อกุศลกรรม 10 (สิ่งที่ไม่ควรประพฤติ 10 ประการ)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย apichai53, 24 พฤศจิกายน 2009.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    <O:p</O:p

    อกุศลกรรมสิบ คือ ทางที่ไม่ควรดำเนิน ๑๐ ประการ เพราะให้ผลไปในทางเสื่อม เมื่อผู้ใดได้กระทำลงไปจะเป็นเหตุให้ชีวิตผู้นั้นต้องได้รับผลดังต่อไปนี้
    ๑. เข่นฆ่าชีวิต คนสัตว์ไม่ละเว้น
    ผลที่จะได้รับจากการกระทำเหตุเช่นนี้ มากน้อยแตกต่างกันขึ้น อยู่กับความรุนแรงของการกระทำเช่น ผู้ที่ฆ่าสัตว์ใหญ่จำพวก วัว ควาย หมู จะบาปและรับผลรุนแรงกว่าการฆ่า มด ปลวก ยุง ฯ ทั้งนี้เพราะ กรรมวิธีและระยะเวลาของการกระทำบาปนั้นมีมากกว่า ทำให้จิตเก็บ อารมณ์นั้นได้มากกว่า ผลต่าง ๆ ที่จะได้รับจากการฆ่าสัตว์นี้มีมากมาย แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นไปตามลักษณะและอาการของสัตว์ที่เราได้ทำร้าย หรือทรมานเพื่อให้ตาย เพราะการที่เราได้กระทำปาณาติบาตออกไปนั้น จะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
    ๑. ร่างกายทุพพลภาพ
    กล่าวคือ เกิดมาพิการแต่กำเนิด หรือได้รับอุบัติเหตุแล้วเสียอวัยวะกลายเป็น คนพิการ
    ๒. รูปไม่งาม
    เช่น ขี้ริ้วขี้เหร่ รูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ ไม่มีเสน่ห์ เป็นเหมือนอาการของสัตว์ ที่ถูกทำร้ายหรือกำลังบาดเจ็บ
    ๓. กำลังกายอ่อนแอ
    กล่าวคือ มีอาการอยู่ในสภาพเดียวกับสัตว์ที่ได้ทำร้ายและใกล้ตายนั่นเอง
    ๔. กำลังปัญญาไม่ว่องไว
    เพราะสัตว์ที่กำลังจะตาย ย่อมมีแต่ความมืดบอด คิดอะไรก็ไม่ออก
    ๕. เป็นคนขลาดหวาดกลัวง่าย
    เพราะสัตว์ทุกชนิดย่อมรักชีวิต เมื่ออยู่ในภาวะที่กำลังถูกทำร้ายเพื่อให้ตาย ย่อมมีความขลาดหวาดกลัวอย่างรุนแรง
    ๖. กล้าฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่า
    เพราะเราได้ฆ่าชีวิตอื่นไว้ ชีวิตของเราก็อาจต้องถูกฆ่าในชาติต่อ ๆ ไป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นสัตว์ตัวที่เราฆ่านั้นกลับมาฆ่าเรา เพียงแต่เป็นเหตุผลผลักดันให้เราถูกฆ่าโดยใครหรือสัตว์ใดก็ได้ และ การฆ่าสัตว์บ่อย ๆ จากสัตว์เล็ก ๆ จะทำให้มีอำนาจกล้าฆ่าสัตว์ที่ใหญ่ ขึ้น ในที่สุดความกล้านี้จะมีอำนาจทำให้สามารถกล้าฆ่าตนเองซึ่งเป็น ชีวิตที่เรารักที่สุดได้
    ๗. พินาศในบริวาร
    กล่าวคือ ทำให้ชีวิตของเรานั้นไม่มีใครอยากอยู่ด้วย เช่นมีคนใช้ก็อยู่ ไม่ทนต้องเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก หรือเป็นหัวหน้างาน ก็มีลูกน้องที่ไม่ จริงใจ ไม่ซื่อตรง เป็นต้น
    ๘. โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
    กรณีนี้แล้วแต่อาการที่ได้กระทำต่อสัตว์นั้น เช่น คนบางคนชอบฆ่าสัตว์ โดยการใช้ไฟหรือน้ำร้อนลวกพวกมด หนู ฯลฯ คนเหล่านี้มักจะได้รับผล จากการถูกไฟครอก หากไม่ตายก็ถึงขึ้นพิการ หรือเสียโฉมไปตลอดชีวิต
    ๙. อายุสั้น
    โดยปกติคนเราจะมีอายุขัยประมาณ ๗๕ ถึง ๑๐๐ ปีทั้งนี้ถ้าผู้ใดตายก่อนอายุ ขัยแสดงว่าผู้นั้นได้เคยฆ่าสัตว์ แล้วแต่ความรุนแรงของกรรมที่กระทำมา การรับผลของกรรมในการกระทำเช่นนี้ หรือที่คนทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "ชด ใช้หนี้กรรม" นั้นไม่มีวันหมดสิ้นถ้าตราบใดที่เรายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่
    ๒. ลักขโมย ยักยอก ฉ้อโกง
    หมายถึง การลักทรัพย์ รวมไปถึงการฉ้อโกง ยักยอก หยิบฉวย โดยที่เจ้าของไม่ได้อนุญาต
    ผลของบาปนั้นจะหนักหรือเบาขึ้นอยู่กับว่าได้ทำครบองค์ประกอบ หรือไม่เช่น การถือวิสาสะหยิบของผู้อื่นมาใช้ด้วยความคิดว่าเป็นคนกัน เองนั้น เท่ากับเป็นการสะสมความเคยชินในทางที่ผิด เพราะเมื่อกระทำ บ่อย ๆ เข้าจะเกิดความชำนาญ กล้าที่จะหยิบของผู้อื่นมากขึ้น ในที่สุด ก็จะเป็นขโมยอย่างแท้จริงได้ในวันข้างหน้า ทั้งนี้ผู้ที่ได้กระทำการลักขโมย ออกไปนั้น จะทำให้ได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
    ๑) ด้อยทรัพย์
    ๒) ยากจน
    ๓) อดอยาก
    ๔) ไม่ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา
    ๕) พินาศในกิจการค้าและการลงทุน
    ๖) พินาศเพราะภัยพิบัติ<O:p</O:p
    ๓. ละเมิด ล่วงเกิน ผิดประเวณี
    โดยส่วนใหญ่การกระทำผิดในข้อนี้ คนส่วนมากมักจะนึกถึงการ ประพฤติผิดในกาม หรือการล่วงประเวณีอันเป็นการกระทำลามก ไม่ว่า ยินยอมหรือขัดขืน หากผิดจากทำนองคลองธรรมคือผิดลูกผิดเมียเขา อันเป็นความประพฤติที่สังคมไม่ยอมรับ ผู้ที่กระทำจึงต้องมีพฤติกรรม ที่ปิดบังและซ่อนเร้น ทั้งนี้ผู้ที่ได้กระทำผิดกาเมสุมิจฉาจารออกไปนั้น จะทำให้ได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
    ๑) มีผู้เกลียดชังมาก
    ๒) มีผู้คิดปองร้าย
    ๓) ขัดสนทรัพย์
    ๔) อดอยาก ยากจน
    ๕) เกิดเป็นผู้หญิง
    ๖) เกิดเป็นกะเทย
    ๗) เกิดในตระกูลต่ำ
    ๘) ได้รับความอับอายอยู่เสมอ
    ๙) ร่ายกายไม่สมประกอบ
    ๑๐) เป็นคนวิตกจริต
    ๑๑) พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก
    <O:p</O:p๔. พูดเท็จ พูดไม่ตรงความจริง
    หลายคนคงตั้งข้อสงสัยว่าการพูดไม่ปดนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะบางครั้งดูเหมือนจำเป็นต้องทำ เพราะอยู่ในหน้าที่การทำงานซึ่ง หาทางเลี่ยงไม่ได้ เช่น เมื่อรับโทรศัพท์แล้วมีคนต้องการพูดกับเจ้านาย แต่เจ้านายให้บอกว่าไม่อยู่ เช่นนี้แล้วถือว่าเป็นอกุศลกรรมหรือไม่ ? ถ้าเรามาไตร่ตรองให้รอบคอบ อาจเป็นเพราะเรายังไม่เคยทราบ ว่าเมื่อได้กระทำออกไปแล้วผลที่เราจะต้องได้รับเป็นอย่างไร ถ้าเราได้ ทราบผลที่จะเกิดและกลัวต่อผลนั่น ๆ เราจะต้องหาทางหลีกเลี่ยง ลด ละ เลิก การกระทำนั้นได้ดีที่สุด เพราะการที่เราได้พูดปดออกไปนั้นจะทำให้ เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
    ๑) พูดไม่ชัด
    ๒) ฟันไม่เรียบ
    ๓) มีกลิ่นปากเหม็นรุนแรง
    ๔) ไอตัวร้อนจัด มีกลิ่นตัวแรง
    ๕) ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
    ๖) พูดติดอ่าง พูดไม่สะดวก
    ๗) บุคลิกไม่สง่าผ่าเผย<O:p</O:p
    ๘)จิตจรวนเรคล้ายคนวิกลจริต
    ๕. พูดส่อเสียด พูดให้แตกแยก
    หมายถึง พูดส่อเสียด พูดให้แตกแยก พูดพาดพิง พูดให้ร้ายฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบา ที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
    ๑) ชอบตำหนิตนเอง
    ๒) มักถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นจริง
    ๓) ถูกบัณฑิตติเตียน<O:p</O:p
    ๔) แตกกับมิตรสหาย
    ๖. พูดคำหยาบ ด่า สาปแช่ง
    หมายถึง พูดคำหยาบ ด่าด้วยคำหยาบช้า ด่าพ่อล่อแม่ ด่า ประจาน สาปแช่งฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับ ผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
    ๑) มีกายและวาจาหยาบกระด้าง<O:p</O:p
    ๒) พินาศในทรัพย์
    ๓) ได้รับฟังแต่เรื่องไม่สบายใจ
    ๔) ตายด้วยอาการหลงใหล
    ๗. พูดเพ้อเจ้อ พูดไร้สาระ
    หมายถึง พูดไม่มีเนื้อหา พูดเหลวไหล พูดเรื่อยเปื่อย พูดไม่ เป็นประโยชน์ฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือ โทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
    ๑) เป็นอธรรมวาทบุคคล
    กล่าวคือ เป็นคนที่พูดมากและเรื่องราวที่พูด นั้นไร้สาระหาประโยชน์ไม่ได้ บางคนไม่ว่า ใครจะพูดอะไรก็พูดกับเขาได้ทุกเรื่อง มีการเพลิดเพลินในการพูด โดยไม่สนใจว่าคนอื่น เขาจะรู้สึกอย่างไร <O:p></O:p>
    ๒) ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูด
    ๓) เป็นคนไร้อำนาจ
    ๔) วิกลจริต
    ทั้ง ๔ ประการที่กล่าวมาข้างต้นจัดเป็นวาจาทุจริต คือการสร้าง กรรมทางปากเป็นอกุศลกรรมหรือวจีกรรม เมื่อได้กระทำออกไปย่อมมี ผลตามมามากมาย ดังนั้น ในศีลห้าข้อที่ ๔ มุสาวาท ซึ่งหมายถึงเว้นขาด จากการพูดจาโป้ปดมดเท็จ เพราะฉะนั้นจะรักษาศีลข้อนี้ให้บริสุทธิ์นั้น ทั้งนี้ต้องรวมถึงการไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ เข้าไป ด้วยนั่นเอง<O:p</O:p
    ๘. เพ่งเล็งอยากได้เป็นเจ้าของ
    หมายถึง ปรารถนาที่จะได้มาครอบครองเป็นเจ้าของ ไม่ว่าสิ่งนั้น เป็นบุคคลหรือทรัพย์สินสิ่งของ ความคิดเช่นนี้เป็นอกุศลกรรมทางใจ หรือมโนกรรม ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการกระทำทุจริตในข้ออทินนา ทาน (ลักขโมย) มุสาวาท (พูดเท็จ) หรือกาเมสุมิจฉาจาร (ผิดประเวณี) ตามมา เมื่อมีความอยากได้อาจทำให้ต้องสร้างเรื่องโกหกขึ้นมาเพื่อให้ได้ สิ่งของนั้น หรือมีการหยิบฉวยเมื่อเจ้าของเผลอ หรือฉุดพรากลูกเมีย เขา เป็นต้น เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือ โทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
    ๑) เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี
    ๒) เกิดในตระกูลต่ำ
    ๓) ขัดสนในลาภสักการะ
    ๔) ได้รับคำติเตียนอยู่เสมอ
    ๙. ความคิดชั่วร้าย ผูกพยาบาท
    หมายถึง ความคิดที่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น มีความปรารถนาที่จะทำร้าย ผู้อื่น หรือทำลายประโยชน์และความสุขของผู้อื่นให้เสียไป เช่น เมื่อมี ความโกรธแค้นก็คิดพยาบาทหรืออาฆาต เป็นแรงผลักดันให้เกิดวาจา ทุจริตคือ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และอาจผลักดันให้เกิดความทุจริต ทางกายตามมาคือ กาเมสุมิจฉาจาร หรือปาณาติบาต (โดยการหาวิธี การทำร้านให้ถึงแก่ชีวิต) เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับ ผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
    ๑) มีรูปกายทราม
    ๒) มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนอยู่เสมอ
    ๓) อายุสั้น
    ๔) ตายด้วยการถูกประหารชีวิต<O:p</O:p
    ๑๐. มิจฉาความคิด เห็นผิดเป็นชอบ
    หมายถึง ความเห็นผิดจากความเป็นจริง คือ
    ๑) มีความเห็นว่าตายแล้วสูญ ทำอะไรก็ตาม ผลที่พึงได้รับย่อม ไม่มีคือ ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว คุณบิดามารดาไม่มี ผีสางเทวดาไม่มี
    ๒) มีความเห็นว่าผู้ที่กำลังได้รับความลำบากหรือความสุขสบาย ก็ตาม ล้วนเป็นไปเองทั้งสิ้น เป็นการปฏิเสธต้นเหตุผลกรรมโดยสิ้นเชิง
    ๓) มีความเห็นว่าการกระทำต่าง ๆ นั้น ไม่มีผลของบาปบุญคุณ โทษแต่ประการใด<O:p</O:p

    เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่าง เบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ<O:p</O:p
    1. ห่างไกลต่อรัศมีพระธรรม
    2. เกิดเป็นคนป่า
    3. เป็นคนบ้าปัญญาทราม
    4. มีฐานะทางจิตใจต่ำไม่ทัดเทียมผู้อื่น
    <O:p</O:p
    ................................................................................................................

    ที่มา หนังสือ "รู้ชีวิต กำหนดชีวิต"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2009
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...