71.ไปเที่ยวเหนือ เมื่อหน้าร้อน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 3 ตุลาคม 2014.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]

    วัดช้างค้ำ

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7235_1a.jpg
      IMG_7235_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      849.5 KB
      เปิดดู:
      422
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]

    วัดช้างค้ำ

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7239_1a.jpg
      IMG_7239_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      833.8 KB
      เปิดดู:
      307
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]

    วัดช้างค้ำ

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]

    วัดช้างค้ำ

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7253_pa.jpg
      IMG_7253_pa.jpg
      ขนาดไฟล์:
      846.9 KB
      เปิดดู:
      323
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]

    วัดเจดีย์เหลี่ยม(กู่คำหลวง)

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7298_ea.jpg
      IMG_7298_ea.jpg
      ขนาดไฟล์:
      895.6 KB
      เปิดดู:
      375
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]

    วัดเจดีย์เหลี่ยม(กู่คำหลวง)

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]

    วัดเจดีย์เหลี่ยม(กู่คำหลวง)

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]

    วัดเจดีย์เหลี่ยม(กู่คำหลวง)

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7328_ea.jpg
      IMG_7328_ea.jpg
      ขนาดไฟล์:
      800.2 KB
      เปิดดู:
      359
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]

    วัดเจดีย์เหลี่ยม(กู่คำหลวง)

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    อยู่ที่เวียงกุมกามจนถึงเวลาประมาณบ่ายสามโมง พวกเราก็เดินทางกลับโรงแรมที่พัก วันนี้หมดโปรแกรมเท่านี้ ด้วยเหนื่อยกับการเดินทางจากเชียงรายมาเชียงใหม่จึงเข้าที่พักเร็ว และคืนนี้ก็มีสังสรรค์กันด้วย แต่สร้อยฟ้ามาลาขอตัว นอนดีกว่า....


    [​IMG]



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7345_1a.jpg
      IMG_7345_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      598.3 KB
      เปิดดู:
      512
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2014
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    วันที่ ๑ พฤษภาคม
    ทานอาหารเช้าที่โรงแรมเรียบร้อยแล้ว รวมตัวกันขึ้นรถไปไหว้พระที่วัดศรีสุพรรณ




    [​IMG]



    [​IMG][​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7347_1a.jpg
      IMG_7347_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      786.3 KB
      เปิดดู:
      340
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]


    ประวัติวัดศรีสุพรรณ (ลอกมาจาก Wat Srisuphan)

    วัดศรีสุพรรณอารามหรือวัดศรีสุพรรณหรือวัดสุภัน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ อยู่บนพื้นที่ระหว่างกำแพงชั้นในและกำแพงชั้นนอก ในอดีตเป็นวัดหนึ่งในหมวดอุโบสถวัดนันทารามขึ้นแก่วัดหมื่นสาน

    วัดศรีสุพรรณ ในสมัยต่างๆ

    (๑) วัดศรีสุพรรณสมัยราชวงศ์มังราย
    มีศิลาจารึกวัดศรีสุพรรณซึ่งทำด้วยหินทรายแดง จารึกประวัติวัดศรีสุพรรณด้วยอักษรฝักขาม ข้อความในศิลาจารึกวัดศรีสุพรรณ เป็นหลักฐานยืนยันว่าวัดศรีสุพรรณซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้วหรือพญาแก้วกษัตริย์ ราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๒๐๓๘ – ๒๐๖๘) ซึ่งเป็นยุคทองของล้านนาที่สืบต่อมาจากสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๔ – ๒๐๓๐) และพญายอดเชียงราย (พ.ศ.๒๐๓๐ – ๒๐๓๘) ครั้งนั้นได้กัลปนาที่นาแปลงใหญ่และข้าวัดจำนวน ๒๐ ครัวให้วัดศรีสุพรรณได้เริ่มต้นชุมชนวัดศรีสุพรรณอย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นมา

    (๒) วัดศรีสุพรรณยุคกาวิละฟื้นเมือง
    พ.ศ.๒๓๑๗ พญาจ่าบ้าน (บุญมา) เจ้ากาวิละและน้องๆ ร่วมกับกองทัพกรุงธนบุรีขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ และต่อมา พ.ศ.๒๓๒๕ สมัยรัตนโกสินทร์ ได้แต่งตั้งเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ ในยุคนี้ได้มีการให้ผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในเมืองเชียงใหม่ โดยส่วนที่เป็นช่างฝีมือทำเครื่องเงินให้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณรอบวัดหมื่นสารและวัดศรีสุพรรณ เกิดเป็นชุมชนใหม่ซึ่งล้วนแต่เป็นชาวลุ่มน้ำคง ในสมัยต่อมา เมื่อมีการสำรวจรายชื่อวัดในเชียงใหม่จึงจัดวัดศรีสุพรรณหรือ “วัดสุภัน” อยู่ในนิกายครงหรือนิกายคงเหมือนวัดพวกเปียซึ่งอยู่ใกล้กันชาวบ้านศรีสุพรรณส่วนหนึ่งจึงเรียกที่มาของตนว่าเป็น “ชาวคงน้ำฮ้า”
    ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๖ (พ.ศ.๒๓๙๙ – ๒๔๑๓) ปรากฏหลักฐานว่าพระองค์พร้อมเจ้าแม่อุษา (หรืออุสาห์) ชายาได้เป็นเค้าในการสร้างวิหารวัดศรีสุพรรณเมื่อ จ.ศ.๑๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๐๓) พร้อมสร้างระฆังขนาดใหญ่ด้วยทองหนักสองล้านเก้าหมื่นห้าพันหกร้อยตำลึงโดยให้นำระฆังไว้ที่พระธาตุดอยสุเทพ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าวิหารที่เพิ่งถูกรื้อไปก่อนบูรณะครั้งล่าสุด (พ.ศ.๒๕๓๗ – ๒๕๔๑) สร้างในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๖ (พ.ศ.๒๓๙๙ – ๒๔๑๓)

    (๓) วัดศรีสุพรรณสมัยเทศาภิบาล
    ช่วง พ.ศ.๒๔๐๐ – ๒๔๒๐ ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๖ (พ.ศ.๒๓๙๙ – ๒๔๑๓) และสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ (พ.ศ.๒๔๑๓ – ๒๔๔๐) วัดศรีสุพรรณนิกายคง มีเจ้าอธิการชื่อตุ๊สิทธิ มีรองอธิการชื่อ ตุ๊อินทจักร
    ในยุคก่อนสมัยเทศาภิบาล วัดยังเป็นทั้งแหล่งธรรมและแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนที่ส่งบุตรหลานเข้าบวชเรียนจนมีโอกาสได้เป็นเจ้าอาวาส จนถึงสมัยเทศาภิบาล ในระยะแรกพระสงฆ์มีบทบาทในการสอนหนังสือที่วัดและชักชวนเด็กชายเข้าเรียนหนังสือ โดยใช้ศาลาวัดเป็นสถานที่เรียน ครั้น พ.ศ. ๒๔๖๔ มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.๒๔๖๔″ มีการเกณฑ์เด็กชาย-หญิงเข้าโรงเรียน จนถึง พ.ศ.๒๔๖๖ ขุนจรรยา(กิมเส็ง เสียมภักดี) ศึกษาธิการเมืองเชียงใหม่ ร่วมกับพระอินตาธรรมวงศ์เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณในสมัยนั้น ตั้งโรงเรียนชั้นประถมศึกษาขึ้นที่วัดศรีสุพรรณโดยได้ศรัทธาวัดคือหนานคำปัน ซึ่งรับราชการ แผนกสรรพากรเชียงใหม่และแม่อุ้ยคำออน การัตน์ เชื้อสายเจ้านายจากลุ่มน้ำคงได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างศาลาวัดใช้เป็นสถานที่เรียนหนังสือของเด็กชาย-หญิง ทั้งในชุมชนวัดศรีสุพรรณและชุมชนข้างเคียงได้มาเรียนหนังสือ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7380_ma.jpg
      IMG_7380_ma.jpg
      ขนาดไฟล์:
      927.5 KB
      เปิดดู:
      352
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]



    (๔) วัดศรีสุพรรณสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒
    ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารญี่ปุ่นได้ใช้วัดศรีสุพรรณเป็นที่ตั้งกองทหารและกักกันเชลยศึก ส่งผลให้โรงเรียนวัดศรีสุพรรณต้องปิดการเรียนการสอน นักเรียนในชุมชนละแวกนั้นจึงต้องย้ายไปเรียนที่โรงเรียนวัดศรีปิงเมือง (เดิมเรียกว่าวัดป่าลาน) ต่อมา เมื่อโรงเรียนวัดศรีปิงเมืองปิดการเรียนการสอนอีก ก็ได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนวัดป่าแดด จนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง จึงได้ย้ายกลับมาเรียนที่โรงเรียนวัดศรีสุพรรณตามเดิม
    เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง สภาพภายในวัดศรีสุพรรณมีแต่พงหญ้า ไม้ไผ่ (ไม้ซาง) ต้นฉำฉา ต้นตาลและต้นลาน รวมทั้งมีฝูงอีกาและนกต่างๆมาทำรัง ต่อมาในสมัยพระคำตัน (หนานคำตัน ไชยคำเรือง) เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณในสมัยนั้นได้ร่วมกับคณะศรัทธาวัด ก่อสร้างกำแพงวัดต่อจากสมัยพระมหาคำ ขนติพโล รวมทั้งได้สร้างศาลาตรงประตูวัดด้านทิศตะวันออกอีก ๒ หลัง เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยจึงได้จัดให้มีงานฉลองกำแพงและศาลาวัดต่อมา ในส่วนของอาคารเรียน เด็กในชุมชนวัดศรีสุพรรณและชุมชนใกล้เคียงได้ใช้ศาลาวัดศรีสุพรรณเป็นสถานที่เรียนเรื่อยมา จนถึงพ.ศ.๒๔๘๑ จึงได้เรียนในอาคารเรียนแบบตึกครึ่งไม้ชั้นเดียว ไม่มีฝาผนัง ไม่มีฝากั้นห้องเรียน หลังคามุงด้วยดินขอ พื้นเป็นซีเมนต์ผสมปูนขาว

    (๕) สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
    พ.ศ.๒๕๐๐ – ๒๕๑๐ พระครูสถิตบุญญานันท์(พระอธิการบุญชม สุนันโท) เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณและครูเอื้อน คลังวิเชียร ครูใหญ่โรงเรียนวัดศรีสุพรรณได้หาเงินเพื่อสร้างอาคารเรียน ๒ ชั้น แล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๕๐๗ ซึ่งทรัพย์สินทั้งหมดของวัดได้มอบให้ขึ้นกับสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ตามคำสั่งที่ประกาศเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ โดยโรงเรียนวัดศรีสุพรรณมีสีประจำโรงเรียน คือ สีเหลือง-แดง โดยสีเหลืองหมายถึงวัด ส่วนสีแดงหมายถึงชาติ

    (๖) วัดศรีสุพรรณยุคทำสลุงหลวง
    ในยุคนี้ ชุมชนเครื่องเงินวัวลายและชุมชนเครื่องเงินศรีสุพรรณได้สร้างสรรค์งานชิ้นสำคัญ ดังนี้

    พ.ศ.๒๕๓๔ การทำสลุงหลวง น้ำหนักเงินสุทธิ ๕๓๖ บาท ในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ พระชนมายุครบ ๓ รอบ ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๔
    พ.ศ.๒๕๓๕ การทำสลุงหลวง “แม่” น้ำหนักเงินสุทธิ ๒,๕๓๕ บาท เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐๙ เซนติเมตร เส้นรอบวง ๓๓๙ เซนติเมตร พร้อมฐานรองรับเป็นไม้สักสลักรูปช้าง ๔ เศียร ลงรักปิดทองสูง ๑๔๐ เซนติเมตร ในวโรกาสงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ โดยมีพิธีทูนเกล้าฯถวายบนพระตำหนักภูพิงค์อย่างยิ่งใหญ่ตระการตา
    พ.ศ.๒๕๓๙ การทำสลุงหลวง “พ่อ” น้ำหนักเงินสุทธิ ๒,๙๙๙ บาท เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๓๙ เซนติเมตร สูง ๖๙ เซนติเมตร เส้นรอบวง ๔๓๙ เซนติเมตร ฐานรองรับเป็นไม้สักแกะสลักรูปช้าง ๔ เศียร รวมความสูงจากฐานถึงขอบสลุง ๑๙๙ เซนติเมตร ลงรักปิดทอง มีลายประดับเป็นรูปบัวคว่ำ บัวหงาย ดอกพุดตาลลายประจำยามและลายก้านขด ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครองราชย์ครบ ๕๐ ปีและจัดพิธีกาญจนาภิเษกที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี สมัยนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
    ทั้งสามผลงานการสร้างนี้ ส่งผลให้คนทำงานช่างเงินและผู้มีส่วนร่วมทุกท่านมีความภาคภูมิใจ ชุมชนเครื่องเงินวัวลายและชุมชนเครื่องเงินศรีสุพรรณจึงกลับมามีความคึกคักและมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำกิจกรรมเพื่อชุมชนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]



    (๗) วัดศรีสุพรรณยุคปัจจุบัน
    พ.ศ.๒๕๓๕ พระอธิการสุพล สุทธสิโล ต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูพิทักษ์สุทธิคุณ ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณสืบแทนพระครูสถิตบุญญานันท์ซึ่งมรณภาพเมื่อพ.ศ.๒๕๓๓ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ ท่านได้รับความร่วมมือจากชุมชนชาวบ้านศรัทธาวัดศรีสุพรรณ องค์กรภาคราชการทั้งในท้องถิ่นและส่วนกลาง ชุมชนวิชาการทั้งในท้องถิ่นและส่วนกลาง ภาคธุรกิจเอกชนและคณะบุคคลสำคัญ ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์เพื่อวัดศรีสุพรรณ ชุมชนวัดศรีสุพรรณและชุมชนย่านถนนวัวลายหลายประการ ที่สำคัญได้แก่

    การบูรณะพระวิหาร
    พระวิหารวัดศรีสุพรรณ ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๖ (พ.ศ.๒๓๙๙ – ๒๔๑๓) พระองค์ได้โปรดฯให้สร้างระฆังขนาดใหญ่ด้วยทองหนักสองล้านเก้าหมื่นห้าพันหกร้อยตำลึง โดยให้นำระฆังไว้ที่พระธาตุดอยสุเทพ อาจกล่าวได้ว่า พระวิหารวัดศรีสุพรรณรุ่นบูรณะสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เป็นพระวิหารแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ที่เชื่อมโยงศรัทธาเจ้านายฝ่ายเหนือสายสำคัญ
    พ.ศ.๒๕๓๗ – ๒๕๔๑ คณะกรรมการวัดศรีสุพรรณภายใต้การนำของพระครูพิทักษ์สุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ ได้บูรณะพระวิหารครั้งใหญ่อีกครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะศรัทธาจำนวนมากรับเป็นเจ้าภาพ ดังมีรายชื่อเจ้าภาพปรากฏในส่วนต่างๆ ของพระวิหาร เช่นหม่อมธาดา ขุนศึกเม็งราย ภายในพระวิหารที่บูรณะใหม่ พระครูพิทักษ์สุทธิคุณได้รับความร่วมมือจากศิลปินในเชียงใหม่และต่างประเทศ เขียนภาพและออกแบบการจัดแสง สี และองค์ประกอบต่างๆ อย่างงดงาม ประสานเข้ากับผลงานของช่างครัวเงินผู้เป็นศรัทธาวัดได้อย่างลงตัวยิ่ง

    การสร้าง “พระเจ้า ๕๐๐ ปี”
    พ.ศ.๒๕๔๓ วัดศรีสุพรรณมีอายุครบ ๕๐๐ ปี คณะกรรมการวัดศรีสุพรรณภายใต้การนำของพระครูพิทักษ์สุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ ได้จัดงานมรดกล้านนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ๕๐๐ ปีของวัดศรีสุพรรณ ช่วงวันที่ ๒๙ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๓ ในงานดังกล่าวมีการหล่อพระเจ้า ๕๐๐ ปีด้วยฝีมือคนในชุมชนบ้านช่างหล่อซึ่งเป็นศรัทธาวัดศรีสุพรรณด้วย
    การสร้างให้วัดศรีสุพรรณเป็นพื้นที่การเรียนรู้ของการศึกษาทั้งสามระบบ
    โรงเรียนเทศบาลวัดศรีสุพรรณ ได้เริ่มต้นการศึกษาในระบบตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๖ โดยขุนจรรยา(กิมเส็ง เสียมภักดี) ร่วมกับวัดศรีสุพรรณ สมัยพระอินตาธรรมวงศ์เป็นเจ้าอาวาส ต่อมา พ.ศ.๒๕๔๑ กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้ตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนที่วัดศรีสุพรรณ โดยใช้หอไตรเป็นสำนักงานชั่วคราว เป็นการเริ่มต้นการศึกษานอกระบบที่วัดศรีสุพรรณ ซึ่งต่อมาเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเฉลิมพระเกียรติวัดศรีสุพรรณ (ศรช.) สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่
    ต่อมา ทางธรรมได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ประจำตำบลหายยาขึ้นที่วัดศรีสุพรรณ โดยพระครูพิทักษ์สุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารโรงเรียนปริยัติธรรมสายสามัญที่วัดสวนดอกระยะหนึ่งด้วย และได้เชื่อมโยงการศึกษาของสงฆ์เข้ากับการศึกษาตามอัธยาศัยที่จัดขึ้นในวัดศรีสุพรรณ
    ดังนั้น วัดศรีสุพรรณจึงมีแหล่งเรียนรู้ของการศึกษาทั้งสามระบบตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๒ ครบถ้วน

    การสร้างพื้นที่ทางเศรษฐกิจบนถนนวัวลาย
    ใน พ.ศ.๒๕๔๕ ชุมชนบนย่านถนนวัวลาย ๓ ชุมชน คือชุมชนวัดศรีสุพรรณ ชุมชนวัดหมื่นสารและชุมชนวัดนันทาราม ได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรมเพื่อเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจในชื่อ กาดหมั้วครัวเงิน ครัวรัก-ครัวหาง (อ่านว่า กาดหมั้ว คัวเงิน คัวฮัก-คัวหาง) เทศบาลนครเชียงใหม่สมัยนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์เป็นนายกเทศมนตรี รับเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมถนนคนเดินในทุกวันเสาร์ตั้งแต่นั้นมา เป็นการเปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจบนถนนวัวลาย สร้างความคึกคักให้หวนคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งต่อมาองค์กรภาคราชการหลายโครงการได้เข้าหนุนเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของชุมชนย่านถนนวัวลายเป็นระยะตราบถึงปัจจุบัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7421_ea.jpg
      IMG_7421_ea.jpg
      ขนาดไฟล์:
      885.4 KB
      เปิดดู:
      318
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]


    การบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดศรีสุพรรณ
    ใน พ.ศ.๒๕๔๗ คณะกรรมการวัดศรีสุพรรณภายใต้การนำของพระครูพิทักษ์สุทธิคุณเจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ มีมติให้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ พระอุโบสถวัดศรีสุพรรณครั้งใหญ่ โดยใช้ฐานคิดนำสมบัติชุมชนคือครัวเงิน สร้างเป็นงานศิลป์เพื่อแผ่นดิน นำประดับทุกส่วนของพระอุโบสถทั้งด้านในด้านนอกทำให้เป็น “อุโบสถเงิน” หลังแรกของโลกและเริ่มดำเนินการตั้งแต่นั้นมา โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะศรัทธาทั้งในเชียงใหม่และที่อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง จนบัดนี้ อุโบสถเงินวัดศรีสุพรรณ มีเค้า “งามดั่งว่าถ่ายทอดพิภพท้าวอธิบดีสุราลัย”

    อนึ่ง ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ ปี ใน พ.ศ.๒๕๕๐ คณะกรรมการวัดศรีสุพรรณภายใต้การนำของพระครูพิทักษ์สุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ มีมติให้น้อมเกล้าถวายงานสร้างพระอุโบสถเงินวัดศรีสุพรรณเป็นที่ระลึกอย่างหนึ่งของงานมหามงคลนี้ ตั้งแต่นั้นมา วัดศรีสุพรรณได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร โปรดฯให้วัดศรีสุพรรณเป็นวัดในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ และได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ประดับหน้าบันอุโบสถเงิน ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7385_ea.jpg
      IMG_7385_ea.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      1,005
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]



    พระพุทธปาฎิหาริย์ มิ่งขวัญพระเมืองแก้ว นพบุรีศรีนครเชียงใหม่(พระเจ้าเจ็ดตื้อ)

    หลักศิลาจารึกประวัติวัดศรีสุพรรณ กล่าวว่า พระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชร่วมกับพระราชมารดาเจ้า โปรดเกล้าให้ขุนหลวงจ่าคำนำพระพุทธรูปองค์ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๔ ศอก ปางมารวิชัย เนื้อทองสัมฤทธิ์ ฝีมือช่างหลวงมาประดิษฐาน พร้อมสร้าง “ศรีสุพรรณอาราม” ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๐๓ ต่อมา เมื่อสร้างอุโบสถเสร็จแล้ว จึงโปรดให้ทำพิธีผูกพัทธสีมาในปี พ.ศ.๒๐๕๒ และนำพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ในสมัยพระครูพิทักษ์สุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณรูปปัจจุบัน ได้มีนักฝึกจิตชาวรัสเซีย ๒ ท่าน ผู้ซึ่งมีสัมผัสที่ ๖ มีโอกาสมาฝึกปฏิบัติทางจิตในอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙ กล่าวว่า พระประธานองค์นี้มีพลังหยิน-หยาง, พลังร้อน-เย็น และเป็นทองเงิน (เนื้อองค์พระเป็นทองสัมฤทธิ์และประดิษฐานในอุโบสถเงิน) คู่กันอยู่ในองค์พระ ยิ่งเพิ่มพลังแห่งความสำเร็จสมปรารถนาสำหรับผู้มีจิตศรัทธามากราบไหว้สักการะ อธิษฐานจิต จึงได้ถวายนามว่า “พระพุทธปาฏิหาริย์ มิ่งขวัญพระเมืองแก้ว นพบุรีศรีนครเชียงใหม่”
    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ฯพณฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ซึ่งมีจิตศรัทธาเป็นกรรมการกิตติมศักดิ์ดำเนินการสร้างอุโบสถเงินและทอดกฐินสามัคคีมหากุศลสมทบทุนสร้างอุโบสถเงินนั้น ได้สักการะพระประธานองค์นี้ และเห็นถึงพุทธลักษณะที่งดงาม ศิลปะฝีมือช่างหลวง คล้ายกับพระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก และทราบว่ามีอายุเก่าแก่ถึง ๕๐๐ ปี จึงมีดำริว่าอยากทราบนามเดิมของพระประธานองค์นี้ จึงมอบหมายให้คณะกรรมการวัดศรีสุพรรณได้สืบค้นนามเดิม เมื่อทำการสืบค้นแล้ว ได้ทราบในเบื้องต้นว่าเป็น “พระเจ้าเจ็ดตื้อ” ตามคำบอกเล่าของครูบาจันทรังษี วัดกู่เต้า และครูบาปัญญาวชิร วัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง) ประกอบกับการเทียบเคียงปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง ทราบว่ามีพระพุทธรูป ๓ องค์ด้วยกัน ได้แก่ พระเจ้าห้าตื้อ(องค์เล็ก) ไม่ทราบปีที่สร้างอย่างแน่ชัด ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดชัยพระเกียรติ อำเภอเมืองเชียงใหม่, พระเจ้าเจ็ดตื้อ (องค์กลาง) สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๐๔๓ (อ้างอิงจาก หลักศิลาจารึกวัดศรีสุพรรณ) ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานอุโบสถเงิน วัดศรีสุพรรณ ถนนวัวลาย และพระเจ้าเก้าตื้อ (องค์ใหญ่สุด) สร้างปี พ.ศ.๒๐๔๗ (อ้างอิงจากป้ายประวัติการสร้างพระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก) ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานอุโบสถวัดสวนดอก (เก้าตื้อ) อำเภอเมืองเชียงใหม่ ทำการสร้างในสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่เช่นเดียวกัน สร้างในปีพุทธศักราชใกล้เคียงกันและมีขนาดไล่เรียงกัน ดังนั้น จึงสันนิษฐานกันว่า นามเดิมขององค์พระพุทธปาฏิหาริย์ฯ คือ “พระเจ้าเจ็ดตื้อ”
    ในวโรกาสมหามงคลที่เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ ป.ธ.๙) เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยพระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญญาวุโธ) เจ้าคณะใหญ่หนใต้ วัดกะพังสุริทร์ พระอารามหลวง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง และคณะศิษยานุศิษย์เยี่ยมชมการสร้างอุโบสถเงิน ประกอบมงคลพิธีหลอมใบโพธิ์สร้างอุโบสถเงินครั้งที่ ๑ พร้อมทั้งสักการะพระพุทธปาฏิหาริย์ฯ ในวันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓ ตรงกับเดือน ๗ เหนือ แรม ๖ ค่ำ ปีชวด เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ คณะกรรมการวัด ภูมิปัญญาชาวบ้านหัตถกรรมเครื่องเงินถนนวัวลาย และกลุ่มสล่าสิบหมู่ล้านนา ถวายการต้อนรับ พร้อมทั้งขอประทานชื่อพระประธานในอุโบสถ ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้วินิจฉัยตามประวัติของพระประธานองค์นี้แล้ว ได้ลิขิตเป็นหนังสือเมื่อเวลา ๑๘.๐๙ น. เห็นควรใช้ชื่อเดิม ว่า “พระพุทธปาฏิหาริย์ มิ่งขวัญพระเมืองแก้ว นพบุรีศรีนครเชียงใหม่ (พระเจ้าเจ็ดตื้อ)” จึงเรียกชื่อตามนั้นมาจนถึงปัจจุบัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7402_ea.jpg
      IMG_7402_ea.jpg
      ขนาดไฟล์:
      849.8 KB
      เปิดดู:
      400
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]



    เจดีย์วัดศรีสุพรรณ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    เจดีย์วัดศรีสุพรรณ ตามความในจารึกกล่าวว่า สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว พ.ศ.๒๐๔๘ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แม้สภาพปัจจุบันของเจดีย์จะปฏิสังขรณ์แล้วแต่ก็ยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้ได้มาก
    รูปแบบเจดีย์เป็นแบบเจดีย์ทรงกลมพื้นเมืองล้านนาที่ส่วนประกอบของเจดีย์ประกอบด้วยฐานเขียงสี่เหลี่ยม ๑ ชั้น ต่อด้วยชุดฐานบัวหรือฐานปัทม์ลูกแก้วอกไก่ ที่มีการยกเก็จถี่มาก ๑ ชุดฐาน ต่อขึ้นไปด้วยชั้นบัวคว่ำ-บัวหงาย ที่ทำเป็นกลีบบัวรอบทุกด้าน ในทรงแปดเหลี่ยมซ้อนชั้นกันขึ้นไป ๘ ชั้น ต่อด้วยองค์ระฆังทรงแปดเหลี่ยม ต่อด้วยบัลลังก์แปดเหลี่ยมเช่นเดียวกัน ต่อด้วยก้านฉัตรกลมบัวฝาละมี ปล้องไฉน ปลี และฉัตรยอดที่มีการคลี่คลายรูปแบบไปจากเดิมมากแล้ว

    ลักษณะดังกล่าวของเจดีย์แสดงให้เห็นว่า เป็นเจดีย์ทรงระฆังล้านนาที่มีพัฒนาการมาก ที่สำคัญคือ มีการคลี่คลายรูปแบบไปจากเดิมมากแล้ว เช่น การสร้างฐานปัทมลูกแก้วอกไก่ยกเก็จและฐานบัวในผังแปดเหลี่ยม ซึ่งเป็นพัฒนาการที่สืบเนื่องมาจากฐานบัวในผังกลมที่มีมาก่อน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]


    พระวิหาร
    พระวิหารเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ สร้างในสมัยพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ ประมาณ พ.ศ.๒๓๔๒ ปัจจุบันมีอายุได้ ๒๐๐ กว่าปีล่วงมาแล้ว ยกฐานด้วยก่ออิฐโบกปูน โครงสร้างหลังคาเป็นไม้ ลดชั้นด้านหน้า ๔ ชั้น หลัง ๒ ชั้น สร้างมุขทางขึ้นลงด้านข้าง โครงสร้างหน้าต่างไหม รับน้ำหนักลวดลายปูนปั้น ประดับกระจกสีและงานแกะสลักไม้ลวดลาย ปิดทองคำเปลว ประดับกระจกแก้ว อังวะภายในพระวิหารได้รับความร่วมมือจากกลุ่มพุทธศิลปกรรมล้านนา จัดองค์ประกอบศิลป์ภายในพระวิหารอย่างงดงาม โดยรักษาของเดิมที่มีอยู่แล้ว เพิ่มเติมงานศิลป์ชุดใหม่ คือ ภาพผะเจ้า ภาพโพธิปักขิยธรรม ภาพเมืองนิพพาน ภาพ ๑๒ พระธาตุประจำปีเกิด ภาพพรหมาจักรวาฬธรรมา คือ มงคลจักรวาฬและจักรวาฬเชียงใหม่ ภาพเทวจักรวาฬธรรมา และสร้างภาพชุดทศชาติด้วยฝีมือช่างเครื่องเงินโดยทำด้วยอลูมิเนียม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านชุมชนวัดศรีสุพรรณ ใช้เป็นศูนย์กลางศาสนกิจของวัดในปัจจุบันมาโดยตลอด

    พระอุโบสถเงิน
    กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โดยนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงินที่ได้รับการสืบทอดมาสร้างสรรค์ผลงาน สลักลวดลายลงบนแผ่นเงินบริสุทธิ์ เงินผสมและแผ่นอลูมิเนียม ประดับโครงสร้างของอุโบสถ ทั้งหลังคา ผนัง ภายนอก ภายใน รวมทั้งหลัง ถือเป็นหลังแรกที่ช่างภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงินร่วมกันจัดทำขึ้นโดยตั้งปณิธานร่วมกันว่า “ให้เป็นอุโบสถเงิน ศาสนสถานหลังแรกของโลก ฝากศิลป์แก่แผ่นดินถิ่นล้านนา ถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนา และเทิดไท้องค์ราชันรัชกาลที่ ๙” สืบไป


    หลักศิลาจารึกประวัติวัด
    เป็นการจารึกด้วยอักษรฝักขามบนหินทรายแดง เพื่อเป็นเครื่องบ่งบอกถึงท้องถิ่นแห่งนี้ ว่าได้ก่อร่างสร้างฐานเป็นปึกแผ่นมาเป็นเวลานานและมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบสานต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบัน หลักศิลาจารึกนี้ยังคงเป็นหลักศิลาจารึกที่สมบูรณ์ทุกประการและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกชิ้นหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่

    หอไตร
    เป็นสถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ อายุประมาณ ๒๐๐ ปีล่วงมาแล้ว มีลักษณะ ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐโบกปูน รูปทรงสี่เหลี่ยม ชั้นบนเป็นโครงสร้างไม้ ภายในชั้นบนสร้างเป็นห้องเก็บพระไตรปิฎก ตกแต่งด้วยงานไม้แกะสลัก ปิดทองคำเปลว ประดับแก้วอังวะเป็นพื้นลาย ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่เก็บคัมภีร์ใบลานและใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆของวัด

    องค์พระพิฆเณศ
    มิ่งขวัญบรมครูแห่งความสำเร็จ (ปางทรงเครื่องล้านนา) ของวัดศรีสุพรรณ
    วัดศรีสุพรรณ ตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนหัตถกรรมช่างหล่อ ถนนช่างหล่อ หัตถกรรมเครื่องเงิน ถนนวัวลาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นทุนทางสังคมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมากกว่า ๒๐๐ ปี แต่ปัจจุบัน ทุนทางสังคมอันเป็นมรดกชิ้นนี้ นับวันจะสูญหายไปจากชุมชนย่านช่างหล่อและย่านถนนวัวลายอย่างเห็นได้ชัด พระครูพิทักสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ คณะกรรมการวัด ภูมิปัญญาชาวบ้านร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดถึง ศรัทธาประชาชนผู้เห็นคุณค่าของมรดกชิ้นนี้ ได้พยายามสืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษ โดยการรวบรวมภูมิปัญญาชาวบ้าน จัดตั้งเป็นกลุ่มหัตถศิลป์ล้านนา วัดศรีสุพรรณ ต่อมาศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) ร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้การสนับสนุนจัดตั้งศูนย์ศึกษาศิลปะไทยโบราณสล่าสิบหมู่ล้านนาวัดศรีสุพรรณขึ้นภายในวัด เพื่อถ่ายทอดสืบสานงานศิลป์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น ปัจจุบันจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ขณะนี้กำลังดำเนินโครงการสร้างอุโบสถเงินและได้จัดสร้างองค์พระพิฆเณศ บรมครูฯ แห่งความสำเร็จ ขนาดหน้าตัก ๑,๐๒๕ เมตร สูง ๑.๕๐ เมตร ทรงเครื่องศิลปกรรมล้านนาให้เสร็จและประกอบพิธีเทวาภิเษก ภายใน ๑ วัน ๑ คืน เพื่อประดิษฐานบนแท่นขันครูหลวง เป็นมิ่งขวัญของช่างสิบหมู่ล้านนาและองค์บริวารสำหรับผู้มีจิตศรัทธากราบไหว้สักการะบูชา รายได้สมทบทุนสร้างอุโบสถเงินเพื่อ “ฝากศิลป์แก่แผ่นดินถิ่นล้านนา ถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนา เทิดไท้องค์ราชัน รัชกาล ที่ ๙” ร่วมกันสืบไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]

    วัดศรีสุพรรณ
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]

    วัดศรีสุพรรณ
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7400tna.jpg
      IMG_7400tna.jpg
      ขนาดไฟล์:
      844.8 KB
      เปิดดู:
      319

แชร์หน้านี้

Loading...