ไขปริศนา เงื่อนงำ ที่ตั้ง "ชมพูทวีป" และ "ลังกาทวีป" ตั้งอยู่ที่ไหนกันแน่?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 8 พฤษภาคม 2016.

  1. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    สมาชิกเว๊บพลังจิต...ใครมีพลังจิต ยกมือขึ้น

    หรือเราจะมีโอกาสได้เห็น "จารึกอโศก" ที่ในป่ารัง

    ๔. สถานที่ปรินิพพาน
    ญาณจรณ มากุสินารา เมืองพุทธนิพพาน เดือน ๓ ขึ้น ๑ ค่ำ พุทธกาล ๒๔๓ อโสกผู้มาสร้างตรง มกุฏพันธนเจดีย์ แลในสวนป่ารัง มีหลักหินมีสือว่า (๒๘๑/๑) พุทธมานิพพาน ที่นี้ ตัวอโสก ผู้มาถึงเนินป่ารัง ส้างสถูปนิพพาน ส้างสีหแลโค คู่หิน บนยอดเสา ญาณจรณมาเหน (๒๘๑/๒)
    (จากหนังสือ พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ พิมพ์ครั้งที่ ๖ หน้า ๔๖๗)

    แลในสวนป่ารัง "มีหลักหิน มีสือว่า"
    งานนี้ ต้องค้นหาในป่ารัง ที่เขาเรียกว่า เมืองลับแล ที่เคยมีฝรั่งหลงในป่าอยู่หลายวัน..กันหล่ะ...ใครมีพลังจิตบ้าง สมาชิกเว๊บนี้???
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpeg
      image.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      493.9 KB
      เปิดดู:
      154
  2. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ผมดูจาก ภาพกราฟฟิกข้างล่างนี้ แล้ว ไม่รู้อคติหรือเปล่านะ เรือสำเภา มันไม่น่าจะวิ่งตัด ไป-มา ระหว่าง พะโค กับศรีลังกา และ มะริดกับศรีลังกา ได้เลยครับ
    หรือท่านใด มีหลักฐานการเดินเรือสำเภา โดยอาศัยลมประจำฤดู ลมประจำปี ลมประจำถิ่น ระหว่าง พะโค หรือมะริด ไปสู่ศรีลังกา สมัยที่ยังไม่มีเรือกลไฟ บ้างครับ?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2016
  3. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เรื่อง เมืองลับแล ที่หลังเขาถวายพระเพลิง อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี

    เรื่อง เมืองลับแล ที่หลังเขาถวายพระเพลิง อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี

    ดูลำบาก นิด อาศัยฟังเสียงเอาหล่ะกัน นาที ที่ 4 เป็นต้นไป...ท่านผู้ใดสนใจ วันอาสาฬหบูชา เดือนหน้า กรกฎาคม 2559 เราไปสำรวจ สัมผัส ค้นหา หลักฐานสมัยพุทธกาล-พระเจ้าอโศก กันดีมั๊ยครับ?

    https://www.youtube.com/watch?v=f_McV6z1gM4
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2016
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เรื่องนี้ ไม่เกี่ยวกับการขายหนังสือ หรือยอดหนังสือ

    เรื่องนี้เป็นประโยชน์ หากว่าไม่ถูกอำนาจวิสัยของมาร ๕ ขัดขวาง เราคงจะได้พบกับความจริง อันเป็นประโยชน์ ตามพุทธดำรัส ตรัสบอกถึง สังเวชนียสถาน อันควรเคารพสักการะอย่างแท้จริง ไม่ใช่จะไปเชื่ออย่างที่เขาเล่าต่อๆกันมาทั้งหมด อย่างจบประเด็นเพราะไม่ได้หยั่งรู้คุ้นเคยค้นหาตาม

    เรื่องการวิสัชนาของ ท่านเอกอิสโร มีมูลฐาน อันเป็นประโยชน์ ในการดำรงสกุล การที่มีสังเวชนียสถาน ให้เคารพสักการะในยุคปัจจุบัน นั่นก็ยังเป็นเหตุแห่งที่มายังพลวปัจจัยยังบุญกุศลนั้นอยู่ และถ้าจะมีบุคคลใดที่จะแสวงหาความชัดเจนในการวิสัชนานี้อันยิ่งขึ้นไปอีก ก็ล้วนแต่จะยังประโยชน์เพื่อผู้อื่นเป็นอันมาก ดังเหตุนี้แล้วไซร้

    เรื่องที่ต้องขออภัย ฤทธานุภาพบางอย่างที่มีไม่ได้เป็นไปตามอำนาจการบังคับ หากไม่ถึงกาลเวลาอันสมควรปรากฎก็เปรียบเสมือนศาตราวุธที่ไร้คม ก็จักแต่จะมีเรื่องราวที่พิศดารพอควรเท่านั้นที่ยังพอเล่าได้

    แม้เราเองก็ยังปรารถนาที่ต้องการจะพบกับความเป็นจริง หากมีญานหยั่งรู้ได้ในกาลอนาคต เราก็พึ่งพยายามได้เพียงราตรีเดียว และเป็นการกำหนดสมาธิที่มีกำลังมาก ที่ตั้งปณิธานในการรู้แจ้งในเรื่องนี้ด้วย

    บันทึกการทำสมาธิห้วง 04.00-05.00 10/6/59 ครั้งสำคัญ สู่ กิจที่สมควรกำหนดรู้เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนตามพุทธประสงค์
    กำลังสมาธิอันเพิ่มพูนและมีมาในกาลนี้ เป็นอันมากจากการพิจารณาเข้าสู่ทุกข์ที่ควรกำหนดรู้ ในการดำรงค์สกุล เป็นกิจอันสมควรยิ่ง เมื่อเห็นอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีสิ่งหนึ่งสิ่งใด ปรากฎตามมาเป็นแน่แท้ สิ่งที่เป็นมรรคเป็นผลมีอานิสงส์ สิ่งที่หาได้ยากในโลกเป็นสิ่งประเสริฐ ถึงเวลากาลปรากฎด้วยเหตุนั้น ด้วยกำลังแห่งสมาธิที่กำหนดรู้ แล้วยังเรื่องนี้กิจนี้สำคัญยิ่งแล
    อิทัปปัจจยตา เมื่อมีความเพียร ย่อมได้สามัญผลที่ปรารถนา
    บางสิ่งบางอย่างที่สำคัญกำลังจะปรากฎ สำเร็จและเริ่มต้นขึ้น เป็นสัญญานอย่างหนึ่งที่รับรู้ได้ เรื่องนี้มิใช่โดยเพื่อประโยชน์ส่วนตน

    เหตุนี้จึงต้องพยายามรักษาวัตรปฎิบัตร ให้มากขึ้นเพื่อที่จะรองรับสภาวะธรรมอันบริสุทธิ์ขึ้นได้ ถ้าได้ออกบวชรักษาพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์จนถึงสภาวะเดิมในปี ๒๕๕๔ เมื่อครั้งที่ทำสมาธิจนได้เข้าสู่สภาวะ รองรับยังการบรรลุ จุติธรรม ปรากฏร่างทิพย์ ในระดับ "ปฎิสัมภิทาญาน" คือการเห็นพระไตรปิฏกดั้งเดิม

    เรื่องที่ท่านพยายามอยู่คงไม่ยากเย็นนัก หากสามารถบรรลุยัง ปาฎิหาริย์ ๓


    ขอให้ท่านมีกำลังใจ ในความปรารถนาดีนั้นเทอญฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,283
    ค่าพลัง:
    +1,505
    เขียน ๒๐.๕๓


    โอม...จ่ายักษ์ จงจักเร่ง จงหมั่นเพ่ง และมองทวน
    ย้อนจิตไปคิดหวล ถึงอดีตฤทธิ์ลือชา
    ปัญญาที่เคยแกร่ง จงกวัดแกว่งกลับคืนมา
    สมาธิและปัญญา อันแกร้วกล้าจงกลับคืน

    ...จงตื่น และรู้เถิด สร้างประเสริฐ แก่โลกา
    หลับเถิดอวิชชา เหล่าผู้กล้าจะราวี
    ชีวีที่ทนทุกข์ รอท่านปลุกให้ลืมตา
    อำนาจแลวิชชา จงคืนมา...ข้าร่ายมนต์



    กระต่ายป่า เจ้าแห่งกลอนมนตรา / ชาวหมู่บ้านในนิทาน

    .
     
  6. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ถ้า พระพุทธศาสนาเกิดที่อินเดีย ก็ต้องมีหลักฐาน ของ "ระนาด" ที่อินเดีย

    เบาๆ ค่ำคืนนี้..

    คำถาม ที่อยากถามผู้รู้ คือ
    1. ปัจจุบัน ในประเทศอินเดีย ยังมีการเล่น "ระนาด" อยู่บ้างหรือไม่?
    2. หลักฐาน ว่า มีการเล่น "ระนาด" ในประเทศอินเดีย ย้อนหลังไป 2500-2600 ปีบ้างหรือไม่?


    ที่สงสัย ใคร่อยากรู้ ก็เพราะว่า เห็นว่า เครื่องดนตรีชนิดนี้ เห็นเขาเรียกว่า "ดนตรีไทย" หรือ ถ้าไม่เป็นดนตรีไทย ก็เป็น "ดนตรีมอญ" ก็ได้ ดังข้อมูล ค้นหามาได้ว่า...
    "ระนาด"
    ระนาด เป็นเครื่องดนตรีไทยสมัยโบราณชนิดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ระนาดยังเป็นเครื่องดนตรีไทยที่มีความสำคัญในวงดนตรีไทย เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเพราะมีเสียงใสกังวาน มีลูกเล่นแพรวพราวในการบรรเลง ซึ่งผู้บรรเลงต้องทำการฝึกฝนอย่างดีจนเกิดการประกวดแข่งขันความเป็นเลิศ เรียกว่า “ประชัน” ซึ่งเครื่องดนตรีที่ใช้ก็มีส่วนช่วยในการประชันเช่นกัน จึงต้องทำเครื่องดนตรีให้มีเสียงใสก้องกังวาน เสียงไม่เพี้ยนก็ขึ้นอยู่กับฝีมือช่างผู้ผลิต
    ระนาด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี สันนิษฐานว่าแต่เดิมนั้นคงนำไม้ทำอย่างกรับหลาย ๆ อันวางเรียงกันแล้วตีให้ เกิดเสียง ต่อมาจึงคิดทำไม้รองเป็นรางแล้วจึงประดิษฐ์ดัดแปลงให้มีขนาดลดหลั่นกันวางบน รางเพื่อให้สามารถอุ้มเสียงได้ จากนั้นใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆ กันนั้นให้ติดกันเป็นผืนขึงแขวนไว้บนราง และใช้ขี้ผึ้งผสมตะกั่วติดหัวท้ายเพื่อถ่วงเสียงให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น โดยใช้ไม้ตีให้เกิดเสียงดังกังวานลดหลั่นกันไปตามต้องการแล้วให้ชื่อว่า “ระนาด”
    อีกประการหนึ่ง เห็น ท่านอาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนบันทึกไว้ตอนหนึ่งใน หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2552 มีว่า...
    ตำราดนตรีและโขนละครของไทย ใช้เป็นตำรับอบรมสั่งสอนให้ท่องจำมาแต่ไหนแต่ไรว่าเครื่องดนตรีไทยและท่ารำโขนละครไทยล้วนได้แบบจากอินเดีย โดยมีตำนานกำกับให้ศักดิ์สิทธิ์ว่าพระอีศวรเสด็จลงมาสั่งสอนไว้ที่เมืองจิทัมพรัมในอินเดียใต้(ทมิฬ)
    แต่ในชมพูทวีป(อังกฤษตั้งชื่อใหม่ว่า อินเดีย) ไม่มีระนาด ไม่เคยพบหลักฐานเกี่ยวกับระนาด แม้เครื่องดนตรีฝรั่งเหมือนระนาดที่เรียก“ไซโลโฟน”ก็มีงานวิจัยของฝรั่งเองยืนยันว่าได้ต้นแบบจากอุษาคเนย์ โดยเฉพาะจากชวา(อินโดนีเซีย) รวมถึงเครื่องมืออื่นๆอีกหลายอย่างในวงปี่พาทย์ก็ไม่เคยมีใช้ใน ชมพูทวีป เช่น ฆ้องวง, ปี่นอก-ปี่ใน, กลองทัด เป็นต้น
    เลยไม่รู้ว่า ที่อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ พูดจริงหรือเปล่า?

    เพราะ ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าของเรา ได้เทศนาสั่งสอน บางเรื่อง ได้ตรัสถึง "ระนาด" รวมอยู่ด้วย เพราะฉนั้น ถ้า พระพุทธศาสนาเกิดที่อินเดีย พระพุทธเจ้าอยู่ที่อินเดีย ที่อินเดีย ก็ต้องมีหลักฐาน ของ "ระนาด" ที่อินเดีย นั่นเอง

    ดัง ตัวอย่าง ที่กล่าวถึง "ระนาด" ในพระไตรปิฎกว่า
    ว่าด้วยผู้โลเลด้วยจักษุ
    [๗๓๒] คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย ความว่า ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โลเลด้วยจักษุ ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุคิดว่า รูปที่ยังไม่เคยดูเราควรดู รูปที่เคยดูเราควรผ่านไป ดังนี้ เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน สู่อารามแต่อาราม สู่สวนแต่สวน สู่บ้านแต่บ้านสู่นิคมแต่นิคม สู่นครแต่นคร สู่แว่นแคว้นแต่แว่นแคว้น สู่ชนบทแต่ชนบท เพื่อจะดูรูป ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุแม้อย่างนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนเป็นผู้ไม่สำรวมเดินไป คือ แลดูช้าง แลดูม้า แลดูรถ แลดูพลเดินเท้า แลดูสตรี แลดูบุรุษ แลดูกุมาร แลดูกุมารี แลดูร้านตลอด แลดูหน้ามุขเรือน แลดูข้างบน แลดูข้างล่าง แลดูทิศน้อย ทิศใหญ่ เดินไป ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุแม้อย่างนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุแม้อย่างนี้.
    อนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับ การประโคม มหรสพมีการรำ เป็นต้น การเล่านิยาย เพลงปรบมือ ฆ้อง "ระนาด" หนัง เพลงขอทาน เล่นไต่ราว การเล่นหน้าศพชนช้าง แข่งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ ชนนกกระทา รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ ฉันใด ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ แม้ฉันนั้น.

    ขอผู้รู้ ชี้แนะด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    แล้วลังกาทวีปอยู่ไหน?

    ถ้าเช่นนั้น แล้วลังกาทวีปอยู่ไหน?
    Taprobana ใช่เกาะ ลังกาทวีปหรือเปล่า?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    872
    ค่าพลัง:
    +1,936
    เข้าใจว่าในสมัยพุทธกาล โลกใบนี้มีชื่อทวีปเดียวคือชมพูทวีป ส่วนยุโรป,เมกาเหนือใต้,แอฟฯเพิ่งจำแนกแบ่งโซนและตั้งชื่อทีหลัง ยิ่งลังกาทวีปอย่าไปพูดถึง เพิ่งเรียกขานกันเมื่อวานนี้..(อุต๊ะ!พูดเกินจริงเลยเถิดไปหน่อย อิ อิ)(^_~)..
     
  9. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ลังกาทวีป อยู่ที่ภาคใต้ของประเทศไทย หรือเปล่า?

    มีเพื่อนๆ ถามมา ว่า...พอจะมีข้อมูลไหม ว่า พระพุทธเจ้าไปประทับพระบาท ที่สุมนกูฎเมื่อไหร่?

    ก็เลยตอบๆ ไป และ เล่าต่อให้ยืดยาว จึงขอนำมา แปะรวมไว้ตรงนี้นะครับ..

    ข้อความในอรรถกถามีว่า..

    พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปเกาะลังกาเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่


    ได้ทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปสู่เกาะนี้ (เกาะลังกา)
    ถึง ๓ ครั้ง แม้ในคราวยังทรงพระชนม์อยู่ คือ คราวแรกเสด็จมาพระองค์เดียว
    เท่านั้น เพื่อทรมานยักษ์ ครั้นทรมานยักษ์แล้ว ทรงตั้งอารักขาที่เกาะตัมพ-
    ปัณณิทวีป เสด็จรอบเกาะ ๓ รอบ ตั้งพระทัยว่า เมื่อเราปรินิพานแล้ว
    ศาสนาของเรา จักประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้.
    ครั้งที่สอง เสด็จมาพระองค์เดียวเหมือนกัน เพื่อต้องการทรมาน
    พญานาคผู้เป็นลุงและหลานกัน ครั้นทรมานเหล่านั้นแล้ว ได้เสด็จไป
    ครั้งที่สาม เสด็จมามีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ
    ณ ที่ตั้งมหาเจดีย์ ที่ตั้งถูปารามเจดีย์ ที่ประดิษฐานต้นมหาโพธิ์ ที่ตั้งมุติงคณ-
    เจดีย์ ที่ตั้งทีฆวาปีเจดีย์ และที่ตั้งกัลยาณิยเจดีย์. การมาโดยพระสรีรธาตุ
    คราวนี้ เป็นครั้งที่ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
    ก็แลขึ้นชื่อว่า โอกาสน้อยหนึ่งบนพื้นเกาะตัมพปัณณิทวีป ทีเมล็ดน้ำ
    อันพุ่งออกจากพระสรีรธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่ถูกต้องหาได้มีไม่
    พระสรีรธาตุนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยังความเร่าร้อนของ
    ภาคพื้นเกาะตัมพปัณณิทวีปให้สงบลงด้วยเมล็ดฝน แสดงปาฏิหาริย์แก่มหาชน
    แล้วลงประดิษฐานอยู่บนกระหม่อมของพระราชา ด้วยประการอย่างนี้.
    พระราชาทรงสำคัญการได้อัตภาพเป็นมนุษย์ซึ่งมีผลทรงทำสักการะใหญ่ ให้
    บรรจุพระธาตุแล้ว พร้อมด้วยการบรรจุพระธาตุ ได้เกิดมีแผ่นดินหวั่นไหว
    ใหญ่.
    ...
    ครั้งที่ ประทับรอยพระพุทธบาทที่สุมนกูฏ เห็นจะเป็นครั้งที่ 2 และได้มอบให้ สุมนเทวบุตร อารักขา รอยพระบาทไว้ครับ

    คำถามกลับมาก็คือ..บอกตรงไหนว่า สุมนกูฎ?

    ก็ขอตอบว่า...เคยอ่านใน สังคียติยวงศ์มั้งจะมีละเอียด ตั้งแต่พระพุทธองค์เสด็จมาจากสาวัตถี มาที่ เกาะนี้ โดยมี สุมนเทวบุตร มาพร้อมด้วย เขานี้จึงชื่อ "สุมนกูเฏ" ต้องอ่าน หลายคัมภีร์ครับ

    โดย เกาะที่ นาคลุงหลานอยู่ เคยคิดว่า คือเกาะภูเก็ต ครับ
    ...

    ส่วนเกาะ ที่พระพุทธองค์เสด็จครั้งแรก ก็คือ ที่ตั้ง "ตัมพปัณณิทวีป" ที่ไปปราบยักษ์...ต่อมาในวันที่พระพุทธเจ้าทรงเข้าปรินิพพาน "วิชัยกุมาร" ได้เดินทางโดยหมู่เรือ มาขึ้นเกาะที่นี้..คลานขึ้นเขา "จนมือแดง"

    เกาะคนฝ่ามือแดง หรือ ตามพปัณณิทวีป ก็คือ คาบสมุทรสทิงพระปัจจุบัน แต่เมื่อก่อนเป็นเกาะ..และที่นี่ คือที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาครั้งแรก มาปราบยักษ์ครับ

    อาจารย์เห็นเกาะคนฝ่ามือแดง ตรงใกล้ๆ คำว่า Colfe De "Siam" มั๊ยครับ?

    ที่ผมได้คุยกับนักวิชาการ ตระกูล ณ พัทลุง เชาบอกว่า ตรงเขาหัวแดง ดินเป็นสีแดงครับ

    น่าจะตรงกับที่อาจารย์ได้สรุปและสันนิษฐานไว้นั่นหล่ะครับ

    แต่ช่วงหลังอาจมีการย้ายเมืองหลวงไปมา รวมทั้งอาจได้เคยย้ายมาที่ ลังกาสุกะ ที่ปัตตานีด้วย

    รอยพระพุทธบาท ที่ลังกา มี 2 แห่ง คือที่ สุวรรณมาลิกเจดีย์ ก็คือที่วัดพะโคะ อีกรอยหนึ่ง อยู่บนจอมเขาสุมนกูฏ ซึ่งถ้าดูจากแผนที่เดินเรือจากเมืองมอญ เขาลูกนั้น น่าจะอยู่บนเกาะภูเก็ต ปัจจุบันนี้ครับ

    ข้อสังเกต คือที่ "เกาะภูเก็ต" จะมีคนเชื้อมอญอยู่เยอะ...มาแต่นานแล้ว วัดมอญก็เยอะ เช่น นอกจากนี้วัดสำคัญบางวัด (คือวัดไชยธาราราม ที่ตำบลฉลอง) ก็ยังมีเสาธงที่ประดับด้วยรูปหงส์ตามประเพณีนิยมของชาวมอญ ปรากฏอยู่ที่หน้าวัดตั้งแต่โบราณมาจนพึ่งจะถูกฟ้าผ่าทำลายลงเมื่อประมาณ ๗๐ ปีมานี้เอง แสดงว่าศิลปวัฒนธรรมของมอญยังมีการสืบทอดต่อเนื่องอยู่นาน

    พันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์ (จี.อี. เจรินี) ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในวงการประวัติศาสตร์ไทยเขียนไว้ในหนังสือชื่อ "เค้าเงื่อนประวัติศาสตร์ถลาง" (Historical Retrospect of Junkceylon Island) แปลโดยสุเทพ ปานดิษฐ์และสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ความว่า

    จนกระทั่งถึงตอนกลางของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ ดินแดนแถบนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรพะโค ซึ่งเป็นอาณาจักรที่สร้างขึ้นโดยนักเดินทางจากแคว้นกลิงค์เช่นเดียวกัน แต่มีอำนาจมากกว่าในปี ค.ศ.๑๐๕๐-๑๐๕๗ อาณาจักรพะโคตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราชเห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงได้ผนวกเมืองถลางและเมืองข้างเคียงเข้าไว้ภายใต้การปกครอง

    นักวิชาการสายใต้ ก็มีข้อมูลที่ดี แต่บางท่าน ยังปักใจว่าพระพุทธเจ้าอยู่อินเดีย ต้องค่อยๆ แลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น บางท่าน มั่นใจว่า "หลวงจีนฟาเหียน เคยมาพำนักอยู่ที่ ลังกาสุกะ โดยใช้หลักฐานนาฬิกาแดด" ซึ่ง ผมก็ยังไม่เคยอ่านเจอในบันทึกหลวงจีนฟาเหียน เหมือนกัน

    ซึ่ง หลวงจีนฟาเหียน ได้บันทึกไว้ เมื่อครั้งที่ท่านเดินทางมาพำนักอยู่ที่ "ลังกาทวีป" ว่า รอยพระพุทธบาทที่ลังกาทวีป มี 2 แห่ง อยู่ห่างกัน 15 โยชน์

    และที่ "ลังกาทวีป" หลวงจีนฟาเหียน ได้มีโอกาสเห็น "พระแก้วมรกต" และ พบ "พระพุทธโฆษาจารย์" ซึ่งเป็นชาวมอญ เดินทาง มาแปลอรรถกถาจากภาษาสีหล เป็นมคธภาษา ด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...