แผ่นดิน พระพุทธเจ้าหลวง

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 20 กันยายน 2008.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๒.

    พระราชพิธีโสกัณฑ์

    ตอนนี้จะยาวนิดหนึ่งและอ่านยากเสียหน่อย ทีแรกคิดว่าจะตัดทอนลงบ้างแต่ก็จะทำให้ไม่เห็นรายละเอียดของพระราชพิธีและเจ้านายแต่ละพระองค์ที่มีพระยศต่างกันรายละเอีดยการจัดพระราชพิธีก็จะต่างกันไปตามพระยศ เจ้าคะ


    a.jpg

    a.jpg

    ประกาศพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
    ณวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก

    ประกาศเล่าด้วยธรรมเนียมลงสรงโสกันต์ที่เป็นพิธีสำหรับราชตระกูลในแผ่นดินสยามสืบมาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าทั้งชายทั้งหญิงคือท่านที่มีพระบิดาพระมารดาเป็นราชตระกูลทั้งสองฝ่ายแต่จะว่าให้ละเอียด ถ้าการเป็นตั้งวงศ์ใหม่ พระเจ้าพี่ยา พระเจ้าน้องยาพระเจ้าพี่นาง พระเจ้าน้องนาง ที่ร่วมพระชนกชนนีกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ก็เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอทั้งสิ้น แต่ที่ต่างมารดาต่อโปรดให้เป็นจึงได้เป็น

    พระเจ้าลูกเธอที่ประสูติแต่พระอัครมเหษี พระราชชายาที่ติดมาแต่เดิมก็ดีตั้งใหม่ก็ดี เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าทั้งชายทั้งหญิงพระเจ้าลูกเธอที่เจ้าจอมเป็นมารดาเป็นแต่พระสนมไม่เป็นเจ้าฟ้า ก็เป็นแต่พระองค์เจ้า

    ถ้าเจ้าจอมเป็นเชื้อพระวงศ์ห่างๆก็ดีเป็นบุตรเจ้าแผ่นดินเมืองน้อยรอบคอบก็ดี หรือเป็นบุตรเสนาบดีมีความชอบก็ดีถ้าโปรดให้เป็นเจ้าฟ้าก็เป็นได้ พระเจ้าหลานเธอนั้นคือพระโอรสพระธิดาในพระบวรราชวังถ้ามารดาโปรดให้เป็นเจ้าบุตรีก็เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้า

    สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าหญิง สมเด็จพระลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงเมื่อได้พระสวามีเป็นพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ก็ดี เป็นกรมพระราชวังก็ดี เป็นเจ้าต่างกรมไม่มีกรม เจ้าฟ้า พระองค์เจ้าก็ดี ถ้ามีบุตรบุตรีบังเกิดก็เป็นเจ้าฟ้าตามพระมารดาแต่ศักดินาต่ำเสมอพระองค์เจ้าที่เป็นพระเจ้าหลานเธอ ดังสมเด็จพระเจ้าหลานเธอมีศักดินาเสมอเพียงพระองค์เจ้าที่เป็นพระเจ้าลูกเธอ

    เมื่อแผ่นดินสืบๆมา พระราชโอรส พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินใหญ่แลกรมพระราชวังที่ประสูติแต่พระมารดาเป็นเจ้าฟ้าก็ดี เป็นพระองค์เจ้าก็ดีคงเป็นเจ้าฟ้า ถ้ามารดาเป็นแต่หม่อมเจ้าแลราชนิกูลแลธิดาเมืองน้อยรอบคอบก็คงเป็นแต่พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าต่อพระเจ้าแผ่นดินใหญ่โปรดให้เป็นเจ้าฟ้าจึงเป็นได้

    ในกรมพระราชวังหลังบุตรบุตรีประสูติแต่อัครชายามียศเป็นเจ้าก็เป็นได้เพียงพระองค์เจ้าต่อมารดาเป็นเจ้าฟ้าจึงเป็นเจ้าฟ้าตามพระมารดาบุตรบุตรีกรมพระราชวังหลังที่เกิดแต่พระสนมก็คงเป็นหม่อมเจ้าเหมือนกับบุตรบุตรีของพระองค์เจ้าชายทั้งปวงที่ตั้งกรมแล้วแลยังไม่มีกรมหม่อมเจ้าทั้งปวงที่ได้ราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในโปรดเลื่อนให้เป็นพระองค์เจ้าโดยความชอบก็เป็นได้การกำหนดที่ว่ามานี้ตามแบบแผนซึ่งมีสืบมาแต่โบราณหลายชั่วแผ่นดินแต่ครั้งกรุงเก่า

    เมื่อครั้งแผ่นดินกรุงธนบุรี แรกตั้งแผ่นดินบางกอกก่อนพระวงศ์นี้มีพระเจ้าลูกเธอชายเป็นเจ้าฟ้าสามพระองค์ พระองค์หนึ่งเกิดแต่พระอัครชายาเดิมอีกพระองค์หนึ่งเกิดแต่มารดาที่เป็นพระญาติพระวงศ์ของพระเจ้าแผ่นดินในเวลานั้นอีกพระองค์หนึ่งเกิดมาแต่มารดาที่เป็นบุตรีของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

    เมื่อตั้งวงศ์ขึ้นใหม่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอสองพระองค์ก็เป็นเจ้าฟ้าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่มีพระบุตร ๓ บุตรี ๑แต่พระบิดาสิ้นชีพเสียนานแล้ว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์น้อยมีพระบุตร ๓ บุตรี๒ พระบิดาก็สิ้นชีพเสียนานแล้วเหมือนกัน ก็ทั้ง ๙ พระองค์นั้นพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าทั้งสิ้นภายหลังมาพระบุตรของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่นั้นโปรดให้เป็นกรมพระราชวังหลังเป็นลำดับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอที่โปรดให้เป็นกรมพระราชวังบวรในแผ่นดินนั้น


    a.jpg
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในแผ่นดินนั้น มีพระราชโอรสสองพระองค์พระราชธิดาสองพระองค์แต่พระอัครชายาเดิม โปรดให้เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าทั้ง๔ พระองค์ แต่กรมพระราชวังมีพระธิดาประสูติแต่มารดาเป็นเชื้อเจ้า เมืองเชียงใหม่โปรดให้เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าด้วยรวมเจ้าฟ้าในต้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ๒ถ้านับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอที่เป็นกรมพระราชวังด้วยก็เป็นสามเป็นชั้นศักดิ์สูงอย่างเอก สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า ๔ พระองค์เป็นอย่างโทสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้า นับกรมพระราชวังด้วยเป็น ๑๑ พระองค์เป็นอย่างตรีรวมเจ้าฟ้าทั้ง ๒ อย่างเป็น ๑๘ พระองค์คือนับเจ้าฟ้าหลานเธอที่เป็นราชบุตรกรุงธนบุรีด้วยนั้นอนึ่งเจ้าฟ้าหญิงแก่อีกพระองค์หนึ่งเป็นพระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระวงศ์เก่ากรุงศรีอยุธยายังคงยศบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าฟ้าอยู่ด้วยจึงรวมเป็น ๑๙ พระองค์ด้วยกัน

    ก็ในเจ้าฟ้าเหล่านี้ เมื่อแรกตั้งแผ่นดินยังไม่ได้โสกันต์ ๗ พระองค์ คือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า ๓ พระองค์ ยกแต่พระองค์ใหญ่ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์น้อย ๒ พระองค์ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าในกรมพระราชวังพระองค์ ๑ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอที่เป็นราชบุตรกรุงธนบุรีพระองค์ ๑ จึงรวมเป็น ๗ พระองค์ เมื่อถึงปีมีกำหนดควรจะโสกันต์ ก็มีราชการทัพศึกกับพม่าวุ่นวายอยู่เพราะเป็นต้นแผ่นดิน ไม่มีช่องมีเวลาที่จะได้ทำพระราชพิธีให้เต็มตำรา คือสองพระองค์ถึงกำหนดโสกันต์ในปีแรกตั้งแผ่นดินใหม่ คือ ปีขาลจัตวาศก ศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๗๘๒ อีก ๒ พระองค์ ถึงกำหนดในปีมะเส็งสัปตศก ศักราช ๑๑๔๗ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๗๘๕ อีก ๒ พระองค์ ถึงกำหนดโสกันต์ในปีระกาเอกศก ศักราช ๑๑๕๑ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๗๘๙ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าที่เป็นราชบุตรเจ้ากรุงธนบุรีนั้น ถึงกำหนดโสกันต์ในปีกุนตรีศก ศักราช ๑๑๕๓ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๗๙๑ ใน ๑๐ ปีนี้ พม่ายกมารบแทบทุกปี มีราชการทัพศึกมากไม่มีช่องที่จะได้คิดทำการลงสรงโสกันต์เลย เป็นแต่ทำโดยสังเขปพอเป็นแล้วไป

    แต่เจ้าฟ้าพินทวดีซึ่งเป็นพระราชธิดาพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาโบราณนั้น ท่านเคยลงสรงโสกันต์ด้วยพระองค์เอง แลเห็นการงานต่างๆเมื่อเวลาลงสรงโสกันต์เจ้าพี่เจ้าน้องของท่าน ๆ ทราบการทุกอย่างเป็นผู้แนะอย่างธรรมเนียมโบราณอื่นๆ ต่างๆหลายอย่างหลายประการในกรุงเทพฯนี้ เมื่อท่านเห็นว่าเจ้าฟ้า ๗ พระองค์ที่โสกันต์ ไม่ได้ทำเต็มตำราพระราชพิธีแต่สักพระองค์หนึ่งจนหมดเจ้าฟ้าไปแล้ว ท่านก็บ่นนักว่าการอย่างธรรมเนียมพระราชพิธีลงสรงโสกันต์เจ้าจะสาบสูญไปเสียแล้ว ท่านก็ทรงชรา เมื่อไม่มีพระชนม์ท่าน ถ้าการสืบไปมีเวลาที่จะได้ทำขึ้น ใครจะมาแนะชี้การให้ถูกต้องตามแบบแผนได้เล่า ท่านจึงคิดอ่านจดหมายการงานลงสรงโสกันต์ต่างๆลงไว้ แล้วชี้แจงให้ผู้ใหญ่ผู้น้อยข้างหน้าข้างในเรียนเรียนดูรู้ไว้ด้วยกันมาก เพื่อจะไม่ให้การสาบสูญไป

    ความที่เจ้าฟ้าพินทวดีทรงพระวิตกนั้น กรมพระราชวังในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นชอบด้วย จึงทรงสร้างเขาไกรลาสมีมณฑปบนยอดแลมีสระอโนดาต แลท่อไขน้ำจากปากสัตว์ทั้ง ๔ ตามอย่างเจ้าฟ้าพินทวดีชี้การให้ทำ ครั้นการเขาไกรลาสเสร็จแล้ว ก็กราบทูลขอแด่พระเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ทำการโสกันต์พระราชบุตรแลพระราชบุตรีของท่านที่เป็นแต่พระองค์เจ้าสมมต ให้เป็นดังเจ้าฟ้า ทำการทั้งนี้แม้นผิดอย่างธรรมเนียม ก็เพื่อว่าจะให้เห็นเป็นอย่าง ทันเวลาเมื่อเจ้าฟ้าพินทวดียังทรงพระชนม์อยู่ จะให้ผู้ได้รู้ได้เห็นไว้เป็นอันมากมิให้การสาบสูญไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็โปรดให้การเป็นไปตามพระทัยกรมพระราชวัง แต่ส่วนพระองค์ไม่ชอบพระราชหฤทัยจะทำให้ผิดอย่างธรรมเนียมไป กรมพระราชวังเมื่อได้ช่องโปรดอำนวยให้ทำก็ได้ทำการโสกันต์ในพระบวรราชวัง ๓ ครั้ง คือ ปีเถาะสัปตศก ศักราช ๑๑๕๗ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๗๙๕ ครั้งหนึ่ง คือปีมะเมียสัมฤทธิศก ศักราช ๑๑๖๐ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๗๙๘ ครั้งหนึ่ง คือปีระกาตรีศก ศักราช ๑๑๖๓ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๐๑ ครั้งหนึ่ง

    a.jpg

    a.jpg

    แลในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ได้เสด็จอยู่กับพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าหญิง ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์น้อย ประสูติพระราชโอรส ๓ พระองค์ พระองค์ที่ ๑ ประสูติในปีระกาตรีศก ศักราช ๑๑๖๓ ตรงกับปีคริสตศักราช ๑๘๐๑ ได้เป็นเจ้าฟ้าตามพระมารดา แต่สิ้นพระชนม์เสียในปีนั้น พระองค์ที่ ๒ ประสูติในปีชวดฉศก ศักราช ๑๑๖๖ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๐๔ พระองค์ที่ ๓ ประสูติในปีมะโรงสัมฤทธิศก ศักราช ๑๑๗๐ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๐๘ สองพระองค์นี้เป็นเจ้าฟ้าตามพระมารดา แลเมื่อกรมพระราชวังบวรในแผ่นดินนั้นสวรรคตในปีกุนเบญจศก ศักราช ๑๑๖๕ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๐๓ แล้วล่วงมาถึงปีเถาะนพศก ศักราช ๑๑๖๙ โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่เลื่อนที่เป็นกรมพระราชวังบวร เมื่อนั้นเจ้าฟ้าพระราชโอรสท่าน ๒ พระองค์ พระองค์หนึ่งประสูติก่อนเลื่อนที่ พระองค์หนึ่งประสูติเมื่อเลื่อนที่แล้วนั้น เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้า

    ก็พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง มารดาเป็นบุตรีเจ้าเมืองเวียงจันทน์โปรดให้เป็นแต่เพียงพระองค์เจ้า เหมือนกันกับพระราชบุตรแลพระราชบุตรพระองค์อื่นที่ประสูติแต่พระสนม เจ้าจอมมารดาของพระองค์เจ้านั้นสิ้นชีพในปีกุนเบญจศก เมื่อกรมพระราชวังบวรสวรรคตแล้วนั้น พระองค์เจ้านั้นมีพระชนมายุได้ ๕ ขวบ เป็นกำพร้าไม่มีเจ้าจอมมารดา ทรงพระกรุณามาก ภายหลังล่วงมาปีหนึ่งพระองค์เจ้านั้นตามเสด็จลงไปลอยกระทง วิ่งเล่นตกน้ำหายไป คนทั้งปวงตกใจเที่ยวหาอยู่ครู่หนึ่ง จึงพบพระองค์เจ้าไปเกาะทุ่นหยวกอยู่หาจมน้ำไม่ ผู้พบเชิญเสด็จกลับมาได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดมากขึ้น มีพระบรมราชโองการดำรัสว่า พระองค์เจ้านี้เจ้าจอมมารดาก็เป็นฝ่ายลาว อัยยิกาธิบดีคือท้าวเจ้าเวียงจันทน์ก็ยังอยู่ ควรจะให้เลื่อนที่เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า การพิธีโสกันต์ในพระบรมมหาราชวังแต่ตั้งแผ่นดินมาก็ยังหาได้ทำไม่ ถ้าถึงคราวโสกันต์จะได้ทำให้เป็นแบบอย่างในแผ่นดิน จึงโปรดพระราชทานพระสุพรรณบัฏให้เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เจ้าฟ้านั้นเมื่อถึงปีมะโรงสัมฤทธิศก ศักราช ๑๑๗๐ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๐๘ พระชนมายุครบ ๑๑ ปีถึงกำหนดโสกันต์ เมื่อนั้นเจ้าฟ้าพินทวดีที่เป็นผู้ชี้การมาก็สิ้นพระชนม์ไปแล้วถึง ๗ ปี
    ถึงกระนั้นแบบแผนตัวอย่างการต่างๆที่เจ้าฟ้าพินทวดีได้ทรงจัดไว้มีผู้เรียนรู้เห็นอยู่เป็นอันมาก แลได้ดูอย่างการที่ทำแต่ก่อนในพระบวรราชวังสามครั้งนั้นด้วย จึงได้จัดการพระราชพิธีโสกันต์เป็นการใหญ่เต็มตามตำรา คือตั้งพระราชพิธีพระมหาปราสาทคล้ายกับพระราชพิธีตรุษ แลมีเขาไกรลาส ราชวัตร ฉัตรทอง ฉัตรเงิน แลฉัตรรายทาง นั่งกลาบาศ แลการละเล่นต่างๆอย่างสูง แลแห่มยุรฉัตร นางเชิญเครื่อง นางสระแห่เครื่องขาว เสด็จมาทรงฟังพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์สามวัน แล้วแห่มาเวลาเช้าโสกันต์ในวันที่ ๔ แล้วเสด็จขึ้นเขาไกรลาส ครอบเครื่องต้นแล้วแห่เวียนเขาไกรลาส ๓ รอบ แล้วแห่กลับในเวลาเช้า ครั้นเวลาบ่ายแห่เครื่องแดงมาสมโภชวันนั้นแล้วต่อไปอีก ๒ วัน วันที่ ๗ จึงแห่พระเกศาไปลอย การเป็นเสร็จโสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในเดือน ๔ ปีมะโรงสัมฤทธิศก ศักราช ๑๑๗๐ ตรงกับเดือนมาร์ช ในปีคริสตศักราช ๑๘๐๙


    ครั้นล่วงมาอีก ๖ เดือน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าลูกเธอกรมพระราชวังบวรได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นแผ่นดินที่ ๒ เจ้าฟ้าพระราชโอรส ๒ พระองค์นั้นก็เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นทรงปรึกษาด้วยข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายใน ว่าการพระราชพิธีโสกันต์เจ้าได้ทำลงเป็นอย่างมีแบบแผนเป็นจดหมายเหตุอยู่แล้ว แต่การพระราชพิธีลงสรงตั้งพระนามเจ้าฟ้าโดยอย่างเต็มตามตำราครั้งกรุงศรีอยุธยาเก่า ยังหาได้ทำเป็นแบบอย่างไม่ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยเห็นก็ชรา เกือบจะหมดไปแล้วจะสาบสูญเสีย จะใคร่ทำไว้เป็นเกียรติยศเยี่ยงอย่างสักครั้งหนึ่ง ข้าราชการเห็นพร้อมตามกระแสพระราชดำริ


    a.jpg
    ครั้นถึงปีระกาเบญจศก ศักราช ๑๑๗๕ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๑๓ จึงได้ตั้งการพระราชพิธีลงสรงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ ผูกแพไม้ไผ่ที่ท่าราชวรดิษฐ์ มีกรงที่สรงอยู่กลางล้อมด้วยซี่กรงชั้นหนึ่ง ตารางไม่ไผ่อีกชั้นหนึ่ง ร่างแหอีกชั้นหนึ่ง ผ้าขาวอีกชั้นหนึ่ง มีบันไดเงินบันไดทองลง ๒ ข้าง บันไดกลางเป็นเตียงหลั่นหุ้มผ้าขาว เรียกว่าบันไดแก้ว ในกรงมีมะพร้าวคู่ปิดเงินปิดทอง แลปลาทองปลาเงิน กุ้งทองกุ้งเงิน ลอยอยู่ทั้งสี่ทิศ กรงนั้นมีมณฑลสวมมีราชวัตรฉัตรทอง ฉัตรนาค ฉัตรเงิน ล้อมสามชั้น มีทหารนั่งรายรอบแลมีเรือจุกช่องล้อมวง แพที่ลงสรงแทนเขาไกรลาสในการโสกันต์ การพิธีนอก นั้นคือ การขึ้นพระบาท แลการแห่ ทางแห่ การละเล่นต่างๆ ก็เหมือนกับการโสกันต์ แห่เครื่องขาวเสด็จไปทรงฟังพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ขึ้นมหาปราสาทสามวัน วันที่ ๔ จึงแห่เสด็จลงไปท่าราชวรดิษฐ์ สรงในแพที่สรงแล้วแห่กลับ แล้วจึงเสด็จมารับพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติวงศ์ พงศอิศวรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร ครั้งเวลาบ่ายแห่เครื่องแดงทรงเครื่องต้น มาสมโภชที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ครั้งนั้นเรียกว่าพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในวันนั้นแลต่อไปอีกสองวันเป็นสามเวลา เสร็จพระราชพิธีลงสรง

    ครั้นเสร็จการแล้วมีพระราชโองการดำรัสว่า การลงสรงเช่นนี้ทำแต่ครั้งเดียวนี้เถิด พอเป็นตัวอย่างไว้ไม่ให้สูญพิธีโบราณ เพราะการโสกันต์เป็นอันจำจะต้องทำสำหรับยศเจ้าฟ้าทุกๆพระองค์ การลงสรงทำเป็นสองซ้ำก็หาต้องการไม่ ไพร่ๆที่เขาลงท่าลูกเขานั้น เพราะเข้าร้อนรนจะเร่งเอาของขวัญ เก็บเอาเงินคนอื่นมาใช้เขาจึงรีบด่วนทำการลงท่าก่อนเวลาโกนจุก เพราะเข้าเห็นว่าการโกนจุกนั้นยังช้าอยู่ ก็ในหลวงไม่ได้ร้อนรนอะไรไม่ควรจะทำให้เป็นสองซ้ำสามซ้ำ ทำแต่โสกันต์เถิด ด้วยเป็นต้องจำใจทำตามธรรมเนียม ครั้นมาเดือน ๔ ปีชวดอัฐศก ศักราช ๑๑๗๘ เป็นเดือนมาร์ชในปีมีคริสตศักราช ๑๘๑๗ ได้มีพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎนั้นเป็นการใหญ่เหมือนกันกับครั้งโสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ครั้นมาเดือน ๔ ปีมะโรงอัฐศก ศักราช ๑๑๘๒ ตรงกับเดือนมาร์ชในปีมีคริสตศักราช ๑๘๒๑ ได้มีการพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอิศวเรศจุฑามณีอีกครั้งหนึ่ง มีเขาไกรลาสแลการอื่นๆเหมือนกันกับการสองครั้งก่อน

    เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีนั้น ได้ทำราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระราชโอรส ๓ พระธิดา ๑ เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าทั้ง ๔ พระองค์ พระองค์ใหญ่ประสูติในปีชวดอัฐศก ศักราช ๑๑๗๘ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๑๖ พระนามว่าเจ้าฟ้าอาภรณ์ พระองค์ที่ ๒ ประสูติในปีเถาะเอกศก ศักราช ๑๑๘๑ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๑๙ พระนามว่าเจ้าฟ้ามหามาลา พระองค์ที่ ๓ เป็นเจ้าฟ้าหญิงประสูติเมื่อศักราช ๑๑๘๒ สิ้นพระชนม์เสียในวันประสูติ พระองค์ที่ ๔ ประสูติในปีมะเมียจัตวาศก ศักราช ๑๑๘๔ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๑๘๒ พระนามเจ้าฟ้าปิ๋ว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า ๓ พระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ทรงพระราชดำริไว้จะทำการโสกันต์ให้เต็มตามตำราเหมือนกัน ก็แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาโสกันต์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็เสด็จสวรรคตในปีวอกฉศก ศักราช ๑๑๘๖ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๒๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ

    ก็แลในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น ข้างพระบวรราชวังมีการโสกันต์สองครั้ง คือโสกันต์พระองค์เจ้าอิศเรศร์ครั้งหนึ่ง ในเดือน ๔ ปีวอกจัตวาศก ศักราช ๑๑๗๔ ตรงกับเดือนมาร์ช ในปีมีคริสตศักราช ๑๘๑๓ อีกครั้งหนึ่งมีการโสกันต์พระองค์เจ้าน้อยนฤมล ในเดือน ๔ ปีจอฉศก ศักราช ๑๑๗๖ ตรงกับเดือนมาร์ช ในปีมีคริสตศักราช ๑๘๑๕

    ในครั้งหลังมีเขาไกรลาสด้วย แต่ย่อมกว่าในพระบรมมหาราชวัง การที่ทำนั้นก็คล้ายกับการโสกันต์เจ้าฟ้า เพราะทรงนับถือว่าพระองค์เจ้าทั้งสองนั้น ประสูติแต่พระมารดาเป็นธิดาเจ้ากรุงธน แต่เพราะมีเหตุจึงหาได้โปรดให้เป็นเจ้าฟ้าไม่ ว่าด้วยการโสกันต์แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสิ้นเท่านี้

    ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เมื่อปีจออัฐศก ศักราช ๑๑๘๘ มาจนปีชวดสัมฤทธิศก ศักราช ๑๑๙๐ คือเป็นปีมีคริสตศักราช ๑๘๒๖ , ๑๘๒๗ , ๑๘๒๘ นั้น เจ้าอนุเวียงจันทน์คิดขบถบ้านเมืองมีการทัพศึก ไม่เป็นปรกติ พระบรมศพสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ค้างอยู่บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทถึง ๒ ปี ครั้นการพระบรมศพแล้ว พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทชำรุด ต้องรื้อทำใหม่ในปีชวดสัมฤทธิศก พระชนมายุสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าอาภรณ์ถึงกำหนดโสกันต์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการดำรัสว่า บ้านเมืองมีราชการทัพศึกอยู่หาสู้สบายไม่ พระมหาปราสาทก็ต้องรื้อทำใหม่ไม่มีที่ตั้งพระราชพิธีโสกันต์ ทำแต่สังเขปเอาเถิด จึงตั้งพระราชพิธีโสกันต์ที่พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ปราสาทใหม่ ไม่มีเขาไกรลาส แต่การแห่นั้นก็คล้ายกับกระบวนพยุหยาตรา โสกันต์ในวันที่ ๔ แล้วเวลาบ่ายแห่ทรงเครื่องต้น สมโภชเวลาเดียวเป็นเสร็จการโสกันต์สังเขป ครั้งนี้ลงเป็นอย่างแล้ว

    ก็เมื่อโสกันต์สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามหามาลาก็ดี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าปิ๋วก็ดี ศักราช ๑๑๔๓ แลปีมะเมียฉศก ศักราช ๑๑๙๒ มีพระบรมราชโองการดำรัสว่า เมื่อโสกันต์สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าอาภรณ์ ทำเพียงเท่าไรก็ทำเพียงเท่านั้นเถิด ก็มีการแห่เหมือนกัน แต่เปลี่ยนไปโสกันต์ แลสมโภชที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท งาน ๔ วันเลิกเหมือนกัน ก็การ ๓ ครั้งนี้มีคนบ่นซุบซิบอยู่มาก ว่าการเป็นเช่นนั้นเพราะไม่มีเจ้าของ

    ในพระบวรราชวังแผ่นดินนั้นมีการโสกันต์ ๓ ครั้ง แห่เป็นพยุหยาตรา เจ้าที่โสกันต์ ๓ ครั้งก็เป็นแต่ พระองค์เจ้ามิใช่เจ้าฟ้า กรมพระราชวังนั้นมีพระราชบุตรพระองค์ ๑ แต่พระอัครชายาทรงพระนามพระองค์เจ้าดาราวดี เป็นพระราชธิดากรมพระราชวังแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชบุตรพระองค์นี้ตามศักดิ์ที่มีในกฎหมายอย่างธรรมเนียมก็เป็นเจ้าฟ้า แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวหาได้โปรดให้เป็นไม่ เรียกพระนามแต่ว่าพระองค์เจ้าอิศราพงศ์ ๆ นั้นมีพระชนม์ถึงกำหนดโสกันต์กรมพระราชวังสวรรคตก่อน แต่พระองค์เจ้านั้นยังไม่ได้โสกันต์ เมื่อโสกันต์มาโสกันต์ในพระบรมมหาราชวังด้วยพิธี ไม่มีแห่แหนเหมือนพระองค์เจ้าสามัญ ก็มีผู้คนกระซิบกันว่าเป็นอย่างนี้เพราะไม่มีเจ้าของเหมือนกัน

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงรับหม่อมเจ้าหญิงธิดาพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ที่พระบิดาสิ้นพระชนมายุได้ ๗ เดือนมาเลี้ยงไว้ในพระราชวัง โปรดปรานมากยิ่งกว่าพระบุตรพระราชธิดา พระราชทานสุพรรณบัฏเลื่อนที่ให้เป็นพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ทำท่วงทีเหมือนจะให้เป็นเจ้าฟ้า ด้วยเมื่อเวลาเลื่อนหม่อมเจ้าให้เป็นพระองค์เจ้านั้น คล้ายกับเมื่อเลื่อนพระองค์เจ้าหญิงให้เป็นเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ครั้นพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีทรงพระเจริญชนมายุ ถึงกำหนดโสกันต์ในปีมะเมียอัฐศก ศักราช ๑๒๐๘ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๕๖ ให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์เป็นการใหญ่ คล้ายกับโสกันต์เจ้าฟ้า เป็นแต่ไม่มีเขาไกรลาส ปลูกพระเบญจาที่สรงแลพลับพลาเปลื้องเครื่อง บนชลาพระมหาปราสาทแทน การอื่นๆก็เหมือนกันกับเจ้าฟ้าแห่ถึง ๖ วัน เป็นแต่วันที่ ๗ ไม่มีแห่พระเกศา ก็โสกันต์ครั้งนี้อย่าว่าแต่พวกอื่นเลย ถึงพระเจ้าลูกเธอฝ่ายหน้าฝ่ายในของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็บ่นว่า พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีมีบุญมากกว่าพระองค์เจ้าลูกเธอทั้งปวงอีก การโสกันต์ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสิ้นเท่านี้

    ครั้นล่วงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในปีกุนตรีศก ศักราช ๑๒๑๓ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๕๑ จึงพระราชวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงพร้อมใจกันเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติรับพระบรมราชาภิเษกในพระบรมมหาราชวัง แลเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอิศวเรศจุฑามณี ให้รับพระบวรราชาภิเษกในพระบวรราชวัง ตามอย่างยศพระเจ้าแผ่นดิน ๒ พระองค์อย่างแต่ก่อน เพราะเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้า ๒ พระองค์นี้ มีพระบารมีเล่าลือชาปรากฏเป็นที่นับถือของคนใกล้แลไกลเป็นอันมาก ด้วยได้มีการลงสรงแลโสกันต์เป็นการใหญ่ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยถึง ๓ ครั้ง ดังกล่าวมาแล้ว แล้วพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ฝ่ายหน้าฝ่ายในแลท่านเสนาบดีปรึกษาพร้อมกันว่าพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีได้เป็นพระองค์เจ้ามียศใหญ่ ได้มีการโสกันต์อย่างเจ้าฟ้าในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามแลเกียรติยศลือชาปรากฏสมควร จึงได้กราบทูลถวายตั้งเป็นสมเด็จพระนางเธอเป็นเจ้าเป็นใหญ่ข้างใน สมเด็จพระนางเธอพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีทรงพระครรภ์ได้ ๗ เดือน ประชวรลง ประสูติราชโอรสในกำลังประชวร พระราชโอรสนั้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าชาย เรียกพระนามตามพระมารดาว่าเจ้าฟ้าโสมนัส มีพระชนม์อยู่เพียง ๓ นาฬิกาก็สิ้นพระชนม์เพราะพระกำลังอ่อนนัก สมเด็จพระนางเธอนั้นก็ประชวรหนักลง พระอาการหาคลายไม่ สิ้นพระชนม์ภายหลังพระโอรส ๕๐ วัน คือในวันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ำ ปีชวดจัตวาศก ศักราช ๑๒๑๔ ตรงกับวันที่ ๑๐ เดือนออกตอเปอร์ ปีมีคริสตศักราช ๑๘๕๒ ครั้นภายหลังมาพระราชวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ฝ่ายหน้าฝ่ายใน แลเสนาบดีพร้อมใจกันถวายพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ผู้พระธิดาของพระเจ้าลุงของสมเด็จพระนางเธอซึ่งสิ้นพระชนม์แล้วนั้น ให้เป็นสมเด็จพระนางเธอสืบฐานันดรนั้นต่อไป
    สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ประสูติพระราชบุตรใหญ่พระองค์ ๑ ทรงพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ในกลางปีฉลูเบญจศก ศักราช ๑๒๑๕ ตรงกับเดือนเสปเตมเปอร์ คริสตศักราช ๑๘๕๓ แล้วประสูติพระราชธิดาอีกพระองค์ ๑ ทรงพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล ในปีเถาะสัปตศก ศักราช ๑๒๑๗ ตรงกับเดือนแอปริล ในปีมีคริสตศักราช ๑๘๕๕ แล้วประสูติพระราชบุตรอีกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี ในปลายปีมะโรงอัฐศก ศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับเดือนยันนุวารี ปีมีคริสตศักราช ๑๘๕๗ แลประสูติพระราชบุตรอีกพระองค์หนึ่งทรงพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าภานุรังษี ในปลายปีมะแมเอกศก ศักราช ๑๒๒๑ ตรงกับเดือนยันนุวารี ในปีมีคริสตศักราช ๑๘๖๐ สมเด็จพระนางเธอพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์นั้นประชวรพระโรคในพระทรวงมาปีเศษ สิ้นพระชนม์ในเดือน ๑๐ ปีระกาตรีศก ศักราช ๑๒๒๓ ตรงกับเดือนเสปเตมเบอรคริสตศักราช ๑๘๖๒ แล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑลก็สิ้นพระชนม์ลงในเดือน ๖ ปีกุนเบญจศก ๑๒๒๕ ตรงกับเดือนเม คริสตศักราช ๑๘๖๓ ยังคงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า ๓ พระองค์


    ก็ในแผ่นดินปัจจุบันนี้ เมื่อปีชวดจัตวาศก ศักราช ๑๒๑๔ มีการโสกันต์ในพระบวรราชวังครั้งหนึ่ง มีเขาไกรลาส แลการแห่ การละเล่นใหญ่กว่าปรกติแต่ไม่เต็มตำรา การคล้ายกันกับเช่นเคยมีในพระบวรราชวังแต่ก่อนมา ภายหลังแต่ครั้งนั้นมาในพระบวรราชวังเมื่อโสกันต์พระองค์เจ้าคราวใดก็มีการแห่เครื่องสูงกลองชนะทุกครั้ง แต่ทำการนั้นในพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ไม่ได้ทำการใหญ่ ไม่ได้ตั้งเขาไกรลาส แลมีการละเล่นนักดูประชุม ถึงกระนั้นการก็เป็นอย่างลงในการโสกันต์พระองค์เจ้าแผ่นดินปัจจุบันนี้ แต่ในฝ่ายพระบรมราชวัง พระเจ้าลูกเธอที่มีพระชนมายุเจริญจนถึงกำหนดจะโสกันต์ยังหามีไม่ จนถึงปีระกาตรีศก

    ครั้นเมื่อปีระกาตรีศก ศักราช ๑๒๒๓ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๖๒ พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ยิ่งเยาวลักษณ์มีพระชนมายุเจริญถึงกำหนดควรจะโสกันต์ พระราชวงศานุวงศ์แลท่านเสนาบดีกราบทูลพระกรุณา ว่าการพระราชพิธีโสกันต์เป็นการใหญ่เว้นว่างมานานหาได้ทำไม่ ถึง ๕๐ ปีเศษมาแล้ว ผู้ที่ได้เคยเห็นการในครั้งก่อนก็มีน้อยตัวแล้ว ถึงได้เห็นจะจำการก็ไม่ถนัด แต่ผู้ที่ไม่ได้เห็นนั้นมากกว่ามาก ขอพระราชทานให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์เป็นการใหญ่ ในการโสกันต์พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าเป็นปฐม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อจะได้เป็นแบบอย่างต่อไปข้างหน้า ครั้นนั้นจึงได้มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์เป็นการใหญ่ มีกระบวนแห่ แลมีนางเชิญมยุรฉัตร นางเชิญเครื่องนางสระ แลการละเล่นอื่นๆ แต่ไม่มีเขาไกรลาส

    แลได้มีการพระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนามพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพยมหามกุฎ มหาบุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรพงศ์บริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร แทนพระราชพิธีลงสรงแต่ไม่มีพระมณฑปขึ้นแพในที่สรง

    การพระราชพิธีทั้งสองนี้ได้มีในเดือน ๔ปีระกาตรีศก ศักราช ๑๒๒๓ ตรงกับเดือนมาร์ชในปีมีคริสตศักราช ๑๘๖๓ เมื่อการพระราชพิธีโสกันต์ได้มีลงเป็นอย่างดังนี้แล้ว ครั้นมาเมื่อปีจอจัตวาศก พระเจ้าลูกเธอ ๓ พระองค์ คือพระองค์เจ้าหญิงทักษิณชาพระองค์เจ้าโสมาวดี พระองค์เจ้าหญิงประภัศร มีพระชนมายุเจริญถึงกำหนดควรจะโสกันต์ จึงได้โปรดให้มีการแห่โสกันต์เป็นการใหญ่อย่างครั้งก่อนอีกครั้งหนึ่ง ในเดือนยี่ ปีจอจัตวาศก ศักราช ๑๒๒๔ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๖๓

    แลในเดือน ๔ ปีจอจัตวาศกนั้น ในพระบวรราชวังได้มีการโสกันต์พระองค์เจ้าอีกครั้งหนึ่งเป็นการใหญ่ มีการแห่ แลการละเล่น แลเขาไกรลาสน้อย คล้ายกับปีชวดจัตวาศกโน้นแล

    ภายหลังมาเมื่อปีชวดฉศก พระเจ้าลูกเธอ ๒ พระองค์ คือพระองค์เจ้าพักตรพิมลพรรณ์ พระองค์เจ้ามัณยาภาธร มีพระชนมายุเจริญถึงกำหนดควรจะโสกันต์ จึงทรงพระราชดำริว่า ในครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชาธิเบศรมหาราชปราสาททอง ได้มีการโสกันต์พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอิน ณ ที่ประทับเป็นที่ประพาสก็มีหลายตำบล จึงโปรดให้มีการแห่โสกันต์เป็นการใหญ่อย่างครั้งก่อน ที่พระนครคีรี ณ เมืองเพชรบุรี ตามอย่างซึ่งเคยมีในโบราณนั้นอีกครั้งหนึ่ง ในเดือนยี่ ปีชวดฉศก ศักราช ๑๒๒๖ ตรงกับปีมีคริสตศักราช ๑๘๖๔

    เมื่อว่าตามเหตุที่ควร พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าซึ่งมิใช่เจ้าฟ้า ก็ไม่ควรจะมีพระราชพิธีโสกันต์เป็นการใหญ่ แต่ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบวรราชวังได้มีการแห่โสกันต์พระองค์เจ้าเกินธรรมเนียมเก่า ๒ ครั้ง ๓ ครั้งมาแล้ว แลในแผ่นดินปัจจุบันนี้ในพระบวรราชวังก็มีการเกินธรรมเนียมเก่านำหน้าเป็นอย่างมาก่อนถึง ๒ ครั้งแล้ว ฝ่ายในพระบรมมหาราชวังจึงต้องทำตามไป การเป็นทั้งนี้ก็เพราะการโสกันต์เป็นการใหญ่ไม่ได้มีมานานแล้ว ผู้จะใคร่ดูมีมาก แลจะคอยเวลาภายหน้าก็ไม่ไว้ใจการว่าจะเป็นแน่ที่จะได้ดู จึงกราบทูลขอทำขึ้น


    a.jpg
    บัดนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระองค์ใหญ่มีพระชนมายุได้เต็ม ๑๒ ปีแต่ปีประสูติ จึงกำหนดเวลาควรจะมีการพระราชพิธีโสกันต์เป็นการใหญ่ ด้วยได้พระราชทานพระอิสริยยศต่างๆ เสมออย่างพระองค์ในครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทุกประการแล้ว ครั้งนี้จึงควรให้มีการพระราชพิธีโสกันต์เป็นการใหญ่เต็มตามตำรา ซึ่งมีในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๒ ครั้นนั้น เพื่อจะได้เป็นแบบอย่างไปภายหน้า ท่านผู้ที่จ้างเกณฑ์รับราชการใดๆในบัดนี้ จงมีความยินดีคิดฉลองพระเดชพระคุณทุกท่านทุกนายให้เต็มตามกำลังเทอญ

    ฝ่ายชนชาวต่างประเทศที่ไม่รู้เรื่องแต่เดิมมา ขอเสียอย่าบ่นว่าต่างๆ ว่าการครั้งนี้ไม่เป็นคุณประโยชน์อะไรแก่บ้านเมือง ทำให้คนเป็นอันมากป่วยการ เสียเวลาด้วยต้องเกณฑ์มาทำการต่างๆ แลพากันเพลิดเพลินมาดูการละเล่นหลายวันหลายเวลา แลอื่นๆ เพราะการพระราชพิธีโสกันต์เป็นการใหญ่เต็มตามตำราโดยธรรมเนียมในสยามเช่นนี้ เป็นของเคยมีสิบๆมาแต่โบราณ ในแผ่นดินหนึ่งก็ไม่มีมากเคยมีแต่ครั้งหนึ่ง ๒ ครั้งเท่านั้น เมื่อจะตัดเสียจะไม่ให้มีเป็นแบบอย่างแล้ว ท่านผู้ที่รู้ขนบธรรมเนียมโบราณก็จะมีความเสียใจ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนับถือการต่างประเทศมาก มาเลิกละทิ้งการธรรมเนียมโบราณเสียสิ้นง่ายนัก ควรจะต้องรักษาแบบอย่างโบราณราชประเพณีไว้ไม่ให้เสื่อมสูญจึงจะชอบ

    การที่ในการโสกันต์นี้ ท่านทั้งหลายทั้งปวงเป็นอันมากย่อมนำสิ่งของทองเงินมาถวายพระเจ้าลูกเธอที่โสกันต์ เป็นการสมโภชโดยอย่างธรรมเนียมทำต่อๆมา การนั้นท่านเป็นอันมากทำก็โดยชอบพอคุ้นเคยในพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าที่โสกันต์นั้น ตามใจ ในหลวงไม่ได้ขอร้องกะเกณฑ์อะไรดอก ใครพอใจจะถวายก็ถวาย ไม่ถวายก็ได้ไม่มีความผิดอะไร

    ถ้ามีที่ได้ถวายสมโภชพระเจ้าลูกเธอแล้วนั้น มีการโกนจุกบุตรหลานเมื่อใด ให้กราบทูลให้ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จะได้พระราชทานตอบแทนให้มีกำไรบ้างคุ้มทุนบ้าง อย่างการเลื่อนลงแขกลงขันกันข้างนอกตามประเพณีบ้านเมือง เพราะฉะนั้นอย่าให้ผู้ใดๆเข้าใจผิด บ่นพึมพำผิดๆไปในอันใช่เหตุเลยเป็นอันขาดทีเดียว

    ประกาศมา ณ วันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก ศักราช ๑๒๒๗ เป็นวันที่ ๕๓๔๒ ในรัชกาลปัตยุบัน


    อนึ่ง ศัพท์บางคำมิได้พิมพ์ผิดนะเจ้าคะ
    แต่เป็นการสะกดคำในสมัยรัชกาลที่ ๔
    พระราชพิธีโกกัณฑ์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ มีขึ้นในปีฉลู พ.ศ.๒๔๐๘ เจ้าค่ะ


    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2021
  2. แมงปอแก้ว

    แมงปอแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    600
    ค่าพลัง:
    +139
    ขอใหนำเรื่องราวดี ๆๆ มาให้อ่านประดับความรู้อีกนะค่ะ
     
  3. พิชญ์

    พิชญ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +3,392
    พระสยามินทร์โธ มหาเทพเจ้า

    DSCF0394.JPG

    DSCF0402.JPG

    DSCF0404.JPG

    DSCF0423.JPG

    DSCF0517.JPG
     
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ช่วงนี้ ขอเว้นช่วงไว้หน่อยหนึ่ง
    พอดีงานรัดตัว เวลาเลยมีไม่พอที่จะเล่าเรื่องราวต่อ

    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  5. พิชญ์

    พิชญ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +3,392
    ระวัง... งานรัดตัวมากจนไส้กิ่ว ผอมแห้งแรงน้อยนะจ๊ะ...แม่สร้อย.
     
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๒.

    [​IMG]


    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ในเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชวรวัณโรคเรื้อรังมาหลายปีพระอาการทรุดหนักลงเมื่อจวนงานโสกันต์คราวนี้แต่แรกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริจะรองานพระราชพิธีโสกันต์แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทูลขอให้คงงานไว้ด้วยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นหลานเธอซึ่งพระองค์ทรงพระเมตตามากกราบทูลว่าถ้างดงานโสกันต์ไว้ พระองค์จะมิได้มีโอกาสสมโภช

    ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้คงมีงานโสกันต์ตามกำหนดฤกษ์เมื่อถึงวันงาน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ลงมากราบทูลว่าจะเสด็จลงมาจรดพระไกรกรรประทานเองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบอยู่ว่า พระอาการเพียบคงเสด็จมาไม่ได้แต่ก็ต้องดำรัสสั่งให้ทอดที่ราชอาสน์เตรียมไว้ด้วยเกรงพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพอเสร็จงานถึงวันลอยพระเกศา เมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็สวรรคต

    ที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเป็นเหตุสำคัญในเรื่องพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อก่อนเสวยราชย์ด้วยก่อนนั้นมาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จอยู่ในฐานเป็นรัชทายาทถ้าหากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตลงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวคงเสด็จขึ้นครองแผ่นดินโดยไม่มีปัญหาแม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงเตรียมการไว้อย่างนั้นโดยไม่ทรงประมาท

    การที่โปรดให้สร้างพระราชวังนันทอุทยานก็ด้วยทรงพระราชปรารภว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงครองราชสมบัติถ้าพระราชโอรสธิดาของพระองค์คงประทับอยู่ที่ในพระบรมมหาราชวังบางทีจะกีดขวางจึงทรงกะแผนผังพระราชวังนันทอุทยาน ให้สร้างตึกเป็นพระที่นั่งหมู่หนึ่งต่างหากหมายจะพระราชทานให้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระกนิษฐาด้วยกันต่อไปและพื้นที่ต่อออกไปในเขตนันทอุทยานโปรดให้สร้างตำหนักข้างในอีกหลายหมู่หมู่หนึ่งหมายจะพระราชทานให้เป็นที่ประทับของพระเจ้าลูกเธอในเจ้าจอมมารดาคนหนึ่งเตรียมไว้ดังนี้

    การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนฐานะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาอยู่ในที่รัชทายาทด้วยเป็นสมเด็จพระราชโอรสพระองค์ใหญ่เพราะฉะนั้นบรรดาการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำริเตรียมไว้แต่เดิมต้องเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นหมดเมื่อพิเคราะห์ดูตามทางพระราชปฏิบัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งปรากฏสมัยต่อมาดูเหมือนครั้งนั้นความที่ทรงยินดีอันย่อมบังเกิดโดยธรรมดาด้วยสมเด็จพระปิยราชโอรสจะเป็นรัชทายาทจะไล่เลี่ยกับพระปริวิตกที่เกิดขึ้น

    เพราะเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระเยาว์และส่วนพระองค์เองพระชันษากว่า ๖๐ ปี เข้าเขตทรงพระชราแล้วเห็นจะทรงพระราชดำริเป็นยุติมาแต่แรกว่าถ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงรับรัชทายาทได้โดยมั่นคงจึงจะทรงมอบเวนพระราชสมบัติพระราชทานถ้าหากจะไม่ทรงสามารถปกครองแผ่นดินได้มั่นคงไซร้อย่าเพ่อให้ทรงครองราชสมบัติจะดีกว่าแต่ในเวลานั้นยังไม่จำเป็นจะต้องประกาศสถาปนาตำแหน่งรัชทายาทจึงเป็นแต่ทรงเตรียมการต่อมาโดยลำดับ





    [​IMG]




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1190175496.jpg
      1190175496.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.3 KB
      เปิดดู:
      5,071
    • K5871786-44.jpg
      K5871786-44.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.1 KB
      เปิดดู:
      8,894
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๒.
    ทรงผนวชเป็นสามเณร


    a.jpg
    สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ทรงผนวชเป็นสามเณร



    ถึงปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙เป็นกำหนดซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการตามแบบเจ้าฟ้าทรงผนวชเหมือนอย่างครั้งพระองค์ทรงผนวชเป็นสามเณรในรัชกาลที่ ๒ คือ เมื่อวันพุธ เดือน ๘ขึ้น๖ ค่ำ ทำพระราชพิธีสมโภชที่พระที่นั่งอนันตสมาคมและตรงที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับหน้าบายศรีนั้นให้ทำเพดานระบายดอกไม้สดมีเสาตั้ง ๔ เสา ตั้งเครื่องยศ ๒ ข้างและให้เชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไปประดิษฐานบนพระที่นั่งเศวตฉัตรเป็นส่วนพิเศษด้วย

    รุ่งขึ้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๗ ค่ำโปรดให้แต่งพระองค์ทรงเครื่องต้นอย่างขัตติยราชกุมาร ทรงพระชฎาห้ายอดทรงพระยานมาศจากพระที่นั่งอนันตสมาคมออกประตูเทวาพิทักษ์แห่ไปทางถนนเจริญกรุงถนนเฟื่องนคร เลี้ยวกลับทางถนนบำรุงเมือง เข้าประตูสวัสดิโสภาประทับพลับพลาเปลื้องเครื่องหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามผลัดเครื่องทรงและทรงโปรยทานแล้ว เสด็จเข้าในพระอุโบสถ ทรงพระเสลี่ยงกงผูกหาม ๔คน เข้าไปจนกำแพงแก้วแล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจูงพระกรเข้าในพระอุโบสถทรงสักการบูชาพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตแล้ว


    a.jpg
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์


    ทรงบรรพชาตามพระวินัยบัญญัติต่อคณะสงฆ์ ๓๐ รูป มีพระเจ้าบวมวงศ์เธอกรมหมื่นรังษีสุริยพันธุ์(ในรัชสมัย รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ แล้วต่อมาก็โปรดเกล้าถวายสมณุตมาภิเษกเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ ทั้งส่วนทรงรับพระสมณาคมและรับศีล และเริ่มรับนิสัยเป็นครั้งแรกที่จะมีในการบรรพชาสามเณรอนึ่งโปรดให้ยกเพดานระบายดอกไม้สดเมื่อสมโภชนั้นมาตั้งถวายพระสงฆ์ในที่ทรงบรรพชาด้วยครั้นทรงผนวชแล้ว โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแต่งพระองค์อย่างราชกุมารทรงรำกระบี่ กระบอง ง้าว ดาบสองมือ เป็นคู่ๆ กันเป็นการสมโภชที่หน้าพระอุโบสถเจ้านายที่ทรงกระบี่กระบองครั้งนั้น คือ

    คู่ที่ ๑ รำกระบี่ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี (สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระจักรพรรดิพงศ์)
    พระองค์เจ้ากมลาสนเลอสรรค์ (กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร)
    คู่ที่ ๒ รำกระบอง พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล (กรมหลวงพิชิตปรีชากร)
    พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ (กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์)
    คู่ที่ ๓ รำง้าว พระองค์เจ้าศุขสวัสดี (กรมหลวงอดิศรอุดมเดช)
    พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ (กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม)
    คู่ที่ ๔ รำดาบสองมือ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย
    พระองค์เจ้าชุมพลรัชสมโภช (กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์)


    แล้วเสด็จประทับอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีศาสดารามคืนหนึ่งด้วยเย็นวันนั้นมีการฉลองพระสงฆ์ ๓๐ รูปที่นั่งหัตถบาสสวดมนต์ที่ในพระอุโบสถ


    รุ่งขึ้น ณ วันศุกร์ เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ เลี้ยงพระแล้วจึงทรงรถพระที่นั่งกับสมเด็จพระชนกนาถ มีกระบวนแห่ไปส่งเสด็จ ณ วัดบวรนิเวศโปรดให้เสด็จประทับอยู่ที่พระปั้นหยาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จประทับอยู่เมื่อครั้งทรงผนวชทรงรับโอวาทและเล่าเรียนพระธรรมวินัยในสำนักกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ต่อมาและโปรดให้หลวงราชาภิรมย์ (ชู ซึ่งภายหลังได้เป็นพระมหาราชครูมหิธร) เป็นอาจารย์หัดทำนองเทศน์มหาชาติกัณฑ์สักบรรพซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่โดยเฉพาะ

    ครั้น ณ เดือน ๑๑ โปรดให้พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศน์เหมือนอย่างครั้งพระองค์ทรงผนวชเป็นสามเณรถวายเทศน์กัณมัทรีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังเสด็จดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เชิญเสด็จไปเทศน์ที่วังและทรงทำกระจาดใหญ่ถวายบูชากัณฑ์เทศน์กระจาดที่กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสทำครั้งนั้นตั้งที่สนามไชยตรงหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ทำเป็นรูปสำเภาโตเท่าลำสำเภาจริงๆจัดของไทยธรรมอย่างสินค้ำของต่างๆซึ่งเอาออกวางขายบนปากเรือสำเภาเมื่อเข้ามาจากเมืองจีนส่วนผลไม้และเครื่องอาหารแต่งประดับทำเป็นสัตว์น้ำอยู่ตามลูกคลื่นรอบสำเภากระจาดใหญ่ครั้งนี้เป็นการครึกครื้นใหญ่โตมาก มีเทศน์มหาชาติที่พระที่นั่งทรงธรรมเมื่อเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ



    a.jpg

    เมื่อออกพรรษาแล้วเสด็จไปบูชาพระปฐมเจดีย์และครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสเล่าความหลังให้ทรงทราบว่าเมื่อครั้งพระองค์ยังทรงผนวชอยู่นั้นทรงเลื่อมใสในพระปฐมเจดีย์ว่าเป็นพระมหาเจดียสถานเก่าก่อนพระเจดีย์ทั้งหลายในประเทศสยามนี้ได้ถวายพระพรทูลแนะนำแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขอให้ทรงปฏิสังขรณ์แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ไม่ได้เสด็จไปบูชา) มีพระราชดำรัสว่าพระปฐมเจดีย์อยู่ในป่าเปลี่ยว ทรงปฏิสังขรณ์ก็จะไม่มีใครรักษาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงตั้งปฏิญาณแต่เมื่อครั้งนั้นว่าถ้าหากพระองค์ทรงมีกำลังสามารถจะทำได้เมื่อใดจะทรงปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ให้จงได้


    ครั้นเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติจึงทรงปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ตามที่ได้ทรงปฏิญาณไว้ แต่การยังไม่สำเร็จทรงพระวิตกว่า ถ้าหากพระองค์สวรรคตเสียก่อน การก็จะเริดร้างค้างไปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคารพต่อพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถรับจะสนองพระเดชพระคุณในเรื่องปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์จึงโปรดให้เสด็จออกไปปฏิญาณพระองค์ที่พระปฐมเจดีย์เหมือนอย่างพระองค์เองได้เคยปฏิญาณมาแต่หนหลัง (เมื่อมีผู้ศรัทธาพากันขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตบูรณปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ในรัชกาลที่๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทำแต่สิ่งอื่นแต่องค์พระมหาสถูปปฐมเจดีย์นั้น ไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผู้อื่นปฏิสังขรณ์มีพระราชดำรัสว่าเพราะได้ถวายปฏิญาณไว้ จะต้องทำเองจนสำเร็จ)



    a.jpg
    แม่น้ำน่าน หน้าวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร


    ในปีขาลนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือถึงเมืองพิษณุโลกโปรดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังทรงผนวชเป็นสามเณรโดยเสด็จไปในเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชด้วย เสด็จออกจากกรุงเทพฯเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ แรมค่ำ ๑ ในสมัยนั้นลำแม่น้ำทางเมืองเหนือยังกว้างเมื่อขาขึ้นเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจักรข้าง ๒ ปล่อง เป็นเรือไฟขนาดยาว ๓๐ วายังเข้าปากน้ำเกยไชยขึ้นทางลำน้ำเมืองพิจิตรเก่าได้ถึงเมืองพิษณุโลกแต่ขากลับน้ำลดต้องล่องทางคลองเรียง ที่เป็นลำน้ำเมืองพิจิตรทุกวันนี้

    และเมื่อขาเสด็จขึ้นไปนั้นเสด็จประทับทอดพระเนตรวัดโพธิประทับช้างในลำน้ำเมืองพิจิตรเก่าซึ่งเป็นวัดของพระเจ้าเสือทรงสร้างไว้แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยากล่าวกันว่าเพราะเสด็จสมภพ ณ ที่นั่นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นประพาสวัดโพธิประทับช้างอาศัยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสามเณรทรงผ้ากาสาวพัสตร์จึงมีรับสั่งให้ทรงพระราชยานต่างพระองค์และโปรดให้ข้าราชการแห่นำตามเสด็จเหมือนกระบวนเสด็จพระราชดำเนินส่วนพระองค์เองนั้นทรงพระราชดำเนินตามไปโดยลำพังทั้งขาขึ้นขาลง



    a.jpg
    พระอัฐารส


    a.jpg
    พระพุทธชินราช

    และเมื่อสมโภชพระพุทธชินราช ณ เมืองพิษณุโลกนั้น โปรดฯให้ทรงกำกับทหารมหาดเล็กซึ่งเป็นพนักงานการมหรสพด้วย (เหตุที่มหาดเล็กเป็นพนักงานมหรสพสมโภชพระพุทธชินราชเมืองพิษณุโลกนั้นเดิมเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ในรัชกาลที่ ๓เสด็จธุดงค์ขึ้นไปเมืองเหนือ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖ เสด็จไปถึงเมืองพิษณุโลกทรงพระปรารภจะสมโภชพระพุทธชินราชตามราชประเพณีครั้งนั้นเครื่องมหรสพมีแต่ตัวหนังอยู่ที่วัดพระชินราช คนเล่นหามีไม่พวกมหาดเล็กที่โดยเสด็จไปด้วยจึงชวนกันรับเล่นหนังถวายเป็นการมหรสพเมื่อเสด็จไป ครั้งหลังพวกข้าหลวงเดิมที่เคยเล่นหนังเมื่อเสด็จครั้งแรกได้เป็นข้าราชการตามเสด็จไปด้วยหลายคน พากันรับอาสาเข้าเล่นหนังเหมือนหนหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงอนุโมทนาและทรงพระราชดำริว่าเมื่อครั้งแรกพระองค์ทรงผนวชอยู่ได้ทรงอำนวยการครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงผนวช จึงโปรดให้ทรงอำนวยการครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๕เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือเมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๔๔๔ เสด็จไปถึงเมืองพิษณุโลก มีการสมโภชพระพุทธชินราชทรงรำลึกถึงความหลังที่กล่าวมา จึงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา เป็นผู้อำนวยการมหรสพและให้ข้าราชการกรมมหาดเล็ก กรมตำรวจและกรมทหารเรือเล่นหนังในงานมหรสพกรมละคืน) และครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชศรัทธาสร้างวิหารพระเหลือ (หลังนอก) ที่ในวัดพระศรีมหาธาตุและโปรดฯให้ทำศิลาจารึกติดไว้ที่วิหารนั้นยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองครั้งนั้นเสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำโปรดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ต่อมาเพื่อประโยชน์ในการทรงศึกษา จนถึงเดือนยี่ ปีขาลนั้นจึงได้ลาผนวชรวมเวลาทรงผนวชอยู่ ๖เดือน



    .........................................


    [​IMG]
    [​IMG]


    ...........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2021
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๒.


    ในสมัยเมื่อก่อนทรงผนวชเป็นสามเณรนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับอยู่ที่ "พระตำหนักตึก"ข้างในพระบรมมหาราชวัง ถึงเวลาเสด็จออกมาประพาสข้างหน้าย่อมประทับที่โรงช้างเผือกซึ่งสร้างขึ้นไว้ครั้งรัชกาลที่ ๒โรงสุดทางตะวันออก(อยู่ตรงมุขกระสันตะวันออกแห่งพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท)เป็นที่ให้ข้าในกรมและผู้อื่นได้เฝ้าแหนครั้นเมื่อลาผนวชจากสามเณรถึงเวลาจะต้องเสด็จออกมาประทับอยู่ข้างหน้าตามประเพณีราชกุมารที่ทรงเจริญวัย


    [​IMG]
    พระที่นั่งอภิเนาว์นิเวศน์อยู่ใกล้ๆ กับหอนาฬิกา

    ก็ในสมัยนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างพระอภิเนาวนิเวศน์ขึ้นทางด้านตะวันออกพระบรมมหาราชวังและเสด็จประทับอยู่ที่นั้นเป็นปกติมีพระราชประสงค์จะให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ใกล้พระองค์เพื่อจะได้ทรงฝึกหัดราชการได้สะดวก จึงโปรดให้แก้ไขคลังเก่าซึ่งสร้างครั้งรัชกาลที่ ๓ ที่ในสวนกุหลาบแปลงเป็นพระตำหนักที่ประทับแล้วโปรดให้ซื้อบ้านเจ้าพระยาพลเทพ(หลง) เตรียมไว้สำหรับสร้างวังสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระอนุชา ๒พระองค์ด้วย แต่หาทันได้สร้างวังไม่เป็นแต่โปรดให้ข้าในกรมไปปลูกเรือนรักษาอยู่(ที่แห่งนี้อยู่ริมคลองตลาดฝั่งใต้ ปลายถนนอัษฎางค์ต่อถนนจักรเพ็ชร ถึงรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ปลัดอ่ำ ข้าหลวงเดิม ซึ่งได้เป็นพระอินทรเทพแล้วเลื่อนเป็นพระยามหามนตรี และเป็นพระยาพิชัยสงครามเป็นที่สุด สร้างบ้านอยู่จนตลอดอายุ) จนตลอดรัชกาลที่๔

    [​IMG]
    ท่าราชวรดิศ

    ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวลาผนวชมาประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฝึกหัดราชการกวดขันขึ้นคือนอกจากที่เสด็จไปเฝ้าและตามเสด็จโดยปกติเวลากลางคืนถ้าทรงพระราชวินิจฉัยข้อราชการ หรือทรงประพฤติพระราชกรณีย์โดยลำพังก็มีรับสั่งให้หาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเข้าไปปฏิบัติประจำพระองค์ให้ทรงฟังพระบรมราโชวาทและพระบรมราชาธิบายในราชการและราชประเพณีต่างๆ เสมอเฝ้าอยู่จนราวเที่ยงคืนบ้าง บางทีก็ดึกกว่านั้น จึงได้เสด็จกลับออกมายังพระตำหนักนอกจากนั้นมักโปรดให้เป็นผู้เชิญกระแสรับสั่งแจ้งพระราชประสงค์หรือทรงหารือข้อราชการไปยังเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เวลาเช้าต้องทรงเสด็จข้ามไปบ้านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เนืองๆ
    [​IMG]
    เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ หรือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค)



    ถึงปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐ เมื่อพระราชทานเพลิงพระศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลื่อนกรมเจ้านายเนื่องในเหตุที่พระมหาอุปราชสวรรคตตามราชประเพณีเคยมีมาในรัชกาลที่ ๓ (มีเรื่องปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร เจ้าพระยาทิพากรแต่ง ว่าเมื่อกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพสวรรคตนั้น ข้าในกรมของเจ้านายต่างกรมหลายพระองค์เข้าใจว่า เจ้านายของตนจะได้เป็นมหาอุปราช พากันเตรียมตัวจะเป็นขุนนางวังหน้าจนเกิดกิตติศัพท์ขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เมื่อยังเป็นที่พระยาศรีพิพัฒน์ กราบทูลว่าถ้าเช่นนั้นควรโปรดให้เลื่อนกรมเจ้านายให้ปรากฏเสียว่าจะได้เป็นแต่เพียงนั้น ข้าในกรมจะได้ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย จึงได้โปรดให้เลื่อนกรมเจ้านาย แต่เมื่อพิเคราะห์ดูในเรื่องพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ เห็นเมื่อครั้งกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาทสวรรคตในรัชกาลที่ ๑ และเมื่อกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์สวรรคตในรัชกาลที่ ๒ ก็มีการเลื่อนกรมเจ้านายทั้ง ๒ ครั้ง จึงเห็นว่าที่จริงการเลื่อนกรมเจ้านาย เมื่อพระมหาอุปราชทิวงคตนั้น เห็นจะเป็นประเพณีมีมาแล้วแต่ก่อน แต่เผอิญประจวบเหตุเช่นเจ้าพระยาทิพากรวงศ์กล่าวมีขึ้นในรัชกาลที่ ๓ เพราะฉะนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงถือเป็นแบบอย่างต่อมาทั้งในรัชกาลที่ ๔ และที่ ๕) เจ้านายซึ่งโปรดให้เลื่อนกรมครั้งนั้น คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามหามาลา เป็นกรมขุนบำราบปรปักษ์พระองค์ ๑ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ กับพระเจ้าราชวงศ์เธอ กรมหมื่นราชสีหวิกรมเป็นกรมขุนคงพระนามเดิมและโปรดให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนพระยศเป็นกรมขุนด้วย รวมเป็น ๔พระองค์ด้วยกัน

    ครั้งนั้นมีพระราชดำรัสว่า พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ก็มีความชอบสมควรจะได้เลื่อนกรม แต่ตามราชประเพณีพระเจ้าน้องยาเธอจะทรงกรมได้เพียงชั้นกรมหลวงเป็นสูงสุดจึงมิได้โปรดให้เลื่อนกรมหลวงวงศาราชสนิทด้วย (ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อจะโปรดให้เลื่อนกรมสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทั้ง ๒ พระองค์เป็นกรมพระ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า ทรงเทียบตามอย่างพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเลื่อนสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เป็นกรมพระราชวังหลัง)

    ส่วนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนพระนามกรม เป็นกรมขุนพินิตประชานาถด้วยทรงพระราชดำริว่า พระนามกรม กรมมเหศวรศิววิลาส กรมวิษณุนาถนิภาธรพระชันษาไม่ยั่งยืน จะเป็นด้วยพ้องกับนามพระเป็นเจ้าในไสยศาสตร์จึงทรงเปลี่ยนพระนามกรมพิฆเณศวรสุรสังกาศ นั้นเสีย

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งให้เลื่อนกรมเจ้านายครั้งนั้นเสด็จประทับในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อทรงสั่งแล้วมีพระราชดำรัสให้หาเจ้านายทั้ง ๔ พระองค์นั้นเข้าไปเฝ้า ณ ที่รโหฐานตรงหน้าพระแล้วมีพระราชดำรัสว่าจะให้ปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์พระมหามณีรัตนปฏิมากรว่าเจ้านายซึ่งจะเป็นกรมขุน ๔ พระองค์นี้ถ้าใครได้ครองราชสมบัติต่อไปไม่ทรงรังเกียจเลย เจ้านายทั้ง ๓พระองค์ต่างทูลถวายปฏิญาณ ว่ามิทรงได้คิดมักใหญ่ใฝ่สูงตั้งพระราชหฤทัยแต่จะสนองพระเดชพระคุณช่วยทำนุบำรุงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอให้ได้รับราชสมบัติต่อไป


    การพิธีตั้งกรมและเลื่อนกรมเจ้านาย แต่ก่อนมาทำที่วังของเจ้านายเป็นแต่ต้องเสด็จเข้าไปรับพระราชทานพระสุพรรณบัฏที่ในพระบรมมหาราชวัง ถึงรัชกาลที่๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานพระสุพรรณบัฏที่วังเจ้านายการเลื่อนกรมครั้งนี้โปรดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำพิธีที่พระตำหนักสวนกุหลาบ พระสงฆ์สวดพระปริต ณ วันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำรุ่งขึ้น ณ วันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ เป็นวันพระฤกษ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปยังพระตำหนักสวนกุหลาบพระราชทานน้ำสรงมุรธาภิเษกแล้ว อาลักษณ์อ่านประกาศเลื่อนกรมมีคำประกาศดังนี้



    [​IMG]

    ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๑๐พรรษา ลุศักราช ๑๒๒๙ ปัยุบันกาล สัสสังวัจฉรผคุณมาศภาพปักษ์ สัตมีดิถีรวิวารบริเฉทกาลกำหนด

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ ฯลฯพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าชายพระองค์ใหญ่เมื่อเวลาประสูติใหม่ท่านเสนาบดีทั้งปวงได้พร้อมกันกราบทูลขอยกย่องให้เป็นพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าเพื่อจะรักษาแบบอย่างโบราณราชประเพณีไว้ไม่ให้เสื่อมสูญ เพราะฉะนั้นเมื่อปีระกานักระษัตรตรีศก๑๑ได้พระราชทานสุพรรณบัฏจารึกเฉลิมพระนามสมญาว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศ์บริพัตรสิริวัฒนราชวโรรส ดังนี้ และให้เป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามกรมว่าเจ้าฟ้ากรมหมื่นพิฆเณศวรสุรสังกาศ ได้ทรงศักดินา ๔๐๐๐๐ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า บัดนี้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ฯลฯ สิริวัฒนราชวโรรส นั้นทรงพระเจริญวัยวัฒนาการขึ้นได้ราชการต่างๆหลายอย่าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำริพร้อมกับดำริความคิดพระราชวงศานุวงศ์ และท่านเสนาบดีเห็นพร้อมกันให้เลื่อนพระนามกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุน สูงกว่าแต่ก่อนบัดนี้จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่ง ให้เลื่อนพระนามกรมสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชวโรรส ซึ่งแต่ก่อนทรงพระกรุณาโปรดให้เป็นเจ้าฟ้ากรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ นั้น ให้เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนพินิตประชานาถ ทรงศักดินา ๔๐๐๐๐ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าต่างกรม

    ขออาราธนาเทพยดาผู้มีมเหศวรศักดิ์อันประเสริฐ ซึ่งสถิตดำรงอยู่ในภูมิพฤกษอากาศกาญจนรัตนพิมานทั่วทุกแหล่งหล้า เป็นอาทิคือเทพยอันทรงนามสยามเทวาธิราชซึ่งเป็นอธิบดีได้บริรักษ์บำรุงกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุธยานี้และเทพยเจ้าผู้อภิบาลรักษานพปดลมหาเศวตฉัตร สิริรัตนราไชสวริยและเทพยอันรักษารัตนบัลลังก์พระที่นั่งบรมราชอาสน์ใหญ่น้อยในพระราชนิเวศน์บรมมหาสถานทุกตำบล ทั้งเทพยเจ้าอื่นๆ ผู้มีทิพยานุภาพมหิทธิฤทธิศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตในภูมิลำเนาแนวพฤกษบรรพตากาศพิมานทุกสถานทั่วพระราชอาณาจักรบรรดาซึ่งมีไมตรีจิตได้ผดุงบริรักษ์พระบรมราชวงศ์นี้สืบมาจนกาลบัดนี้จงได้ทำนุบำรุงรักษาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นี้ ให้ทรงพระเจริญทฤฆชนมายุพรรณ สุข พล ปฏิภาน ศิริสวัสดิพิพัฒนมงคลเกียรติยศอิสริยยศศักดิ์เดชานุภาพทุกประการ

    ทำราชกาลสนองพระเดชพระคุณโดยสมควรแก่ความเป็นในพระราชตระกูลอันสูงศักดิ์ในพระบรมราชวงศ์นี้ขอให้พระเกียรติคุณอดุลยยศ ปรากฏไปสิ้นกาลนานเทอญ ฯ

    อนึ่งเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีพระอิสริยศเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมพระองค์หนึ่งแล้วดังนี้
    ให้ทรงตั้งเจ้ากรมเป็น ขุนพินิตประชานาถ ถือศักดินา ๘๐๐
    ให้ทรงตั้งปลัดกรมเป็น หมื่นวรราชบุตรารักษ์ ถือศักดินา ๖๐๐
    ให้ทรงตั้งสมุหบัญชีเป็น หมื่นอนุรักษ์พลสังขยา ถือศักดินา ๓๐๐
    ให้ผู้รับตำแหน่งทั้ง ๓ นายนั้นทำราชการฉลองพระเดชพระคุณโดยผาสุขสวัสดิทุกประการเทอญ

    เมื่อได้เลื่อนกรมแล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับตำแหน่งมีหน้าที่ราชการแผ่นดินต่อมาคือทรงบัญชาการกรมมหาดเล็กเหมือนอย่างพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดให้พระองค์เองเมื่อยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ ทรงบัญชาการกรม ๑ ทรงบัญชาการกรมทหารบกวังหน้าซึ่งมาสมทบรับราชการวังหลวงตามประเพณีตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเสด็จสวรรคต กรม ๑ (ทหารบกวังหน้ามีจำนวนประมาณ ๖๐๐ คน ส่วนทหารเรือและเรือรบวังหน้านั้นโปรดฯให้กรมหมื่นบวรวิชัยชาญทรงบัญชาการ) และแต่ก่อนได้โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสทรงบัญชาการกรมล้อมพระราชวัง กับกรมพระคลังมหาสมบัติครั้นกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศสิ้นพระชนม์จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญชาการ ๒ กรมนั้นด้วย



    ............................................

    [​IMG]
    [​IMG]

    .............
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  9. ชิวชิว

    ชิวชิว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +11
  10. janepat2549

    janepat2549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,963
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ขอบคุณครับ
    ความรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยน่าสนใจมากๆๆ
     
  11. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ศุภมัสดุ

    คำ ๆ นี้ ผมชอบมาก ๆๆ ครับ ถ้าจำไม่ผิด

    ศุภมัสดุ แปลว่า ความดีความงามจงมี
     
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๒.
    หยุดไปเสียหลายเพลา วันนี้มาอ่านต่อกันนะเจ้าคะ


    a.jpg
    พระราชวังสราญรมย์

    เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙ นั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ลงมือสร้างพระราชวังสราญรมย์ขึ้นที่ใกล้พระบรมมหาราชวังทางด้านตะวันออกอีกแห่งหนึ่ง ด้วยตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมบูรณ์พระชันษาพอเสร็จกิจทรงผนวชเป็นภิกษุภาวะแล้ว จะทรงมอบเวนราชสมบัติพระราชทานส่วนพระองค์เองนั้นจะเสด็จออกเป็น "พระเจ้าหลวง”(ทรงกำหนดว่า "พระพุทธเจ้าหลวง" ให้ใช้เมื่อเสด็จสวรรคตแล้วแต่ในเวลาเมื่อเสด็จละราชสมบัติ แต่ยังดำรงพระชนม์อยู่ให้ใช้ว่า "พระเจ้าหลวง"ดังนี้) และออกไปประทับอยู่ที่พระราชวังสราญรมย์ทรงช่วยแนะนำกำกับราชการต่อไปจนตลอดพระชนมายุแต่กระแสพระราชดำริข้อนี้หาได้ทรงเปิดเผยไม่ถึงกระนั้นก็ทราบกันอยู่ในบรรดาที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย


    แต่มาถึงสมัยนี้ การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้รับรัชทายาทย่อมเป็นที่เข้าใจและเป็นความนิยมของคนทั้งหลายทั่วไป ตลอดจนชาวต่างประเทศ เป็นแต่บางคนคิดวิตกด้วยเห็นว่า เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มีอำนาจมากยิ่งกว่าใครๆในแผ่นดิน เว้นแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียวเกรงว่าจะไม่ซื่อตรงต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวความวิตกเช่นว่ามานี้มีเรื่องจะยกมาแสดงพอเป็นอุทาหรณ์(เรื่องนี้ พระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสเล่าให้ฟัง) ดังในเวลาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรหนักอยู่นั้นวันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่าใคร่จะกราบบังคมทูลความลับสักเรื่องหนึ่งแล้วตรัสขับบรรดาผู้ที่เฝ้าแหนอยู่ในที่นั้นให้ลงมาเสียจากพระที่นั่งอิศเรศร์ราชานุสรณ์ให้อยู่แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้เชิญพระแสงของสมเด็จพระบรมชนกนาถพระองค์๑ กับกลีบจอมมารดาซึ่งเป็นผู้พยาบาลและเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกคน ๑

    a.jpg
    พระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า)


    a.jpg
    วัดบวรสถานมงคล(วัดในวังหน้า)



    a.jpg
    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

    เมื่อเป็นที่รโหฐานแล้วพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวกราบบังคับทูลว่าพระองค์ก็จะไม่ได้ดำรงพระชนม์อยู่ไปได้กี่วันแล้วจะขอถวายปฏิญาณว่าการที่ได้ทรงสะสมกำลังทหารและเครื่องศัสตราวุธยุทธภัณฑ์ไว้เป็นอันมากนั้นจะคิดร้ายต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่มีเลยแต่ไม่ไว้ใจเจ้าพระศรีสุริยวงศ์เกรงว่าถ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตลงเมื่อใดเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จะกำเริบขึ้น จึงได้เตรียมกำลังไว้ป้องกันพระองค์เมื่อพระองค์สวรรคตแล้วขอให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงระวังต่อไปให้จงดีดังนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานปฏิญาณว่ามิได้เคยทรงระแวงสงสัยในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าจะทรงคิดร้ายต่อพระองค์ แต่เรื่องเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์นั้นหาได้มีพระราชดำรัสตอบประการใดไม่

    นอกจากเรื่องนี้ยังมีข้าราชการรู้กันในพระราชสำนักหลายคนซึ่งไม่ไว้ใจเจ้าพระยาศรีสุริวงศ์คิดเข้ากันเป็นพวกนัยว่าเพื่อจะป้องกันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(เรื่องนี้ก็ได้ทราบโดยมีพระราชดำรัสเล่า) แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงส่งเสริมพวกนี้อันความที่เกิดขึ้นมีผู้ไม่ไว้ใจเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ครั้งนั้นจนถึงชาวต่างประเทศก็ทราบ เซอร์แฮรีออดเจ้าเมืองสิงคโปร์เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยอุปราคาที่ตำบลหว้ากอได้มารู้จักพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและทราบความเรื่องที่จะทรงรับรัชทายาทกล่าวไว้ในจดหมายเหตุดังนี้(จดหมายเหตุของเซอร์แฮรีออดหอพระสมุดฯ ได้แปลเป็นภาษาไทย พิมพ์แล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓คัดมาลงที่นี้แต่เฉพาะเรื่องBlog รัตนโกสินทร์ ๒๒๕ คัดไว้แล้วจดหมายเหตุเสด็จหว้ากอ ปีมะโรงสัมฤทธิศก)


    “สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระชันษาราวสัก ๑๕ ปี เป็นที่เข้าใจกันอยู่ว่าเจ้าฟ้าพระองค์นี้จะเป็นรัชทายาทสืบพระวงศ์ เพราะในเวลานี้ไม่มีพระมหาอุปราชแต่ไม่เป็นการแน่ทีเดียวที่เจ้าฟ้าพระองค์นี้จะได้รับราชสมบัติด้วยตามประเพณีไทยถึงการรับราชสมบัติ ย่อมสืบต่ออยู่ในพระราชวงศ์อันเดียวกันราชสมบัติไม่ได้แก่พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นแน่นอนมีตัวอย่างเช่นครั้งพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน (คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)มีพระราชประสงค์จะให้พระเจ้าลูกเธอได้รับรัชสมบัติ(ข้อนี้ฝรั่งเข้าใจผิด)แต่ตระกูลใหญ่ของผู้สำเร็จราชการทั้งสอง (หมายความว่าพวกสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ)ไม่เห็นชอบตามพระราชประสงค์ ไม่ยกพระเจ้าลูกเธอของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อนขึ้นพร้อมกันถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ (คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)ผู้เป็นรัชทายาทที่แท้แห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถ ก็ได้ทำโดยปราศจากเหตุการณ์ (สังเกตดู)สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์พระองค์นี้ฉลาดหลักแหลมถ้าคิดดูโดยพระชนมายุเพียงเท่านั้นพระรูปอยู่ข้างสูงและพระกิริยาอัธยาศัยก็เป็นผู้ใหญ่”


    a.jpg
    พระเจ้านโปเลียนที่ ๓
    ฝ่ายฝรั่งเศสก็เห็นเข้าใจอย่างเดียวกัน พระเจ้าเอมปเรอนโปเลียนที่ ๓จึงถือเอาเป็นโอกาสที่จะบำรุงทางพระราชไมตรีให้สนิทยิ่งขึ้นให้แสงพระแสงกระบี่ขึ้น ๒ องค์ ส่งมาถวายเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐พระแสงองค์ใหญ่จารึกอักษรว่า "ของเอมปเรอฯฝรั่งเศสถวายพระเจ้าแผ่นดินสยาม"พระแสงกระบี่องค์น้อยจารึกอักษรว่า "ของพระยุพราชกุมารฝรั่งเศสถวายพระยุพราชกุมารสยาม" ดังนี้(การที่เอมปเรอนโปเลียนประทานพระแสงกระบี่ก็มีผลดีอยู่บ้างจะพึงเห็นได้ในคำพระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์กราบบังคมทูลฯพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต)

    และต่อมาในปีเถาะนั้น เอมปเรอนโปเลียนที่ ๓ ทรงตั้งให้มองสิเออร์ แบลกัวล์เป็นราชทูตพิเศษเข้ามาแลดกเปลี่ยนหนังสือสัญญาซึ่งพระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์ได้ไปทำที่นครปารีสเมื่อราชทูตเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้วบอกกรมท่าว่าจะขอไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแทนที่ทูตเคยเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมาแต่หนหลังก็โปรดให้เฝ้าตามประสงค์จึงเกิดปัญหาเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จลงไปเยี่ยมตอบพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เสด็จลงไปด้วยกันกับกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ (เจ้าพระยาทิพากรวงศ์กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเอาแบบอย่างครั้งนายพลเรีอกิงฮอลแม่ทัพเรืออังกฤษเข้ามาเฝ้า เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๕ครั้งนั้นได้โปรดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสเสด็จลงไปเยี่ยมตอบ (ข้าพเจ้าสันนิษฐานต่อไปว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็คงโปรดให้กรมหมื่นบวรวิชัยชาญเป็นผู้ลงไปเยี่ยมตอบ) แต่ลักษณะการผิดกับครั้งเยี่ยมตอบราชทูตฝรั่งเศสด้วยเมื่อครั้งก่อนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระชันษาได้เพียง ๙ ขวบฐานะของกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสเป็นอย่างผู้กำกับเยี่ยมตอบครั้งหลังทรงพระเจริญแล้วต้องหาผู้กำกับไม่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้กรมหมื่นบวรวิชัยชาญเสด็จไปด้วยคงเป็นด้วยเหตุอื่น)

    ครั้นเมื่อเสร็จการเยี่ยมตอบแล้ว ราชทูตฝรั่งเศสมาพูดกับเสนาบดีว่ามีความเสียดายที่รู้ตัวเร็วไปไม่มีเวลาพอจะจัดการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สมแก่พระเกียรติยศขอเชิญเสด็จไปทอดพระเนตรเรือรบแต่พระองค์เดียวอีกครั้งหนึ่งพอจะได้มีโอกาสจัดการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามประสงค์

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จลงไปครั้งหลัง เมื่อ ณ วันพุธเดือนอ้าย ขึ้นค่ำ ๑ ราชทูตฝรั่งเศสจัดการรับเสด็จอย่างเต็มยศใหญ่ชักธงบริวารและให้ทหารขึ้นยืนประจำเสาเรือรบ แล้วยิงสลุตตามพระเกียรติยศรัชทายาททุกประการอาศัยเหตุที่ราชทูตฝรั่งเศสแสดงความเคารพโดยพิเศษครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวลงพระนามและประทับพระลัญจกรในหนังสือสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนสัญญาด้วยกันกับกรมหลวงวงศาธิราชสนิทสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนบำราบปรปักษ์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์และเจ้าพระยาภูธราภัย



    ...............................


    [​IMG]


    ....................

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2021
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๒.



    [​IMG]

    พึงเห็นได้ว่าพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจริญขึ้นตามทางพระราชประสงค์แห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นอันดับมาจนไม่มีผู้ใดจะคิดเห็นว่าผู้อื่นจะเป็นรัชทายาท ถึงกระนั้นก็ดีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้สิ้นทรงพระปริวิตกเพราะเหตุซึ่งต้องทรงพระปริวิตกมีอยู่ คือถ้าหากพระองค์สวรรคตลงก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระชันษาสมบูรณ์ถึงจะได้ทรงรับรัชทายาท ก็จะต้องมีผู้อื่นว่าราชการแผ่นดินแทนพระองค์การอันนี้ยังมิได้เคยมีแบบอย่างในกรุงรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในเรื่องพระราชพงศาวดารครองกรุงศรีอยุธยาเคยมีพระเจ้าแผ่นดินทรงพระเยาว์ต้องมีผู้ว่าราชการแทน ๕ ครั้งพระเจ้าแผ่นดินก็ถูกปลงพระชนม์บ้าง ถูกกำจัดจากราชสมบัติบ้างไม่เคยอยู่ได้ยั่งยืนเลยสักพระองค์เดียว

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงประมาทต่อเหตุการณ์ได้ทรงพระราชดำริป้องกันด้วยพระบรมราโชบายอันสุขุมคัมภีรภาพด้วยครั้งนั้นรู้อยู่เป็นแน่ว่าถ้าหากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตลงในเวลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังหย่อนพระชันษามีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์คนเดียว ที่สามารถจะเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเพราะเหตุนี้ถึงมีใครๆ กราบบังคมทูลฯ แสดงความรังเกียจ ก็ไม่ทรงนำพากับทรงปรึกษาหารือกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ตามตรงให้ช่วยคิดอ่านรักษาความเป็นอิสระของประเทศในเมื่อเหตุการณ์เช่นนั้นหากจะเกิดขึ้นและได้ทรงไต่ถามทราบความคิดของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์อยู่แล้วทุกประการ เพราะฉะนั้นเมื่อใกล้จะเสด็จสวรรคตบางคราวพระราชหฤทัยหวนห่วงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดเคลือบแคลงก็ดำรัสถามว่ายังเสด็จดำรงพระชนม์อยู่หรือครั้นทรงทราบว่ายังเสด็จอยู่ ก็ห่วงต่อไปถึงการจะทรงรับรัชทายาท เกรงจะไม่มั่นคงดังมีพระราชดำรัสแก่พระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์ ในที่สุดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระราชวงศ์และเสนาบดีปรึกษาพร้อมกันแล้วแต่จะเลือกเจ้านายพระองค์ใดให้รับราชสมบัติ

    เมื่อคิดวินิจฉัยดูว่า เหตุใดจึงโปรดให้เลือกรัชทายาทและมิได้ทรงมอบเวนราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเห็นว่าน่าจะเป็นด้วยทรงพระราชดำริเป็น ๒ อย่าง คือ ประการที่ ๑ ทรงพระราชดำริว่าความมั่นคงของประเทศสยามสำคัญยิ่งกว่าเพียงพระองค์จะได้ความพอพระราชหฤทัยเพราะพระราชปิโยรสได้รับรัชทายาท ประการที่ ๒ถ้าหากให้พระราชวงศ์กับเสนาบดีพร้อมใจกันถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งน่าจะทรงเชื่ออยู่ว่าคงจะเป็นอย่างนั้นยิ่งกว่าอย่างอื่น)ทั้งพระราชวงศ์และเสนาบดีมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์โดยเฉพาะจะได้รู้สึกเป็นหน้าที่และรับความผิดชอบที่จะต้องช่วยกันอุปถัมภ์บำรุงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยเต็มกำลังเพราะได้พร้อมกันเลือกสรรเองดังนี้

    และการที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เลือกรัชทายาทนั้นก็ไม่ผิดราชประเพณีซึ่งเคยมีมา ตั้งแต่เมื่อจะสิ้นรัชกาลที่ ๒พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระอาการประชวรไม่สามารถจะตรัสสั่งมอบเวนราชสมบัติพระราชวงศ์กับเสนาบดีก็ได้ปรึกษาพร้อมกันถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมาครั้ง ๑มาถึงเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรใกล้จะเสด็จสวรรคตก็มีพระราชดำรัสสั่งแก่พระราชวงศ์และเสนาบดีว่าแล้วแต่จะพร้อมกันถวายแก่พระราชวงศ์พระองค์ใดจึงได้ปรึกษาพร้อมกันถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ นับเป็นครั้งที่๒ (เหตุที่ถวายราชสมบัติพร้อมกันสองพระองค์ อันไม่เคยมีเยี่ยงอย่างในพงศาวดารเจ้าพระยาภาณุวงศ์ได้เล่าว่า เดิมเสนาบดีมีบิดาท่านคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาพระคลังที่สมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้าได้ปรึกษากันจะถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่พระองค์เดียวครั้นเมื่อไปกราบทูลให้ทรงทราบดำรัสว่าขอให้ถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยอีกพระองค์ ๑เพราะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นพระชะตาแรงนักตามตำราว่าคงจะต้องได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินถ้าถวายราชสมบัติแต่พระองค์เดียวเกรงจะเสด็จอยู่ไม่ได้ยั่งยืนด้วยไม่สามารถทนแรงพระชะตาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ไปทูลความแก่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านไปด้วยได้ยินกราบทูลอธิบายดังกล่าวมา)จึงทรงพระราชดำริเห็นว่า ที่โปรดให้เลือกรัชทายาทนั้นไม่เป็นการแปลกประหลาดหรือฝ่าฝืนราชประเพณีอย่างหนึ่งอย่างใด


    [​IMG]
    ท่าราชวรดิฐ

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอประทับที่พระตำหนักสวนกุหลาบนั้นมีแพเป็นที่เสด็จประพาส (แพหลังนี้เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วเรียกว่า "แพข้าหลวงเดิม"สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าฯกรมพระจักรพรรดิพงศ์ทรงรับไปรักษาไว้ที่หน้าพระราชวังเดิมอยู่ที่นั่นจนสิ้นพระชนม์ ต่อมาภายหลังเมื่อสร้างท่าวาสุกรีแล้วโปรดฯให้ถอยไปจอดไว้ที่ท่าวาสุกรี ยังจอดอยู่ที่นั่นจนทุกวันนี้) จอดไว้ที่ข้างใต้ท่าราชวรดิตถ์หลังหนึ่งด้วยในสมัยนั้นในกรุงเทพฯ ยังมีถนนใช้รถได้ไม่กี่สายที่สโมสรของผู้ดียังอยู่ทางแม่น้ำและมักชอบเที่ยวเตร่ทางเรือตามแบบโบราณผู้มีบรรดาศักดิ์มักมีแพเป็นที่พักและที่พบปะมิตรสหายแต่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบในสมัยนั้นก็เป็นที่ประชุมของเจ้านายและข้าราชการชั้นหนุ่มๆ คล้ายกับเป็นสโมสรสถานอันหนึ่งด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชอัธยาศัยโอบอ้อมอารีโปรดการสมาคมกับผู้อื่นมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว


    [​IMG]
    พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๔

    บรรดาพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประสูติภายหลังสมเด็จพระบรมชนกนาถเสวยราชย์ล้วนเคยรักใคร่นับถือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นหัวหน้ามาตั้งแต่ทรงจำความได้ทุกพระองค์พอพ้นเวลาเฝ้าสมเด็จพระบรมชนกนาถต่างก็ติดตามออกไปเฝ้าแหนเล่นหัวและโดยเสด็จประพาสไม่ขาด ส่วนเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เช่นสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนบำราบปรปักษ์เป็นต้น ก็โปรดเสด็จไปที่พระตำหนักสวนกุหลาบด้วยชอบพระอัธยาศัยกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม้หม่อมเจ้าต่างกรมทั้งชั้นผู้ใหญ่และชั้นที่ยังเยาว์ก็มีไปเฝ้าไม่ขาดแต่ข้าราชการที่หมั่นไปสวนกุหลาบนั้นมักเป็นพวกข้าราชการในพระราชสำนักเป็นพื้น


    ..............................

    [​IMG]
    [​IMG]

    .........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1198250816.jpg
      1198250816.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.1 KB
      เปิดดู:
      6,076
    • K4197259-15.jpg
      K4197259-15.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.4 KB
      เปิดดู:
      4,593
    • 1207618985.jpg
      1207618985.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.3 KB
      เปิดดู:
      4,957
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ขอบคุณเจ้าค่ะ ที่ติดตามอ่าน...
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๓.
    [​IMG]

    สุริยุปราคาและดาวหาง


    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดการเรียนรู้ด้วยพระองค์เองมาตลอดพระชนม์ชีพ บางทีจะด้วยเหตุนี้ที่นำพระองค์เสด็จสู่สวรรคต แม้ว่าพระองค์จะเสด็จสวรรคตเพราะเหตุอื่น แต่ก็เกี่ยวกับที่เกิดอุบัติขึ้นเพราะวิชาดาราศาสตร์


    ด้วยวิชาคณิตศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็สามารถคำนวณการเดินทางของดวงดาวใน สุริยจักรวาลได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งที่พระองค์มิได้ทรงศึกษาวิชาดาราศาสตร์นี้มาจากใครคนใดคนหนึ่งเลย เป็นด้วยการเรียนด้วยของพระองค์เองโดยอาศัยจากตำรา และการเสวนากับนักบวชที่มีความรู้ทางคำนวณทางดาราศาสตร์



    ในเดือนสิงหาคม พระองค์ก็สามารถคำนวณได้ว่าจะเกิดสุริยุปราคาขึ้นในกรุงสยาม นับเป็นครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่ง เพราะทุกครั้งที่เคยเกิดขึ้นนั้นกินระยะเวลาสั้น แต่ครั้งนี้พระองค์คำนวณว่าจะเกิดขึ้นนานถึง ๖ นาที ๔๖ วินาที ด้วยข่าวนี้เอง คณะสำรวจดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศสได้เลือกเอาประเทศสยามเป็นจุดเกิดสุริยุปราคา ซึ่งจะมีระยะเวลานานอย่างน่าตื่นเต้นครั้งหนึ่ง


    ความตื่นเต้นในการเกิดสุริยุปราคาครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ถือมีความสำคัญอย่างยิ่งครั้งหนึ่งในพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้ใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์คำนวณ พระองค์ทรงทราบดีว่า การเกิดสุริยุปราคาไม่ว่าครั้งใด ล้วนจะเกิดความตระหนกตกใจขึ้นแก่ประชาชนพลเมืองเพราะประชาชนเชื่อกันมาแต่ไหนแต่ไรว่า สุริยุปราคาเกิดขึ้นเพราะราหูอมจันทร์ ความเชื่อถือของชาวบ้านแต่โบราณที่ปฏิบัติกันมา เมื่อเวลาที่ราหูอมจันทร์ชาวบ้านจะพากันตีปี๊ป หรือตีกลอง เพื่อให้ราหูตกใจจะได้คายพระจันทร์ออก ขณะเดียวดัน ทุกครั้งที่มีปรากฏการณ์ ประชาชนจะพากันตระหนกตกใจ แล้วก็มีพวกที่ทำมาหากินทางทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยวิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวกับความชั่วร้ายเมื่อเกิดสุริยุปราคา


    ดังนั้นทุกครั้งที่เกิดการณ์ทางธรรมชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะออกประกาศเตือนให้ประชาชนระมัดระวังพวกมาหากินทางหลอกลวง และทำความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องเกิดสุริยุปราคาหรือเรื่องดาวหาง พระองค์ทรงตรัสว่าการเกิดสุริยุปราคาและดาวหางเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ดั่งปรากฏการณ์ของดาวหางและสุริยุปราคา ที่คัดมา ดังนี้




    [​IMG]

    ประกาศดาวหางขึ้นอย่าให้วิตก
    (ณ วันอาทิตย์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิ์ศก)


    มีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศให้รู้ทั่วกันว่า วันเสาร์ เดือนสิบ แรมสิบค่ำ นายจบคชศิลปะทรงบาศขวาได้เห็นดาวดวงนี้ ครั้นวันพฤหัส เดือนสิบ แรมสิบห้าค่ำ เจ้านายและข้าราชการจึงได้เห็นด้วยกันมากในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทอดพระเนตรแล้ว ทรงดำรัสว่า ได้เคยมีมาในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อปีมะเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ ได้ ๔๘ ปีมาแล้ว คราวนั้นก็มาในเดือนสิบเอ็ดในทิศนี้ ในราศีและฤดูกาลเวลาเช่นนี้ ก็ไม่มีเหตุอะไรนัก มีแต่ความไข้ทรพิษและกระบือล้มมากแลฝนแล้ง แล้วก็ได้เศวตกุญชรมาในปีมะแมตรีศกนั้น ถึงคนมีอายุมากก็ได้เห็นแล้วแต่ไม่ได้สังเกตก็จำไม่ได้ อายุน้อยก็ไม่ได้เคยเห็น ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางจำได้แน่แลพระยาโหราธิบดีก็จำได้ แต่ชาวประเทศยุโรปได้เห็นในประเทศยุโรปนานหลายเดือนแล้ว ได้ลงในหนังสือพิมพ์ตั้งแต่เดือนหกเดือนมา แลดาวอย่างนี้มีคติแลทางที่ดำเนินยาวไปในท้องฟ้าไม่เหมือนดาวพระเคราะห์อื่นแลดาวพระเคราะห์ทั้งปวงเป็นของสัญจรไปนานหลายปีแล้วก็กลับมาให้เห็นในประเทศข้างนี้อีก เพราะเหตุนี้อย่าให้ราษฎรทั้งปวงตื่นเต้นกันแลคิดวิตกเล่าลือไปต่างๆ ด้วยว่าใช่ว่าจะได้เห็นในพระนครนี้แลเมืองที่ใกล้เคียงเท่านั้นหามิได้ ย่อมได้เห็นทุกบ้านทุกเมือง ทั่วภิภพอย่างได้เห็นนี้แล



    ประกาศมา ณ วันอาทิตย์ เดือนสิบเอ็ด ขึ้นสิบค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิ์ศก เป็นวันที่ ๒๗๑๓ ในรัชกาลปัจจุบันนี้

    (คัดมาจากประกาศฉบับที่ ๑๕๒ พ.ศ.๒๔๐๑ และดาวหางในประกาศคือ ดาวหางโดนาติ)



    [​IMG]
    ประกาศดาวหางปีระกาตรีศก
    (ณ วันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีระกาตรีศก)

    มีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้ประกาศแก่ราษฎรผู้ใหญ่ผู้น้อย และราษฎรไทยจีนทั้งปวงให้ทราบทั่วกันว่า ในปีระกาตรีศกนี้จะมีดาวหางมาคล้ายกับปีมะเมียสัมฤทธิ์ศกแต่การคำนวณดาวหางนี้ จะทราบรายละเอียดว่าจะมาวันไร จะอยู่เท่าไรยังคำนวณไม่ถูกเป็นแน่แท้ เมื่อจดหมายสงกรานต์จะใส่ก็ไม่ทัน เพราะคำนวณจะเอาเป็นแน่ยังไม่ได้ ของอย่างนี้ก็ว่าจะรู้ได้โดยคำนวณล่วงหน้า แต่ว่าลางสิ่งก็ได้ละเอียดดังสุริยอุปราคา และจันทรอุปราคา ลางสิ่งก็เป็นแต่รู้ได้ว่าจะเห็นจะมี เพราะฉะนั้นถ้าใครเห็นอย่าให้ตกใจว่ากระไรวุ่นวายไป วิสัยของแปลกประหลาดในอากาศมีมาถ้าจะมีโทษก็เคยเห็นให้เกิดเหตุสองอย่าง ให้ฝนแล้งในฤดูฝนหรือจะให้ฝนตกมากเกินปกติไปอย่างหนึ่ง จะให้เกิดความไข้ต่างๆ แก่คนหรือช้างม้าโคกระบืออย่างหนึ่ง เหมือนอย่างเช่นดาวหางซึ่งมีมาเมื่อปลายปีมะเมียสัมฤทธิ์ศกนั้น ก็เกิดเหตุกระบือตายมากอย่างหนึ่งแล้ว ในฤดูฝนปีมะแมฝนก็แล้ง ครั้นปลายปีมะแม แลต้นปีวอกก็มีความไข้ลงราก ก็ถ้ากลัวแต่เหตุอย่างนี้ ก็ให้เตรียมตัวต่อสู้อย่างนี้คือว่ากลัวฝนแล้งเมื่อฝนยังมีอยู่ให้รีบทำนาเสีย ทำข้าวไร่ ข้าวหางม้า ข้าวสามเดือนทันสารทไปตามได้ตามมีที่ไม่ได้ทำนา มีพี่น้องบุตรภรรยาบ่าวไพร่มาก ก็ให้จัดซื้อข้าวเก็บเตรียมไว้ ให้พอกิน อย่าตื่นขายเสียนัก ถ้ากลัวความไข้ว่าเกลือกฝีดาษจะชุม ตัวใครแลบุตรหลานใครยังไม่ได้ออกฝีดาษก็ให้รีบพามาปลูกฝีดาษที่โรงทานนอกก็ดี โรงหมอท่าพรก็ดี ศาลาวัดสุทัศน์เทพวรารามก็ดี เสียโดยเร็วอย่าให้ทันฝีดาษมีมา ถ้ากลัวว่าไข้ลงรากจะมีมาก็ให้ขัดตัวปฏิบัติเสียให้สะอาดๆ อย่าทำให้สกปรกโสมมตามเคยตัวนัก หาที่หลับที่นอนที่สะอาดใช้ หาเครื่องซึ่งเป็นเครื่องกำจัดกลิ่นร้าย คือกำยานการบูรเตรียมไว้ เมื่อความไข้มีมาสุมรมเหญ้าเรือน ผ้านุ่งผ้าห่มเสียให้กำจัดพิษอากาศที่ร้ายกระจายไป แลหายาที่เคยเชื่อถือเตรียมไว้ใกล้ๆ เผื่อขุกค่ำคืนจะได้ใช้แก้ไข้ทัน น้ำละลายการบูรกินกันทาตัวกัน ถ้ากลัวไข้จับสั่นก็หาน้ำการบูรไว้ ปวดหัวตัวร้อนเล็กน้อย ก็ให้กินน้ำการบูรและเอาน้ำการบูรทาฝ่ามือฝ่าเท้าเสียเล็กน้อยก่อน อย่าปล่อยให้เป็นมากไป หรือใครรู้เห็นยาอะไรว่าดีก็หาไว้ หรือแรกจะเป็นเมื่อยขบเท้าเย็นปวดศีรษะเล็กน้อย ก็อย่าเชื่อหมอว่าลมว่าเส้นไป อย่าเพ่อกินร้อนเข้าไป อย่ากินอาหารที่หวามที่มันมากนักรีบรุถ่ายเสียด้วยดีเกลือ อย่าใช้ยาสลอดให้แสลงไข้ไป พื้นปากพื้นใจของหมอพอใจพูดแต่ว่าลมเอายาร้อนแก้ อนึ่งบ้านเมืองมีไข้เจ็บซึ่งเป็นเหตุให้คนตายอย่างไรจะมากเมื่อไร ให้รอยนะวังสืบที่ป่าช้าที่มีศพไปเผามากๆ อยู่ทุกวันเนืองๆ จะได้ความจริง


    พระเจ้าแผ่นดินคนทั้งปวงยกย่องไว้เป็นที่พึ่ง ใครมีทุกข์ร้อนถ้อยความประการใดก็ย่อมมาร้องให้ช่วย ดังหนึ่งทารกเมื่อมีเหตุแล้วก็มาร้องหาบิดามารดา เพราะฉะนั้นพระเจ้าแผ่นดินชื่อว่าคนทั้งปวงยกย่องให้เป็นบิดามารดาแก่บุตรจริงๆ โดยสุจริต จึงกล่าวสั่งสอนมาให้รักษาตัวรักษาชีวิตในเหตุที่น่ากลัวจะเป็น แลมีตัวอย่างเคยเป็นแต่ฝ่ายราษฎรไทยจีนเป็นอันมากทั้งปวงนี้เป็นคนถือผีถือสางถือมดถือหมอดู คนกลัวอะไรมากอยากอะไรมากคนทรงผีแลหมอดูก็พอใจเอาสิ่งนั้นมายุแยงให้คนตื่นไปต่างๆ เมื่อเห็นดาวหางครั้งก่นมีมาก็พอใจลือกันว่าเจ้านายจะตาย นายจะล้ม ผู้มีบุญจะมา บ้านเมืองจะเป็นจลาจล ผุคนเกิดรบพุ่งกันพอใจว่าดังนี้ จนตื่นกันไปเปล่าๆ เป็นนักเป็นหนาเหมือนอย่างครั้งปีมะเมียสัมฤทธิ์ศกนั้น เหตุเช่นนั้นก็ไม่ได้เป็นได้มีเลย เราเคยจับปดคนทรงผีแลหมอดูได้แล้วไม่ใช่หรือ


    เมื่อพิเคราะห์ใคร่ครวญดูโดยเหตุดาวหางเป็นของมาบนฟ้า เมื่อจะให้โทษให้คุณอย่างไร ก็จะให้โทษให้คุณแก่สัตว์แก่คนที่อยู่ใต้ฟ้าเพรื่อไป ผู้ใดปฏิบัติตัวไม่ดีไม่มียาที่จะแก้ป้องกันกินทาซึมซาบอยู่กับกายเป็นผู้ไม่สบายมีโรคภัยเล็กน้อยที่เป็นช่องจะให้พิษเช่นนั้นแล่นเข้าไปในกายให้เกิดเจ็บไข้ได้ความไข้ก็ต้องแก่ผู้นั้นไม่เลือกหน้าว่าใคร ก็ดาวหางมาบนฟ้าโกรธขึงหึงษาพยาบาทอาฆาตแค้นอะไรอยู่กับเจ้านายมาแล้วจะได้มาตรงใส่เอาเจ้านายทีเดียว ไม่เห็นจริงด้วย


    ซึ่งผู้คนจะรบพุ่งกันนั้น จะมีเหตุก็เพราะคนที่เป็นต้นเหตุก่อให้เกิดความเหมือนอย่างเจ้าเวียตนามฝรั่งมาขอทำสัญญาไมตรีดีๆ เหมือนอย่างเช่นมาทำกับเมืองไทยก็ไม่ยอมรับไม่ย่อมทำทุ่มเถียง เกะกะไปจึงก่อเหตุให้รบกันกับฝรั่ง ถ้าจะรับทำสัญญาเสียดีๆ เหมือนอย่างเมืองไทยทำแล้วก็มิสบายอยู่อย่างเมืองไทยหรือ เพราะฉะนั้นเห็นว่าซึ่งผู้คนจะรบกันนั้น ก็เพราะเป็นคนด้วยกันก่อเหตุขึ้นเอง ดาวหางไม่ได้มายุให้ใครรบกัน ถ้าราษฎรตื่นเล่าลือกันไปเช่นนั้น คนสิ้นคิดลางคนเป็นพาลอยากจะให้การที่ตัวประสงค์เป็นสมใจพลอยก่อเหตุต่อไปเหมือนอย่างเมื่อปีมะเมียสัมฤทธิ์ศก มีอ้ายมีชื่อคนหนึ่งมีหนี้อยู่มากแลเป็นทาสท่านผู้อื่นอยู่ เมื่อรู้ว่าราษฎรแตกตื่นเล่าลือกันต่างๆ ไปเป็นอันมาก ก็อยากจะให้เป็นความจริงดังว่า ด้วยเข้าใจว่าบ้านแตกเมืองแตกแล้ว คนทั้งปวงก็จะพลัดกันไปหมดจะได้พ้นหนี้พ้นทาสทานผู้อื่น นั่งคอยนอนคอยจะให้เหตุบังเกิดมี เมื่อเหตุไม่มีมาสมความปรารถนาไม่ได้ ก็เอาไฟไปเที่ยวลอบจุดบ้านเรือนโรง ด้วยคิดว่าเมื่อไฟเกิดขึ้นแล้วคนที่เตรียมจะตื่นก็จะได้ตื่นไปเป็นเหตุขึ้น ให้สมดังราษฎรลือ อ้ายมีชื่อผู้นั้นเอาไฟไปจุดติดขึ้นที่ถนนสี่กั๊กเสาชิงช้า กองตระเวนจับได้พิจารณาเป็นสัตย์ท่านเสนาบดีที่ปรึกษาให้เอาไปประหารชีวิตเสีย เพราะฉะนั้นครั้งนี้เห็นดาวหางอย่าพากันตื่นเล่าลือเช่นนั้นไป เกลือกจะเป็นเหตุให้อ้ายคนพาลเช่นนั้นทิ้งฟืนทิ้งไฟ หรืออ้ายผู้ร้ายบางพวกอยากปล้นเหย้าปล้นเรือนเมื่อเห็นว่าใจราษฎรไม่สโมสรคิดฟันเฟือนคิดครั้นคร้ามไปต่างๆ จะไม่ใครช่วยกันแล้วก็จะควบคุมเป็นพวกกันปล้นเหย้าปล้นเรือนที่เปลี่ยว ก่อเหตุต่างๆ เพราะฉะนั้นขอให้ช่วยกันแล้วก็ขอให้ข้าราชการแลราษฎรทั้งปวงรักษาตัวรักษาใจรักษาเหย้ารักษาเรือนและทรัพย์สมบัติอยู่โดยปกติ อย่าเชื่อมดถ่อหมอดูคนทรงผีว่าอย่างนี้อย่างนั้น เพราะดาวหางที่จะเกิดขึ้นในปีนี้นั้นเลย ดาวหางจะมีมาปีไรมนุษย์ที่มีความรู้เขาคำนวณดูรู้เรียกก่อนแล้ว เหมือนกับทายสุริยอุปราคา จันทรอุปราคาก็มีวิชานี้หมอดูที่เที่ยวหากินอยู่ก็ดี คนทรงผีก็ดีไม่รู้ ทายสุริยทายจันทร์ก็ทายไม่ได้เลยมิใช่หรือ


    ตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาจนกาลบัดนี้ ดาวหางมาปรากฏในท้องฟ้าก็หลายครั้งหลายทีก็เห็นมีแต่วัวตายควายล้มฝนแล้ง ฝนเกิดนั้นแลเป็นผลใกล้กับกาลเมื่อดาวหางมาแทบทุกครั้ง แลเมื่อปีเปลี่ยนแผ่นดินทั้งสามคราวนั้น ดาวหางก็ไม่มีไม่เห็นว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นอันตรายเพราะดาวหางเหมือนอย่างแผ่นดินไหวเหมือนกัน นานๆ ก็มีมาลางทีก็ไหวมาก ลางทีก็ไหวน้อย เวลาแผ่นดินไหวนั้นห่างกันบ้างชิดกันบ้าง มีมาทุกแผ่นดิน ก็มิได้มีเหตุอะไรแก่บ้านเมืองในปีเมื่อแผ่นดินไหว ท่านทั้งปวงที่เกิดทีหลังๆ ไม่ได้สังเกตสืบผู้หลักผู้ใหญ่ก็รู้ได้เหมือนดังว่า


    อนึ่งในปีมะเมียสัมฤทธิ์ศกนั้น ราษฎรลือกันว่าเห็นพระอาทิตย์เป็นสองดวง การนั้นไม่จริงเป็นการล่อลวงของคนที่อยากจะให้คนอื่นก็คิดอ่านซ่อมแซมแต้มเติมเข้าคนเอาแว่นตาลมควันไต้แล้วใส่เข้าดูเงาพระอาทิตย์ในกระจกฉายเงาพระอาทิตย์จับที่แว่นตาลมควันไต้นั้น ก็ตลบงไปปรากฏในกระจกเห็นเป็นสองดวงสามดวงขึ้น ใครทำอย่างนั้นหันหน้าให้ถูกทิศที่จะเห็นอย่างนั้นเมื่อไรก็เห็นเมื่อนั้น เป็นอุบายของคนที่อยากจะให้คนอื่นแกล้งยุกันดอก ได้ทดลองแล้วบอกมาจริงๆ อย่าตื่นไป


    ประกาศมา ณ วันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีระกาตรีศกศักราช ๑๒๒๓

    (คัดมาจากประกาศรัชกาลที่ ๔ ฉบับที่ ๒๐๓, พ.ศ.๒๔๐๔ และดาวหางในประกาศคือ ดาวหางเทบบุท)


    [​IMG]



    ประกาศสุริยุปราคาที่หว่ากอ


    ประกาศสุริยุปราคาหมดดวง
    (ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิ์ศก)

    มีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่ข้าราชการผู้ใหญ่ผุน้อย แลพระสงฆ์สามเณร แลทวยราษฎรทั้งปวงในกรุงเทพฯ แลหัวเมืองให้ทราบทั่วกันว่าสุริยุปราคาครั้งนี้จะมีในวันอังคาร เดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิ์ศก จะจับในเวลาเช้า ๔โมงเศษ ไปจนเวลาบ่ายโมงเศษ จึงจะโมกษบริสุทธิ์ ก็สุริยุปราคาครั้งนี้ ในกรุงเทพฯ นี้จะไม่ได้เห็นจับหมดวง จะเห็นดวงอาทิตย์เหลือยู่น้อยข้างเหนือแรกจับจะจับทิศพายัพค่อนอุดร ในเวลาเช้า ๔ โมง กับบาทหนึ่ง แล้วหันคราธไปข้างใต้จนถึงเวลา ๕ โมง ๗ บาท จะสิ้นดวงเข้าทิศอาคเณ ครั้นเวลา ๕ โมง ๘ บาทแล้วพระอาทิตย์จะออกจากที่บังข้างทิศพายัพ ครั้นบ่ายโมงกับ ๖ บาทจะโมกษบริสุทธิ์หลุดข้างทิศอาคเณคำทายนี้ว่าตำบลหัววาน

    แต่ในกรุงเทพฯ นี้จับเวลาเช้า ๔ โมงกับบาทหนึ่งค่อนๆ จับทิศพายัพเหมือนกัน แล้วจะหันเร่ไปข้างทิศประจิมแลหรดีแลทักษิณ จะจับมากที่สุดสัก ๕ ส่วนหรือ ๖ ส่วนเหลือส่วนหนึ่ง เมือเวลา ๕ โมง ๘ บาท จะเหลืออยู่ข้างทิศอีสานแลอุดร แล้วก็จะเร่ไปคายแลหลุดข้างทิศอาคเณเหมือนกัน ต่อในทะเลลงไปในทิศใต้โดยอย่างใกล้ทีเดียวประมาณ ๖๐๐๐ เส้นเศษจึงจะได้เห็นจับสิ้นดวง พระอาทิตย์มิดมืดอยู่นานถึงบาทของนาฬิกา คือ ๖ นาทีนาฬิกากล แต่ในที่ต่างๆ เวลาจับนั้น บาทแลนาทีก็คงไม่ต้องกัน สุริยุปราคาหมดดวงเช่นนี้ ในพระราชอาณาจักรแผ่นดินสยามล่วงกาลนานถึง ๕๖๐ ปีเศษ จึงจะได้เป็นจะได้เห็นคราวหนึ่ง เป็นการแปลกประหลาดอยู่

    แลการคำนวณสุริยุปราคาที่ว่าจะเป็นเช่นนี้ ได้ทรงด้วยพระองค์ทราบเป็นแน่มานานก่อนความเล่าลือกันอื้ออึงในคนต่างประเทศจะทราบ เพราะคนต่างประเทศอื้ออึงในเร็วๆนี้ก็หาไม่ ได้ทรงกำหนดไว้ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินลงไปทอดพระเนตร บัดนี้กำหนดนั้นถึงแล้วจึงจะเสด็จพระราชดำเนินออกไปเมืองประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยพระราชวงศานุวงศ์บางพระองค์แลเสนาบดีบางท่าน ทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ในอ่าวทะเลชื่ออ่าวแม่รำพึง แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์

    ในกรุงเทพฯ นี้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท กรมหมื่นวรศักดาพิศาล กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการแลเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มหาโกษาธิบดี เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ เจ้าพระยาพลเทพ เจ้าพระยามุขมนตรี พระยาสิงหราชฤทธิไกร พระยามณเฑียรบาล จะได้อยู่รักษาพระนคร สุริยุปราคาครั้งนี้ไม่มีใครมายุยงดอกหย่าให้ราษฎรเล่าลือในหลวงถูกหลอกลวงไม่รู้เท่ารู้ทันคนยุยงอะไรๆ

    ประกาศมา ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๓๐ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
    (คัดจาก ประกาศรัชกาลที่ ๔ ฉบับที่ ๓๐๒, พ.ศ.๒๔๑๑)


    ...............................
    ออกนอกเรื่องอีกแล้วเจ้าค่ะ

    ออกนอกเรื่องเพื่อพยายามโยงเรื่องให้เห็นและเข้าใจถึง
    น้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรง
    ห่วงใยในประชาราษฎร์ของพระองค์และทรงเปรียบพระองค์เองเป็นดั่งบิดามารดาของประชาชน
    ทรงต้องการอธิบายให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน
    ไม่ให้ตื่นตระหนกในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
    จนอาจเป็นเครื่องมือของกลุ่มคนหรือบุคคลใดที่หวังประโยชน์ในทางทุจริต
    จนก่อความวุ่นวายแก่ชาติบ้านเมืองได้


    [​IMG]
    [​IMG]
    .......................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1207620808.jpg
      1207620808.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.2 KB
      เปิดดู:
      7,446
    • rat4.jpg
      rat4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.4 KB
      เปิดดู:
      4,920
    • RW1740x1.jpg
      RW1740x1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.4 KB
      เปิดดู:
      4,344
    • RW1740x6.jpg
      RW1740x6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.4 KB
      เปิดดู:
      4,223
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  16. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นพระบิดาแห่งโหราศาสตร์ไทย


    .
     
  17. จิตต์ปภัสสร

    จิตต์ปภัสสร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +4,545
    [​IMG]

    " พระ ท่านเสด็จมาจากฟากฟ้า
    พุทธ เมตตาปวงข้าประชาราษฎร์
    เจ้า ชีวีมิเคยลิขิตชะตาผู้ใด
    หลวง ประทานไว้ซึ่งสุขทุกชีวา "
     
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]

    ศิรกราน ณ บัณฑูร ธ เกื้อกูล ประชากร
    ปวง พสก ประชา นิ ก บวร ก็ บ ร้อนได้พึ่งเย็น
    อาณา ประชา รัฐ ทรง ขจัด ยากทุกเข็ญ
    เลิก ทา ส ผไท ไร้ลำเค็ญ ก็ใต้เบื้อง พระบารมี

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

    อินทรวิเชียรฉันท์
    สร้อยฟ้ามาลา
     
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๓.




    a.jpg


    แนวทางการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ๑๘ สิงหาคม ๒๔๑๑ เริ่มจับที่แม่น้ำบลูไนล์ แล้วหน้ามาทางตะวันออกสู่ทะเลอาเรเบียนเข้าประเทศอินเดีย ตัดผ่านอ่าวเบงกอล แล้วเข้าสู่ประเทศไทยที่จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ลงสู่อ่าวไทย ผ่านแหลมญวนไปสู่ทะเลจีนใต้ ไปสิ้นสุดทะเลคอรัล



    คณะนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเดินทางมาจากประเทศฝรั่งเศสโดยทางเรือ พร้อมขนสัมภาระเครื่องมือในการสำรวจ โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งค่ายสำรวจทางวิทยาศาสตร์บนชายฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย และได้รับพระมหากรุณาธิคุณกำหนดสถานที่ให้คณะสำรวจอยู่ที่ตำบลหว้าโทนซึ่งไม่ห่างจากพลับพลาที่ประทับ


    ม.ส.เตฟานได้ซื้อซีเมนต์ อิฐ และหินแกรนิตแท่นใหญ่ขนาด ๑ ลูกบาศก์เมตร จำนวน ๒ แท่น เพื่อใช้ทำฐานตั้งอุปกรณ์สำรวจฟ้าและบันทึกว่าระหว่างประทับแรมที่หว้ากอ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เยี่ยมค่ายและสถานีสำรวจของเขาพร้อมข้าราชบริพาร พระองค์ทรงโสมนัสยินดีที่ได้ทอดพระเนตรกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง และทรงชื่นชมกับกล้องอันใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๐ เซนติเมตรควบคุมด้วยไฟฟ้า(Foucult tetescope) เป็นอย่างยิ่ง นอกจากกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๐ ซ.ม. แล้ว ยังมีกล้องขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ ซ.ม. กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก กล้องสองตา และเครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากประมาณ ๕๐ ชิ้น


    สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นจริงตามเวลาที่ได้ทรงคำนวณไว้ทุกประการ และโอกาสที่จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ณ สถานที่เดียวกันอีกครั้งหนึ่งมีน้อยมาก ดังนั้น หว้ากอจึงเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยและแห่งเดียวในโลกที่เงามืดของดวงจันทร์ทอดไปถึงและพระมหากษัตริย์ผู้เป็นองค์พระประมุขของประเทศได้เสด็จประทับแรม ณ ที่นั่นพร้อมด้วยพระราชโอรส คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ พระราชธิดาและเหล่าข้าราชบริพารเป็นจำนวนมาก ในด้านแขกต่างประเทศ หว้ากอได้รับเกียรติต้อนรับไม่เฉพาะนักดาราศาสตร์ฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ยังมีคณะทูตานุทูตต่างประเทศที่เดินทางไปจากกรุงเทพฯ และกงสุลใหญ่อังกฤษประจำสิงคโปร์พร้อมด้วยภรรยาซึ่งทรงโปรดให้เชิญไปสังเกตสุริยุปราคา ณ ชายฝั่งทะเลหว้ากอ ที่อ่าวมะนาวจึงมีเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชพร้อมเรือตามเสด็จฯ เรือรบของฝรั่งเศสได้แก่เรือสาร์ถิ และเรือเฟรลอง เรือรบอังกฤษคือเรือสเตลไลท์ และเรือกราสฮอปเปอร์ ส่วนเรือของคณะของเจ้าเมืองสิงคโปร์ได้แก่เรือไปโหเป็นต้น



    พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่หว้ากอ



    การเสด็จพระราชดำเนินไปหว้ากอของรัชกาลที่ ๔ นั้นเปรียบประดุจดั่งการเสด็จออกทำศึกสงครามข้าศึกมีหลายพวกฝ่ายทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เช่น ความไม่เชื่อว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทย ความไม่เข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติตามหลักวิทยาศาสตร์ของเหล่าโหรหลวง ตลอดทั้งขุนนางใกล้ชิดและที่สำคัญคือประเทศมหาอำนาจอันได้แก่อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งกำลังล่าอาณานิคมในสมัยนั้น ด้วยพระวิยะอุตสาหะพรองค์ทรงได้รับชัยชนะในการทำศึกสงครามครั้งนี้อย่างดียิ่ง เป็นชัยชนะที่ประเทศมหาอำนาจให้ความยอมรับนับถือ เป็นการดำเนินพระราโชบายต่างประเทศโดยอาศัยวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลดีทางด้านการเมืองระหว่างประเทศจนทำให้ประเทศไทยรอดพ้นเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ทรงมีความกล้าหาญยิ่งกว่านักรบที่อาศัยยุทโธปกรณ์สนับสนุน พระองค์ทรงมีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะพิสูจน์ความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ สมควรที่ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะเยาวชน ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตจะเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทและน้อมรำลึกถึงพระองค์ในวันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปี ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญข้อนี้จึงได้กำหนดให้วันที่ ๑๘ สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตั่งแต่ ๒๕๒๕ เป็นต้นมา



    พลับพลาที่ประทับ ณ หว้ากอ


    a.jpg

    ตำหนักที่ประทับทำด้วยไม่ชั่วคราว เป็นตำหนัก ๓ ชั้น ทำเนียบแห่งอื่นปลูกเป็นเรือนชั้นเดียวแต่ยกพื้นให้สูงประมาณ ๓ ฟุตทุกหลัง ทำเนียบเหล่านี้สร้างด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกแทบทั้งหมด มุงด้วยจากบ้าง ใบตาลแห้งบ้าง ตามนิยมของประเทศ ทำเนียบหมู่หนึ่งก็มีรั้วทำด้วยกิ่งไม้อย่างเรียบร้อย ล้อมรอบมิดชิดมองไม่เห็นและในบริเวณหรือลานทำเนียบมีโรงที่อยู่สำหรับคนใช้และบริวารเป็นอันมาก (คัดมาจากประชุมจดหมายเหตุเรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ ๔ “เรื่องเซอร์ แฮรี่ ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ ไปเผ้าพระเจ้าแผ่นดินสยาม) แสดงว่าพลับพลาที่ประทับไม่ใช่สิ่งก่อสร้างถาวรไม่มีระบุส่วนก่อสร้างใดที่ทำด้วยอิฐเพราะฉะนั้นตำหนักที่ประทับพร้อมทำเนียบแห่งอื่นจึงหักพังสูญหายไปในเวลาอันไม่นาน ที่มีเหลือคือรูปถ่ายซึ่งเก็บรักษาไว้ที่กอสมุดแห่งชาติ รูปถ่ายที่สำคัญคือรูปของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายร่วมกับคณะชาวต่างประเทศหน้าพลับหลาที่ประทับ รูปอื่นเป็นรูปค่ายหลวงในวงกว้างซึ่งเห็นรั้วยาวเหยียดขนานกับชายฝั่งทะเล ระหว่างพลับพลาที่ประทับและชายทะเลเป็นที่โล่งเตียนหลังค่ายมีต้นไม้ใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าหากต้นไม่ใหญ่นี้ไม่ถูกทำลายย่อมมีอายุยืนยาวนานมานับร้อยปีจนถึงปัจจุบันและจะเป็นหลักฐานช่วยชี้ที่ตั้งพลับพลาที่ประทับนี้อีกทางหนึ่ง แต่ปัจจุบันต้นไม้สำคัญในรูปไม่มีเหลืออยู่เลย จึงมีแต่หลักฐานของคณะนักดาราศาสตร์ฝรั่งเศสเท่านั้นที่ช่วยกำหนดที่ตั้งค่ายหลวงหว้ากอได้



    ครั้นถึงวันศุกร์ เดือน ๙ แรม ๔ ค่ำ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จโดยเรือพระที่นั่งอัครราชวรเดชออกจากกรุงเทพฯ ประทับไปรายทาง แล้วเสด็จไปถึงตำบลหว้ากอ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ รวมเวลาเดินทาง ๔ วัน


    a.jpg
    ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕๒ จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต กล่าวว่า

    “...ครั้งนั้นเซอร์ แฮรี่ ออต เจ้าเมืองสิงคโปร์ ขึ้นมาเฝ้าฯ และรัฐบาลฝรั่งเศสก็แต่งให้พวกโหรมาดูสุริยุปราคามาด้วย ที่หว้ากอมีการรับแขกเมืองมีบรรดาศักดิ์สู.ด้วย อีกอย่าง ๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรากตรำทำการคำนวณสุริยุปราคามาตั้งแต่ก่อนเสด็จไปจากรุงเทพฯ ชั้นหนึ่งแล้ว ด้วยทรงเกรงว่าถ้าไม่เป็นจริงดังทรงพยากรณ์จะถูกพวกโหรหมิ่น ครั้นเมื่อเสด็จไปประทับอยู่ ณ พลับพลาหว้ากอก็ยังทรงตรากตรำด้วยการรับแขกเมือง กับทั้งทรงคำนวณสุริยุปราคา คือพยากรณ์เวลาที่จะเริ่มจับ เวลาที่จะหมดดวง และเวลาที่ดวงอาทิตย์จะเป็นโมกขบริสุทธิ์เป็นต้น บรรดาผู้ที่ไปโดยเสด็จและอยู่ใกล้ชิดพระองค์ ได้สังเกตเห็นพระสิริรูปซูบลงและพระฉวีก็มัวคล้ำไม่ผ่องใส ตั้งแต่เสด็จไปจากกรุงเทพฯ แล้ว เวลาเสด็จประทับอยู่ที่หว้ากอก็ยังเป็นเช่นนั้น และมีพระอาการทรงพระกรรสะเพิ่มขึ้นด้วยอีกอย่างหนึ่ง แต่บางทีจะเป็นเพราะพระปิติปราโมทย์ด้วยสุริยุปราคา เมื่อวันอังคารเดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำนั้น หมดดวงดังทรงพยากรณ์ และตรงเวลาดังได้คำนวณมิได้คลาดเคลื่อน เป็นเหตุให้ทรงเป็นปกติอยู่ตลอดเวลาประทับอยู่ที่หว้ากอ ๙ วัน ครั้น ณ วันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๒ ค่ำ เสด็จลงเรือพระที่นั่งกลับคืนมายังพระนคร เสด็จถึงกรุงเทพฯ เดือน ๑๐ ขึ้น ๔ ค่ำ ต่อมาอีก ๕ วัน ถึงวันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๙ ค่ำ ก็เริ่มมีพระอาการประชวรจับไข้ ตั้งแต่จับประชวรได้ไม่ช้า พระองค์ก็ทรงทราบโดยพระอาการว่า ประชวรครั้งนั้น เห็นจะเป็นที่สุดพระชนมายุสังขาร...”



    พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ปกครองประชาราษฎร์ทั่วราชอาณาจักรด้วยพระกรุณา ด้วยเมตตา ด้วยความเป็นธรรม ด้วยระบบและระเบียบกฎเกณฑ์แห่งสังคม พระองค์ทรงเป็นเจ้าชีวิต เป็นพ่อแห่งปวงชนในระบอบแห่งการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ การประชวรของพระองค์ย่อมเป็นความตระหนกตกใจ เป็นความหวั่นไหวทั้งมุขอำมาตย์ ข้าราชการบริพารและราษฎร


    เพราะภายนอกราชอาณาจักรนั้น ฝรั่งชาติตะวันตกก็กำลังออตามล่าเมืองในแถบเอเชียเป็นเมืองขึ้น ไหนสงครามรุกรานขอบขัณฑสีมาจะยับไม่เว้นว่าง ถ้าสิ้นพระชนม์พระมหากษัตริย์ หรือสิ้นพ่อเสียคนหนึ่งนั้นใครจะเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นแก่ราชอาณาจักรผู้ซึ่งล้อมพระองค์อยู่เวลานั้นต่างพากันตระหนก ประการหนึ่งพระองค์มิได้ทรงสถาปนารัชทายาทไว้ ความวิตกทุกข์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งมีแก่พระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอนั้นมากมายนัก เพราะแต่ละพระองค์นั้นยังทรงพระเยาว์ แม้แต่เจ้าฟ้าฯ พระเจ้าลูกยาเธอก็อายุเพียง ๑๔ พระชันษา พระองค์ทรงทอดถอนพระราชหฤทัย จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองไพร่ฟ้าประชาชนได้อย่างไร อายุเพียงเท่านั้น

    เมื่อคิดถึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ พระองค์ใหญ่ ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชบิดาทรงประชวรเสด็จออกไม่ได้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิจประชานาถ ทรงเข้าเฝ้าถวายการพยาบาลอยู่ได้เพียงวันเดียว ก็มีอาการไข้ไม่ทรงสบาย กระนั้นเมื่อถึงเวลาก็ยังอุตส่าห์เข้าเฝ้าถวายการพยาบาล จนกระทั่งถึงวันที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้าลูกยาเธออยู่ข้างพระบรรทม ทรงยกพระหัตถ์ลูกพระพักตร์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ เห็นร้อนผิดปกติ ก็ทรงทราบว่าพระเจ้าลูกยาเธอฯ ทรงพระประชวร ทรงเห็นพระทัยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอยิ่งนัก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงตรัสสั่งให้เสด็จกลับไปพักรักษาพระองค์ที่พระตำหนักสวนกุหลาบ ให้เร่งรักษาพระองค์ให้หาย


    ........................


    [​IMG]


    ......................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1177665953.jpg
      1177665953.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.6 KB
      เปิดดู:
      3,850
    • eclipse.jpg
      eclipse.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.5 KB
      เปิดดู:
      3,712
    • rayal_camp.jpg
      rayal_camp.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.3 KB
      เปิดดู:
      3,910
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2021
  20. janepat2549

    janepat2549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,963
    ค่าพลัง:
    +1,284
    อนุโมทนา ครับผม ได้สาระความรู้ดีจริงๆครับ เสียดาย ม.4ไม่มีเรียนเรื่องประวัติศาสตร์ไทย
     

แชร์หน้านี้

Loading...