แผ่นดิน พระพุทธเจ้าหลวง

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 20 กันยายน 2008.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]
    สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์กุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี





    พระ เสด็จสู่ใต้ร่มเศวตฉัตร
    นาง แก้วขัตติย มเหสี
    เจ้า อยู่หัวปิยราชสวามี
    สุนันทา พระนามนี้คู่พระองค์
    กุมารี กรรณาภรณ์เพ็ชรัตน์
    พระยศขัตติยพญาหงส์
    เจ้าฟ้าทูลกระหม่อมอีกพระองค์
    ที่ยังทรงอยู่พระครรโภธร
    หากประสูติเป็นเจ้าลูกยาเธอ
    จักได้ยศส่งบำเรอสโมสร
    ที่โอรสาธิราช แห่งนคร
    ดุจบวรราชเจ้า กษัตรา
    พระนางเจ้าเสด็จตามประเพณี
    ติดตามราชสวามี ที่ทิศา
    ทางพระราชชลมาตรยาตรา
    ถึงบางพูดมิครั่นคราว่ามีภัย
    เรือพระที่ทรงมานั้นเกิดเหตุ
    ดั่งอาเพททรงสุบินก่อนผินไหน
    หวังพึ่งพระบารมีองค์ทรงชัย
    คงขจัดพ้นภัยไม่ไคลครา
    แต่เรือพระประเทียบล่มเสียแล้ว
    อีกทั้งพระหน่อแก้วยังเล็กหนา
    ทรงเป็นห่วงพระลูกน้อยดั่งแก้วตา
    มิยอมออกจากกันยา ณ ที่เรือ
    ทั้งที่องค์ทรงว่ายน้ำนั้นแข็ง
    แต่ด้วยแรงแห่งห่วงนั้นมากเหลือ
    ทรงเสด็จล่วงอยู่ ณ ในเรือ
    ไม่มีใครช่วยเหลือในพระองค์
    ด้วยขัดต่อโบราณประเพณี
    เลยมิมีใครหาญกล้าในประสงค์
    พระยามหามนตรีกวัดดาบลง
    ถ้าใครลงช่วยนั้นต้องบรรลัย
    ความโศกศัลย์เข้ากลับมาแทนที่
    พระสวามี มีมากขนาดไหน
    ทั้งลูกแก้วเมียขวัญนั้นจากไป
    ไม่ทันเอ่ยหวนให้ดูใจกัน
    ชลเนตรต้องตกพระปรางนาง
    สะอื้นมิได้ห่างแทบอาสัญ
    ให้หมอหลวงปวงราษฎร์นั้นช่วยกัน
    เผื่อพระนางแก้วนั้นพลันกลับคืน
    แม้ทราบในพระทัยจริงสิ่งรู้แน่
    แต่ยังค้านในกระแสให้ฝ่าฝืน
    จวบพลบค่ำย่ำน้ำค้างตอนกลางคืน
    มิทรงฟื้นคืนองค์ต้องปลงใจ
    ดังคำกลอนตอนหนึ่งที่กล่าวอ้าง
    คุณจอมนางมารดาแพคิดแก้ไข
    ได้เปรียบเปรยเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใย
    เลยเล่นละครนางในอยู่ในวัง
    "ส่วนพระจอมหลักโลกยิ่งโศกเศร้า
    ประคองเข้าเคียงโกศมิวายหวัง
    ชักวิสูตรรูดรายพระฉายบัง
    พิลาบหลั่งชลเนตรลงเนืองนอง
    เปิดพระโกศมิ่งมิตรพิศพักตร์
    โศกสลักทรวงไหม้ฤทัยหมอง
    สะอื้นอ้อนกรกอดพระโกศทอง
    ชลเนตรตกต้องพระปรางนาง
    นำผ้าทรงลงเช็ดชลเนตร
    ภูวเรศมิได้คิดอางขนาง
    สะอื้นโหยโรยแรงกรรแสงพลาง
    โอ้ว่าปรางแม่ยังอุ่นละมุนมือ
    พระน้องแก้วอยู่ใยในพระโกศ"
    เมื่อพระองค์ทรงสดับตรับฟังแล้ว
    ก็ให้แกล้วขุ่นเรื่องเคืองโมโห
    อันเขาอ้างนางในให้ใหญ่โต
    ว่าทรงทำดั่งคำโวในละคร



    เมื่อหลายคนอ่านรจนาบท
    ก็สะท้อนสลดใจให้สังหรณ์
    ว่าบทความตามนัยบทละคร
    พระองค์ทรงอาวรณ์เหลือคณา


    โอ้ว่ามิ่งมิตรขวัญมเหสี
    พระภูมีทรงรักเป็นนักหนา
    อีกทั้งสองพระบุตรและธิดา
    นั้นพญามัจจุราชมาพรากไป
    พยานรักนั้นเห็นเป็นนุสรณ์
    ที่พระนางนั้นเคยจร ณ แห่งไหน
    ที่พระองค์ทรงผูกพันหฤทัย
    ทรงสลักตรึงรักไว้ให้เห็นมี
    อนุสรณ์สถานที่ต่างต่าง
    บนแผ่นดินมิอ้างว้างในถิ่นที่
    ด้วยทรงมั่นในรักฤทัยมี
    จวบจนแผ่นดินนี้เป็นพยาน


    กลอนสุภาพ
    สร้อยฟ้ามาลา



    เนื่องในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ เป็นวันคล้ายวันพระประสูติของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารัตน์ พระบรมราชเทวี ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า และความรักอันยิ่งใหญ่ที่ทรงมีต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ


    ควรมิแล้วแล้วแต่จะทรงพระกรุณา

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]<!-- / message -->​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  2. Gearknight

    Gearknight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2008
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +234
    อยากทราบว่า ลูกของท่าน ร.5 มีใครบ้างอ่าครับ เพราะชาติก่อนๆเคย...
     
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ในกระทู้แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง ที่สร้อยฟ้าฯ เขียน จะมีรายพระนามของลูกของท่านทั้งหมดเจ้าค่ะ
    แต่ตอนนี้ยังเขียนไม่ถึงตรงนั้น ถ้าอยากอ่าน ต้องคอยติดตามชม เจ้าค่ะ
     
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๔.


    [​IMG]


    พอเสด็จกลับจากสิงคโปร์แล้วไม่ช้า ในปีมะเเมนั้นเองก็เริ่มเตรียมการที่จะเสด็จไปอินเดีย เหตุที่จะเสด็จไปอินเดียนั้น เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯเคยเล่าให้ฉันฟัง ว่าทรงพระราชปรารภแก่ตัวท่านตั้งแต่แรกเสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯ ว่าที่เสด็จไปเมืองสิงคโปร์และเมืองบะเตเวีย เมืองสมารัง ได้ทอดพระเนตรเห็นแต่เพียงเมืองขึ้นที่ฝรั่งปกครองคนต่างชาติต่างภาษา ได้ประโยชน์น้อย ใคร่จะเสด็จไปถึงยุโรปให้ได้เห็นขนบธรรมเนียมราชสำนักและประเพณีบ้านเมืองของฝรั่งเอง

    (ตรงนี้จะแทรกวินิจฉัยของฉันลงสักหน่อย ที่มีพระราชประสงค์เช่นนั้นเป็นธรรมดา แต่เหตุเสด็จไปโดยด่วนไม่รั้งรอ ข้อนี้ฉันสันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะทรงพระราชดำริเห็นว่าเวลาที่ยังไม่ต้องทรงว่าราชการแผ่นดินมีอยู่เพียงอีก ๒ ปี ถ้ารอไปจนถึงเวลาทรงว่าราชการเองแล้วคงยากที่จะหาโอกาสได้ เพราะฉะนั้นจึงจะรีบเสด็จไปยุโรปในเมื่อโอกาสยังมีอยู่)

    เจ้าพระยาภานุวงศ์ฯเห็นชอบด้วยตามพระราชดำริ รับจะไปพูดกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ไม่เห็นชอบด้วย อ้างว่ายุโรปทางก็ไกล เรือที่จะทรงก็ไม่มี เป็นการเสี่ยงภัยมากนัก ไม่สะดวกเหมือนกับไปสิงคโปร์และเมืองชวา เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯไม่อยากให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโทมนัส จึงคิดขึ้นว่าอินเดียก็รุ่งเรืองคล้ายกับยุโรป ผู้ปกครองมียศเป็นไวสรอยต่างพระองค์คล้ายกับราชสำนัก และหนทางที่จะไปก็ไม่ไกลนัก ส่วนเรือพระที่นั่งที่จะทรงไปนั้น ในเวลานั้นห้างนะกุดาอิสไมส์ที่วัดเกาะสั่งเรือสำหรับส่งคนโดยสารระหว่างกรุงเทพฯกับเมืองสิงคโปร์เข้ามาใหม่ลำ ๑ ใหญ่โตมีห้องพอจะรับกระบวนเสด็จไปอินเดียได้ คิดจะขอซื้อ(คือเช่า)มาเป็นเรือหลวงชั่วคราวแล้วขายกลับคืนให้เจ้าของ ก็จะไม่สิ้นเปลืองนัก ท่านได้ลองพูดกับเจ้าของก็ยอมตามความคิดไม่ขัดข้อง ยังติดแต่ที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ท่านนำความขึ้นกราบบังคมทูลตามความคิด สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่าถ้าจะไปถึงยุโรปยังไม่ได้ ไปเพียงอินเดียก็ยังดี เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯจึงไปกระซิบปรึกษากับนายน๊อกส์กงสุลเยเนอราลอังกฤษ นายน๊อกเห็นชอบด้วย รับจะช่วยว่ากล่าวกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ และที่สุดตัวเองรับจะไปตามเสด็จด้วย การที่จะเสด็จอินเดียก็เป็นอันพ้นความขัดข้อง

    ส่วนเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เมื่อปลงใจให้เสด็จไปอินเดียแล้วก็ช่วยกะการต่อไปให้เสด็จทอดพระเนตรหัวเมืองสำคัญในพระราชอาณาเขตทางฝ่ายทะเลตะวันตก คือ เมืองภูเก็ต เมืองพังงา และเมืองไทรบุรีด้วย การตระเตรียมกระบวนเสด็จไปอินเดียไม่ยากเหมือนเมื่อครั้งเสด็จไปสิงคโปร์ เพราะได้เคยเห็นขนบธรรมเนียมฝรั่งอยู่มากแล้ว เครื่องแต่งตัวก็แก้ไขเป็นแบบฝรั่งที่เดียว เว้นแต่ยังนุ่งผ้าไม่ใช้กางเกงเท่านั้น ส่วนราชบริพารที่ตามเสด็จครั้งนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ผู้ที่เคยไปครั้งก่อนได้ไปอีกแทบทั้งนั้น ที่เพิ่มขึ้นใหม่คือพระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี(กรมพระจักรพรรดิพงศ์)พระองค์ ๑ พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร(กรมพระนเรศวรฤทธิ์)พระองค์ ๑ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรชัย เป็นนายทหารทหาดเล็กพระองค์ ๑ พระองค์เจ้าเทวัญอุทัยวงศ์(สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศวโรปการ เพิ่งลาผนวชสามเณร)พระองค์ ๑ ขุนนางก็ล้วนชั้นหนุ่ม เลือกคัดแต่ที่มีแววฉลาด ดูเหมือนวิธีเลือกสรรคนตามเสด็จครั้งก่อนจะเอาแต่ที่ต้องทรงใช้สอย ครั้งหลังเลือกด้วยหมายจะให้ไปได้ความรู้เห็นมาสำหรับราชการภายหน้าเป็นสำคัญ

    [​IMG]
    พระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี(กรมพระจักรพรรดิพงศ์)


    [​IMG]
    พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร(กรมพระนเรศวรฤทธิ์)

    [​IMG]
    พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรชัย

    [​IMG]
    พระองค์เจ้าเทวัญอุทัยวงศ์ (สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศวโรปการ)


    เสด็จทรงเรือบางกอก ออกจากกรุงเทพฯเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๔ ไปแวะที่เมืองสิงคโปร์ เมืองปีนัง เมืองร่างกุ้ง แล้วไปยังเมืองกาลกัตตาอันเป็นเมืองหลวงของอินเดียในสมัยนั้น ลอร์ดเมโยผู้เป็นไวสรอยที่อุปราชกับรัฐบาลอินเดียรับเสด็จในทางราชการ เชิญเสด็จประทับที่จวนไวสรอยและมีพิธีรับเสด็จเฉลิมพระเกียรติด้วยประการต่างๆ (เสียดายนักที่หาจดหมายเหตุมีรายการพิศดารอย่างครั้งเสด็จไปสิงคโปร์ไม่พบ) ทราบแต่พอเป็นเค้าว่าได้เสด็จไปถึงเมืองพาราณสี เมืองอาครา เมืองลักเนา เมืองเดลี และเมืองบอมเบ แต่เมื่อเสด็จกำลังประพาสอยู่นั้น ลอร์ดเมโยไวสรอย ไปตรวจที่ขังคนโทษหนัก ณ เกาะอันดมันถูกผู้ร้ายฆ่าตาย ขาเสด็จกลับจึงดำรัสขอให้งดการรับเสด็จทางราชการด้วยเป็นเวลารัฐบาลอินเดียไว้ทุกข์ เสด็จอย่างไปรเวตมาลงเรือพระที่นั่งกลับจากอินเดีย มาแวะทอดพระเนตรเมืองภูเก็ตและเมืองพังงา แล้วเสด็จมาขึ้นบกเมืองไทรบุรี

    ครั้งนั้นเจ้าพระยาไทรบุรี(อหะมัต)สร้างวังขึ้นรับเสด็จที่เขาน้อย เรียกว่าอนักบุเกต(เดี๋ยวนี้รื้อสร้างใหม่ แต่ยังใช้เป็นที่รับแขกเมืองมีบรรดาศักดิ์สูงอยู่) และให้ทำทางให้รถจากเมืองไทรมาจนต่อแดนจังหวัดสงขลา ข้างสงขลาเจ้าพระยาวิเชียรคีรีผู้สำเร็จราชการจังหวัด ก็ให้ทำถนนรถแต่ปลายแดนมาจนถึงท่าลงเรือที่ตำบลหาดใหญ่(เป็นแรกที่จะมีถนนข้ามแหลมมลายู) จึงทรงรถจากเมืองไทรบุรีมาประทับแรมที่ตำบลจังโลนแขวงเมืองไทรบุรีคืน ๑ ที่ตำบลสะเดาแขวงสงขลาคืน ๑ นับเป็นเวลาเดินทาง ๓ วัน วันที่ ๓ ถึงหาดใหญ่ เสด็จลงเรือพายออกทะเลสาบ มาถึงเมืองสงขลา เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ให้เรือจักรข้างชื่อ " ไรลิงสัน" ที่ท่านต่อไปรับเสด็จกลับกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม เข้าปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ รวมเวลาที่เสด็จไปอินเดียครั้งนั้น ๔ เดือน

    ผลของการเสด็จอินเดีย เกิดความคิดอันเป็นส่วนปกครองบ้านเมืองมาหลายอย่างแต่ยังไม่ประจักษ์แก่ตาคนทั้งหลายในเวลานั้น เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังไม่ได้ว่าราชการ จึงไม่ปรากฏว่าเมื่อเสด็จกลับจากอินเดียทรงจัดการเปลี่ยนแปลงประหลาดเหมือนเมื่อเสด็จไปสิงคโปร์ เป็นแต่แก้ไขขนบธรรมเนียมที่ได้เริ่มจัดให้ดีขึ้นเป็นพื้น แต่ทางต่างประเทศเมื่อความปรากฏแพร่หลายว่าพระเจ้าแผ่นดินสยามพอพระราชหฤทัยเสด็จไปทอดพระเนตรต่างประเทศ เพื่อจะแสวงหาขนบธรรมเนียมที่ดีของฝรั่งมาใช้ในพระราชอาณาเขต ก็เป็นเหตุให้มีชาวต่างประเทศเกิดความนิยม และประสงค์จะไปมาค้าขายกับประเทศสยามมากขึ้น จะยกพอเป็นตัวอย่างดังเช่น ห้างแรมเซเว็กฟิลด์ ซึ่งเป็นห้างทำเครื่องแต่งตัวตั้งอยู่ ณ เมืองกาลกัตตา พอเสด็จกลับก็ตามเข้ามาตั้งที่ถนนบำรุงเมือง ซึ่งสร้างใหม่ตรงวงเวียนสี่แยก รับทำเครื่องแต่งตัวอย่างฝรั่ง(คือเดิมของห้างแบดแมนในบัดนี้) และมีชาวต่างประเทศที่เข้ามาตั้งทำการอย่างอื่นอีกหลายอย่าง แม้เรือไฟไปมารับส่งสินค้าและคนโดยสารในระหว่างกรุงเทพฯกับเมืองฮ่องกงก็เกิดขึ้นในสมัยนั้น

    มีการที่เกิดขึ้นในปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ เมื่อเสด็จกลับจากอินเดียอย่าง ๑ ซึ่งภายหลังมาเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองและเป็นคุณแก่ตัวฉันเองมาก คือเรื่องตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษแก่ลูกผู้ดี เรื่องนี้ได้ทรงพระราชดำริมานานแล้วแต่ยังหาครูไม่ได้ จึงต้องรอมาเมื่อเสด็จกลับจากอินเดีย เผอิญมีครูอังกฤษคน ๑ ชื่อ ฟรานซิส จอร์ช แปตเตอร์สัน เข้ามาเยี่ยม หลวงรัถยาภิบาลบัญชา(กัปตันเอม)ผู้บังคับการพลตระเวนในกรุงเทพฯซึ่งเป็นน้าชาย ได้ทรงทราบก็โปรดฯให้ว่าจ้างไว้เป็นครู และโปรดฯให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้นในกรมทหารมหาดเล็กอีกโรง ๑ เป็นคู่กับโรงเรียนภาษาไทยที่ได้ตั้งมาแต่ก่อน ที่ตั้งโรงเรียนนั้นโปรดฯให้โอนตึก ๒ ชั้นที่สร้างสำหรับทหารมหาดเล็ก หลังข้างตะวันออกประตูพิมานชัยศรี(ซึ่งเป็นสำนักงานพระคลังข้างที่อยู่บัดนี้)ใช้เป็นโรงเรียน ห้องตอนต่อประตูพิมานชัยศรีให้เป็นที่อยู่ของครู ห้องตอนเลี้ยวไปข่างเหนือ(ข้างหลังศาลาสหทัยสมาคมบัดนี้)จัดเป็นห้องเรียน

    ส่วนนักเรียนนั้นมีรับสั่งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกับพระเจ้าน้องยาเธอเข้าเป็นนักเรียน เว้นแต่บางพระองค์ที่มีตำแหน่งรับราชการแล้ว หรือที่เป็นนักเรียนอยู่แล้วในโรงเรียนภาษาไทย พวกนายร้อยทหารมหาดเล็กก็โปรดฯให้มาเรียนภาษาอังกฤษด้วย เจ้านายเรียนตอนเช้า พวกทหารมหาดเล็กเรียนตอนบ่าย เมื่อแรกตั้งโรงเรียนดูเหมือนจะมีนักเรียนสัก ๕๐ คน แต่ต่อมาจำนวนลดลง เพราะเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ออกไปรับราชการ ที่เป็นชั้นกลางก็ถึงเวลาไปทรงผนวชเป็นสามเณร พวกหม่อมเจ้าก็พากันไปทำการงาน พวกทหารมหาดเล็กต้องเรียนวิชาอื่นอีกมากก็มาเรียนภาษาอังกฤษน้อยลงทุกที ถึงปีระกาเหลือนักเรียนอยู่ไม่ถึงครึ่งจำนวนเดิม และยังลดจำนวนลงเรื่อยมา นักเรียนที่เข้าใหม่ก็ไม่มี ถึงปีจอเหลือแต่เจ้านายที่รักเรียนจริงๆยังทรงพยายามเรียนอยู่สัก ๕ พระองค์ จึงย้ายไปเรียน ณ หอนิเพธพิทยา อันเป็นที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ อยู่ริมประตูศรีสุนทร(แต่เดี๋ยวนี้รื้อเสียแล้ว) ครูไปสอนในเวลาเช้าทุกวัน จนถึงกลางปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ ครบ ๓ ปี พอสิ้นสัญญาครูก็ลากลับไปเมืองนอก โรงเรียนนั้นก็เป็นอันเลิก แต่นั้นเจ้านายที่รักเรียนก็พยายามเรียนต่อมาโดยลำพังพระองค์ด้วยอาศัยอ่านหนังสือบ้าง ให้ผู้อื่นสอนบ้าง จนมีความรู้สามารถใช้ภาษาอังกฤษรับราชการได้โดยไม่ต้องไปเมืองนอกหลายพระองค์ ในเจ้านายนักเรียนชั้นนั้นควรยกย่อง สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ว่าเป็นยอดเยี่ยมยิ่งกว่าพระองค์อื่นๆ


    [​IMG]
    สภาพบริเวณวัดสระเกศ ที่ทิ้งศพผู้ตายให้แร้งจิกกิน เมื่อครั้งเกิดโรคอหิวา


    ในปีระกานี้ เกิดอหิวาตกโรคเป็นระบาดเมื่อเดือน ๗ คนตื่นตกใจกันมาก เพราะแต่ก่อนเคยมีอหิวาตกโรคเป็นระบาดเกิดขึ้น ผู้คนล้มตายมากในปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ ในรัชกาลที่ ๒ และมาเกิดอีกครั้ง ๑ ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ คนชั้นผู้ใหญ่ที่เคยเห็นยังมีมากจึงพากันตกใจ ผู้ที่ไม่เคยเห็นได้ฟังเล่าก็ตกใจไปตามกันด้วย แต่วิธีที่จัดระงับโรคอหิวาห์คราวนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้จัดเป็นการรักษาพยาบาลแทนทำพิธีในทางศาสนาเช่นเคยทำมาแต่ก่อน พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์อธิบดีกรมหมอคิดปรุงยารักษาโรคเป็นอย่างฝรั่งขึ้นใหม่ ๒ ขนาน คือเอายาวิสัมพญาใหญ่ตามตำราไทยกับด้วยกอฮอล์ทำเป็นยาหยดในน้ำขนาน ๑ เอาการบูรทำเป็นยาหยดเช่นนั้นเรียกว่าน้ำการบูรขนาน ๑ สำหรับรักษาอหิวาตกโรคและแนะนำให้ใช้การบูรโรยเสื้อผ้าเป็นเครื่องป้องกันเชื้อโรคอีกอย่าง ๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสขอแรงเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่รับยาหลวงไปตั้งเป็นทำนองโอสถศาลาขึ้นตามวังและบ้านหรือตามที่ประชุมชนรักษาราษฎรทั่วทั้งพระนคร แต่โรคอหิวาห์ที่เกิดขึ้นครั้งนั้นมีอยู่สักเดือนหนึ่งก็สงบ เมื่อสงบแล้วโปรดฯให้สร้างเหรียญทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ด้าน ๑ รูปเทวดาถือพวงมาลัย อีกด้าน ๑ เป็นตัวอักษรทรงขอบใจ พระราชทานเป็นบำเหน็จแก่ บรรดาผู้ที่ได้รับตั้งโอสถศาลาทั้งนั้นทั่วกัน ของฉันยังอยู่จนทุกวันนี้


    .................................................



    [​IMG]
    [​IMG]


    ..................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๔.

    [​IMG]


    ทรงผนวช

    ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เป็นเวลา 15 วัน โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌายะและพระศาสนโสภณ (สมเด็จพระสังฆราชวัดราชประดิษฐ์ฯ)


    [​IMG]
    ภาพถ่าย ณ พระพุทธรัตนสถานมนทิราราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖
    จากซ้ายไปขวา
    ๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งทรงผนวช
    ๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค็เจ้าอรุณนิภาคุณากร วัดราชบพิธ
    ๓. พระสุคุณคณาภรณ์ (นิ่ม) วัดเครือวัลย์
    ๔. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระราชอุปัธยาจารย์ (สมเด็จท่านนี้ สร้างพระกริ่งปวเรศฯ เป็นที่โด่งดัง หายากและมีราคาแพงมาก)
    ๕. พระจันทรโคจรคุณ (ยิม จันทรังสี) วัดมกุฏกษัตริยาราม
    ๖. พระพิมลธรรม(สมเด็จพระวันรัต ทับ พุทธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร
    ๗. พระอริยมุนี (พระพรหมมุนี เหมือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาส
    ๘. พระพรหมมุนี (สมเด็จพระพุฒาจารย์ ศรี) วัดปทุมคงคา
    ๙. พระสาสนโสภณ (สมเด็จพระสังฆราชสา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์ พระราชกรรมวาจาจารย์





    [​IMG]
    บรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒

    เมื่อทรงลาสิกขาบทแล้ว ก่อนทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เอง ได้มีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๑๖ อันเป็นพระราชพิธีมโหฬารยิ่ง โดยเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า
    "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"


    มีสิ่งที่ประทับใจผู้ที่ได้เข้าร่วมสันนิบาตสโมสรครั้งนั้นก็คือ มีพระบรมราชโองการให้ขุนนางที่หมอบเฝ้าอยู่ในท้องพระโรงลุกขึ้นยืนเฝ้า เช่นเดียวกับชาวยุโรปที่ได้รับเชิญมาร่วมพระราชพิธีเป็นอันว่าได้เลิกประเพณีหมอบคลานกันตั้งแต่บัดนั้น




    [​IMG]

    พระราชกรณียกิจที่สำคัญ


    การปกครอง

    เมื่อทรงว่าราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เอง ทรงเห็นว่าเดิมมีเสนาบดีบริหารงานเพียง ๖ ตำแหน่ง ย่อมไม่เพียงพอกับกิจการบ้านเมืองที่เจริญก้าวหน้าขึ้นมาก ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือ ส่วนราชการที่มีอยู่ขณะนั้นสับสนมาก บางกรมงานมาก บางกรมไม่มีงานทำ งานทหารกับพลเรือนปะปนกัน ฯลฯ จึงทรงริเริ่มปรับปรุงบ้านเมืองตามแนวพระราชดำริที่ทรงวางไว้ ด้วยทรงตระหนักว่าถ้าบริหารประเทศเพียงลำพังพระองค์เดียว “ก็จะไม่ใคร่สำเร็จไปได้ถ้ามีผู้ช่วยกันคิดหลายปัญญาแล้ว การซึ่งรกร้างมาแต่เดิมก็จะได้ปลดเปลื้องไปทีละน้อยๆ ความดีความเจริญก็จะบังเกิดแก่บ้านเมือง”


    ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาขึ้น ๒ สภา คือ
    ๑. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือ เคาน์ซิล ออฟ สเตท (Council of state) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ มีสมาชิก ๑๐ ถึง ๒๐ นาย และอาจทรงแต่งตั้งพระบรมวงศานุวงศ์เข้าร่วมได้อีกไม่เกิน ๖ พระองค์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานของที่ประชุมสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาและความคิดเห็นต่างๆ ถ้าคำปรึกษานั้นๆ เป็นที่เห็นชอบของที่ประชุมส่วนใหญ่ก็ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ นอกจากจะมีพระราชประสงค์ให้สภานี้ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติแล้วยังต้องการให้เป็นกลไกยับยั้งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในกรณีที่พระราชดำรินั้นไม่เป็นไปอย่างยุติธรรมด้วยนับเป็นการปูพื้นฐานด้านประชาธิปไตยสืบต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถอย่างน่าชมเชยยิ่ง

    ต่อมาได้ทรงตรา พ.ร.บ. รัฐมนตรี ยกเลิกสภาให้มีรัฐมนตรีสภาแทน ประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท คือ เสนาบดีหรือผู้แทนและสมาชิกที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งไม่น้อยกว่า ๑๒ นาย

    ๒. สภาที่ปรึกษาในพระองค์ หรือ ปรีวี เคาน์ซิล (Privy Council) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ เป็นสภาที่ปรึกษาในพระองค์ สมาชิกจำนวนมีจำกัดสุดแต่ทรงพระราชประสงค์ มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์เสนอข้อคิดเห็นซึ่งอาจนำไปอภิปรายในสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน สืบสวนราชการแผ่นดินที่ทรงพระราชดำริให้ทรงสืบสวน เข้าประชุมร่วมกับสภาที่ปรึกษาเป็นครั้งคราว อาจตั้งเป็นคณะเพื่อชำระความฎีกา (ศาลรับสั่ง)

    ภายหลังการปฏิรูปการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ตำแหน่ง “ที่ปรึกษาในพระองค์” เปลี่ยนเป็น “องคมนตรี” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ได้มีการประกาศยกเลิกสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และจัดตั้งรัฐมนตรีสภา ทำหน้าที่ให้ความคิดเห็นในการออกกฎหมาย ทำนองเดียวกับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน โดยกำหนดให้รัดกุมขึ้น

    แต่เมื่อทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินนั้น อันมีกรรมการ ๑๑ นาย และสภาที่ปรึกษาในพระองค์มีกรรมการ ๔๙ นาย เนื่องจากสมาชิกที่ปรึกษาทั้งสองแม้จะได้รับการฝึกฝนให้รู้จักแสดงความคิดเห็นและคุ้นเคยกับระเบียบการประชุมตามแนวทางของระบอบรัฐสภา แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่าสมาชิกยังไม่คุ้นเคยกับระเบียบวิธีการ ทั้งไม่ค่อยกล้าพูดหรือแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะในกรณีที่ขัดต่อพระราชดำริ บทบาทของสภาทั้งสองจึงลดความสำคัญลงประกอบกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่และพระบรมวงศานุวงศ์หลายทานไม่ได้ร่วมเป็นกรรมการด้วย ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับการตั้งสภาทั้งสอง มีผู้ตั้งชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า “กลุ่มสยามอนุรักษนิยม” (Conservative Siam) นำโดยอดีตผู้สำเร็จราชการ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ “กลุ่มสยามโบราณ” (Old Siam) นำโดยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ สำหรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถูกจัดให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม “สยามหนุ่ม” (Young Siam)

    การปฏิรูปการปกครอง มีบุคคลคณะหนึ่งเรียกว่า กลุ่มก้าวหน้า ร.ศ. ๑๐๓ (เมื่อเทียบจะตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๗) ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ ซึ่งเป็นคนไทยรุ่นแรกๆ ที่ไปศึกษาและได้เห็นประเพณีการปกครองของชาติต่างๆ ในทวีปยุโรปและอังกฤษ โดยพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงปรึกษากับเจ้านายและขุนนางกลุ่มหนึ่งรวม ๑๑ นาย และได้พร้อมใจกันทำหนังสือขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ และได้เสนอความเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงปฏิรูปการปกครอง ๗ ข้อ คือ

    ๑. เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก “แอฟโสลูดท โมนากี” เป็น “คอนสติติวชัวแนล โมนากี” (constitutional monarchy) หรือจาก “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” เป็น “ระบอบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ” เพื่อให้คนจำนวนมากได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง

    ๒. การบริหารบ้านเมืองต่างๆ “ต้องอยู่ในความคิดตัดสินใจของข้าราชการผู้ใหญ่” หรือพวกคณะรัฐมนตรี

    ๓. ให้มีพระราชพิธีการสืบสันตติวงศ์โดยต้องมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนไม่ต้องให้พระสงฆ์และขุนนางใหญ่น้อยมาประชุมเลือกในลักษณะ “มหาชนนิกรสโมสรสมมติ” เพื่อป้องกันปัญหาความยุ่งยากทั้งปวงอันอาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแผ่นดิน

    ๔. ป้องกันการฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนโดยตรงตามควรแก่ฐานานุรูป

    ๕. ต้องมีกฎหมายที่ให้ความยุติธรรมตามควรแก่ราษฎร์ กฎหมายและขนบธรรมเนียมที่ล้าสมัย ขัดขวางต่อความเจริญของประเทศต้องแก้ไขหรือยกเลิก

    ๖. เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี

    ๗. การคัดเลือกคนเข้ารับราชการต้องเลือกจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถความประพฤติดีเป็นหลัก และมีอายุเกิน ๒๐ ปีขึ้นไป


    นอกจากนี้ยังมีราษฎรสามัญที่เป็นนักคิดหัวก้าวหน้าและพยายามแสดงความคิดเห็นในที่ที่ให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เด่นๆ ๒ ท่าน คือ เทียนวรรณ และ ก.ศ.ร. กุหลาบ


    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าข้อเสนอในครั้งนี้เป็นความประสงค์ของพระองค์อยู่แล้ว แต่เมื่อได้พยายามดำเนินการไปก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ และพระราชดำริว่าก่อนที่จะมีการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญ ควรมีการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดิน ตามแบบตะวันตกที่ทรงเรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ รีฟอร์ม (Government Reform) เสียก่อน ใน พ.ศ. ๒๔๓๐ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสด็จแทนพระองค์ไปในงานฉลองราชสมบัติครบรอบ ๕๐ ปีของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ และมีรับสั่งให้พิจารณาแบบอย่างคณะเสนาบดีของชาติต่างๆ ในยุโรปมาด้วย

    ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระองค์ได้ทรงเริ่มการทดลองปฏิรูปการปกครองแบบใหม่ขึ้น โดยยกเลิกแบบแผนการปกครองที่มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ที่แบ่งงานเป็น ๖ กรม แล้วปรับปรุงเป็น ๑๒ กระทรวงตามระบบสากล นับเป็นการ “พลิกแผ่นดิน” (Revolution) ดำเนินงานเป็นเวลา ๔ ปีครั้นถึงวันปีใหม่ (คือวันที่ ๑ เมษายน ตอนนั้นยังไม่เปลี่ยนเป็น ๑ มกราคมตามอย่างสากล) พ.ศ. ๒๔๓๕ จึงดำเนินการอย่างถาวร กล่าวคือ

    การบริหารส่วนกลาง โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งหน่วยงานราชการส่วนกลางออกเป็นกระทรวงต่างๆ ๑๒ กระทรวง ๖ กระทรวงแรกคือ มหาดไทย กลาโหม การต่างประเทศ วัง นครบาล และเกษตรพาณิชยการนั้น ตรงกับที่เคยมีมาแต่เดิม อีก ๖ กระทรวงที่เหลือเป็นกระทรวงที่ตั้งใหม่ คือ พระคลังมหาสมบัติ ยุทธนาธิการ ยุติธรรม ธรรมการ โยธาธิการ และมุรธาธิการ ให้มีการแบ่งแยกหน้าที่รับผิดชอบเป็นสัดส่วน และให้ทุกกระทรวงมีฐานะเท่าเทียมกัน ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและตำแหน่งเสนาบดี

    ๑. กรมมหาดไทย มีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวซึ่งเป็นประเทศราช

    ๒. กรมพระกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันออกและตะวันตกและเมืองมลายู

    การที่ให้กรมทั้งสองบังคับหัวเมืองคนละด้านนั้น เพื่อเป็นการง่ายต่อการควบคุมดูแลพื้นที่นั้น ๆ ให้ได้ผลเต็มที่

    ๓. กรมท่า มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ เนื่องด้วยในขณะนั้นประเทศไทยมีการติดต่อด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการค้าขาย หรือการเจริญสัมพันธ์ไมตรีทางการทูต

    ๔. กรมวัง มีหน้าที่ดูแลรักษาการต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวัง

    ๕. กรมเมือง มีหน้าที่ดูแลรักาากฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับผู้กระทำผิด กรมนี้มีโปลิศหรือตำรวจทำหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบและจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ

    ๖. กรมนา มีหน้าที่คล้ายคลึงกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบันคือ มีหน้าที่ในการดูแล ควบคุมการเพราะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม

    ๗. กรมพระคลัง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเก็บภาษีรายได้จากประชาชน และนำมาบริหารใช้ในงานต่าง ๆ

    ๘. กรมยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินคดีต่าง ๆ ที่เป็นทั้งคดีอาญา คดีแพ่งและควบคุมดูแลศาลอาญา ศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์ ทั่วทั้งแผ่นดิน

    ๙. กรมยุทธนาธิการ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาการในกรมทหารบก ทหารเรือ และควบคุมดูแลส่วนที่เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับทหาร

    ๑๐. กรมธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ คือ หน้าที่ในการสั่งสอนอบรมพระสงฆ์ สอนหนังสือให้กับประชาชนทั่วไป

    ๑๑. กรมโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง และงานช่างที่เกี่ยวกับการก่อสร้างทั้งการไปรษณีย์และโทรเลข เป็นต้น แม้แต่การสร้างทางรถไฟ

    ๑๒. กรมมุรธธิการ มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร รักษาพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือที่เกี่ยวกับงานราชการทั้งหมด




    ...............................................

    [​IMG]

    ...........................

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๕.

    การเลิกทาส

    [​IMG]

    แต่เดิมในเมืองไทยมีทาสอยู่ ๗ ชนิด คือ ทาสสินไถ่ ทาสในเรือนเบี้ย ทาสได้มาแต่บิดามารดา ทาสท่านให้ ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย (เกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตาย ข้าวยากหมากแพง) ทาสเชลยศึก
    ด้วยน้ำพระทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าการมีทาสอยู่เป็นสิ่งที่ล้าสมัยไม่เหมาะกับประเทศที่เจริญแล้วและเป็นการส่งเสริมให้มีการกดขี่เหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง จึงทรงมีพระประสงค์เลิกทาสให้เป็นไทตั้งแต่เมื่อทรงเสวยราชสมบัติใหม่ๆ แต่เนื่องจากทรงทราบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการเลิกทาสใน พ.ศ. ๒๔๐๓ พระองค์จึงเห็นสมควรใช้วิธีการอันละมุนละม่อมค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับไม่หักหาญ พยายามให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุดทั้งฝ่ายนายเงินและทาส ตามลำดับขั้นตอนต่อไปนี้ คือ


    [​IMG]



    ๑. ให้กำหนดลดราคาค่าตัวทาสที่มีอยู่แล้วลงทีละน้อยจนเจ้าตัวทาสสามารถไถ่ถอนได้
    ๒. ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ร.ศ.๙๓ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๗ โดยกำหนดให้ลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๑ อันเป็นปีแรกที่พระองค์ครองราชย์ ให้คิดค่าเกษียณอายุลดค่าตัวลงทุกๆ เดือนไปจนอายุครบ ๘ ปี ก็ให้ถือว่าค่าตัวเต็มค่า จากนั้นให้เริ่มเกษียณอายุลงไปทุกปีจนถึงอายุ ๒๑ ปี เป็นขาดค่าตัว ถือ ว่าเป็นไท เมื่อเป็นอิสระแล้วห้ามการเป็นทาสอีก โดยทรงระบุโทษผู้ซื้อและผู้ขายไว้ด้วย
    ๓. ราษฎรที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๑ เป็นต้นไปห้ามซื้อขายเป็นทาส หากเข้าอาศัยในบ้านเรือนหรือสถานที่ใดให้มีฐานะเป็นลูกจ้างเท่านั้น
    ๔. เมื่อมีพระชนมพรรษาครบ ๒ รอบในปี พ.ศ.๒๔๒๐ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ คิดวันละบาทเป็นเงิน ๘,๗๖๗ บาท (คิดจาก ๒๔ ปี) พระราชทานช่วยทาสที่ขายตัวอยู่กับนายเงินคนเดียวมาครบ ๒๕ ปี รวมทั้งลูกหลานของทาสนั้น สามารถปล่อยทาสเป็นไทได้ถึง ๔๔ คนอีกทั้งพระราชทานที่ทำกินให้ด้วย พระราชดำรินี้มีผู้เจริญรอยตามเป็นอันมาก ช่วยให้ทาสเป็นอิสระได้เร็วขึ้นอีกทางหนึ่ง
    ๕. โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ร.ศ.๑๑๙ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ ให้ลดค่าตัวทาสเชลยทั้งปวงในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน ให้เป็นอัตราเดียวกันหมด และเมื่ออายุครบ ๖๐ ปีแล้ว ก็ให้เป็นไทแก่ตัว
    ส่วนทาสสินไถ่ ถ้าอายุครบ ๖๐ ปีแล้ว ยังหาเงินไถ่มาไม่ได้ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นไทเช่นกัน
    ๖. โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลบูรพา ร.ศ.๑๒๓ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๗ โดยให้นายเงินลดค่าตัวทาสลงเดือนละ ๔ บาทจนกว่าจะหมด และห้ามซื้อขายทาสกันต่อไป
    ๗. โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.๑๒๔ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๘ เพื่อให้บังคับใช้ทุกมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร ยกเว้น มณฑลบูรพา ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู กำหนดให้นายเงินปล่อยลูกทาสของตนทุกคนให้เป็นอิสระตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๘ ส่วนทาสอื่นๆ ที่มิใช่ลูกทาสให้นายเงินลดค่าตัวให้กับทาสที่ยังไม่หลุดพ้นค่าตัวลงเดือนละ ๔ บาท และห้ามเอาคนที่เป็นไทแล้วไปเป็นทาสอีก และถ้าทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ห้ามทำกรมธรรม์ขึ้นค่าตัวสูงกว่าเงินค่าตัวเก่า
    ๘. และในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตราประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ กำหนดว่าผู้ใดจะเอาคนลงเป็นทาสนอกจากที่ได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัติ ร.ศ.๑๒๔ อีกไม่ได้ ผู้ฝ่าฝืนจะต้องจำคุกตั้งแต่ ๑ – ๗ ปี และปรับตั้งแต่ ๑๐๐ – ๑๐๐๐ บาท ซึ่งนับเป็นการปลดปล่อยทาสทั่วประเทศอย่างเด็ดขาด
    ในระหว่างที่ทรงดำเนินการปลดปล่อยทาสอยู่นั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาตามแบบใหม่ควบคู่กันไป เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ต่อไปในภายภาคหน้า ด้วยพระปรีชาสามารถและพระบารมี เพียงระยะเวลาประมาณ ๓๕ ปี (จากปี พ.ศ. ๒๔๑๗ - ๒๔๕๒) ก็สามารถทำให้ ทาสหมดไปจากเมืองไทยได้ด้วยวิธีการอันสันติไม่เกิดเหตุการณ์นองเลือดเหมือนกับประเทศอื่นๆ


    ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ประเทศไทยเตรียมเสนอเอกสารการเลิกทาสในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๒ ว่าด้วยพระราชบัญญัติ ทาษรัตนโกสินทร ศก ๑๒๔ (พ.ศ.๒๔๔๘) อายุ ๑๐๒ ปี ซึ่งเป็นเอกสารการปฏิรูปราชการแผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ต่อยูเนสโก เพื่อเสนอให้เป็นมรดกความทรงจำของโลกอีกชิ้น



    ....................................


    [​IMG]


    ........................​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 009.jpg
      009.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.1 KB
      เปิดดู:
      7,308
    • larg_10_bba908.jpg
      larg_10_bba908.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.2 KB
      เปิดดู:
      9,724
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  7. uknowg

    uknowg สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +12
    ข้อมูลแน่นมาก ขอบคุณครับ
     
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ขอบคุณเจ้าค่ะ สำหรับคำชม...
     
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๕.

    การยกเลิกระบบไพร่และการเกณฑ์ทหาร

    [​IMG]

    พระมหากรุณาธิคุณอีกสิ่งหนึ่งที่สมควรยกย่องคือ ทรงเปลี่ยนแปลงสถานะไพร่ให้เป็นคนสามัญ โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกระบบไพร่หรือการเกณฑ์แรงงานประชาชนมารับราชการโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน ด้วยการออกกฎหมายลักษณะเกณฑ์ทหารแทน

    ไพร่ คือ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ มีอายุตั้งแต่ ๑๕ – ๑๖ ปี ขึ้นไปจนถึงอายุ ๗๐ ปี ทำหน้าที่รับใช้เจ้านายเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่จะได้รับความคุ้มครองจากเจ้านาย หรือ มีหน้าที่ให้แรงงาน ส่วย หรือเงินแก่บ้านเมืองเป็นการตอบแทนที่ได้รับความคุ้มครอง

    ไพร่แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ไพร่หลวง ไพร่สม และไพร่ส่วย

    ไพร่หลวง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ คือพวกที่ทำงานให้หลวงโดยมีกำหนดว่าปีหนึ่งต้องเข้ารับราชการ ๓ เดือน หรือมิฉะนั้นจะต้องจ่ายเงินให้คนอื่นมาทำแทนเดือนละหนึ่งตำลึงครึ่ง (๖ บาท) หรือปีละสี่ตำลึงครึ่ง (๑๘ บาท) ไพร่สมเป็นไพร่ส่วนบุคคล แต่ต้องทำงานให้หลวงปีละเดือนหรือมีค่าเท่ากับหนึ่งตำลึงครึ่ง ไพร่ส่วย คือไพร่ที่ส่งสิ่งของเพื่อช่วยราชการ

    การใช้แรงงานไพร่มีระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ เรียกว่า “การเข้าเดือน” ในแต่ละสมัยมีระยะเวลาไม่เท่ากัน เช่น ในสมัยอยุธยา ไพร่ต้องมาเข้าเวร ๖ เดือนโดยอาจใช้แรงงาน ๖ เดือนและกลับไปทำมาหากิน ๖ เดือน หรืออาจต้องเข้าออกเดือนเว้นเดือนตามลักษณะของงานของแต่ละกรม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้ลดลงเหลือเพียงปีละ ๔ เดือน คือ เข้าเดือนออก ๒ เดือน ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ทรงลดเหลือเพียงปีละ ๓ เดือนจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕

    ต่อมาเริ่มจากปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ได้มีการตราพระราชบัญญัติทหารออกมาหลายฉบับ มีลักษณะเป็นทหาร “สมัคร” อันเป็นกรรมวิธีเริ่มแรกในการแปลงไพร่มาเป็นพลเมือง


    [​IMG]
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช



    ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ เมื่อพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (จอมพลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช) ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารบกจากประเทศเดนมาร์ก ได้ทรงริเริ่มการปรับปรุงการทหารให้ก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ มีประกาศใช้ “พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔” เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบทหารจากการ “สมัคร” มาเป็น “เกณฑ์” โดยกำหนดให้ไพร่ที่มีอายุ ๑๘ – ๒๐ ปี ต้องเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารทุกคนในแต่ละปีคนที่ได้รับการคัดเลือกต้องเข้ารับราชการเป็นทหารในกองประจำการ มีกำหนด ๒ ปี จึงปลดเป็นกองหนุนแล้วไม่ต้องเสียค่าราชการใด ๆ อีกต่อไปจนตลอดชีวิตส่วนคนที่ไม่ได้รับการคัดเลือก จะเสียเงินให้ราชการแทนหรือรอไว้สำหรับการคัดเลือกในปีต่อไปก็ได้

    ฉะนั้น จึงถือได้ว่าปีดังกล่าวเป็นปีที่มีความสำคัญมากเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไพร่ให้เป็นคนสามัญ พระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ประกาศใช้พร้อมกันทั่วประเทศ แต่จะค่อย ๆ ขยายไปเรื่อย ๆ จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๙ จึงประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหารทั่วราชอาณาจักร ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ และในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงมีการเลื่อนอายุทหารเกณฑ์จาก ๑๘ ปีเป็น ๒๐ ปี

    ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น หลังจากเป็นทหารรับใช้ชาติครบกำหนด ๒ ปีแล้ว ไพร่ก็เป็นอิสระสามารถประกอบอาชีพได้ตามใจชอบ ไม่ต้องมีพันธะในการเข้าเวรรับใช้มูลนายดังแต่ก่อน ทำให้ราษฎรสามารถเพิ่มผลผลิตได้ตามความต้องการของตลาดในระบบใหม่ที่มีการค้ากับต่างประเทศ ประกอบกับระบบการศึกษาแบบใหม่ทำให้สามัญชนมีโอกาสเลื่อนฐานะทางสังคม




    การไปรษณีย์ การโทรเลขและการโทรศัพท์

    [​IMG]
    บุรุษไปรษณีย์


    ประเทศไทยได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิดภาคีสหภาพสากลไปรษณีย์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ เพื่อนำวิทยาการทางการสื่อสารเข้ามาใช้ปรับปรุงแก้ไขการสื่อสารทางไปรษณีย์ ที่มีการก่อตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้มาได้ ๒ ปีแล้ว โดยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการสื่อสารทางไปรษณีย์ โดยใช้จังหวัดนครปฐมเป็นที่เริ่มต้นการไปรษณีย์เป็นครั้งแรกของเมืองไทยจนการไปรษณีย์ได้ดำเนินมาจนทุกวันนี้

    เมื่อการไปรษณีย์เปิดดำเนินการแล้วสิ่งที่ตามมาก็คือ การโทรเลข การโทรเลขทำการทดลองใช้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๒ โดยให้วิศวกรชาวอังกฤษ ๒ นาย ช่วยกันประกอบขึ้นมา แต่ว่าการทำงานของท่านทั้งสองไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องมาจากเมืองไทยในขณะนั้นยังมีป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก การสื่อสารทางโทรเลขสมัยนั้นจึงยังไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อจากนั้นทางกระทรวงกลาโหม จึงได้รับงานนี้มาทำเองซึ่งต้องใช้เวลานานถึง ๖ ปี โทรเลขสายแรกจึงสัมฤทธิ์ผลเปิดดำเนินการได้ โดยส่งสายระหว่างกรุงเทพฯกับสมุทรปราการ ด้วยระยะทาง ๔๕ กิโลเมตร พร้อมกันนี้ยังวางท่อสายเคเบิลไปถึงประภาคารที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับบอกร่องน้ำเมื่อเรือเดินทางเข้าออก

    ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๐ โปรดเกล้าฯ ให้ขยายงานโทรเลขขึ้นอีกสายหนึ่ง คือสายกรุงเทพฯ – บางปะอิน เมื่อสร้างเสร็จแล้วเปิดดำเนินการได้ไม่นานก็ทรงโปรดให้สร้างต่อจนถึงพระนครศรีอยุธยา เมื่อความเจริญทางโทรเลขมีมากขึ้นตามลำดับ ทรงโปรดให้ขยายเส้นทางออกไปโดยไม่สิ้นสุดอีกหลายสายและทรงโปรดเกล้าฯ ให้การไปรษณีย์ และโทรเลขรวมเข้าด้วยกัน เรียกว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข นับตั้งแต่บัดนั้นมา

    [​IMG]
    โรงไปรษณีย์โทรเลข


    เมื่อมีความเจริญทางไปรษณีย์และโทรเลขมากขึ้น การโทรศัพท์ก็ได้เริ่มขึ้น โดยกระทรวงกลาโหมยังเป็นผู้ดำเนินการต่อไป โดยกระทรวงกลาโหมได้นำวิทยาการสมัยใหม่ ที่เรียกว่า โทรศัพท์ เข้ามาทดลองใช้ในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ โดยการติดตั้งทดลองใช้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่กรุงเทพฯ ถึงเมืองสมุทรปราการใช้เวลาในการก่อสร้างนาน ๓ ปี ก็เป็นอันสำเร็จ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ พร้อมเปิดให้ประชาชนได้ใช้ทั่วกันจนกระทั่งทุกวันนี้การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ได้ก้าวหน้าด้วยวิทยาการที่เริ่มต้นขึ้นจากสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจริญมาจนทุกวันนี้



    การปรับปรุงด้านสาธารณสุขและการแพทย์


    [​IMG]
    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์


    การพัฒนาด้านสาธารณสุขได้เริ่มมาแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยมิชชันนารีอเมริกันเป็นผู้นำการแพทย์แผนใหม่เข้ามายังประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการแพทย์ไทย คนไทยเริ่มรู้จักวิธีการปลูกฝึกป้องกันโรคไข้ทรพิษ การผ่าตัดแบบตะวันตก การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ นอกจากนี้ พวกมิชชันนารียังจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เช่น ที่เชียงใหม่ พิษณุโลก เพชรบุรี นครศรีธรรมราช เป็นต้น นับเป็นการปูพื้นฐานการแพทย์สมัยใหม่ให้แก่การแพทย์ไทยในสมัยต่อมา

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำริที่จะสร้างโรงพยาบาล เพื่อใช้เป็นที่รักษาประชาชน ด้วยการรักษาแบบยากลางบ้านนั้นล้าสมัย ไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมายในสมัยก่อนเมื่อเกิดโรคระบาด พระองค์ทรงแต่งตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นทรงเล็งเห็นที่บริเวณริมคลองบางกอกน้อย เหมาะสำหรับการสร้างโรงพยาบาล ด้วยสามารถไปมาได้สะดวกไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงพยาบาล ณ ที่นั้น และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๒๐๐ ชั่ง ประเดิมการสร้างโรงพยาบาล เพื่อเปิดทำการรักษาแก่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า โรงพยาบาลวังหลัง ได้จัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น ๖ หลัง เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลวังหลังจากเดิมเป็นโรงพยาบาลศิริราชโดยพระราชทานสิ่งก่อสร้างในงานพระเมรุพระศพของสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์มาเป็นสิ่งปลูกสร้างเรือนคนไข้ในโรงพยาบาลแห่งนี้


    [​IMG]
    พระเมรุ 5 ยอด สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย และสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์

    ...................................................................


    [​IMG]


    ..........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2016
  10. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    กระทู้ทรงคุณค่าจริงๆนะคะ ขอบคุณคุณสร้อยนะคะ เพลงประกอบของคุณโมเยก้เพราะจริงๆเลยค่ะ
     
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๕.

    ด้านกฎหมาย

    [​IMG]
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย

    การชำระกฎหมายในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสร้างประมวลกฎหมายอาญาขึ้นมาเพื่อให้มีความทันสมัย ให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญกฎหมายจากต่างประเทศมาดำเนินการให้
    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ มีกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ อันเป็นลักษณะกฎหมายอาญาฉบับแรกที่นำขึ้นมาใช้ อีกทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ใหม่มีการตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง พิจารณาทำกฎหมายประมวลอาญาแผ่นดินและการพาณิชย์ ประมวลกฎหมายว่าด้วยพิจารณาความแพ่งและพระธรรมมูญแห่งศาลยุติธรรม แต่ยังมิทันสำเร็จดี ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน โปรดให้จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยมีพระเจ้าลูกเธอ กรมหลวงราชบุรีพิเราะฤทธิ์ ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกเฟอร์เมียมเป็นผู้อำนวยการ เมื่อสร้างประมวลกฎหมายขึ้นมาใช้แล้ว บทลงโทษแบบจารีตดั้งเดิมจึงถูกยกเลิกโดยสิ้นเชิงในรัชกาลของพระองค์เอง เพราะมีกฎหมายใหม่เป็นบทลงโทษที่เป็นหลักการพิจารณาที่ดีกว่าเดิมและทันสมัยกว่าเดิมและทันสมัยกว่าด้วย



    ปรับปรุงการขนส่งและการสื่อสาร

    [​IMG]



    ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ โปรดให้คณะเสนาบดีและกรมโยธาธิการสำรวจ เพื่อวางรากฐานการสร้างทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ มีการวางแผนให้ทางรถไฟสายนี้ตัดเข้าเมืองใหญ่ๆ ในบริเวณภาคกลางของประเทศ แล้วแยกเป็นชุมสายตัดเข้าสู่ยังจังหวัดใหญ่ทางแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การสำรวจเส้นทางในการวางเส้นทางรถไฟนี้ เสร็จสิ้นเมือปี พ.ศ.๒๔๓๔ และในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา นับว่าเป็นการสร้างทางรถไปครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทางรถไฟสายนี้เป็น “รถไฟหลวง” แห่งแรกของไทย




    การไฟฟ้า



    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล เมื่อทรงมีโอกาสไปประพาสตางประเทศได้ทรงทอดพระเนตรกิจการไฟฟ้า และทรงเห็นถึงประโยชน์มหาศาลที่จะเกิดจากการมีไฟฟ้า พระองค์ได้ทรงมอบหมายให้ กรมหมื่นไวยวรนารถ เป็นผู้ริเริ่มในการจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นการเปิดใช้ไฟฟ้าครั้งแรก ต่อมาเพื่อให้กิจการไฟฟ้าก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทรงโอนกิจการเหล่านี้ให้กับผู้ที่มีความชำนาญด้านนี้ ได้แก่ บริษัทอเมริกันชื่อ แบงค้อคอีเลคตริกซิตี้ ชินดิเคท เข้ามาดำเนินงานต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ บริษัทเดนมาร์กได้เข้ามาตั้งโรงงานไฟฟ้าเพื่อใช้กับรถรางอีกด้วย ต่อมาทั้ง ๒ บริษัทได้ร่วมกันจัดสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมาอีกด้วย นับเป็นการบุกเบิกไฟฟ้าครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย ในการเริ่มมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรก



    เปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา



    ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ โปรดพระราชทานให้ทำธนบัตรขึ้นใช้เรียกว่า “อัฐ” เป็นกระดาษมีมูลค่าเท่ากับเหรียญทองแดง ๑ อัฐ แต่ใช้เพียง ๑ ปี ก็เลิกไปเพราะประชาชนไม่นิยมใช้ ต่อมาทรงตั้งกรมธนบัตรขึ้นมาเพื่อจัดทำเป็นตั๋วสัญญาขึ้นใช้แทนเงิน กรมธนบัตรได้เริ่มใช้ตั๋วสัญญาเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นครั้งแรกเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้มีการผลิตธนบัตรรุ่นแรกออกมา ๕ ชนิด คือ ๑,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๒๐บาท ๑๐ บาท ๕ บาท ส่วนภายหลังมีธนบัตรใบละ ๑ บาทออกมาด้วย รวมถึงโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดหน่วยเงินตรา โดยใช้หน่วยทศนิยม เรียนว่า สตางค์ กำหนดให้ ๑๐๐ สตางค์ เท่ากับ ๑ บาท พร้อมกับผลิตเหรียญสตางค์ขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก เรียกว่า เบี้ยสตางค์ มีอยู่ด้วยกัน ๔ ชนิด คือ ราคา ๒๐ สตางค์ ๑๐ สตางค์ ๔ สตางค์ ๒ สตางค์ครึ่งใช้ปนกับเหรียญเสี้ยว อิฐ



    ด้านการเศรษฐกิจ



    เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ และเพื่อทำให้การเก็บภาษีอากร เพื่อบำรุงประเทศชาติ มีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี พระองค์โปรดให้สร้าง พอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรวบรวมเงินรายได้ของแผ่นดินให้เป็นที่เป็นทาง ไม่กระจัดกระจายไปอยู่ตามกรมกองต่าง ๆ มีพนักงานบัญชี คอยดูแลตรวจสอบ ทางกฎหมายภาษีอากร ตราไว้เป็นพระราชบัญญัติเป็นการวางหลักเกณฑ์การเรียกเก็บภาษีอากรแบบใหม่ตามสากลนิยม เพื่อตราพระราชบัญญัติการเก็บภาษีแบบใหม่ ก็ทรงค่อย ๆ ยกเลิกภาษีแบบเก่า ยกเลิกเจ้าภาษีนายอากร โดยโปรดเกล้าฯ ให้เทศาภิบาลเป็นผู้จัดเก็บ จึงทำให้การเก็บภาษีดีขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเก็บภาษี ทรงเปลี่ยนระบบการคลังเสียใหม่ด้วยเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นเอกเทศ แยกพระคลังออกจากกระทรวงการต่างประเทศ และยกหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นมาเป็นกระทรวงการคลัง พร้อมโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติ เพื่อเป็นหลักในการจับจ่ายใช้สอยเงินของแผ่นดินอย่างถูกต้อง



    การตั้งธนาคาร

    [​IMG]
    กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระบิดาธนาคารไทย


    พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระองค์เจ้าไชยยันตมงคล) เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้รวบรวมกลุ่มนักวิชาการที่มีความรู้ด้านการเงิน มาร่วมกันจัดตั้งธนาคารที่เป็นของคนไทยขึ้นมาครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ เรียกว่ากลุ่ม บุคคลัภย์ ดำเนินกิจการธนาคารไปด้วยดีตลอดระยะเวลา ๒ ปี ต่อมากลุ่มของพระเจ้าน้องยาเธอ ทรงขอพระบรมราชาอนุญาต จดทะเบียนเป็น บริษัท แบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด โดยดำเนินกิจการแบบสากลแต่บริหารงานโดยคนไทยทั้งสิ้นซึ่งทำให้มีธนาคารของคนไทยแห่งแรกเกิดขึ้นมาและดำเนินกิจการโดยคนไทยทั้งสิ้น




    การประปา


    พระองค์ท่านทรงเห็นว่าประเทศไทยควรมีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค เนื่องจากการใช้น้ำในแม่น้ำลำคลองอาจก่อให้เกิดโรคระบาดดังที่เป้นมาในอดีตได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กักกันน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี ทำการขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามายังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องน้ำประปาให้แก่ประชาชน แต่การประปายังมิทันได้เสร็จสมบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน



    .........................................


    [​IMG]


    ......................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๕.

    การสร้างวัด

    วัดที่สำคัญในพระพุทะศาสนาของเมืองไทยในปัจจุบันนี้ มีหลายวัดที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดที่ทรงสร้างขึ้นมาใหม่รวมทั้งวัดที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ได้แก่ วัดเบญจมบพิธฯ วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชาธิวาส วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (บางปะอิน) วัดอัษฎางค์นิมิตร วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม (เกาะสีชัง จ.ชลบุรี) เมื่อพระองค์ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้นมาและวัดเก่าแก่ที่เสื่อมโทรมนั้นพระองค์ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษฎ์ วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี วัดสุวรรณดาราม และพระปฐมเจดีย์ ทรงสร้างต่อจากสมเด็จพระบรมราชชนกจนแล้วเสร็จในรัชกาลของพระองค์


    การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา

    [​IMG]


    สาเหตุของการปฏิรูปการศึกษา การที่รัชกาลที่ ๕ มีดังนี้

    การคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก
    การได้รับอิทธิพลทางด้านสติปัญญา และความคิดตามแบบตะวันตกจากชาวยุโรปและอเมริกัน ที่มาเมืองไทยเพื่อทำการค้าและการเผยแผ่ศาสนา

    การเสด็จประพาสต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งในเอเซียและยุโรป ทำให้พระองค์ได้รับแนวความคิดในการจัดการศึกษาแบบใหม่เพื่อนำมาใช้ในประเทศไทย

    ทรงมีพระราชดำริที่จะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือให้ผู้ที่พ้นจากการเป็นทาสนำไปใช้ในการยังชีพ

    ความจำเป็นที่ต้องอาศัยบุคคลที่ได้รับการศึกษาตามแบบแผนใหม่เข้ารับราชการเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาคนไทยให้มีความรู้วิทยาการแบบตะวันตก โดยเฉพาะในยามที่ประเทศไทยกำลังปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย คนไทยที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการสมัยใหม่จึงเป็นที่ต้องการของทางราชการ รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงเริ่มปฏิรูปการศึกษา โดยเริ่มจากในพระบรมมหาราชวังก่อน ทรงจัดตั้ง "โรงเรียนหลวง" ใน

    [​IMG]

    พ.ศ. ๒๔๑๔ มีสถานที่เล่าเรียนจัดไว้เฉพาะ มีฆราวาสเป็นครูและทำการสอนตามเวลาที่กำหนด วิชาที่สอนมีทั้งภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และวิชาอื่นๆ ที่ไม่เคยสอนในโรงเรียนแผนโบราณมาก่อน และรับนักเรียนไว้เฉพาะเพื่อจะได้ฝึกหัดเล่าเรียน จะได้รู้หนังสือ รู้จักคิดเลขและขนบธรรมเนียมราชการให้ชัดเจน และในปีเดียวกันนั้น พระองค์ได้ทรงสถาปนาโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้นอีก เพื่อสอนภาษาอังกฤษให้แก่เจ้านายสำหรับใช้ประโยชน์ในการเจรจากับชาวต่างประเทศและผู้แทนของชาติมหาอำนาจตะวันตก

    ใน พ.ศ.๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็กขึ้น เรียกว่า "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" หรือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในขั้นแรกมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ฝึกวิชาทหาร แต่เนื่องจากมีผู้นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนี้มากขึ้น จึงทรงขยายโรงเรียนให้กว้างขวางออกไปและเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนพลเรือน" พร้อมกับเปลี่ยนแปลงให้มุ่งฝึกสอนนักเรี่ยนเพื่อการรับราชการพลเรือนเป็นสำคัญ ส่วนนักเรียนมหาดเล็กที่มีความประสงค์จะรับราชการพลเรือนเป็นนั้น เมื่อเรียนสำเร็จวิชาความรู้เบื้องต้นแล้วก็ให้แยกไปฝึกหัดวิชาทหารต่อไป

    ในขณะที่มีการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อผลิตคนออกมารับราชการตามความต้องการของบ้านเมืองในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงละเลยการศึกษาของราษฏร จะเห็นได้จากทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นที่ "วัดมหรรณพาราม" เมื่อได้ผลแล้วก็ได้ขยายการตั้งโรงเรียนหลวงตามวัดต่างๆ ให้ขยายออกไปตามลำดับทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ปรากฏว่าการจัดการศึกษาของราษฏรนี้ วัดกับรัฐบาลได้ร่วมมือกันจัดการศึกษาอย่างใกล้ชิด

    เมื่อการศึกษาได้กว้างไกลไปสู่ความนิยมของประชาชน รวมถึงได้นำความรู้ที่ได้ศึกษามาประกอบอาชีพได้หลายทาง เมื่อการศึกษาได้เจริญมากขึ้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างโรงเรียนเพื่อสอนภาษาอังกฤษเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อมีโรงเรียนหลวงเกิดขึ้นหลายแห่งจึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) เป็นผู้เขียนตำราเรียนขึ้นมา เรียกว่า แบบเรียนหลวง ๖ เล่ม คือมูลบรรณกิจ วาหนิติริกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ ตำราทั้ง ๖ เล่มนี้พระยาศรีสุนทรโวหารเขียนขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๗และโปรดให้มีการสอบไล่สามัญศึกษาขึ้นอีกด้วยเพื่อเป็นการทดสอบความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา

    ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๐ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง "กรมศึกษาธิการ" ขึ้น เพื่อรับผิดชอบในด้านการศึกษาโดยเฉพาะ เช่น ควบคุมดูแลทางด้านการศึกษา การจัดตั้งโรงเรียน ดูแลเรื่องแบบเรียนหลวงและการสอบไล่ เป็นต้น โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงดูแลกรมศึกษาธิการ ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง "กรมธรรมการ" ขึ้นทำหน้าที่ด้านการศึกษาและพระศาสนาโดยเฉพาะ กรมธรรมการมีหน่วยงานที่สำคัญ คือ กรมธรรมการสังฆารี ,กรมศึกษาธิการ, กรมพยาบาล ,กรมแผนที่ และพิพิธภัณฑสถาน โปรดเกล้าฯ ยกฐานะกรมธรรมการขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการ ทำหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบการศึกษาของชาติ และได้มีประกาศใช้แผนการศึกษาของชาติขึ้นเป็นครั้งแรก

    ในปีพ.ศ. ๒๔๔๔ พระองค์ทรงโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสตรี ชื่อว่า โรงเรียนบำรุงสตรีวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนเพื่อสตรีแห่งแรกของประเทศไทย และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี ได้โปรดให้ตั้งโรงเรียนสตรีอีกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ด้วยทรงเห็นว่การศึกษาของสตรีนั้นเป็นเรื่องจำเป็นมากขึ้นเพราะโลกได้เจริญขึ้นไปมากแล้ว การเรียนจึงจำเป็นสำหรับทุกคนไม่ว่าบุรุษหรือสตรี

    การศึกษาที่จัดขึ้นในรัชกาลนี้ มีทั้งการศึกษาของเด็กชายและเด็กหญิง มีทั้งโรงเรียนหลวง โรงเรียนเชลยศักดิ์หรือโรงเรียนราษฏร์ในความหมายปัจจุบัน ผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษานอกจากรัฐบาลและวัดแล้ว ยังมีพวกบรรดามิชชันนารีอเมริกันทั้งหญิงและชายซึ่งมีส่วนทำให้การศึกษาของไทยเจริญก้าวหน้าตามแบบตะวันตก เช่น ศาสตราจารย์ เอส.จี.แมคฟาร์แลนด์ เป็นผู้วางรากฐานการศึกษาตามแบบตะวันตกด้วยการตั้งโรงเรียนภาษาอังกฤษขึ้น ใน พ.ศ.๒๔๒๒ นายแพทย์ จี.บี.แมคฟาร์แลนด์ บุตรชายเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาวิชาแพทย์แผนใหม่ นางแฮเรียต เอช.เฮาส์ เป็นผู้ริเริ่มการตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสำหรับสตรีแห่งแรกของไทย เป็นต้น

    โรงเรียนที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตคนเข้ารับราชการก็ขยายตัวไปอย่างแพร่หลายตามความต้องการของหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียนไปรษณียโทรเลย โรงเรียนทำแผนที่ โรงเรียนกฎหมาย โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน โรงเรียนเกษตร โรงเรียนราชแพทยลัย เป็นต้น พระองค์ทรงวางแผนให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดขอบการจัดการศึกษาเบื้องต้น (ระดับประถมศึกษา) ให้กับทวยราษฏร์ทั่วราชอาณาจักร ส่วนกระทรวงธรรมการรับผิดชอบการจัดการศึกษาในชั้นที่สูงกว่า

    นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้ทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์ และบุตรขุนนางที่ทรงเห็นสมควรไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ และได้ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งเป็นทุนเล่าเรียนหลวง ส่งผู้ที่มีสติปัญญาดีที่เรียนภาษาอังกฤษจบพอสอบไล่แข่งขันไปศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศ ปีละ ๒ คน เพื่อนำความรู้มาทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองต่อไป การสอบชิงทุนเล่าเรียนนี้ทรงเปิดโอกาสให้นักเรียนทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถโดยไม่เลือกชนชั้น ได้มีสิทธิ์เข้าสอบชิงทุนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเท่าเทียมกัน

    การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างใหญ่หลวง เพราะการศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาบุคคลทุกระดับให้มีความรู้ความเข้าใจต่อการปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก



    ด้านวรรณกรรม

    [​IMG]


    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกวีเอกที่ยิ่งใหญ่พระองหนึ่งในแผ่นดินสยาม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้อย่างมากมาย พระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน ที่ได้รับความนิยมและใช้เป็นส่วนหนึ่งของแบบเรียนคือ

    ๑. ลิลิตนิทราชาคริต ทรงพระราชนิพนธ์ในปี พ.ศ.๒๔๒๑ โดยใช้ทำนองแต่งด้วยโครงสี่สุภาพ อาศัยเค้าโครงเรื่องจากนิทานอาหรับโบราณ ทรงพระราชนิพนธ์งานชิ้นนี้เพื่อ พระราชทานให้กับพระบรมวงศานุวงศ์ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่

    ๒. พระราชพิธีสิบสองเดือน ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๑ ลงพิมพ์เป็นตอนๆในหนังสือวชิรญาณ ใช้สำนวนร้อยแก้ว เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน

    ๓. บทละครเรื่อง เงาะป่า ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๘ ในขณะที่ทรงพระประชวรพระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นบทละคร พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาจนทุกวันนี้

    ๔. ไกลบ้าน ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙ เป็นพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้านิภานพดล เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปในครั้งที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้วโดยเรื่องราวส่วนใหญ่เป็นบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้มีโอกาสได้ทอดพระเนตรในระหว่าง ๙ เดือน ที่เสด็จประพาสยุโรป

    ๕. พระราชวิจารณ์ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้ว โดยจุดประสงค์ในการพระราชนิพนธ์งานชิ้นนี้เพื่อพระราชทานเป็นความรู้แก่นักวิชาการ ที่ต้องการค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านในเรื่องด้านต่างๆ ลักษณะของงานพระราชนิพนธ์ฉบับนี้ มีลักษณะคล้ายกับจดหมายเหตุ


    ด้านสถาปัตยกรรม

    [​IMG]


    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นงานศิลปที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกด้วยเหตุผลที่ว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเนื่องด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกไม่สลับซับซ้อนเท่าไรอีกทั้งยังทรงได้มีการเสด็จประพาสยุโรป พระองค์จึงนำสถาปัตยกรรมตะวันตกมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยได้อย่างงดงาม ดังจะเห็นได้จากงานสถาปัตยกรรม ดังต่อไปนี้
    ๑. พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นศิลปกรรมอิตาลี ใช้เป็นสถานที่ในการออกท้องพระโรงว่าราชการเมือง

    ๒. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ เป็นงานศิลปะไทยที่ผสมผสานกับตะวันตกได้อย่างงดงามลงตัว วัดแห่งนี้อยู่ฝั่งตรงข้ามกับ พระราชวังบางปะอิน

    ๓. พระที่นั่งจักกรีมหาปราสาท เป็นงานที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและตะวันตกอีกชี้นหนึ่งที่มีความงดงาม ตั้งอยู่ในบริเวณพระบรมราชวัง

    ๔. พระราชวังดุสิต

    ๕. พระบรมราชนิเวศน์

    ๖. ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม



    .....................................................

    [​IMG]

    ...........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 23OCT03.JPG
      23OCT03.JPG
      ขนาดไฟล์:
      8 KB
      เปิดดู:
      6,766
    • HIP2.jpg
      HIP2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.2 KB
      เปิดดู:
      9,013
    • untitled4.jpg
      untitled4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.7 KB
      เปิดดู:
      7,357
    • IMG46-1.JPG
      IMG46-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      44 KB
      เปิดดู:
      7,407
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ๕.

    ประมวลลำดับเหตุการณ์ในรัชสมัย


    [​IMG]

    พ.ศ. ๒๓๙๖
    ๒๐ กันยายน พระราชสมภพ พระนามเดิม เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

    พ.ศ. ๒๔๐๔
    เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ

    พ.ศ. ๒๔๐๙
    ทรงผนวชเป็นสามเณร

    พ.ศ. ๒๔๑๐
    กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น กรมขุนพิชิตประชานาถ

    พ.ศ. ๒๔๑๑
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
    ๑๑ พฤศจิกายน บรรดาเชื้อพระวงศ์และขุนนางอัญเชิญ กรมขุนพิชิตประชานาถ ขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี เฉลิมพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    เนื่องจากยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ ที่ประชุมจึงให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนจนถึง พ.ศ. ๒๔๑๖
    สถาปนาพระองค์เจ้ายิ่งยศ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระมหาอุปราช

    พ.ศ. ๒๔๑๒
    มีนาคม พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามขึ้นสำหรับเป็นวัดประจำรัชกาล

    พ.ศ. ๒๔๑๓
    เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาเป็นครั้งแรก
    ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย
    เสด็จประพาส อินเดีย (ปลายปี พ.ศ.๒๔๑๔ ต่อปี พ.ศ.๒๔๑๕)

    พ.ศ. ๒๔๑๔
    ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง สำหรับสอนบุตรหลานของเจ้านายและขุนนาง

    พ.ศ. ๒๔๑๕
    เริ่มปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่
    เริ่มใช้เสื้อราชประแตน

    พ.ศ. ๒๔๑๖
    ทรงมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา สามารถปกครองแผ่นดินโดยพระองค์เอง
    ทรงผนวช
    ๑๖ ตุลาคม พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒
    สถาปนา เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
    โปรดเกล้าฯ ให้เลิกประเพณีหมอบคลาน เวลาเข้าเฝ้า
    โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์

    พ.ศ. ๒๔๑๗
    โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือรัฐมนตรีสภาและองคมนตรีสภา
    วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ปีจอ ออกพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาส ลูกไท
    กำเนิดโรงเรียนสตรีวังหลัง
    ใช้เงินอัฐกระดาษ แทนเหรียญทองแดง
    ตั้งพิพิธภัณฑ์สถาน

    พ.ศ. ๒๔๑๘
    สงครามปราบฮ่อ ครั้งแรก
    เริ่มการโทรเลขครั้งแรกระหว่างกรุงเทพ - สมุทรปราการ

    พ.ศ. ๒๔๒๔
    สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี

    พ.ศ. ๒๔๒๕
    พ.ศ. ๒๔๒๖
    ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มเปิดบริการไปรษณีย์ครั้งแรกในพระนคร
    ตั้งกรมโทรเลข
    สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๒

    พ.ศ. ๒๔๒๗
    โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรทั่วๆ ไป ตามวัดต่างๆ เริ่มแห่งแรกที่วัดมหรรณพาราม


    [​IMG]
    สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
    พ.ศ. ๒๔๒๙
    โปรดเกล้าฯ ให้เลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคคล
    ทรงประกาศตั้งตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร ขึ้น และทรงสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นสยามมกุฎราชกุมารเป็นพระองค์แรก
    สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๓
    ไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสหภาพไปรษณีย์สากล

    [​IMG]
    พ.ศ. ๒๔๓๐
    ตั้งกรมยุทธนาธิการทหาร (กระทรวงกลาโหม)
    ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๐
    ตั้งกระทรวงธรรมการ
    สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๔

    พ.ศ. ๒๔๓๑
    ทรงเริ่มการทดลองจัดการปกครองส่วนกลางแผนใหม่
    เริ่มดำเนินการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก สำเร็จออกมา ๓๙ เล่ม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖
    ใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชในราชการ
    ตั้งกรมพยาบาล เปิดโรงพยาบาลศิริราช
    ตราพระราชบัญญัติ เลิกวิธีพิจารณาโทษตามแบบจารีตนครบาล
    เสียดินแดน แคว้นสิบสองจุไทให้ฝรั่งเศส

    พ.ศ. ๒๔๓๒
    เริ่มใช้วันทางสุริยคติในราชการ

    พ.ศ. ๒๔๓๓
    เสียฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน ให้กับประเทศอังกฤษ เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดมด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง

    พ.ศ. ๒๔๓๔
    ตั้งกระทรวงยุติธรรม
    ตั้งกรมรถไฟ และเริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ - นครราชสีมา

    พ.ศ. ๒๔๓๕
    โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕
    ตั้งศาลโปริสภา (ศาลแขวง)
    ส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาทหารในยุโรป รุ่นแรก
    โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตั้ง โรงเรียนฝึกหัดครู เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

    พ.ศ. ๒๔๓๖
    ให้เอกชนเปิดเดินรถไฟสายปากน้ำ เมื่อ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖
    ฉลองพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ครั้งแรก
    ตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย
    ตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย)
    เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส
    ตั้งโรงเรียนวัดบวรนิเวศเมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๖

    [​IMG]
    สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

    พ.ศ. ๒๔๓๗
    ทรงสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นสยามมกุฎราชกุมาร
    เริ่มจัดตั้งมฑลเทศาภิบาล
    ตั้งโรงไฟฟ้า เริ่มกิจการรถราง ไฟฟ้าอย่างแท้จริงแม้จะได้เริ่มการใช้รถรางไฟฟ้าเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๙๓ (นับอย่างเก่าต้อง ร.ศ. ๑๑๑ หรือ พ.ศ. ๒๔๓๕) โดยที่เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรเมื่อ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๑

    พ.ศ. ๒๔๓๗
    โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงพิเศษไปจัดการศาลตามหัวเมือง
    จัดทำงบประมาณแผ่นดินครั้งแรก
    ตั้งโรงเรียนฝึกหัดวิชาแพทย์ และผดุงครรภ์

    พ.ศ. ๒๔๓๙
    โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัยขึ้นปรากฏรายละเอียดในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓ หน้า ๒๖๙ ลงวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๙ (รศ. ๑๑๕)
    สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จเปิดโรงเรียนในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ( รศ.๑๑๖ )

    พ.ศ. ๒๔๔๐
    เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ปีระกา
    ตราข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง
    ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย
    เริ่มการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนในยุโรป ปีละ ๒ ทุน

    พ.ศ. ๒๔๔๑
    ตั้งกรมเสนาธิการทหารบก
    รวมกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเป็นกรมเดียวกัน
    กำเนิดเหรียญ "สตางค์" รุ่นแรก โดยใช้ทองขาว (นิกเกิ้ล ราคา ๒๐ สตางค์ ๑๐ สตางค์ ๕ สตางค์ และ ๒ ๑/๒ สตางค์ แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะใช้ยาก

    พ.ศ. ๒๔๔๒
    เริ่มจัดตั้งกองทหารตามหัวเมือง
    เริ่มสร้างวัดเบญจมบพิตร
    ได้พระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย
    ทำสนธิสัญญากำหนดสิทธิจดทะเบียนคนในบังคับอังกฤษ

    พ.ศ. ๒๔๔๔
    ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่นครราชสีมา
    เปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ - นครราชสีมา เมื่อ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๓
    หล่อพระพุทธชินราชจำลอง
    บริษัทสยามไฟฟ้า ได้รับสัมปทานจำหน่ายไฟฟ้า เริ่มจุดโคมไฟตามถนนหลวง
    เกิดกบฏเงี้ยวที่เมืองแพร่ ผีบุญที่อุบลราชธานี และกบฏแขก ๗ หัวเมืองที่ปัตตานี เพื่อต่อต้านการปกครองแบบเทศาภิบาล

    พ.ศ. ๒๔๔๕
    ตั้งกรมธนบัตร เริ่มใช้ธนบัตรครั้งแรก
    ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ. ๑๒๑
    ตั้งสามัคยาจารย์สมาคม
    ตั้งโอสถศาลา
    ปราบกบฏเงี้ยวที่เมืองแพร่ ปราบผีบุญอุบลราชธานี และ กบฎแขก ๗ หัวเมืองปัตตานี สำเร็จ และได้มีการปลดเจ้าเมือแพร่ เจ้าเมืองปัตตานี หนองจิก รามัน สายบุรี ยะลา ระแงะ ออกจากตำแหน่ง พร้อมส่งไปจองจำเจ้าเมืองปัตตานีในหลุมที่พิษณุโลก ภายหลังได้ปล่อยตัวออกไปตามแรงกดดันของอังกฤษ

    พ.ศ. ๒๔๔๖
    เปิดการเดินรถไฟหลวงสายใต้ ระหว่างกรุงเทพ - เพชรบุรี เมื่อ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๖

    พ.ศ. ๒๔๔๗
    เสียดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส ตรงหัวเมืองจำปาศักดิ์ (ตรงข้ามเมืองปากเซ) และ หัวเมืองไชยบุรี - ปากลาย (ตรงข้ามหลวงพระบาง)

    พ.ศ. ๒๔๔๘
    เสด็จประพาสต้นครั้งแรก
    ทำอนุสัญญากำหนดสิทธิการจดทะเบียนคนในบังคับฝรั่งเศส

    พ.ศ. ๒๔๔๘
    ตราพระราชบัญญัติทาส รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔
    ประกาศให้ลูกทาสเป็นไททั้งหมด ด้วยพระราชบัญญัติลักษณะทาส รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๐ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ให้เป็นวันที่ทาสหมดสิ้นจากราชอาณาจักรไทย
    ตั้งหอสมุดสำหรับพระนคร
    ตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ฉบับแรก
    ทำอนุสัญญากำหนดสิทธิการจดทะเบียนคนในบังคับเดนมาร์ก และอิตาลี
    ทดลองจัดสุขาภิบาลที่ตำบลท่าฉลอมจังหวัดสมุทรสาคร

    พ.ศ. ๒๔๔๙
    เสด็จประพาสต้นครั้งหลัง
    เปิดโรงเรียนนายเรือ ที่พระราชวังเดิม เมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๙
    เสียมณฑลบูรพา (เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ) ให้ฝรั่งเศส เมื่อ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เพื่อแลกกับจันทบุรีและด่านซ้ายคืนมา

    พ.ศ. ๒๔๕๐
    เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ปีมะแม เพื่อรักษาพระโรควักกะพิการ
    จัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าวครั้งแรก
    เปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา เมื่อ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐ (นับอย่างใหม่ต้อง พ.ศ. ๒๔๕๑)



    พ.ศ. ๒๔๕๑
    จัดการสุขาภิบาลตามหัวเมืองทั่วไป
    ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗
    เลิกใช้เงินพดด้วง
    ตราพระราชบัญญัติทองคำ ร.ศ. ๑๒๗ ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแบบสากล โดยให้จ่ายเงินตราต่างประเทศทที่ใช้มาตรฐานทองคำแทนการออกเหรียญ ๑๐ บาททองคำตราครุฑ
    สร้างำพระบรมรูปทรงม้า เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลยราชสมบัติ ๔๐ ปี วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑ ตรงกับวันพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก โดยจ้างช่างที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ทำ หล่อด้วยโลหะชนิดทองสัมฤทธิ์นำมา ติดกับทองสัมฤทธิ์เหมือนกันหนาประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เป็นที่ม้ายืน โดยส่งเข้ามายังกรุงเทพฯ เมื่อ ปีพ.ศ. ๒๔๕๑ และได้ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อน อันเป็นแท่นรอง สูงประมาณ ๖ เมตร กว้าง ๒ เมตรครึ่ง ยาว ๕ เมตร

    พ.ศ. ๒๔๕๒
    เลิกใช้เงินเฟื้อง ซีก เสี้ยวอัฐ โสฬส
    เริ่มกิจการประปา

    พ.ศ. ๒๔๕๓
    มีการแสดงกสิกรรมและพาณีชยกรรมเป็นครั้งแรก
    เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรม ๕ ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ เมื่อเวลา ๒ ยาม ๔๕ นาที (๐ นาฬิกา ๔๕ นาที) ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ด้วยพระโรควักกะพิการซึ่งแสดงอาการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ - ๒๔๔๘ พระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา รวมครองราชสมบัติ ๔๒ ปี


    .....................................

    [​IMG]

    .....................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  14. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ขอแก้ไขครับ

    ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร ครับผม ^^
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    แค่อยากจะทราบว่ามีคนอ่านหรือเปล่า แกล้งพิมพ์ผิดเอง...
    (แก้ตัวน้ำขุ่นๆ)
     
  16. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    เฮียปอ ตามอ่านนะครับ แต่อาจจะมีกระโดดบรรทัดบ้าง...ตาลาย


    .
     
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ขอบคุณเจ้าคะ

    อยากให้หลายๆ คนได้อ่าน แต่เห็นว่าไม่ค่อยมีใครสนใจสักเท่าไร แต่ก็ไม่เป็นไร ไม่ท้อ ทำไว้เผื่อวันหน้ามีใครอยากทราบอยากอ่านขึ้นมาจะได้หาอ่านได้บ้าง

    เรื่องประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่อ่านแล้วหลายคนเห็นว่าน่าเบื่อ ไม่มีอะไรสนุก แต่หลายคนลืมว่า ถ้าเราไม่มีอดีต ปัจจุบันและอนาคตก็ไม่มีเช่นกัน....

    แต่ยังเขียนไม่จบนะเจ้าคะ ยังมีอีกเยอะแยะเลย....
     
  18. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    <TABLE class=tborder id=threadslist cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY id=threadbits_forum_13><TR><TD class=alt2></TD><TD class=alt1 id=td_threadtitle_150001 title="๑.

    http://palungjit.org/attachments/a.404802/
    พระราชประวัติ(โดยย่อ)
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔...">[​IMG] แผ่นดิน พระพุทธเจ้าหลวง ([​IMG] 1 2 3 4 5)
    สร้อยฟ้ามาลา
    </TD><TD class=alt2 title="จำนวนตอบ: 83, จำนวนอ่าน: 1,701">
    วันนี้ 06:20 PM
    โดย สร้อยฟ้ามาลา [​IMG]
    </TD><TD class=alt1 align=middle>83</TD><TD class=alt2 align=middle>1,701</TD></TR></TBODY></TABLE>


    อย่าท้อครับ...มีคนอ่าน ที่ไม่ได้ล็อคอินหลายท่านนะครับ

    โพสท์เพื่อ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ เป็นการเทิดทูนคุณงามความดีของท่านครับ

    สู้ ๆ ครับ
     
  19. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    เรื่องกำลังน่าตื่นเต้น ... รออ่านต่อครับ


    .
     
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    คุณเฮียปอฯ ขออนุญาตลบเรื่องวิกฤตวังหน้าก่อนนะเจ้าคะ ไม่ได้โพสต์ผิดแต่ถ้าโพสต์ในส่วนของหัวข้อ เกร็ดเรื่องราวต่างๆ ในรัชสมัย ก่อนแล้วเรื่องจะไหลไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถลงเรื่องอื่นๆ ได้....
     

แชร์หน้านี้

Loading...