หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๒๑๐. คำพอง เชียงตุง ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    Jun 19, 2021
    เรื่องราวชีวิตของคำพอง แม่ชีสาวที่่เมืองเชียงตุง...
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๙๑.ต่องเมี้ยวดอยผี ตอน ๑ ผจญภัยบนดอยสูง

    ส่างอุ่นเปิงและท่านครูบาอูแลง เดินทางผ่านยังดอยต่องเมี้ยว..ดอยผี!

    ๙๒.ต่องเมี้ยวดอยผี ตอน๒(จบ) ผจญภัยดอยสูง

    ส่างอุ่นเปิงได้เพชรพญานาค ในถ้ำดอยต่องเมี้ยว..
    thamnu onprasert
    Jun 17, 2021

     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง เจอ อาถรรพ์นางไม้ในป่าเขมร | เปิดตำนาน ๑๕๙

    Double Colour
    Jan 11, 2020

    เปิดตำนาน 159 : เล่าเรื่อง หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต วัดโพธิ์ทรายทอง กับเรื่องราว ประสบการณ์การออกท่องธุดงค์ในป่ากัมพูชา ของหลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง ยอดเกจิแห่งดินแดนอีสานใต้ ท่านพบเจอกับอาถรรพ์ของนางไม้ในป่าเขมร ล่อลวงให้ลุ่มหลง และติดในบ่วงกิเลศ ท่านจะฝ่าฟันไปได้หรือไม่ เรื่องราวจะเป็นเช่นไร โปรดติดตามชม …
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ลองดีหลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง เอาหนอนมาถวายจนเจอดี เรื่องเล่าชาวกรุงเก่า | เปิดตำนาน ๔๗

    หลวงปู่หน่ายกำหราบมนต์ดำ-สารคดี วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อ

    สารคดี วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อ
    Apr 22, 2021
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2023
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ประวัติ หลวงพ่อหน่าย อินทสีโล วัดบ้านแจ้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    budd2825.jpg

    เมืองกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งธรรมที่มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั้งเก่าและใหม่จำนวนมาก สืบสานพุทธาคมจากรุ่น สู่รุ่น

    "หลวงพ่อหน่าย อินทสีโล" เจ้าอาวาสวัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธามาอย่างยาวนาน

    นอกจากนี้ ยังมีชื่อเสียงในด้านการสักยันต์อีกด้วย ชาวเมืองอยุธยาที่มีการสักยันต์ในยุคนั้น จะต้องมีรอยสักของท่านเกือบทุกคน โดยเฉพาะยันต์จิ้งจก ที่โดดเด่นในด้านเมตตามหานิยม

    ประวัติหลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง มีนามเดิม หน่าย มีความดี วัน-เดือนที่เกิดไม่ระบุชัด ปีพ.ศ.2446 ที่ ต.หันสังข์ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา บิดา-มารดา ชื่อ นายหลาบ และนางพลอย มีความดี จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัด ในสมัยนั้นการศึกษายังไม่ค่อยเจริญ พออ่านออกเขียนได้ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ช่วยพ่อแม่ทำงานอยู่กับบ้าน

    อายุ 12 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านแจ้ง มีพระครูพัด เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาธรรมวินัยและวิทยาคมบ้างเล็กน้อย ด้วยอายุยังน้อย

    กระทั่งอายุครบ 22 ปี เข้าอุปสมบทที่วัดบ้านแจ้ง มีพระครูพัด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า อินทสีโล

    หลังอุปสมบท พรรษาแรก ท่านเริ่มออกเดินธุดงค์ไปในป่าเขาตามภาคต่างๆ ซึ่งมีสัตว์ดุร้ายที่ชุกชุม แต่ก็ไม่มีความเกรงกลัวกับสัตว์ร้ายเหล่านั้น

    เมื่อท่านเดินธุดงค์อยู่ในป่าจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้กลับมายังวัดแจ้ง อยู่ได้ 3 เดือน จึงเดินทางไปศึกษาวิทยาคมกับ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

    ขณะที่เรียนอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้พบกับกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และศึกษาวิชากับท่านบ้าง แต่ส่วนมากจะได้วิชาจาก หลวงปู่ศุข แต่ยังไม่ทันที่จะได้วิชาแขนงสุดท้าย หลวงปู่ศุขก็มรณภาพไปเสียก่อน

    แม้จะเป็นระยะเวลาเพียงแค่หนึ่งปี แต่หลวงพ่อหน่ายได้ฝึกฝนทบทวนสรรพวิชาต่างๆ อย่างเข้มข้น ถือว่าเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ศุขอย่างแท้จริง

    หลังจากนั้นท่านได้ไปศึกษาวิชาเครื่องรางของขลังและวิทยาคมกับอาจารย์ย่ามแดง ซึ่งเป็นศิษย์เอกของ หลวงปู่ศุข หลังจากเรียนวิชาจากอาจารย์ย่ามแดง จึงกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านแจ้ง ซึ่งในขณะนั้นมี พระครูอนุวัติสังฆกิจ (เคลือบ) เป็นเจ้าอาวาสท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ในป่าช้านานถึง 20 ปี โดยบอกว่าในป่าช้าเงียบและสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    หลวงพ่อหน่าย ช่วยพระครูสังฆกิจ (เคลือบ) พัฒนาวัดบ้านแจ้ง ด้วยการสร้างอุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญ เมื่อพระครูสังฆกิจมรณภาพ ญาติโยมจึงนิมนต์หลวงพ่อหน่ายขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 ขณะที่มีอายุได้ 71 ปี โดยที่ท่านไม่ยอมรับสมณศักดิ์ใดๆ ทั้งสิ้น

    หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ปกครองดูแลพระภิกษุสามเณร รวมทั้งเกื้อกูลต่ออุบาสก-อุบาสิกามายาวนาน เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กุลบุตรทั้งหลายได้บรรพชาอุปสมบท เป็นสามเณรและพระภิกษุเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน

    จากวัตรปฏิบัติและเมตตาธรรมที่หลวงพ่อหน่ายได้ให้แก่ลูกศิษย์และญาติโยมทั้งหลายมายาวนาน ทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือ ประกอบกับเมื่อท่านได้สร้างวัตถุมงคลและมีผู้นำไปบูชาแล้วเกิดผลเป็นสุข ความเจริญ หรือแคล้วคลาดจากภัยพิบัติต่างๆ จึงทำให้ชื่อเสียงของหลวงพ่อหน่ายอยู่ในทำเนียบของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของเมืองไทย

    ทั้งนี้ หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ได้สร้าง พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และ วัตถุมงคล ไว้หลายอย่าง อาทิ ตะกรุดโทน, ตะกรุดมหาอุด, พระโมคคัลลาน์พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก, พระพุทธโคดมพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก รวมถึงเหรียญรุ่นต่างๆ อีกหลายรุ่น

    ตลอดชีวิตของหลวงพ่อหน่าย ท่านได้นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาช่วยเหลือชาวบ้านและลูกศิษย์อย่างต่อเนื่อง ท่านเป็นสงฆ์ที่รักสันโดษ ครองบรรพชิตอย่างเรียบง่าย และไม่เคยโอ้อวดตน

    ต่อมาละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันอังคารที่ 10 พ.ค. 2531 รวมอายุ 86 ปี พรรษา 74
    :- http://www.itti-patihan.com/ประวัติ-หลวงพ่อหน่าย-อินทสีโล-วัดบ้านแจ้ง-จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2023
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ดงบัง แดนสนธยา ตอน ๑

    ดงบัง แดนสนธยา ตอน ๒ (จบ) ลี้ัลับป่าสาละวิน

    thamnu onprasert
    135,724 viewsMay 27, 2021
    เรื่องราวลี้ลับ ในหมู่บ้านชาวบังบดแดนสนธยา..กลางป่าสาละวิน

    ส่างอุ่นเปิง กลับไปยังบ้านดงบัง แดนสนธยาอีกครั้ง เมื่อพ่อเฒ่าเท มาขอความช่วยเหลือ...
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    เตโชธาตุ ปราบผีป่า หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว

    เหนือโลก - NuaLok
    Aug 24, 2020
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๒๑๑. ดอยผีบังบด ธุดงป่ารัฐฉาน

    พระภิกษุหนุ่มจากเมืองไทย ไปโปรดชาวบังบดบนดอยสูงเป็นเวลา ๗ วัน

    ๒๑๒.ดอยพระคุ้ม เมืองมีด ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    391K subscribers
    Jul 2, 2021

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2021
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ลี้ลับ ..ผีตีนเดียว

    thamnu onprasert
    Jul 5, 2021

    เรื่องราวผีลี้ลับ ที่ป่า อ.หนองผือ จ.อุดรธานี เมื่อ ๙๑ ปีที่ผ่านมา
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    อริยสงฆ์ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อชา สุภัทโท

    เรื่องเล่าของพระอริยสงฆ์ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อชา สุภัทโท นั่นก็คือ หลวงปู่กินรี จนฺทิโย
    บาปกรรมทันตาเห็นซุ่มยิงพระป่าธุดงค์-สารคดี วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อ

    สารคดี วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อ
    Apr 28, 2021
    เป็นเรื่องราวบางส่วน ของหลวงปู่จาม มหาปุญโญ เมื่อครั้งที่ยังเป็นภิกษุวัยกลางคน ที่เป็นบาปกรรมทันตาเห็นซุ่มยิงพระป่าธุดงค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2021
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    lp-kinnaree-012s.jpg
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่กินรี จนฺทิโย

    วัดกัณตะศิลาวาส

    ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

    เรียบเรียงโดย webmaster : dharma-gateway.com เมื่อ : สิงหาคม ๒๕๕๔

    bar-1.jpg

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย ชื่อเดิมตอนเกิดของท่านชื่อ “กลม” กำเนิดในตระกูล “จันทร์ศรีเมือง” ซึ่งเป็นตระกูลเก่าแก่ หนึ่งใน ๘ ตระกูลที่โยกย้ายมาจาก บ้านโพธิ์ชัย เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ที่คนเฒ่าคนแก่ส่วนใหญ่เรียกว่า บ้านโพธิ์ชัยแตก เกิดขึ้นในปีมะเมีย (ไม่ทราบปี พ.ศ.ที่แน่ชัด) โยมบิดาชื่อ โพธิ์ โยมมารดาชื่อ สุวันดี หรือบางประวัติว่าชื่อ วันดี เกิดเมื่อวันพุธที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๙ ตรงกับปีวอก แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ จ.ศ. ๑๒๕๘ รศ. ๑๑๕ ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ ณ บ้านหนองฮี ตำบลปลาปาก อำเภอหนองบึก จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันเป็น บ้านหนองฮี ยกขึ้นเป็นตำบลหนองฮี ตำบลปลาบาก ยกขึ้นเป็นอำเภอปลาปาก)

    บิดามารดามีบุตรธิดารวมทั้งตัวท่านด้วยทั้งสิ้น ๗ คน ท่านเป็นลูกคนสุดท้องของครอบครัว บ้านท่านประกอบอาชีพทำนา และโดยที่ในสมัยนั้นการศึกษาเล่าเรียนยังอยู่ในวงจำกัด ดังนั้นในวัยเยาว์ท่านจึงยังไม่ได้เล่าเรียน เขียนอ่านอันใด จนกระทั่งอายุได้ ๑๐ ปี

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    ในปีพ.ศ. ๒๔๔๙ เมื่อท่านมีอายุได้ ๑๐ ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดหนองฮี และมีโอกาสได้ศึกษาหนังสือธรรม หนังสือผูก ทั้งภาษาขอม ภาษาไทยน้อยหรืออักษรไทยปัจจุบัน ท่านได้บวชเป็นเณรเรื่อยมาจนกระทั่งอายุครบบวชในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ คืออายุ ๒๐ ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดอ้อมแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

    (ในประวัติของท่านจากหลายแหล่ง ได้มีหมายเหตุในเรื่องวัดอ้อมแก้ว ว่า “ปัจจุบันชื่อ วัดเกาะแก้วอัมพวัน ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้เคยมาพำนัก” ซึ่งปี พ.ศ. ที่บวชไม่สอดคล้องกับปีที่สร้างวัดเกาะแก้วอัมพวัน และในการสร้างวัดเกาะแก้วอัมพวันก็ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าเป็นการบูรณะวัดเก่า ดังข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในประวัติหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ที่ รศ. ปฐม นิคมานนท์ เป็นผู้เรียบเรียง ซึ่งมีข้อความว่า

    “ในปลายปี พ ศ ๒๔๗๓ นั้นเอง หลวงปู่ใหญ่จึงออกธุดงค์ไปทางอำเภอธาตุพนม ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้กว่า ๕๐ กิโลเมตรหลังจากพาลูกศิษย์ไปนมัสการพระธาตุพนม แล้ว หลวงปู่ใหญ่ก็พาคณะไปพำนักปักกลดอยู่ที่ป่าดอนอ้อมแก้ว อยู่ทางทิศใต้ขององค์พระธาตุพนม

    บริเวณป่าดอนอ้อมแก้วแห่งนี้ เป็นผืนดินที่มีลักษณะคล้ายเกาะ เพราะมีน้ำล้อมรอบอยู่ ทางตะวันตกมีน้ำจากลำห้วยแคน ไหลผ่านลงลำน้ำก่ำ แล้วลงแม่น้ำโขงอีกทีที่ปากก่ำ ซึ่งอยู่ไม่ไกลบริเวณนั้น

    ประชาชนชาวธาตุพนม ซึ่งเรียกว่าชาวไทพนม นำโดยโยมทองอยู่ และโยมแก้วผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันช่วยถากถางป่าต้นหนามคอมและกอไผ่หนาม จัดสร้างกุฏิ กระต๊อบ และเสนาสนะที่จำเป็นสำหรับคณะพระธุดงค์ได้พักอาศัย พอกันแดดกันฝนได้ รวมทั้งอุปถัมภ์อุปัฏฐากให้คณะของหลวงปู่ใหญ่ได้พักจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น

    เป็นอันว่าในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ หลวงปู่ใหญ่และคณะพักจำพรรษาโปรดญาติโยมอยู่ที่ป่าดอนออมแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นพรรษาที่ ๕๐ ของท่าน

    สำนักป่าดอนอ้อมแก้วแห่งนี้ จึงได้กลายเป็นวัดกรรมฐาน ชื่อว่าวัดป่าอ้อมแก้ว เพื่อเป็นการฉลองศรัทธาและเป็นเกียรติแก่โยมแก้ว เจ้าของที่ ในปลายปี พ ศ. ๒๔๗๓ นั่นเอง

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์จึงเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาภายหลังได้ใช้ชื่อใหม่ว่า วัดเกาะแก้วอัมพวัน มาจนทุกวันนี้”

    ตามข้อความข้างต้น วัดป่าอ้อมแก้ว ได้สร้างขึ้นในปี ๒๔๗๓ หลังจากปีที่หลวงปู่กินรีบวช คือปี ๒๔๖๙ ถึง ๔ ปี ดังนั้นความเป็นไปได้จึงมี ๒ ทางคือ

    ๑. วัดที่หลวงปู่กินรีบวช ไม่ใช่วัดอ้อมแก้ว หรือ

    ๒. ถ้าวัดที่หลวงปู่กินรีบวชเป็นวัดอ้อมแก้วจริง วัดอ้อมแก้ว ที่หลวงปู่กินรีบวช กับวัดเกาะแก้วอัมพวัน ก็ต้องไม่ใช่วัดเดียวกัน หรือ

    ๓. ถ้าวัดวัดอ้อมแก้ว กับวัดเกาะแก้วอัมพวัน เป็นวัดเดียวกัน ปี พ.ศ.ที่หลวงปู่กินรีบวช หรือ ปี พ.ศ.ที่สร้างวัดเกาะแก้วอัมพวัน ปีใดปีหนึ่งต้องผิด

    หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ไม่นาน แต่จะเป็นปีใดไม่มีข้อมูล ท่านก็ได้ลาสิกขา ทั้งนี้จะเป็นด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ประวัติหลายแห่งระบุว่า ท่านสึกด้วยความห่วงใยบิดา-มารดา และได้รับการขอร้องจากบิดา-มารดา ด้วยความที่ท่านเป็นบุตรคนเล็ก ท่านจึงลาสิกขาตามความต้องการของโยมบิดาและโยมมารดา

    หลังจากลาสิกขาแล้ว ท่านก็ได้ประกอบอาชีพเป็นนายฮ้อยต้อนฝูงวัวควายไปขายยังต่างถิ่น ซึ่งเป็นอาชีพที่สมบุกสมบันและต้องทรหดอดทนเป็นอันมาก รายละเอียดของความลำบากในการเป็น “นายฮ้อย” หาอ่านได้จาก ที่ท่านพระอาจารย์วัน ได้เขียนไว้ในอัตโนประวัติ คือประวัติของท่านที่ท่านเขียนไว้เองใน “หนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม) วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จังหวัดสกลนคร วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔

    ด้วยความที่ท่านไม่มีประสบการณ์ในการเป็นนายฮ้อย เนื่องจากอยู่ในเพศบรรพชิตเป็นเวลานานตั้งแต่อายุได้ ๑๐ ปี จนกระทั่งลาสิกขา เมื่ออายุได้ ๒๐ ปีเศษ การประกอบอาชีพจึงไม่ราบรื่นและไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เป็นนายฮ้อยวัวควายก็ขาดทุนอย่างหนัก ท่านจึงได้เลิก ในช่วงนั้นท่านก็ได้แต่งงานมีครอบครัว แต่ชีวิตครอบครัวของท่านก็ไม่ประสบผลสำเร็จอีก ท่านได้เล่าถึงชีวิตครอบครัวของท่านในช่วงนั้นให้ลูกศิษย์ฟังว่า เพราะการกระทำของท่านที่ได้ไปพรากพ่อ-แม่-ลูก วัว ควาย ที่ขายไปในถิ่นต่างๆ ย่อมเป็นบาปอย่างมหันต์ ผลกรรมจึงย้อนตอบสนอง ให้ต้องสูญเสียภรรยา หลังจากคลอดบุตรได้ไม่นาน และได้สูญเสียลูกอันเป็นสุดที่รักซ้ำอีก เพราะทารกน้อยขาดนมจากผู้เป็นมารดา

    หลังจากที่ได้ผจญเวรกรรมในเพศฆราวาสมาได้หลายปี จนกระทั่งอายุครบเบญจเพส ความสูญเสียอันใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตดังกล่าวของท่าน ความทุกขเวทนา ความอาลัยอาวรณ์ ความโศกเศร้า ทับถมทวีความทุกข์ให้มากยิ่งขึ้น บังเกิดเป็นกุศลปัจจัยผลักดัน และบันดาลใจให้ท่านก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เป็นบรรพชิตในพระบวรพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศรีบุญเรือง* ตำบลกุดตาไก้ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอ โดยมีพระอาจารย์วงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พิมพ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์พรหมา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ชื่อใหม่จากพระอุปัชฌาย์ จาก “กลม” เป็น “กินรี” และได้รับนามฉายาว่า “จนฺทิโย” ซึ่งแปลว่า “ผู้เปรียบประดุจพระจันทร์”

    bar-4-head-left-short.jpg

    * หมายเหตุ เฉพาะในจังหวัดนครพนม มีวัดชื่อ วัดศรีบุญเรือง ๒๖ วัด แต่ไม่มีวัดชื่อนี้ ในอำเภอปลาปาก จึงไม่แน่ใจว่า แท้จริงแล้วท่านบวชที่วัดศรีบุญเรืองวัดไหน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2023
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ต่อ
    หลังจากอุปสมบท หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองฮี ในระยะแรกของการอุปสมบทเป็นครั้งที่สองนี้ ท่านได้สงเคราะห์ญาติ หลานๆ ด้วยการให้ความรู้เรื่องภาษาไทย อบรมสั่งสอนการอ่านการเขียนภาษาไทย เพราะในสมัยนั้นการพัฒนาทางการศึกษายังล้าหลังมาก ขาดการแผ่ขยายให้กว้างขวางออกสู่ชนบท ที่จะเจริญก็คงมีแต่เมืองหลวงเท่านั้น การเผยแผ่และการถ่ายทอดวิชาความรู้ในวิชาการบางสาขา จึงต้องอาศัยพระที่วัดเป็นผู้สอน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็มีแต่วิชาภาษาไทยเท่านั้นที่สอนกัน นอกเหนือไปจากการสอนหลักธรรมะในทางพระพุทธศาสนา

    ในระหว่างนั้นท่านก็ได้เอาหลานชาย ผู้เป็นลูกของพี่สาวท่าน ซึ่งได้แต่งงานไปกับชายในตระกูล "มาภา" ซึ่งเป็นตระกูลเก่าแก่ที่อพยพมาจากบ้านโพธิ์ชัยมาพร้อมกันกับตระกูล "จันทร์ศรีเมือง" ของท่าน และตระกูลใหญ่ๆ อีกหลายตระกูล เมื่อครั้งบ้านโพธิ์ชัยเกิดโรคระบาดใหญ่เมื่อหลายปีก่อน มาบรรพชาเป็นสามเณร คือ สามเณรยศ มาภา เพื่อสอนศีลธรรมและหนังสือไปด้วย นอกเหนือจากการสงเคราะห์ญาติโยมทางด้านการศึกษาแล้ว ท่านยังได้ทำการขุดลอกสระน้ำขนาดใหญ่ด้วยตัวของท่านเอง จนเป็นผลสำเร็จ ให้วัดและชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ มีน้ำใช้อุปโภคบริโภค จนมาถึงทุกวันนี้

    พบหลวงปู่ทองรัตน์

    lp-thongrut-01.jpg
    หลวงปู่กินรีจะได้พบกับหลวงปู่ทองรัตน์ในปีไหนไม่ปรากฏ ทราบแต่เพียงว่าได้ไปกราบหลวงปู่ทองรัตน์ที่ สำนักบ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ซึ่งเมื่อไปตรวจสอบกับประวัติหลวงปู่ทองรัตน์ก็ไม่ปรากฏว่าหลวงปู่ทองรัตน์ได้ไปจำพรรษาที่บ้านสามผง ในปีใด แต่อนุมานเอาว่าอยู่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๖๖ – ๒๔๖๘ เหตุผลเนื่องจาก ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๕ หลวงปู่กินรียังไม่ได้บวช ยังทำมาหากินในทางโลกอยู่ โอกาสที่จะพบหลวงปู่ทองรัตน์จึงมีน้อยมาก และช่วงปี พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๕๖๕ ก็เป็นช่วงที่หลวงปู่ทองรัตน์เกิดรู้สึกอยากจะลาสิกขา ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากที่ท่านบวชมาแล้ว ๖ พรรษา ท่านจึงได้ออกธุดงค์ไปตามป่าตามเขา หาสถานที่วิเวกเพื่อหาอุบายที่จะทำให้ความรู้สึกอยากลาสิกขาหายไป ธุดงค์มาจนถึงภูพาน จึงได้หยุดเพื่อปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ ทำความเพียรตามวิธีที่ได้เคยศึกษาตำรามา ช่วงสองวันแรก ตื่นเช้ามาก็ออกบิณฑบาตกับชาวบ้านที่อยู่ตามกระท่อมตีนเขา พอได้ฉัน แล้วทำความเพียรก็ยิ่งทุกข์ เพราะความอยากลาสิกขายิ่งมีมาก จึงได้ตั้งสัจจะเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้วมุ่งทำความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิอยู่ ๖-๗ วัน ไม่ไปบิณฑบาต อาการอยากลาสิกขาจึงค่อยทุเลาลง แต่ยังไม่หาย

    ชาวบ้านเห็นท่านหายไปหลายวัน จึงขึ้นมาดูเห็นท่านเดินจงกรมอยู่ จึงกลับลงไปเอาภัตตาหารขึ้นไปถวาย และได้พูดถึงหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น ที่เคยธุดงค์ผ่านมาทางนี้ว่า ท่านทั้งสองนี้เป็นพระปฏิบัติเอาจริงเอาจังมาก ปฏิปทาน่าเลื่อมใส ชาวบ้านให้ความเคารพท่านมาก หลวงปู่ทองรัตน์ซึ่งในขณะนั้นกำลังเสาะแสวงหาอาจารย์อยู่ เมื่อได้ยินดังนั้นก็สนใจ จึงสอบถามถึงสถานที่พักของท่านทั้งสอง จึงทราบว่าพำนักอยู่แถบจังหวัดสกลนคร นครพนม จึงออกเดินทางลงจากภูพานเสาะแสวงหาองค์ท่านทั้งสอง เพื่อกราบขอฟังอุบายธรรม

    ครูบาอาจารย์เฒ่าได้ติดตามสืบหาจนได้พบหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ขณะนั้นท่านพำนักอยู่ ณ บริเวณที่เป็นวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ในปัจจุบัน ซึ่งแต่ก่อนเป็นป่าที่เหมาะในการภาวนามาก จึงได้ไปกราบท่านขอพักอยู่กับท่าน ๓-๔ วันเพื่อขอรับฟังโอวาทจากท่าน หลวงปู่มั่นได้เมตตาให้อุบายในการปฏิบัติ และไล่ให้ไปปฏิบัติเอง ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ได้กราบลาหลวงปู่มั่น ออกปฏิบัติตามคำแนะนำตามลำพัง ยิ่งปฏิบัติไปในความรู้สึกมีแต่ความหนักไปหมด นั่งก็หนัก ยืนก็หนัก นอนก็หนัก แก้ไม่ตก จึงคิดถึงหลวงปู่มั่นขึ้นมาและกลับไปกราบท่านอีกครั้งหนึ่ง

    ท่านอาจารย์มั่นจึงแนะทางแก้ให้ในเชิงว่า ที่ยังไม่ก้าวหน้าเนื่องจากมีความต้องการให้เกิดความสงบมากเกินไป หลวงปู่ทองรัตน์จึงได้ลากลับไปปฏิบัติต่อ จนมีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง ความหนักทั้งหลายหายไป บังเกิดความเบากายเบาใจขึ้นมาแทนที่ จึงกลับไปรายงานความก้าวหน้าให้พระอาจารย์มั่นฟัง คราวนี้หลวงปู่มั่นท่านได้แนะนำแนวทางปฏิบัติต่อ โดยท่านให้พิจารณาขันธ์ ๕ ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาให้เห็นแล้วให้ย่อเข้ามา คือ กายกับใจ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของไม่มีตัวตน แยกมันให้ออก

    หลังจากได้คำอธิบายจากหลวงปู่มั่นแล้ว ก็กราบลาท่านอีก ได้ออกปฏิบัติเอง แล้วก็ได้นำอุบายที่หลวงปู่มั่นให้ มาพิจารณากลับไปกลับมา อยู่เป็นเวลานานหลายเดือน จนก่อนเข้าพรรษาที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๖๕) ก็ปรากฏสภาวะทุกอย่างลงตัว เกิดปีติขึ้นในจิตใจ

    ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่หลวงปู่ทองรัตน์จะรับหลวงปู่กินรีเป็นศิษย์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ อีกทั้งปีดังกล่าวก็เป็นปีที่พระอาจารย์กินรีเพิ่งจะบวชอีกด้วย และก็คงไม่เป็นภายหลังปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื่องจากปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นปีที่หลวงปู่ทองรัตน์นำพระอาจารย์กินรีไปกราบพระอาจารย์มั่น ที่จังหวัดสกลนคร ตามที่จะกล่าวในบทต่อไป

    กราบพระอาจารย์มั่น

    Maneerat-pic-05.jpg
    หลวงปู่ทองรัตน์จะได้นำหลวงปู่กินรีไปกราบขอเป็นศิษย์กับท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโตในปีไหนก็ไม่ปรากฏในประวัติจากแหล่งต่าง ๆ อีกเช่นกัน บอกแต่เพียงว่า "ไปกราบหลวงปู่มั่นที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร" แต่คาดเดาเอาว่าเป็นปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เนื่องจาก

    ในปีก่อนหน้านั้นคือปี ๒๔๖๘ คณะท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโร จำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่า บ้านดงยาง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ส่วนท่านพระอาจารย์มั่น และคณะส่วนหนึ่งได้ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ใกล้กับวัดโพธิ์ชัย

    หลังจากออกพรรษาปี ๒๔๖๘ แล้ว พระอาจารย์มั่นฯ พระอาจารย์เสาร์ฯ ก็ได้เรียกบรรดาพระอาจารย์ที่เป็นศิษย์ทุกองค์ ให้มาประชุมพร้อมกันที่บ้านโนนแดง ในการประชุมในครั้งนี้ ท่านได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติเกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน

    เมื่อเสร็จจากการประชุมในครั้งนี้ ทุกองค์ต่างก็แยกย้ายกันออกไปธุดงค์หาวิเวกตามสถานที่จังหวัดต่างๆ โดยมิให้มีการนัดแนะว่าจะไปพบกัน ณ สถานที่ใด แต่ด้วยเหตุอะไรไม่ทราบทุก ๆ องค์ก็เผอิญไปพบกันเข้าอีก ที่จังหวัดสกลนคร และได้พักแรมที่ดงบาก นอกเมืองสกลนคร (ซึ่งต่อมา ในปี ๒๔๗๓ สถานที่นี้ได้เป็นสถานที่ตั้งของวัดป่าสุทธาวาส) เพื่ออยู่ร่วมงานศพมารดาคุณนายนุ่ม ชุวานนท์ โยมอุปัฏฐากคนสำคัญของพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น

    จากข้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่า ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นเพียงปีเดียวที่พระอาจารย์มั่นได้ธุดงค์มาพักที่ (สถานที่ซึ่งต่อมาเป็น) วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ก่อนที่ท่านจะมาอีกครั้งหนึ่งในปีสุดท้ายแห่งชนมายุของท่าน จึงพอจะอนุมานได้ว่า พระอาจารย์ทองรัตน์ได้พาพระอาจารย์กินรี อายุ ๒๙ ปี พรรษา ๔ มากราบพระอาจารย์มั่นในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ นั่นเอง และก็สอดคล้องกับประวัติของท่านในส่วนอื่น ๆ ที่ระบุว่าท่านได้อยู่กับพระอาจารย์มั่น ๒ ปี ซึ่งก็หมายถึง ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ – ๒๔๗๐ ก่อนที่พระอาจารย์มั่นจะแยกจากหมู่ศิษย์ทั้งหลาย ธุดงค์เพียงองค์เดียวไปแถบจังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลา ๑๒ ปี คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ – ๒๔๘๒

    ธรรมะจากพระอาจารย์มั่น

    คำสั่งสอนธรรมที่ท่านพระอาจารย์มั่นได้ให้แก่ท่านพระอาจารย์กินรีนั้น รวมความได้ว่า

    ข้อวัตรปฏิบัติพระธรรมกรรมฐานนั้น มีรากฐานอยู่ที่ การกระทำศีลให้สมบูรณ์บริบูรณ์ พร้อมๆไปกับ การเจริญสมาธิภาวนา เพื่อจะทำ จิต ให้สงบระงับจากอารมณ์ทั้งปวง เพราะความที่จิตปลอดจากอกุศลว่างเว้นจากอารมณ์ อันเกิดมาจากการสัมผัสทาง อายตนะ คือตาที่กระทบกับรูป หูที่กระทบกับเสียง จมูกกระทบกับกลิ่น ลิ้นกระทบกับรส กายที่กระทบกับสิ่งสัมผัสทางกาย และใจที่กระทบกับอารมณ์ในภายใน ที่ทำให้เกิดเวทนา ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้ดีรู้ชั่ว รู้สวยรู้ไม่สวย รู้น่ารัก รู้ไม่น่ารักทั้งหลายแล้ว จิตใจก็ย่อมจะตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์นั้นก็ได้แก่พระกรรมฐาน หมายถึงการเอาพระกรรมฐานเข้ามาตั้งไว้ในใจ

    ความตั้งมั่นของจิตในลักษณะการเช่นนี้ ย่อมจะทำจิตให้สงบอย่างเดียว เป็นความสงบที่สะอาดและบริสุทธิ์ผ่องใส

    หลังจากนั้นแล้วจึงหันมาพิจารณา ธาตุ ทั้ง ๔ อันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ และพิจารณา ขันธ์ ทั้ง ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้รู้ว่าธาตุขันธ์และรูปนามทั้งหลาย แท้จริงคือบ่อเกิดของความทุกข์โศกร่ำไรรำพันนานาประการเหล่านี้นั่นเอง

    เหตุที่สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นบ่อเกิดของความทุกข์ก็เพราะ อวิชชา ความไม่รู้แจ้งในความเป็นของไม่เที่ยง ในความเป็นของเสื่อมโทรม ของธาตุขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นเหตุและเพราะความไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงว่า มันมิใช่สัตว์ บุคคลตัวตนเราเขา ไม่รู้จักความไม่เที่ยง ไม่รู้จักความเป็นทุกข์ และไม่รู้จักความเป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนตามเป็นจริงแล้ว อาสวกิเลส คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ย่อมครอบงำจิตของคนๆนั้นให้มืดมัว เร่าร้อนและเป็นทุกข์ได้ในที่สุด

    ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรมจึงมีรากฐานสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติ ศีล เป็นเบื้องต้น และทำ สมาธิในท่ามกลาง เพื่อจะให้เกิด ปัญญา ความรู้แจ้งแทงตลอดในธาตุขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นได้ในที่สุด

    และเพื่อจะให้รู้จักพิจารณาว่า ร่างกายของเราที่ปั้นปรุงขึ้นมาจากธาตุทั้ง ๔ นี้ประกอบอยู่ด้วย นามธาตุ อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๔ อย่าง ได้แก่ เวทนา คือความรู้สุข รู้ทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์ สัญญา คือความจำได้หมายรู้ในอายตนะทั้งหลายที่มากระทบแล้ว รู้สึกแล้ว สังขาร คือความไหลเวียนปรุงเปลี่ยนไม่หยุดอยู่ของนามธาตุนั้น และ วิญญาณ คือความรู้สึกได้ รวมเป็น ๔ อย่างด้วยกัน เรียกว่าขันธ์ เมื่อรวมเข้ากับธาตุทั้ง ๔ คือ รูปขันธ์ ด้วยแล้วจึงเป็นขันธ์ ๔

    รวมย่อแล้วก็ว่า กายกับใจ นี้เป็นสิ่งที่ไม่ยืนยงคงที่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือร่างกาย เนื้อหนังของเรานี้ เป็นของไม่สวยไม่งาม สกปรกโสโครกนับวันแต่จะเน่าเปื่อยผุพังดับสลายไปเท่านั้น จะหาความเป็นแก่นสารไม่ได้โดยประการทั้งปวง

    การภาวนาที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้

    นักภาวนาเมื่อรู้เห็นซึ่งสภาพตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมจะเกิดธรรมสังเวช มีความสะดุ้งกลัวต่อภัยและความเป็นโทษทุกข์ของ สังขาร เมื่อเล็งเห็นโทษและความไม่เป็นแก่นสารของสังขารทั้งปวงแล้ว จิตของนักปฏิบัติก็ย่อมจะเบื่อหน่าย อยากจะหลีกหนีไปให้พ้นจากสังขารและโทษทุกข์ของสังขาร ไม่อยากประสบพบเห็นกับความทุกข์ทรมานอีกแล้ว เมื่อนั้นจิตก็ย่อมจะคลายจากความกำหนัดยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ ย่อมคลายความกำหนัดรักใคร่ชอบใจ ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่ชอบใจ เมื่อจิตมีความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดเช่นนี้แล้ว ทุกข์ทั้งปวงก็ย่อมดับลงได้โดยแท้

    ข้อที่ว่าทุกข์ทั้งปวงดับลงนี้ เป็นเพราะรู้เท่าทันอวิชชาคือความไม่รู้ตามเป็นจริงในธรรมดับไปนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้ความรู้ความเห็นในธรรม ที่เรียกว่าปัญญานั้นเจริญถึงที่สุด ผลที่ได้รับก็คือปัญญาอันสงบระงับและแจ่มแจ้ง

    ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านได้อบรมสั่งสอนข้อธรรมกับท่านพระอาจารย์เป็นประจำ และเมื่อพบกันท่านจะเอ่ยถามว่า

    “กินรีได้ที่อยู่แล้วหรือยัง ? ”

    คำถามนี้ องค์ท่านไม่ได้หมายถึงที่อยู่ปัจจุบัน แต่ถามถึงส่วนลึกของใจ (ว่า) มีสติตั้งมั่นหรือยัง ถ้ายัง ท่านก็กล่าวต่อไป

    จะเน้นให้เห็นถึงสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นบ่อเกิดของความทุกข์ เพราะเกิดจากอวิชชา คือความไม่รู้แจ้งในความเป็นของไม่เที่ยง ในความเป็นของเสื่อมโทรม

    เวทนา คือความรู้สุขรู้ทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์

    สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ในอายตนะทั้งหลายที่มากระทบแล้ว รู้สึกแล้ว

    สังขาร คือ ความไกลเวียนปรุงเปลี่ยนไม่หยุดอยู่ของนามธาตุนั้น

    วิญญาณ คือ ความรู้สึกได้

    รวมเป็น ๔ อย่างด้วยกัน เรียกว่านามขันธ์

    เมื่อรวมเข้ากับธาตุ ๔ คือรูปขันธ์ด้วยแล้วจึงเป็นขันธ์รวมย่อแล้วเรียกว่า กายกับใจนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ยืนยงคงที่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือร่างกายเนื้อหนังของเรานี้ เป็นของไม่สวยไม่งาม สกปรกโสโครก โดยประการทั้งปวง การภาวนาที่ถูกต้อง จะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ นักภาวนาเมื่อรู้เห็นสภาพการเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมจะมีความสะดุ้งกลัวต่อภัย และความเป็นโทษทุกข์ของสังขาร ไม่อยากประสบพบเห็นกับความทุกข์ทรมานเหล่านี้อีกแล้ว เมื่อนั้นจิตก็ย่อมจะคลายจากความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ ย่อมคลายความกำหนัด รักใคร่ชอบใจในสิ่งอันเป็นที่ตั้ง อันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่ชอบใจ เมื่อจิตมีความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดเช่นนี้แล้ว ทุกข์ทั้งปวงก็ย่อมดับลงได้โดยแท้ ข้อที่ว่าทุกข์ทั้งปวงดับลงนี้เป็นเพราะอวิชชา คือความไม่รู้ความเป็นจริงในธรรมดับไปนั่นเอง จึงเป็นสาเหตุให้รู้ความเห็นในธรรมที่เรียกว่าปัญญานั้นเจริญถึงที่สุด ผลที่ได้รับก็คือ “ปัญญาอันสงบ ระงับและแจ่มแจ้ง”

    หลวงปู่มั่นท่านกล่าวอบรมหลวงปู่กินรี

    วันหนึ่ง ระหว่างที่พระอาจารย์กินรีอยู่ศึกษา และปฏิบัติพระกรรมฐานกับท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ท่านพระอาจารย์เล่าให้พระสานุศิษย์ของท่านรูปหนึ่งฟังว่า

    lp-kinnaree-004.jpg
    ขณะที่ท่านนั่งสมาธิ ทำ บริกรรมภาวนาอยู่รู้สึกว่าจิตค่อยสงบเข้าไปทีละน้อยๆ แล้วก็ปรากฏว่าร่างกาย เนื้อหนังของท่านนั้นเปื่อยหลุดออกจากกัน จนเหลือแต่ซากกระดูก อันเป็นโครงร่างที่แท้จริงในภายในกายนี้ สิ่งที่ปรากฏในอาการอย่างนั้นมันชวนให้น่าเบื่อหน่ายยิ่งนัก

    ประสบการณ์ในธรรมโดยลักษณะนี้ เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเวลาต่อมา แต่ไม่ทราบชัดว่าในขณะนั้นท่านพระอาจารย์พำนักอยู่ที่ใด ครั้งนี้ ท่านพระอาจารย์เล่าให้พระผู้เฒ่ารูปหนึ่งฟังว่า

    ในขณะที่ภาวนาอยู่ ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่ตัวของท่าน เปลวเพลิงได้ลุกลามพัดไหม้ไปทั่วร่าง ในที่สุดก็เหลืออยู่แต่ซากกระดูกที่ถูกเผาไหม้ จนกลายเป็นถ่านแล้ว ท่านพระอาจารย์ยังได้เคาะเอาถ่าน จากซากกระดูกที่ถูกเผาของท่านนั้น และคิดอยู่ในที่นั่นว่า

    “ร่างกายคนเราจะสวยงามแค่ไหน ในที่สุดมันก็ต้องถูกเผาอย่างนี้เอง”

    ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นเพียง ๒ ปีเท่านั้น ส่วนมากท่านจะอยู่ผู้เดียว เป็นตัวของตัวเองมากกว่า ผู้ที่มีพระคุณ และเป็นที่เคารพนับถือของท่านเป็นพิเศษ ก็เห็นจะได้แก่ท่าน ครูบาจารย์ทองรัตน์ เพราะท่านเป็นผู้ที่ให้วิชาความรู้ ในทางการปฏิบัติแก่ท่านพระอาจารย์เป็นองค์แรกและมักจะไปมาหาสู่กันเสมอ อีกทั้งท่านเป็นพระมหานิกายด้วยกัน มิได้ญัตติ

    เตรียมการธุดงค์ไปพม่าและอินเดีย

    เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นได้ปลีกวิเวก ออกธุดงค์เพียงองค์เดียวไปแถบจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ แล้ว หลวงปู่กินรีก็ได้กลับมาอยู่ที่วัดบ้านหนองฮีดังเดิม พอออกพรรษาในแต่ละปี ท่านก็ได้ออกธุดงค์อยู่เป็นประจำ จนใกล้ฤดูเข้าพรรษาท่านจึงกลับ ท่านอยู่วัดบ้านหนองฮีตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ จนมาถึงประมาณปี ๒๔๗๓ ในช่วงนั้นท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองฮี หรือต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดดำรงเมธยาราม

    ในปีนั้นเอง ครูบาจารย์โสม ซึ่งเป็นสหธรรมิกของหลวงปู่กินรีและเป็นหนึ่งในศิษย์หลวงปู่มั่น ได้เดินธุดงค์มาแถบนั้น แต่ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงออกพรรษา ซึ่งปกติหลวงปู่กินรีก็ได้ออกไปธุดงค์เช่นกัน ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันไปนิมนต์ท่านให้มาพำนักปักกลด ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของวัดป่าเมธาวิเวกในปัจจุบันนี้ ซึ่งในสมัยนั้นเป็นที่ดินคั่นกลางระหว่างที่นา ๒ แปลง มีทิศตะวันตกติดกับลำห้วยแคน บริเวณดังกล่าวเป็นที่ซึ่งชาวบ้านต่างมีความพยายามที่จะเข้าทำประโยชน์จากป่าแห่งนี้ ต่างคนต่างพยายามครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ต้องมีอันเป็นไปทุกราย บางครั้งแม้แต่มาหาหน่อไม้ หาฟืน พอตกเย็นต้องเจ็บป่วย หลายคนที่ต้องจบชีวิตลงเนื่องจากการล่วงละเมิดความอาถรรพ์ ลำพังชาวบ้านแล้ว ไม่มีใครก้าวย่างเข้าไปในเขตนั้นมานานแล้ว ครูบาจารย์โสมท่านก็รับและมาพำนักให้ระยะหนึ่ง จนกระทั่งต่อมาได้มีการทำเป็นสำนักสงฆ์ชื่อว่า สำนักสงฆ์เมธาวิเวก และเป็น วัดป่าเมธาวิเวก ในระยะต่อมา จากนั้นครูบาจารย์โสมก็ออกธุดงค์ต่อไป พระอาจารย์วิเศษก็ได้มาอยู่ที่วัดป่าเมธาวิเวกต่อจากครูบาจารย์โสม สมัยนั้นถือได้ว่า วัดบ้านหนองฮี หรือวัดดำรงเมธยาราม เป็นวัดบ้าน คือวัดในชุมชนหมู่บ้าน ส่วนวัดป่าเมธาวิเวกเป็นวัดป่า นอกเขตชุมชน

    lp-kinnaree-009.jpg
    ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๕ หลวงปู่กินรีตั้งใจจะออกธุดงค์ พม่าและอินเดียเพื่อไปนมัสการพระมหาเจดีย์ชเวดากอง ที่ประเทศพม่าและนมัสการสังเวชนียสถาน ๔ แห่งที่ประเทศอินเดีย ท่านจึงได้จัดแจงเตรียมการในเรื่องของโยมมารดาเพื่อให้ไม่มีกังวลในระหว่างธุดงค์ทางไกล เพราะโยมมารดาก็มีอายุมากขึ้นทุกวัน ท่านจึงเป็นธุระในการนำโยมมารดามาบวชเป็นชีและให้อาศัยอยู่ในวัด พร้อมกันนั้นหลวงปู่ก็ได้เกลี้ยกล่อมเด็กหญิงเลี่ยน มาภา ผู้เป็นลูกของพี่สาว ซึ่งขณะนั้นอายุ ๑๔ ปี* เข้ามาบวชชี เพื่ออยู่ปรนนิบัติรักษาคุณยายผู้เป็นโยมมารดาของท่านด้วย โดยที่หลวงปู่ได้ให้เหตุผลว่า

    “ตามธรรมเนียมโบราณ ผู้เป็นหลานควรจะได้ทดแทนบุญคุณญาติผู้ใหญ่ เฝ้าปรนนิบัติอุปัฏฐากคุณตาคุณยายในวัยชรา ญาติพี่น้องนั้นไม่มีใครอีกแล้วที่จะมาทำเช่นนี้ได้ ต่างคนเขาก็ต่างแยกย้ายกันไปมีครอบครัวเหย้าเรือน หาความสนุกสุขสำราญส่วนตัวเขา เราสิเป็นเด็กเป็นเล็กควรจะภูมิใจและเต็มใจทำ”

    หลานสาวเชื่อฟังคำท่านจึงยอมบวชเป็นชี และอยู่ปรนนิบัติแม่ชีสุวันดีผู้เป็นยายจนกระทั่งแม่ชีสุวันดีเสียชีวิต และแม่ชีเลี่ยนก็ยังคงเป็นแม่ชีอยู่จนกระทั่งถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๑) แม่ชีเลี่ยน มาภา มีอายุได้ ๙๐ ปี ๗๖ พรรษา

    bar-4-head-left-short.jpg

    *
    mae-she-lian-03.jpg
    หมายเหตุ อายุตอนบวชของแม่ชีเลี่ยน คำนวณย้อนกลับ จากปีพ.ศ. ๒๕๕๑ ที่คุณ คนที่เก้า และ คุณ nonsoul ได้ไปสัมภาษณ์และนำมาโพสท์ไว้ในกระทู้ที่เวบบอร์ดลานธรรมเสวนา เมื่อวันที่ ๒๐ ก.พ. ๒๕๕๑ ระบุว่า ในปี ๒๕๕๑ แม่ชีเลี่ยน อายุ ๙๐ ปี พรรษา ๗๖ ซึ่งก็หมายความว่า แม่ชีเลี่ยน เกิดปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ที่ว่า พรรษา ๗๖ หมายความว่า แม่ชีเลี่ยนบวชชีปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ขณะที่อายุ ๑๔ ปี การบวชนั้นหลวงปู่เป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้บวช หมายความว่า ปี ๒๔๗๕ นั้นหลวงปู่ยังไม่ได้ออกธุดงค์ไปพม่า

    ในระยะต่อมา ก็มีญาติพี่น้องของท่านที่เป็นหญิงเข้ามาบวชเป็นแม่ชีอยู่ในวัดเพื่อปฏิบัติธรรมอีกหลายท่าน เช่น แม่ชีคำ ผู้เป็นน้องสาวแม่ชีสุวันดี หรือเป็น โยมน้าของท่านนั่นเอง และญาติผู้หญิงของท่านออกบวชติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

    การเตรียมการอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ท่านได้ชวนนายยศ มาภา หลานชายซึ่งเป็นลูกพี่สาวของท่าน ที่เคยอยู่วัดเรียนหนังสือด้วย และต่อมาบวชเป็นสามเณรแล้วสึกไป คราวที่หลวงปู่ไม่อยู่วัดและได้ออกไปอยู่ปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่น เป็นเวลา ๒ ปีนั้น ให้มาบวชอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้หลวงปู่ได้อ้างเหตุผลว่า

    “ลุงตายเสียแล้วลูกก็ไม่มี ใครเล่าจะบวชอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน เธอนี่แหละเหมาะสมแล้ว จงบวชเสียเถิด”

    ดังนั้น นายยศจึงได้เข้ามาบวชตอนอายุ ๒๒ ปี โดยบวชเป็นพระภิกษุใหม่

    Map-6.jpg
    ลำดับเส้นทางธุดงค์ของหลวงปู่กินรี จากบ้านหนองฮี อ.ปลาปาก จ.นครพนม ไปยังกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า

    ธุดงค์ไปพม่าและอินเดีย

    เมื่อเตรียมการทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ท่านก็เริ่มการเดินธุดงค์ครั้งยิ่งใหญ่ของท่านก็คือ การเดินธุดงค์สู่ดินแดนพุทธภูมิ พร้อมศิษย์คือพระภิกษุยศและพระภิกษุหลอด จากบ้านเกิดบ้านหนองฮี มุ่งหน้าสู่ท่าอุเทน และเลียบริมฝั่งโขงไปทางเหนือตามสายน้ำสู่ต้นน้ำ ผ่านอำเภอศรีสงคราม บ้านแพง บึงกาฬ แล้วข้ามโขงไปกราบนมัสการพระพุทธบาทโพนสันของลาว หลวงปู่เดินทวนกระแสน้ำผ่านโพนพิสัย ท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ สังคม ปากชม จนกระทั่งถึงอำเภอเชียงคาน

    การธุดงค์ด้วยระยะทางนี้ยาวไกล ต้องทั้งอดทั้งทนบางคราวต้องอดอาหารถึง ๗ วัน ก็ยังเคยมี จนเป็นสิ่งปกติ แม้จะทุกข์ยากลำบากทุกข์เวทนาเพียงใด หลวงปู่ยิ่งยึดมั่นในข้อวัตรปฏิบัติเคร่งครัดหนักยิ่งขึ้น ท่านอบรมสอนศิษย์ให้ฝึกทำจิตให้ตั้งมั่นแม้ในระหว่างการเดินทาง โดยสอนว่า

    การปฏิบัตินั้นมิใช่จะอยู่ที่การนั่งสมาธิเพียงอย่างเดียว แต่การปฏิบัติภาวนาที่ถูกต้องนั้นจะต้องเป็นไปในทุกๆ อิริยาบถ จะนั่ง จะยืน จะเดิน จะนอน เราจะทำสิ่งใดในขณะใดๆ ก็ให้มีสติอยู่ทุกขณะ ลมหายใจเข้าออกที่เราจะกำหนดได้นั้นก็อาจจะทำได้ แม้ในขณะเดิน กล่าวคือ ถ้าเรามีสติรู้ว่าความคิดนึกอย่างใดที่เป็นบาป อย่างใดที่ไม่เป็นบาป อย่างใดที่ทำจิตให้เศร้าหมอง อย่างใดที่ทำจิตไม่ให้เศร้าหมอง ถ้าเรามีสติรู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้อยู่ตลอดเวลาแล้ว พยายามขจัดความคิดที่เป็นบาป ที่เศร้าหมองออกไปเสียอย่าให้เกิดมีขึ้นมาในจิตได้ นั่นแหละที่เรียกว่าความพากเพียรที่ถูกต้อง เป็นการภาวนาที่ถูกต้อง ลมหายใจมันก็จะรู้อยู่ในนั้นเสร็จ ถือว่าเราปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรคแล้ว การกระทำเช่นนั้นเราอาจจะทำได้ในทุกๆ ขณะย่างก้าว จะนั่งอยู่กับที่เงียบๆ และกำหนดลมหายใจเข้าออกให้จิตสงบนั้น ก็เป็นไปเพื่อจะละอกุศลและเจริญกุศลอย่างนี้ จะนอนก็ต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ จะเดินก็เหมือนกันให้มีสติอยู่ตลอดเวลา เมื่อทำได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้ว นั่นก็หมายความว่าเราได้ทำสัมมาวายามะให้เกิดขึ้นแล้ว ผลคือปัญญาความรู้แจ้งสว่างไสวก็จะเกิดขึ้นมาเอง นี่คือการปฏิบัติภาวนาของเรา ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้พยายามพากเพียรกระทำให้ถูกต้องอยู่เสมอ

    หลวงปู่นำคณะศิษย์ผ่านป่าดินแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา บุกป่าปีนเขาลูกแล้วลูกเล่าผจญสัตว์ป่า ไข้ป่าที่ชุกชุมและคุกคาม จากเชียงคานสู่เขตอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย แล้วเข้าสู่เมืองปากลาย เมืองบ่อแตน แขวงไชยบุรีของลาว ได้พบพระอลัชชี ป่าตองเหลืองที่นุ่งห่มใบไม้ และคนป่าถักแถ่ แล้วจึงวกเข้าสู่บ้านห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ หลวงปู่เคยจำพรรษาอยู่กับเผ่าแม้ว ตลอดพรรษาได้ฉันแต่ข้าวโพดเพราะไม่มีข้าว

    chavedagong.jpg
    ออกจากบ้านน้ำปาดมุ่งสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วต่อไปสวรรคโลก จึงขึ้นรถยนต์ไปลงที่บ้านระแหง อำเภอเมืองตาก ต่อจากนั้นหลวงปู่ก็เดินธุดงค์เข้าสู่แม่สอด ข้ามเข้าสู่ประเทศพม่าโดยไม่ได้ใช้หนังสือเดินทางใดๆ พระยศกับพระหลอดหมดความอดทนที่จะเดินทางต่อไปด้วยห่างไกลบ้านมานาน หลวงปู่จึงส่งกลับเขตแดนไทย ที่บ้านห้วยมุ่น น้ำปาด ส่วนหลวงปู่ได้เดินทางต่อสู่กรุงย่างกุ้ง และท่านได้นมัสการพระมหาเจดีย์ชเวดากอง หรือพระเจดีย์ทอง อันเป็นที่บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอันเลื่องชื่อ สมปรารถนา และได้พำนักอยู่วัดแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง

    ในประเทศพม่านั้น มีธรรมเนียมการทำบุญตักบาตรแต่ดึกประมาณตีหนึ่ง แล้วไปบิณฑบาตเอาอีกเมื่อจวนเพล ท่านพระอาจารย์จึงกระทำด้วยไม่ได้ เพราะท่านเป็นผู้เคร่งครัดวินัย อุบาสกพม่านายหนึ่งมาพบท่านเข้า จึงเกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐานจากแดนไกล จึงขอปวารณา และนิมนต์ให้ไปอยู่ “วัดกุลาจ่อง” ท่านพระอาจารย์จึงเทศนาผ่านล่ามคนลาวในพม่าให้อุบาสกผู้นั้นฟัง เมื่อได้ฟังธรรมของท่านพระอาจารย์ ก็เกิดปิติปราโมทย์ปลาบปลื้มใจ

    วันหนึ่งต่อมา มีพระภิกษุชาวไทยรูปหนึ่งผู้อยู่ในประเทศพม่า ไม่ปรากฏชื่อและถิ่นที่อยู่อันแท้จริง ได้มาพบท่านเข้าที่วัดนั้น พระรูปนั้นเล่าว่าได้ไปนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง ๔ มาแล้วจึงพอจะรู้จักทาง และได้อาสาเป็นผู้นำทางให้ และได้ธุดงค์จาริกสู่แดนพุทธภูมิจนได้นมัสการสังเวชนียสถานครบทั้ง ๔ แห่ง แล้วท่านพระอาจารย์นำคณะเดินทางกลับสู่พม่า และจำพรรษาอยู่ในพม่ารวมเวลาถึง ๑๒ ปี จนสามารถพูดภาษาพม่าได้

    เกร็ดประวัติบางเรื่องระหว่างเดินธุดงค์ไปพม่าและอินเดีย

    เกร็ดประวัติบางเรื่องของท่านในตอนเดินธุดงค์ไปพม่าและอินเดียนั้น ขอนำเอาบางส่วนของบทความ ที่ คุณอำพล เจน ได้เขียนไว้ในชื่อ “จันทร์กระจ่างฟ้า – จันทิโย” ลงใน เวบสวนขลังดอทคอม ดังนี้

    “...๓. ประวัติชีวิตของหลวงปู่กินรี แทบจะมีแต่ท่านผู้เดียวที่เป็นเจ้าของรู้เรื่องอยู่ตามลำพัง ที่ปรากฏเรื่องราวในที่ต่างๆ ก็ล้วนแต่เกิดด้วยปากของศิษย์ผู้ใกล้ชิด หรือผู้รู้จักท่านเล่าสู่กันฟัง เช่นเรื่องธุดงค์ไปเมืองลาวก็เกือบจะไม่เป็นประวัติชีวิตอย่างที่คนนิยม หากแต่เป็นเสี้ยวหนึ่งของประสบการณ์ในการแสวงหาโมกขธรรม

    พระยศ (ปัจจุบันสึกแล้ว) กับพระหลอด คือผู้ติดตามหลวงกินรีในการธุดงค์สู่เมืองลาว

    เรื่องธุดงค์ต่อไปนี้เกิดด้วยบันทึกของหลวงปู่กินรีเองและคำบอกเล่าเท่าที่นึกออกของพระลูกศิษย์ทั้งสอง

    บันทึกของหลวงปู่ ได้อธิบายว่าได้เดินทางผ่านบ้านต้อง, นาทราย, บ้านใหม่, บ้านโนนสมบูรณ์ จนลุเข้าอำเภอบึกกาฬ หลายหมู่บ้านไม่รู้จักพระ แต่ก็ยังพอได้ข้าวเปล่าๆ ในการบิณฑบาตบ้าง

    wat-prabat-poneson.jpg
    ท่านว่าภาวะเช่นนี้บางทีจะทำให้พระที่ยังใหม่ต่อการฟันฝ่าอุปสรรคในคราวยากเข็ญแทบทนไม่ไหว

    สำหรับพระที่เก่าแล้วเช่นตัวท่าน ไม่ได้ฉันข้าว ๗ วันก็เคย เรื่องอดข้าวบ่อยๆ นั้นเกือบจะเป็นธรรมดา ไม่ทำให้รู้สึกท้อถอยแต่อย่างใด

    จากบึงกาฬ ท่านนำลูกศิษย์ข้ามโขงขึ้นฝั่งลาว เริ่มก้าวแรกในแผ่นดินลาวที่ริมฝั่งเพื่อรุดหน้าไปสู่ พระบาทพลสันต์ (บางแห่งเขียนโพนสัน ไม่ทราบว่าที่ถูกคืออย่างไร) นมัสการพระพุทธบาทแล้วย้อนกลับไทย เดินเลาะริมฝั่งเพื่อข้ามสู่ลาวอีกครั้งที่เชียงคานจังหวัดเลย

    เข้าเขตลาวแล้วพบว่ามีแต่ป่าดงดิบและทิวเทือกเขาต่อเนื่องกันตลอด สัตว์ป่าชุกชุม แต่ปลอดภัยดี แม้พระลูกศิษย์จะเป็นไข้ก็พอเดินไปกันไหว จนถึงหมู่บ้านป่าใกล้ชุมชนชาวเขาแห่งหนึ่ง มีพระออกมาต้อนรับรูปหนึ่ง

    “ดีแล้วที่พวกท่านมากันถึงที่นี่ มาแล้วก็อยู่เสียด้วยกัน อยู่ที่นี่ดีนักหนา” พระเจ้าถิ่นปฏิสันถารด้วยไมตรีจิต

    “อยู่ที่นี่ดีนั้นดีอย่างไร” หลวงปู่กินรีถาม

    “พวกชาวเขาที่นี่น้ำใจดีมีศรัทธาแรงกล้า และประเพณีของพวกเขาก็ส่งเสริมให้คนหนุ่มสาวที่จะแต่งงานกัน ต้องนำเจ้าสาวมาให้เชยชมก่อน เขาว่าเป็นบุญอันเลิศและเราก็จะได้เชยชมผู้หญิงก่อนเจ้าบ่าวทุกครั้งไป”

    หลวงปู่กินรีสะดุ้ง

    ท่านกล่าวนั้นพระอลัชชีไม่ละอายต่อบาป ขืนอยู่จะแย่จึงพาลูกศิษย์เดินหนีไปจากที่นั่นทันที

    ต่อจากนั้นได้เดินทางจนพบคนชาวป่าเผ่าหนึ่งเรียกว่า ข่าตองเหลือง นับว่าเป็นคนป่าที่แท้จริง เพราะว่ายังคงนุ่งห่มตนด้วยใบไม้อยู่ ท่านว่าตอนที่พบนั้น หญิงข่าตองเหลืองกำลังคลอดลูกพอดีที่ริมลำธาร

    “กิริยาอาการมันไม่แปลกต่างจากสัตว์เลย” ท่านปลง

    ต่อมาก็ได้พบคนป่าอีกพวกหนึ่งเรียกว่า “ถักแถ่” ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือไม่มีสะบ้าหัวเข่า ถ้าหกล้มแล้วลุกไม่ได้ ต้องอาศัยเกาะโคนไม้หรือโขดหินพยุงตัวขึ้นมายืน

    tongleong.jpg
    คนป่าเผ่านี้ผมเคยได้ยินบ่อย ๆ ว่าทุกวันนี้ก็ยังมีอยู่ในป่าเมืองลาว บางท่านว่าพวกนี้มีขนรุงรังตามตัวคล้ายลิง ไม่มีภาษาพูดหรือจะมีก็หาคนภายนอกเข้าใจได้ยาก นอกจากพวกเขาด้วยกัน เคยได้ยินว่าถูกจับตัวไปแสดงที่เวียงจันทน์ครั้งหนึ่ง ในกรงเหมือนขังสัตว์ป่าและอยู่ไม่นานก็ตายไปน่าสงสารมาก

    หลวงปู่กินรีเล่าว่าได้พบคนป่าพวกนี้ แต่ก็ไม่ได้บอกว่ามีกิจกรรมอะไรร่วมกันหรือไม่ เข้าใจว่าบอกเพื่อให้คนฟังทราบว่าคนป่าพวกนี้มีจริงและท่านก็ได้พบเหมือนกัน

    พระธุดงค์ส่วนหนึ่งจะได้เคยพบพวกถักแถ่ ใช่ว่าจะได้พบทุกองค์ก็หาไม่ พวกนี้อยู่ในป่าลึก ไม่มีคนรุกล้ำเข้าถึง เป็นคนป่าอีกพวกที่นับว่าแปลกประหลาดมาก วันหนึ่งถ้าถูกเปิดเผยตัวควรจะเกิดเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกก็ได้

    lp-phromma-khemmajaro.jpg
    หลวงปู่พรหมา เขมจาโร ก็เคยกล่าวถึงคนป่าพวกนี้เหมือนกัน โดยเล่าถึงลักษณะที่เวลาหกล้มแล้วลุกไม่ได้ ต้องใช้วิธีกลิ้งตัวหนีภัย ท่านยังได้บอกอีกว่าสิ่งแปลกประหลาดในเมืองลาวยังมีอีกมาก แต่เล่าแล้วเหมือนป่าหิมพานต์ที่ไม่ควรมีจริง

    การธุดงค์ของหลวงปู่กินรีในป่าเมืองลาวนั้น ไม่แสดงรายละเอียดถี่ถ้วนเหมือนครูบาอาจารย์อื่น ซึ่งก็เป็นลักษณะนิสัยไม่ช่างพูดของท่านนั่นเอง และธุดงค์เมืองลาวก็มาสิ้นสุดเมื่อท่านข้ามกลับเข้าฝั่งไทยที่บ้านห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

    จำพรรษาที่นั่นกับหมู่บ้านชาวแม้วจนได้เห็นประเพณีแปลก ซึ่งใช้สำหรับปลงอสุภกรรมฐาน ได้เรียกว่าพิธีเฝ้าศพ คือเมื่อมีคนตาย เขาจะเอาศพไว้ในบ้าน ๗ วัน ผลัดเปลี่ยนเวรยามเข้าเฝ้าศพเพื่อจะช่วยไล่แมลงวันตอมศพ และศพก็ย่อมขึ้นอืดไปตามเวลาที่ล่วงไป

    มีน้ำเหลืองน้ำหนองเยิ้มออกมา เด็กๆ ที่เป็นลูกหลานผู้ตายก็ช่วยกันเอามือเช็ดลูบน้ำเหลืองน้ำหนองออกจากศพแล้วเอามาทาตัวโดยไม่รังเกียจเลย พวกที่มาเฝ้าศพก็พากันร้องไห้คร่ำครวญและที่เล่นดนตรีเป็น จับเครื่องดนตรีเล่นไป

    “ได้ยินทั้งเสียงดนตรี ทั้งเสียงร้องไห้สลับกันไปพิลึกดี ชวนให้สลดหดหู่ไปกับเขาเหมือนกัน”

    หลวงปู่กินรีเล่า

    เฝ้าศพครบ ๗ วันแล้วก็หามไปฝัง

    ออกพรรษาที่บ้านห้วยมุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์แล้ว หลวงปู่กินรีวางเข็มทิศธุดงค์ไว้ที่ประเทศพม่า ได้เดินทางเข้าถึงหมู่บ้านชาวลาวแห่งหนึ่ง ไม่มีชื่อปรากฏในแผนที่ เป็นพวกลาวประจำหมู่บ้านชวนท่านอยู่ด้วย แต่ท่านปฏิเสธและออกเดินทางมุ่งไปจนถึงเมืองย่างกุ้ง

    ลูกศิษย์สองรูปที่ติดตามตลอด เกิดความท้อถอย ถึงกับกล่าวว่า จะเดินกันไปถึงไหนไปหาอะไร ถ้าจะหาธรรมะก็ไม่น่าจะอยู่ไกลเพียงนี้ ธรรมะหาได้ที่ใจตนเองไม่เห็นจะต้องมาลำบากกับการเดินทางไกลถึงปานนี้

    ท่านจึงปล่อยให้ลูกศิษย์กลับตามความสมัครใจ ส่วนตัวท่านออกเดินหน้าต่อไปตามลำพัง

    หลวงปู่กินรีเล่าถึงวัดกุลาจ่อง อยู่ใจกลางเมืองย่างกุ้ง ซึ่งท่านได้พำนักอยู่ที่นั่นว่าได้เห็นเณรมาทำลับล่อ จรดมวยตั้งท่าจะชกแล้วหลบหายไป แสดงว่าพระเณรที่นี่ขาดการอบรมเรื่องพระวินัย จึงไม่อยากอยู่และได้ออกเดินทางต่อไปสู่ประเทศอินเดีย

    makuttapun-jedee.jpg
    สมัยที่ท่านไปอินเดียนั้นสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง ยังไม่ได้รับการทำนุบำรุง เฉพาะสถานที่ประสูติ มีพงหญ้ารกมาก รวมทั้งอีก ๓ แห่งก็พอๆ กัน

    ที่ท่านประทับใจมากที่สุดคือ มกุฏพันธนเจดีย์ อยู่ห่างจากที่พระพุทธองค์ทรงปรินิพพานไม่ไกล เชื่อว่าเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ รอบๆ สถานที่แห่งนั้นมีสถูปเล็กๆ รายรอบ เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานอัฐิธาตุของพระอานนท์และพระพุทธสาวกทั้งหลาย

    “ดอกสาละออกช่อเต็มที่แล้วโรย สังขารมนุษย์ทั้งปวงไม่เว้นแม้พระพุทธองค์และเหล่าสาวกก็ดับสลายไปสิ้นด้วยกัน”

    บำเพ็ญประทักษิณวนขวาแสดงสักการะ และรำลึกถึงคุณพระพุทธองค์และเหล่าพระสาวกแล้วเดินทางกลับสู่พม่า และพำนักในพม่าติดต่อกันนาน ๑๒ ปี แต่รายละเอียดการอยู่ในพม่าไม่มีปรากฏ ดูเหมือนจะเงียบหายไปเหมือนคำพูดที่มีน้อยของท่าน

    ๔. ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวที่ขาดความต่อเนื่อง ไม่ทราบว่าเรื่องใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง แต่เป็นเหตุการณ์เฉพาะอย่างไป อาจเรียกว่าเกร็ดประวัติก็ได้

    ยาได้มาแปลกๆ

    ครั้งหนึ่งท่านพำนักอยู่ใกล้หมู่บ้านชาวเขาเผ่ามูเซอ ในเขตจังหวัดตาก เกิดอาพาธ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ อาการทรุดหนักจนออกบิณฑบาต หรือทำกิจใดๆ ไม่ไหว พวกชาวเขาที่เคารพเลื่อมใสท่านมาช่วยกันพยาบาล ก็ไม่ดีขึ้น อาพาธอยู่นานเดือนไม่รู้วันหาย ไม่รู้ว่าจะหายหรือเปล่า

    ถึงกับรำพึงว่า

    ความเจ็บไข้ทางกายนี้หนักเข้าก็เป็นอุปสรรคแก่การภาวนา เป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์ทั้งหลาย บางครั้งเกิดสงสัยลังเลใจไปทุกอย่าง ทั้งสงสัยอาบัติที่จะมีแก่ตัว ที่ทรงก็แต่ศีลเท่านั้น แต่ในที่สุดอารมณ์ทั้งหลายก็สงบลง เพราะได้เพ่งอยู่แต่กับอารมณ์จึงเกิดความรู้ว่าธรรมะนี้ไม่เกินกว่าวิสัยตนจะทำได้

    คืนหนึ่งฝันว่า มีพระรุ่นโบราณมานั่งเฝ้า ๖ รูป ท่านเห็นจึงบอกว่า อย่ามาเฝ้าท่านอยู่เลย อีกหน่อยก็จะต้องตายแล้ว ร่างกายก็จะเน่าเฟะหาประโยชน์ไม่ได้ จงพากันกลับไปเสียเถิด แต่เหล่าพระโบราณกลับบอกว่าท่านยังไม่ตายหรอก ให้บอกพวกชาวเขาไปหาของสิ่งนี้ (ชูให้ดู) มากินก็จะหาย

    รุ่งขึ้นหลวงปู่กินรีได้บอกให้ชาวเขาไปเอายาที่เห็นในฝันมาถวาย พอได้ยาอาการอาพาธที่เป็นมานานเดือนก็หายอย่างน่าแปลกประหลาดใจ

    ๕๐ เมื่อไหร่เข้าวัด

    หลวงปู่กินรีเล่าเรื่องธรรมเนียมคนพม่าในสมัยนั้นว่า ผู้ครองเรือน ถ้ามีอายุถึง ๕๐ ปี เมื่อไหร่จะต้องเข้าวัด สามีอยู่วัดหนึ่ง ภรรยาอยู่วัดหนึ่ง ถือพรหมจรรย์ตลอดชีวิต ถ้าใครอายุ ๕๐ แล้ว ยังหมกมุ่นในกามารมณ์เขาเรียกว่า คนบ้าตัณหา

    สตรีลึกลับ

    ครั้งหนึ่งท่านพำนักอยู่ในถ้ำบนเขาเปลี่ยวเดียวดาย มีผู้หญิง ๒ คน เดินขึ้นมาหา ท่านก็ไล่กลับ ว่าเป็นผู้หญิงขึ้นมาหาพระทำไม ถ้ามาต้องมีผู้ชายมาด้วย ผู้หญิงทั้งสองคนบอกว่าจะมาขอรับศีลและฟังธรรม

    “รับแค่ศีลก็พอแล้ว ไม่ต้องฟังธรรม"

    พอให้ศีลเสร็จก็ไล่กลับอีก ผู้หญิงทั้งสองกลับลงไปในทิศทางเดิมที่ขึ้นมา ซึ่งหลวงปู่กินรีบอกว่ามองตามหลังไปเห็นเดินหายเข้าไปในซอกหินแคบๆ ที่ไม่น่าจะมีใครลงไปได้เลย

    ไม่เคยสอน?

    พระลูกศิษย์รูปหนึ่งเล่าว่า

    อยู่กับหลวงปู่มานาน หลวงปู่ไม่เคยอบรมสั่งสอนอะไรนอกจากบอกสั้นๆ ว่า ให้รักษาศีลให้ดี และทำความเพียรมากๆ เท่านั้น

    ไม่คลุกคลี

    หลวงปู่กินรีชอบอยู่คนเดียว แม้อยู่ร่วมกันหลายคนในวัด ท่านก็เสมือนอยู่คนเดียว และให้โอกาสผู้อื่นอยู่คนเดียวเหมือนท่าน

    แม้การสวดมนต์ทำวัตร ท่านยังให้ทำคนเดียว อนุญาตทำร่วมกันแต่เพียงสัปดาห์ละครั้ง

    ท่านมีเหตุผลว่า

    “ท่านอาจารย์เสาร์ และท่านอาจารย์มั่นไม่เคยทำอย่างนี้”

    บุรุษเสื้อแดง

    ครั้งหนึ่งในป่าช้าแห่งหนึ่ง ภายหลังจากการเดินจงกรมก็เข้าที่ลงนั่งสมาธิภาวนา สักครู่ได้ยินเสียงฝีเท้าคนเดินมาหาทางด้านหลัง ท่านเหลือบไปดู เห็นเป็นชายคนหนึ่งใส่เสื้อสีแดง มีผ้าขาวม้าคาดพุง ทำกิริยารีๆ รอๆ แล้วหันหลังเดินกลับไป ต่อมาจึงทราบจากชาวบ้านว่า ชายใส่เสื้อแดง มีผ้าขาวม้าคาดพุง ถูกเขาฆ่าตายอยู่ในละแวกนั้น

    หลวงปู่กินรีมักบอกลูกศิษย์ว่า ให้ฝึกอยู่ป่าช้า เพราะอานิสงส์ของการอยู่ป่าช้านี้ดีนักหนา เป็นเครื่องทำจิตให้กล้า องอาจ และตื่นตัวอยู่เสมอ จิตในป่าช้ามีความง่วงไม่มีนิวรณ์ทำให้ภาวนาดีและไม่ต้องวิตกว่าจะมีอันตราย

    ฤทธิ์เป็นของเล่น

    ท่านกล่าวว่าสิ่งเดียวที่ควรค่าแก่การสรรเสริญคือ การปฏิบัติธรรม สิ่งมหัศจรรย์ทั้งหลายเป็นเพียงของเล่นยามว่างของครูบาอาจารย์เท่านั้น

    แต่กับวัตถุมงคล เครื่องราง ของขลัง ท่านก็อนุโลมให้ทำ และท่านก็ทำด้วยตนเองออกแจก เช่น ตะกรุด ซึ่งว่ากันว่าดีนักหนา เคยมีตำรวจกลุ่มหนึ่งมากราบท่าน และได้รับตะกรุดไปคนละดอก ขากลับออกจากวัด (สมัยนั้น) โดนดักยิงถล่ม แต่ไม่มีใครถูกกระสุน ต้องรีบย้อนกลับมาวัด พบท่านยืนรออยู่หน้าวัด และท่านบอกว่ากลับไปทางเดิมนั่นแหละ ไม่ต้องหนีมาทางนี้ก็ได้

    ลุงเกลี้ยง อุกาพรหม ผู้เคยติดตามใกล้ชิดหลวงพ่อชา ก็เคยบอกว่าตะกรุดของหลวงปู่กินรีนั้นห้ามปืนจนแตกได้

    มีบ้านคนถูกไฟไหม้ แต่หน้าต่างบานหนึ่งที่มียันต์ของหลวงปู่เขียนติดไว้กลับไม่ถูกไฟไหม้เลย นับว่าแปลกดี

    เก็บตัวจนเก็บประวัติ

    ท่านชอบอยู่โดดเดี่ยว เก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร หลายคนพยายามมาซักถามขอประวัติ ท่านมักบ่ายเบี่ยงเลี่ยงไปพูดเรื่องอื่นที่ไกลๆ ตัวท่านเสมอ ประวัติของท่านจึงแทบไม่มีปรากฏที่ไหนโดยละเอียด เรื่องราวของท่านล้วนเกิดขึ้นมาด้วยการเก็บความของคนหลายฝ่าย แล้วนำมาปะติดปะต่อกันอย่างยากลำบาก”

    bar-4-two-head.jpg

    วัฏชีวิตของผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่

    ในช่วงที่หลวงปู่ธุดงค์ไปพม่าและอินเดีย

    ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๘๖

    ในช่วงระหว่างที่หลวงปู่กินรีธุดงค์ไปประเทศพม่า ๑๒ ปีนั้น ชีวิตของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่กินรีในประเทศไทยก็ได้ดำเนินต่อเนื่องตามวันเวลาที่หมุนเวียนไปดังนี้

    หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

    lp-sao.jpg
    ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ หลวงปู่เสาร์มาพักจำพรรษาที่บ้านข่าโคม บ้านเกิดของท่าน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดข่าโคม ๓ ปี แล้วมาจำพรรษาที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี

    ใน พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงปู่เสาร์ไปงานฉลองศาลาวัด ที่วัดเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร หลังเสร็จงานแล้ว หลวงปู่อยากไปลงเรือชมเกาะแก่งลำน้ำมูลตอนใต้ จึงได้จัดเรือพาหลวงปู่เสาร์ไปจนได้มาถึงเกาะดอนธาตุ ท่านได้พิจารณา เห็นเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม จึงได้ตัดสินใจสร้างเป็นวัดขึ้นโดยระหว่างการสร้าง ท่านก็กลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพาราม หลังจากออกพรรษา ปี พ.ศ.๒๔๘๒ แล้ว ท่านก็มาอยู่ที่วัดดอนธาตุ ๓ ปี จนถึงปี ๒๔๘๔ หลังออกพรรษาปีนั้นแล้ว ท่านนิมิตเห็นพระครูสีทา ชัยเสโน พระกรรมวาจาจารย์ของท่าน ที่มรณภาพไปแล้วที่บ้านเกิดของท่านที่เมืองจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ท่านจึงปรารถนาจะไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ แล้วท่านจึงได้ออกเดินทางไป แต่ก่อนไปท่านก็เพิ่งหายป่วยจากการโดนผึ้งต่อย หลังจากที่เดินทางไปทำบุญเรียบร้อยแล้ว อาการป่วยก็กำเริบขึ้นท่านจึงถึงแก่มรณภาพ ที่วัดอำมาตยาราม แขวงจำปาศักดิ์ นั่นเอง ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕

    หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

    ในช่วงเวลานั้น หลวงปู่มั่นยังคงอยู่ระหว่างการออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมแต่เพียงลำพัง ในป่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งท่านออกไปตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๒

    พ.ศ. ๒๔๘๓ – ๒๔๘๕ เมื่อท่านเดินทางกลับสู่ภาคอีสานแล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระได้จำพรรษาที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ตามคำอาราธนาของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นเวลา ๓ พรรษา

    พ.ศ. ๒๔๘๖ หลวงปู่มั่น จำพรรษาที่บ้านโตก ต.ตองโขบ อ.เมือง จังหวัดสกลนคร

    หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล

    ในในปี พ.ศ.๒๔๗๗ หลวงปู่ทองรัตน์ก็ได้มีโอกาสมาแวะ และพักจำพรรษาที่วัดป่าเมธาวิเวก เพราะต้องการมาเยี่ยมญาติโยมของลูกศิษย์ คือหลวงปู่กินรี เพราะที่ผ่านมา หลวงปู่กินรีก็ได้ไปกราบและปฏิบัติธรรมกับครูบาจารย์เฒ่าอยู่บ่อยๆ ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ถือได้ว่าเป็นบูรพาจารย์สำคัญ ของเหล่าอุบาสกอุบาสิกาบ้านหนองฮีอีกรูปหนึ่ง เพราะในช่วงที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่นี้นั้น ท่านก็ได้อบรมกิริยามารยาทและสั่งสอนประเพณีอันดีงามและเด่นหลายอย่าง จนทำให้บ้านหนองฮีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่นการตักบาตร ทุกเช้าชาวบ้านจะพร้อมกันออกทำบุญตักบาตร ไม่ว่าหญิงหรือชายจะนั่งลงเวลาจบข้าวใส่บาตร จะหงายมือใส่บาตร เวลาพระเณรเดินผ่านก็จะถอดรองเท้า ถอดหมวก นั่งลงพร้อมกับพนมมือจนกว่าพระเณรจะเดินพ้นไปอย่างนี้เป็นต้น

    นอกจากการอบรมญาติโยมชาวบ้านหนองฮีของหลวงปู่ทองรัตน์ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ทางด้านการเทศน์สั่งสอนแม่ชีของหลวงปู่ทองรัตน์นั้น แม่ชีเลี่ยน มาภา หลานสาวหลวงปู่กินรี เล่าว่า

    ส่วนมากจะสอนการปฏิบัติภาวนา ให้รู้หน้าที่ของตนเอง

    “เฮาเป็นชี ให้ฮู้จักหน้าที่ของเจ้า อย่าคึดจะไปฮั่นมานี่คือผู้ชาย เฮาเป็นหญิง หน้าที่ของเฮาเก็บผัก หักฟืน อุปัฏฐากอุปถัมภ์พระสงฆ์องค์เจ้า” (เราเป็นชีให้รู้จักหน้าที่ของตัวเอง อย่าคิดจะไปนั่นมานี่เหมือนผู้ชาย เราเป็นผู้หญิงหน้าที่ของเราคือเก็บผัก หักฟืน อุปัฏฐากอุปถัมภ์พระสงฆ์องค์เจ้า)

    mae-she-working.jpg
    ท่านจะไม่ให้โอกาสชีติดต่อกับพระสงฆ์ เท่าที่จำได้ในพรรษาที่หลวงปู่ทองรัตน์มาจำพรรษาที่บ้านหนองฮี ได้มีโอกาสตอบคำถามท่านประมาณ ๒ ครั้ง และไม่เคยพูดคุยกับท่าน หรือแม้กระทั่งพระเณรเลยแม้แต่ครั้งเดียว

    หลังจากที่พระเณรฉันเสร็จ จะแยกย้ายกันทำความเพียร เป็นโอกาสที่เหล่าแม่ชีจะได้มีโอกาสอุปัฏฐากสงฆ์คือ ตักน้ำใช้น้ำฉันให้เต็มตุ่มแล้วต้องรีบหนีไป กลัวจะเจอกับพระเณร

    ชีวิตชีสมัยก่อน ถึงเวลาตอนบ่าย ต้องตักน้ำใช้ ตักน้ำล้างเท้าถวายครูบาอาจารย์ การตักน้ำก็ตักตอนที่ครูบาอาจารย์ไม่อยู่ และจะไม่ได้พูดคุยกันกับครูบาอาจารย์ ถ้าครูบาอาจารย์ไม่ถามจะไม่พูดเด็ดขาด หลวงปู่ทองรัตน์ท่านเน้นเรื่องนี้มาก บางครั้งครูบาอาจารย์ถาม ต้องรีบก้มหน้าพนมมือพูด โดยไม่มองหน้าท่าน

    ระหว่างการจำพรรษาที่วัดป่าเมธาวิเวก ในวันพระวันหนึ่งช่วงกลางพรรษา หลวงปู่ทองรัตน์ ได้จัดให้มีการเทศน์ขึ้น แต่ทางวัดป่าเมธาวิเวกไม่มีสถานที่ เลยไปจัดเทศน์ที่วัดในบ้าน คือวัดดำรงค์เมธยาราม ในวันนั้นมีการเทศน์ตลอดคืน ญาติโยมพากันไปฟังเทศน์เป็นจำนวนมาก และไม่มีใครลุกก่อนที่จะมีการเทศน์จบ ตลอดคืน เมื่อญาติโยมง่วงนอน หลวงปู่ทองรัตน์จะขึ้นเทศน์แทนเพื่อให้ญาติโยมหายง่วง เมื่อหายง่วงแล้ว พระรูปอื่นจึงจะขึ้นเทศน์ต่อ

    ในช่วงที่หลวงปู่ทองรัตน์มาจำพรรษานั้น เวลานั้นมีพระเณร ๕-๖ รูป มีแม่ชีพักอยู่ที่วัดนั้น ๔ คน น่าจะเป็น แม่ชีสุวันดี โยมแม่ของหลวงปู่กินรี, แม่ชีคำ น้องสาวแม่ชีสุวันดี, แม่ชีเลี่ยน หลานสาว, และแม่ชีไม่ทราบชื่ออีก ๑ คน โดยแม่ชีทั้งหมดได้ย้ายจากวัดดำรงเมธยารามมาอยู่ที่วัดป่าเมธาวิเวก และเมื่อหลวงปู่ทองรัตน์ไปสร้างวัดที่บ้านชีทวนตามคำสั่งของหลวงปู่เสาร์ผู้เป็นอาจารย์ ในปี พ.ศ.๒๔๘๑ นั้น คณะแม่ชีเหล่านี้ก็ได้ตามไปอุปัฏฐากที่วัดบ้านชีทวนด้วย เพราะหลวงปู่กินรีก็ธุดงค์ไปพม่าถึง ๕ – ๖ ปีแล้วไม่รู้จะกลับมาเมื่อไร แม้จนกระทั่งหลวงปู่ทองรัตน์ออกจากวัดบ้านชีทวน ไปสร้างวัดป่าบ้านคุ้ม ที่ตำบลหนองไฮ อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี หลังจากที่หลวงปู่เสาร์มรณภาพแล้ว แม่ชีเลี่ยนก็ได้ตามไปอุปัฏฐากด้วย (ในตอนนั้นแม่ชีสุวันดีได้ถึงแก่กรรมแล้ว)

    ในปีถัดมา พ.ศ. ๒๔๗๘ ท่านพระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล ออกจากวัดป่าเมธาวิเวก ธุดงค์ไปยังละแวกต่าง ๆ พอถึงกาลเข้าพรรษาก็มาจำพรรษาที่วัดธาตุศรีคูณ อ.นาแก จ.นครพนม ส่วนพระอาจารย์เสาร์ พำนักที่ วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ในปีนั้นพระอาจารย์บุญมาก มหายโสแห่งวัดวัดอรัญญิกาวาส (วัดโพนแก้ว) จังหวัดสกลนครได้กราบนิมนต์พระอาจารย์เสาร์เพื่อไปเป็นประธานในการฉลองศาลาการเปรียญของวัดป่าอรัญญิกาวาส ออกพรรษาแล้วหลวงปู่เสาร์จึงได้ออกเดินทางไปยังวัดป่าอรัญญิกาวาส ทางด้านหลวงปู่ทองรัตน์เมื่อทราบว่าพระอาจารย์เสาร์ไปวัดป่าอรัญญิกาวาสก็ได้ออกจากวัดธาตุศรีคูณ ติดตามไปที่วัดดังกล่าว

    หลังจากงานฉลองศาลาเสร็จเรียบร้อย พระอาจารย์เสาร์ก็ปรารภท่ามกลางหมู่ลูกศิษย์ไนเรื่องที่จะกลับไปจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อวางหลักปักฐานพระพุทธศาสนาในจังหวัดอุบลให้มั่นคงแข็งแรงสืบต่อไป และได้นัดแนะให้ศิษย์ทั้งหมดไปประชุมเพื่อวางแผนการเดินทางกลับจังหวัดอุบลและการวางรากฐานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแถบอีสานใต้ ในวันมาฆบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๗๙ ที่วัดอ้อมแก้ว จังหวัดนครพนม

    การประชุมศิษย์ในวันมาฆบูชา ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ในครั้งนั้น หลวงปู่เสาร์ได้มอบหมายภาระให้ศิษย์อาวุโสแต่ละองค์ไปสร้างวัดหรือจำพรรษาในวัดต่างๆ ในแถบอีสานใต้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ตั้งใจเอาไว้ สำหรับตัวท่านเองก็จะไปโปรดญาติโยมที่บ้านข่าโคม ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ในส่วนหลวงปู่ทองรัตน์ หลวงปู่เสาร์สั่งให้ไปสร้างวัดที่บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยหลวงปู่ทองรัตน์ได้จำพรรษาและพำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านชีทวนนานถึง ๖ ปี จนกระทั่งในช่วงออกพรรษา เดือน ธ.ค. ปี ๒๔๘๔ ท่านก็ติดตามพระอาจารย์เสาร์ไป แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว เมื่อหลวงปู่เสาร์ได้มรณภาพลงที่นครจำปาศักดิ์ ในเดือน กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ หลวงปู่ทองรัตน์ก็ได้ออกจากบ้านชีทวนธุดงค์ต่อไป

    ใน พ.ศ. ๒๔๘๖ หลวงปู่ทองรัตน์ได้ธุดงค์ไปถึง บ้านคุ้ม ตำบลหนองไฮ อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี คืนแรกที่มาถึง หลวงปู่ได้ไปปักกลดที่กลางป่าทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ป่าแห่งนี้มีเนินดินกว้างประมาณ ๖ ไร่ เนินแห่งนี้รกทึบมากมีเถาวัลย์ขึ้นเต็ม และชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปในเนินนี้เพราะเชื่อว่าเจ้าที่แรง ใครไปเก็บลูกสะบ้าจากเนินนี้มาก็จะมีอันเป็นไป เป็นไข้ตายบ้างหรืออื่น ๆ ชาวบ้านจึงกลัวมาก

    หลวงปู่ทองรัตน์ได้ไปอาศัยโคนไม้ในดงนี้เป็นที่บำเพ็ญภาวนา มีชาวบ้านศรัทธาในปฏิปทาของท่าน เข้าไปกราบนมัสการ และคอยรับใช้หลายคน แต่ระยะแรกก็เพียงถากป่าให้โล่ง ปลูกศาลา และกุฏิมุงหญ้า พอได้อาศัยนานวันเข้า ก็มีผู้เลื่อมใสมาเป็นศิษย์มากขึ้น หลวงปู่จึงได้ตัดสินใจสร้างเป็นวัด แม้จะสร้างเป็นวัดหลายปี มีพระเณรลูกศิษย์มาฝากตัวจำพรรษา พำนักอยู่ด้วยปีละ ๒๐ กว่ารูป แต่หลวงปู่ทองรัตน์ก็ไม่ได้สร้างวัดใหญ่โต คงให้ญาติโยมสร้างพอได้อาศัยให้พอแก่พระเณร ท่านได้ปรารภกับลูกศิษย์ว่า ท่านจะไม่ไปไหนจะตายที่นี้

    หลวงปู่ทองรัตน์ไป ๆ มา ๆ ออกพรรษาแล้วจะธุดงค์ไปครั้งละนาน ๆ เมื่อเข้าพรรษาจึงกลับมาวัด ท่านพำนักอยู่ที่วัดบ้านคุ้มนานประมาณ ๑๐ ปีกว่า จึงนับเป็นวัดอีกวัดหนึ่งที่หลวงปู่ทองรัตน์จำพรรษาอยู่นาน หลังจากออกจากสำนักหลวงปู่มั่นแล้ว

    lp-cha-001.jpg
    หลวงปู่ชา สุภทฺโท


    ที่จะต้องกล่าวถึงหลวงปู่ชาในตอนนี้ก็เพราะท่านผู้นี้ต่อไปก็จะเป็นผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับหลวงปู่กินรีเป็นอย่างมากอีกผู้หนึ่ง

    หลวงพ่อชาเกิด พ.ศ. ๒๔๖๑ หลังหลวงปู่กินรี ๒๒ ปี สนใจในทางศาสนามาตั้งแต่เด็ก พออายุ ๒๑ ปี ในปี ๒๔๘๒ ก็บวชเป็นพระภิกษุ ในระยะแรกท่านก็เล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนจบนักธรรมเอก ในระหว่างนั้นบิดาป่วยหนักและถึงแก่กรรมในปี ๒๔๘๗ ท่านซึ่งอยู่เฝ้าบิดาอยู่ในระหว่างป่วยก็ได้เห็นสัจธรรม และปรารถนาจะศึกษาทางปฏิบัติดูบ้าง หลังออกพรรษาปี ๒๔๘๘ ในช่วงต้นปี ๒๔๘๙ จึงได้ออกแสวงหาครูบาอาจารย์ด้านวิปัสสนา

    กลับสู่มาตุภูมิ

    ในคืนหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ระหว่างที่หลวงปู่กินรีจำพรรษาอยู่ในประเทศพม่า หลังจากที่หลวงปู่ภาวนา ได้จำวัดพักผ่อน และเกิดนิมิตว่า โยมมารดาของท่านซึ่งบวชชี มานอนขวาง หลวงปู่รู้สึกแปลกใจในนิมิต คิดว่าคงจะมีเหตุการณ์เกินขึ้นกับโยมมารดา ท่านจึงต้องเดินทางกลับบ้าน ทั้งที่ไม่คิดที่จะเดินทางกลับ คาดว่าหลวงปู่กลับโดยพาหนะรถยนต์ ระยะนั้น หลวงปู่มั่นจำพรรษา ที่บ้านตองโขบ วัดป่าบ้านนามน (วัดป่านาคนิมิตต์) พอหลวงปู่ทราบก็ได้เข้าไปกราบนมัสการ

    หลวงปู่มั่นได้ถามว่า “กินรี ได้ที่อยู่แล้วหรือยัง ?”

    หลวงปู่ตอบว่า “ได้แล้วครับ”

    หลังจากนั้นหลวงปู่กินรีได้เดินทางกลับไปบ้านหนองฮี ผ่านป่าช้าของหมู่บ้าน พบแต่เถ้าถ่านกองฟอนที่เผาโยมมารดา ท่านจึงนำคณะญาติพี่น้องทำบุญเก็บอัฐิของโยมมารดา ด้วยการทำบุญให้เป็นบุญ คือห้ามมิให้ฆ่าสัตว์และไม่ให้ดื่มสุรา

    เมื่อเสร็จกิจในการทำบุญอุทิศให้โยมมารดาแล้ว ท่านก็ได้ธุดงค์โดยเจตนาจะกลับไปยังประเทศพม่าอีกครั้งหนึ่ง โดยธุดงค์ผ่านไปทางบ้านลานสาง จังหวัดตาก ก็ถึงกาลเข้าพรรษาท่านจึงได้จำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านมูเซอแห่งหนึ่ง ระหว่างนี้หลวงปู่ท่านเกิดอาพาธด้วยโรคหัวใจ ฉันไม่ได้อยู่ประมาณ ๓ เดือน ซึ่งท่านเล่าว่า

    “ความเจ็บไข้ทางกายนี้ เมื่อเป็นหนักเข้า มันก็เป็นอุปสรรคต่อการภาวนาอยู่มากเหมือนกัน เป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์ ความฟุ้งซ่านรำคาญทั้งหลาย บางครั้งก็ทำให้เกิดความเครียด ความสงสัยเคลือบแคลงลังเลใจ ไม่แน่ใจไปเสียทุกอย่าง สงสัยอาบัติที่มีแก่ตัว สงสัยอย่างอื่น จนทำให้การภาวนาไม่สบาย ที่ทรงไว้ได้ดีก็คือศีล แต่ในที่สุดอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นก็สงบลง เพราะการเพ่งพิจารณาอยู่ในอารมณ์”

    คืนหนึ่งท่านนอนซมอยู่ ลุกไม่ได้ คิดว่าตายแน่คราวนี้ แต่นิวรณ์ทั้งหลายขาดสิ้นแล้ว ไข้ยังไม่หาย รู้สึกเป็นนิมิต มีพระสมัยโบราณ ๖ รูปมานั่งรายล้อมอยู่ รูปสัณฐานใหญ่น้อยลำดับกันไป หลวงปู่พูดว่า

    “จะมานั่งเฝ้าผมอยู่ทำไม ผมใกล้ตายแล้ว อีกหน่อยมันก็มีแต่ร่างที่เน่าเฟะ เปื่อยผุพังเท่านั้น หาประโยชน์มิได้ จงกลับไปเสีย อย่ามานั่งเฝ้าผมให้ลำบากเลย”

    พระองค์หัวแถวจึงพูดว่า

    “อย่าว่าอย่างนั้นเลย ท่านจะยังไม่ตายก่อน จงบอกแก่ชาวเขา ให้นำสิ่งนี้ๆ มาให้กิน ครั้นท่านกิน ไข้นั้นจะหาย”

    ว่าแล้วก็เลือนหายไปทั้ง ๖ รูป

    รุ่งขึ้น หลวงปู่ท่านก็บอกชื่อสมุนไพรตามพระโบราณบอก นำมาฝนยาดื่มกิน ทำให้หลวงปู่หายจากอาพาธอย่างน่าอัศจรรย์ ท่านจึงตัดสินใจเปลี่ยนใจที่จะละสังขารที่พม่า กลับมาสู่ประเทศไทยแดนมาตุภูมิ

    ในการกลับเมืองไทยในครั้งนี้ไม่มีรายละเอียดว่ากลับมาเมื่อไรและอย่างไร แต่คาดเดาเอาจากรายละเอียดที่กล่าวข้างต้น ท่านได้อาพาธที่หมู่บ้านมูเซอร์ในช่วงเข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๗ และกลับมายังวัดป่าเมธาวิเวกในต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๘

    เมื่อหลวงปู่กินรีกลับมาอยู่วัดป่าเมธาวิเวกนั้น พระอาจารย์เสาร์ก็ได้มรณภาพไปแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๔๘๕ พระอาจารย์ทองรัตน์ขณะนั้นก็จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านคุ้ม ที่หนองไฮ อ.วารินชำราบ อุบลราชธานี ส่วนหลวงปู่มั่น จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร และหลวงปู่ชาก็อยู่วัดบ้านก่อนอก จังหวัดอุบลราชธานี

    ดังนั้น ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๘ – ๒๔๘๙ หลวงปู่กินรีช่วงเข้าพรรษาก็อยู่จำพรรษาที่วัดป่าเมธาวิเวก หลังพรรษาท่านก็ออกธุดงค์เรื่อยไปตามป่าเขา

    Map-3.jpg
    แผนที่แสดงเส้นทางธุดงค์ของหลวงพ่อชาออกเสาะหาพระอาจารย์มั่นจาก จ.อุบลราชธานี ไปวัดป่าหนองผือนาใน จ.สกลนคร

    หลวงพ่อชามาจำพรรษาอยู่ด้วย

    หลวงพ่อชาได้มากราบหลวงปู่กินรีเป็นครั้งแรกเมื่อไหร่ไม่มีข้อมูลบอกเอาไว้ ในประวัติของหลวงปู่ชาได้กล่าวถึงหลวงปู่กินรีเป็นครั้งแรกเมื่อครั้งที่หลวงพ่อชาบวชได้ ๙ พรรษาและปรารถนาจะได้พบพระอาจารย์ทางด้านปฏิบัติบ้าง หลังจากที่บวชมาในระยะแรกได้เรียนมาแต่ทางปริยัติ จึงได้ออกธุดงค์เพื่อเสาะแสวงหา การออกแสวงหาอาจารย์ในครั้งนี้ท่านและคณะได้ออกเดินทางเป็นระยะทางไกลจากอุบลราชธานีไปจนถึงสระบุรีและลพบุรีตามลำดับแต่ก็ยังไม่พบพระอาจารย์ที่ถูกใจ และที่ลพบุรีก็ได้ยินกิติศัพท์ของพระอาจารย์มั่นจึงตัดสินใจที่จะเดินทางไปกราบคารวะ โดยย้อนกลับไปตั้งหลักใหม่ที่จังหวัดอุบลราชธานีที่เป็นบ้านเกิด และได้ออกเดินธุดงค์ไปยัง จังหวัดสกลนครตามที่ได้ทราบข่าวว่าท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่บริเวณนั้น เมื่อได้พบและกราบท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าหนองผือนาในแล้ว หลังจากได้ฟังธรรมคำสั่งสอนได้ ๒ วัน ในวันที่สามหลวงพ่อชาก็ได้กราบลาออกไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่ป่าช้าใกล้วัดบ้านนาป่งคอง อ.นาแก (ปัจจุบันชื่อวัดพิทักษ์ประชาสามัคคี ในประวัติหลวงพ่อชา ส่วนใหญ่จะระบุชื่อว่า วัดโปร่งครอง) ซึ่งมีหลวงพ่อคำดี ไม่ทราบฉายา พักอยู่ หลวงพ่อคำดีองค์นี้เป็นชาวยโสธรและเป็นน้องของหลวงปู่บุญมี แห่งอำเภอหนองไผ่-วิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้อยู่ร่วมและปรนนิบัติพระอาจารย์ทองรัตน์ ตั้งแต่ครั้งอยู่สกลนครเรื่อยมา จนถึงอุบลราชธานี ในประวัติของหลวงพ่อชาได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ว่า

    “เมื่ออยู่ป่าช้าใกล้วัดท่านอาจารย์คำดีได้ ๗ วัน ก็มีอาการเป็นไข้ เลยพักรักษาตัวอยู่กับอาจารย์คำดีประมาณ ๑๐ วัน จึงย้ายลงมาทางบ้านต้อง พักอยู่ที่ป่าละเมาะบ้านต้องได้เวลานานพอสมควร จึงได้เดินทางกลับไปหาท่านอาจารย์กินรี พักอยู่ที่นั่นหลายวัน จึงได้กราบลาท่านอาจารย์กินรี ที่วัดป่าหนองฮี อ. ปลาปาก จ. นครพนม แล้วจึงเดินทางต่อไป...”

    อ่านเผินๆ เหมือนว่าหลวงพ่อชาพบหลวงปู่กินรีครั้งแรกหลังจากที่ท่านพักอยู่ที่ป่าละเมาะบ้านต้อง อ.ธาตุพนม แล้ว แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า ท่านผู้เขียนประวัติ * ใช้คำว่า “เดินทางกลับไปหา” (ในประวัติฉบับ อุปลมณี ไม่ได้ใช้คำนี้ แต่ใช้ข้อความว่า "หลังจากนั้นจึงได้เดินทางต่อไปจนถึงวัดป่าเมธาวิเวก") ซึ่งน่าจะหมายความว่า ก่อนหน้านั้นท่านได้เคยพบกันแล้ว คราวนี้จึงเดินทางกลับไปหา อย่างไรก็ตามพอจะสรุปได้ว่า หลวงพ่อชาได้พบกับหลวงปู่กินรีในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ และเมื่อได้พบแล้ว ก็ถูกใจในจริยาวัตรของหลวงปู่กินรีและได้เคยเล่ายกย่องหลวงปู่กินรีให้ลูกศิษย์ฟังว่า

    bar-4-head-left-short.jpg

    * จากหนังสือ สุภัททานุสรณ์ ชุดโพธิญาณเถระ พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งตีพิมพ์หนังสืออนุญาตให้ คุณอาคม ทันนิเทศ แห่ง สถานีวิทยุทหารอากาศ ๐๑ บางซื่อ จัดพิมพ์ประวัติของท่านฉบับนี้ได้ โดยเขียนด้วยลายมือของท่านเอง ไว้ด้วย ซึ่งนับว่าเชื่อได้ในข้อมูลที่มีในหนังสือ

    “หลวงพ่อกินรี จนฺทิโย อาตมาพบท่านครั้งแรก แต่หลังจากได้นมัสการพระอาจารย์มั่นแล้ว เกิดนิยมชมชอบในปฏิปทาของท่าน มองดูแล้วสวยงาม มันจับจิตจับใจในปฏิปทานั้น จึงได้ขอฝากตัวอยู่ปฏิบัติกับท่าน หลวงพ่อกินรี ท่านเป็นพระที่สันโดษ ชอบความสงบ ทำความเพียร...พูดน้อย สมถะที่สุด

    ท่านไม่ยึดอะไรเลยในโลกนี้ความวิเศษในองค์ท่านนี้ น่ากราบไหว้บูชานะ ธรรมะของท่าน ก็มีความอ่อนละมุน เข้าใจง่ายแม้จะเป็นคำพูดสั้นๆ เมื่อถึงคราวปฏิบัติธรรมกรรมฐานแล้ว ท่านสอนศิษย์ทุกองค์ด้วยความเคร่งครัด เอาจริงเอาจัง เดินจงกรมนี่ บางทีเดินเป็นครึ่งๆ วัน พวกเราที่มานั่งอยู่นี้ทำได้ไหมล่ะ. ..เดินนานๆ นั่น..อดอาหารล่ะ..อดได้ไหม เออ...เราบางวันตั้ง ๔ มื้อน่ะ..

    ฉะนั้นสิ่งใดที่ครูบาอาจารย์สอนมา ก็ควรน้อมเข้าจิตใจไว้แล้วนำไปปฏิบัติตาม เราจะได้ชื่อว่า เป็นผู้รับมรดกธรรมอย่างสมบูรณ์นั่นแหละ”

    ด้วยเหตุดังกล่าว หลังจากที่ได้กราบลาหลวงปู่กินรีไปธุดงค์ต่อในคราวนั้นแล้ว ดังนั้นในกาลเข้าพรรษาในปี ๒๔๙๑ ซึ่งปีนั้นมีเดือน ๘ สองครั้ง หลวงพ่อชาจึงได้มาจำพรรษากับหลวงปู่กินรี มาขอพึ่งบารมีปฏิบัติธรรมกับท่าน และได้รับความสงเคราะห์จากท่านอาจารย์กินรีเป็นอย่างดี

    การที่ได้มาจำพรรษากับหลวงปู่กินรีในครั้งนี้ ทำให้หลวงพ่อชาได้เห็นปฏิปทาของหลวงปู่ที่ทำให้ท่านประทับใจและได้นำมาเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง ตัวอย่างเช่น

    ในพรรษาที่อยู่กับหลวงปู่นั้น ท่านเองทำความเพียรอย่างหนัก เดินจงกรมทั้งวัน ฝนตก แดดออกอย่างไรก็เดินจนทางจงกรมเป็นร่องลึก

    แต่หลวงปู่กลับไม่ค่อยเดิน บางครั้งเดินเพียงสองสามเที่ยวก็หยุด แล้วไปเอาผ้ามาปะ มาเย็บ หรือไม่ก็นั่งทำนั่นทำนี่...

    เราประมาท คิดว่าครูบาอาจารย์จะไปถึงไหนกัน เดินจงกรมก็ไม่เดิน นั่งสมาธินาน ๆ ก็ไม่เคยนั่ง คอยแต่จะทำนั่นทำนี่ตลอดวัน แต่เรานี่ปฏิบัติไม่หยุดเลย ถึงขนาดนั้นก็ยังไม่รู้ไม่เห็น อะไร ส่วนหลวงปู่ปฏิบัติอยู่แค่นั้น จะไปรู้เห็นอะไร

    เรามันคิดผิดไป หลวงปู่ท่านรู้อะไร ๆ มากกว่าเราเสียอีก คำเตือนของท่านสั้น ๆ และไม่ค่อยมีให้ฟังบ่อยนัก เป็นสิ่งที่ลุ่มลึกแฝงไว้ด้วยปัญญาอันแยบคาย ความคิดของครูบาอาจารย์ กว้างไกลเกินปัญญาของเราเป็นไหน ๆ ...ตัวแท้ของการปฏิบัติ คือ ความพากเพียรกำจัดอาสวะ กิเลสภายในใจ ไม่ใช่ถือเอากิริยาอาการภายนอกของครูอาจารย์มาเป็นเกณฑ์...

    อีกเรื่องหนึ่ง

    ในปีนั้นจีวรของหลวงพ่อเก่าคร่ำคร่า จนผุขาดเกือบทั้งผืน แต่ท่านไม่ยอมออกปากขอใคร หลวงปู่กินรีก็มองดูอยู่เงียบ ๆ ไม่ว่ากระไร

    วันหนึ่งหลวงพ่อนั่งปะชุนจีวรอยู่ ขณะเย็บผ้าคิดอยากให้เสร็จเร็ว ๆ จะได้หมดเรื่องหมดราว แล้วไปนั่งภาวนา เดินจงกรมให้เต็มที่สักที หลวงปู่กินรีเดินมาหยุดยืนดูอยู่ใกล้ ๆ หลวงพ่อ ก็ยังไม่รู้ เพราะจิตกังวลอยากเย็บผ้าให้เสร็จเร็ว ๆ เท่านั้น

    หลวงปู่ถามว่า "ท่านจะรีบร้อนไปทำไมเล่า"

    "ผมอยากให้เสร็จเร็ว ๆ"

    "เสร็จแล้วท่านจะไปทำอะไร" หลวงปู่ถามอีก

    "จะไปทำอันนั้นอีก"

    "ถ้าอันนั้นเสร็จ ท่านจะทำอะไรอีก" หลวงปู่ถามต่อ

    "ผมจะทำอย่างอื่นอีก"

    "เมื่ออย่างอื่นของท่านเสร็จ ท่านจะไปทำอะไรอีกเล่า ?"

    หลวงปู่กินรีให้ข้อคิดว่า... "ท่านรู้ไหม นั่งเย็บผ้านี่ก็ภาวนาได้ ท่านดูจิตตัวเองสิว่า เป็นอย่างไร แล้วก็แก้ไขมัน ท่านจะรีบร้อนไปทำไมเล่า ทำอย่างนี้เสียหายหมด ความอยากมันเกิดขึ้นท่วมหัว ท่านยังไม่รู้เรื่องของตัวเองอีก"

    คำพูดสั้น ๆ แต่มีความหมายและเจือความปรารถนาดีของหลวงปู่ ทำให้หลวงพ่อหูตา สว่างขึ้น ท่านปรารภให้ฟังว่า "เรานึกว่าทำถูกแล้ว อุตสาห์รีบทำ อยากให้มันเสร็จเร็ว ๆ จะได้ภาวนา แต่ที่ไหนได้ เราคิดผิดไปไกลทีเดียว"

    “ผ้าสบงที่เราใช้ไปสองปีแล้วจนจะขาดหมด จะนั่งแต่ละครั้งต้องถลกผ้าขึ้นมานิดหนึ่งเสียก่อน เพราะผ้าที่เก่าจนขาดมันจะติดตัว ไม่ลื่นเหมือนผ้าใหม่ ตอนนั้นอยู่บ้านป่าตาวกำลังกวาดลานวัด เหงื่อออก เผลอนั่งลงเลย ไม่ได้ถลกผ้าขึ้น ขาดแควกตรงก้นพอดี ต้องเอาผ้าขาวม้ามาเปลี่ยน แต่หาผ้ามาปะสบงไม่ได้ ต้องเอาผ้าเช็ดเท้าไปซักให้สะอาดแล้วเอามาปะข้างใน

    เลยมานั่งคิดว่า เอ! พระพุทธเจ้านี้ทำไมทำให้คนต้องทนทุกข์จังเลย ขอคนก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้ นึกท้อใจ เพราะจีวรก็ขาด สบงก็ขาด มานั่งภาวนา ก็ตั้งใจได้ใหม่ คิดว่าเอาเถอะ จะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่ถอยละ ไม่มีผ้าก็ไม่ต้องนุ่ง จะเปลือยมันเลยทีนี้ ใจมันฮึดถึงขนาดนั้นทีเดียว คิดว่าทำให้ถึงที่สุดแล้ว ดูซิมันจะเป็นยังไง จากนั้นมาก็นุ่งผ้าปะหน้าปะหลังมาเรื่อย ไปถึงไหนก็นุ่งมันอย่างนั้นแหละ

    ปีนั้นเป็นปีที่มีเดือนแปด ๒ หน ไปกราบอาจารย์กินรีอีกครั้ง ไปอยู่กับท่านก็ไม่เหมือนคนอื่น เพราะธรรมเนียมของท่านไม่เหมือนใคร ท่านก็มอง ๆ อยู่ เราก็ไม่ขอ ถ้ามันขาดอีกก็หาผ้ามาปะเข้าไปอีก ท่านก็ไม่ได้เอ่ยปากให้อยู่ด้วย เราก็ไม่ได้ขออยู่เหมือนกัน แต่ก็อยู่กับท่านน่ะแหละปฏิบัติไปทำไป ต่างคนต่างไม่พูด ใครจะเก่งกว่ากันว่างั้นเถอะ จวนเข้าพรรษาท่านคงไปบอกญาติของท่านว่า มีพระมารูปหนึ่ง จีวรขาดหมดแล้ว ให้ตัดผ้าไตรไปถวายด้วยเถอะ เพราะมีคนเอาผ้ามาถวาย เป็นผ้าทอเอง หนาทีเดียว ย้อมแก่นขนุน ก็เอาด้ายจูงผีน่ะแหละมาเย็บ เย็บด้วยมือทั้งผืนเลย พวกโยมชีเขาช่วยกันเย็บให้ ดีใจที่สุด ใช้อยู่ ๔-๕ ปีก็ไม่ขาด ใช้ครั้งแรกก็ดูกระปุกกระปุย เพราะผ้าใหม่มันกระด้าง ยังไม่กระชับตัว เวลาเดินเสียงดังสวบสาบ ยิ่งใส่สังฆาฏิ ๒ ชั้นเข้าไปยิ่งดูอ้วนใหญ่ แต่เราก็ไม่เคยบ่น ใส่ไปได้สักปีสองปีน่ะแหละผ้าจึงอ่อนตัวลง ก็ได้อาศัยผ้าผืนนั้นมาเรื่อย ยังนึกถึงบุญคุณของท่านอยู่เสมอ เพราะท่านให้มาโดยที่เราไม่ได้ขอ เป็นบุญมาก ตั้งแต่ได้ผ้าผืนนั้นมาก็รู้สึกสบายกายสบายใจ”

    เมื่อถึงหน้าแล้ง ออกพรรษาแล้วหลวงพ่อชาจึงกราบลาท่านอาจารย์กินรี เพื่อแสวงหาวิเวกต่อไป ก่อนจากท่านอาจารย์กินรีได้ให้โอวาทว่า

    “ท่านชา... อะไรๆ ก็พอสมควรแล้ว แต่ให้ท่านระวังการเทศน์นะ”

    lp-oown-pakuno.jpg
    และในปีพ.ศ. ๒๔๙๐ นั้นเช่นกัน พระอวน ปคุโณ ซึ่งเพิ่งอุปสมบทเมื่ออายุครบบวช ก็ได้ชักชวนพระก่องและพระจันลา ออกธุดงค์ไปยังวัดป่าเมธาวิเวก ต.หนองฮี อ.ปลาปาก เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่กินรี จันทิโย พระอวนนี้ต่อมาก็ได้เป็นหนึ่งในจำนวนศิษย์ที่มีไม่มากของหลวงปู่กินรี และเป็นผู้สร้างวัดจันทิยาวาส ที่ ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นครพนม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ โดยตั้งชื่อตามฉายานามของหลวงปู่กินรีผู้เป็นอาจารย์

    พ.ศ. ๒๔๙๒ เมื่อหลวงพ่อชาออกจากวัดป่าอำเภอศรีสงครามแล้ว ก็เดินทางขึ้นสู่ภูลังกาซึ่งอยู่ในเขต อ.บ้านแพง จ.นครพนมได้ไปพักสนทนาธรรมกับพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เป็นเวลา ๓ วัน จึงได้เดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ นานพอสมควร จากภูลังกา หลวงพ่อมุ่งหน้าสู่วัดป่าหนองฮี เพื่อกราบเยี่ยมหลวงปู่กินรี การพบกันในครั้งนี้หลวงปู่ให้คำแนะนำสั้น ๆ ตามอัธยาศัยของท่านว่า

    “ท่านชา การเที่ยวธุดงค์ของท่านก็พอสมควรแล้ว ควรไปหาที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่งในที่ราบ ๆ บ้างนะ”

    หลวงพ่อชากราบเรียนหลวงปู่ว่า

    “กระผมตั้งใจจะธุดงค์กลับไปทางบ้านที่อุบลครับ”

    “จะกลับบ้าน เพราะคิดถึงใครหรือเปล่า? ถ้าคิดถึงผู้ใด ผู้นั้นจะให้โทษแก่เรา”

    หลวงปู่ทิ้งท้ายด้วยคำง่าย ๆ แต่ลึกซึ้งเช่นเคย หลวงพ่อชาจึงได้กราบลาท่านอาจารย์กินรีเดินทางต่อ

    ปฏิปทาบางประการของหลวงปู่กินรี ในทัศนะของหลวงพ่อชา

    ในบรรดาครูบาอาจารย์ผู้ให้แสงสว่างในทางธรรม ที่หลวงพ่อชาเคารพเทิดไว้ในที่สูง สรรเสริญพระคุณและปรารภถึงอยู่เสมอ ดูเหมือนมีอยู่สามท่าน ได้แก่ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่กินรี จนฺทิโย แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงปฏิปทาบางประการของหลวงปู่กินรี ในทัศนะของหลวงพ่อชาเท่านั้น

    แม้ว่าหลวงพ่อเคยจำพรรษาอยู่ในสำนักของหลวงปู่กินรีเพียงพรรษาเดียว แต่ในระหว่างการธุดงค์ท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ นั้น เมื่อมีโอกาสผ่านไปบริเวณที่ใกล้กับสถานที่จำพรรษาของหลวงปู่กินรี ท่านก็มักแวะเวียนเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่เพื่อรับฟังโอวาทสั้น ๆ หรือข้อคิดเตือนจิตสะกิดใจเล็ก ๆ น้อย ๆ จากหลวงปู่เสมอ หลวงปู่กินรีท่านไม่เทศน์ยาว

    “พุทโธ พุทโธ เด้อ! พุทธอ้อยสามวา ดึงเข่ามาให้เหลือวาเดียวหั่น ดึงเข่ามายังแขนเดียวหั่น ดึงเข่ามายังศอกเดียวหั่น ดึงเข่ามายังคืบเดียวหั่น ดึงเข่ามาอีก ใส่ใจนี่...ปั๊ด! นี่! หลวงปู่เทศน์ซำนี่ จั๊กเพินว่าอีหยัง บ่จั๊ก ดึงเข่ามาปานควายบักตู้เว้ย”

    (พุทโธ พุทโธ นะ พุทธอ้อยสามวา ดึงเข้ามาให้เหลือวาเดียวนั่น ดึงเข้ามาเหลือแขนเดียวนั่น ดึงเข้ามาเหลือศอกเดียวนั่น ดึงเข้ามาเหลือคืบเดียวนั่น ดึงเข้ามาอีก ใส่ใจนี่ ปั๊ด! หลวงปู่เทศน์แค่นี้ไม่รู้ท่านว่าอะไร ไม่รู้ ดึงเข้ามาอย่างกับควายเว้ย)

    หลวงพ่อเล่าถึงการสอนภาวนาของหลวงปู่พลางหัวเราะตัวเอง เพราะสมัยนั้นหลวงพ่อก็ยังใหม่ต่อการภาวนา ยังไม่เข้าใจความหมายในปริศนาธรรมที่หลวงปู่แสดง

    และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อหลวงปู่สอนเรื่องการวางใจให้พอดี หรือทางสายกลางด้วยปริศนาสั้น ๆ ซึ่งกว่าหลวงพ่อจะแจ่มแจ้งก็ใช้เวลานานพอดู

    “นางมะที บ่สูงบ่ต่ำ บ่ก่ำ บ่ขาว บ่อ้วน บ่พี ก้ำพอดี พองาม”

    (นางมัทรี ไม่สูงไม่ต่ำ ไม่ดำไม่ขาว ไม่อ้วนไม่พี พอดีพองาม)

    “การทำงานคือการปฏิบัติ” คือปฏิปทาที่เด่นชัดอีกประการหนึ่งของหลวงปู่ หลวงพ่อชาเล่าว่า ตัวท่านเองทำความเพียรไป ส่วนมากหลวงปู่กลับทำงานอย่างอื่นเสีย จนหลวงพ่อนึกประมาทว่าหลวงปู่คงไม่ค่อยรู้อะไร หารู้ไม่ว่า หลวงปู่ท่านสบายแล้ว มีอยู่วันหนึ่ง หลวงพ่อกำลังเย็บผ้า ร้อนแค่ไหนก็ไม่ยอมพัก รีบเร่งจะให้เสร็จเร็ว ๆ อยากทำความเพียรต่อ หลวงปู่เดินมาให้ธรรมะเตือนสติว่า การปฏิบัตินั้นคือการมีสติอยู่ทุกเมื่อไม่ว่าจะทำอะไร การปฏิบัติด้วยความอยากนั้นผิดตั้งแต่เริ่มแล้ว

    แม้ข้อวัตรการกราบเพื่อฝึกสมาธิของวัดหนองป่าพงนั้น หลวงพ่อก็ได้แบบอย่างไปจากสำนักของหลวงปู่กินรีนี่เอง ด้วยความรำลึกถึงพระคุณของหลวงปู่ หลวงพ่อได้จัดส่งลูกศิษย์ของท่านจากวัดหนองป่าพงไปอยู่อุปัฏฐากหลวงปู่ที่วัดของท่านเป็นประจำ และจัดส่งบริขารเครื่องใช้ เช่น เภสัชที่จำเป็นไปถวายหลวงปู่อยู่เสมอ กระทั่งวาระสุดท้ายเมื่อหลวงปู่มรณภาพ หลวงพ่อก็ได้เป็นธุระจัดงานฌาปนกิจศพหลวงปู่อย่างเต็มสติกำลัง

    ในปี พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่มั่นมรณภาพ ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร และได้จัดงานถวายเพลิงวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ไม่มีข้อมูลว่าหลวงปู่กินรีได้ไปร่วมงานด้วยหรือไม่

    พ.ศ. ๒๔๙๙ หลวงปู่ทองรัตน์มรณภาพที่วัดป่าบ้านคุ้ม อายุ ๖๘ ปี พรรษา ๔๒ พิธีถวายเพลิงศพได้จัดขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่วัดป่าบ้านคุ้ม โดยในวันดังกล่าวหลวงปู่กินรีไม่ได้ไปร่วมเนื่องจากป่วย จึงส่งหลวงพ่ออวน ปคุโณไปแทน

    wat-kantasilawas-1.jpg wat-kantasilawas-2.jpg wat-kantasilawas-4.jpg
    วัดกัณตะศิลาวาส ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.สกลนคร

    ในช่วงปลายชีวิตของหลวงปู่กินรี ท่านได้ย้ายไปอยู่วัดกัณตะศิลาวาส ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.สกลนคร แต่จะย้ายไปเมื่อใดไม่มีข้อมูล แต่น่าจะก่อนปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื่องจาก ได้มีการระบุไว้ในประวัติหลวงพ่อชา สุภัทโทไว้ตอนหนึ่งว่า เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ เมื่อออกพรรษาและรับกฐินแล้ว หลวงพ่อชารับนิมนต์ของโยมชาวจังหวัดอุดรฯ ไว้ จึงได้เดินทางไปจังหวัดอุดรฯ ครั้นเสร็จกิจนิมนต์แล้วจึงได้เดินทางกลับ ในระหว่างทางขากลับก็ได้แวะเยี่ยมและกราบนมัสการพระอาจารย์ต่างๆ มาตลอดทาง และได้มา แวะกราบนมัสการท่านอาจารย์กินรี ที่วัดกัณตะศิลาวาส และเดินทางต่อไปจนมาถึงอำเภออำนาจเจริญ แวะไปเยี่ยม อาจารย์โสม ถิรจิตฺโต ที่วัดต้นบกเตี้ย วันนั้นเป็นวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๑

    lp-kinnaree-013.jpg
    เมื่อท่านย้ายมาอยู่วัดกัณตะศิลาวาสนี้ บรรดาเหล่าแม่ชีก็ได้ย้ายวัดตามมาอุปัฏฐากหลวงปู่โดยมีแม่ชีเลี่ยน หลานสาวหลวงปู่เป็นผู้นำ นอกจากนั้นหลวงปู่ชายังได้ส่งพระลูกศิษย์ของท่านจากวัดหนองป่าพงไปอยู่อุปัฏฐากหลวงปู่ เช่น หลวงพ่อบุญนำ, หลวงพ่อภัทร มาสองพรรษา ต่อมาหลวงพ่อสีกับหลวงพ่อเพ็งมาเปลี่ยนอีกสองพรรษา หลวงพ่อทูล จัตตสัลโล เจ้าอาวาสวัดถ้ำแสงเพชร (บน), หลวงพ่อโสม ถิรจิตโต วัดป่าบ้านบก บุรีรัมย์ หลวงปู่สอน ถาวโร เป็นต้น

    มีเรื่องที่ยังค่อนข้างสับสนอยู่เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องชื่อวัดที่หลวงปู่กินรีพักอาศัยอยู่เป็นวัดสุดท้ายในชีวิตของท่านก็คือ วัดนี้สะกดชื่อวัดอย่างไรแน่ เมื่อได้เช็คสอบไปตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ก็พบว่ามีการสะกดแตกต่างกันไป มีทั้ง กัณตะศิลาวาส, กัณตศิลาวาส, กัณตะศีลาวาส, กันตะศิลาวาส, กันตศิลาวาส, กันตศีลาวาส และอื่นๆ อีกหลายการสะกด แม้กระทั่งชื่อวัดที่ปรากฏอยู่ในเหรียญที่สร้างจากทางวัดเองก็มีชื่อที่สะกดแตกต่างกันไป แต่ที่น่าสังเกตก็คือป้ายชื่อวัด และ ชื่อวัดในเหรียญรุ่นที่สร้างตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ เป็นต้นมา สะกดชื่อวัดเป็น วัดกัณตะศิลาวาส ทั้งสิ้น

    ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ บางแหล่งข้อมูลระบุว่า วัดกัณตะศิลาวาสนี้ หลวงปู่เสาร์เป็นคนสร้างและใช้ชื่อตาม นามฉายาของท่าน ซึ่งถ้าเป็นดังนั้น วัดนี้น่าจะสะกดชื่อว่า วัดกันตสีลาวาส เรื่องการสะกดชื่อที่หลากหลายกันไปนี้น่าจะมีที่มาที่ไป แต่ก็ยังไม่พบแห่งข้อมูล

    สร้างวัตถุมงคล

    ในช่วงปลายชีวิต ๕ ปีสุดท้ายของหลวงปู่ (พ.ศ. ๒๕๑๙ - พ.ศ. ๒๕๒๓) ท่านได้อนุญาตให้มีการสร้างวัตถุมงคลขึ้น โดยเริ่มจาก:

    ก่อนที่หลวงปู่กินรีจะมรณภาพได้ ๒ ปี คณะศิษย์ได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น เพื่อฉลองอายุวัฒนะมงคลวันคล้ายวันเกิดครบ ๘๒ ปี เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๑๙

    lp-kinnaree-amulet-01.jpg
    จัดสร้างโดย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ผบ.ทบ.ในสมัยนั้น ได้สร้างเหรียญหลวงปู่กินรี รุ่น ๑ พ.ศ. ๒๕๑๙ ไว้แจกจ่ายให้ทหารหาญ ส่วนหนึ่งถวายหลวงปู่ไว้แจกจ่ายแก่ญาติโยมผู้มาทำบุญ

    เป็นเหรียญเนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดงผิวไฟ แต่ไม่ทราบจำนวนที่จัดสร้างแน่ชัด ลักษณะเหรียญเป็นรูปทรงคล้ายใบโพธิ์ มีหู

    ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญเป็นลายกนกที่อ่อนช้อยงดงาม ถัดจากเส้นสันขอบเหรียญ มีรูปเหมือนหลวงปู่กินรี นั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ที่จีวรตอกโค๊ต "ศล" ด้านล่างสลัก "จนฺทิโย" ฉายาของหลวงปู่

    ด้านหลังเหรียญ ครึ่งวงรีจากซ้ายไปขวาสลักคำว่า "หลวงพ่อกินรี จนฺทิโย วัดกัณตะศิลาวาส รุ่น ๑" ถัดจากเส้นขอบนูนบรรทัดที่ ๑-๔ มียันต์อักขระ บรรทัดที่ ๕-๖ ระบุอายุ ๘๒ ปี ๘ เมษายน ๑๙ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบในวัน เดือน ปี พ.ศ.นั้น ด้านล่างเขียนคำว่า "จ.นครพนม"

    เป็น ๑ ในเหรียญ ๔ รุ่นที่ พล.อ.เกรียงศักดิ์ จัดสร้าง มีพุทธคุณเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ทหารว่าโดดเด่นด้านแคล้วคลาดปลอดภัย

    lp-kinnaree-amulet-02.jpg
    แต่ยังมีเหรียญอีกรุ่นหนึ่งที่บางแหล่งข้อมูลว่าสร้างตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ คือเหรียญอาจารย์กินรี เหรียญรุ่นนี้มีด้วยกัน ๒ บล็อกพิมพ์ มีบล็อกหน้าใหญ่และบล็อกหน้าเล็ก เหรียญรุ่นแรกบล็อกหน้าใหญ่หายากกว่า

    หลังจากที่ได้ออกเหรียญรุ่น ๑ ในปี ๒๕๑๙ แล้ว ก็มีเหรียญออกตามมาอีกหลายรุ่น มีทั้งเหรียญรูปเหมือนของท่าน, เหรียญรูปเหมือนของพระอาจารย์องค์อื่นๆ เช่น พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์ชา เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีพระกริ่ง, พระปรกใบมะขาม และพระปรกไพรีพินาศ และ เหรียญพระแก้วมรกตรุ่นปลดห่วงอีกด้วย

    ปฏิปทาและจริยาวัตร

    พ่อใหญ่ยศ มาภา อดีตเด็กชายยศ เล่าว่าหลวงปู่

    “ท่านเป็นคนจริงจังกับการงานมาก โดยเฉพาะ เรื่องอาบัติเล็กน้อย ท่านไม่มองข้าม เช่น การประเคนของ ถ้าวันไหนมีแต่ผู้หญิงมาวัดเพื่อถวายของ ท่านจะไม่รับ แม้จะทิ้งไว้ทั้งวันทั้งคืน ก็ทิ้งไป ทำให้แม่ออกเกรงท่านมาก”

    อุปนิสัยของท่านนั้น เป็นที่กล่าวขวัญกันว่าค่อนข้างจะมุ่งมั่นและขยันขันแข็งในการงานอยู่มากทีเดียว ปฏิปทาที่เป็นไปจนตลอดชีวิตของท่านก็คืองาน หลวงปู่ไม่เคยอยู่นิ่งเฉยนอกจากขณะทำสมาธิภาวนา ไม่เคยเป็นคนเกียจคร้านเห็นแก่ความสุขจากการนอน การกิน หรือการพูดจาสนุกเฮฮา โดยปกติแล้วในตอนที่ว่างเว้นจากการงาน ท่านมักจะเก็บตัวอยู่แต่เพียงผู้เดียวด้วยความสงบ เมื่อออกจากที่ภาวนา หลังจากที่ได้พักผ่อนร่างกายบ้างแล้วท่านก็จะทำงานอีก โดยถ้าไม่ทำอย่างใดก็ต้องเป็นอย่างหนึ่งหรือไม่ก็ทำติดต่อกันไปหลายๆ งานเลยทีเดียว

    lp-toon-wat-tumsangpetch.jpg
    หลวงพ่อทูล จัตตสัลโล เจ้าอาวาสวัดถ้ำแสงเพชร (บน) ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่อชาที่หลวงพ่อชาเคยส่งมาอุปัฏฐากหลวงปู่กินรีอยู่สมัยหนึ่ง ได้เล่าถึงจริยวัตรและปฏิปทาของหลวงปู่กินรีไว้ว่า

    หลวงปู่ชาท่านจะเคารพบูชาหลวงปู่กินรีมาก

    เมื่อหลวงปู่กินรีมา หลวงปู่ชาท่านจะล้างเท้า เช็ดเท้า นำผ้าจีวรไปกราบ จนหลวงปู่กินรีต้องรีบบอก “ชา ให้ลูกพระลูกเณรเราทำหน่อย” (หมายความว่าหลวงปู่ขอให้หลวงพ่อชาให้โอกาส พระเณรที่มีอาวุโสน้อยๆ ได้ทำอาจาริยวัตร ปรนนิบัติอุปัฏฐากผู้เป็นอาจารย์บ้าง เพื่อเป็นบุญเป็นกุศลแก่ศิษย์เหล่านั้น)

    หลวงปู่กินรีท่านจะลุกขึ้นมาตอนรุ่งสางเสมอ ถึงแม้ว่าร่างกายของท่านในวัยชราจะซูบผอม มีโรคเสมหะที่ทำให้ต้องกระแอมไอเป็นประจำ แต่ถึงกระนั้นลักษณะการเดินเหินยังคล่องแคล่วว่องไวและกระฉับกระเฉงมาก เมื่อฉันเสร็จแล้วหลวงปู่ก็จะกลับเข้ากุฏิ จะเงียบเสียงไปบ้างก็ไม่นาน และได้ยินเสียงเหมือนเคาะอะไรสักอย่างกุกๆ กักๆ ดังอยู่อย่างนั้น ประเดี๋ยวเคาะประเดี๋ยวเงียบ ตลอดเวลาครึ่งค่อนวัน จนกระทั่งบ่ายจึงจะเห็นท่านออกจากกุฏิลงมาลานวัด บางทีก็เดินหาไม้กวาดสำหรับกวาดลานวัด หยิบลากเอาไปกวาดลานวัดจนเตียนโล่ง

    ท่านจะทำกิจเหล่านั้นด้วยตนเองไม่เคยตีระฆังรวมหรือใช้ให้ใครทำ แต่ถ้าถึงคราวที่อยากจะให้ใครทำท่านจะไม่ใช้ด้วยวาจา กลับจะลากเข่งใบเก่าๆ หรือใบที่สานใหม่ซึ่งก็เป็นฝีมือของท่านเอง มาวางทิ้งไว้ที่กองขยะ แล้วเดินหลีกหนีไป ใช้กิริยาที่เดินหนีแทนการบอก เสร็จจากกวาดลานวัด บางทีก็หาไม้ตอกหรือหวายมาจักสานทำเป็นเครื่องใช้ไม้สอยประจำวัด หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่จะใช้ในวัด ท่านจะทำกิจเหล่านี้ไปจนเย็น ไม่ค่อยพูดจากับใครให้เป็นที่เอิกเกริก บางครั้งพระเณรจะไปช่วย ท่านบอก “ให้เร่งความเพียรปฏิบัติ เดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนาให้มาก” ค่ำมืดแล้วท่านก็สรงน้ำกลับเข้ากุฏิเก็บตัวเงียบ

    พระอาจารย์ทูล จัตตสัลโล เล่าถึงหลวงปู่กินรีต่อไปว่า

    แต่ท่านเป็นคนเร็วนะ เร็วทุกอย่าง ฉันอาหารนี่ก็เร็ว อาหารเอาลงในบาตรส่วนมากของท่านนี่จะไม่เหลือไม่มีหรอก ใครจะไปรอฉันอาหารเศษท่านนี่ไม่มีหรอก ถ้าท่านฉันอาหารไม่หมดนี่แสดงว่าท่านไม่ปกติ พอตอนเย็นมาท่านจะบอกว่าไม่สบาย แล้วท่านก็จะเข้าห้องน้ำ

    ชาวบ้านจะมาทอดกฐิน หลวงปู่ก็บอกว่าพระไม่พอ แต่ชาวบ้านไม่ฟัง เขาจะเอาแต่กฐินอย่างเดียว

    หลวงปู่กินรีก็ว่า เรื่องของเขา ต่อให้ถวายเป็นผ้าป่ามันก็เป็นกฐินในตัว ท่านว่า เขาอยากได้ชื่อ ห้ามก็ไม่ฟัง บอกให้เขาไปที่อื่นซะก็ไม่ไป (ชาวบ้าน) บอกว่าครูบาอาจารย์มีพรรษาเยอะ จะได้บุญมากกว่าพระรูปอื่น หลวงปู่กินรีว่า ธรรมไม่มี ตามพระวินัยที่จะให้เขาทำนี่ มันไม่เป็นกฐินก็เป็นผ้าป่าอยู่แล้ว

    พระอาจารย์ทูลเคยตัด เคยย้อมแก่น ย้อมผ้าอย่างดีให้หลวงปู่กินรีท่านใส่ ตอนอยู่ที่วัดหนองป่าพง

    ท่านบอก "เอ้อ! ดีอยู่" แต่ท่านไม่ชอบใช้

    หลวงปู่ชานี่ตัดให้อย่างสวย ผ้าบางๆ ย้อมแก่นขนุน นึ่งแก่นขนุน ดีอยู่ แต่พอถูกเหงื่อแล้วมันด่าง ท่านไม่ชอบ

    “แต่มันก็ดีอยู่” หลวงปู่กินรีว่า แต่มันสวยเกินไป ท่านว่าไม่กล้าใช้

    พระอาจารย์ทูลเคยบอกหลวงปู่ชาว่าจะเปลี่ยนจีวรให้หลวงปู่กินรีให้ใหม่ หลวงปู่ชาท่านว่า ได้อยู่ แต่ท่านจะไม่ใส่ อย่างตรงที่มันขาด หลวงปู่กินรีก็ชุนเอาไว้ ไม่ได้เย็บจักรนะ ท่านชอบใช้ของเก่า อย่างผ้าฝ้ายที่ชาวบ้านเขาตัดเย็บมาถวายท่านจะใส่อยู่ แต่จีวรที่พระอาจารย์ทูลเย็บจักรให้อย่างดีนี่ท่านไม่ใส่ ท่านว่ามันสวยไป ผ้ายิ่งเก่าเท่าไหร่ยิ่งดี ท่านว่างั้น มันอ่อน ถ้ามันแข็งท่านไม่ใช้ ท่านไม่ชอบ ถ้าเอาผ้าดีๆ ไปนี่ ท่านจะเอาไปปูนอนซะก่อนให้มันอ่อนแล้วค่อยใช้ หลวงปู่กินรีนะ ท่านชอบใช้ของมือสอง

    วิธีซักและย้อมจีวรของพระป่า

    พระอาจารย์ทูล เล่า

    ผมไปอยู่บอกท่านว่า หลวงปู่ วันนี้ผมจะขอเอาผ้าไปซัก (หมายถึงย้อม) ท่านว่า “เอ้อ” ท่านจะพูดแค่นี้

    ถ้าจะก่อไฟ ถ้าจะทำอย่างนี้ ต้องทำก่อนท่านไปธุระไปอะไร เราเตรียมไว้ รีบไปผ่าแก่นขนุนแก่นไม้

    “รีบไปหาบน้ำ ก่อไฟ ผ่าแก่นขนุนมา” ท่านก็บอกวิธี “ต้มน้ำให้เดือดก่อนนะ”

    jackfruit-heartwood.jpg
    “แก่นขนุนเก่าหรือแก่นขนุนใหม่” หลวงปู่กินรีท่านถาม

    ถ้าแก่นขนุนใหม่นี้เอาได้เลย แต่ถ้าเป็นแก่นขนุนเก่านี่ ท่านบอกต้องไปไล่แมลงออกก่อน ต้องใส่บุ้งกี๋

    ท่านบอกต้องไล่แมลงออกให้หมดอย่าให้มีสัตว์

    อันนี้ท่านเข้มงวดมาก บางทีท่านเดินมาดูเลย บางทีท่านบอก “โอ้ย! ไม่ได้ๆ” เอาทันทีเลย แต่แกนขนุนนี่ถ้าต้มครั้งหนึ่งสองครั้งนี่ หลวงปู่กินรีจะให้เราเก็บไว้เลย ท่านไม่ให้ทิ้งนะ ท่านว่ายังใช้ได้

    พระโบราณท่านประหยัด

    ผ่าเสร็จแล้วก็ย้อมผ้า

    ต้องใช้หม้อทองเหลืองท่าน (กระทะทองเหลืองที่สำหรับใช้ทำขนม) พอจะไปต้ม หลวงปู่กินรีท่านถามว่า “ทำเป็นไหม” เราก็ยังไม่เข้าใจ ท่านก็จะทำให้ดูโดยท่านจะเดินไปเอาขี้เถ้ามา ร่อนขี้เถ้ามา มีขี้เถ้าสองส่วน กับ ดินจอมปลวกส่วนหนึ่ง เอาน้ำไปคนๆ เรียกว่า “ลาพร” หม้อนะ ทำให้ไฟมันจะได้ไม่ไหม้หม้อ ไม่ดำ ทาข้างนอก ก็ต้องรอให้มันแห้งก่อนนะ จะไปทำเปียกๆ ไม่ได้ ท่านจะว่า อันนี้ผมจำไม่ลืม ต้นแบบของครูบาอาจารย์แท้ๆ เลย

    “เอ้า! ไปก่อไฟ” หลวงปู่ท่านว่า “อย่าใส่ไฟมาก แค่นั้นพอแล้ว มันสิ้นเปลือง”

    เอาหม้อตั้งไฟ เอาน้ำไส่ รอจนน้ำเดือดแล้วค่อยเอาแก่นขนุนไส่

    หลวงปู่ท่านจะมาตักดู “อือ ขนาดนี้ได้ เยี่ยววัว (น่าจะหมายถึงสีเหลืองขนาดปัสสาวะวัว) ผ้าเก่าหรือผ้าใหม่”

    monk-cloth-dying.jpg
    บอกว่า "ผ้าใหม่" ส่วนมากคือผ้ามันได้อยู่แล้ว คือมันไม่ด่าง ถ้าผ้ามันด่างคือผ้ามันยังใหม่อยู่ หลวงปู่ท่านว่าอย่างนั้น

    ถ้ามันด่าง ท่านจะให้รีบไปชุบ ถ้ามันแห้งแล้วไปชุบมันจะเป็นด่างๆ เป็นจุดๆ ไม่เสมอกัน ไม่เหมือนทุกวันนี้

    ท่านจะเน้นหนักมาก ทีนี้ถ้าเป็นผ้าเก่าท่านจะนิยมใช้ต้นเหมือด รึไงฮึ เหมือดย้อมไหม

    แต่หลวงปู่กินรีท่านไม่ให้ใช้สารส้ม ท่านว่ามันเหนียว ถูกเหงื่อเนี่ยมันเหนียว ผ้าไม่ทน

    เวลาท่านไปไหนเนี่ย ท่านจะพยายามให้ญาติโยมเอามาให้ เอาใบมัน เหมือดย้อมไหมก็ได้ เปลือกก็ได้ ถูเอาเหมือนขุย

    ต้องห่อผ้าขาวเสียก่อน ตัวนี้มันจะกลายเป็นเงื่อน ท่านว่างั้น

    ถ้าเป็นผ้าเก่ามันถึงทน เห็นไหมผ้าของหลวงปู่กินรีท่านถึงทน หนาอยู่ตลอด

    ผ้าท่านแข็ง ถ้าจะเปลี่ยนผ้าบางๆ ท่านไม่เอา หลวงปู่ชาก็บอก “เปลี่ยนก็ได้ แต่ท่านไม่ใช้” อย่างผ้าเก่าท่านก็ปะแล้วปะอีก

    อย่างพระอาจารย์ทูลกับหลวงปู่ชาไปกราบขอท่านทำ (จีวรใหม่ถวาย) เนี่ย ไม่ได้ ท่านไม่ให้ทำ

    (เมื่อย้อมได้ที่แล้ว) ท่านพลิกผ้ากลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้นจนผ้ามันแห้ง

    ไม่งั้นมันผิดพระวินัย ทีนี้พอมันหมาดๆ หลวงปู่กินรีท่านจะบอก

    “เอาไปตากในส้วม ตากในร่ม แล้วค่อยเอาไปตากแดด" เราจะต้องใช้เชือกสองเส้น

    พอผ้าแห้งแล้วเราจะต้องพับเก็บรีดเอาไว้อย่างดี วางไว้ข้างๆ ท่าน ละเอียดมาก

    ทีนี้พอต้มเสร็จเรียบร้อย ก็เทแกนขนุนใส่กระด้งให้มันสะเด็ดน้ำให้แห้ง

    หม้อทองเหลืองเนี่ยต้องขัดให้เงาเหมือนเอาลงมาครั้งแรก เอาขี้เถ้าขัดให้เกลี้ยงเป็นเงาเลยแหละ

    การสรงน้ำ (อาบน้ำ)

    ตอนพระอาจารย์ทูลอยู่กับท่าน ท่านเล่าดังนี้

    เราต้มน้ำไว้เวลาจะสรงท่านนี่เอาน้ำไป น้ำเย็นไว้อย่าพึ่งไปสรงมันไม่ถูกท่านหรอก

    ถ้าไปสรงนี่ท่านจะทำให้ดูเลยเนี่ย จะเอามือจุ่มลงไป ท่านจะให้น้ำร้อนซักหน่อย

    สถานที่ท่านสรงนะ จะเอาไม้มาอ้อม เอากระดานปิด มีประตู ไม่มุงหลังคา

    ที่นี้ตอนท่านแก่ๆ อายุมากนะ ตอนที่ท่านจะทิ้งร่างกายไปแล้ว

    บางทีท่านจะเปลือยกายอาบน้ำนะ ถูสบู่นะ

    แต่เราก็รู้จักนะ เวลาท่านทำอย่างนั้น ท่านจะบอก เอ้า! ไป หมายถึงคือ ไปน่ะ ท่านจะสรงเอง

    พระอาจารย์ทูลเตรียม (เครื่องอาบน้ำ) ไว้แล้ว ก็ออกไปนั่งอยู่ห่างๆ

    แต่ถ้าจะให้เราถูเหงื่อไคลให้ ท่านก็จะนุ่งผ้าขาดๆ นั้นแหละอาบน้ำ

    ถ้าท่านไม่ถูสบู่ท่านก็จะอาบปุ๊บๆ ถูๆ แล้วก็เสร็จ ง่ายๆ

    แต่จะเข้าไปซักผ้ามาตากให้ท่าน บางที่ท่านนั่งเปลือยอยู่ นั้นคือท่านจะอาบเอง

    แต่ถ้าท่านนั่งใส่ผ้าขาดๆ นี่ต้องเตรียมถูหลังให้ท่าน จะถูแรงไม่ได้นะ ท่านบอกท่านเจ็บ

    จะหาสบู่มาถูไม่ได้ หลวงปู่ท่านบอก “เหม็น เหม็น”

    ทั้งที่เราหอมนะ ท่านจะชอบอาบน้ำอุ่น

    แต่ถ้าถึงฤดูหนาวเนี่ยนะท่านจะต้มผักแขยง ไม้อะไรหลายๆ อย่าง ใบหนาด ใบเป้า

    ต้มแล้วต้องเตรียมไว้ให้ท่านอย่างดี กรองไม่ให้มีกาก พอเสร็จแล้วก็ซักผ้า ห้ามบิดนะ อย่าไปทำแรงนะ

    เพราะอยู่กับท่านต้องประหยัดทุกอย่าง ถ้าไปบิดแรงๆให้ท่านเห็นนะ ท่านร้องใส่เลย

    หลวงปู่กินรีบางทีท่านปัดกวาดอยู่ ท่านเห็นผ้า (ก็) ก้มจับดู ท่านบอกว่า "ใช้ได้อยู่"

    หลวงปู่ท่านก็จะสลัดๆ ปัดขี้ฝุ่นหน่อย กลับมาก็เอาผ้านั้นอีก เอามีดมาปาดออก

    ท่านนำเอาไปปะผ้าอาบน้ำของท่านนั้นแหละ แทนที่จะทิ้ง สีไม่ไปด้วยกัน ก็ช่างหัวมัน

    ถ้ามันยังดีอยู่ท่านจะเอามาทำ เข็มท่านที่ห้อยไว้ที่กระป๋องมันขึ้นสนิม

    ผมว่าจะเอาไปทิ้งทีหนึ่งแล้ว แต่ท่านบอกว่าไม่ได้ๆ เอาของใหม่ๆไปแทนนี่ ท่านก็ยังรู้เลย ท่านไม่เอา

    ท่านก็เอาของเก่าๆ เราจะไปแย่งเอาท่านก็บอกว่า “ภาวนา ภาวนา”

    ท่านไม่ให้ไปทำ ท่านบอกภาวนา (หมายถึงให้เราไปภาวนา แทนที่จะมาทำให้ท่าน) ท่านผลักเราหนีเลย ท่านบอกทำเองนะมันไม่สวยหรอก แต่มันใช้ได้

    ปะแล้วปะอีก ผ้าอาบน้ำท่าน สบู่นี้ท่านไม่ถู

    ท่านบอก "อาบน้ำสรงน้ำหนิ" (เรา) ก็ต้มใบเป้า ใบหนาด ใบแขยง ใบมะกรูด แล้วแต่ท่านให้ใส่ลงไป

    สรงไม่มาก กาละมังขนาดนี้แหละ แต่มันต้องมีครุน้ำไว้อันหนึ่ง ครุน้ำเย็น

    ท่านให้คำอธิบายว่า

    “ถ้าเราอาบน้ำร้อนอย่างเดียวเนี่ย ขุมขนมันจะเปิดหมด

    ถ้าอาบน้ำร้อนอย่างเดียวเนี่ยมันจะเหนื่อ ถ้าเอานำเย็นราดเนี่ยมันจะปิดขุนขนหมด

    แต่ว่าถ้าอาบขุมขนเนี่ยมันล้างเหงื่อไคล น้ำร้อนเนี่ยมันจะล้างเหงื่อไคลเราออก สะอาดกว่า แล้วก็เอาน้ำเย็นราด”

    ทีนี้ผมเคยตักน้ำสรงของท่านเนี่ย ผมจะต้องเอาน้ำไปเทใส่บาตร ตามมารยาทลูกศิษย์เขาทำอย่างนั้น

    ท่านว่า “ไม่อาบโปะที่หัวจะมีแรงได้ยังไง” ท่านถาม ท่านก็รีบเอาโผเลย ท่านก็จับเอาข้อมือเราให้โผเอาเลย อย่างน้อยสามขันก่อนท่านถึงให้ถู ผมว่าผมคุ้มที่ผมไปอยู่กับท่าน

    การปฏิบัติ, การทำกิจธุระส่วนตัว

    หลับง่าย ตื่นง่าย ไปไว คล่องแคล่ว นั่งสมาธิไม่นาน เดินจงกรมก็ไม่นาน แต่ทำอยู่ตลอดคืน

    แป๊บเดียว ตื่นขึ้นมาเดินจงกรม หลวงปู่ชาบอกว่าระวังมากๆ เวลาท่านขึ้นเวลานั่ง ท่านเอาหมดไปไว้

    ท่านจะสรงน้ำท่านก็คุกเข่านะ ท่านไม่ยืน ท่านไม่นั่งยอง ท่านคุกเข่า

    เวลาท่านเบา (ปัสสาวะ) นี่เกือบจะไม่มีเสียง กระโถนที่ท่านเบาน่ะก็อยู่ข้างๆ มุ้งนั่นแหละ

    ผมบอก "หลวงปู่ หลวงปู่ไม่ต้องลุกไปห้องน้ำหรอก มันลำบาก"

    “อือ” ท่าน อือ แสดงว่าท่านรับ

    ท่านก็แก่แล้ว เวลาท่านเบา ท่านก็เบาใส่กระโถน

    เวลาท่านเบาเนี่ยเงียบแทบไม่ได้ยิน แต่วันไหนเราสังเกต

    gar-fark.jpg
    วันไหนที่ท่านเบามากๆ ท่านจะไม่ปกติ ท่านพูดเอง “ฉันอะไร เยี่ยวหลาย” ท่านว่างั้น แต่เยี่ยวดี อันนี้ท่านก็ชอบ ต้มเห็ด (ต้นชุมเห็ด?) ท่านว่ามันระบายท้อง มันเป็นยาระบาย

    แต่วิธีท่านต้มท่านบอกเอา (ใบ) ไปอังไฟซะก่อน เจ็ดใบนะ

    ท่านบอก โอ้! น้ำ (ที่ต้ม) มันเหลือง อันนี้ก็ต้องเทไว้ซะสองแก้ว แก้วหนึ่งมาท่านก็จับได้เลย อีกแก้วหนึ่งยังร้อน กินหมดท่านก็หยุดไป ท่านไปจำศีล อีกแก้วหนึ่งก็เทไว้ พอท่านมาข้างหลังท่านก็จับกินได้เลย

    แต่ว่าน้ำท่านจะดื่มมากๆ ตื่นขึ้นมาก็ดื่มแต่น้ำยา พวกกาฝากต้นไม้ พวกฝูงกา จะออกขมๆ สักหน่อย ท่านชอบ

    ยา

    ผู้ฟังถามหลวงพ่อทูลว่า “แล้วท่านเคยถามไหมครับว่ากาฝากมันเป็นยาได้ยังไง”

    หลวงพ่อทูล : ท่านก็ไม่ได้อธิบาย ท่านบอกแต่ว่ามันเป็นยา

    กับอีกอย่างที่ท่านจะชอบ คือเป็น กระโดนเบี้ย แถว จ.เลย บ้านน้ำกล้ำ แถวนั้นเขาจะเอามาให้ท่าน

    ทีนี้ผมเอามาเก็บไว้ให้ท่านอย่างดี ผมเอามาผมจะไปล้างไปอะไร ท่านบอก “หยุด! หยุด!”

    kradone-leaves.jpg
    ผมบอกหลวงปู่ มันไม่สะอาด เอามือลูบๆ เอาขี้ดินน่ะ เคาะๆ มันออก

    ท่านไม่ให้ล้าง เคาะๆ ออกบ้างไม่ออกบ้าง ต้มไปอย่างนั้นแหละ ท่านไม่ให้ล้าง

    ผมจะเอาไปทำให้อย่างดี ท่านบอก ไม่ได้ ไม่ได้ เอามือลูบๆ เข้าไป เคาะๆ เก็บไว้

    แม้แต่ต้มนะ ท่านยังมาจัดให้ดู ผมก็จำไว้ แต่จะเอาตอกมามัดท่านก็ไม่ให้ทำ จะมัดไปทำไม ท่านว่างั้น

    เอาใส่กาต้ม ส่วนมากท่านจะชอบหม้อดิน กาท่านก็ไม่ชอบ รินน้ำออกให้หมด คว่ำหม้อเลยที่นี้ (กาก)ยาก็ไปผึ่งไว้

    วันใหม่มาก็ต้มอันเก่าแหละเก็บไว้ ผึ่งในร่ม ยาท่าน อันนี้ก็ต้มใส่กระติกไว้ตลอดตอนนั้น

    ส่วนมากก็จะออกเป็นรสขมนั้นแหละ ท่านบอกมันดี แต่ดียังไง ท่านก็ไม่ได้อธิบาย บอกแต่ว่ามันดี

    เกร็ดประวัติเรื่องคาถาหลวงปู่

    ตอนหนึ่งหลวงพ่อทูลเล่าว่า

    หลวงพ่อทูล : "....พวก (ที่มาอุปัฏฐากรุ่นเก่าๆ) นี้จะได้คาถาอะไรพวกนี่แหละ พวกคาถาเก่าๆ ของหลวงปู่กินรี"

    ผู้ฟังถามหลวงพ่อทูลว่า “หลวงปู่กินรีท่านมีคาถาเหรอครับ”

    หลวงพ่อทูล : "โอ้! คาถาท่านดี ดีหลายๆ อย่าง สมัยก่อนท่านไปหายาเลยแถวนาแกน้อยออกไปนะ พวกสหายมันยิงนี่เขาว่าลูกปืนมันห่างศีรษะออกมา ท่านเฉยด้วยเลย ท่านคนหูหนวกๆ หูไม่ค่อยดี"

    “หลวงปู่ๆ เขายิง”

    หลวงปู่ท่านถามว่า “อะไร”

    แล้วก็หาบน้ำเดินเข้าไปเรื่อยๆ (พอเห็น) คนที่ไปด้วยนี่นอนหมอบกัน ท่านก็ถามว่า

    “เอ้านอนอะไรกันหนิ”

    ท่านหูไม่ดี ท่านก็บอกว่า “มา มา”

    คนไปด้วยก็บอกว่า “เขายิงกันหลวงปู่ เขายิง”

    ท่านก็ถามว่า “ยิงอะไร”

    ท่านคงไม่ได้ยิน เพราะหูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ผลสุดท้ายก็เลยดึงแขนท่านกลับ บอกว่า

    “กลับ! หลวงปู่ เขายิงกัน เขตเขาไม่ให้เข้ามา” ( หัวเราะ )

    “ อ้าว! ใครห้าม” ท่านว่า

    “จะไปเอาต้นยา มันจะถึงแล้ว” ท่านว่างั้น

    แต่เขาไม่ให้ท่านเข้าไป หลวงปู่ท่านเลยว่า “ โอ้! ” ท่านว่างั้น แต่คนที่ไปกับท่านนี่เกือบตาย ท่านเฉย นี่แหละ มันมีหลายอย่างหลวงปู่กินรี

    ธรรมโอวาท

    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย กลับมาพำนักอยู่สำนักสงฆ์เมธาวิเวก แล้วต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดกันตศิลาวาส แม้ว่าปฏิปทาของหลวงปู่จะไม่นิยมและเผยแผ่พระศาสนาด้วยการเทศนาเชิงโวหารหรือคำพูด หลวงปู่เป็นตัวอย่างของการทำให้ดูปฏิบัติให้เห็นมากกว่า แต่อุบายธรรมคำสั่งสอนของท่านทรงปัญญาและลุ่มลึกมาก เช่น

    - เตือนและให้สติหลวงพ่อชา ผู้เป็นลูกศิษย์ที่จะขอลากลับสู่บ้านเกิดว่า “ระวังให้ดี ถ้าท่านรักใคร คิดถึงใคร เป็นห่วงใคร ผู้นั้นจะให้โทษแก่ท่าน”

    - ให้รักษาศีลให้ดี ทำความเพียรให้มาก มันก็จะรู้เองเห็นเอง เป็นคำสอนที่หลวงปู่บอกกับลูกศิษย์เสมอ

    - สตินี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเราทราบระเบียบวินัยที่มีอยู่มากมายอย่างละเอียดรอบครอบแล้ว และตามรักษาได้อย่างครบถ้วน สติของเราก็จะต่อเนื่องกัน จิตใจก็จักจดจ่ออยู่แน่ในข้อวัตรปฏิบัติของตน ไม่มีโอกาสที่จะแส่ส่ายไปภายนอก ถ้าขาดสติ โอกาสที่จิตใจจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกมันก็มีมากขึ้น และอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงใหลมัวเมาได้ง่ายขึ้น

    - ไม่ควรคลุกคลี ให้อยู่คนเดียวมากๆ สาธยายด้วยตัวเองให้มาก มีจิตใจกำหนดจดจ่ออยู่ในพระธรรมให้มากนี้เป็นการดีที่สุด

    - สังขาร คือ ร่างกาย จิตใจนี้ เป็นของไม่เที่ยง และจะหาสาระแก่สารอะไรมิได้ โดยประการทั้งปวง

    - จะให้ลูกเป็นคนดี ต้องทำดีให้ลูกดู

    - บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์

    - ผู้ขยันในหน้าที่ การงานไม่ประมาท เข้าใจการเลี้ยงชีวิตตามสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้

    - คนโกรธมีวาจาหยาบ

    - วาจาเช่นเดียวกับใจ

    - ธรรมเป็นของแน่นอน แต่รูปเป็นของไม่แน่นอน

    - กิเลสคือตัวมารอันร้ายกาจ แม่น้ำเสมอด้วยความอยากไม่มี

    - ความอยากไม่มีขอบเขต ความอยากย่อมผลักดันให้คนวิ่งวุ่น

    - โลกถูกความอยากนำไป ความอยากเป็นแดนเกิดของความทุกข์

    ปัจฉิมบท

    หลวงปู่มีโรคประจำตัว คือ ไออยู่เป็นนิจ เนื่องจากเกี่ยวกับปอดชื้น แต่ไม่ยอมให้หมอรักษาไม่ว่าท่านจะเป็นอะไร จะอาการหนักหรือไม่หนัก ท่านจะไม่ยอมให้ใครนำตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเด็ดขาด อะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด จนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ ตรงกับวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก หลวงปู่จึงได้ละสังขารจากพวกเราไป สิริรวมอายุได้ ๘๔ ปี ๗ เดือน ๑๖ วัน ๕๘ พรรษา

    bar-1.jpg

    ข้อมูลในการเรียบเรียง :

    ๑. หนังสือแก้วมณีอีสาน : รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ คุณุรัตน์ แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เขียน

    ๒. หลวงปู่กินรี จันทิโย อีกมุมหนึ่งที่ยังไม่ค่อยเปิดเผย ข้อมูลจากลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด

    โพสท์ใน เวบบอร์ด ลานธรรมเสวนา โดย nonsoul เมื่อ : 20/02/2008

    http://larndham.org/index.php?showtopic=30573&st=1#entry482961

    ๓. อานนท์ เนินอุไร. (๒๕๒๗.) รวมภาพชุดและประวัติย่อ ๘๐ พระกรรมฐาน นิตยสาร ธรรมสมาธิ โลกทิพย์ , พิมพ์ที่ ศรีสยามการพิมพ์ , กรุงเทพฯ : หน้า ๑๐๐-๑๐๑

    ๔. กระดานสนทนาเวบ thaijustice โพสท์โดยคุณ PP เมื่อวันที่ 05 มี.ค.54

    http://www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=1715151

    ๕. ประวัติหลวงพ่ออวน ปคุโณ

    พระครูวิเวกพุทธกิจ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล

    พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๕

    รศ.ดร.ปฐม - ภัทรา นิคมานนท์ เรียบเรียง

    ๖. พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

    จัดพิมพ์โดยชมรมพุทธศาสน์ กฟฝ. มิถุนายน ๒๕๔๐

    ๗. ชีวประวัติหลวงพ่อชาส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่กินรี

    http://203.154.140.2/isangate/dhamma/life-09.htm

    ๘. จันทร์กระจ่างฟ้า – จันทิโย

    หลวงปู่กินรี จันทิโย วัดกันตะศิลาวาส บ้านสองคอน อำเภอธาตุพนม

    โดย...อำพล เจน

    http://www.suankhung.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=407474&Ntype=777

    ๙. สุภัททานุสรณ์ ชุดโพธิญาณเถร

    ฉบับพิมพ์ปี ๒๕๑๙

    ๑๐. ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์

    พระญาณวิริยาจารย์ (พระอาจารย์วิริยังค์)

    เจ้าอาวาส วัดธรรมมงคล แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ

    ๑๑. ประวัติและปฏิปทา

    หลวงปู่ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ กนฺตสีโล

    วัดป่าบ้านคุ้ม ต.โคกสว่าง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี

    จากหนังสือ มณีรัตน์ อัญมณีแห่งไพรสณฑ์

    ๑๒. ข่าวสดรายวัน ฉบับที่ 6998 วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 และ

    ฉบับที่ 7129 วันที่ 06 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20

    คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่ : เหรียญหลวงปู่กินรี

    bar-white-lotus-small.jpg

    lp-kinnaree_hist-03.gif
    :- http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-kinnaree/lp-kinnaree_hist-03.htm
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๒๑๓.เปรตบาปในหุบเขา ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    59,139 viewsJul 9, 2021
    เรื่องราววิบากกรรมน่าเวทนา..ของเปรตตนหนึ่งในหุบเขาเขตเมืองมีด
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๒๑๔.อธิษฐานของนาคี ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    นางนาคีทำบุญกับพระผู้ทรงศีลแล้วอธิษฐานเป็นผลสำเร็จ..ด้วยแรงบุญ

    thamnu onprasert
    Jul 17, 2021
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2021
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๒๑๕. พันปีไม่ลืมบุญคุณ ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    Jul 21, 2021
    เรื่องราวความกตัญูกตเวที ข้ามภพชาติ ที่เวียงน้ำคำ เขตรัฐฉานเหนือ
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๙๗. ลี้ลับ ผีกินคน ผจญภัยบนดอยสูง

    เรื่องราวลี้ลับ ที่ส่างอุ่นเปิงได้พบเจอ...ในแดนสนธยา !

    thamnu onprasert
    Jul 25, 2021

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2021
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๒๑๖.ครูบาไก่ป่า ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    Jul 27, 2021

    เรื่องราวของพระสุปฏิปันโนผู้มากด้วยคุณธรรมความเมตตา จนบรรดาไก่ป่ามาห้อมเป็นฝูงๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...