เกิดอาการหูดับและไม่รับรู้การมีร่างกายและลมหายใจขณะนั่งสมาธิเป็นเพราะอะไร

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย jjustdream, 20 มิถุนายน 2012.

  1. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ในอิริยาบทนั่ง หากความชอบและไม่ชอบ ความฟุ้งซ่านและลังเล รวมทั้ง ความง่วงซึมหรือหดหู่ ต่าง ๆ ไม่ปรากฏ เรียกได้ว่าเป็น จิตที่ข้ามพ้นนิวรณ์ไปแล้วในขณะนั้น ๆ เป็น อัปปนาสมาธิ หากสามารถทรงสภาวะนั้นอยู่ได้ ไม่นาน ความพอใจในสภาวะที่ตนเป็นอยู่จะปรากฏ ตามด้วยสภาวะเพลิดเพลินเจริญใจ อันเป็นลักษณะของ ฌาน 2 ที่เรียกว่า ปิติ อันเกิดจาก "วิปัสสนา เพราะ สติตั้งมั่น" หากเกิดจาก "สมถะ เพราะ จิตตั้งมั่น" อาการจะต่างกันออกไป เช่น ขนลุก น้ำตาไหล ต่าง ๆ เป็นต้น ถัดจากชั้นนี้ออกไปก็จะเป็นเรื่องของ เบากาย สบายใจ ใสเป็นแก้ว อันเป็นลักษณะของ ฌาน 3

    +++ อาการของคุณในขณะนี้ กล่าวออกมาเป็นคำพูดได้ว่า "หลับแต่ไม่หลับ" หรือ "หลับแต่ตื่นอยู่ก็ได้" หรือจะใช้ภาษาแบบกำลังภายในว่า "กายหลับแต่ใจไม่หลับ" ก็ได้อีกเช่นกัน แล้วแต่ภาษาจะพาไป แต่มันเป็นอาการเดียวกันทั้งหมด

    +++ ห้ามแก้ใขใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ควรฝึกให้ลงมาตรงนี้จนชำนาญ และอยู่กับสภาวะนี้ให้คุ้นเคย จิตที่ไร้นิวรณ์นี้ เป็นรอยต่อใหญ่ระหว่าง สมถะฌานสมาบัติ กับ วิปัสสนาญาณทัศนะ

    +++ หากเป็น สมถะฌานสมาบัติ ก็จะเป็นอารมณ์ดังที่กล่าวมาตามข้างบนนั้น หากเป็น วิปัสสนาญาณทัศนะ ก็จะเริ่มเข้าสู่สภาวะ เห็นขันธ์ แยกขันธ์ ต่าง ๆ จากการที่ รู้ กลายเป็น เห็น ให้ทบทวนในโพสท์ที่ 203 นะครับ

    +++ หากคุณสามารถทำได้ใน อิริยาบทนอน ไม่นานก็อาจเกิดอาการ "หลับอยู่ส่วนหลับ และ ตื่นอยู่ส่วนตื่น" ได้เอง อันเป็นการแสดงว่า สติ เริ่มทรงตัวได้แล้ว ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้น ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น "สติอัตโนมัติ" นะครับ
     
  2. jjustdream

    jjustdream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +201
    แปลว่ากายของดิฉันนั่งหลับไปแล้วหรอคะ เพียงแต่ยังมีสติรู้อยู่ใช่ไหมคะ แล้วก็ขอให้ช่วยขยายความคำว่า"สติอัตโนมัติ"หน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2013
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    แปลว่ากายของดิฉันนั่งหลับไปแล้วหรอคะ เพียงแต่ยังมีสติรู้อยู่ใช่ไหมคะ

    +++ ไม่ได้หลับแต่อย่างใด มันเป็นอาการ "เหมือนหลับ แต่ไม่ได้หลับ" มีสติครบถ้วน และจิตไร้นิวรณ์ ครับ

    แล้วก็ขอให้ช่วยขยายความคำว่า"สติอัตโนมัติ"หน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    +++ "สติอัตโนมัติ" เป็นอาการของผู้ที่รู้จัก "สติ" แล้วว่าเป็นอาการอย่างไร และ "ทำสติ" เป็นเรียบร้อยแล้ว จนกระทั่ง "คุ้นเคยในอาการของ สติ จนเป็นนิสัย" เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น "จิตจะกลับเข้าสู่สภาวะของการมีสติเอง โดยไม่ต้องมีการตั้งสติอีกแต่อย่างใด"

    +++ เมื่อได้ "สติอัตโนมัติ" และ "อยู่" กับมันได้แล้ว ไม่นานจะรู้จัก ทุกข์สัจจะ ได้เอง และพอสังเกตุ ทุกข์สัจจะ เป็นแล้ว ไม่นานก็จะรู้ได้ว่า เหตุ ของทุกข์สัจจะ มาจากไหน ซึ่งเหตุตัวนี้เรียกว่า สมุทัยสัจจะ (หลวงปู่ดูลย์ ท่านเรียกมันว่า จิตส่งออก) และจะรู้ได้เองว่า ยามใดก็ตามที่ "อยู่" กับจิตส่งออก ทุกข์สัจจะ ย่อมปรากฏ และก็จะรู้ได้อีกว่า ยามใดที่ "อยู่" กับสติ ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ไม่ว่าพระองค์ใดจะอยู่กับ ฌาน หรือ ญาณ อะไรก็ตาม ก็ยังไม่อาจพ้นทุกข์ได้ ดังนั้นหลวงปู่ดูลย์จึงกล่าวว่า ท่าน "อยู่กับรู้" เพียงเท่านั้นเองนะครับ
     
  4. jjustdream

    jjustdream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +201
    แวะมาบอกข่าว. เงียบหายไปนานงานยุ่ง เหนื่อย ไม่ค่อยได้นั่งสมาธิเลย พอดีได้หยุดหลายวันเลยถือโอกาสไปบวชเนกขัม3-4วัน กลับมาจะได้ปลอดโปร่ง พักยกจากเรื่องราววุ่นๆของแต่ละวัน ไปสะสมของใหม่ซะหน่อยใช้แต่ของเก่ากลัวจะหมดซะก่อน
     
  5. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    พี่ ธรรม-ชาติ คะ
    จะถามเรื่องจิตมารนะคะ เมื่อเช้าเหมือนเมิลจะรู้ว่ากำลังจะคิดไม่ดีละ มันก็หายไป ช่วงที่เห็นเหมือนเป็นอาการวูบของจิตแป๊ปเดียว ยังไม่มีความคิดที่เป็นภาษาเกิด แต่รู้ก่อนว่ากำลังจะคิดไม่ดี
    อันนี้ถูกไหมคะ แล้วต้องทำยังไงต่อคะ ถึงจะพลิกจิตมารกลับมาได้คะ
     
  6. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    เพิ่งกลับมาจาก ตจว ช่วงนี้มีภาระพอสมควรเลยไม่ค่อยได้เข้ามา นะครับ

    จริง ๆ แล้วคำว่า "จิตมาร" นั้นเป็นเพียงอาการหนึ่งของจิต ที่พอเกิดขึ้นมาแล้ว จะทำการปรามาส "สิ่งที่ดีงาม และ ของสูง" ตลอดเวลา อันเป็นการ "บั่นทอนบารมีตนเอง" แม้ว่าจะไม่มีความรู้สึก "รังเกียจ" เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็ตาม

    มันเป็นการพูด "เพ้อเจ้อ ส่อเสียด" ของ "วจีจิตตะสังขารขันธ์" ในขณะที่ผู้ครองจิตดวงนั้น ไม่ทันรู้ตัว จนกระทั่งรู้ตัวว่า ตนกำลังทำการ "ปรามาสพระรัตนไตร" อยู่ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ยกเว้นแต่ผู้ที่มีขีดความสามารถในการ "ดับ" วจีจิตตะสังขารขันธ์ ลงได้เท่านั้นจึงจะดับมันได้

    การที่คุณ เมิล รู้ว่ากำลังจะคิดไม่ดี และเห็นเหมือนเป็นอาการวูบของจิตแป๊ปเดียว ยังไม่มีความคิดที่เป็นภาษาเกิด แต่รู้ก่อนว่ากำลังจะคิดไม่ดี นั้น แสดงว่า มีสติที่ละเอียดเพียงพอที่จะเห็นในระดับ "วาระจิต" ได้แล้ว ก็ควรทำ สติ ในความละเอียดระดับนี้ให้เป็นนิสัย ก็จะมีความสามารถในการอ่าน วาระจิตของตนเองได้ จนเป็นนิสัยเช่นกัน ภาษาบาลีเรียกตรงนี้ว่า เจโตปริยะญาณ

    ส่วนการจะพลิกจิตตรงนั้นให้กลับมาได้นั้น ต้องทำการ "ตรึง" จิตตรงนั้นให้ทันการ มันจึงกลับมาได้ แต่โดยปกติแล้ว แนะนำว่า ไม่ควรเรียกมันกลับมา แต่ควรอยู่ในปัจจุบันไปเลยจะดีกว่า การเสียดายจิตนั้น ๆ ไม่มีประโยชน์อะไร มันเป็นการเสียเวลาเปล่า ๆ นะครับ
     
  7. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015
    -ไม่ได้สวดมนต์
    ไม่ได้อาราธนาศีล
    ศึลห้าไม่ครบ
    พักผ่อนไม่เพียงพอ
    ขาดข้อใดครับ
     
  8. jjustdream

    jjustdream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +201
    ไม่ได้อาราธนาศีลค่ะ สวดมนต์กับพักผ่อนไม่พอรึป่าว อันนี้จำๆไม่ได้ คือเป็นคนที่ไม่มีพิธี ไม่มีหลักการใดๆค่ะ คิดแต่ว่าอารมณ์ดี สบายๆ อยากนั่งก็นั่งเลย ถ้าไม่อยากก็ไม่ฝืนเพราะก็ไม่มีสมาธิอยู่ดี ถ้าอยากมีพิธีก็เริ่มเป็นเรื่องเป็นราวแล้วแต่อารมณ์ค่ะ เอาแน่ไม่ค่อยได้ค่ะ
     
  9. jjustdream

    jjustdream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +201
    หลังจากไปบวชเนกขัมมะช่วงสงกรานต์มา5วัน ได้คำสอนและหลักปฎิบัติกลับมาปฎิบัติต่อที่บ้านได้อีกค่ะ รู้สึกว่าหลวงพ่อสอนปฎิบัติ ฟังง่าย เข้าใจง่ายทำให้ปฎิบัติตามง่าย ไม่มีอะไรมากหลวงพ่อสอนเพียงให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา แม้กะทั่ง เดินนอนยืนนั่ง ให้มีสตินึกรู้ทุกการกระทำ เย็นร้อนอ่อนแข็ง ตึงๆไหวๆกระเพื่อมต่างๆที่เกิดรู้สึกในอากัปกิริยานั้นๆ เช่นเดิน เดินไปอ่อนรึแข็งที่เท้าสัมผัส ตึงตรงไหน หย่อนตรงไหน กระเพื่อมบริเวณใด ให้รู้สึกตัวทั่วไป ปฎิบัติอยู่5วันชักชิน กลับมาแล้วก็ยังปฎิบัติอยู่รู้สึกว่าวิธีนี้ทำง่าย เข้าใจง่าย ใข้สติอยู่กับสัมผัสรับรู้ค่ะ
     
  10. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ดีแล้วครับ รู้ตัว เป็นกายานุปัสสนา มหาสติปัฏฐาน จนกว่าจะได้มาซึ่ง รู้สึกตัว อันเป็นเวทนานุปัสสนา มหาสติปัฏฐาน ซึ่งในขณะที่ รู้สึกตัวอยู่ ก็จะ รู้ตัว ไปในเวลาเดียวกัน ก็จะควบ มหาสติได้ทั้ง 2 ฐานในเวลาเดียวกัน จนกว่าสติจะละเอียดจนถึง รู้จิต และ รู้สึกจิต อันเป็น 2 ฐานอันละเอียดสุดท้าย ก่อนที่จะ "อยู่กับรู้" แต่เพียงอย่างเดียว นะครับ
     
  11. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015
    อันนี้ขอฟันธง เลยนะครับ คุณถูกหวยลอตโต ถูกเป็นพันล้าน ยังไม่ดีใจเท่าคุณ
    เพราะว่า ในอดีตชาติ คุณได้ฝึกทั้ง กำหนดลมหายใจ จนสามารถเข้าฌาณสี่ได้
    และคุณกำลังจะได้นิมิตติดตา อันเกิดจากการฝึกกสิณชนิดใดชนิดหนึ่งจนสำเร็จครับ แต่คุณต้องแยกให้ออกนะครับว่า ถ้าคุณฝึกลมหายใจต้องละทิ้งนิมิตทั้งหมดครับ หากเห็นอะไรก็ให้กำหนดว่า เห็นหนอๆ อย่างนี้จนกระทั่ง นิมิตหายไป
    แต่ถ้าคุณฝึกเพ่งกสิณ ก็ใช้นิมิตให้เต็มที่เลยครับ ไม่ต้องกลัวตาย ไม่ต้องกลัว
    ความกลัว กลั้นความสำเร็จครับ
     
  12. jjustdream

    jjustdream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +201
    วันนี้นั่งสมาธิ พอทุกอย่างเริ่มนิ่งเข้าที่เหมือนจะหลับค่ะ แต่สติรู้ตัวอยู่ในสมาธิแล้วก็รู้ตัวค่ะว่าร่างกายเราน่ะหลับดับสวิตไปแล้วแต่สติยังนั่งสมาธิอยู่รู้ตัวชัดเจน นั้นได้ยินเสียงโทรทัศน์ชัดมากเพราะก่อนนั่งเบาเสียงไว้เบามากแล้วก็นั่งใกล้พัดลมฝนก็ตกพร่ำๆจึงแทบไม่ได้ยินเสียงโทรทัศน์ ได้ยินแต่เสียงลมกับฝน แต่อย่างที่บอกเหมือนตอนที่ร่างกายเราดับสวิตกลับได้ยินเสียงโทรทัศน์ชัดมาก ไม่รู้เสียงลมเสียงฝนหายไปไหน แล้วเสียงโทรทัศน์ที่ได้ยินนั้นมันฟังชัดแบบชัดเจนเคลียร์ๆเลยค่ะ พอถอนสมาธิออก กลับได้ยินเสียงพัดลมเสียงฝนชัดเหมือนเดิม แต่ไม่ได้ยินเสียงโทรทัศน์ ทั้งๆที่ระดับเสียงเท่าเดิมค่ะ
     
  13. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    วันนี้นั่งสมาธิ พอทุกอย่างเริ่มนิ่งเข้าที่เหมือนจะหลับค่ะ แต่สติรู้ตัวอยู่ในสมาธิแล้วก็รู้ตัวค่ะว่าร่างกายเราน่ะหลับดับสวิตไปแล้วแต่สติยังนั่งสมาธิอยู่รู้ตัวชัดเจน

    +++ ยินดีด้วยครับที่ สติ ของคุณสามารถอยู่ในระดับที่เรียกว่า หลับอยู่ส่วนหลับ และ ตื่นอยู่ส่วนตื่น ได้แล้ว แต่หากจะใช้ภาษาให้ตรงกับอาการของคุณแล้ว น่าจะกล่าวได้ว่า นิ่งอยู่ส่วนนิ่ง และ รู้อยู่ส่วนรู้ มากกว่า และอาการนิ่งนั้นเป็น นิ่งสนิทประดุจหลับ

    +++ ในเรื่องของมหาสติปัฏฐาน 4 นั้นกล่าวได้ว่า ฐานกายา กับ ฐานเวทนา นั้นสงบลงตัวแล้ว ส่วนฐานจิต (ความจำ+ความคิด) หยุดการทำงานลงในขณะนั้น จึงอยู่ในปัจจุบันขณะ ตรงกับคำกล่าวที่ว่า "ดำรงค์สติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า" ซึ่งเป็นเรื่องของ วิญญานขันธ์ (การรับรู้ของ ตัวดู) กับ ฐานธรรมารมณ์ (ผัสสะกับการตกกระทบ) อันละเอียด กล่าวแบบสั้น ๆ ได้ว่า "เหลือแต่ อายตนะกับผัสสะ" เท่านั้น

    นั้นได้ยินเสียงโทรทัศน์ชัดมากเพราะก่อนนั่งเบาเสียงไว้เบามากแล้วก็นั่งใกล้พัดลมฝนก็ตกพร่ำๆจึงแทบไม่ได้ยินเสียงโทรทัศน์ ได้ยินแต่เสียงลมกับฝน แต่อย่างที่บอกเหมือนตอนที่ร่างกายเราดับสวิตกลับได้ยินเสียงโทรทัศน์ชัดมาก ไม่รู้เสียงลมเสียงฝนหายไปไหน แล้วเสียงโทรทัศน์ที่ได้ยินนั้นมันฟังชัดแบบชัดเจนเคลียร์ๆเลยค่ะ พอถอนสมาธิออก กลับได้ยินเสียงพัดลมเสียงฝนชัดเหมือนเดิม แต่ไม่ได้ยินเสียงโทรทัศน์ ทั้งๆที่ระดับเสียงเท่าเดิมค่ะ

    +++ เสียงลมกับฝนนั้นเป็นเสียงของธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งของภาษา แต่ เสียงโทรทัศน์นั้น เป็นเสียงที่มาจากการปรุงแต่งของภาษา ที่จิตของคุณมีความคุ้นเคยอยู่ในเหตุการณ์ประจำวัน จนวิวัฒนาการมาเป็น นิสัย จึงก่อให้เกิดความ สนใจ ในระดับความละเอียดของชั้นสมาบ้ติ

    +++ ความสนใจแม้ว่าจะเป็นภาษาชาวบ้านก็ตาม แต่ในความละเอียดระดับฌานสมาบัตินั้น ต้องใช้ภาษาเทียบเคียงให้เกิด รูปธรรม ที่พอเข้าใจได้ ผมจะใช้ การสนด้ายเข้าเข็มเย็บผ้า มาเป็นตัวอย่างนะครับ

    +++ การสน (ส่งออก) ของด้าย ให้เข้าไปในรูเข็ม (ตกกระทบ) นั้น ผู้สนด้ายต้อง ไร้นิวรณ์ 5 คือ ชอบ ไม่ชอบ ฟุ้งซ่าน ลังเล และ ง่วงซึมพร่ามัว ต่าง ๆ จึงจะ สนด้าย ได้สำเร็จ (ไร้อุปสรรคทางจิต) จะต้องประกอบไปด้วยความตั้งมั่น (สมาธิ) ระหว่าง ด้ายกับเข็ม และ สติ รู้การทำงานของมืออย่างถูกต้อง ไม่เกร็งหรือหย่อนจนเกินไป (มัชฌิมาปฏิปทา) จากนั้น จึงเคลื่อนมือเพื่อ ส่งด้าย (สน) เข้ารูเข็มได้สำเร็จ ในขณะนั้น ๆ อายตนะ (การรับรู้) จะตัดทุกอย่างออกไปเองตามกระบวนการทางธรรมชาติ สิ่งตกกระทบอื่น ๆ ถึงมีอยู่ แต่ก็ไร้อิทธิพล โดยสิ้นเชิง เหลือไว้แต่ ด้าย (จิตส่งออก) เข็ม (สิ่งตกกระทบ) และการทำงานของมือ (สติ ที่รู้การทำงานของจิต) นะครับ

    +++ สรรพสิ่งทั้งหลายย่อมมีอยู่ตามปกติ แต่การได้ยินแต่เสียงของโทรทัศน์ที่ชัดเจนนั้น ย่อมเปรียบได้กับ การเห็นแต่ด้ายกับรูเข็ม เท่านั้น "เหลือแต่ อายตนะกับผัสสะ" นั่นเอง หลังจาก การสนด้ายเข้ารูเข็มเป็นผลสำเร็จแล้ว จึงถอนจิตออกมาสู่ระดับปกติ ทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิม เช่นเดียวกันกับ พอถอนสมาธิออก กลับได้ยินเสียงพัดลมเสียงฝนชัดเหมือนเดิม นั่นเองนะครับ
     
  14. pokpok111

    pokpok111 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2011
    โพสต์:
    802
    ค่าพลัง:
    +4,734
    ขออนุโมทนากับท่านเจ้าของกระทู้ด้วยคนครับ หากจะขอตอบในเรื่องสภาวะของผู้ปฏิบัติตอนนี้ไม่รู้จะช้าไปรึเปล่าครับเพราะพึงเข้ามาเจอกระทู้นี้ ยังไงก็ขอตอบเลยนะครับเผื่อพอจะเป็นประโยชน์กับผู็ปฏิบัติบ้างไม่มากก็น้อย อาการที่ผู้ปฏิบัติเล่ามานั้นเป็นสภาวะของ สมาธิระดับ ณานที่ 4 หรือ ที่เรียกว่าอัปนาสมาธิ เป็นสมาธิขั้นแน่วแน่มาก และขณะที่เข้านั้นถึงฌานที่ 4 นั้นผู้ปฏิบัติเข้าได้เร็วมากจนจับสภาวะขั้นต้นไม่ได้เลยเพราะเร็วมาก สาเหตุมาจากเพราะผู้ปฏิบัตินั้นมีของเก่ามาเยอะเพราะเมื่ออดีตชาติเคยเจริญ สมถะ มาแล้ว สภาวะของฌานระดับนี้จะมีสมาธิที่แน่วแน่มาก และ เกิดอาการแยกจิตออกจากกาย อาการคือ หูดับ ลมหายใจดับ ตาดับ คำภาวนาดับ พูดง่ายๆคือ กายดับนั่นเองเหมือนไม่มีกาย ไม่ริยหายใจ จะเกิดความว่างเหมือนเราอยู่คนเดียวในโลกนี้ สภาวะนี้ห้ามกลัวตายเด็ดขาด แต่หากตายในขณะนั้น จะได้ไปจุติในชั้นพรหมชั้นใดชั้นหนึ่งในรูปพรหม สิ่งที่ควรทำขณะนั้นคือดูอย่างเดียวเพราะจิตกำลังรวมใหญ่ ถามว่าให้ดูอะไรหละ ตอบคือให้ดูการเกิดดับทั้งมวนทั้งสิ้นให้ยกจิตจากสมถะขึ้นสู่วิปัสนาให้เห็นการเกิดดับ ให้กำหนดเห็นอย่างเดียวเพราะพิจรณาอะไรไม่ได้เนื่องงจากเป็นสมาธิขั้นลึก เพราะหากไม่ยกจิตขึ้นสู่วิปัสนาอาจจะทำให้ติดในฌานได้ ให้รู้ว่าตราบใดเรายังไม่เข้าสู่ความเป็นอริยบุคคล ฌานนั้นยังไม่เที่ยงมีเสื่อมได้ ยังเป็นโลกียะ ที่สำคัญเมื่อออกจากฌานแล้วให้จำอาการสุดท้ายให้ดีว่าทรงอยู่ลักษณะแบบไหนให้ค่อยๆถอยออก และ ห้ามลุกออกจากที่นั่งทันทีให้ทรงอารมณ์ใว้ก่อนและให้จดจำ อาการสุดท้ายนั้นให้ดี และ ที่สำคัญเมื่อวันหลังมานั่งสมธิใหม่ห้ามต้องการให้เป็นเหมือนเดิมเด็ดขาดเพราะหากต้องการอยากให้เป็น จะไม่สามารถทำได้เหมือนเก่า ให้ตัดความอยากออกไปเราต้องไม่อยากให้มันเป็นโน่นนี่นั่น และอยากฝากใว้สุดท้ายคือ ห้ามกลัวตายในขณะปฏิบัติ และ ห้ามสนใจกับอาการร่างกายโดยเด็ดขาด สุดท้ายนี้ผมขออนุโมทนากับท่านด้วยครับ ( สิ่งที่ผู้ปฏิบัติเป็นอาการนี้ผมเคยเป็นมาก่อนและสภาวะเกิดเร็วมากเร็วจนน่ากลัวและสุดท้ายได้มาปรึกษาครูบาอาจารย์จึงพอรู้มาบ้าง )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2013
  15. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    ไม่ควรออกจากสมาธิแบบทันทีทันใดนะครับ ควรกำหนดรู้ให้ทั่วร่างกายก่อน
     
  16. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    เมื่อจิตไวขึ้น รู้ได้ก่อนที่จะคิดไม่ดี ต่อไปก็จะมีสิ่งที่คุณเมิล เรียกว่าจิตมาร

    ในระดับที่ยากขึ้นมาทดสอบแทน ลองดูเรื่อง เจตสิก ครับ ให้พอรู้ว่าอะไรเป็น

    กุศล อกุศล
     
  17. jjustdream

    jjustdream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +201
    อยากทำความเข้าใจคำว่าวิปัสสนาสมาธิ กับ ฌาณ กับ สมาธิธรรมดาที่เราเรียกๆกัน แต่ละอย่างมี่อะไรเป็นความแตกต่างที่พอเกิดขี้นแล้วเราจะแยกได้ว่าที่ปฎิบัติอยู่นี้เรียกว่าอะไร ฌาณ หรือ วิปัสสนา หรือ สมาธิ นั่งสมาธิมานานแต่ก็แยกไม่ออกว่าอะไรคืออะไรเพราะไม่เข้าใจในความหมาย แรกๆก็ไม่สนใจความหมายหรอกค่ะ แต่ตอนนี้อยากรู้และอยากเข้าใจค่ะ
     
  18. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ คำถามทั้งหมด ขึ้นต้นที่คำว่า "ฐาน" เสียก่อน "ฐาน" ในที่นี้หมายถึง "ฐานที่ตั้ง หรือ ที่ตั้งมั่น" ของการทำงานทางจิต ต่อจากนั้น จึงแยกอธิบาย ดังนี้

    +++ หากผู้ฝึก "ตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน" เพื่อการ "ศึกษาตามความเป็นจริง" สภาวะของสิ่งต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า "กรรม" ตรงนี้จัดเป็น "วิปัสสนากรรมฐาน"

    +++ หากผู้ฝึก "ตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน" เพื่อการ "เสพธรรมารมณ์ หรือ เพื่อฝึกการตั้งมั่น" ตรงนี้จัดเป็น "สมถะกรรมฐาน" เรียกสั้น ๆ ว่า "ฌาน"

    +++ ส่วนคำว่า "สมาธิ" หมายถึง "การตั้งมั่นในฐานใดฐานหนึ่ง" ตรงนี้แล้วแต่จริตของแต่ละคน

    +++ ผมจำแนกให้ฟัง "ตามอาการของ พฤติกรรม" พอสังเขปแต่เพียงแค่นี้ นะครับ
     
  19. jjustdream

    jjustdream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +201
    ขอบคุณค่ะที่ช่วยแยกให้ งั้นที่ดิฉันปฎิบัติอยู่ก็เป็นแบบแรกสิคะ เพราะเน้นอยู่กับรูปนามปัจจุบัันที่เกิดขึ้น ระลึกรู้ความเป็นจิง ทิ้งสมมุติ เน้นดูจิต ดูผู้รู้ เป็นเพียงผู้ดูสิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนไป
     
  20. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    "สมถะ วิปัสสนา วสี สมาธิ ฌาน" จากการปฏิบัติ XP

    +++ การปฏิบัติธรรม "โดยพฤติกรรม" จริง ๆ แล้ว มีอยู่แค่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ "กรรมฐานแบบเปิด (วิปัสสนา)" และ "กรรมฐานแบบปิด (สมถะ)"

    +++ "กรรมฐานแบบเปิด (วิปัสสนา)" หากนับกันแบบ "ตรงไปตรงมา" แล้ว ก็จะตรงกันกับ วาจาที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้คือ "ดำรงค์สติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า"

    +++ นั่นคือ "รู้ทุกอย่าง ตามความเป็นจริง ในปัจจุบันขณะ" ไม่มีการ เพ่งเล็ง ส่งจิตสอดส่าย ไปกับสิ่งต่าง ๆ กล่าวคือ "มีสติเป็นฐาน" และ "ไร้จิตส่งออก" ผลลัพธ์ คือ "รู้ปรากฏการณ์ต่าง ๆ หลากหลาย ในเวลาเดียวกัน" ตรงนี้หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ให้คำศัพท์ไว้ว่า "อยู่กับรู้" นั่นเอง

    +++ "กรรมฐานแบบปิด (สมถะ)" จิตจะอยู่กับ "สภาวะหนึ่งเดียว" เท่านั้น และจะ "ตัดการรับรู้ สภาวะธรรมอื่น ๆ" ผลลัพธ์ คือ "จะตั้งมั่น และ เสพอยู่กับ ธรรมารมณ์ ที่ตั้งอยู่นั้น ๆ" โดยตัดสิ่งอื่นออกทั้งหมด

    +++ กรรมฐาน ทั้ง 2 ชนิด หากเกิด "การตั้งมั่น" ได้เมื่อไร เมื่อนั้นจึงเรียกว่า "เป็นสมาธิ" หากตั้งมั่นได้นิดหน่อย แบบผลุบ ๆ โผล่ ๆ เดี๋ยวมีเดี๋ยวหลุด ตรงนี้เรียกว่า "ขนิกะสมาธิ" หากตั้งได้เป็นช่วง ๆ ตรงนี้เรียกว่า "อุปจาระสมาธิ" แต่ถ้า ตั้งได้มั่นคงไม่มีขาดช่วง และ เพียงพอต่อความต้องการ ตรงนี้เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" ส่วนความชำนาญในการ เข้า-ออก สมาธิ รวมถึง อาการปรับหรือเดินจิตในสมาธิต่าง ๆ ตรงนี้เรียกว่า "วสี"

    +++ กรรมฐาน ทุกชนิด จะมี "การอยู่กับสภาวะใดสภาวะหนึ่งทั้งสิ้น" การอยู่กับสภาวะเดียว แล้วตัดสภาวะอื่นทิ้ง เป็น "สมถะ" แต่หากเปิดรับรู้สภาวะอื่นทั้งหมด เป็น "วิปัสสนา"

    +++ ในระดับ "อัปปนาสมาธิ"

    +++ หากผู้ใดฝึกฝน หรือหัดเดินจิต ด้วยวิธีศึกษา "การเดินจิต VS ผลลัพธ์จากการเดินจิต" ในขณะที่ ปรับปรุงการเดินจิต ตรงนี้เรียกว่า "วิตก" ส่วนการรอดูหรือเสพ ธรรมารมณ์ ที่เกิดขึ้น ตรงนี้เรียกว่า "วิจารณ์" ตรงนี้คือ "อาการตัวจริงของ ฌาน 1" ส่วนการปรับระดับ ฌาน ต่าง ๆ นั้นจัดเป็น "วสี" ทั้งหมด

    +++ หากผู้ใด เสพความเพลิดเพลิน หรือ ปิติ เป็นอารมณ์ คำศัพท์ ระบุว่าเป็น อย่างที่ 2 แต่เรียกสั้น ๆ ว่า "ฌาน 2"

    +++ หากผู้ใด เสพความเบาสบาย หรือ สุข เป็นอารมณ์ คำศัพท์ ระบุว่าเป็น อย่างที่ 3 แต่เรียกสั้น ๆ ว่า "ฌาน 3"

    +++ หากผู้ใด เสพความเฉย ๆ ไม่ยินดียินร้าย หรือ อุเบกขา เป็นอารมณ์ คำศัพท์ ระบุว่าเป็น อย่างที่ 4 แต่เรียกสั้น ๆ ว่า "ฌาน 4"

    +++ ในทางศาสนาพุทธแล้ว นับว่า ระดับความตั้งมั่น เป็นระดับเดียวกัน คือเป็น อารมณ์เดียว เรียกว่า "เอกัคตารมณ์" เพียงแต่ต่างตรง "อารมณ์ที่เสพ" เท่านั้น

    +++ ดังนั้นคำว่า "ฌาน" ตั้งแต่ 1-4 มีระดับทัดเทียมกัน จึงเรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" ส่วนอารมณ์ที่เสพในขณะจิตนั้น ๆ อาจแตกต่างกันไปเป็นชนิดที่ 2-4 แล้วแต่การ "เดินจิต" ใน "วิตก-วิจารณ์" อันเป็นเหตุ และ เอกัคตารมณ์ อันเป็นผล ทั้งสิ้น

    +++ สรุปง่าย ๆ "ตามการปฏิบัติ (ไม่เกี่ยวกับทฤษฐี)" คือ กำหนดจิต ให้เข้าสู่ อารมณ์อันเดียว เป็น "อัปปนาสมาธิ" ส่วน ความชำนาญในการเลือกและสับเปลี่ยน อารมณ์ ต่าง ๆ เป็น "วสี" การอยู่ในสถานะเดียวและ "ปิด" การรับรู้สภาวะอื่นเป็น "สมถะ" ส่วน การอยู่ในสถานะเดียวแต่ "เปิด" การรับรู้สภาวะอื่น ๆ เป็น "วิปัสสนา"

    +++ สั้น ๆ ง่าย ๆ แบบ ตามประสพการณ์ (อภิญญา XP) แค่นี้ "ถ้าทำได้" ก็เกินพอที่จะ ตัดสินใจว่าจะปฏิบัติอย่างไรแล้ว นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...