WarRoom - อาสาสมัครเตรียมการเฝ้าระวังประสานงานเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ปี 2013

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 24 เมษายน 2011.

  1. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    แผ่นดินไหว อินโดนีเซีย 5.4 ริกเตอร์

    [​IMG]
     
  2. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    [​IMG]

    ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน

    ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักบางแห่ง

    ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด

    ระวังอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ในระยะนี้

    อนึ่ง ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออก เฉียงเหนือแล้วและจะเข้าปกคลุมภาคเหนือต่อไป

    ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก

    หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศา

    พยากรณ์อากาศสำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล

    มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่

    อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศา

    ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 ตุลาคม 2011
  3. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    นายกฯ มั่นใจพื้นที่ กทม.จะไม่ถูกน้ำท่วมแน่นอน

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 ตุลาคม 2554 16:56 น.



    น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครจะไม่ถูกน้ำท่วมอย่างแน่นอน เพราะจากรายงานของกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ระบุว่าพื้นที่กรุงเทพมหานครจะปลอดภัย ส่วนพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานครนั้น ต้องขอความร่วมมือจากประชาชนให้ช่วยทำแนวกั้นน้ำ
    ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี หวังว่านิคมอุตสาหกรรมนวนครจะไม่ถูกน้ำท่วม โดยจะให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพยายามป้องกันพื้นที่ดังกล่าวอย่างเต็มที่ และรัฐบาลยังเร่งทำระบบระบายน้ำลงสู่ทะเล อย่างเช่นกรณีการใช้เรือดันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเล ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้

    ส่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น ไม่ต้องเป็นห่วง โดยจะมีการทำคันดินเพิ่มขึ้น
     
  4. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    น้ำท่วม"แฟคตอรี่แลนด์" สูงกว่า1.5 เมตร

    วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2011 เวลา 20:00 น.

    ายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าสถานการณ์น้ำในขณะนี้ได้ทะลักเข้าท่วมพื้นที่โรงงานในเขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดย ระดับสูงกว่า 1.5 เมตร ทำให้โรงงานทั้งหมดต้องปิดลง สำหรับแฟคตอรี่แลนด์ เป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมใน อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เนื้อที่ 130 ไร่ จำนวนโรงงานทั้งหมด 99 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม มีแรงงานประมาณ 6,000 คน มูลค่าการลงทุนประมาณ 11,000 ล้านบาท


    72 สายทางในพื้นที่ 18 จว.น้ำท่วมรถสัญจรไม่ได้

    นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยปัจจุบันยังส่งผลให้เส้นทางการจราจรทางบกบางส่วนถูกน้ำทะลักเข้าท่วม จนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาตามปกติ ทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัยคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงที่ประสบปัญหาอุทกภัย และเส้นทางที่เจ้าหน้าที่กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแจ้งห้ามใช้เส้นทาง แล้วใช้เส้นทางที่เจ้าหน้าที่แนะนำ เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง ซึ่งจากสรุปรายงานการเกิดอุทกภัย กรมทางหลวง ประจำวันที่ 16 ตุลาคม 2554 มีสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ 20 จังหวัด จำนวน 108 สายทาง (จำนวนรวม 121 แห่ง ผ่านได้ 46 แห่ง, ผ่านไม่ได้ 75 แห่ง)

    ทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัยคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงเส้นทาง 72 สายทางที่ผ่านไม่ได้ ในพื้นที่ 18 จังหวัด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง ดังนี้

    1. จังหวัดพิจิตร

    1. ทางหลวงหมายเลข 1067 บางมูลนาก-โพทะเล ท้องที่อำเภอบางมูลนาก และอำเภอโพทะเล ที่กม. 13-19 เป็นแห่งๆให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1070 ตะพานหิน-ดงเสือเหลือง

    2. ทางหลวงหมายเลข 1068 วังจิก-ไผ่ท่าโพ ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่กม. 7-10 เป็นแห่งๆ ใช้ทางของทช. สายบ้านบึง-น้ำกลัด-บ้านโพธิ์ประทับช้าง

    3. ทางหลวงหมายเลข 1068 โพธิ์ประทับช้าง-วังจิก ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่กม.14-15 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 115 หนองหัวปลวก-ปลวกสูง เข้าจ.พิจิตร

    4. ทางหลวงหมายเลข 1118 ตะพานหิน-บางมูลนาก ท้องที่อำเภอตะพานหิน ที่กม. 4-11 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 11 ตะพานหิน-เขาทราย

    5. ทางหลวงหมายเลข 1289 วังสำโรง-บางลาย ท้องที่อำเภอบึงนาราง ที่กม. 9-10 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1070 ตะพานหิน-ดงเสือเหลือง


    2. จังหวัดพิษณุโลก

    1. ทางหลวงหมายเลข 1275 ท่าช้าง-พรหมพิราม ท้องที่อำเภอพรหมพิราม ที่กม.4-9 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1086 เข้าทางหลวงหมายเลข 11 แยกทางหลวงหมายเลข 1310 ไป พรหมพิราม-พิษณุโลก

    2. ทางหลวงหมายเลข 1293 สุโขทัย-บางระกำ ท้องที่อำเภอบางระกำ ที่กม. 46-55 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1065 บางระกำ-บ้านหนองอ้อ
    ทางหลวงหมายเลข 1310 ทับยายเชียง-พรหมพิราม ท้องที่อำเภอพรหมพิราม ที่กม. 6-15 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1309 ป่าแดง-หนองตม


    3. จังหวัดกำแพงเพชร

    1. ทางหลวงหมายเลข 1280 ทุ่งมหาชัย-ละหาน ท้องที่อำเภอคลองขลุง ที่กม. 28-29 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 115 กำแพงเพชร-พิจิตร,ทางหลวงหมายเลข 1074 สลกบาตร-บรรจบทางหลวงหมายเลข 177 บ้านป่าแดง อ.ตะพานหิน

    4. จังหวัดนครสวรรค์

    1. ทางหลวงหมายเลข 1 สะพานเดชาติวงค์-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 340-343 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ชัยนาท-ตากฟ้า แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 11ตากฟ้า-พิจิตร-พิษณุโลก เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือ

    2. ทางหลวงหมายเลข 117 นครสวรรค์-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 4-16 เป็นแห่งๆ ใช้ทาง ทช.

    3. ทางหลวงหมายเลข 122 ทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันตก ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 0-7 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ชัยนาท-ตากฟ้า แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 11ตากฟ้า-พิจิตร-พิษณุโลก เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือ

    4. ทางหลวงหมายเลข 225 ทางเลี่ยงเมืองชุมแสง ท้องที่อำเภอชุมแสง ที่กม. 0-7 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 225 ชุมแสง-หนองบัว

    5. ทางหลวงหมายเลข 225 นครสวรรค์ -เทศบาลเมืองชุมแสง ท้องที่อำเภอชุมแสง ที่ กม. 10-37 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 11 (สี่แยกหนองบัว) ไปสี่แยกไฟศาลี เข้าทางหลวงหมายเลข 3004 อ.ท่าตะโกตรงไป จ.นครสวรรค์

    6. ทางหลวงหมายเลข 1084 ป่าแดง-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 48-52 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 กำแพงเพชร-นครสวรรค์

    7. ทางหลวงหมายเลข 1182 นครสวรรค์-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-4 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร

    8. ทางหลวงหมายเลข 3319 โกรกพระ-อุทัยธานี ท้องที่อำเภอโกรกพระ ที่กม. 0-3 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 3221 อุทัยธานี-ทัพทัน

    9. ทางหลวงหมายเลข 3475 ทับกฤช-พนมรอก ท้องที่อำเภอชุมแสง อ.ท่าตะโก ที่กม. 0 - 25 เป็นแห่ง ๆให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1119 (บ.หนองบัว - บ.พนมรอก)ไปทางหลวงหมายเลข 3004 (บ.ท่าตะโก) ไป จ.นครสวรรค์

    10. หลวงหมายเลข 3522 ทางแยกเข้าพยุหะคีรี ท้องที่อำเภอพยุหะคีรี ที่กม. 2-4 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 พยุหะคีรี-นครสวรรค์

    5. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


    1. ทางหลวงหมายเลข 1 ประตูน้ำพระอินทร์-วังน้อย-หนองแค ท้องที่อำเภอเมืองและวังน้อย ที่กม. 54-78 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 305 รังสิต-นครนายก-สระบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่อง ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ

    2. ทางหลวงหมายเลข 32 บางปะอิน-นครหลวง ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 0-26 (น้ำไหลเชี่ยวปิดการจราจร) ให้ใช้วงแหวนตะวันตกหมายเลข 9 บางบัวทอง-ตลิ่งชัน-สาย 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี -สาย 4 นครชัยศรี-นครปฐม แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 321 นครปฐม-กำแพงแสน เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือ

    3. ทางหลวงหมายเลข 32 นครหลวง-อ่างทอง ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่กม. 26-40 (น้ำไหลเชี่ยวปิดการจราจร) ให้ใช้วงแหวนตะวันตกหมายเลข 9 บางบัวทอง-ตลิ่งชัน-สาย 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี -สาย 4 นครชัยศรี-นครปฐม แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 321 นครปฐม-กำแพงแสน เป็นเส้นทางเลี่ยง ขึ้น/ลงภาคเหนือ

    4. ทางหลวงหมายเลข 308 บางเลน-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 1-7 ไม่มีเส้นทางทดแทน

    5. ทางหลวงหมายเลข 309 วังน้อย-อยุธยา ท้องที่อำเภอวังน้อย ที่กม. 0-20 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน

    6. ทางหลวงหมายเลข 329 บางปะหัน-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่กม. 32-43 ไม่มีเส้นทางทดแทน

    7. ทางหลวงหมายเลข 347 บางปะอิน-เจ้าปลุก ท้องที่อำเภอเมืองและอำเภอบางปะหัน ที่กม. 21-50 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
    8. ทางหลวงหมายเลข 347 เจ้าปลุก-บางปะหัน ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่กม. 50-51 ไม่มีเส้นทางทดแทน

    9. ทางหลวงหมายเลข 352 แยกต่างระดับวังน้อย-หนองแค ท้องที่อำเภอวังน้อย ที่กม. 25-27 ไม่มีเส้นทางทดแทน

    10. ทางหลวงหมายเลข 356 บ้านหว้า-ปากกราน ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 0-5 ไม่มีเส้นทางทดแทน

    11. ทางหลวงหมายเลข 3063 ทางแยกไปอำเภอนครหลวง ท้องที่อำเภอนครหลวง ที่กม. 15-23 ไม่มีเส้นทางทดแทน

    12. ทางหลวงหมายเลข 3196 มหาราช-บ้านแพรก ท้องที่อำเภอมหาราช ที่กม. 96-105 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 32สายเอเชีย (สิงห์บุรี-ชัยนาท)

    13. ทางหลวงหมายเลข 3267 อ่างทอง-อยุธยา ท้องที่อำเภอมหาราช ที่กม. 5-17 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน

    14. ทางหลวงหมายเลข 3412 บางบาล-ผักไห่ ท้องที่อำเภอบางบาล ที่กม. 8-15 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 3501 อ่างทอง-บางบาล

    15. ทางหลวงหมายเลข 3454 ผักไห่-เสนา ท้องที่อำเภอเสนา ที่กม. 109-111 ใช้ทางของ อบจ.

    16. ทางหลวงหมายเลข 3454 โพธิ์ทอง-หน้าโคก ท้องที่อำเภอผักไห่ ที่กม. 81-87 เป็นแห่งๆให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 3501 ป่าโมก-ในเมือง

    17. ทางหลวงหมายเลข 3467 นครหลวง-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอนครหลวง ที่กม. 0-8 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน

    18. ทางหลวงหมายเลข 3469 อยุธยา-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 0-3 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน

    19. ทางหลวงหมายเลข 3477 บางปะอิน-อยุธยา ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 0-14 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน



    6. จังหวัดสิงห์บุรี

    1. ทางหลวงหมายเลข 11 อินทร์บุรี-ตากฟ้า ท้องที่อำเภออินทร์บุรี ขณะนี้น้ำไหลเชี่ยว คอสะพานขาด ที่กม. 5 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 สายเอเชีย (สิงห์บุรี-ชัยนาท)

    2. ทางหลวงหมายเลข 311 สิงห์บุรี-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 5-7 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 สายเอเชีย (สิงห์บุรี-ชัยนาท)

    3. ทางหลวงหมายเลข 3030 สิงห์บุรี-บางระจัน ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 0-1 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 สายเอเชีย (อ่างทอง-สิงห์บุรี)

    4. ทางหลวงหมายเลข 3028 บางงา-บ้านหมี่ ท้องที่อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอบ้านหมี่ ที่กม. 1-24 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 3196 บ้านหมี่-ลพบุรี

    5. ทางหลวงหมายเลข 3033 บางา-พรหมบุรี ท้องที่อำเภอพรหมบุรี ที่กม. 1-10 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน


    7. จังหวัดลพบุรี
    1. ทางหลวงหมายเลข 311 เลี่ยงเมืองลพบุรี ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอท่าวุ้ง ที่กม. 8-19 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ลพบุรี-เฉลิมพระเกียรติ

    2. ทางหลวงหมายเลข 311 ลพบุรี-สิงห์บุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 159-166 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน

    3. ทางหลวงหมายเลข 3016 บ้านป่าหวาย-บ้านป่าตาล ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 2-5 ไม่มีเส้นทางทดแทน

    4. ทางหลวงหมายเลข 3019 เขาพระงาม-โคกกระเทียม ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-2 ไม่มีเส้นทางทดแทน

    5. ทางหลวงหมายเลข 3196 ลพบุรี-โพธิ์เก้าต้น ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 76-94 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 สายเอเชีย (สิงห์บุรี-ชัยนาท)


    8. จังหวัดชัยนาท

    1. ทางหลวงหมายเลข 1 แยกสายเอเชีย-สวนนก-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง ผนังกั้นน้ำด้านซ้ายทางชำรุด ที่กม. 290+500 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 สายเอเชีย (อุทัยธานี-สิงห์บุรี)

    2. ทางหลวงหมายเลข 3183 ชัยนาท-วัดสิงห์ ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่กม. 25-28 ใช้ทาง อบต.

    3. ทางหลวงหมายเลข 3213 วัดสิงห์-หนองมะโมง ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่กม. 0-1 ใช้ทาง อบต.

    4. ทางหลวงหมายเลข 3244 ชัยนาท-ท่าหาด ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 0-2 ไม่มีเส้นทางทดแทน


    9. จังหวัดปทุมธานี

    1. ทางหลวงหมายเลข 9 ลาดหลุมแก้ว-ต่างระดับบางปะอิน ท้องที่อำเภอลาดหลุมแก้ว ที่กม. 62-66 ให้ใช้วงแหวนตะวันตกหมายเลข 9 บางบัวทอง-ตลิ่งชัน-สาย 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี -สาย 4 นครชัยศรี-นครปฐม แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 321 นครปฐม-กำแพงแสน เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือ

    2. ทางหลวงหมายเลข 346 ลาดหลุมแก้ว - ระแหง ท้องที่อำเภอลาดหลุมแก้ว ที่กม. 20-30 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 340 ช่วงลาดหลุมแก้ว-สุพรรณบุรี


    10. จังหวัดอุทัยธานี

    1. ทางหลวงหมายเลข 333 อุทัยธานี-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-14 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน

    2. ทางหลวงหมายเลข 3265 ทางเลี่ยงเมืองอุทัยธานี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 0-2 ใช้ทางเทศบาลเมือง

    3. ทางหลวงหมายเลข 3265 อุทัยธานี-มโนรมย์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-7 เป็นแห่งๆ ใช้ทางเทศบาลเมือง


    11. จังหวัดสระบุรี

    1. ทางหลวงหมายเลข 3020 พระพุทธบาท-หนองโดน ท้องที่อำเภอพระพุทธบาท ที่กม. 6-8 ไม่มีเส้นทางทดแทน

    2. ทางหลวงหมายเลข 3022 พระพุทธบาท-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอบ้านหมอ ที่กม. 12-13 ไม่มีเส้นทางทดแทน

    3. ทางหลวงหมายเลข 3034 หน้าพระลาน-โรงปูนซิเมนต์ ท้องที่อำเภอบ้านหมอ ที่กม. 14-16 ไม่มีเส้นทางทดแทน


    12. จังหวัดสุพรรณบุรี

    1. ทางหลวงหมายเลข 340 ทางแยกเข้าสุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม.0 - 1 ใช้สาย 340 บางปลาม้า-ศรีประจันต์

    2. ทางหลวงหมายเลข 340 สาลี่-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 75-98 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 340 (เส้นทางสายหลัก)

    3. ทางหลวงหมายเลข 329 อ่างทอง-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอท่าระหัด ที่กม. 0-1 ไม่มีเส้นทางทดแทน

    4. ทางหลวงหมายเลข 3507 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ-โพธิ์พระยา ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม.0-5 เป็นแห่งๆ


    13. จังหวัดนนทบุรี

    1. ทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง-ลาดบัวหลวง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 25-31 เป็นแห่งๆ ให้ใช้วงแหวนตะวันตกหมายเลข 9 บางบัวทอง-ตลิ่งชัน-สาย 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี-สาย 4 นครชัยศรี-นครปฐม แล้วใช้ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 321 นครปฐม-กำแพงแสน เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือ

    2. ทางหลวงหมายเลข 345 สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 4-10 เป็นแห่งๆ ใช้ทางของเทศบาล

    3. ทางหลวงหมายเลข 3215 บางกรวย-ไทรน้อย ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 22-25 ไม่มีเส้นทางทดแทน


    14. จังหวัดอ่างทอง

    1. ทางหลวงหมายเลข 3064 อ่างทอง-โพธิ์ทอง ท้องที่อำเภอโพธิ์ทอง ที่กม. 8-9 ไม่มีเส้นทางทดแทน

    15. จังหวัดปราจีนบุรี

    1. ทางหลวงหมายเลข 3076 บ้านสร้าง-นครนายก ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่กม. 0-3 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 33 นครนายก-ปราจีนบุรี

    2. ทางหลวงหมายเลข 3293 ปราจีนบุรี-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่กม. 4-10 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 319 ปราจีนบุรี-พนมสารคาม

    3. ทางหลวงหมายเลข 3347 ฉะเชิงเทรา-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่กม. 15-39 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ฉะเชิงเทรา-พนมสารคราม

    4. ทางหลวงหมายเลข 3481 บางขนาก-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่กม. 26-28 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 กบินทร์บุรี-ฉะเชิงเทรา-บ้านสร้าง


    16. จังหวัดหนองบัวลำภู

    1. ทางหลวงหมายเลข 2146 โนนสัง-เขื่อนอุบลรัตน์ ท้องที่อำเภอโนนสัง ที่กม. 0-12 เป็นแห่งๆ ใช้ทางของ ทช. หมายเลข นภ.4013

    17. จังหวัดมหาสารคาม

    1. ทางหลวงหมายเลข 2391 กู่ทอง-บ้านเขื่อน ท้องที่อำเภอโกสุมพิสัย ที่กม. 15-16 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 12 ขอนแก่น-เชียงยืน และทางหลวงหมายเลข 2237 โกสุมพิสัย-เชียงยืน

    18. จังหวัดสุรินทร์

    1. ทางหลวงหมายเลข 2124 สังขะ-บ้านจารย์ ท้องที่อำเภอกาบเชิง ที่กม. 0-1 ใช้ ทช.สาย 2283 และสาย 24 บ้านชบ ทางเดิมเข้าสังขะบุรี


    อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวต่ออีกว่า เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ขอให้โปรดใช้ความระมัดระวังในการใช้เส้นทางเพิ่มขึ้นด้วย และให้สอบถามเส้นทางก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือทุกระยะในการเดินทาง สำหรับประชาชนที่ต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง การจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรศัพท์ไปได้ที่

    สายด่วนกรมทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1586
    ตำรวจทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1193
    สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง 0 2354 6530, 0 2354 6668-76
    ต่อ 2014, 2031
    ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง 0 2354 6551
    ศูนย์บริการข้อมูลทางหลวงพิเศษ 0 2533 6111
    หน่วยกู้ภัย มอเตอร์เวย์ กรุงเทพ – ชลบุรี (สายใหม่) 0 3857 7852 – 3
    หน่วยกู้ภัยวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก (บางปะอิน – บางพลี) 0 2509 6832
    ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) 1111 กด 5
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) 1784
    สายด่วนกรมทางหลวงชนบท 1146
    สายด่วนกรมชลประทาน 1460




    วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2011 เวลา 19:27 น.
     
  5. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ชาวกัมพูชายังเดือดร้อนจากน้ำท่วมใหญ่

    ข่าวต่างประเทศ วันจันทร์ที่ 17 เดือนตุลาคม พ.ศ.2554 04:38 น.

    [​IMG]


    ชาวกัมพูชาก็ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ไม่ต่างจากประเทศไทย มีน้ำท่วมถึง 18 จังหวัด
    จากทั้งประเทศ 23 จังหวัด และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 247 ราย

    ชาวบ้านในกรุงพนมเปญ และอีก 18 จังหวัดของกัมพูชาต้องใช้เรือและแพเป็นพาหนะ อุทกภัยครั้งใหญ่ในกัมพูชาทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 247 ราย โดยผู้เสียชีวิตกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเด็กที่จมน้ำตาย ยอดผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมในกัมพูชาครั้งนี้นับเป็นจำนวนที่มากที่สุดในรอบ 11 ปี ชาวบ้านในกัมพูชาใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก และทำทุกวิถีทางเพื่อประทังชีวิต ขณะที่หลายคนได้รับบาดเจ็บจากงูและสัตว์มีพิษที่มากับสายน้ำเมื่อวานนี้ รัฐบาลจีนได้บริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือมูลค่า 8 ล้านเหรียญสหรัฐฯให้กับกัมพูชา ส่วนรัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้บริจาคสิ่งของช่วยเหลือไปแล้วก่อนหน้านี้ อุทกภัยในกัมพูชาสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนมากกว่า 1 ล้าน5แสนคน โรงเรียนกว่า 2 พันแห่งปิดเรียน และพื้นที่ปลูกข้าวเกือบทั้งประเทศได้รับความเสียหาย

    Link : http://www.innnews.co.th/ชาวกัมพูชายังเดือดร้อนจากน้ำท่วมใหญ่--314920_04.html

    ดีเปรสชั่นถล่มอเมริกากลางตายกว่า60คน

    ข่าวต่างประเทศ วันจันทร์ที่ 17 เดือนตุลาคม พ.ศ.2554 05:03 น.

    [​IMG]

    พายุดีเปรสชั่น เข้าซัดหลายประเทศในทวีปอเมริกากลาง ทำให้ชาวบ้านหลายพันคน
    ต้องละทิ้งบ้านเรือน และมีผู้เสียชีวิตกว่า 60 คน

    พายุกระหน่ำอเมริกากลางตั้งแต่2-3วันที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่มและฟ้าผ่าตั้งแต่เม็กซิโกไปจนถึงอเมริกาใต้
    หลายพื้นที่ถูกตัดขาดการคมนาคมหลังฝนตกน้ำท่วมหมู่บ้านและถนนหลายสาย มีผู้เสียชีวิตในกัวเตมาลา 26 คน
    จนประธานาธิบดีอัลวาโร โกลอม ต้องประกาศเป็นเขตภัยพิบัติรุนแรง ขณะที่เอลซัลวาดอร์รุนแรงไม่แพ้กัน
    หลังพบผู้เสียชีวิต 27 คน ประชาชนหลายร้อยคนต้องอาศัยอยู่บนหลังคาบ้าน ส่วนนิการากัวมีผู้เสียชีวิต 7 คน
    และอีกหลายพันคนต้องอพยพออกจากบ้าน
    ด้านฮอนดูรัสมีผู้เสียชีวิต 2 คน ล่าสุดยังคงมีฝนตกหนักในพื้นที่หลายแห่งของฮอนดูรัสและกัวเตมาลาวันเสาร์
    ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่ฝนตกน้อยลงในนิการากัว เอลซัลวาดอร์ และคอสตาริกาแล้ว

    Link : http://www.innnews.co.th/ดีเปรสชั่นถล่มอเมริกากลางตายกว่า60คน--314921_04.html
     
  6. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    แผนที่...แสดงเส้นทางเลี่ยง ขาลงจากภาคเหนือ

    - จากภาคเหนือสู่ภาคกลางให้ใช้เส้นทาง สุพรรณบุรี - นครปฐม เนื่องจากบางบัวทอง...ผ่านไม่ได้

    - ไม่แนะนำให้ผ่านสระบุรี เนื่องจากวังน้อย...ผ่านไม่ได้

    - นครสวรรค์...ผ่านไม่ได้


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ข้อมูลจาก

    http://maintenance.doh.go.th/flood54.html

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2011
  7. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    สุพรรณบุรี ฝนเริ่มตกเปาะแปะ แล้วจ้า
     
  8. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    อาสาสมัครเฝ้าจับตาสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพ

    หมู่บ้านชัยพฤกษ์1 เส้น345 ปทุมธานี น้ำเยอะรถเล็กหลีกเลี่ยง ภาพที่ส่งมาคือในหมู่บ้าน

    เครดิตโดยพี่หมู#Supachai Dissunrut

    [​IMG]
     
  9. FALCON1

    FALCON1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,522
    ค่าพลัง:
    +4,863
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom width=19 background=images/home_set_lbg.gif></TD><TD vAlign=top align=middle>[​IMG] <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=500 border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=center bgColor=#eeeeee><TD width=94>
    กลุ่มเมฆที่ 1 :
    </TD><TD> กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคเหนือโดยมีฝนปกคลุมทางตอนบนของภาค </TD></TR><TR vAlign=center bgColor=#eeeeee><TD width=94>
    กลุ่มเมฆที่ 2 :
    </TD><TD> กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีฝนและฝนฟ้าคะนองกระจายปกคลุมทางตะวันออกของภาค </TD></TR><TR vAlign=center bgColor=#eeeeee><TD width=94>
    กลุ่มเมฆที่ 3 :
    </TD><TD> กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคกลางโดยมีฝนปกคลุมทางตอนล่างของภาค </TD></TR><TR vAlign=center bgColor=#eeeeee><TD width=94>
    กลุ่มเมฆที่ 4 :
    </TD><TD> กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคตะวันออกโดยมีฝนปกคลุมทางตอนบนของภาค</TD></TR><TR vAlign=center bgColor=#eeeeee><TD width=94>
    กลุ่มเมฆที่ 5 :
    </TD><TD> กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคใต้โดยมีฝนฟ้าคะนองปกคลุมทางตอนล่างของภาคและตามบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    C5 - War Room Falkman
     
  10. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    อาสาสมัครเฝ้าจับตาสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพ

    วสท. หรือวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

    เสนอแบบเขื่อนกันน้ำที่แข็งแรงกว่า สร้างง่ายและเร็วกว่าเขื่อนกระสอบทราย เหมาะกับยุคกระสอบทรายราคาแพง


    ใครชอบก็เอาไปประยุกต์ใช้กันได้ ทาง วสท.ไม่สงวนสิทธิ์

    [​IMG]
     
  11. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    อาสาสมัครเฝ้าจับตาสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพ

    ‎07.15 น. ฝนอ่อนถึงปานกลางเขตคลองสามวา คันนายาว บึงกุ่ม เคลื่อนไปทางเขตหนองจอก แนวโน้มคงที่

    lระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเวลานี้ (ม.รทก.) บางนา+1.16 ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 1.34 ม.

    ปากคลองตลาด+1.64 ม.ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 1.16 ม.

    บางเขนใหม่+2.05 ม.ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.95 ม.

    lระดับน้ำในคลองต่าง ๆ ของกทม. ส่วนใหญ่อยู่ในภาวะปกติ

    แต่มีจำนวน 3 คลองฝั่งธนบุรีซึ่งน้ำสูงเนื่องจากฝนที่ตกหนักเมื่อวันที่ 15 ต.ค.
     
  12. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    อาสาสมัครเฝ้าจับตาสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพ

    ‎....(ความคิดเห็นส่วนตัว)สายไหม ดอนเมืองเก็บของเลยค่ะ แนวรังสิต คลองหลวงน่าจะเอาไม่อยู่แล้ว หยิกเล็บเจ็บเนื้อ ต้องเลือก(เซียร์รังสิต มธ.)กับ(นวนคร) คงต้องเลือก...แต่ไม่ว่าเลือกอะไรน้ำก็จะเต็มพื้นที่อยู่ดี เมื่อน้ำเหล่านี้ลงมายังประตูจุฬาจะต้องต้านน้ำทั้งผืน ก็คงต้านไว้ได้ซักระยะ ก่อนจะมายังแนวรับคลองหกวาสายล่างที่กทม.กำลังจะตั้งรับสูง 1 เมตร จากการดูสภาพสถานที่การตั้งรับแล้ว ถนนแคบรถสวนยังยากพนังกั้นไม่น่าจะทำได้แข็งแรงนัก
    แนวตั้งรับขวางทางน้ำมากเกินไปน่าจะรับการปะทะของน้ำได้ไม่ดีนัก

    ผลจะกระทบลงมาสายไหม ดอนเมือง วัชรพล ถ้าเข้าโซนนี้ได้แนวรับน่าจะอยู่ที่รามอินทรา แผนที่ที่ว่าโซนสีเขียว ท่าจะพลิกแผนจะรับมือยากเสียแล้ว ....นอกจากจะยอมตัดใจรักษาคลอง 1-4 ให้คลอง5เป็นต้นไปรับภาระ แล้วใช้ถนนวงแหวนเป็นคันกั้นน้ำรับ ก็จะพอมีหวังรักษาส่วนกลางไว้ได้.....แต่เหมือนเราจะเลยทางเลือกนั้นมาแล้ว
    .....(เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว โปรดใช้วิจารณญาณ ทุกอย่างอาจมีปัจจัยอื่นเสริมมาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโปรดติดตามข่าว)
     
  13. fonbao

    fonbao สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +22
    ชุมชนกทม.เจอผลกระทบน้ำท่วมแล้ว641แห่ง


    16 ตุลาคม 2554 เวลา 21:24 น. <!-- end facebook-share -->
    <!-- end main-sns --><!--end articleDetailPanel-->
    กทม.เผยมีชุมชนได้รับผลกระทบน้ำท่วมแล้ว 631 แห่งใน20เขตส่วนใหญ่อยู่นอกแนวป้องกันน้ำ ยอมรับฝั่งตะวันตกป้องกันน้ำได้ยาก

    ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้รายงานสถานการณ์ผลกระทบจากอุทกภัยประจำวันที่ 16 ต.ค.พบว่า มีชุมชนในกรุงเทพฯ ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้วรวม641 ชุมชนใน 20 เขต ได้แก่ บางซื่อ ดุสิต พระนคร สัมพันธวงศ์ สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย บางพลัด บางกอกน้อย ธนบุรี คลองสาน ราษฎร์บูรณะ คลองสามวา มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง สายไหม คันนายาว และทวีวัฒนา รวม 41,485 ครัวเรือน โดยผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นชุมชนนอกแนวป้องน้ำท่วม และชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ไม่ได้กระทบครอบคลุมทั่วทั้งเขตพื้นที่

    นอกจากนี้ยังมีพื้นที่เกษตรกรรมได้รับผลกระทบ จำนวน 14 เขต ได้แก่ บางแค มีนบุรี ภาษีเจริญ คันนายาว ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา คลองสามวา ลาดกระบัง หนองจอก สายไหม บางเขน สะพานสูง บางกะปิ และประเวศ คิดเป็นพื้นที่ 12,142 ไร่ เกษตรกรจำนวน 1,164 ราย

    [​IMG]

    สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมขังบริเวณตอนเหนือของกรุงเทพฯ พื้นที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ เขตดอนเมือง ช่วงประตูระบายน้ำคลองรังสิตเชื่อมคลองเปรมประชากร และพื้นที่เขตสายไหม บริเวณถนนเลียบคลองสองและคลองหก เนื่องจากน้ำเหนือไหลบ่าเข้าพื้นที่ โดยกทม. ได้เสริมแนวกระสอบทราย ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และเฝ้าระวังตลอด 24 ชม. โดยประสานกรมชลประทานอย่างใกล้ชิดในการเร่งระบายน้ำลงคลอง

    ด้านฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ (คลองสามวา มีนบุรี หนองจอก และลาดกระบัง) พบว่าจุดที่น้ำท่วมขัง ได้แก่ ตามถนนและชุมชนที่ตั้งอยู่ริมคลอง เนื่องจากพื้นที่ต่ำระดับน้ำในคลองท่วมสูง และมีฝนตกหนักในพื้นที่ ซึ่ง กทม.ได้เสริมแนวกระสอบทรายทำคันดิน เปิดทางระบายน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ รวมทั้งประสานกรมชลฯลดระดับน้ำในคลอง และจัดรถทหาร รถขสมก. และเรือ เพื่อรับ-ส่งประชาชนในหมู่บ้านที่มีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 20-40 ซม.
    นอกจากนี้กทม.ได้เข้าไปวางกระสอบทรายเป็นทางเดิน และได้ประสานกรมชลประทานเปิดประตูระบายน้ำในคลองประเวศน์บุรีรมย์เพิ่มด้วย

    [​IMG]

    ขณะที่ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ(เขตทวีวัฒนา) บริเวณจุดที่น้ำท่วมขัง ได้แก่ ชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ เนื่องจากการรั่วซึมตามแนวป้องกันริมคลองมหาสวัสดิ์และมีฝนตกหนัก ได้แก้ไขโดยดำเนินการเสริมแนวกระสอบทราย และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายออก

    กทม.ยังได้จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความแข็งแรงของแนวกระสอบทรายชุมชนวัดปุรณาวาส ริมคลองมหาสวัสดิ์ เขตทวีวัฒนา พร้อมเฝ้าระวังตลอด 24 ชม. เนื่องจากระดับในคลองมหาสวัสดิ์ มีระดับ 1.91 เมตรสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ยังต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 89 ซม. อย่างไรก็ตามกทม.ได้ร่วมกับกองทัพเรืออุดรอยรั่วแนวคันกระสอบทรายบริเวณริมคลองทวีวัฒนาแล้ว และได้กำชับเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

    ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า การป้องกันน้ำในพื้นที่ตะวันตกล่วงหน้าทำได้ยาก เนื่องจากเป็นพื้นที่กว้าง โดยเฉพาะบริเวณถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต้องรอดูว่าน้ำจะโอบล้อมเข้ามาหรือไม่ และเข้ามาทางพื้นที่ใด จากนั้นกทม.จะได้เตรียมการป้องกันถูก ซึ่งมั่นใจว่าน้ำที่จะท่วมเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวไม่ทะลักเข้ามารวดเร็วอย่างเช่นในพื้นที่ต่างจังหวัดแน่นอน แต่จะค่อยเป็นค่อยไปและต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ดังนั้นจึงทำให้ กทม.มีเวลาในการดำเนินการเตรียมการป้องกันและการอพยพ หากเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้นมาจริง

    [​IMG] เกาะทุกประเด็นร้อนกับ โพสต์ทูเดย์ดอทคอม คลิก!
     
  14. fonbao

    fonbao สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +22
    ศปภ.มั่นใจยังป้องนวนครได้


    16 ตุลาคม 2554 เวลา 22:26 น. <!-- end facebook-share -->
    <!-- end main-sns --><!--end articleDetailPanel-->
    ศปภ.แถลงยังมั่นใจป้องกัน นิคมฯนวนครได้แม้ระดับน้ำเพิ่มต่อเนื่อง แต่ได้ระดมกระสอบทรายเข้าเสริมต่อเนื่องแล้ว

    พล.อ.พลางกูร กล้าหาญ ทีมโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แถลงถึงการป้องกันอุทกภัยเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมนวนครว่า ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมนวนคร เป็นนโยบายของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ป้องกันจุดนี้ไว้ ถ้าหากเสียหายจะกระทบผู้ประกอบการ และผู้ใช้แรงงานกว่าแสนกว่าคน

    “พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ 1 เข้าดำเนินการป้องกัน ซึ่งล่าสุดจากการตรวจสอบระดับน้ำได้เพิ่มขึ้นอีก แต่ได้มีการเตรียมการ อยากเรียนว่าหน่วยได้ดำเนินการต่อเนื่องทันสถานการณ์น้ำขึ้น โดยได้ประสานกระสอบทรายสองหมื่นกระสอบ จากวิทยาลัยการปกครอง และมีพี่น้องกว่าพันคนรอบรรจุทราย มั่นใจคืนนี้ การต่อสู้กับน้ำ เพื่อรักษาแนวนิคมอุตสาหกรรมนวนครไว้น่าบรรลุผล” พล.อ.พลางกูร กล่าว

    พล.อ.พลางกูร กล่าวว่า ขณะเดียวกัน การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งมาว่า ได้มีการขนส่งกระสอบทรายจากกาญจนบุรีจำนวนสองหมื่นกระสอบมาช่วยป้องกันน้ำท่วมด้วย

    ขณะที่นายวิม วัฒนคร เลขานุการรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษก ศปภ. แถลงว่า ได้รับรายงานจากนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ และนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน ว่าน้ำจะไม่ไหลเข้านิคมอุตสาหกรรมนวนคร เนื่องจาก น้ำที่ไหลผ่าน จะผันเข้าสู่ประตูน้ำคลองเชียงรากใหม่ ระบายน้ำลงปทุม ผ่านสามโคก ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาต่อไป

    [​IMG] เกาะทุกประเด็นร้อนกับ โพสต์ทูเดย์ดอทคอม คลิก!
    <IFRAME height=69 src="http://widgets.fbshare.me/files/fbshare.php?size=large&url=http://palungjit.org/newreply.php?do=postreply&t=288866&title=" frameBorder=0 width=53 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>
     
  15. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    น้ำเหนือลด!วันนี้ชาวกทม.ชั้นใน'อุ่นใจได้'

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    (กทม.อัพเดท)รมว.เกษตรระบุ เขื่อนใหญ่ปล่อยน้ำน้อยลงแสดงว่าน้ำเหนือลดและปริมาณสูงสุดไหลผ่าน กทม.แล้ว แต่ห่วงฝั่งตะวันออกระบายได้ช้า


    ระดับน้ำจากภาคเหนือลดลง

    นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตั้งแต่เดือน มิ.ย.เป็นต้นมาปริมาณน้ำค่อนข้างมหาศาล เขื่อนทางเหนือ คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ เก็บน้ำได้ 90%  แต่ตอนนี้สถานการณ์ดีขึ้นเขื่อนภูมิพลปล่อยน้ำวันละ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)  สิริกิติ์ปล่อยน้ำวันละ 20 ล้าน ลบ.ม.  ป่าสักชลสิทธิ์ปล่อยน้ำวันละ 30 ล้าน ลบ.ม. เมื่อเขื่อนเหล่านี้ปล่อยน้ำน้อยลงแสดงว่าน้ำทางเหนือไม่มีแล้ว

    จุดสังเกตและเฝ้าระวังสองจุด คือ อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ปริมาณแม่น้ำปิงลดลง และ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ แม่น้ำน่านรวมกับแม่น้ำยมปริมาณน้ำลดลง เมื่อแม่น้ำทั้งหมดรวมกันที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำอยู่ที่ 4,630 ลบ.ม.ต่อวินาที ปริมาณน้ำลดลง และทรงตัวหลายวันแล้ว


    ชี้ปริมาณสูงสุดไหนผ่าน กทม.แล้ว
     มวลน้ำสูงสุดจาก จ.นครสวรรค์ ที่ไหลลงมานั้นได้ผ่านไปแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้น การบริหารจัดการมวลน้ำที่ผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 3,600 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งจะทรงตัวลักษณะนี้ต่อไป ขณะนี้ กำลังผลักดันน้ำออกไปทางตะวันออก แต่ค่อนข้างมีปัญหา เพราะรับน้ำได้เพียง 87 ลบ.ม.ต่อวินาที สูบน้ำออกไปได้วันละ 30 ล้าน ลบ.ม.ต่อวินาที

     ส่วนทางตะวันตก คือ แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำน้อย สามารถระบายน้ำได้ 710 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยสูบน้ำออกไปได้วันละ 15 ล้าน ลบ.ม. และรวมกับคลองลัดโพธิ์ที่ระบายน้ำลงทะเลได้อีกวันละ 40-50 ล้าน ลบ.ม.รวมปริมาณน้ำที่ระบายลงสู่ทะเลได้วันละ 400-500 ล้าน ลบ.ม.

     "กรมชลประทานประมาณการน้ำจากทุกแหล่งที่จะไหลเข้า กทม.ในปริมาณสูงสุดระหว่างวันที่ 15-16 ต.ค.ย้ำว่ามวลน้ำปริมาณใหญ่ที่สุดได้ผ่าน กทม.ออกทะเลไปแล้ว ประชาชนจึงสบายใจได้ ระดับน้ำสูงสุดที่สะพานพุทธยอดฟ้า เมื่อเช้าวันที่ 15 ต.ค. อยู่ที่ 2.29 เมตร ต่ำกว่าที่กรมชลฯ คาดการณ์ไว้ส่วนปริมาณน้ำในจังหวัดต่างๆ จะทรงตัว และค่อยๆ ลดลง ยืนยันได้ว่าปริมาณน้ำสูงสุดในรอบนี้ผ่านไปแล้ว น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาจะไม่ท่วมคันกั้นน้ำของ กทม.แน่นอน"

     นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า แม้ปริมาณน้ำมวลใหญ่จะไหลลงทะเลไปแล้ว แต่พื้นที่ที่ต้องคอยเฝ้าระวัง คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) และนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จ.อยุธยา ที่จะข้ามถนนมิตรภาพ อ.บางปะอิน  ซึ่งได้เปิดคลองแปดถึงคลองสิบ ระบายน้ำและควบคุมทิศทางน้ำไปสู่ทางตะวันออกได้

    :boo: อุ่นใจได้จริงหรือ ??
     
  16. fonbao

    fonbao สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +22
    กรมอุตุฯเตือน8จว.ฝนตกหนัก


    17 ตุลาคม 2554 เวลา 06:00 น.<!-- end facebook-share -->
    <!-- end main-sns --><!--end articleDetailPanel-->
    กรมอุตุนิยมวิทยาเตือน8จังหวัดรับมือฝนตกหนักภาคเหนือและอีสานตอนล่างอากาศเย็นขึ้น กทม.มีฝนร้อยละ60

    [​IMG] ภาพ/กรมอุตุนิยมวิทยา

    กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด ระวังอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ในระยะนี้

    อนึ่ง ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออก เฉียงเหนือแล้วและจะเข้าปกคลุมภาคเหนือต่อไป ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศา

    พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

    ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร แพร่ และน่าน อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศา ลมเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดชัยภูมิ กาฬสินธ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีอุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

    ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

    ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

    กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

    [​IMG] เกาะทุกประเด็นร้อนกับ โพสต์ทูเดย์ดอทคอม คลิก!
     
  17. fonbao

    fonbao สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +22
    บางปะอิน จมมิดน้ำ

    หลังจากที่แนวกั้นน้ำนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคฯแตก ส่งผลให้มวลน้ำมหาศาลไหลต่อไปที่ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และได้พังทลายแนวกั้นในเวลาอันรวดเร็ว โรงงานในนิคมแห่งสุดท้ายของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 90 โรงงาน บนพื้นที่ 1,962 ไร่ มูลค่าการลงทุน 60,000 ล้าน จมน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้

    ภาพ พงษ์ไทย วัฒนาวณิชย์วุฒิ, วีรวงศ์ วงศ์ปรีดี, ธิติ วรรณมณฑา

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  18. fonbao

    fonbao สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +22
    นครสวรรค์น้ำลดถนนเริ่มสัญจรได้


    17 ตุลาคม 2554 เวลา 08:40 น. <!-- end facebook-share -->
    <!-- end main-sns --><!--end articleDetailPanel-->
    น้ำท่วมขังในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ลดลง5ซม.ซ่อมเสริมคันกั้นน้ำสำเร็จคาด1สัปดาห์กลับสู่ปกติ

    ปริมาณน้ำที่ท่วมขังในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ เริ่มลดลงแล้วประมาณ 5 ซม. หลังสามารถซ่อมและเสริมคันกั้นน้ำได้สำเร็จ การกู้ถนนพหลโยธินสามารถให้รถสัญจรไปมาแล้ว เนื่องจากที่ผ่านมาได้ระดมกำลังและเครื่องจักรเข้าไปขนอุปกรณ์ไปวางกั้นทางน้ำได้เป็นที่เรียบร้อย คาดว่าภายใน 1 สัปดาห์ น้ำที่ท่วมขังในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จะลดลงอยู่ในภาวะปกติ

    [​IMG] เกาะทุกประเด็นร้อนกับ โพสต์ทูเดย์ดอทคอม คลิก!
     
  19. fonbao

    fonbao สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +22
    น้ำเอ่อล้นเข้าใกล้ตลาดไท


    17 ตุลาคม 2554 เวลา 09:08 น. <!-- end facebook-share -->
    <!-- end main-sns --><!--end articleDetailPanel-->
    ถนนคลองแอนหลังตลาดไทใช้การไม่ได้ถูกน้ำท่วมสูงศูนย์ดับเพลิงเทศบาลเมืองท่าโขลงน้ำสูง50-80ซม.

    กระแสน้ำยังคงทะลักเข้าพื้นที่จ.ปทุมธานี ตั้งแต่ถนนเลียบริมคลองหนึ่งฝั่งคลองหลวง ต.คลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง และถนนเลียบคลองสองฝั่งตลาดไท ไปจนถึงคลองระพีพัฒน์น้ำได้เอ่อล้นไหลข้ามถนนเกือบทั้งเส้นมุ่งหน้าเข้าตลาดไทบริเวณด้านหลัง

    ด้านผอ.ตลาดไท ยืนยันภายในตลาดไทยังทำการค้าพืชผักปกติ แต่สินค้าเกษตรลดปริมาณลงเพราะเส้นทางมีปัญหา

    ส่วนคลองหนึ่ง ที่รับน้ำจากประตูระบายน้ำพระอินทร์ราชาโดยตรง น้ำได้เอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมฝั่งคลอง รวมถึงศูนย์ดับเพลิงของเทศบาลเมืองท่าโขลง ซึ่งระดับน้ำสูงประมาณ 50-80 ซม.

    ส่วนที่ ซ.คลองหลวง 7,9,11 และ 13 ต.คลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง ได้มีน้ำจากคลองเปรมประชากรเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ท้ายซอย และเข้าท่วมชุมชนแปดไร่ ที่มีบ้านเรือนประชาชนกว่า 2 พันหลังคาเรือนด้วยเช่นกัน และน้ำยังได้ไหลเอ่อล้นเข้าสู่ถนนพหลโยธินขาออกทางคู่ขนานยาวไปถึงบริเวณ ซ.คลองหลวง 13 จนทำให้การจราจรติดขัด

    พ.ต.อ.เพิ่มเกียรติ สุริยวงศ์ ผู้กำกับการ สภ.คลองหลวง ได้ยืนยันว่าถนนคลองแอน ที่อยู่ด้านหลังของตลาดไท ไม่สามารถใช้การได้เพราะถูกน้ำท่วมสูง ให้หลีกเลี่ยงโดยไปใช้เส้นทางด้านหน้าฝั่งพหลโยธินแทน


    [​IMG] เกาะทุกประเด็นร้อนกับ โพสต์ทูเดย์ดอทคอม คลิก!
    <IFRAME height=69 src="http://widgets.fbshare.me/files/fbshare.php?size=large&url=http://palungjit.org/newreply.php?do=postreply&t=288866&title=" frameBorder=0 width=53 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>
     
  20. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    CNNรายงานน้ำท่วมในไทย

    17 ตค. 2554 09:03 น.

    สำนักข่าว CNN รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติในไทยว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษของประเทศ ยังคงเพิ่มขึ้น โดยตัวเลขเมื่อเช้าวันอาทิตย์ อยู่ที่ 297 คนหลังเกิดฝนตกหนักรุนแรงต่อเนื่องมานาน 2 เดือน ขณะที่ประชาชน 8 ล้าน 5 แสนคน ใน 61จังหวัด ต่างได้รับความเดือดร้อนเพราะน้ำท่วม
    กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์ว่า ยังจะมีฝนตกในบางจังหวัด และในกรุงเทพฯ ส่วนเมืองเก่าอย่างประวัติศาสตร์อย่างอยุธยา ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดนั้น ทหารต้องใช้รถบรรทุกทหารแล่นไปตามถนนสายหลักอย่างช้า ๆ เนื่องจากถนนได้กลายเป็นแม่น้ำไปแล้วเพื่อนำความช่วยเหลือไปยังประชาชนที่อยู่ห่างไกล
    คนที่มีเรือได้ใช้เป็นพาหนะในการนำของบรรเทาทุกข์ หรือไม่ก็ช่วยเพื่อนบ้านขนทรัพย์สินที่จำเป็นออกจากบ้านที่ถูกน้ำท่วม มีหลายคนใช้แผ่นโฟมอุตสาหกรรมแทนเรือ ส่วนในกรุงเทพฯ ได้มีการขุดลอดคลองและทำคันกั้นน้ำกันอย่างขะมักเขม้นเพื่อป้องกันเมืองหลวง ที่สามโคก ซึ่งอยู่กรุงเทพฯชั้นนอก ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาที่กระแสน้ำกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และกำแพงน้ำอีกด้านหนึ่งที่สูงประมาณ 2.5 เมตร และกลายเป็นกันชนป้องกันกรุงเทพฯชั้นใน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์อยู่ในขณะนี้ แต่ระดับน้ำก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
    ปกติแล้วประเทศไทยจะเจอน้ำท่วมทุกปี ในช่วงฤดูมรสุม แต่ปีนี้รุนแรงที่สุด คนไทยทั่วประเทศช่วยกันบริจาคอาหาร น้ำดื่ม และเสื้อผ้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ทางการระบุว่า ยอดเงินบริจาคสูงกว่าหลายปีที่ผ่านมามาก โดยได้รับเงินแล้วกว่า 60 ล้านบาท
    สหรัฐระบุว่า ได้ส่งเฮลิคอปเตอร์จำนวน 26 ลำ ไปช่วยด้านการบรรเทาทุกข์ เนื่องจากถนนหลายสายกลายเป็นแม่น้ำ และไม่สามารถผ่านได้ ส่วนหน่วยงานของสหประชาชาติ ได้เตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือ และองค์การอนามัยโลก ได้เสนอให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขเร่งด่วน
     

แชร์หน้านี้

Loading...