหมายว่า คนดีของตระกูลวงศ์ภาคำ นั่นเอง

    หลวงปู่สุภา มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน คือ
    1. นางสี วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
    2. นายเสน วงศ์ภาคำ (บวชเป็นพระภิกษุ - มรณภาพ)
    3. นางผม วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
    4. นางเกตุ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
    5. นายจันทร์เพ็ง วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
    6. หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล (มรณภาพ 2 กันยายน 2556)
    7. นางมาลีจันทร์ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
    8. นางกา วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)

    หลวงปู่สุภา รำลึกความหลังให้กับสานุศิษย์ได้รับรู้ว่า เมื่อท่านยังเป็นเด็กที่มีรูปร่างอ้วนท้วน เจ้าเนื้อ ผิวขาว ซุกซนตามประสาเด็กทั่วไป แต่ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในครอบครัว และผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เมื่อวัยของท่านเจริญเติบโตเพียงพอจะเล่าเรียนได้แล้ว ผู้เป็นบิดาของท่านได้พาไปฝากไว้ในวัด ให้ได้เล่าเรียนเขียนอ่านตามสมควรแก่วัย และเวลาหลวงปู่เป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย มักชอบเล่าเรียนมากว่าเด็กในรุ่นเดียวกัน

    หลวงปู่สุภา ยังจำได้แม่นยำเหมือนเพิ่งเกิดเมื่อไม่กี่วันมานี้ ถึงสิ่งที่ท่านได้ประสบกับสิ่งที่เรียกว่า “ การพยากรณ์ ” จากปากของพระธุดงค์ที่มาปักกลดใต้ต้นตะแบกใหญ่ท้ายหมู่บ้านคำบ่อ เด็กน้อยชื่อสุภา วัยเพียง ๗ ขวบ คลานเข้าไปกราบแทบตักพระธุดงค์ มือของพระธุดงค์ลูบศีรษะของเด็กน้อยด้วยความเอ็นดู บอกให้ลุกขึ้นนั่งทอดสายตา มองดูรูปร่างของเด็กน้อยที่นั่งอยู่ตรงหน้าเป็นครู่ใหญ่ จึงกล่าวกับเด็กน้อยหรือ หลวงปู่สุภา เมื่อตอนอายุได้ ๗ ขวบ ว่า

    “เด็กน้อยเอ๊ย ต่อไปเจ้าจักได้บวชเรียน ถวายตัวในพุทธศาสนา บวชเมื่อใดแล้วจงอย่างลืมไปเสาะหาหลวงพ่อให้จงได้ อย่าลืมนะ พบกันในวาระที่เจ้าได้ครองผ้าเหลืองเหมือนหลวงพ่อนี้แหละ”

    หลวงปู่สุภา เมื่อยังเป็นเด็ก ไม่เข้าใจว่านั่นคือคำพยากรณ์ จึงไม่ใส่ใจ แต่ได้จ้องดูหน้าของพระธุดงค์จนจดจำองคาพยพไว้ได้ทั้งหมด ก่อนจะกราบลาออกไปวิ่งเล่นตามประสาเด็กซุกซนตามปกติ

    วันเวลาเคลื่อนคล้อยไปอีกสองปีเต็ม หลวงปู่สุภา มีอายุได้ ๙ ขวบ จึงขอผู้เป็นบิดาออกบรรพชาเป็นสามเณร ท่านผู้ใหญ่พลไม่ขัดข้อง เพราะเห็นแล้วว่า หลวงปู่สุภา เป็นผู้เอาใจใส่ในการเล่าเรียน แม้จะไม่ได้เรียนทางโลก หากแต่เรียนทางธรรม ย่อมมีความเจริญดุจเดียวกัน จึงนำไปให้พระอาจารย์สวนทำการบรรพชาเป็นสามเณรและสั่งสอนอบรมอยู่หนึ่งปีเต็มวันหนึ่ง พระอาจารย์สวนได้บอกกับ หลวงปู่สุภา

    “ อย่างเณรมันต้องก้าวหน้ากว่านี้ ฉันจะพาเข้าเมืองอุบลฯ ไปเล่าเรียนต่อให้แตกฉาน อยู่กับฉันมันก็แค่นี้แหละเณร ”

    พบพระผู้ให้การพยากรณ์

    พระอาจารย์สีทัตต์พุทธศักราช ๒๔๔๙ หลวงปู่สุภา ได้รับการนำตัวลงมาจากบ้านคำบ่อ มาฝากไว้ในสำนักเรียนของพระมหาหล้า แห่งวัดไพรใหญ่ จ. อุบลราชธานี โดยพระมหาหล้าได้ทดสอบความรู้เบื้องต้น พบว่า หลวงปู่สุภา เมื่อเป็นสมาเณรมีความรู้เบื้องต้นดีมาก เรียนต่อก็ไม่ลำบากยากแก่การอบรม จึงร่วมกับอาจารย์ลุยผู้เป็นฆราวาสเปรียญธรรม อบรมสั่งสอนให้เล่าเรียน “ มูลกัจจายน์ ” ห้าเล่มอยู่อย่างเอาเป็นเอาตาย หลวงปู่เล่าเรียนด้วยความมานะพยายาม จนจบมูลกัจจายน์ในขณะอายุได้ ๑๖ ปีพอดี หลวงปู่สุภา ได้กราบเรียนถามพระมหาหล้าผู้เป็นอาจารย์สอนมูลกัจจายน์ว่า หากจะเล่าเรียนต่อไป จะไปทางไหนดี คำตอบของพระมหาหล้าคือ

    “ มีอยู่สองทางคือ ไปเรียนบาลี เป็นมหาเปรียญ หรือไปเรียนวิปัสสนากรรมฐาน เป็นพระวิปัสสนาจารย์ เธอใคร่ครวญให้รอบคอบ แล้วจึงตัดสินใจ ”

    ระหว่างสองทางเลือกนี้ สามเณรสุภาตัดสินใจระหว่าง ลาภ ยศ สรรเสริญ ทางเป็นมหาเปรียญ กับการเป็นวิปัสสนาจารย์ผู้คร่ำเคร่งกับการปฏิบัติทางจิตและการแสวงหาความวิเวก ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพรอันรกเรื้อ ห่างไกลจากความเจริญ ไม่มีพัดเปรียญธรรม ไม่อาจจะสละทางสงฆ์ เทียบวุฒิเข้าทำงานแบบฆราวาสได้เหมือนมหาเปรียญ มโนนึกต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย ที่สุด ฝ่ายวิปัสสนาจารย์ก็ได้รับชัยชนะ

    ในระหว่างที่ หลวงปู่สุภา จะก้าวออกนอกวัดไพรใหญ่ เพื่อเข้าสู่เส้นทางของวิปัสสนาจารย์ ก็ให้บังเอิญมีญาติโยมจากท่าอุเทนมาที่วัดไพรใหญ่ ได้มาทำบุญเบี้ยพระที่วัด และได้รู้จักกับสามเณรสุภา ได้เล่าความให้สามเณรฟังถึงพระภิกษุผู้เป็นพระสายวิปัสสนาที่ขณะนี้กำลังสร้างพระธาตุอุเทนว่า เป็นพระผู้มีเมตตาธรรมและมีบารมีธรรมอันน่าเคารพนับถือเป็นครูบาอาจารย์ นั่นคือสิ่งที่กระตุ้นให้สมเณรสุภา กราบลาพระมหาหล้า ออกเดินทางสู่ท่าอุเทนในทันที เพื่อไปนมัสการพระวิปัสสนาจารย์ ที่ได้รับการบอกเล่าจากญาติโยมชาวท่าอุเทน เมื่อไปถึงท่าอุเทนแล้ว ได้สอบถามเส้นทางไปพระธาตุท่าอุเทน

    ขณะเมื่อไปถึงพระธาตุท่าอุเทน เป็นเวลาที่พระวิปัสสนาจารย์กำลังเทศนาและสอนกรรมฐานแก่ญาติโยมพุทธศาสนิกชน จึงหยุดรออยู่นอกสถานที่สอนกรรมฐาน ครั้นเมื่อผู้คนแยกย้ายกันกลับไปหมด จึงเดินเข้าไปกราบนมัสการตรงหน้าพระวิปัสสนาจารย์ สายตาของพระวิปัสสนาจารย์ประสานกับสายตาของสามเณรน้อยผู้มาใหม่ แล้วเกิดกระแสแห่งความคุ้นเคย เสียงของพระวิปัสสนาจารย์พูดกับสามเณรน้อยขึ้นว่า

    “ บัดนี้ถึงเวลาที่เราจะได้พบกัน เด็กน้อยจำเราได้หรือไม่ เราไม่เคยลืมแววตาคู่นี้เลย ”
    มีต่อนะครับ***ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.xn--72c4bprkuc6d9bi9n.com
     
  18. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    สวัสดีครับ พี่โอ๋สะพาน
    ไม่มี ลป. ศุข ก็เลยพา ลพ. กวย
    มาเยี่ยมกระทู้พี่แทนครับ
    เป็นพระที่ผมใช้ประจำในช่วงนี้เลยครับ
    ตั้งแต่ได้เหรียญรุ่นสามหลังยันต์มาแขวน
    การงานการเงินดีมากๆ ใครยังไม่เคยใช้
    ก็อยากขอแนะนำเลยครับ


    เหรียญรุ่นสาม หลังยันต์หนุมานเชิญธง พ.ศ. 2521
    เนื้ออัลปาก้า อรหังเต็ม หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ชัยนาท
    ที่ 2 งานศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ


    [​IMG]

    [​IMG]
     
  19. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    เป็นบุญตาผมจริงๆครับ ตัวผมเองยังไม่มีท่านในพิมพ์นี้ไว้เลยพื้นที่หวงแหนครับ
     
  20. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    ต่อจากตอนที่แล้วครับ
    ภาพเด็กตัวเล็ก ๆ คลานเข้าไปกราบพระธุดงค์ที่ปักกลดอยู่ใต้ต้นตะแบกใหญ่ กลับมาปรากฏชัดในมโนภาพของสามเณรน้อย แม้องคาพยพของใบหน้าพระผู้ที่นั่งอยู่ตรงหน้า จะผิดไปจากใบหน้าของพระธุดงค์ด้วยความชรา แต่น้ำเสียงและแววตามิเคยเปลี่ยนไปเลย สามเณรน้องจึงเปล่งเสียงออกมาด้วยความดีใจเป็นล้นพ้นว่า

    “ ท่านอาจารย์นั่นเอง ที่ใต้ต้นตะแบก จริง ๆ ด้วยขอรับ เป็นท่านอาจารย์จริง ๆ ”

    เมื่อหลวงปู่ได้พบกับพระธุดงค์ที่มาปักกลดใต้ต้นตะแบกท้ายหมู่บ้านอีกครั้งตามพยากรณ์แล้ว หลวงปู่เกิดความปีติและยอมรับว่า พระธุดงค์ที่พบตอนอายุ ๗ ขวบนั้น ช่างเป็นพระผู้พยากรณ์เหตุการณ์ได้แม่นยำ ก้มลงกราบอีกครั้ง ท่านพระวิปัสสนาจารย์จึงกล่าวว่า

    “ เราชื่อ สีทัตต์ เณรมีนามใดกัน มาจากที่ใด ต้องการอะไรจากเราก็ขอให้บอกมาเถิด ”

    หลวงปู่สุภา ได้กล่าวตอบด้วยความปีติเป็นล้นพ้นว่า

    “ กระผมดั้นด้นมานมัสการพระคุณอาจารย์ก็ด้วยความปรารถนาจะได้รับการอบรมด้านวิปัสสนากรรมฐานจากพระคุณอาจารย์ตามแบบที่พระคุณอาจารย์ได้รับการถ่ายทอดมา กระผมเรียนมูลกัจจายน์ห้าเล่มสำเร็จแล้วครับ ”

    “ เณรน้อยเรียนมูลกัจจายน์มาแล้ว ใยไม่เรียนปริยัติธรรมต่อไป ไม่รู้หรือว่า การเรียนพระปริยัติธรรมนั้น เจริญได้ทั้งทางโลกและทางธรรม คือ เป็นมหาเปรียญ นักเทศน์ เป็นครูสอนพระปริยัติ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ก้าวหน้าในตำแหน่งการปกครอง ส่วนประโยชน์ทางโลกคือ เมื่อสึกออกไปแล้ว เทียบวุฒิการทำงาน หรือรับราชการได้ตำแหน่งดี เณรน้อยเอาดีทางธรรม ทางปฏิบัติอย่างเดียวไม่เสียดายเวลาที่หมดไปหรือ ถ้าสึกออกไปเป็นฆราวาส ก็ไม่ต้องมาอยู่ในกฎระเบียบ ๒๒๗ ข้อนี้อีกต่อไป คิดให้ดีนะเณร ”

    พระอาจารย์สีทัตต์หยั่งเชิงสามเณรน้อยเพื่อค้นหาความตั้งใจ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าดูคนไม่ผิด แต่สามเณรน้อยตอบชัดถ้อยชัดคำว่า

    “ กระผมต้องการเพียงทางเดียว คือปฏิบัติทางจิต หรือ วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์มีความหมายมากขึ้น หากกระผมต้องการเป็นมหาเปรียญละก็ ไม่ลงทุนมาเสาะแสวงหาพระคุณอาจารย์ถึงท่าอุเทนนี่หรอกขอรับ ขออย่างเดียว รับกระผมเป็นศิษย์ กระผมจะอยู่ในโอวาทของพระคุณอาจารย์ทุกประการ ”

    พระอาจารย์สีทัตต์ทดสอบความอดทนของสมาเณร ตั้งแต่การขบฉัน การทำงานหนักในการก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทน และการทดสอบด้านจิตใจ จนแน่ใจว่า จะทนรับการสอนที่หนักหนาสาหัสในการที่จะเรียนวิปัสสนากรรมาน จึงอบรมกรรมฐานให้แก่สามเณรสุภา เริ่มโดยการกำหนดลมหายใจเข้าออก ภาวนาว่า “ พุทโธ ” ตั้งแต่แรก จนไม่ต้องภาวนา จากสมาธิเพียงชั่วแล่น ก็ค่อย ๆ กลายเป็นสมาธิที่ยาวนานและสามารถดำรงสติได้อย่างมั่นคง จึงให้ขึ้นธุดงควัตร ๑๓ ประการจนคล่อง จึงบอกกับสามเณรสุภาว่า

    “ ต่อจากนี้ไป เป็นการปฏิบัติจริงในป่าเขาลำเนาไพร อันอุดมไปด้วยสิงสาราสัตว์และภูตพรายทั้งปวง อมนุษย์และพวกหมอผี นักล่าชีวิตมนุษย์ด้วยคุณไสย มนต์ดำ สิ่งที่เรากล่าวมา อบรมมา พึงนำมาใช้ให้ยิ่งยวด เพราะเธอจะต้องพึ่งตนเองมากกว่าพึ่งเราในการเดินทาง ”

    ข้ามโขงจากนครพนม ไปสู่พระราชอาณาจักรลาว ผ่านป่าเขาลำเนาไพร ผจญความยากลำบากมากมาย ทั้งสัตว์ร้าย งูพิษ ต้นไม้พิษ ตลอดจนหมอผีและภูตไพรต่าง ๆ หลายหนที่ต้องฉันใบไม้อ่อน เพราะไม่มีสัปปายะจะให้บิณฑบาต แต่ก็ผ่านมาได้ จนพระอาจารย์สีทัตต์ยอมรับในความอดทนของสามเณรน้อยสุภา

    ถึงจุดที่พระอาจารย์สีทัตต์พามาฝึก คือ “ ถ้ำภูควาย ” อันเป็นถ้ำเร้นลับ อยู่บนภูเขาที่มีลักษณะปลายยอดสองข้างโค้งเข้าหากัน มองคล้ายกับเขาควาย มีพระภิกษุมาจากสถานที่ต่าง ๆ มาชุมนุมกันเล่าเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์สีทัตต์หลายรูป

    เข้าสู่การเป็นพระภิกษุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...