เฮโลขุดกรุหลวงพ่อเนียมเกจิดัง200 ปีแตก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย เฮียปอ ตำมะลัง, 22 เมษายน 2013.

  1. 266548

    266548 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +38
    วัดอนุญาตให้แล้ว

    ทางวัดไม่ได้ปิดกั้นชาวบ้านขุดหา เพราะเจ้าอาวาสท่านบอกว่าเป็นเพราะบารมีหลวงพ่อเนียมทำให้ขุดพบต้องการให้ชาวบ้านได้เก็บไว้บูชา
     
  2. coool

    coool เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +455
    ^
    ^
    แล้วแต่ความเชื่อส่วนบุคคลครับ หากตีความเข้าข้างตนยังไง ผลแห่งกรรมย่อมประจักษ์แก่ผู้นั้นเอง ลองหาหนังสือของหลวงพ่อฤาษีลิงดำเล่มเก่าๆ ที่ท่านเล่าเรื่อง กากเปรต หรือ กากะเปรต อ่านดูนะครับ เผื่อจะเข้าใจในมุมอื่นๆ มากขึ้น

    ขอเจริญในธรรมทุกท่านครับ
     
  3. coool

    coool เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +455
  4. อาโก้

    อาโก้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2013
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +113
    ผมว่ากระทู้นี้น่าจะตกไปได้แล้วนะเห็นมีนานแล้ว ผู้ดูแลน่าจะย้ายหรือไม่ก็ทำให้ตกไปซะจะได้ไม่ต้องมาเถียงกันอยู่
     
  5. natyakuza

    natyakuza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +345
    ตามหลักต้องขุดแล้วถวายวัด ก่อนนิครับ แล้วถึงทางวัดจะให้บูชาต่อ
     
  6. apple_lin

    apple_lin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    584
    ค่าพลัง:
    +704
    คนที่ไปขุด ถูกหวยกันบ้างไหมคะ?
     
  7. ANUWART

    ANUWART เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,669
    ค่าพลัง:
    +14,320
    ติดหนี้สงฆ์กันเป็นแถว/คนขุดเจดีย์เก่ากรรมหนักตายไปไม่รู้จะเกิดชาติไหน เพราะโทษทำลายของสงฆ์นี้หนักมาก แล้วเป็นเจดีย์อีกด้วย
     
  8. chyochin

    chyochin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +224
    วางงาน
     
  9. โลโป

    โลโป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2012
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +1,714
    พระอาจารย์ได้เล่าเป็นตำนานของพระรัตนสูตร แสดงพระพุทธานุภาพนำพระสูตร ใจความของพระรัตนสูตร ก็แสดงพระรันตนตรัยนั้นเอง แม้ในปัจจุบันนี้คนทั่ว ๆ ไป ก็ยังนับถือในมงคล ในอานุภาพต่าง ๆ ตามปกติวิสัยของสามัญชน แต่ถ้านับถืออยู่ในภายนอก ก็อาจนำให้ปฏิบัติผิดจากพระพุทธศาสนา ใก้ลไปในทางนับถือพระเป็นเทพเจ้าผู้บันดาลต่าง ๆ ทางที่จะแก้ไขมีทางเดียว คือศึกษาให้รู้พระพุทธศาสนา จนเปลี่ยนจากนับถือสิ่งภายนอกต่าง ๆ มานับถือเหตุผลตามที่เป็นจริง หรือนับถือความจริงตามเหตุและผล ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้ ดังที่แสดงข้างต้น กล่าวโดยสรุปคือตามหลักอริยสัจ ตามที่แสดงแล้วในกัณฑ์ที่ ๗ ว่าด้วยเรื่องสรณะ เมื่อนับถือหนักมาทางเหตุผล คือความจริงตามเหตุผล เพราะรู้ตระหนักในทางพุทธศาสนาขึ้น การปฏิบัติก็เข้าทางที่ชอบ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือเห็นชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ดังที่แสดงแล้วในกัณฑ์ที่ ๖ ว่า <strong>"ใครเดินทางชอบมีองค์ประกอบ ๘ รวมกันเป็นทางเดียวนี้แล คือพุทธศาสนิก"</strong>

    เห็น ชอบ ก็คือเห็นถูก เพราะรู้จริงตามเหตุผลหรือรู้เหตุผลตามเป็นจริง เมื่อมีเห็นชอบ ดำริชอบ เป็นต้นก็มีตามกัน แต่ดำริชอบเป็นต้นก็อาจช่วยให้เห็นชอบขึ้นได้ ตกว่าองค์ประกอบทั้ง ๘ ต้องอาศัยพึ่งพิงกัน จะขาดเสียสักข้อหนึ่งมิได้ ต้องใช้ในกิจทั้งปวง เช่นจะทำเลขก็ต้องมีเห็นชอบจึงจะทำได้ถูก จะตอบปัญหาทุกอย่างได้ถูกก็ต้องมีเห็นชอบ จะรู้ดีชั่วผิดถูกเท็จจริงเทียมหรือแท้ก็ต้องมีความเห็นชอบ จะรู้ซาบซึ้งพระพุทธศาสนาตลอดจนคุณพระรัตนตรัยก็ต้องมีเห็นชอบ การศึกษาทุกอย่างจนถึงการศึกษาพระพุทธศาสนาด้วย วิธีฟังพระธรรมเทศนาเป็นต้น ก็เพื่ออบรมให้เห็นชอบนี้เอง

    การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ที่พูดเพื่อเข้าใจง่าย ๆ ว่าการเข้าถึงพระรัตนตรัย โดยตรงคือเข้าพึ่งพระพุทธศาสนาที่ชี้ทางที่ถูกให้แก่ตน เมื่อเห็นทางที่ถูกแล้ว ก็ต้องปฏิบัติไปในทางที่ถูกนั้นด้วยตนเองจึงจะได้รับผล เหมือนอย่างต้องเรียนเองจึงจะรู้ ต้องบริโภคเองจึงจะอิ่ม เมื่อพึ่งพระรัตนตรัยเป็นสรณะอย่างนี้ ก็จะกลับเป็นผู้พึ่งตนเองได้ เพราะตนเองจะทวีความดีขึ้นทุกทีจนเป็นที่พึ่งของตนเองได้ ไตรสรณคมน์จึงสัมฤทธิ์ผลอย่างนี้แล

    ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
    เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ
    สรณคมน์นี้ของผู้นั้น เป็นสรณะอันเกษม เป็นสรณะอันอุดม
    ผู้นั้นอาศัย สรณะนี้จะพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

    <span style="text-decoration: underline;"><strong>ศรัทธา-ปสาทะ</strong></span>
    เครื่องชักนำอันแรกให้เกิดไตรสรณคมน์ หรือให้เป็นพุทธศาสนิกผู้นับถือพระพุทธศาสนา คือสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ ๒ อย่าง ได้แก่ศรัทธากับปสาทะ ศรัทธา แปลว่าความเชื่อ ปสาทะ แปลว่าความเลื่อมใส

    ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่าศรัทธา หรือศรั่ทธาปสาทะ เพราะนิยมพูดกันในทางศาสนา หรือในการทำบุญ เช่น มีศรัทธาบูชาพระรัตนตรัย มีศรัทธาฟังพระธรรม มีศรัทธาบริจาคทาน เป็นต้น เห็นใครทำบุญทำกุศลทุกอย่าง ก็มักพูดว่าเขามีศรัทธา การพูดอย่างนี้ก็เป็นความจริง เพราะจะทำอะไรทุกอย่างต้องมีศรัทธาชักนำให้ทำ แต่มีปัญหาว่าศรัทธาที่มีเครื่องชักนำนั้นคือเชื่อว่าอย่างไร ดังเช่นในที่นี้ ถ้าจะตั้งปัญหาถามทุก ๆ คนว่า มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาหรือไม่ ทุก ๆ คนที่เป็นพุทธศาสนิกก็คงตอบว่ามี คราวนี้ถามต่อไปว่า มีว่าอย่างไร ให้ทุก ๆ คนตั้งปัญหานี้ถามตนเอง และตอบให้ได้ด้วยตนเองว่าบัดนี้เรามีศรัทธา คือมีความเชื่อว่าอย่างไรในพระพุทธศาสนา

    เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธปฏิมาซึ่งเป็นที่นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ใช่หรือไม่
    เชื่อในความขลังของคาถาอาคมใช่หรือไม่
    เชื่อในอาจารย์ผู้เสกคาถาใช่หรือไม่
    เชื่อในการบนบานอ้อนวอนใช่หรือไม่

    ถ้า มีความเชื่อดังเช่นที่กล่าวข้างบนนี้ ก็พึงรู้ว่ายังมิใช่ศรัทธาที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา และอาจเป็นอันตรายแก่การนับถือพระพุทธศาสนา ดังเช่น เมื่อบนบานอ้อนวอนแล้ว ไม่ได้สมประสงค์ หรือต้องพลาดพลั้งวิบัติเสียหาย ก็เลยหาว่าพระพุทธศาสนาช่วยอะไรไม่ได้ พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียเสื่อมสิ้นไป ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาบางประเทศต้องเสียเอกราช และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งในขณะนี้ ผู้ที่เชื่อในทางศักดิ์สิทธิ์ หรือผู้ที่มุ่งกล่าวปรักปรำ ก็อาจกล่าวหาว่าพระพุทธศาสนาช่วยอะไรไม่ได้ บางทีก็กล่าวหาว่าเป็นเครื่องถ่วงให้ล้ำหลัง ไม่เจริญเร็วเหมือนประเทศนอกพระพุทธศาสนา ศรัทธาที่ไม่ถูกต้องอาจเป็นอันตรายแก่การนับถือพระพุทธศาสนาอย่างนี้ เมื่อศรัทธาไม่ถูกต้อง ปสาทะก็ไม่ถูกต้องเหมือนกัน ฉะนั้น จึงจำต้องปรับปรุงศรัทธานี้แหละให้ถูกต้องก่อน ว่าควรทำความเชื่อในพระพุทธศาสนาอย่างไร

    ศรัทธาอย่างถูกต้องในพระพุทธศาสนามี ดังนี้
    เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง
    เชื่อว่าบุญบาปมีจริง
    เชื่อว่าผลของบุญบาปมีจริง
    เชื่อว่าบุญบาปที่ตนทำเป็นของตนจริง

    <span style="text-decoration: underline;"><span style="color: #000000; text-decoration: underline;"><strong>ข้อที่ ๑ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง</strong></span></span> ทำให้ไม่สงสัยลังเลใจในพระปัญญาของพระพุทธเจ้า ไม่สงสัยลังเลใจในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอนเป็นพระพุทธศาสนา ไม่สงสัยลังเลใจในพระสงฆ์ โดยตรงกันข้าม ยิ่งเกิดความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ความเชื่อ ความเลื่อมใสนี้ เกิดเพราะตั้งใจสดับฟังพระธรรม หรือศึกษาพระพุทธศาสนาให้รู้ซาบซึ้ง โดยเฉพาะให้รู้จักบุญบาปหรือกรรมดีกรรมชั่ว ยิ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พิจารณาให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ก็ยิ่งเชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง เหมือนอย่างฟังคำสอนของครูเข้าใจแจ่มแจ้ง ก็ทำให้เชื่อในภูมิรู้ของครู ความเชื่อข้อนี้ เรียกว่า <span style="text-decoration: underline;"><strong>ตถาคตโพธิสัทธา</strong></span> แปลว่า ความเชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือเชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริงนั่นเอง เป็นเหตุให้เชื่อในคำสั่งสอนของพระองค์ที่แสดงบุญบาปคุณโทษ เป็นต้น เหมือนอย่างเมื่อเชื่อภูมิรู้ของครูแล้ว ครูจะแนะนำอะไรก็ย่อมจะเชื่อ

    <span style="text-decoration: underline;"><span style="color: #000000; text-decoration: underline;"><strong>ข้อที่ ๒ เชื่อว่าบุญบาปมีจริง</strong></span></span> ทำให้ไม่สงสัยลังเลใจในเรื่องบุญและบาปหรือกรรมดีกรรมชั่ว สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสั่งสอนว่าเป็นบุญเป็นกรรมดี ก็เชื่อว่าเป็นบุญเป็นกรรมดีจริง เช่นความมีเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สงเคาระห์ช่วยเหลือเป็นต้น สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสั่งสอนว่าเป็นบาปหรือกรรมชั่ว ก็เชื่อว่าเป็นบาปเป็นกรรมชั่วจริง เช่นมีความใจละโมบ โหดร้ายหลงใหล ประพฤติชั่วร้ายต่าง ๆ มีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์เป็นต้น ความเชื่อข้อนี้เรียกว่า <span style="text-decoration: underline;"><strong>กัมมสัทธา</strong></span> เชื่อกรรม กรรมแปลว่าการงานที่บุคคลทำด้วยเจตนา คำว่ากรรมเป็นกลาง ๆ มิใช่หมายความว่าไม่ดีจึงเรียกกรรม ทำดีหรือไม่ดีเรียกว่ากรรมทั้งนั้น เมื่อต้องการจะให้รู้ว่าดีหรือไม่ดีก็เติมคำนั้นเข้าไป ว่ากรรมดีหรือบุญกรรม กรรมชั่วหรือบาปกรรม ฉะนั้น เชื่อกรรมก็คือเชื่อว่าบุญบาปหรือกรรมดีกรรมชั่วมีจริง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอนไว้

    <span style="text-decoration: underline;"><span style="color: #000000; text-decoration: underline;"><strong>ข้อที่ ๓ เชื่อว่าผลของบุญบาปมีจริง</strong></span></span> ทำให้ไม่สงสัยลังเลใจว่าบุญบาปที่ทำจะไม่มีผลสนอง ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสั่งสอนไว้ว่า กรรมดีให้ผลดี กรรมชั่วให้ผลชั่ว ไม่สับสนกันเหมือนอย่างหว่านพืชเช่นใด ก็ได้รับผลเช่นนั้น ความเชื่อข้อนี้เรียกว่า <span style="text-decoration: underline;"><strong>วิปากสัทธา</strong></span> เชื่อผลของกรรม คือเชื่อว่าบุญบาปที่ทำให้ผลจริงตามประเภท บุญก็ให้ผลดี บาปก็ให้ผลไม่ดี

    <span style="text-decoration: underline; color: #000000;"><strong>ข้อที่ ๔ เชื่อว่าบุญบาปที่ตนทำก็เป็นของตนจริง</strong></span> ทำให้ไม่สงสัยลังเลใจว่า ตนจะต้องรับผลของบุญบาปที่ตนเองทำไว้หรือไม่ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ทุก ๆ คน นึกคิดอยู่เสมอว่า เรามีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทรับผลของกรรม เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วก็จักได้ชั่ว ความเชื่อข้อนี้เรียกว่า <span style="text-decoration: underline;"><strong>กัมมัสสกตาสัทธา</strong></span> เชื่อความที่สัตว์มีกรรมที่ตนทำไว้เป็นของของตน เหมือนบริโภคอาหารเองก็อิ่มเอง เรียนเองก็รู้เอง

    <span style="color: #000000;"><strong><span style="text-decoration: underline;">ศรัทธาทั้ง ๔ ข้อนี้ สำคัญอยู่ที่ข้อ ๑ คือเชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้จริง</span></strong></span> เพราะตั้งใจสดับศึกษาพระพุทธศาสนาจนเกิดความรู้สึกว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้เป็นความจริงทุกอย่าง ความเชื่อและความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยก็จะเกิดตั้งมั่นขึ้นทุกที ที่ทำให้เชื่อมั่นว่าบุญบาปที่พระพุทธเจ้าตรัสสั่งสอนไว้ มีจริง ผลของบุญบาปตามที่ตรัสสั่งสอนไว้มีจริง บุญบาปที่ผู้ใดทำไว้ก็เป็นของผู้นั้นจริงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หมายความว่าทำให้เชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา

    ศรัทธา ความเชื่อในพระพุทธศาสนา เมื่อมีลักษณะดังกล่าวจึงเป็นศรัทธาที่ถูกต้อง ผู้ที่มีศรัทธาที่ถูกต้องจึงจะเป็นพุทธศาสนิกผู้ถึงไตรสรณคมน์ที่ถูกต้อง การปลูกศรัทธาที่ถูก หรือการปรับปรุงศรัทธาให้ถูก อาศัย

    <strong>ก. บุคคลผู้ชักจูงศรัทธา</strong>
    <strong>ข. ตนเอง</strong>

    <strong>ก. บุคคลผู้ชักจูงศรัทธา</strong> เริ่มตั้งแต่บิดามารดาอบรมบุตรธิดาตั้งแต่เล็ก ๆ ด้วยวิธีสอนให้เชื่อฟังอย่างมีเหตุผลเท่าที่เด็ก ๆ จะเข้าใจ มิใช่ด้วยวิธีหลอกให้เข้าใจผิดหรือขู่ให้กลัว เช่นขู่หรือหลอกด้วยเรื่องผีต่าง ๆ และโดยที่แท้ที่ว่าผีหลอกนั้น คนหลอกต่างหาก เมื่อเด็กถูกหลอกหรือขู่ให้เชื่อผิด ๆ มาตั้งแต่เล็ก ความเชื่อก็จะฝังแน่นติดเป็นสันดาน เป็นการแก้ยากในภายหลัง เมื่อโตขึ้นมาแล้วถึงจะมีความรู้ใหม่มากขึ้นอย่างไร ความเชื่อในสันดานก็ยังไม่หมด จึงยังมัวกลัวผิด ๆ อยู่ ฉะนั้น เมื่อจะห้ามมิให้เด็กทำอะไร ก็พยายามแนะนำให้เด็กรู้เหตุผลถูกผิด หรือใช้วิธีแก้ร้ายให้กลายเป็นดีอย่างมีเหตุผล ดังเช่นมารดาบิดารายหนึ่งส่งบุตรไปศึกษา ฝากไว้กับครอบครัวหนึ่ง บุตรแจ้งไปว่ารู้สึกไม่ค่อยชอบลูกของเจ้าของบ้าน ทั้งที่เด็กนั้นก็มิได้ทำอะไรให้ มารดาบิดาจึงแนะนำไป ให้บุตรของตนหาอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปให้ลูกเจ้าของบ้าน ต่อมาบุตรก็แจ้งมาว่าได้ปฏิบัติตามแล้วและหายความรู้สึกไม่ชอบแล้ว นี้เป็นการสอนให้สร้างมิตรจิตมิตรใจต่อกันให้เกิดขึ้นนั้นเอง เมื่อมีจิตใจเป็นมิตรต่อกันแล้วอื่น ๆ ก็เรียบร้อย เมื่อจะสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กก็สอนอย่างถูกต้อง ปลูกความเชื่อที่ถูกต้องให้แก่เด็ก ต่อมาถึงวาระครูอาจารย์สั่งสอนอบรมศิษย์ และพระภิกษุสามเณรอบรมกุลบุตรกุลธิดาเป็นต้น เมื่อผู้อบรมเหล่านี้ อบรมให้เกิดความเชื่ออย่างมีเหตุผลในทางต่าง ๆ ทั้งในทางโลกและทางธรรม ก็จะทำให้เกิดศรัทธาที่ถูกต้อง เป็นความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เพราะเชื่อด้วยความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริง กล่าวโดยเฉพาะศรัทธาทางพระพุทธศาสนา เมื่ออบรมให้รู้ให้เข้าใจว่าพระพุทธศาสนา มิใช่เวทมนต์คาถาขลังอย่างทางไสยศาสตร์ มิใช้เป็นตำราทำนายโชคชะตาอย่างโหราศาสตร์ มิใช่เป็นตำราเล่นแร่แปรธาตุผสมธาตุ สร้างรถสร้างเรือสร้างปรมาณูเป็นต้นอย่างวิทยาศาสตร์ แต่คำสอนของพระพุทธเจ้า แสดงทางแห่งความบริสุทธิ์ไว้อย่างถูกต้องครบถ้วน ซึ่งทุก ๆ คนต้องปฏิบัติด้วยตนเอง จึงจะได้รับผลดีตามแต่จะปฏิบัติได้ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่ได้รับผลหรือไปทำชั่วทำผิดที่ตรงกันข้ามก็จักได้ผล ชั่วเพราะทุก ๆ คนมีกรรมเป็นของของตนเอง พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรมแล้วตรัสบอกเปิดเผยพระธรรมนั้นมิได้เป็น เทพเจ้า ผู้สร้างผู้บันดาลให้ใครเป็นอะไร พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วตามพระธรรม และช่วยบอกเปิดเผยพระธรรมนั้น มิได้เป็นเทพเจ้าผู้สร้างผู้ดลบันดาลให้ใครเป็นอะไร พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วตามพระธรรม และช่วยบอกเปิดเผยพระธรรม มิใช่บอกให้อะไรอื่น เมื่อรู้เข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง และปลูกศรัทธาอย่างถูกต้องให้เกิดขึ้นแล้ว ก็จักไม่หวังอะไรผิด ๆ จากพระพุทธศาสนา เช่นหวังความศักดิ์สิทธิ์ปัองกันภัยต่าง ๆ ภายนอก อำนวยโชคลาภเป็นต้น เมื่อหวังอะไรผิด ๆ แล้วไม่ได้สมหวังก็จักเสื่อมความนับถือลงไป ฉะนั้น เมื่อมีศรัทธาที่ถูกต้อง เมื่อหวังจะพ้นชั่วได้ดี ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปอ้อนวอนบนบานอะไรที่ไหน ถ้าจะอ้อนวอนก็อ้อนวอนตนเองให้เว้นจากการทำชั่วให้ทำดีก็จักเป็นคนดีขึ้น และจักได้รับผลดีด้วยตนเอง บุคคลผู้มีหน้าที่ชักจูงศรัทธา แม้จะพยายามอบรมปลูกหรือปรับศรัทธาให้ถูกต้อง แต่ความสำเร็จจะมีมิได้ ก็ต้องอาศัยบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้รับการอบรมที่ถูกต้องนั้น คือ

    <strong>ข. ตนเอง</strong> ได้แก่ตัวเราเองทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ เพราะตัวเราเองจำต้องคอยตรวจสอบดูศรัทธาของตัวเราเอง ว่าเป็นอย่างไรถูกต้องหรือไม่ ถ้ายังไม่ถูกก็ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ถูก คือให้

    เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง
    เชื่อว่าบุญบาปมีจริง
    เชื่อว่าผลของบุญบาปมีจริง
    เชื่อว่าบุญบาปที่ตนทำเป็นของตนจริง

    พยายาม คิดทำความเข้าใจในหลักของความเชื่อเหล่านี้ เพราะตัวเราเองต้องเห็นจริงด้วยความเชื่อจึงจะตั้งมั่น เมื่อมีความเชื่ออย่างนี้ สิ่งที่รู้ว่าเป็นบาปเป็นความชั่วก็จักไม่ทำ จักทำแต่สิ่งที่เป็นบุณเป็นความดี ใครมีศรัทธาอย่างนี้ก็พึงหวังได้ว่าจักเป็นคนดีได้จริง ๆ ในขั้นต้นเมื่อยังไม่อาจเห็นจริงได้ด้วยตนเอง ในหลักของศรัทธาดังกล่าว ก็ทำความเชื่อฟังไปก่อน ไม่ดื้อถือรั้น ความดื้อถือรั้น ไม่อยู่ในโอวาทของมารดาบิดาครูอาจารย์ ตลอดถึงของพระพุทธเจ้า เป็นการไม่ดี ดังเรื่องเห็นกงจักรเป็นดอกบัวในคัมภีร์ชาดก เรื่องมีว่า

    ในกาลของพระ กัสสปพุทธเจ้า บุตรของเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงพาราณสี ชื่อว่ามิตตวินทุกะ เป็นเด็กไม่มีศรัทธา ฝ่ายมารดาบิดาเป็นผู้มีศรัทธา เป็นพระโสดาบัน ต่อมาบิดาถึงแก่กรรม มารดาจึงเป็นผู้จัดแจงทรัพย์สมบัติ วันหนึ่งจึงแนะนำบุตรว่า เจ้าเกิดมาเป็นมนุษย์มิใช่ง่าย จงไปรักษาศีลฟังธรรม มิตตวินทุกะตอบว่า ไม่มีประโยชน์อะไรในการรักษาศีลฟังธรรม แม่อย่าพูดอะไรอีกเลย ผมจะไปตามกรรม ในวันอุโบสถวันหนึ่งมารดาได้กล่าวแก่บุตรว่า วันนี้เป็นวันอุโลสถเจ้าจงไปฟังธรรม กลับมาแล้วแม่จะให้ทรัพย์แก่เจ้าพ้นหนึ่ง มิตตะวินทุกะรับคำ จึงสมาทานอุโบสถศีล บริโภคอาหารเช้าแล้วก็ไปวัด แต่ไปหลบนอนเสียในที่แห่งหนึ่ง ไม่ได้ฟังธรรม กลับมาแล้วกับทรัพย์จากมารดา ในวันอุโบสถต่อมาก็ได้ปฏิบัติอย่างนี้ จนรวบรวมทรัพย์ได้เป็นอันมาก จึงคิดจะโดยสารเรือข้ามทะเลไปทำการค้าขาย ได้บอกลามารดา ฝ่ายมารดาก็ห้ามมิให้ไปเพราะว่ามีบุตรอยู่คนเดียวและทรัพย์ก็มีอยู่มาก มิตตวินทุกะก็ไม่ยอมจะออกไป มารดาก็จับมือดึงไว้ มิตตวินทุกะก็ทำร้ายมารดาให้ล้มลงแล้วโดยสารเรือออกทะเลไป เมื่อเรือออกทะเลไปได้ ๗ วันก็หยุดนิ่งอยู่ ในสมัยนั้นเชื่อกันว่าเมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ต้องมีคนกาลกิณีอยู่บนเรือ และต้องจับสลากกันทุกคน ใครจับถูกสลากกาลกิณี ก็ต้องถูกปล่อยลงแพให้ลอยไปตามยถากรรม ฉะนั้นจึงมีการจับสลากกัน สลากกาลกิณีได้ตกแก่มิตตวินทุกะถึง ๓ ครั้ง ชนทั้งหลายจึงกล่าวว่าคน ๆ เดียวอย่าทำให้คนเป็นอันมากต้องวินาศเสียเลย จึงให้มิตตวินทุกะลงแพ ปล่อยไปในทะเล เรือก็แล่นต่อไปได้ในขณะนั้น ฝ่ายแพที่มิตตวินทุกะลงไปอยู่ได้ลอยไปถึงเกาะแห่งหนึ่ง มิตตวินทุกะขึ้นไปอยู่บนเกาะนั้น ปรารถนาจะเที่ยวต่อไปก็ลงแพต่อไปอีกจนถึงเกาะหนึ่ง ได้ขึ้นไปบนเกาะนั้น พบเมืองเข้าเมืองหนึ่งมี ๔ ทวาร ได้ยินว่าที่นั้นเป็นเมืองที่สวยงาม จึงเข้าไปในเมืองนั้น ได้เห็นสัตว์นรกตนหนึ่ง สวมกงจักรคมกริบเหมือนมีดโกนหมุนบดอยู่บนศรีษะ มิตตวินทุกะได้เห็นกงจักรบนศีรษะของสัตว์นรกนั้นเหมือนอย่างดอกบัว ได้เห็นโซ่ตรวนที่รัดตรึงตัวสัตว์นรกนั้น เหมือนอย่างเครื่องประดับ ได้เห็นโลหิตที่ไหลจากศีรษะของสัตว์นรกนั้นเหมือนอย่างแป้งลูบไล้สีแดง ได้ยินเสียงร้องคร่ำครวญเหมือนดังเสียงร้องเพลงที่ไพเราะ จึงเข้าไปหาสัตว์นรกนั้น พูดขอดอกบัวที่สวมอยู่บนศรีษะ สัตว์นรกนั้นจึงบอกว่า นี่ไม่ใช่ดอกบัวแต่เป็นกงจักร มิตตวินทุกะก็ไม่เชื่อ ยังยืนยันขอให้ได้ สัตว์นรกจึงคิดว่าชะรอยบาปของเราจักสิ้นแล้ว ชายคนนี้คงจะทุบตีมารดาเหมือนกับเรา มารับผลกรรมต่อไป จึงถอดกงจักรจากศีรษะ กล่าวว่า อยากได้ดอกบัวนี้ ก็จงรับเอาไป แล้วก็สวมกงจักรบนศีรษะของมิตตวินทุกะ กงจักรนั้นก็หมุนบดกระหม่อมของมิตตวินทุกะ ในขณะนั้น มิตตวินทุกะก็รู้ว่าเป็นกงจักร ไม่ใช่ดอกบัวแต่ก็ไม่สามารถจะถอดออกได้ ต้องได้รับทุกข์ต่อไปบนเกาะนั้นจนสิ้นกรรม นิทานในชาดกตามที่เล่ามานี้เป็นนิทานสุภาษิต แสดงให้เห็นโทษของความไม่มีศรัทธาที่ถูกต้อง มีความดื้อถือรั้นไม่อยู่ในโอวาทของท่าน ที่สมควรเชื่อฟัง ประพฤติดึงดันไปตามใจของตนเอง หรือเรียกว่าเชื่อใจของตนเอง หรือเชื่อตนเองไปอย่างผิด ๆ ซ้ำยังทำร้ายผู้มีพระคุณที่ตนควรจะเชื่อฟังเคารพนับถือ จึงต้องประสบความทุกข์เดือดร้อน และเมื่อเห็นกงจักรเป็นดอกบัวนั้นก็เชื่อว่าเป็นดอกบัวจริง ๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างฉกรรจ์ จึงอ้อนวอนขอเอากงจักรมาสวมศีรษะ เป็นการอ้อนวอนขอเอาทุกข์มาให้แก่ตนเอง ต้องประสบความทุกข์วิบัติเหมือนเช่นนี้ บางทีได้คิดเมื่อสายไปเสียแล้วก็เหลือที่แก้ไข อย่างมิตตวินทุกะรู้ว่ากงจักร ก็ต่อเมื่อสวมอยู่บนศีรษะแล้ว ไม่สามารถจะถอดออกได้

    ส่วนผู้ที่อยู่ในโอวาท แม้ทีแรกจะยังไม่ศรัทธา แต่ภายหลังอาจมีศรัทธาได้ ดังเรื่องอรรถกถาธรรมบทว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวนาราม ใก้ลกรุงสาวัตถี นายกาละ บุตรอนาถปิณฑิกเศรษฐีไม่มีศรัทธาจะฟังธรรม บิดาจึงว่ากล่าวให้ไปฟังธรรม อย่างเดียวกับมารดาของมิตตวินทุกะ และให้เรียนจำพระธรรมให้ได้บทหนึ่ง นายกาละจึงตั้งใจฟัง เมื่อจำได้ก็ได้ความรู้ความเข้าใจในพระธรรม จนได้ธรรมจักษุดวงตาเห็นธรรม สำเร็จประโยชน์ตามที่บิดาประสงค์

    ผู้ที่ เข้าใจพระธรรมซาบซึ้งดังนั้น ย่อมมีศรัธาอย่างถูกต้องและตั้งมั่น ดังบุรุษโรคเรื้อนผู้ยากจนชื่อสุปปพุทธะ ท้าวสักกเทวราชคิดจะทดลองศรัทธา จึงมาตรัสว่า "เจ้าเป็นคนยากจนขัดสน เอาเถิด เราจักให้ทรัพย์มหาศาลแก่เจ้า เจ้าจงกล่าวว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช้พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เลิกกันที" สุปปพุทธะกล่าวว่า ท้าวสักกะเป็นอันธพาล ตนมิใช่คนขัดสน แต่เป็นคนมีสุข มีทรัพย์มีศรัทธาเป็นต้น ศรัทธาที่ตั้งมั่นให้สำเร็จประโยชน์ดังเช่นที่กล่าว

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนไว้ว่า <span style="color: #000000;"><strong>"สทฺธา สาธุ ปติฏฺิตา ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์สำเร็จแล"</strong> </span>

    <span style="color: #000000;"><strong>"การนับถือพระรัตนตรัยของชาวพุทธ" พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร</strong></span>
     
  10. chamao

    chamao สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2014
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +1
    อิอิ ตามมาดู
     

แชร์หน้านี้

Loading...