เราจักไม่พัก และ ไม่เพียร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รีล มาดริด, 26 พฤษภาคม 2013.

  1. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253

    เมื่อมีคนกล่าวว่า อย่าตีความไปเอง_. เราจะเข้าใจนักภาวนาเข้ามาอย่างหนึ่ง

    คนที่ปฏิบัติ. หากเจริญสติถูกทาง. จะมั่นใจในตนเอง. โดยมีการลดละเลิกราคะ
    โทษะ_โมหะ. เป็นตัวพยานในการปฏิบัติ. การอ่าตัวหนังสืิแล้วนั่งถกเถียงกัน
    ด้วย พยัญชนะ อักขระ การเขียน_. เปนเรื่องของคนไม่เอาความจริงมากล่าว
    ไม่เอาธรรมเปนใหญ่.

    เวลาเจอพวกนั่งสมาธิเอาเทห์. ได้ขึ้นวอเที่ยวด่าพระ. ทำเปนรู้ว่าพระโน้นนั้นนี้
    กล่าวแบบนี้. เพื่อหลอกให้เราเผลอรับสำนวนการเขียนแบบใหม่ เฉพาะที่เขา
    เสนอ. อันนี้ก็ต้องพิจารนาไป

    พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้ฟังด้วยดี. จำให้ขึ้นใจ. พอสอบสวนกับวินัย(การปฏิบัติ
    ธรรม+สัทธรรม). ถ้าพบว่าไม่อาจใช้เปนคำสอนได้ก็ละทิ้งเสีย

    การละทิ้ง ไม่ได้แปลว่าให้เลิกจำ. ต้องจำให้ดีดั่งคำสั่งเบื้องต้น

    การละทิ้งจะเปนเพียงกริยาจิตไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น

    ดังนั้น คำสอนจะถูก. จะผิด_. ล้วนห่างออกจากจิต ด้วยการไม่ยึดมั่นถือมั่น

    ที่เป็นเช่นนี้ได้เพราะคนๆนั้น. จะมีความหนักแน่นมั่นคงในสิกขาที่ตนปฏิบัติ
    ได้. และ ดี เปนเสาระเนียดค้ำจุน

    ธรรมมะที่เราสดับจริงๆ จึงเป็นเรื่องรู้เองเหนเอง. ไม่ใช่ไปนั่งถกเถียงกันด้วย
    ตัวหนังสือแบบพราหม์อาลักษณ์


    ********************

    จะเหนว่า_. กองสัญญาขันธ์นั้นก็จะทำหน้าที่จำได้หมายรู้ไปโดยปรกติของขันธ์

    หากเราปฏิบัติธรรมด้วยอุบายวิธีสุดอัศจรรย์ของพระพุทธองค์. ก็จะมีเครื่อง
    มืออยู่กับโลกได้อย่างสันติ. มีสติเปนเขื่อนกั้น. มีสัมปชัญยะเปนอุปการะธรรม
    พาดำเนินไปถึงจุดหมาย

    พระพุทธองค์ได้เปรียบเทียบการดำเนินกิจของพระองค์ว่า

    เหมอืนเดินไปในแผ่นดินที่มีแต่กองอุจาระของสุนัข. แต่พระบาท
    ของพระองค์ไม่เปรอะอุจจาระนั้นๆเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2013
  2. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ย่อมยุบ ย่อมไม่ก่อ ย่อมขว้างทิ้ง ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งขันธ์ ๕

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เมื่อตามระลึกย่อมตามระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมตามระลึกถึงซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า
    หรือขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้านั้น. ห้าอย่างไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ

    ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง รูป นั่นเทียว ว่า
    “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้” ดังนี้บ้าง;

    ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง เวทนา นั่นเทียว ว่า
    “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้” ดังนี้บ้าง;

    ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง สัญญา นั่นเทียว ว่า
    “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้” ดังนี้บ้าง;

    ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง สังขาร นั่นเทียว ว่า
    “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้” ดังนี้บ้าง;

    ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง วิญญาณ นั่นเทียว ว่า
    “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้” ดังนี้บ้าง.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า รูป ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมสลาย (รุปฺปติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป

    สลายเพราะอะไร ? สลายเพราะความเย็นบ้าง เพราะความร้อนบ้าง เพราะความหิวบ้าง
    เพราะความระหายบ้าง เพราะการสัมผัสกับเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง

    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมสลาย เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่าเวทนา ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น อันบุคคลรู้สึกได้ (เวทยติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า เวทนา

    รู้สึกซึ่งอะไร ? รู้สึกซึ่งสุขบ้าง ซึ่งทุกข์บ้าง ซึ่งอทุกขมสุขบ้าง

    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น อันบุคคลรู้สึกได้ เหตุนั้นจึงเรียกว่า เวทนา.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า สัญญา ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม (สญฺชานาติ)

    เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา. หมายรู้ได้พร้อมซึ่งอะไร ?
    หมายรู้ได้พร้อมซึ่งสีเขียวบ้าง ซึ่งสีเหลืองบ้าง ซึ่งสีแดงบ้าง ซึ่งสีขาวบ้าง
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า สังขาร ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมปรุงแต่ง (อภิสงฺขโรนฺติ) ให้เป็นของปรุงแต่ง
    เหตุนั้นจึงเรียกว่าสังขาร. ปรุงแต่งอะไรให้เป็นของปรุงแต่ง ?

    ปรุงแต่งรูปให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นรูป
    ปรุงแต่งเวทนาให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นเวทนา
    ปรุงแต่งสัญญาให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นสัญญา
    ปรุงแต่งสังขารให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นสังขาร
    ปรุงแต่งวิญญาณให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นวิญญาณ.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมปรุงแต่งให้เป็นของปรุงแต่ง เหตุนั้นจึงเรียกว่าสังขาร.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า วิญญาณ ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง (วิชานาติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณ
    รู้แจ้งซึ่งอะไร ? รู้แจ้งซึ่งความเปรี้ยวบ้าง ซึ่งความขมบ้าง ซึ่งความเผ็ดร้อนบ้าง
    ซึ่งความหวานบ้าง ซึ่งความขื่นบ้าง ซึ่งความไม่ขื่นบ้าง ซึ่งความเค็มบ้าง ซึ่งความไม่เค็มบ้าง

    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง เหตุนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณ.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ในขันธ์ทั้งห้านั้น อริยสาวกผู้มีการสดับ ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ชัดดังนี้ว่า

    “ในกาลนี้ เราถูกรูปเคี้ยวกินอยู่, แม้ในอดีตกาลนานไกล เราก็ถูกรูปเคี้ยวกินแล้ว
    เหมือนกับที่ถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในกาลนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น.
    ถ้าเราเพลิดเพลินรูปในอนาคต, แม้ในอนาคตนานไกล เราก็จะถูกรูปเคี้ยวกิน
    เหมือนกับที่เราถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในกาลนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น”.
    อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
    ย่อมเป็นผู้ไม่เพ่งต่อรูปอันเป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปอนาคต
    ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับไม่เหลือ แห่งรูปอันเป็นปัจจุบัน.


    (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทรงตรัสไว้อย่างเดียวกัน
    แล้วตรัสต่อไปว่า)

    ภิกษุทั้งหลาย ! เธอจะสำคัญความสำคัญข้อนี้ว่าอย่างไร

    รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง ?
    “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !”

    สิ่งใดที่ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ?
    “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”

    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ?
    ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา” ดังนี้.
    “ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”

    (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีการถามตอบแบบเดียวกัน แล้วตรัสต่อไปว่า)

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน มีในภายในหรือภายนอกก็ตาม
    หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม
    รูปทั้งหมดนั้นบุคคลควรเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า
    “นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” ดังนี้.

    (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทรงตรัสไว้อย่างเดียวกันแล้วตรัสต่อไปว่า)

    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า
    เธอย่อมยุบ - ย่อมไม่ก่อ; ย่อมขว้างทิ้ง - ย่อมไม่ถือเอา;
    ย่อมทำให้กระจัดกระจาย - ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ; ย่อมทำให้มอด - ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง.

    อริยสาวกนั้น ย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งอะไร ?
    เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

    อริยสาวกนั้น ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งอะไร ?
    เธอย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

    อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งอะไร?
    เธอย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่... ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

    อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งอะไร ?
    เธอย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ.

    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด,
    เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น,
    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว.

    อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า
    “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ (ผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้ว) นี้ เราเรียกว่า
    ไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบแล้ว-ดำรงอยู่;
    ไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้งแล้ว-ดำรงอยู่;
    ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจายแล้ว-ดำรงอยู่;
    ไม่ทำให้มอดอยู่-ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้มอดแล้ว-ดำรงอยู่.

    ภิกษุนั้น ไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่
    แต่เป็นอันว่ายุบ ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ?
    เธอไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่
    แต่เป็นอันว่ายุบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่

    ภิกษุนั้น ไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่
    แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้ง ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ?
    เธอไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่
    แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้ง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

    ภิกษุนั้น ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำให้เป็นกองอยู่
    แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจาย ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ?
    เธอไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจาย
    ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

    ภิกษุนั้น ไม่ทำให้มอดอยู่-ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่
    แต่เป็นอันว่าทำให้มอด ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ?
    เธอไม่ทำให้มอดอยู่-ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่
    แต่เป็นอันว่าทำให้มอดซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.


    ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาทั้งหลาย พร้อมทั้งอินทร์ พรหม และปชาบดี
    ย่อมนมัสการภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ มาจากที่ไกลเทียว กล่าวว่า

    “ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ! ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ! ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน
    เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะทราบสิ่งซึ่งท่าน อาศัยแล้วเพ่ง ของท่าน” ดังนี้
    .

    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕-๑๑๐/๑๕๘-๑๖๔.

    http://download.watnapahpong.org/data/books/pocketbook08.pdf
    Wunjun Group
    http://www.watnapahpong.org/UserFil...น 8_ อินทรียสังวร/พุทธวจน 8_ อินทรียสังวร.pdf
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2013
  3. Thanks-Epi

    Thanks-Epi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    984
    ค่าพลัง:
    +2,950
    เอาเป็นว่า ถ้าคำว่า ไม่เพ่ง-ไม่เผลอ ไปรบกวนใคร ขอขมาและอโหสิกรรมด้วยแล้วกันค่ะ


    ถึงเจ้าของกระทู้ คิดว่า คำว่า ไม่พัก ไม่เพียร / ไม่เพ่ง ไม่เผลอ น่าจะมาจากเฟซเดียวกันหรือเปล่าคะ

    มุมที่นี่ อ่านเอาสนุกค่ะ อย่าไปถืออะไรมาก
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เราจักไม่พัก และ ไม่เพียร

    เอาตามหัวข้อกระทู้เลยนะ ครั้งหนึ่งเคยถามอาจารย์ผู้สอนเหมือนกัน
    ว่าช่วยอธิบายคำๆนี้ให้หน่อย ก็ได้รับคำตอบเป็นที่น่าพอใจ

    คำว่าเราจักไม่พักนั้น ท่านอธิบายว่า ถ้าพักก็จะทำให้ความเกียจคร้านเข้าครอบงำได้
    ถ้าพูดตามสภาวปรมัตถ์ก็หมายถึงจะทำให้ถีนะมิทธะเข้าครอบงำได้

    คำว่าไม่เพียรนั้น ท่านอธิบายว่า ถ้าเราเพียรมากเกินไป ตัณหามันก็จะเกิด เช่น อยากบรรลุธรรมให้ไว ๆ เป็นต้น

    สรุปว่า จะต้องอยู่ในสายกลางนั่นเอง ที่เรียกว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 มิถุนายน 2013
  5. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    เชื่อมั๊ยละ อีกหน่อย ธุดงควัตร 13 ก็จะกลายเป็นการทรมานตนให้ลำบาก
     
  6. Thanks-Epi

    Thanks-Epi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    984
    ค่าพลัง:
    +2,950
    :cool::cool::cool::cool:
     
  7. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ฮึย ไหนบอกว่า ปฏิบัติมาจริง บริกรรมจนจิตเป็น ฌาณ อึ๊กๆ

    แล้วทำไม ปล่อยให้ สังขารในอนาคต มันมาหลอกให้พูดใน
    สิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์หละ

    ไอ้แบบนี้ ไม่ใช่พวกเล่น ฌาณ แล้วมั้ง เดี๋ยวก็ไหลไปคิด
    เดี๋ยวก็ไหลไปคิด เดี๋ยวก็ไหลไปคิด ฝนยังไม่ทันตกเลย
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เฮ้อ!!!

    พระสูตรฉบับปรับปรุงใหม่ ไฉไลกว่าเดิม

    เพียรนิดๆหน่อยๆก็บรรลุได้ เดี๋ยวจะเพียรมากเกินไป55+

    "เราจักไม่พัก(เพียร) และไม่เพียรจนเกินไป"

    พระพุทธองค์ไม่เคยทรงตรัสไว้ที่ไหนเลยว่า

    "พวกเธออย่าเพียรจนเกินไป"

    มีแต่"พวกเธอจงเพียรเพ่งฌาน อย่าได้เป็นผู้เกียจคร้าน"

    และ อย่าเพียรแบบผิดฝาผิดตัว ไปเพียรเพ่งนอกสติปัฏฐน๔

    เจริญในธรรมอันง่ายๆ สบายๆ และลัดสั้น
     
  9. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ใส่ร้ายประจำแหละคนเนี้ยะ คิดเองเออเองตลอด เพลีย
     
  10. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เอ้า จะไปยากส์อะไร

    คุณ ก็พิจารณาไปสิ

    ปัจจุบันตอนนี้ เวลานี้ คุณ บวช เป็น พระ อยู่หรือเปล่า

    หรือว่า จะบวชในวันข้างหน้า

    ถ้า คุณบวชตอนนี้ เวลานี้เป็นพระ คุณ ทำ ธุดงควัตร 13 อยู่หรือเปล่า

    ถ้าทำ นี่ ก็เห็นได้แล้วว่า มีการรักษาไว้ได้ รักษาอยู่

    แต่ถ้า บวชอยู่ แล้วตัวคุณเองไม่ทำ ธุดงควัตร์ แล้วคุณจะโทษใครที่ไม่รักษาไว้

    แต่ถ้า ไม่ได้บวช เป็น ฆารวาส ทั้งแท่ง เต็มขั้น คุณจะละ
    เมอถามหา ธุดงค์วัตร13 ทำไมไม่ทราบ ในเมื่อตัวเองก็ไม่มีฐานะ
     
  11. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    เฮียนี้นะ ถ้าไม่ถือเฮียก็ดูฮาดีเหมือนกันนะ ฮาแบบเพลียๆ ออกทะเลได้ตลอด เอ้อ เอาเข้าไป
     
  12. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014

    พระพุทธองค์ กล่าวถึง ทางสายกลางของความเพียรนั่นเอง มีมากไปก็ไม่ดี มีน้อยไปก็ขึ้เกียจ ต้องรู้ว่า เวลาใดในทางโลก ตอนนี้สมความทำความเพียร ตอนไหนไม่สมควรทำความเพียรด้วย ต้องรู้ทั้งกาละ และ เทศะ

    แต่คำว่าไม่เพียร ไม่พักของพระป่า ก็คือ เราจะไม่เพียรทำความชั่วให้เกิดขึ้นอีก และเราจะไม่พักทำความดีให้ยิ่ีงๆ ขึ้นไป ทรงได้อย่างนี้ ศึลทุกข้อก็อยู่พร้อมครับ ไม่ต้องสมาทานอีกเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    มัชฌิมาปฏิปทา= ปฏิปทาอันเป็นความพอดีสำหรับตน

    ทางสายกลางของความเพียรนั้น พูดหนะง่ายจริงๆ แต่ทำยังไง?

    พระพุทธวจนะที่ทรงตรัสไว้

    "ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
    อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ

    ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
    เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
    นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ"

    ^
    อย่าได้ประมาท คือไม่เกียจคร้าน เพียรระลึกรู้อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
    "เพียรระลึกรู้อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก" แบบนี้สงสัยเพียรเกินไปมั๊ง?

    เจริญในธรรมสมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     
  14. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ไม่เพียร ตามระลึกถึงซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้าอันเป็นในอดีตในอนาคต
    ไม่พัก ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับไม่เหลือซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้าในปัจจุบัน

    :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...