หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    -1024x577.jpg
    เจดีย์หลวงปู่วัง วัดถ้ำชัยมงคล ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ
    “ครั้นเมื่อไปดูที่ถ้ำชัยมงคลก็พบกับสภาพถ้ำที่เสื่อมโทรมเต็มไปด้วยหยากไย่ ใยแมงมุม พระพุทธรูปหลายองค์ที่พระอาจารย์วังปั้นไว้ ได้ถูกคนใจร้ายใจบาปจับกลิ้งไว้กับพื้นก็มี ที่ถูกขุดเจาะทำลายก็มี คนใจร้ายคงค้นหาเหล้กไหลในองค์พระพุทธรูป ยิ่งทำให้หลวงปู่ตองเศร้าสลดใจ
    โอ หนอ…คนเราทำไมมันถึงได้ใจร้ายต่ำทรามถึงเพียงนี้ กล้าทำลายปูชนียวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสนา ไม่เกรงกลัวบาปกรรม นรกมหาอเวจี หลวงปู่ตองได้บอกตัวเองว่า
    “ถ้ำชัยมงคลก็ดี ภูลังกาก็ดีเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จริงๆ จิตสัมผัสทำให้เราขนพองสยองเกล้าอยู่เป็นระยะ ที่นี่เป็นอาศรมสถานปฏิบัติธรรมของครูบาอาจารย์มาตั้งแต่อดีต ไม่สมควรจะปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าเศร้าหมอง เราจะต้องบูรณปฏิสังขรณ์ที่นี่ให้สำเร็จจงได้”

    58373475_2392331207456459_1783443182063714304_o-576x1024.jpg
    เจดีย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดถ้ำชัยมงคล ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ

    วันนั้นหลวงปู่ตองจึงพักค้างคืนในถ้ำชัยมงคล พอเข้าที่นั่งทำสมาธิภาวนาได้ไม่นาน วิญญาณพระอาจารย์วังก็มาหาอีก ลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น นุ่งขาวห่มขาวเหมือนเดิม วิญญาณพระอาจารย์วังพูดว่า อัฐิธาตุของเราที่ตกอยู่กระจัดกระจายนั้น เมื่อท่านได้เก็บรวบรวมไว้แล้ว ก็ให้เอาบรรจุใส่ไว้ในเจดีย์อย่างเดิม ถ้าท่านสงสัยอะไรให้ไปถามพระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) ที่วัดศรีวิชัย บ้านศรีวิชัย อำเภอศรีสงคราม พระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) สมัยเป็นสามเณรเคยอยู่กับเราที่ถ้ำชัยมงคลนี้
    นิมิตภาพพระอาจารย์วังบอกกล่าวแล้วก็เดินออกจากถ้ำหายไป
    หลวงปู่ตองได้เดินทางไปหา พระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) ในวันต่อมา เล่าเรื่องทั้งหมดที่ตนประสบให้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ พระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) ได้ยินแล้วก็พิศวงงงงันไม่อยากจะเชื่อ ตนเองเป็นศิษย์ก้นกุฏิมาตั้งแต่เป็นสามเณรน้อยจนกระทั่งเป็นพระ อายุพรรษาแก่เท่าถึงวันนี้ยังไม่เคยเห็นวิญญาณพระอาจารย์วังมาหาเลย จึงถามว่า “ท่านตองจำรูปร่างหน้าตาพระอาจารย์วังที่เห็นในสมาธิได้แน่รึ ?”
    หลวงปู่ตองตอบว่า.. “ผมจำได้ติดตา”
    พระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) ลุกขึ้นเดินเข้าไปในห้องหยิบเอารูปถ่ายพระอาจารย์วังมาส่งให้หลวงปู่ตองดู ถามว่า “เหมือนรูปนี้ไหม ?”

    -จันทูปโม.jpg
    พระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) วัดศรีวิชัย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
    หลวงปู่ตองได้เห็นรูปถ่ายของพระอาจารย์วังแล้วก็ตะลึง ขนพองสยองเกล้า ถึงกับรีบวางรูปถ่ายลง แล้วกราบรูปถ่ายด้วยความเคารพเลื่อมใส เพราะวิญญาณพระอาจารย์วังที่มาหานั้นเป็นคนๆ เดียวกันกับรูปถ่ายนี้ จึงได้กราบเรียนให้พระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) ทราบตามนั้น พระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) ได้ฟังแล้วก็อัศจรรย์ใจขนลุกไปทั้งตัว เหลียวซ้ายแลขวา เข้าใจไปว่าวิญญาณพระอาจารย์วังจะต้องติดตามหลวงปู่ตองมา ท่านพระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) ได้ร้องว่า “ผมขนลุกไปหมดแล้ว ท่านพระอาจารย์วังอาจจะมาอยู่ในห้องนี้แล้วก็ได้”
    ด้วยเหตุดังกล่าว นี้เองทำให้หลวงปู่ตองเกิดความเลื่อมใส พระอาจารย์วัง มีความเชื่ออย่างปราศจากข้อสงสัยว่า วิญญาณพระอาจารย์วังมีจริง เป็นเทพเจ้าชั้นสูงอยู่พรหมโลก มาวนเวียนอยู่ถ้ำชัยมงคลภูลังกา ด้วยความห่วงใย ดังนั้นหลวงปู่ตองจึงตัดสินใจมาอยู่ถ้ำชัยมงคลด้วยความเต็มใจ เคารพเลื่อมใสในองค์อาจารย์วังอย่างสุดจิตสุดใจทีเดียว
    เมื่อหลวงปู่ตองมาอยู่ที่ถ้ำชัยมงคลภูลังกาในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ท่านก็ได้ทำทางขึ้นไปตามมีตามเกิด พอให้ปีนป่ายโหนต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นไปได้ช่วงไหนที่สูงชันอันตรายหวาดเสียว ก็ทำบันไดไม้พาดไว้อย่างง่ายๆ พอให้ไต่ขึ้นไปได้ ใครที่ร่างกายอ่อนแอขึ้นไม่ได้เลย ขนาดคนหนุ่มๆ ร่างกายแข็งแรงขึ้นไปก็หอบแอกๆ ไม่อยากขึ้นไปอีกเป็นครั้งที่สอง เรียกว่าเข็ดเหมือนตอนแมว แต่หลวงปู่ตองสามารถขึ้นไปได้สบายมาก ทั้งๆ ที่มีอายุได้ ๖๐ ปีเศษแล้ว ร่างกายยังแข็งแรงเหมือนคนหนุ่ม ท่านแบกถุงทรายถุงปูนครั้งละ ๒ – ๓ ถุง ขึ้นไปวันละหลายเที่ยว สร้างเจดีย์สูง ๑๓ เมตร สำหรับบรรจุอัฐิธาตุของพระอาจารย์วังและรูปปั้นพระพุทธรูปหลายองค์
    หลวงปู่ตอง เปิดเผยวิธีการแบกถุงปูนถุงทรายขึ้นภูลังกาว่า ใช้วิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ โดยกำหนดลมหายใจเข้าออกแบบอานาปานสตินั่นเอง เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วร่างกายจะเบาหวิวเหมือนปุยนุ่น สามารถเคลื่อนไหวได้ว่องไว แบกถุงปูนซีเมนต์และถุงทรายขึ้นไปได้สบายๆ
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    วิธีทำตัวเบาของหลวงปู่ตองนี้ฟังแล้วง่ายแต่ทำจริงๆ ยาก เพราะการทำจิตให้เป็นสมาธินั้นไม่ใช่ทำกันได้ทุกคน ต้องเป็นคนมีบุพวาสนาบารมีสนับสนุนถึงจะทำสำเร็จ วิธีทำตัวเบาของหลวงปู่ตองนี้คล้ายกับวิชา “ลูกเบา” ของบรรดาพระกรรมฐานสมัยโบราณคือต้องบริกรรมภาวนาจนจิตนิ่งแน่วเป็นสมาธิ เกิดอาการตัวเบาลอยตัวได้สามารถที่จะลอยตัวขึ้นไปบนต้นกล้วย แล้วเดินเล่นนอนเล่นบนก้านใบตองกล้วยได้ โดยที่ก้านกล้วยไม่หักแต่อย่างใด

    เมื่อขึ้นไปอยู่ถ้ำชัยมงคลภูลังกาแล้ว หลวงปู่ตองก็ลงมือบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ปั้นพระพุทธรูปและซ่อมแซมพระพุทธรูป ซ่อมแซมถ้ำและเพิงผาผุพัง สร้างพระเจดีย์ขึ้นมาใหม่บนยอดเขา เทปูนทำสะพานขนาดเล็กข้ามหุบร่องน้ำลึกแคบให้เชื่อมกับถ้ำ ทำความสะอาดบริเวณเขตสงฆ์

    ความขยันขันแข็งเอาจริงเอาจังกับงาน บูรณปฏิสังขรณ์นี้คงจะ “เข้าตา” สิ่งลึกลับหรือเทพพรหมหรือผีสางเทวดาทั้งหลายที่เฝ้าจับตามองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในวันหนึ่งต่อมาก็ส่ง “ทูต” มาหา เป็นทูตพิเศษที่ไม่ธรรมดา ทูตที่มาหานี้เป็น “งูจงอาง” ขนาดยักษ์สองผัวเมีย ลำตัวใหญ่ขนาดต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่ หรือขนาดโคนขาคนผู้ใหญ่ มีความยาวมากใครเห็นแล้วจะต้องขนหัวลุกตกใจกลัวเป็นลมหรือช็อกตาย

    งูจงอางยักษ์ทั้งสองนี้มาหาหลวงปู่ตองในถ้ำชัยมงคล ขณะที่ท่านทำวัตรสวดมนต์ มันผงกหัวแสดงความเคารพแล้วก็แผ่พังพานยืดลำตัวขึ้น สูงเป็นวาแล้วผงกหัวทำความเคารพอีก จากนั้นก็ขดตัวที่มุมถ้ำไม่ยอมไปไหนมองดูท่านเฉยๆ ไม่แสดงปฏิกิริยาอะไรอีก ท่านรู้ด้วยจิตว่าไม่ใช่งูจงอางธรรมดาเพราะมันใหญ่โตผิดงูจงอางที่เคยเห็น

    แต่เป็น “พญานาค” แปลงร่างมาเป็นงูจงอางยักษ์เพื่อทำหน้าที่อารักขาถ้ำชัยมงคลและเจดีย์ใหญ่ ที่สร้างขึ้นมาใหม่ !

    หลวงปู่ตองเล่าให้ท่านเจ้าคุณราชเมธากรฟังว่า…

    “เขามาแปลก! มาอยู่กับผมในถ้ำ เมื่อถึงเวลาหากินก็พากันเลื้อยออกไปหากินข้างนอกแล้วกลับมานอนในถ้ำ บางวันก็เข้าไปนอนในรูโพรงถ้ำ วันหนึ่งมีญาติโยมขึ้นมาหาผมมีเด็กหนุ่มรุ่นคะนองมาด้วย ๒ – ๓ คน พวกเด็กวัยคะนองวิ่งเล่นที่พลาญหิน แล้วเอาก้อนหินขว้างเล่นลงไปทางหน้าผาบ้าง ขว้างลงไปในหุบเหวป่าไม้บ้างเป็นที่สนุกสนาน ไม่รู้จักกาลเทศะ ไม่รู้ว่าภูลังกาเป็นแดนอาถรรพ์ศักดิ์สิทธิ์ทำให้เจ้าป่าเจ้าเขาโกรธ”
    หลวงปู่ตองเว้นระยะแล้วเล่าต่อว่า..

    “พญางูจงอางยักษ์สองผัวเมีย ได้เลื้อยปราดออกไปจากถ้ำชัยมงคลส่งเสียงร้องอย่างน่ากลัว เลื้อยพล่านไปทั่วพลาญหินบนยอดภูลังกา แผ่พังพานคุกคาม ผมเห็นท่าไม่ดีกลัวมันจะไล่ฉกกัดพวกเด็กๆ จึงได้ร้องห้ามไว้ไม่ให้ทำอันตราย เพราะเด็กวัยคะนองไม่รู้ประสีประสาอะไร

    อัศจรรย์มาก! งูจงอางยักษ์ทั้งสองเชื่อฟังผม ยอมเลื้อยกลับเข้าถ้ำแสดงถึงมันฟังภาษารู้เรื่อง”
    ผู้เขียนได้ นมัสการถามบ้างว่า..
    “พวกเด็กขว้างก้อนหินเล่นมีความผิดอย่างไร?”
    หลวงปู่ตองตอบว่า..

    “ตามหน้าผาก็ดี ตามซอกเขาหรือโตรกผาก็ดี ตามหมู่ไม้ใหญ่น้อยในหุบเหวข้างล่างก็ดี เป็นบ้านเป็นเมืองของชาวบังบดลับแลหรือคนธรรพ์ เป็นบ้านเป็นเมืองของพวกยักษ์หรือรากษสหรืออสูร เป็นบ้านเป็นเมืองของภูติผีปีศาจเปรตอสุรกาย บ้านเมืองหรือภพภูมิของพวกนี้มันสลับซับซ้อน มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นมันซ้อนกันอยู่เหมือนเอากระดาษซับกระดาษซึมมาสักแผ่น หนาๆ แล้วเราเอาน้ำสีต่างๆ หยอดลงไปบนกระดาษซึม สีต่างๆ เหล่านั้นก็จะอยู่รวมกันได้ในกระดาษซึมนั้น ฉันใดก็ฉันนั้น ภูมิภพหรือแดนอยู่อาศัยของพวกวิญญาณก็อยู่กันได้อย่างสลับซับซ้อนเช่นนั้น แหละ เพียงแต่เรามองไม่เห็น แต่ถ้าพวกเขาอยากให้เราเห็น เขาก็จะทำให้เราเห็นได้ เมื่อพวกเด็กขว้างก้อนหินลงไปก็ไปถูกบ้านเรือนของชาวบังบดลับแล เขาก็ไม่พอใจ”

    “หลวงปู่เคยเข้าไปในเมืองลับแลมั้ย?” ถามอีก
    หลวงปู่ตอบว่า..
    “เคยเห็นแต่บ้านเมืองของชาวบังบดลับแลอยู่เสมอ เพราะชาวลับแลเขาเปิดให้เห็น แต่อาตมาไม่ได้เข้าไป”
    “เหตุใดหลวงปู่ไม่เข้าไป”

    “ถ้าเป็นบุคคลอื่นอาจจะอยากเข้าไปเมืองลับแล แต่สำหรับตัวอาตมาแล้วไม่อยากเข้าไปเลย ความรู้สึกลึกๆ ในใจได้เตือนว่า ถ้าตัวเรายังมีภูมิจิตภูมิธรรมน้อยอยู่ หากเข้าไปในเมืองลับแลแล้วอาจจะได้รับภัยอันตรายอย่างลึกลับ”
    “ภัยอันตรายอย่างลึกลับหมายถึงอะไร”
    “พวกลับแลหรือบังบดมาหาอาตมาอยู่บ่อยๆ มักจะมาตอนค่ำมืดแล้ว ถ้าลับแลนุ่งขาวห่มขาว เป็นพวกบวชแล้ว ถือศีล ๑๐ ข้อ เรียกตัวเองว่าดาบสหรือมุนี เป็นนักพรตคล้ายฤาษี
    ถ้าแต่งตัวธรรมดาเหมือนชาวไร่ชาวนา แสดงว่าเป็นพวกลับแลที่ยังทำมาหากินเหมือนชาวบ้านทั่วไป แต่ถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด

    ถ้ารูปร่างสูงใหญ่ผิวคล้ำหรือผิวดำ เป็นพวกพญานาคแปลงตัวมาเป็นมนุษย์ ภพภูมิของพญานาคและภพภูมิของชาวลับแลเขาไปมาหาสู่กันได้

    ถ้าชาวลับแลผิวขาว เป็นอีกเผ่าหนึ่งที่มีบุพกรรมเกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่มีผิวขาว เช่น ภูไท ลาวโซ่ง ชาติจีน ชาติญวน เป็นต้น โลกของชาวลับแลก็คือโลกของวิญญาณหรือโอปาติกะ เมื่อเราเป็นพระประพฤติพรหมจรรย์เข้าไปในโลกของชาวลับแล โอกาสที่จะถูกทดสอบหรือลองของเรื่องพรหมจรรย์มีมาก เป็นต้นว่า เอาลาภสักการะเพชรนิลจินดา สร้อยแหวนเงินทองสมบัติโบราณมาถวาย เอาสาวงามมาคอยปรนนิบัติวัฏฐาก หรือให้แม่ชีสาวๆ สวยๆ มาอยู่ใกล้ชิด เอาสุรายาฝิ่นมาถวาย อะไรๆ เหล่านี้ ถ้าพระเผลอไผลขาดสติไปแตะต้องเข้าโดยไม่รู้ว่าเป็นเหยื่อล่อ ก็จะถูกชาวลับแลลงโทษหมดโอกาสได้กลับออกมา”
    หลวงปู่ตองเล่าต่อไปอีกว่า..

    “พวกบังบดลับแลเคารพนับถือพระภิกษุสงฆ์ ชอบฟังธรรมะ เชื่อในธรรมะ ชอบประพฤติปฏิบัติอยู่ในศีลกินในธรรมะ ไม่อยากได้ทรัพย์สินเงินทอง อยากได้แต่ธรรมะ อยากสำเร็จธรรมะ อยากไปเกิดในภพภูมิสูงๆ ขึ้นไป

    ชาวลับแลพากันขบขันที่มนุษย์ทั้งหลาย อยากได้นั่นอยากได้นี่ อยากรวย อยากสวย อยากมีชื่อเสียงเกียรติยศ อยากใหญ่ อยากดัง อยากมีอายุยืนยาวไม่อยากแก่เฒ่า ชาวลับแลบอกว่าชาวโลกมนุษย์มีกิเลสตัณหาความโลภมากยิ่งนัก หลงใหลยึดถือในสิ่งสมมติ เมื่อตายไปก็เอาอะไรไปด้วยไม่ได้”
    ผู้เขียนได้เรียนถามอีกว่า…

    “กระผมเคยได้ยินได้ฟังมาจากปากของปราชญ์ผู้รู้บางท่าน ได้ให้อรรถาธิบายเรื่องลับแลว่า ชาวลับแลหรือบังบดก็ดี พวกคนธรรพ์ในป่าในถ้ำก็ดี เป็นเทวดาชั้นต่ำสุดอาศัยอยู่บนพื้นดินปะปนกับมนุษย์เรา มีรูปร่างหน้าตาผิวพรรณหยาบเหมือนมนุษย์ ทำมาหาเลี้ยงชีพเหมือนมนุษย์ แต่ถือศีลธรรมเคร่งครัดมาก มีหิริโอตัปปะละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป…วิบากกรรมแต่หนหลังทำให้มาเกิด เป็นพวกลับแลหรือคนธรรพ์ชั้นต่ำ แต่ก็ยังอยู่ภายใต้การปกครองของเทพเจ้าชั้นสูง คือ ท้าวธตรฐมหาราช จอมคนธรรพ์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาโลกมนุษย์อยู่ที่ทิศตะวันออก ไม่ทราบว่าเรื่องนี้จริงหรือเท็จ”
    หลวงปู่ตองตอบว่า..
    “บังบดลับแลเป็นเรื่องลึกลับ อาตมารู้น้อยตอบไม่ได้”

    “ขอถามเรื่องพญานาคอีก”
    “พญานาคมีจริง เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์วิเศษ”
    “หลวงปู่เคยเห็นหรือ?”
    “อ้าว งูจงอางยักษ์สองผัวเมียในถ้ำชัยมงคลนั่นแหละ คือพญานาค”
    “พญางูจงอางยักษ์ทั้งสอง บอกอย่างนั้นหรือ?”
    “เปล่า”
    ”แล้วหลวงปู่รู้ได้อย่างไร?”
    “พวกบังบดลับแลเป็นคนบอกว่า งูจงอางยักษ์สองผัวเมียคู่นั้นเป็นพญานาคอยู่ภูลังกามานานหลายหมื่นปีแล้ว เป็นสหายของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ผู้ล่วงลับมรณภาพไปแล้ว ดวงวิญาณของพระอาจารย์วังได้สั่งให้พญานาคทั้งสองมารักษาถ้ำชัยมงคลและรักษา อาตมา”
    “นอกจากพญานาคทั้งสองที่แปลงร่างเป็นงูจงอางมา หลวงปู่เคยเห็นพญานาคตัวอื่นๆ มั้ย?”

    “เห็นบ่อยไป เป็นงูสีแปลกๆ ตัวใหญ่ก็มีตัวเล็กก็มี มากันเป็นสิบเป็นร้อย เลื้อยเข้าออกถ้ำทุกวัน ที่เลื้อยเล่นเพ่นพ่านตามพลาญหินบนยอดภูลังกาก็มีเยอะ พอค่ำมืดลงพวกเขาก็แปลงเป็นมนุษย์มาสนทนาธรรมด้วย จึงได้รู้ว่าเป็นพญานาค”
    “จะทำอย่างไรจึงจะได้พบเห็นพญานาคและชาวลับแลคนธรรพ์ได้โดยไม่ได้รับอันตราย?” ถามอีก

    หลวงปู่ตองนิ่งอึ้งชั่วขณะ ก่อนตอบว่า..

    “เอ! เรื่องนี้มันไม่ง่ายนะ เป็นเรื่องยากมาก มันมีเหตุปัจจัยสนับสนุนหลายอย่างจึงจะได้ประสบพบเห็น เป็นต้นว่า เคยมีความเกี่ยวข้องผูกพันกันมาในชาติปางก่อน อาจจะเคยเป็นญาติสนิทมิตรสหายกัน อาจจะเคยเป็นบิดามารดาหรือครูบาอาจารย์กันมาในปางก่อน หรืออาจเคยเป็นคู่ครองกัน อาจจะเคยตักบาตรร่วมขันทำบุญร่วมกัน เคยสนับสนุนค้ำชูกันให้เจริญรุ่งเรือง หรืออาจจะมีภาระหน้าที่ผูกพันกันบางอย่าง หรือเป็นศัตรูคู่แค้นจึงจะได้พบกัน”
    “อย่างพระธุดงค์ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัย?”
    “ถูกแล้ว! พระธุดงค์ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยแต่ชาติปางก่อนมาสนับสนุน จึงจะสามารถพบเห็นพญานาคและชาวลับแลได้ ถึงแม้จะเป็นพระธุดงค์ผู้แก่กล้าในฌานสมาบัติ แต่ถ้าไม่มีบุพกรรมเกี่ยวข้องกันมาก่อนก็ไม่มีทางจะได้พบเห็นพญานาคและชาวลับแล สำหรับคนมีบุพกรรมเกี่ยวข้องผูกพันกันนั้น แม้จะเป็นชาวไร่ชาวนาธรรมดาหาเช้ากินค่ำ ก็สามารถพบกับพญานาคและชาวลับแลได้ มีตัวอย่างหลายรายแต่ไม่อยากพูดถึง”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2021
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    -ภูลังกา-ภูลังกา-1024x683.jpg

    ผาสบเป็ด (ผาใจขาด) วัดถ้ำชัยมงคล ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ

    หลวงปู่ตอง วัดถ้ำชัยมงคลภูลังกา มีเรื่องผูกพันกับพญานาคและชาวลับแลอีกมากมายเป็นเรื่องลึกลับมหัศจรรย์ ท่านบอกว่าเล่าให้ใครฟังไม่ได้ เพราะเป็นความลับของฟ้าดิน ขืนเปิดเผยไปจะเกิดอาถรรพ์ฟ้าดินลงโทษเอาได้ง่ายๆ ชนิดคาดไม่ถึง


    อย่างเมื่อไม่นานมานี้ ฟ้าคะนองเกิดพายุถล่มภูลังกา ฟ้าได้ผ่าเปรี้ยงลงมาที่หม้อแปลงไฟฟ้าห่างจากหลวงปู่ตองประมาณสองวา ท่านสลบไปหลายชั่วโมง จีวรถูกไฟไหม้หมดแต่ไม่ตาย กลับฟื้นคืนชีวิตมาได้อย่างน่าอัศจรรย์เหลือเชื่อ!


    หลังจากทีหลวงปู่ตอง ท่านได้บูรณะเจดีิย์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล สำเร็จแล้วท่านได้สร้างศาลาการเปรียญที่วัดถ้ำชัยมงคล ขึ้นอีก ๑ หลัง สิ้นใช้งบประมาณเกือบ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท พอหลวงปู่สร้างศาลาและสิ่งอื่นๆ ได้หมดแล้ว ด้วยหลวงปู่ตอง ท่านเป็นพระที่ไม่ยึดติด จึงคิดจะออกธุดงค์วัตรต่อไป


    ซึ่งขณะนั้นท่านก็ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูสุวรรณ จิตธัมโม หลังจากนั้นท่านจึงได้คืนสมณศักดิ์และหลวงปู่ก็ได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ออกเดินธุดงค์ต่อไปจังหวัดกาฬสินธุิ์ และได้สร้างวัดขึ้นอีกหนึ่งวัด พอวัดแห่งนั้นเจริญขึ้นแล้ว หลวงปู่ตองก็ให้พระลูกวัดรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสแทน


    จากนั้นหลวงปู่ตอง ก็เดินธุดงค์กลับบ้านเกิดเดิมของท่าน พอมาถึงหลวงปู่ก็ได้มาสร้างวัดขึ้นไปที่ภูน้อย บ้านหนองเอี่ยนดง ต.น้ำเที่ยง อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร บนภูน้อยนั้น เป็นภูที่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ น้ำ ไฟก็ไม่มี หลวงปู่ตอง ฐานทินโณ ท่านเป็นพระที่ไม่ยึดติดจึงอยู่ได้ น้ำไม่มีก็ใช้วิธีหาบขึ้นโดยใช้ถังน้ำใส่น้ำหาบ ใส่ไม้ลำใหญ่หาบขึ้นทุกๆ วันช่วงเช้าที่ลงมาบิณฑบาต ขณะที่อยู่ภูน้อย หลวงปู่ตอง ท่านก็ได้สร้างศาลาหลังใหญ่ขึ้น ๒ หลัง และกุฏิอีกกว่า ๑๐ หลัง จนทำให้สำนักสงฆ์ภูน้อยเจริญรุ่งเรือง มีผู้คนรู้จักมาก

    เมื่อหลวงปู่ตอง ฐานทินโณ มีอายุมากขึ้น คือเข้าสู่วัยชรา คณะชาวบ้านที่ศรัทธาในองค์หลวงปู่ จึงกราบนิมนต์ท่านให้ลงจากเขามาอยู่ ณ ป่าช้าที่หมู่บ้านหนองเอี่ยนดง เพื่อความสะดวก แต่หลวงปู่ก็ไม่รับปากที่จะลงมา พอชาวบ้านรบเร้าหลายๆ ครั้งมากจนหลวงปู่ใจอ่อน ท่านจึงได้ลงมาอยู่จำพรรษาที่ป่าช้าหนองคอง เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๙ คณะศรัทธาได้สร้างกุฏิหลังเล็กๆ ให้หลวงปู่ ได้พอพักจำพรรษาอยู่ ๑ หลัง จนออกพรรษา หลวงปู่จึงตัดสินใจอยู่ ณ ป่าช้าหนองคอง ด้วยที่หลวงปู่ตอง ฐานทินโณ อยู่ ณ สถานที่แห่งใด สถานที่แห่งนั้นก็จะเจริญรุ่งเรือง
    ต่อมาชาวบ้านจึงได้ร่วมกันสร้างศาลา สร้างกุฏิ สร้างห้องน้ำให้วัดแห่งนี้เจริญขึ้นมาเรื่อยๆ บนเนื้อที่ ๘๑ ไร่ อยู่ติดท้ายหมู่บ้านหนองเอี่ยนดง ต.น้ำเที่ยง อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    51513443_322314095068538_9103373536822558720_n.jpg
    หลวงปู่ตอง ฐานทินโน วัดป่าดาลเทพมงคล

    ภายหลัง ลวงปู่ตอง ฐานทินโณ ท่านได้กลับคืนสู่ วัดป่าดาลเทพมงคล บ้านโนนสวนปอ อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ

    หลวงปู่ตอง ฐานทินโณ ท่านได้มรณภาพลงอย่างสงบ ณ วัดป่าดาลเทพมงคล เวลา ๑๐.๓๕ น. วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สิริอายุได้ ๘๘ ปี

    91231810_146613376861499_7232336098779725824_n.jpg
    สรีระ หลวงปู่ตอง ฐานทินโน วัดป่าดาลเทพมงคล

    51168215_322314128401868_8958966230841032704_n.jpg
    เกสา หลวงปู่ตอง ฐานทินโน วัดป่าดาลเทพมงคล

    -หลวงปู่ตอง-1024x773.jpg
    เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ตอง (พระครูสุวรรณ จิตธัมโม) วัดถ้ำชัยมงคลภูลังกา ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ
    ..................................................
    ขอบคุณที่มา :- https://www.108prageji.com/หลวงปู่ตอง-ฐานทินโณ/
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๒๒๖. วิบากรรมเณรเฮือง ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    Oct 13, 2021
    พระภิกษุหนุ่มจากเมืองไทย ช่วยชี้ทางแก้วิบากกรรมให้เจ้าส่างเฮือง ที่วัดนาเติง เขตเวียงเงิน.


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2022
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    lpboonta.jpg
    ประวัติหลวงปู่บุญตา วิสุทธสีโล วัดคลองเกตุ
    โดย Nattapon Vetchayangkoon เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม 2014 เวลา 20:48 น.
    พระครูสิริธัชสมาจารย์(หลวงปู่บุญตา วิสุทธสีโล) วัดคลองเกตุ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี
    มีนามเดิมว่า บุญตา นามสกุล พาซื่อ โยมบิดาชื่อ นายอุด โยมมารดาชื่อ นางทุม พาซื่อ
    เกิดที่บ้านโนนสะคาม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2449
    ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4 ท่าน คือ
    1. นายอ้วน พาซื่อ
    2. นายรุณ พาซื่อ
    3. นางลา พาซื่อ
    4. หลวงปู่บุญตา วิสุทธสีโล
    เมื่ออายุได้ 3 ขวบ บิดาย้ายถิ่นฐานไปอยู่บ้านพระเสาร์ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
    ชีวิตในวัยเยาว์อายุ 12 ปี ได้ศึกษาภาษาไทย ณ วัดพระเสาร์ จนถึงชั้น ป. 3 จึงออกมาช่วยบิดามารดาทำนา
    จนกระทั่งอายุ 16 ปี บิดามารดาพาย้ายถิ่นฐานไปอยู่บ้านจาน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
    และได้ย้ายไปอยู่บ้านหนองมะนาว ต.ขอนแก่น อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์
    จนอายุได้ 23 ปี มารดาก็เสียชีวิต ท่านจึงได้บวชหน้าไฟเพื่อทดแทนคุณมารดา
    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2472 ที่วัดหนองม้า ต.หนองฮะ อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์
    โดยมีพระอธิการกลัด เจ้าอาวาสวัดสะเม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์กา วัดสะเม็ด เป็นพระกรรมวาจา
    พระอธิการเผือ วัดบ้านเครือ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ท่านได้รับฉายาว่า "วิสุทธสีโล" แปลว่า "ผู้มีศีลอันบริสุทธิ์"
    เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์กลัด พระอุปัชฌาย์ในวัดสะเม็ด
    ได้เริ่มเรียนการปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างจริงจังกับผู้เป็นอุปัชฌาย์
    พร้อมกับเรียนพระปริยัติธรรมควบคู่ไปด้วยและก็สอบได้นักธรรมชั้นตรีในพรรษาแรก
    เมื่อจิตใจพึงพอใจอยู่กับความสงบประกอบกับหลวงปู่ท่านได้สมาธิแล้ว
    ก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายที่จะต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อมแห่งผู้คน
    จึงขออนุญาตพระอาจารย์กลัดแสวงหาครูบาอาจารย์สอนวิชา
    โดยไปจำพรรษาที่วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์
    เพราะทราบว่ามีครูบาอาจารย์ดีในวัดหลายองค์
    ท่านจึงได้ศึกษาวิชาต่างๆ หลายแขนงทั้งทางด้านปฏิบัติธรรม ด้านคาถาอาคม
    ไสยศาสตร์ แต่เนื่องจากวิชาอาคมต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นภาษาขอมท่านจึงคิดที่หาที่เรียนภาษาขอม
    จึงเดินทางไปยังวัดเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
    เรียนภาษาบาลีและอักขระขอม ใช้เวลาเรียนอยู่ 4 ปีเต็มจนแตกฉานในภาษาบาลีและอักขระขอม
    จบแล้วจึงไปจำพรรษาที่วัดพระเสาร์เป็นเวลา 3 พรรษา
    และท่านก็ปรารถนาจะกราบนมัสการพระธาตุพนม ซึ่งไม่เคยไปมาก่อน
    ท่านจึงออกเดินทางธุดงค์ไปยังวัดพระธาตุพนม ค่ำไหนก็ปักกลดที่นั่น
    ทำการสำรวจจิตใจด้วยตนเอง ทบทวนด้วยเรื่องของสังขารอยู่ในป่าทึบ
    จนกระทั่งถึงวัดพระธาตุพนม และอยู่ที่วัดพระธาตุพนม 7 วัน
    จากนั้นออกธุดงค์ต่อไปทางจังหวัดเชียงใหม่ไปพักอยู่วัดอุโมงค์
    เป็นวัดที่พระชาวศรีลังกามาสอนธรรมะ
    ท่านอยู่ที่นั่น 15 วัน ก็ธุดงค์ต่อไปทั่วภาคเหนือและภาคอิสาน
    ปี พ.ศ. 2474 หลวงปู่เดินธุดงค์อยู่เชียงใหม่
    ท่านทราบว่าเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แสดงธรรมอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง
    ท่านดีใจมากที่จะได้พบพระสุปฏิปันโน
    และท่านก็ได้รับความเมตตาชี้แนะแนวทางธรรม
    หลังจากนั้นท่านจึงธุดงค์ไปวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเสาร์ กันตสีโล
    ซึ่งหลวงพ่อเสาร์ ท่านเชี่ยวชาญเรื่องปัฏฐวีกสิณ เตโชกสิณ อาโปกสิณ และวาโยกสิณ
    หลวงพ่อเสาร์ท่านได้เมตตาสอนปัฏฐวีกสิณให้
    โดยนำดินมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ ขนาดเท่าหม้อใหญ่และขนาดขันน้ำ โดยมองให้เห็นอยู่อย่างนั้น
    แล้วลืมตามาเพ่งใหม่คือ การเพ่งดินเป็นอารมณ์ และในการฝึกนั้นจะมีพระมหาปิ่น ปญฺญาธโร
    และพระอาจารย์สิงห์ ขันตคยาโม เป็นผู้เข้มงวดในการฝึก
    จนกระทั่งหลวงปู่บุญตา เข้าถึงปฐวีกสิณอย่างรวดเร็วกว่าศิษย์ท่านอื่นๆ
    จากนั้นท่านจึงกราบลาหลวงพ่อเสาร์ และพระมหาปิ่น ธุดงค์มาทางจังหวัดลพบุรี
    และมาพักอยู่วัดพรหมมาสตร์ มาอยู่กับหลวงพ่อพุทธวรญาณได้ศึกษาธรรมะอยู่ 1 พรรษา
    จากนั้นจึงเดินทางเข้าไปกรุงเทพฯ ไปอยู่วัดมหาธาตุ
    พร้อมกับปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานกับพระเทพสิทธิมุนี ภาวนายุบหนอ พองหนอ
    เพ่งสติให้เป็นมหาสติปัฏฐาน ปฏิบัติได้ 2 เดือนเศษก็มีความชำนาญและช่ำชองอย่างรวดเร็ว
    ออกจากวัดมหาธาตุ ย้อนกลับไปยังจังหวัดนครสวรรค์
    ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเดิม พุทธสโร แห่งวัดหนองโพ ได้ศึกษาวิชากับหลวงพ่อเดิมหลายอย่าง
    เช่น การสร้างมีดหมอเทพศาสตราตามตำรับเดิมแท้ ฯลฯ
    และท่านได้ไปเรียนวิชากับหลวงพ่อทองวัดเขากบ ซึ่งท่านมีชื่อเสียงในการเล่นแร่แปรธาตุ
    จากนั้นได้เข้าศึกษาพระธรรมที่วัดศรีษะเมือง หรือวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีชื่อเสียงทางปริยัติธรรม
    หลวงปู่บุญตาจึงได้ศึกษาจนสำเร็จนักธรรมชั้นโทและนักธรรมชั้นเอก
    ท่านอยู่ที่ในนครสวรรค์ 4 พรรษา จากนั้นก็กลับมาลพบุรี มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองบัว ต.คลองเกตุ
    อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ในปี 2483
    ท่านอยู่ที่วัดหนองบัว 3 พรรษา จากนั้นจึงกลับไปเยี่ยมภูมิลำเนาเกิด โดยไปจำพรรษาที่วัดพระเสาร์
    เป็นเวลา 3 พรรษา จากนั้นก็กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวอีกครั้งหนึ่ง
    ในการอยู่วัดหนองบัวท่านก็ได้โน้มน้าวจิตใจของญาติโยมเข้าวัดปฏิบัติธรรม
    ควบคู่ไปกลับการสอนปริยัติธรรมให้กับพระภิกษุสามเณร
    รวมทั้งเป็นที่พึ่งของญาติโยมในภาวะเจ็บไข้ท่านก็ใช้พลังอำนาจทางจิตทำการรักษา
    รวมทั้งผู้ที่ถูกคุณไสยมนต์ดำ หลวงปู่สยบมาแล้วทั้งนั้น
    ชื่อเสียงด้านการสอนธรรมะและปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ ทำให้ผู้ใหญ่ระดับสูงในอำเภอโคกสำโรง
    อาราธนานิมนต์ไปยังอารามแห่งใหม่
    ท่านอยู่วัดหนองบัวครั้งหลัง 3 พรรษา ปี 2492 ก็ได้รับคำสั่งให้ไปปกครองวัดสิงห์คูยาง
    ซึ่งอยู่ใจกลางชุมชนตลาดอำเภอโคกสำโรง ท่านพัฒนาวัดสิงห์คูยาง จนก้าวหน้า
    และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระครูสังฆรักษ์บุญตา พระฐานานุกรมของพระกิตติญาณมุนี
    (พระพุทธวรญาณ) เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี รวมระยะเวลาปกครองวัดสิงห์คูยาง 23 พรรษา
    ขณะที่ท่านพำนักอยู่วัดสิงห์คูยางนั้นท่านเดินทางสู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
    เพื่อขอรับการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวทางของพระธรรมธีราชมุนี (โชดกญาณสิทธิ ป.ธ.9)
    ในรุ่นที่ 3 และได้รับการยกย่องจากพระเดชพระคุณ พระพิมลปัญญาว่า เป็นพระวิปัสสนาจารย์ชั้นเยี่ยม
    เพราะเข้าสมาธิได้เป็นที่ 1 สามารถทำให้ร่างกายไม่ไหวติงนานนับ ถึง 1 วัน 1 คืน
    ถึงขั้นมีผู้ทดสอบยกร่างของท่านจากที่เดิมไปที่แห่งใหม่ โดยที่ท่านั่งของท่านยังคงเดิมไม่ไหวติง
    เพราะหลวงปู่ท่านเข้าถึงสภาวะจิตขั้นสูงแล้ว
    วัดคลองเกตุ ต.คลองเกตุ อ.โคกสำโรง ถึงยุคเสื่อมโทรมร้างเจ้าอาวาส
    ชาวบ้านตำบลคลองเกตุได้พร้อมใจกันไปขอร้องท่านผู้ใหญ่ในอำเภอ
    ขออาราธนานิมนต์ไปปกครองวัดคลองเกตุไปเป็นหลักของชาวบ้านคลองเกตุ
    เพราะความศรัทธาที่มีต่อท่านตั้งแต่ครั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัว ซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกัน
    คณะสงฆ์ผู้ใหญ่ได้สอบถามหลวงปู่ หลวงปู่ก็ตอบตกลงเพราะว่าวัดสิงห์คูยางเจริญแล้ว
    และอยู่กลางอำเภอ และเห็นว่าวัดคลองเกตุเงียบสงบ
    เหมาะแก่การเจริญภาวนา ปฏิบัติธรรม ท่านจึงตอบตกลงทันที
    วันที่ 25 มกราคม 2514 ขบวนชาวบ้านคลองเกตุ ได้จัดขบวนไปรับหลวงปู่ถึงวัดสิงห์คูยาง
    เพื่อไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคลองเกตุ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    หลวงปู่ท่านก็ได้ไปบริหารจัดการและพัฒนาจนเจริญก้าวหน้าจนเป็นวัดคลองเกตุในปัจจุบัน
    หลวงปู่บุญตาท่านมีความช่ำชองในการเพ่งกสิณไฟเป็นพิเศษ
    ถึงขนาดที่กำหนดจิตเสกพระให้แก่ผู้ศรัทธาเพียงชั่วอึดใจ
    พระที่ท่านเสกให้ถึงกับร้อนจัดขึ้นทันที
    และที่น่าอัศจรรย์คือมีผู้ห้อยพระของท่านถูกฟ้าผ่า แต่รอดตายได้อย่างปาฏิหารย์
    วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่น ประสบการณ์เพียบ....เรื่องแคล้วคลาด ปลอดภัย โชคลาภ
    มีพูดคุยปากต่อปากของลูกศิษย์ของท่านไม่ขาดปากตลอดจนถึงปัจจุบันนี้
    และวัตถุมงคลของท่านไม่มีวางให้เห็นตามแผงพระทั่วไป เพราะลูกศิษย์เห็นจะเก็บไว้หมด
    นานๆ ทีจึงจะเห็นวัตถุมงคลของท่านออกมาให้เห็นตามตลาดพระบ้าง
    กสิณไฟเหนือฟ้า วาจาสิทธิ์
    ลูกศิษย์ของหลวงพ่อบุญตา ทั้งใกล้และไกลได้ประจักษ์ถึงคุณวิเศษของท่านคือ วาจาสิทธิ์
    ถ้อยคำที่ท่านพูดออกไปนั้นมักเป็นความจริงเสมอ จนได้รับการยกย่องว่า หลวงปู่บุญตาวาจาสิทธิ์
    หลวงปู่ท่านเป็นพระกัมมัฏฐานที่มีจิตใจสะอาดมองโลกในงแง่ดีเสมอ
    กายวาจาและจิตใจของท่านบริสุทธิ์จริงไม่มีการพลั้งเผลอขาดสติ
    จิตใจแน่วแน่อยู่ในพุทธคุณ วาจาที่กล่าวออกมาจึงบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์
    เป็นที่รู้กันไม่ว่าหลวงปู่จะพูดอะไรก็เป็นไปอย่างนั้น จะทักใครให้อยู่ดีมีความสุข
    คนนั้นก็จะเป็นไปตามที่หลวงปู่พูด คนเกเรข่มเหงไม่ว่าผู้เฒ่าผู้เฒ่าผู้แก่ระรานเขาไปทั่ว
    เมื่อหลวงปู่ทราบก็จะสั่งสอนให้กลับเนื้อกลับตัวเสียใหม่
    ให้ปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามก่อนจะสาย หากคนนั้นรับปากแล้วไม่กระทำตามหรือดูหมิ่น
    ในคำสอนของหลวงปู่ก็จะต้องได้รับความวิบัติจนถึงหายนะไปในที่สุดดังที่ประจักษ์กันมาแล้ว
    คำพูดของท่านที่ลูกศิษย์ได้ยินเสมอคือ ช่างเขาเถอะ
    หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่ให้เสมอ ผู้ใดขออะไร ท่านก็มีแต่ให้ ท่านมักพูดน้อย
    วาจาไพเราะ ผิวพรรณผ่องใสงดงาม ผู้ที่เข้ามากราบท่าน พบท่านแล้วจะเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง
    สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของท่านก็คือ การเพิ่มพลังกำลังใจให้แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก
    หรือที่ภาษาของชาวบ้านเรียกว่า ต่ออายุหรือต่อชะตา
    ชาวบ้านใกล้ไกลจะมาให้ท่านสงเคราะห์อยู่อย่างสม่ำเสมอ คนป่วยที่ว่าไม่น่ารอด
    ไปหาหมอไหนๆ ก็ส่ายหน้า แต่ถ้ามากราบนิมนต์ให้ท่านทำหรือแนะนำให้ไปปฏิบัติ
    ก็จะหายจากอาการที่เป็นอยู่ และจะดีขึ้นในวันต่อมา เป็นความมหัศจรรย์จริงๆ
    หลวงปู่ท่านจะอบรมสั่งสอนให้ศิษย์เป็นคนดีหนีทุกข์ยากได้สำเร็จ
    ดั่งคำพูดของท่านว่า "อาตมาเป็นพระภิกษุสงฆ์ บวชแล้วได้อาศัยอาหารของชาวบ้าน
    เลี้ยงตัวตนจึงนับด้วยพระคุณ ดุจทองคำอันมีค่า
    แต่ยังด้อยกว่าข้าวเพียงหนึ่งคำที่ฉันผ่านลำคอ
    ดังนั้น แม้เวลาใดขณะใดญาติโยมมาหา อาตมาก็ต้องต้อนรับขับสู้ด้วยจิตที่มีเมตตายินดี"
    หลวงปู่ท่านได้เมตตาอบรมความคิดคติธรรมคำพรประสิทธิ์แด่ลูกศิษย์ ดังนี้
    1. ให้ทำความสงบทางจิตใจ
    2. ให้ขยันหมั่นเพียร
    3. อย่าเกียจคร้านให้สร้างเนื้อสร้างตัวโดยเร็ว
    4. ให้ทำตัวเป็นคนดี จะได้หลุดพ้นความยากจนและความทุกข์
    5. มีให้เกินใช้ มีมากใช้น้อย
    6. ได้ให้เกินเสีย คือทำงานมีเงินควรเก็บไว้แต่เวลาใช้ก็อย่าใช้มากให้ประหยัด
    7. คบเพื่อนที่ดี เพื่อนที่แนะนำไปในทางที่ดี
    8. สวดมนต์ภาวนา สร้างกุศลเพื่อหลุดพ้นภพชาติ
    ขอให้ญาติโยมทุกคนหมั่นเจริญภาวนาหาเหตุผลแยกแยะความดีความชั่ว
    ดูให้ออกมองให้เห็นและหมั่นทำความดีรักษาศีล เจริญธรรม
    ชีวิตที่อับเฉาของญาติโยมก็จะดีขึ้นมีความสุขขึ้น
    เพราะพระธรรมย่อมนำความสุขสงบความร่มเย็นมาให้
    สมัยก่อนมีลูกศิษย์ได้ถามหลวงปู่บุญตาว่า ทำไมฟ้าจึงผ่าคนแล้วไม่ตายครับ
    หลวงปู่ตอบว่า ฟ้าคงจะทดลองบุญบารมีเขากระมัง
    ลูกศิษย์ท่านนั้นก็ถามว่า ทดลองบารมีใครหรือครับ
    หลวงปู่ตอบกลับไปว่า ลองสวดมนต์บ่อยๆ นั่งกัมมัฏฐานเรื่อยๆ นะ เดี๋ยวก็จะรู้เอง
    ลูกศิษย์คนนั้นก็ได้แต่รับปากว่า...ครับ...หลวงปู่...
    :- MEDIA=facebook]1525983124315132[/MEDIA
    * ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ รวมศิริอายุ ๙๓ปี ๒๒วัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2021
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ศึกประลองกสิณไฟ ระหว่างหลวงพ่อกัสสปมุนีกับมหาฤาษีแห่งอินเดีย// ปู่ดอน station

    ปู่ดอน station
    133,749 viewsOct 9, 2021
    หลวงพ่อกัสสปมุนี พระอริยสงฆ์ผู้ทรงฤทธิ์ เมื่อครั้งที่ท่านได้จาริกไปบำเพ็ญภาวนา ณ ดินแดนแห่งฤาษี เมืองฤาษีเกษ ประเทศอินเดีย ท่านได้ถูกมหาฤาษีผู้เป็นใหญ่เชื้อเชิญให้ไปหา แล้วมหาฤาษีนั้นก็จู่โจมท่านด้วยกสิณไฟ เป็นเหตุให้ท่านต้องสำแดงฤทธานุภาพออกมา มิเช่นนั้นก็จะอยู่ยาก เขาจะดูหมิ่นศาสนาพุทธได้..

     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    หลวงปู่ภูพาน-พระอาจารย์เจนยุทธนา-จิรยุทฺโธ-760x1024.jpg
    (วัยหนุ่ม)
    หลวงปู่ภูพาน พระอาจารย์เจนยุทธนา จิรยุทฺโธ วัดโนนสวรรค์ (ภูดินแดง) อ.เมือง จ.สกลนคร
    03 พ.ย. 2020
    ประวัติ หลวงปู่ภูพาน พระอาจารย์เจนยุทธนา จิรยุทฺโธ วัดโนนสวรรค์ (ภูดินแดง) บ้านโนนสวรรค์ ต.พังขว้าง อ.เมือง จ.สกลนคร
    หลวงปู่ภูพาน เป็นนาม ธรรมของวิญญาณนักพรตดวงหนึ่ง ที่มีพันธะภาระทางใจกับ พระอาจารย์เจนยุทธนา จิรยุทโธ
    พระเจนยุทธนา จิรยุทโธ ได้เล่าความหลังที่ท่านมีส่วนเกี่ยวข้องกับความลี้ลับนี้ว่า
    “ความเป็นจริงในเรื่องนี้ จะว่าอาตมาระลึกชาติได้ก็ไม่เชิงนัก เพราะอาตมาได้รู้เรื่องราวเหล่านี้ จากนิมิต (ความฝัน) และเคยพิสูจน์โดยการทําความไม่ยอมเชื่อนิมิตนั้นหลายครั้ง ก็เกือบแย่อยู่ทุกครั้งไป
    นามของหลวงปู่ภูพานชาญฤทธิ์ เป็นนามธรรมในปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นวิญญาณดวงหนึ่ง เมื่อสมัยอดีตชาติเกิดเป็นพระภิกษุสงฆ์ มีนามว่า หลวงปู่รุ้งศิลา
    ส่วนอาตมานี้ ท่านว่าเคยเป็นศิษย์ผู้ติดตามท่าน กลับมาในชาตินี้ อาตมาชื่อเจนยุทธนา แต่พวกชาวบ้านเขาเรียกตามนามนิมิต ว่า หลวงปู่ภูพาน คือเรียกชื่อของ ดวงวิญญาณผู้เข้ามาอาศัยร่างของอาตมาเพื่อบําเพ็ญสมณธรรม เท่านั้น”
    พระอาจารย์เจนยุทธนา จิรยุทโธ ท่านมีนามเดิมว่า เจนยุทธนา เดชอุ้ย วันที่ท่านเกิดนั้น มารดากําลังเตรียมสิ่งของเพื่อจะไปเวียนเทียนเนื่องในวันเข้าพรรษา ตรงกับ วันอังคารที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ปีกุน ณ จังหวัดชัยภูมิ
    บิดาชื่อ นายเจน เดชจุ้ย มารดาชื่อ นางศรีสะอาด เดชจุ้ย
    สมัยเป็นเด็ก ท่านเป็นบุคคลเลี้ยงยาก อาการเจ็บป่วยไม่ทุเลาลงเลย ๓ วันดี ๔ วันไข้ หมุนเวียนเปลี่ยนไปอย่างน่าเบื่อหน่าย เวลาเจ็บป่วยขึ้นมาแต่ละครั้ง ก็เกือบต้องเสียชีวิตหลายคราวเช่นเดียวกัน
    ความอ่อนแอขี้โรค มารดาจึงนําไปยกให้เป็นลูกพระ ซึ่งถือเป็นประเพณีประจําท้องถิ่น พระที่กล่าวมานี้ เป็นพระพุทธรูปประธาน (หลวงพ่อพระองค์แสน) ในพระวิหารพระธาตุเชิงชุม
    ภายหลังจากยกให้เป็นลูกพระแล้ว ท่านผู้เป็นบิดามารดาได้แต่งขันธ์ ๕ ให้ เด็กชายเจนยุทธนา นํามาถวายอยู่เป็นประจํามิเคยขาด จะเป็นด้วยอํานาจของพระ พุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพิ่มพูนบุญบารมีก็ไม่ทราบได้ หรือว่าท่านเป็นลูกของพระกระมัง ทําให้โรคภัยไข้เจ็บที่เคยมาเบียดเบียนอยู่เป็นประจําตัว เกิดหายไปอย่างน่าอัศจรรย์
    สิ่งลี้ลับ…หลวงปู่ภูพาน ในอดีตได้มาเข้าฝัน โดยมีใจความ ว่า… “อาตมาเคยเป็นอาจารย์ของหนูมาก่อน เราสองคนเคยเป็นอาจารย์-ศิษย์ต่อกันตั้งแต่ชาติปาง ก่อน”
    หลวงปู่ภูพาน หรือ หลวงปู่รุ้งศิลา ได้มาเข้าฝัน พระเจนยุทธนา (สมัยเด็ก) เพื่อกําชับให้บวชเรียนเสียในที่สุด ความฝันมีใจความว่า
    “หนูเตรียมตัวได้แล้ว อาตมาจะได้พาหนูไปหาสัจธรรม หาข้อวัตรปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติ ภาวนานี้ หนูเคยได้รับการปฏิบัติ เป็นครั้งคราวมาแล้ว หนูจงตัดสินใจมาปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาได้เลย เมื่อนั้นหนูจะได้รู้แจ้งเห็น จริงในหลักธรรมของพระพุทธเจ้า”
    ความฝันนี้ พระเจนยุทธนา สมัยเป็นเด็ก ปรากฏว่าชีวิตของท่านหันเหเข้าสู่ทางธรรมได้อย่าง เด็ดขาด
    ครั้นอายุได้ ๑๖ ปี บิดามารดา ได้จัดการให้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดแก้งกะอาม อําเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยท่านหลวงปู่สังข์ เป็นพระอุปัชฌาย์
    เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว สามเณรยุทธนา หรือ หลวงปู่ภูพานชาญฤทธิ์ ได้ออกบําเพ็ญสมณธรรม ท่องเที่ยวไปในป่าดง พงไพร อาศัยเทือกเขาภูพานเป็นสถานที่เจริญภาวนาธรรม ในช่วงระยะแรก ๆ ท่านเป็นสามเณรที่ อายุยังน้อย ขณะความมืดเริ่มโรย ตัวลงทําให้จิตใจของสามเณรเจนยุทธนา เกิดความหวาดกลัว อย่างหนัก
    ท่านเล่าว่า “ความกลัวนี้มัน มาจากที่ใดก็ไม่รู้…มันมีอํานาจเหลือเกิน จนทําให้จิตใจไร้ขอบเขต นั่งตัวสั่นดังเป็นไข้ เหงื่อกาฬ เปียกโชกจีวรเหมือนเอาน้ํามาราดใส่ ร่างกายเย็นเฉียบเหมือนคน ตายแล้ว
    อาตมาต่อสู้อย่างหนัก ในที่สุดก็สามารถชนะความหวาดกลัวนั้นได้ ด้วยการพิจารณาหามูลความจริง…”
    สามเณรเจนยุทธนา หรือที่ ชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงปู่ภูพานชาญฤทธิ์ องค์นี้ ก่อนที่จะอุปสมบท เจ้าหน้าที่สํานักพระราชวังประจําพระตําหนักภูพานราชนิเวศน์ ได้ ทําเรื่องเข้ากราบบังคมทูลต่อในหลวงให้ทรงทราบ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์อุปสมบทให้ ณ พัทธสีมา วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
    ได้รับฉายาว่า “ฉันทธัมโมภิกขุ” โดยมี ท่านเจ้าคุณพระเทพวิมลเมธี เป็นพระอุปัชฌาย์ ในสังกัดพระมหานิกาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2021
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    ต่อมาท่านได้มีโอกาสเข้า กราบทูลสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ ได้รับพระโอวาทจากพระองค์ท่าน บังเกิดความเชื่อมั่น และมีกําลังใจที่จะปฏิบัติธรรมต่อไป
    ภายหลังจากเวลาผ่านไป ๔ พรรษา ท่านพระอาจารย์เจนยุทธนา หรือ หลวงปู่ภูพาน ได้รับเมตตาจากสมเด็จพระสังฆราช เปลี่ยนญัตติใหม่เป็นคณะธรรมยุต

    โดย สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระอุปัชฌาย์ พระราชสิทธิโมลี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านเจ้าคุณมหาคณิสร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายาใหม่ว่า จิรยุทโธ และได้อยู่จําพรรษาที่วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ เพื่อสนองพระเมตตาคุณ ต่อพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ทั้งยังได้อุปัฏฐากตามแก่กาลนั้นตลอดมา

    พระอาจารย์เจนยุทธนา จิรยุทโธ ท่านได้ตั้งสํานักปฏิบัติธรรม หลวงปู่ภูพานสุวรรณบรรพต มรกตวนาราม อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

    นอกพรรษา ท่านจะเดินทางไปพํานัก ณ สถานที่แห่งนี้ เพื่อบําเพ็ญสมณธรรม ปฏิบัติตน ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นแนวทางดําเนินจิตให้เข้าถึงโลกุตรธรรม

    ส่วนระหว่างเข้าพรรษา ท่านจะเดินทางมาอยู่จําพรรษา ณ วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ เพื่อ รับสนองพระเมตตาและพระกรุณา คุณแด่สมเด็จพระสังฆราช ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ทุกปี

    ปัจจุบันนี้ สํานักปฏิบัติธรรม หลวงปู่ภูพาน ได้เปิดรับคณะผู้ ใคร่ในทางประพฤติปฏิบัติพระ กรรมฐานอยู่เป็นประจํา ซึ่งจะมีชาวกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ นําหมู่คณะไปแสวงหาความวิเวกทางใจ หลบความจําเจ ความวุ่น วายใจ ไปอยู่ป่าดง ซึ่งมีเงื้อมผา ถ้ํา หลืบหิน ที่ยื่นออกมา ทําสมาธิ ภาวนาหาความสงบในจิตใจเพิ่ม ขึ้นทุกวัน
    :- https://www.108prageji.com/หลวงปู่ภูพาน-พระอาจารย์/
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    lp-sama.jpg
    ประวัติหลวงปู่ซามา อาจุตฺโต
    วัดป่าอัมพวัน อำเภอเมือง จังหวัดเลย
    ข้อมูลจาก http://www.thavorn.net/techer/teacher/teacher4.htm
    หลวงปู่ซามา ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่มีความเชื่อในตัวเอง และรับฟังครูบาอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนนั้นด้วยความศรัทธายิ่งครูบาอาจารย์ที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเคยได้อยู่ใกล้ชิดปฏิบัติธรรมอยู่เสมอๆ เช่น...หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ศรีจันทร์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่คำดีการที่หลวงปู่ออกติดตามหลวงปู่มั่นไปทางภาคเหนือนั้น ก็เพื่อหวังธรรมเทศนาและอุบายธรรมจากท่านเท่านั้น โดยคิดว่า “ถ้าพบและได้รับอุบายธรรมแล้วจะปฏิบัติตามนั้น แม้ไม่ได้ธรรมที่ตนปฏิบัติก็ยอมตาย” ก่อนจะได้พบกับหลวงปู่มั่น ท่านมีโอกาสได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล ถึง ๔ พรรษา

    หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต เกิดวันอาทิตย์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๔๗ ณ บ้านดอนแขม ต.บางคำ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่นบิดา-มารดาชื่อนายลุย และนางบุญ นามสกุล สินทอน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ใน จำนวน ๘ คน
    บิดามารดามีอาชีพทำนา ท่านอยู่ช่วยบิดาทำงานท้องนาอยู่จนเป็นหนุ่มใหญ่ จึงได้บวชเป็นพระในครั้งแรก ต่อมาได้ลาสึกออกไปช่วยบิดามารดาทำงาน นา-ไร่ต่อไปอีก เพื่อทดแทนบุญคุณท่าน ครั้นหมดภาระหน้าที่ของตน เพราะได้ทำงานหาเงินพอที่บิดามารดาไม่ลำบากแล้ว ท่านก็ได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดข้างๆ บ้าน คราวนี้อยู่ได้ถึง ๔ พรรษา แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย
    สมัยนั้นการควบคุมยังไม่ทั่วถึง จึงเป็นเหตุให้พระสงฆ์หย่อนยานทางพระธรรมวินัยมาก คือพระธรรมวินัยสอนอย่างหนึ่ง แต่ผู้บวชปฏิบัติตนไปอีกอย่างหนึ่ง ครั้งแรกได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ว่าเป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมากและท่านก็เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ท่านหลวงปู่ซามา จึงอยากฝากตัวเป็นศิษย์ แต่หลวงปู่ซามา มีโอกาสดี ได้เข้านมัสการท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้รับฟังพระธรรมเทศนาจากท่าน ก็เข้าใจว่า “บัดนี้เราได้มาพบพระดีมีวินัยชอบแล้ว” ท่านจึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ แต่มีเหตุขัดข้องในเรื่องนิกายอยู่ ท่านจึงต้องให้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์องค์เดิม ก็ได้รับอนุญาตด้วยความเต็มใจ พร้อมกับอวยพรให้มีดวงตาเห็นธรรม
    หลวงปู่ซามา จึงได้มาแปรญัตติใหม่ เป็นพระธรรมยุตนิกาย ที่วัดบ้านเต่าชัยชุมพล อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ โดยมีท่านพระครูพิศาล (ศรีจันทร์) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หล้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อาจุตฺโต”
    เมื่อแปรนิกายแล้ว เท่ากับ เป็นพระบวชใหม่ ท่านหลวงปู่ซามาได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จนเกิดสมาธิขั้น “ฌาน” และได้ติดตามเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ขณะนี้ท่านได้สมาธิแล้ว จึงรีบเร่งการภาวนาเดินจงกรม ตลอดวันตลอดเวลา บางวันอดอาหารเสียเพราะเสียดายเวลาการปฏิบัติธรรม
    ต่อมาได้ติดตาม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ไปทางเหนือ และได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่ตื้อ อีก ๑ พรรษา หลวงปู่ซามา ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่คำดี ปภาโส นานถึง ๑๐ พรรษา เพราะว่าท่านเคยพูดว่า “ได้พระอาจารย์ที่วิเศษจึงอยู่นานหน่อย”
    การปฏิบัติธรรมความดีบริสุทธิ์นั้น หลวงปู่ซามาถือว่า... “เป็นกำไรของจิตใจเรา จะได้หมดทุกข์เสียที”
    ท่านเคยได้ร่วมคณะจากพระอาจารย์ใหญ่หลายองค์ ไปเป็นธรรมทูตขอนิมนต์หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ให้กลับมาอยู่ในจังหวัดเลย แต่ก็ต้องผิดหวังเพราะหลวงปู่แหวนไม่ยอมกลับ ขออยู่บนดอยแม่ปั๋งดังเดิม
    หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นเดียวกันกับ พระอาจารย์กว่า
    หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต ท่านเคยเดินธุดงค์ไปจนถึงประเทศลาว และได้ไปรับข้ออรรถธรรมทางใจอีกเป็นอันมาก ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญท่าน เดินธุดงคกรรมฐานไปในป่าเขาดงเสืออยู่ตลอดเวลา

    การที่ท่านได้สละกายและใจออกปฏิบัติธรรมกรรมฐานนี้ เป็นความสมัครใจของท่าน เพราะในครั้งแรกที่ได้มีโอกาสพบเห็นพระธุดงคกรรมฐาน คือ พระอาจารย์สิงห์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่อ่อน หลวงปู่เทสก์ และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ครั้นเมื่อได้ฟังธรรมะปฏิบัติ ก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า ท่านได้ออกเดินธุดงค์ ไปตามป่าเขา เพื่อแสวงหาวิโมกขธรรมเกือบทั่วประเทศไทย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2021
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    หลวงปู่ซามา ได้ไปผนึกกำลังออกเผยแพร่ธรรมะร่วมกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ยังภาคใต้ แม้จะเกิดอุปสรรคต่างๆ นานา ท่านก็มิได้ท้อถอย จนสามารถสร้างความนิยมในสายการปฏิบัติ ไม่ว่าท่านจะธุดงค์ไปเผยแพร่ธรรม ณ ที่ใด ชาวบ้าน ป่า นา เขา ต่างพากันเลื่อมใสศรัทธาท่าน และพากันเศร้าโศกเสียใจ เมื่อท่านเสร็จกิจในการเผยแพร่ธรรม และอำลาจากสถานที่แห่งนั้น แต่ธรรมะที่ได้รับจากท่านก็ยังฝังใจเขาไปนานแสนนาน

    หลวงปู่ซามา เคยเล่าเหตุการณ์ตอนหนึ่งให้ฟังว่า

    “อาตมาเคยใช้กรรมครั้งหนึ่งเกือบตายมาแล้ว คือ รถไปคว่ำ การไปให้รถคว่ำได้นี้มีพระอาจารย์หลายองค์ มีอาจารย์ท่อน เป็นต้น ความสำคัญมั่นหมายไม่ได้อยู่กับตอนรถคว่ำนั้นหรอก เพราะเป็นเรื่องธรรมดาเชิงขบขันมากกว่า แต่ความสำคัญในทางธรรมะนี้ซี ทำให้อาตมารู้ซึ้งถึงแก่นใจเลยทีเดียว จึงมาแนะนำญาติโยมว่า ปฏิบัติไปเถิดธรรมสมาธินี้ เมื่อใครได้ปฏิบัติแล้ว แม้เมื่อถึงคราววิบัติ ธรรมะก็ช่วยได้ ธรรมะเป็นเกราะแก้วเกราะขวัญของพวกเราเป็นอย่างดียิ่ง เป็นอะไรล่ะ...เป็นพุทธรักษา ธรรมรักษา สังฆรักษา รักษาให้พ้นความตายได้จริงๆ ภูมิธรรมเกิดขึ้นมากในช่วงนั้น ขณะเจ็บอยู่นะ อาตมารู้วิธี ตอนที่เราจะตายควรไปฝากกับใครแล้วพวกโยมก็ควรปฏิบัติบ้างจึงจะรู้ชัดเจนนะ”
    หลวงปู่ซามาได้มาบูรณะซ่อมแซม วัดป่าอัมพวัน ให้ได้รับความเจริญขึ้น เพราะชาวบ้านไร่ม่วงทุกคนต่างก็มีความศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาของท่าน จึงนิมนต์มาอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอัมพวันและถือเป็นแหล่งสุดท้ายในชีวิตของ ท่านหลวงปู่ซามา อาจุตฺโต พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแห่งจังหวัดเลยฯ


    bar-red-lotus-small.jpg
    :- http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-sarma-hist.htm
    วันที่ 11 เม.ย.2523 เวลา 12.30 น. หลวงปู่ซามาได้มรณภาพอย่างสงบ
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ผีหัวขาด ลี้ลับป่าสาละวิน

    thamnu onprasert
    Oct 17, 2021

     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    หลวงปู่เว่ยหล่าง พระนิกายเซ็นผู้บรรลุธรรมฉับพลัน// ปู่ดอน station

    ปู่ดอน station
    Aug 21, 2021
    หลวงปู่เว่ยหล่าง หรือ พระปรมาจารย์เว่ยหล่าง สังฆปริณายกองค์ที่6 แห่งพุทธศาสนานิกายเซ็น ท่านเกิดที่ประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง ท่านเป็นผู้ที่เห็นแจ้งในจิตเดิมแท้ได้อย่างฉับพลันทันใด โดยไม่มีพิธีรีตองใดๆ คำสอนของท่านล้วนลุ่มลึกด้วยเนื้อธรรมที่ใหลเทออกมาจากจิตเดิมแท้ทั้งนั้น วลีเด็ดของท่านคือ "คนสามัญนั่นแหละคือพุทธะ และกิเลสนั่นเองคือโพธิ" ประวัติของท่านโลดโผนพอสมควร กว่าท่านจะได้อุปสมบทเป็นพระก็ต้องผ่านอุปสรรคและอันตรายจากคนใจบาปทั้งพระทั้งฆราวาส ที่ติดตามตัวท่านเพื่อแย่งชิงเอาบาตรและจีวรอันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งสังฆปริณายกที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อสืบทอดมาถึงรุ่นท่าน ท่านจึงถือโอกาสยุติไม่ให้มีการสืบทอดอีกต่อไป ดังนั้นท่านจึงเป็นรุ่นสุดท้ายที่สืบทอดบาตรและจีวร ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สืบทอดกันมายาวนานมาก เริ่มตั้งแต่พระมหากัสสปะ พระอานนท์ ต่อๆกันมา จนตกทอดมาที่ประเทศจีน นับปรมาจารย์ตั๊กม้อเป็นพระสังฆปริณายกองค์ที่1 กระทั่งจนมาถึงท่านเป็นองค์ที่6 องค์สุดท้าย รวมแล้วนับได้ 33 องค์..
    #พระอริยสงฆ์ **ปู่ดอน station
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ตามรอยท่านเว่ยหล่าง
    พระไพศาล วิสาโล
    ท่านเว่ยหล่างเป็นปรมาจารย์ที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งของพุทธศาสนาในประเทศจีน อีกทั้งยังได้รับการยกย่องอย่างมากในญี่ปุ่น เนื่องจากเซนที่สืบทอดมานานนับพันปีในประเทศนั้นไม่ว่าสายไหนก็ล้วนมีท่านเป็นต้นธาร เนื่องจากคำสอนของท่านมุ่งสู่การบรรลุธรรมแบบ “ฉับพลัน” ซึ่งมีลักษณะพิเศษเป็นแบบฉบับของท่านเอง

    ชีวประวัติของท่านน่าสนใจด้วยเหตุผลหลายประการ กล่าวคือ ท่านบรรลุธรรมทั้ง ๆ ที่อ่านหนังสือไม่ออก อีกทั้งได้รับมอบตำแหน่งสังฆปริณายกองค์ที่ ๖ ของนิกาย “ฉาน” ( หรือ “เซน”ในญี่ปุ่น) ทั้ง ๆ ที่ยังเป็นฆราวาสและเป็นแค่คนงานในวัดเท่านั้น กว่าท่านจะได้อุปสมบทก็ผ่านไปอีกหลายปี หลังจากที่ต้องหลบลี้หนีภัยจากฝ่ายตรงข้ามที่อิจฉาท่านเป็นเวลานาน

    ท่านเว่ยหล่างเกิดเมื่อพ.ศ.๑๑๘๑ สมัยราชวงศ์ถัง อันเป็นยุคทองของพุทธศาสนาในจีน ท่านมรณภาพเมื่อพ.ศ. ๑๒๕๖ แม้เวลาจะผ่านไปร่วม ๑,๓๐๐ ปี แต่เรื่องราวของท่านยังเป็นตำนานที่เล่าขานในหมู่ชาวพุทธจีนกระทั่งปัจจุบัน ใช่แต่เท่านั้นสถานที่สำคัญที่เกี่ยวกับประวัติของท่านตั้งแต่กำเนิดจนมรณภาพ ก็ยังมีการอนุรักษ์ไว้ สำหรับคนไทยแล้ว เรื่องแบบนี้ย่อมไม่ธรรมดา เพราะอย่าว่าแต่บุคคลเมื่อพันปีที่แล้วเลย แค่บุคคลเมื่อ ๒๐๐ ปีที่แล้วอย่างหลวงพ่อโต พรหมรังสี บ้านที่ท่านเกิดอยู่ตรงไหน ก็ไม่มีใครรู้

    สถานที่ท่านเว่ยหล่างสมภพและมรณภาพนั้นอยู่ไม่ไกลจากกวางโจว อีกทั้งวัดที่ท่านอุปสมบทก็อยู่ในเมืองกวางโจว ดังนั้นหลังจากเสร็จงานสอนกรรมฐานที่เมืองโฝกัง มณฑลกวางตุ้ง ข้าพเจ้าพร้อมกับกัลยาณมิตรชาวไทยเห็นพ้องต้องกันว่าไม่มีอะไรดีกว่าการไปเยี่ยมเยือนสถานที่เหล่านั้น เป็นการตามรอยท่านและจาริกบุญกลาย ๆ โดยมีคุณนริศ จรัสจรรยาวงศ์ ซึ่งมีความรู้รอบเกี่ยวกับปรมาจารย์ท่านนี้ เป็นมัคคุเทศก์

    ตอนที่คุณนริศแนะนำให้ไปเยือนหมู่บ้านที่ท่านเว่ยหล่างเกิดนั้น ในใจคิดว่าเป็นเมืองเล็ก ๆ แบบบ้านนอก แต่ที่ไหนได้ซินซิงเป็นเมืองใหญ่เอาการ (แม้กระนั้นมัคคุเทศก์ชาวจีนก็บอกว่านี้เป็นเมืองเล็ก ๆ ประชากร “แค่” ๔ แสนคนเท่านั้น) จัดว่าเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองหยวินฝูในมณฑลกวางตุ้ง บ้านที่ท่านเกิดนั้นตอนนี้ไม่มีเค้าหลงเหลือแล้ว มีอาคารบ้านเรือนรายล้อมเพราะอยู่กลางเมือง แต่มีวิหารเล็ก ๆ ข้างหน้าเป็นรูปปั้นพระศรีอาริย์ยิ้มต้อนรับอาคันตุกะ ถัดจากนั้นจึงเป็นรูปปั้นของท่านเว่ยหล่างให้คนมาเคารพสักการะ

    ท่านเว่ยหล่างกำพร้าพ่อตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ เมื่อโตขึ้นท่านได้ย้ายบ้านไปอยู่อีกด้านหนึ่งของเมือง ปัจจุบันมีวัดสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่ท่าน ชื่อวัดหลงถัน ข้าง ๆ วัดมีซากอาคารที่บ่งบอกว่าเป็นบ้านของท่าน พร้อมทั้งระบุตำแหน่งที่ท่านตำข้าวด้วย บรรยากาศสงบร่มรื่นเพราะอยู่บนเขาแวดล้อมด้วยต้นไม้

    ท่านต้องทำงานเลี้ยงแม่ตั้งแต่เล็ก จึงไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ อาชีพหลักคือผ่าฟืนขาย วันหนึ่งขนฟืนไปส่งให้ลูกค้าที่ร้าน ขณะที่เดินออกมาได้ยินชายผู้หนึ่งกำลังสาธยายวัชรเฉทิกสูตร พอตั้งใจฟัง จิตของท่านก็สว่างโพลง ความสนใจในธรรมเกิดขึ้นแก่ท่านทันที ถามชายผู้นั้นว่าได้เรียนธรรมดังกล่าวจากไหน เมื่อได้รับคำตอบท่านก็ลาแม่ ไปยังวัดนั้นทันทีคือวัดตงซาน มณฑลหูเป่ย ซึ่งเป็นวัดของท่านหงเหริ่น สังฆปริณายกองค์ที่ ๕

    ที่นั่นเองท่านต้องทำงานผ่าฟืนและสีข้าวนานหลายเดือน วันหนึ่งได้ฟังว่าศิษย์อาวุโสของวัดนี้แต่งโศลกว่า “กายนี้อุปมาเหมือนต้นโพธิ์ ใจนี้อุปมาเหมือนกระจกเงาใส จงหมั่นเช็ดหมั่นปัดอยู่เสมอ อย่าให้ฝุ่นละอองจับคลุมได้” ท่านเห็นว่ายังไม่ถูกต้อง จึงแต่งโศลกขึ้นอีกบทหนึ่ง แล้ววานคนช่วยเขียนให้ เป็นโศลกซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประวัติศาสตร์เซน นั่นคือ “ไม่มีต้นโพธิ์ ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว ฝุ่นจะลงจับอะไร” (สำนวนแปลพุทธทาสภิกขุ) ท่านหงเหริ่นเมื่อได้อ่านโศลกนี้ก็รู้ว่าผู้แต่งรู้ธรรมอย่างแจ่มแจ้ง กระจ่างชัดในอนัตตลักษณะ คือรู้ว่า แท้จริงแล้วไม่มี “ตัวกู ของกู” มีแต่ทุกข์ ไม่มีผู้ทุกข์ จึงได้มอบตำแหน่งสังฆปริณายกองค์ที่ ๖ ให้แก่ท่าน ทั้ง ๆ ที่ท่านยังไม่ได้บวช

    เราไม่มีโอกาสไปวัดตงซาน แต่ก็ได้ไปเยือนสถานที่ที่ท่านได้สดับธรรมด้วยความบังเอิญจนบรรลุธรรม ปัจจุบันมีการสร้างวัดจินไถเป็นอนุสรณ์ แต่ปรากฏว่าประตูปิดตาย ห้ามเข้า เนื่องจากโครงสร้างอาคารมีปัญหา อาจเกิดอันตรายได้ พวกเราได้แต่ถ่ายรูปข้างหน้าวัด

    อย่างไรก็ตามทั้งสามจุดนี้ในทัศนะของชาวพุทธจีนมีความสำคัญน้อยกว่าวัดที่ท่านมรณภาพ คือ วัดกั๋วเอิน ซึ่งอยู่ในเมืองเดียวกัน วัดนี้มีอาณาบริเวณกว้างขวาง มีโบราณสถานและโบราณวัตถุหลงเหลือมากมาย แม้ถูกทำลายอย่างหนักในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมเมื่อ ๕๐ ปีก่อน วัดนี้สร้างโดยถังเกาจงฮ่องเต้ ท่านเว่ยหล่างมาพำนักที่นี่เมื่อชรามากแล้ว อยู่ได้เพียงหนึ่งปี ก็มรณภาพ ด้วยอายุ ๗๕ ปี

    วัดนี้มีญาติโยมชาวจีนมาทำบุญกันมิใช่น้อย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย ระหว่างที่เรากำลังชมวัด ก็มีอาม่าคนหนึ่งกวักมือเรียกให้พวกเราไปที่วิหารใหญ่ ไปถึงจึงรู้ว่ากำลังมีการสรงน้ำพระพุทธองค์เนื่องในวันวิสาขบูชา(ตามประเพณีจีน) ผู้คนล้นหลามจนยืนอออยู่นอกวิหาร แต่ทางวัดก็เอื้อเฟื้อให้พวกเราเข้าไปสรงน้ำพระพุทธองค์ได้อย่างสะดวก รวมทั้งได้พบปะท่านเจ้าอาวาสซึ่งอยู่บริเวณนั้นด้วย

    อย่างไรก็ตามวัดเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นที่รู้จักน้อยกว่าวัดกวงเซี่ยวในเมืองกวางโจว ซึ่งเป็นวัดที่ท่านอุปสมบท ว่ากันว่าตอนที่ท่านมาถึงวัดนั้นใหม่ ๆ ได้ฟังการบรรยายธรรมของอาจารย์ใหญ่ท่านหนึ่ง ระหว่างนั้นมีการโต้เถียงในหมู่ศิษย์ของท่านว่า ธงหรือลมกันแน่ที่ไหว เถียงกันไม่จบจนกลายเป็นสองฝักสองฝ่าย ท่านจึงพูดแทรกขึ้นมาว่า “ใจ(ของพวกท่าน)ไหวต่างหาก” อาจารย์ใหญ่ท่านนั้นได้ยินก็รู้ว่าท่านเว่ยหล่างซึ่งตอนนั้นอายุ ๓๘ แล้ว ไม่ใช่คนธรรมดา จึงได้จัดการบวชให้ท่านในเวลาต่อมา จุดเด่นของวัดนี้คือ ต้นโพธิ์ซึ่งสำคัญที่สุดในจีน เนื่องจากเชื่อกันว่าท่านปลงผมใต้ต้นนี้ ใกล้ ๆ กันเป็นเจดีย์ ๗ ชั้นซึ่งเชื่อว่าบรรจุเส้นผมที่ท่านปลงเอาไว้ เนื่องจากวัดนี้อยู่กลางเมืองกวางโจว จึงมีคนมาสักการะท่านเว่ยหล่างมากมาย ทั้งคนแก่และคนหนุ่มสาว

    อีกวัดที่สำคัญ ซึ่งขาดไม่ได้สำหรับการตามรอยท่าน ก็คือ วัดหนานฮว๋า ซึ่งอยู่เมืองเสากวน ห่างจากกวางโจว ๓ ชั่วโมง ท่านได้แสดงธรรมที่วัดนี้อยู่นาน ชาวพุทธจีนในไทยคงคุ้นกับวัดนี้มากที่สุด เพราะเป็นที่ประดิษฐานร่างของท่านที่ไม่เน่าเปื่อย อยู่ในท่านั่งสมาธิ น่าแปลกที่ร่างนี้รอดพ้นจากการทำลายล้างในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมไปได้ ทุกวันนี้ถือเป็นสถานที่จาริกบุญสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของชาวจีน วัดนี้มีเนื้อที่กว้างขวาง อยู่ติดภูเขา สงบร่มรื่น ชวนให้นึกถึงบรรยากาศของวัดจีนโบราณ

    เมืองเสากวนยังมีอีกวัดที่สำคัญ คือวัดต้าเจี้ยน ท่านผู้รู้ได้ประมาณว่า เนื้อหาร้อยละ ๖๓ ใน “สูตรของเว่ยหล่าง”นั้นมาจากการเทศนาของท่านที่วัดนี้ ส่วนร้อยละ ๒๗ เป็นงานบรรยายที่วัดหนานฮว๋า ที่เหลือท่านแสดงที่วัดกั๋วเอิน

    อันที่จริงชีวิตและคำสอนของท่านเว่ยหล่างที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ถือว่า “มุมมอง”หนึ่งเท่านั้น ในวงวิชาการมีข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกับประวัติของท่าน แม้กระทั่งคำสอนของท่านอันลือชื่อของท่านคือ “สูตรของเว่ยหล่าง” ก็ยังไม่เป็นที่ยุติว่าใครเป็นคนเขียน เป็นคำสอนของท่านเว่ยหล่างจริงหรือไม่ และ “ของจริง”นั้นเป็นอย่างไร เพราะคัมภีร์เก่าแก่ที่สุด ซึ่งค้นพบเมื่อ ๘๐ ปีที่แล้ว มีหลายตอนที่แตกต่างจากฉบับที่แพร่หลายในปัจจุบัน โดยเฉพาะโศลกอันโด่งดังของท่านเว่ยหล่าง ในฉบับที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งค้นพบที่ถ้ำตุนหวง มีถึง ๒โศลก และมีเนื้อความแตกต่างกันในสาระสำคัญเลยทีเดียว ประเด็นเหล่านี้ยกให้เป็นหน้าที่ของผู้รู้ที่จะช่วยกันหาคำตอบ แต่สำหรับผู้ใฝ่ธรรม ความแตกต่างเหล่านั้นไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใดสำหรับการฝึกฝนอบรมจิตตามแนวทางของท่าน(หรือตามคำสอนที่ปรากฏในหนังสือ)
    :- https://www.visalo.org/article/sarakadee255706.htm
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    lpMingdhammasuvanno.jpg
    หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ
    ข้อมูลประวัติ


    เกิด วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2440 ตรงกับขึน 12 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา พื้นฐานเป็นชาวบางขุนเทียนโดยกำเนิด เป็นบุตรของ นายจร นางวัน โพธิ์จันทร์
    อุปสมบท เดือนพฤษภาคม ปี 2461 ณ พัทธสีมาวัดกก
    มรณภาพ วันที่ 28 ธันวาคม 2518
    รวมสิริอายุ 78 ปี 58 พรรษา


    พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
    พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม
    :- https://www.web-pra.com/amulet/หลวงพ่อมิ่ง-วัดกก
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    หลวงพ่ออ่ำ อินฺทปญฺโญ ( พระพุทธวิหารโสภณ ) วัดวงษ์ฆ้อง พระนครศรีอยุธยา พระเกจิผู้เก่งกล้าทั้งเรื่องไสยศาสตร์และแพทยศาสตร์

    Posted by Lanpo on Saturday, November 23, 2019

    ภาพและเรื่องโดย..เมธี ไทยนิกร

    1032_002.jpg

    “หลวงพ่ออ่ำ” ที่มีพัดยศ ถ่ายขณะเป็น
    พระราชาคณะที่ “พระพุทธวิหารโสภณ”
    เจ้าอาวาสวัดหน้าพระเมรุ (พระอารามหลวง)
    คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า “ พระนครศรีอยุธยา ” เป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งอุดมไปด้วยพระสงฆ์เรืองวิชามาแต่โบราณกาล เท่าที่พอจะนึกออกบอกได้ในตอนนี้ก็มี อาทิ “ สมเด็จพระวันรัตน์ ” วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของ “ พระนเรศวรฯ ” อย่างมาก หลังจากยุคนั้นก็มี “ พระอาจารย์พรหม ” ( หรือ “ พระพรหมมุนี ” ) วัดปากน้ำประสบ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ “ พระนารายณ์ฯ ” ( และเชื้อพระวงศ์ ) ส่วนอีกองค์ที่ร่วมสมัยได้แก่ “ พระพิมลธรรม ” วัดระฆัง ซึ่งเก่งในทาง “ ยามสามตา ” อย่างน่าอัศจรรย์ โดยเฉพาะในคราวที่ “ พระยาสีหราชเดโช ” ข้าศึกจับแต่สามารถแก้รอดมาได้ ท่านทำนายเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ด้วยกระนั้น

    นอกจากประเภทสามัญชนคนธรรมดา ยังมีพระระดับ “ เจ้าฟ้า ” อยู่อีกบางองค์ที่ทรงคุณวิเศษ จนได้รับการบันทึกไว้ในหน้าประวัตศาสตร์ไทย อย่างเช่น “ เจ้าฟ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ ” ( โอรส “พระเจ้าท้ายสระ” ) ที่ถูก “ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ” ( โอรส “ พระเจ้าบรมโกศ ” ) ดักฟันในพระราชวังอย่างอุกอาจ แต่กลับเพียงแค่จีวรขาดหาเข้าไม่ ยิ่ง “ เจ้าพระวัดพุทไธฯ ” ซึ่งมีพระนามเดิมว่า “ เจ้าฟ้าตรัสน้อย ” ( โอรส “ พระเพทราชา ” กับ “ เจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพ ” ) ด้วยแล้ว ยิ่งเรืองวิชาถึงขนาดกล้ารุดไปปราบโจรจีนที่บุกปล้นพระราชวัง ทั้งที่ทรงอยู่ในเพศบรรพชิตเพียง “ หนึ่งเดียว ” แท้ๆ แต่พวกโจร “ ห้าร้อย ” กลับเป็นฝ่ายต้องเผ่นหนี


    1032_003.jpg

    “หลวงพ่ออ่ำ” กับ “หลวงพ่อขัน” ถ่ายในงานบำเพ็ญ
    กุศลศพโยมบิดา “หลวงพ่อขัน” ที่วัดนกกระจาบ
    แม้ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้ก็กล่าวได้ว่า มี “ พระดีศรีอยุธยา ” อยู่อึดตะปือนัง อย่างเช่น “ สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ” วัดพลับ นั่น ก็ต้องถือว่าท่านเป็น “ พระดีศรีอยุธยา ” เพราะเคยจำพรรษาอยู่ วัดท่าหอย ซึ่งเป็นวัดบริวารของ วัดพุทไธศวรรย์ ( นอกจากท่านจะเป็นอาจารย์ของ “ พระพุทธยอดฟ้าฯ ” ยังว่ากันว่า “ พระอินทรรักษา ( เสม ) ” พี่เขย ก็เคยบวชที่วัดนี้ )

    โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 และที่ 6 นั้นแน่นอนว่า มีพระที่เรืองวิชาจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ และหนึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ “ หลวงพ่ออ่ำ ” หรือ “ พระพุทธวิหารโสภณ ” แห่งวัดวงษ์ฆ้อง เนื่องจากท่านเป็นพระที่เก่งกล้าเชี่ยวชาญ ทั้งในด้านไสยศาสตร์และแพทยศาสตร์ ขนาดแพทย์แผนปัจจุบันยังศรัทธาเลื่อมใส เพราะทำนายทายทักอาการป่วยต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยไม่ต้องนำตัวคนไข้มาหา แต่สามารถให้ญาติจดชื่อยาไปเจียดจากร้านซินแสได้เลย


    1032_005.jpg

    พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ ซึ่ง “หลวงพ่ออ่ำ”
    เคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ระยะหนึ่ง
    (พ.ศ.2456-พ.ศ.2474)
    สำหรับประวัติสังเขปมีอยู่ว่า ท่านเกิดในตระกูลชาวนา เมื่อปีกุน พ.ศ.2406 ณ บ้านสวนพริก แขวงรอบกรุง เมืองกรุงเก่า ( ปัจจุบันคือ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ) โยมบิดาชื่อ นายหอม ภักดีวงศ์ โยมมารดาชื่อ นางห่อ ภักดีวงศ์ มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 7 คน ประกอบด้วย

    1. นายนิ่ม ภักดีวงศ์
    2. นางเชื่อม สุคันธกุล
    3. หลวงพ่ออ่ำ ภักดีวงศ์
    4. นางปี ( ไม่ทราบนามสกุลใหม่ )
    5. นางขำ ธารีศรี
    6. นายไว ภักดีวงศ์
    7. นายวอน ภักดีวงศ์


    1032_008.jpg

    รูปหล่อ “หลวงพ่ออ่ำ” ซึ่งตั้งอยู่ภายใน
    มณฑปวัดวงษ์ฆ้อง (ภาพรูปหล่อสีทอง)

    1032_007.jpg

    มณฑปรูปหล่อ “หลวงพ่ออ่ำ”
    ภายในวัดวงษ์ฆ้อง
    ส่วนเรื่องราวในช่วงเยาว์วัยไม่ปรากฏชัด เพราะเป็นที่รู้ในหมู่ญาติรุ่นหลังๆ เพียงว่า ท่านเข้ามาศึกษาเล่าเรียนอยู่กับ “ หลวงพ่อฟัก ” ( หรือ “ พระครูธรรมิกาจารคุณ ” ) วัดธรรมิกราช ( หน้าพระราชวังโบราณ ) ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ปีเศษ และต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดนี้กระทั่งบวชพระ ไม่เคยสึกหาลาเพศไปเป็นฆราวาส แต่ไม่อาจยืนยันเกี่ยวเรื่องพระอุปัชฌาย์และคู่สวดตอนที่อุปสมบทได้ เพราะบางกระแสก็ว่า “ หลวงพ่อฟัก ” เป็นอุปัชฌาย์ แต่บางกระแสก็ว่าเป็น “ หลวงพ่อศรี ” วัดประดู่ทรงธรรม จึงทำให้ยังเคลือบแคลงสับสนมาจนบัดนี้ คงมีที่จำได้แม่นยำก็คือฉายาของท่าน ที่ได้รับการขนานเป็นภาษามคธว่า “ อินฺทปญฺโญ ”

    อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะกล่าวประวัติของท่านเป็นลำดับไป ใคร่ขอแทรก ประวัติวัดธรรมิกราช เอาไว้เสียเลยตรงนี้ เนื่องจากเป็นวัดที่เก่าแก่และมีความสำคัญมาแต่ไหนแต่ไร โดยในตำนานได้กล่าวไว้แค่เพียงว่า “ พระยาธรรมิกราช ” โอรสของ “ พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ” ได้ทรงสร้างขึ้นใน “ สมัยอโยธยา ” ( ก่อนที่จะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ) เดิมเรียกกันว่า “ วัดมุขราช ” ส่วนจะสร้างในปี พ.ศ. ใดไม่ปรากฏหลักฐาน ได้แต่อนุมานหรือคาดเดากันว่า น่าจะเป็นสมัยเดียวกับ “ วัดพนัญเชิง ” ซึ่งสร้างโดยพระบิดา เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ “ พระนางสร้อยดอกหมาก ” ที่สิ้นพระชนม์บนเรือสำเภา ซึ่งจอดทอดสมออยู่ในแม่น้ำบริเวณนั้น )

    ต่อมาวัดนี้มีชื่อปรากฏในพงศาวดารว่า “ พระมหาจักรพรรดิ์ ” ( พระสวามี “ พระสุริโยทัย ” ) ได้โปรดฯให้นำ “ พระศรีศิลป์ ” ( โอรส “ พระชัยราชา ” ซึ่งทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่วัดราชประดิษฐาน ) มาควบคุมไว้ที่นี่เพื่อให้ใกล้พระเนตรพระกรรณ เนื่องจาก “ เจ้าเณร ” องค์นั้นซ่องสุมผู้คนเพื่อก่อการกบฏ ครั้นมีอายุครบกำหนดทรงผนวชพระ “ พระเจ้าอา ” ดำริจะทรงรับเป็นเจ้าภาพให้ แต่พระนัดดากลับหลบหนีไปโดยไม่บอกกล่าวร่ำลา และต่อมาได้ยกไพร่พลเข้าปล้นพระราชวังเพื่อหวังยึดอำนาจ แต่พระชะตาขาดถูกยิงด้วยปืนสิ้นพระชนม์คาที่

    วัดนี้มีปูชนียสถานและวัตถุสำคัญคือ พระวิหารหลวง ซึ่ง “ พระเจ้าทรงธรรม ” โปรดฯให้สร้างขึ้น สำหรับสดับพระธรรมเทศนาในวันพระ ทั้งยังสันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นที่ประดิษฐานเศียรพระพุทธรูปหล่อสำริด ( สมัยอู่ทอง ) ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันได้เชิญไปตั้งแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเจ้าสามพระยา ส่วนวิหารพระพุทธไสยาสน์นั้นนัยว่า พระมเหสีของพระองค์ทรงสร้างถวาย หลังจากพระธิดาทรงหายจากอาการประชวรตามที่ทรงบนบาน


    1032_001.jpg

    “หลวงพ่ออ่ำ” ที่ไม่มีพัดยศ ถ่ายในช่วงที่
    กลับมาจำพรรษาบั้นปลายชีวิตที่วัดวงษ์ฆ้อง
    (ซึ่งท่านเคยเป็นเจ้าอาวาสมาก่อน)
    โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 เล่ากันว่า “ พระพุทธเจ้าหลวง ” มักเสด็จฯมาที่วัดนี้อยู่เนืองๆ เนื่องจากทรงศรัทธาเลื่อมใสในวิชาอาคมของ “ หลวงพ่อฟัก ” ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น และมีเกร็ดที่เล่าขานกันสืบมาในหมู่ลูกศิษย์ว่า ในโอกาสที่เสด็จฯมาวัดธรรมิกราชคราวหนึ่ง ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จฯขึ้นไปทอดพระเนตรภายพระวิหารหลวง ซึ่งตั้งอยู่บนโคกสูงกว่าเสนาสนะทั่วไป ขณะที่ทรงพระดำเนินขึ้นบันไดได้ทรงจูงมือ “หลวงพ่อฟัก” ซึ่งชะรอยจะทรงเห็นว่าค่อนข้างชราและเดินเหินไม่สันทัด แต่หลังเสด็จฯออกจากวัดไปได้ครู่เดียวเท่านั้น “ พระญาณไตรโลก ( อาจ ) ” วัดศาลาปูน ซึ่งเป็นเจ้าคณะเมืองกรุงเก่า ได้เรียกให้เข้าไปหาและต่อว่าต่อขานทำนองว่า ท่านละลาบละล้วงจ้วงจาบจับพระกรพระเจ้าแผ่นดิน และได้สั่งลงทัณฑกรรมให้ตักน้ำจากตีนท่ามารดโคนโพธิ์ในวัดจำนวน 100 บาตร โดยเริ่มเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ยังไม่ทันที่ท่านจะปฏิบัติตาม ความได้ทราบถึงพระกรรณ “ พระพุทธเจ้าหลวง ” เสียก่อน จึงได้โปรดฯให้สังฆการีมาแจ้งแก่ “ เจ้าคุณญาณฯ ” ว่า “หลวงพ่อฟัก” หาได้ทำผิดตามที่สั่งลงทัณฑ์ไม่ แต่เป็นพระองค์เป็นฝ่ายจูงมือท่านเอง

    ถามว่า “ หลวงพ่อฟัก ” องค์นี้มีดีอะไร จึงได้เป็นที่โปรดปรานถึงเพียงนั้น ก็ต้องตอบว่าท่านเก่งทางด้านเมตตามหานิยม โดยเฉพาะ “ นะหน้าทอง ” ที่เพียงเขียน “ ยันต์เฑาะว์ ” ลงบนฝ่ามือแล้วลูบหน้า แม้ตัวท่านเจ้าของตำราเองก็ทำแบบเดียวกัน โดยบุคคลที่รู้ไม่ทันมักเข้าใจว่า ท่านคงจะลูบหน้าเพื่อให้หูตาสว่างเหมือนผู้สูงอายุทั่วๆ ไป ( เนื่องจากอายุเกินวัยที่จะใช้ตำรานี้ จึงจำคาถาที่เคยท่องขึ้นใจไม่ได้ตลอดบท และที่จดเอาไว้ในสมุดก็ยังหาไม่พบ ทั้งๆ ที่ใจจริงอยากบอกให้เป็นวิทยาทาน เพราะอาจจะมีบางท่านที่ยึดภาษิต “ ไม่ลองไม่รู้ ” )

    1032_004.jpg

    ป้ายวัดธรรมิกราช ซึ่ง “หลวงพ่ออ่ำ” เคยพำนักอยู่
    ตั้งแต่สมัยเป็นสามเณรกระทั่งอุปสมบทเป็นพระ
    สำหรับประวัติของท่านนั้น แม้จะค่อนข้างมืดมนคลุมเครืออยู่มาก หากแต่ก็ยังพอมีเค้ามีเงาให้คลำได้บ้าง กล่าวคือว่ากันว่าบ้านโยมบิดา-มารดาอยู่บริเวณปากคลองตะเคียน ( หรือที่เดิมเรียกคลองขุนนครชัย ) และเคยเป็นครองวัดพุทไธศวรรย์อยู่ก่อนหน้า ที่จะได้รับนิมนต์มาครองวัดธรรมิกราช สาเหตุที่ยอมย้ายวัดก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากคุณหญิงท่านหนึ่งซึ่งอุปถัมภ์บำรุงวัดนี้อยู่ กำลังดำเนินเรื่องขอยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงเหมือนเดิม ( โดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาวัดนี้มีพระราชาคณะที่ “ พระธรรมโคดม ” เป็นเจ้าอาวาส )

    อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง “ พระพุทธเจ้าหลวง ” กับ “ หลวงพ่อฟัก ” นอกจากคำบอกเล่าแบบ “ มุขปาฐะ ” ที่สืบทอดต่อกันมาแล้ว ยังพบใน “ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ” (ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2431) ว่า “ เวลาค่ำแล้วพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯออกท้องพระโรง (ในพระราชวังบางปะอิน) เจ้าอธิการฟัก วัดธรรมิกราช เฝ้าถวายป้าน พระราชทานเงิน 1 ชั่ง...” และหลังจากวันนั้นหลักฐานเล่มเดียวกันยังบันทึกไว้ทำนองว่า โปรดฯให้ “เจ้าอธิการฟัก” เป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนากัณฑ์หลวงที่พระที่นั่งวโรภาศพิมาน ( วันเดียวกับที่ “ พระมหาหนู ” วัดศาลาปูน ( ซึ่งต่อมาเป็น “ พระสุวรรณวิมลศีล ” ) เป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนากัณฑ์ของพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี )

    และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ในคราวที่พระองค์ทรงตั้ง “หลวงพ่อฟัก” เป็นพระครูสัญญาบัตร ถือเป็นเกียรติประวัติที่ทรงตั้งแบบองค์เดียวโดดๆ โดยไม่มีองค์ใดวัดไหนเข้าไปสมทบด้วย ดังปรากฏอยู่ใน “ ราชกิจจานุเบกษา ” เล่ม 6 แผ่นที่ 43 ( วันที่ 26 มกราคม รัตนโกสินทร์ศก 108 หรือ พ.ศ.2432 ) ความว่า “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกปฏิบัติพระสงฆ์ ที่พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ ในการเฉลิมพระราชมณเฑียร ครั้นพระสงฆ์ฉันแล้ว พระราชทานสัญญาบัตรให้เจ้าอธิการฟัก วัดธรรมิกราช แขวงกรุงเก่า เป็นพระครูธรรมิกาจารคุณ ขึ้นคณะกรุงเก่า พระราชทานตาลิปัตพุดตานทองแผ่ลวดเป็นเครื่องยศ กับของนอกจากนี้อีกคือ ผ้าไตร 1 พัดรองโหมด 1 บาตรย่ามสักระหลาด 1 กาน้ำแลกระโถนลายครามสำรับ 1 ร่ม 1 รองเท้า 1 ผ้าขาวพับ 1 เทียนมัด 1 ”

    1032_006.jpg

    ป้ายวัดวงษ์ฆ้อง ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา
    จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่ง “หลวงพ่ออ่ำ”
    เคยเป็นเจ้าอาวาส (ก่อนที่จะย้ายไปเป็น
    ครองวัดธรรมิกราช และวัดหน้าพระเมรุตามลำดับ)
    ก็แหละเข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงหลังจากที่ “หลวงพ่อฟัก” เป็นพระครูสัญญาบัตรแล้วนี่เอง ที่ท่านได้แต่งตั้งฐานานุกรมขึ้น 2 องค์ คือ “ พระสมุห์อ่ำ ” และ “ พระใบฎีกามี ” ( สำหรับองค์หลังนี้ไม่ทราบประวัติแน่ชัด ) ครั้นเจ้าอาวาสวัดวงษ์ฆ้องซึ่งอยู่ในปกครองว่างลง ท่านได้ส่ง “พระสมุห์อ่ำ” ไปครองวัดดังกล่าวสืบมาจนกระทั่ง “ หลวงพ่อฟัก ” ถึงมรณภาพ จึงได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมิกราชสืบต่อตามคำสั่งของคณะสงฆ์ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “ พระครูธรรมิกาจารคุณ ” เช่นเดียวกับบูรพาจารย์ ( แต่ไม่พบหลักฐานเหมือนคราวทรงตั้ง “ หลวงพ่อฟัก ” เพียงเป็นคำบอกเล่าของ “ พระครูพิทักษ์พรหมธรรม ” หรือ “ หลวงพ่อหลี ” อดีตเจ้าอาวาสเมื่อ 20 ปีที่แล้ว )

    ย้อนกลับไปที่ “ วัดวงษ์ฆ้อง ” อีกครั้ง ว่ากันว่า “ หลวงพ่ออ่ำ ” หรือ “ พระสมุห์อ่ำ ” ท่านเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่มาครองวัดนี้ โดย “ พระอธิการประสิทธิ์ ธารีศรี ” อายุ 92 ปี อดีตเจ้าอาวาสวัดป้อมรามัญ ( ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว ) ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ได้เข้ามาเป็นลูกศิษย์ “ หลวงลุงอ่ำ ” ( ซึ่งเป็นพี่ชายของมารดา ) ที่ วัดวงษ์ฆ้อง ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ปี โดยมีเด็กวัดอายุรุ่นราวคราวเดียวกันและรับใช้ใกล้ชิดท่านอีกคนหนึ่งซึ่งก็คือ “ เด็กชายแช่ม ” ( หรือที่ต่อมามีบรรดาศักดิ์และยศทหารเป็น “ นายพันตรี หลวงจบกระบวนยุทธ ” บิดาของ “ ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร ” ) ซึ่งทั้งคู่นี้มักต้องติดสอยห้อยตามไป “ งานหลวง ” ทุกนัด โดยผลัดกันถือพัดถือย่ามตามอัธยาศัย โดยเฉพาะพิธีบวงสรวงสังเวยอดีตกษัตริย์ฯ ที่พระราชวังโบราณทั้งในรัชกาลที่ 5 และที่ 6 นั้น พระซึ่งเป็นหลานท่านองค์นี้เล่าว่า น่าตื่นตาตื่นใจอย่างมาก เนื่องจากดาษดื่นไปด้วยเจ้านายขุนนางและราษฎรทั่วไป ทั้งยังมีพลุตะไลไฟพะเนียงและการแสดงต่างๆ ให้ชมในตอนกลางคืนอีกต่างหาก

    ส่วนเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ของท่านนั้น “ พระอธิการประสิทธิ์ ” กล่าวว่า หากใครไม่เห็นกับตาก็ต้องว่าโกหกพกลม อย่างเช่น กรณีที่ท่านสั่งให้เด็กไปตักน้ำมากรอกใส่ขวดโหล 2 ใบ ซึ่งตั้งอยู่ติดกัน จากนั้นท่านได้ใช้มีดโกนตัดใบจากเป็นรูปปลา แล้วทิ้งลงไปในขวดโหลนั้นที่ละใบ พลันก็กลายเป็นปลากัดสีฉูดฉาดว่ายเข้าหากัน ราวกับจะกัดอีกตัวให้ตายไปข้าง แต่ท่านได้สั่งกำชับว่า “ ขอให้ดูแต่ตาอย่าเอานิ้วไปแหย่มันเป็นอันขาด มีเด็กบางคนที่ค่อนข้างทะเล้นบอกกับท่านว่า ปลาดุๆ แบบนี้อยากขอเอาไปกัดที่บ่อน แต่ท่านกลับสั่งสอนว่าเป็นการทรมานสัตว์ และอาจนำไปสู่การพนันขันต่อ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องบาปกรรมและอบายมุขไม่ควรประพฤติ เพราะที่อุตส่าห์ทำให้ดูนี้ก็เพื่อแก้เหงาเท่านั้น ไม่ได้ต้องการยั่วยุให้ผิดศีลผิดธรรมอะไรเลย ”

    ( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1032 ปักษ์แรก เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552 : หลวงพ่ออ่ำ อินฺทปญฺโญ ( พระพุทธวิหารโสภณ ) วัดวงษ์ฆ้อง พระนครศรีอยุธยา พระเกจิผู้เก่งกล้าทั้งเรื่องไสยศาสตร์และแพทยศาสตร์ ตอน 1 ภาพและเรื่องโดย เมธี ไทยนิกร ราคาปก 50 บาท )
    :- https://lanpothai.blogspot.com/2019/11/blog-post_23.html

     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๒๒๗.เทวดากตัญญู ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    Oct 19, 2021
    พระภิกษุหนุ่มจากเมืองไทย เดินธุดงค์ไปถึงดอยเขตเมืองปางยาง เทวดากตัญญูตนหนึ่งมาใส่บาตรให้ท่าน.

     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร
    1881-a67c.jpg วัดป่าโรงธรรมสามัคคี
    อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่


    ประวัติย่อหลวงปู่ทองบัว ตันติกโร


    หลวงปู่ทองบัว เกิดวันเสาร์ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ปีระกา ตรงกับวันที่ 11 ก.พ. 2464 เป็นบุตรของ นายปราโมทย์ นางสีดา พุทธสี เกิดที่บ้านหนองผักแว่น อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี มีพี่น้องทั้งหมด 12 คน เป็นชาย 6 หญิง 6 หลวงปู่ เป็นคนที่ 9 เมื่อยังเล็กได้ย้ายตามครอบครัวไปอยู่ จ.ขอนแก่น พออายุได้ 18 ปีเข้าบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสุวรรณคงคง อุปสมบท พ.ศ. 2485 มีพระครูพิศาลคณานุกิจ วัดมหาชัย เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา “ตนฺติกโร” จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองแวง อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี กระทั่งงานถวายเพลิงศพ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เสร็จแล้ว หลวงปู่ได้ร่วมกับกองทัพธรรมใน 108 รูป มุ่งขึ้นมาภาคเหนือ มาจำพรรษาที่วัดแท่นศิลาอาสน์ จ.อุตรดิตถ์





    ขณะนั้น คณะศรัทธา อ.สันกำแพงสร้างโรงธรรม ในปี พ.ศ. 2481 นิมนต์พระสายหลวงปู่มั่น มาพำนักและอบรมสมาธิภาวนา อาทิ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่แหวน เมื่อว่างเว้นจากพระเถระ คณะศรัทธา จึงไปนิมนต์หลวงปู่ทองบัว มาจำพรรษาที่สำนักโรงธรรม แล้วได้ซื้อที่ขยายอาณาเขตของสำนัก กระทั่งยกฐานะเป็นวัดโรงธรรมสามัคคี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2506 หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร เป็นเจ้าอาวาสวัดโรงธรรมสามัคคีมาตั้งแต่ต้น โดยได้สร้างพระเจดีย์โพธิปักธิยธรรม เป็นเจดีย์ ที่มีรูปร่างแปลกไปจากที่อื่น มีความหมายถึงการนำไปสู่การตรัสรู้ 37 ประการ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 รวมเป็น โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ฐานเจดีย์เป็นทรงกลม ภายในประกอบห้องสมุด ห้องแสดงศิลปวัตถุ ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวันเกิดและพระพุทธรูปต่าง ๆ และชั้นสูงสุด ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ





    เมื่อปี 2549 อายุ 84 ปี ได้ปรารภสร้างวิหารหลังใหญ่สองชั้น แต่การก่อสร้างได้ค้างคามาตลอด ประกอบกับหลวงปู่อาพาธด้วย แต่คณะศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิต และ ฆราวาส ตลอดจนตระกูลชินวัตร ผู้อุปถัมภ์วัด และ พระครูจิตติภัทราภรณ์ เจ้าอาวาสได้ร่วมกันสร้างวิหารสองชั้นจนมีความคืบหน้ามาตามลำดับ กระทั่งหลวงปู่มรณภาพลงในวันวิสาขบูชา





    สำหรับสมณศักดิ์ที่ได้รับ พ.ศ. 2501 เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูวิมลคณาภรณ์ พ.ศ.2535 เป็นพระราชาคณะ ที่พระวิมลธรรมญาณเถร พ.ศ.2547 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชพุทธิมงคล ด้านการบริหารคณะสงฆ์เคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน (ธรรมยุต) เกษียณอายุทางพระสังฆาธิการ แล้วจึงได้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดฯ





    เมื่อ เวลา 04.00 น. วันที่ 17 พฤษภาคม 54 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร หรือพระราชพุทธิมงคล อายุ 90 ปี พรรษา 69 ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน(ธรรมยุต) ผู้ก่อตั้งวัดโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และเป็นพระอาจารย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีรวมถึงคนในตระกูลชินวัตรที่อ.สันกำแพง ได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชราด้วยอาการอันสงบภายในวัดโรงธรรม โดยมีพระครูจิตติภัทราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดโรงธรรมสามัคคี พระเณรในวัดและบรรดาศิษยานุศิษย์เฝ้าดูแลจนถึงวาระสุดท้าย และศพจะตั้งบำเพ็ญกุศลไว้ที่วัดโรงธรรมสามัคคี



    ทำพิธีรดน้ำศพในวันที่ 18 พ.ค. เวลา 13.00 น.โดยมีข้าราชการชั้นผู้ในจังหวัดเชียงใหม่ และ ลูกศิษย์ที่ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงปู่ มาร่วมพิธีกันในครั้งนี้ คงมากันจนแน่นวัด หลังจากนั้นลูกศิษย์คงจะปิดศพไว้เพื่อกำหนดพระราชทานเพลิงศพต่อไป




    1883-00ec.jpg


    สำหรับหลวงปู่ทองบัว ตันติกโรนั้น เป็นพระเกจิอาจารย์ดังสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งชาวอ.สันกำแพง โดยเฉพาะคนในตระกูลชินวัตรให้ความเคารพนับถือมาตั้งแต่รุ่นของนายเลิศและนาง ยินดี ชินวัตร บิดาและมารดาของพ.ต.ท.ทักษิณ ครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 53 หลวงปู่ทองบัวฯยังได้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ประกอบพิธีทำบุญใหญ่เนื่องในวัน คล้ายวันเกิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยคนในตระกูลชินวัตรเป็นเจ้าภาพและมี สส.พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงภาคเหนือเดินทางมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณลี้ภัยไปอยู่ต่างแดนยังได้โทรศัพท์มาพูดคุยและสนทนาธรรม กับ "หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร" ในหลายโอกาส
    :- https://www.web-pra.com/amulet/หลวงปู่ทองบัว-วัดป่าโรงธรรมสามัคคี
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    หลวงปู่โทน กันตสีโล (พระครูพิศาลสังฆกิจ)
    ศิษย์เอกสำเร็จลุน
    เทพเจ้าแห่งสองฟากฝั่งแม่น้ำโขง
    วัดบูรพา ต.สะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    โดย สุรสีห์ ภูไท นิตยสารโลกทิพย์ พ.ศ. 2529
    โพสท์ในเวบ ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน โดย คนชอบพระ เมื่อ: 26 ธันวาคม 2554

    bar-1s.jpg


    lp-tone-hist-21.jpg
    ภายหลังจากที่ หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำคูหาสวรรค์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้มรณภาพลงไปแล้ว เสมือนขาดร่มโพธิ์ร่มไทรที่มีใบหนาปกคลุมให้ร่มเย็นไปอีกต้นหนึ่ง


    ดังนั้น ศิษยานุศิษย์และประชาชนพุทธบริษัทต่างก็แสวงหาร่มโพธิ์ร่มไทรต้นใหม่ เพื่อที่จะได้เข้าไปอาศัยร่มเงาให้มีความสุขกายสบายใจเหมือนเช่นที่เคยได้รับมาก่อน
    จนกระทั่งได้มีชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น หันไปกราบนมัสการพระอาจารย์ผู้เฒ่าท่านหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนหน้านั้นไม่มีใครให้ความสนใจมากนัก เพราะเข้าใจกันเองว่าท่านคงจะเป็นหลวงพ่อหลวงตาธรรมดา เนื่องจากท่านอยู่อย่างสมถะที่วัดบูรพา บ้านสะพือ อย่างเงียบๆ
    แต่ในที่สุดข้อเท็จจริงก็ได้ปรากฏให้เห็น เมื่อชาวบ้านต่างก็พูดถึงท่านอยู่บ่อยๆ ในการปฏิบัติธรรมของท่าน และมีผู้ไปกราบนมัสการท่านมากขึ้นผิดปกติ

    ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงได้ดั้นด้นไปสืบเสาะและแสวงหาข้อเท็จจริงว่า พระอาจารย์ที่ชาวบ้านเล่าลือและกล่าวขานถึงอยู่เสมอนั้น ท่านเป็นใคร? และมีปฏิปทาสมดังที่ชาวบ้านเขาเล่าลือจริงหรือไม่
    ในที่สุดผู้เขียนก็ได้พบกับพระอาจารย์ผู้เฒ่าผู้มีปฏิปทาสูงล้น และเป็นพระอาจารย์ที่มีวิทยาคมสูง เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมจริงๆ ท่านคือ


    lp-tone-hist-02.jpg
    หลวงปู่โทน กนฺตสีโล
    ชาติกำเนิด
    หลวงปู่โทน นามเดิมชื่อ โทน นามสกุล หิมคุณ เกิดเมื่อเดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ วันจันทร์ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐
    ท่านมีพี่น้องด้วยกันเพียง ๒ คนเท่านั้น ท่านเป็นคนโต เกิดที่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
    ถึงแม้อายุของท่านจะมากถึง ๘๙ ปีแล้วก็ตาม แต่ความจำต่างๆ ท่านยังจำได้แม่นยำ ซึ่งหาได้ยากยิ่งที่สุดที่ผู้มีอายุมากถึงเพียงนี้จะมีความจำเป็นเลิศเช่นนี้

    ภูมิหลังครั้งเด็ก
    หลวงปู่โทน ท่านมีเมตตาเล่าให้ฟังถึงในสมัยเป็นเด็กของท่านว่า
    “อาตมาเป็นคนโต บิดาจึงตั้งชื่อให้ว่า โทน ซึ่งที่แรกท่านคงคิดว่าจะมีลูกคนเดียว แต่ต่อมาก็ได้น้องเกิดขึ้นมาอีกคน”
    “สมัยหลวงปู่เป็นเด็ก ได้เรียนหนังสือที่ไหนครับ”
    “ในสมัยนั้นไม่ได้เข้าโรงเรียนหรอก เพราะอยู่บ้านนอกที่ห่างไกลความเจริญมาก วันๆ ก็เลี้ยงควาย ทำนา และหาปูหาปลามารับประทานกันตามมีตามเกิด เพราะย่านนั้นมีแต่ความแห้งแล้งเป็นประจำ มีแต่ป่าแต่เขา
    ถ้าจะเรียนรู้ การอ่าน การเขียนหนังสือ ก็ต้องอาศัยพระเณรที่วัดใกล้บ้านนั่นแหละเป็นผู้สอนให้”
    “หลวงปู่บวชมาตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ”
    “บวชมาตั้งแต่อายุได้ ๑๕ ปีโน่นแล้วบวชเป็นเณรที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง ไม่ได้ไปบวชที่ไหนหรอก บวชตามประสาบ้านนอก ผ้าสบงจีวรก็ขอเอากับพระในวัด ไม่ได้ซื้อ และท่านก็ให้มาชุดเดียวเท่านั้น” หลวงปู่ท่านกล่าวตอบอย่างซื่อๆ

    ได้เรียนรู้เมื่อบวช
    หลวงปู่โทน ท่านเปิดเผยให้ฟังต่อไปอีกว่า
    “ในสมัยนั้น พ่อแม่มักจะให้ลูกหลานของตนได้เข้าบวชเรียนเขียนอ่านกันในวัด เพราะจะได้ร่ำเรียนมีวิชาความรู้ ซึ่งเมื่อสึกออกมาก็จะเป็นผู้ครองเรือนที่ประกอบด้วยศีลธรรม แต่ถ้าไม่สึกหาลาเพศก็จะยิ่งดีใหญ่ เพราะพ่อแม่จะได้ชื่นชมว่าลูกตนมีบุญมีวาสนาได้ห่มผ้าเหลือง เป็นศิษย์ตถาคต พลอยให้พ่อแม่ได้พ้นจากนรกไปด้วย เพราะลูกฉุดดึงขึ้นไปตามความเชื่อถือกันมาแต่โบราณ”
    “หลวงปู่บวชที่วัดไหนครับ”
    “บวชอยู่ที่วัดบูรพา บ้านสะพือนี่แหละ บวชเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ อายุได้ ๑๕ ปีพอดี”
    “หลวงปู่ได้ศึกษากับใครครับ”
    “บวชแล้วก็ศึกษากับพระอุปัชฌาย์ในเบื้องต้น คือท่านสอนหนังสือที่จารอยู่ในใบลาน ซึ่งเป็นตัวธรรมทั้งนั้น เริ่มเรียนเป็นคำๆ ไป จนท่องขึ้นใจ
    บางที่ใช้ความจำด้วยตาว่าตัวไหนเป็นตัวอะไร มันหงิกๆ งอๆ อย่างไร ก็จำกันเอาไว้ให้ดี แต่จำได้เพียงตัวที่ท่านสอนนะ ตัวอื่นถ้าไม่สอน ก็ยังอ่านไม่ออกเหมือนกัน” หลวงปู่โทนท่านกล่าวอย่างอารมณ์ดี
    จากวันเป็นเดือน การเรียนหนังสือธรรมที่อยู่ตามใบลานก็ค่อยๆ ผ่านสายตาของหลวงปู่โทนเป็นลำดับ เพราะท่านกล่าวว่าท่านเรียนเอาความรู้ให้ได้จริงๆ มิได้หวังเอายศถาบรรดาศักดิ์ หรือหวังเอาชั้นอะไรทั้งนั้น
    ในสมัยบวชเป็นสามเณร หลวงปู่โทนท่านมีความขยันขันแข็ง ในการศึกษาหาความรู้ในด้านต่างๆ มาก เพราะที่วัดมีตู้หนังสือเก่าอยู่หลายตู้ ในแต่ละตู้ก็ล้วนแต่เป็นพระคัมภีร์และชาดกต่างๆ ซึ่งบางผูกบางกัณฑ์ก็กล่าวถึงพระเวสสันดร พระสุวรรณสาม พระเจ้าสิบชาติเป็นต้น
    “การเรียนรู้ทำให้หูตาสว่าง มีปัญญาทันคน ไม่หลงงมงาย” หลวงปู่โทนท่านกล่าว

    จากสามเณรเป็นภิกษุ
    หลวงปู่โทน หรือ ท่านพระครูพิศาลสังฆกิจ ได้เล่าให้ฟังถึงอดีตที่ผ่านมาของท่านต่อไปว่า
    เมื่อเห็นว่าการบวช คือการชำระจิตใจให้หมดจดในกองกิเลสทั้งปวง ทำให้มีจิตใจใฝ่ฝันที่จะไขว่คว้าหาวิชาความรู้ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก อาตมาจึงได้บวชพระกับหลวงปู่สีดา หรือ ท่านพระครูพุทธธรรมวงศาในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง
    หลวงปู่สีดา ที่หลวงปู่โทนกล่าวถึงนี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น เป็นพระนักปฏิบัติที่มีลูกศิษย์ลูกหาอย่างมากมายทั้งฝั่งลาวและฝั่งไทย
    ชื่อเสียงของหลวงปู่สีดาเป็นที่เลื่องลือไปว่า ท่านมีความสามารถทุกอย่าง ไม่ว่าในทางปฏิบัติและในทางไสยเวท ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ที่ใครๆ ก็นำบุตรหลานมาบวชกับท่านมิได้ขาด
    สำหรับหลวงปู่โทนนั้น ท่านบวชตั้งแต่เป็นสามเณรจนกระทั่งอายุครบบวช ท่านก็อุปสมบทต่อไปเลย โดยไม่ได้สึกออกมาผจญกับทางโลกแม้แต่น้อย


    lp-tone-hist-20.jpg lp-tone-hist-24.jpg

    กับ ๒ พระอาจาย์
    “เมื่อบวชพระแล้ว หลวงปู่ไปที่ไหนบ้างครับ”
    “อาตมาบวชได้หนึ่งพรรษา ก็ได้ไปศึกษาอยู่กับ หลวงปู่แพง ที่วัดสิงหาญ อำเภอตระการพืชผล ศึกษาอยู่กับท่านระยะหนึ่ง จึงได้ไปศึกษากับ อาจารย์ตู๋ วัดขุลุ ซึ่งทั้งสองพระอาจารย์นี้ท่านมีวิชาแก่กล้ามาก เป็นพระนักปฏิบัติเคร่ง”
    หลวงปู่โทน ท่านกล่าวถึงในสมัยที่ไปศึกษาวิชาต่างๆ กับสองพระอาจารย์ว่า
    ไม่ว่า หลวงปู่แพง หรือ อาจารย์ตู๋ ล้วนแล้วแต่เป็นพระผู้ใหญ่ที่มีคุณวุฒิและวัยวุฒิพร้อมสรรพ
    ท่านทั้งสองมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันกับ หลวงปู่สีดา ผู้เป็นพระอุปัชฌย์ของหลวงปู่โทน แต่ละท่านก็ได้ไปศึกษาหาความรู้กันจากฝั่งลาวมาก่อนทั้งนั้น
    สมัยนั้นการข้ามไปข้ามมายังฝั่งลาวมีความสะดวกสบายอย่างยิ่ง เพียงนั่งเรือข้ามแม่น้ำโขงก็ถึงกันแล้ว
    ใครที่อยากจะไปยังฝั่งเขมรเพื่อศึกษากับพระอาจารย์ทางฝั่งเขมรก็ไปกันได้เช่นกัน ไม่มีใครมาห้าม แต่ส่วนมากพระอาจารย์ทางเขมรก็ชอบออกเดินธุดงค์มายังฝั่งไทยเสมอ จึงได้เจอกันอยู่บ่อยๆ
    เมื่อเจอกันแล้วก็ได้ขอศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะทางด้านปฏิบัติ ใครติดขัดอะไรก็สอบถามกันไป
    ท่านคือตัวแทน...
    หลวงปู่โทน กนฺตสีโล พระอาจารย์ผู้เพิ่งจะค้นพบนี้ ท่านเล่าว่า เมื่อก่อนนี้ท่านอยู่อย่างสงบ ไม่มีใครมารบกวน เพราะอยู่วัดบ้านนอก ไม่มีความเจริญเท่าใดนัก
    แต่ในปัจจุบันนี้ผิดไปมากทีเดียว เนื่องจากเมื่อสิ้นหลวงปู่คำคะนิง แล้ว ญาติโยมได้หันมาหาท่าน

    ศิษย์สำเร็จลุน


    lp-tone-hist-23.jpg
    ผู้เขียนได้กราบเรียนถามท่านถึงเรื่อง หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และสำเร็จลุน พระอาจารย์ผู้ล่องหนย่นระยะทางได้ว่า ท่านได้เคยพบปะ หรือศึกษาธรรมอะไรกับท่านทั้งสองมาบ้าง ซึ่งหลวงปู่โทนก็ได้มีเมตตาเล่าให้ฟังว่า


    “หลวงปู่สำเร็จลุนนั้น เป็นพระอาจารย์ของอาตมาเอง เคยได้ไปอยู่ปรนนิบัติและศึกษาธรรมกับท่านมาแล้วที่วัดบ้านเวินไซ ในนครจำปาศักดิ์ฝั่งประเทศลาว

    ท่านสำเร็จลุนเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรมสูง มีเมตตตาจิต โอบอ้อมอารีต่อพระเณรผู้เป็นลูกศิษย์เสมือนพ่อปกครองลูก
    ท่านมีวิชาแก่กล้ามาก ไม่ว่าจะไปไหนมาไหนจะย่อแผ่นดิน (ย่นระยะทาง) อยู่เสมอ”
    หลวงปู่โทน ท่านเปิดเผยต่อไปว่า ความจริงแล้วท่านได้มีโอกาสไปปรนนิบัติหลวงปู่สำเร็จลุนตั้งแต่สมัยยังเป็นสามเณรโน่นแล้ว
    เมื่อท่านสำเร็จลุนว่างจากการปฏิบัติ ท่านก็จะเรียกไปบีบแข้งบีบขาให้ท่านอยู่เสมอ พร้อมกันนั้น ท่านก็จะกล่าวอบรมสั่งสอนธรรมะและข้อปฏิบัติให้นำไปปฏิบัติเป็นกิจวัตร
    “สำเร็จลุนท่านสอนทางด้านวิชาอาคมอะไรให้หลวงปู่บ้างครับ” ผู้เขียนเรียนถามท่าน ซึ่งท่านก็กล่าวตอบว่า
    “ก็มีอยู่บ้าง เพราะท่านเก่งทางวิทยาคมเป็นเลิศอยู่แล้ว ไม่ว่าวิชาไหนท่านรู้หมด จะเรียนวิชาอะไร ก็เรียนได้ ถ้ามีความขยันในการเรียน โดยท่านจะสอนให้กับทุกคน ไม่ปิดบังอย่างใดทั้งสิ้น”
    “หลวงปู่ได้วิชาอะไรจากสำเร็จลุนบ้างครับ”
    “วิชาหรือ ก็ได้ในแนวทางปฏิบัตินี่แหละ ถ้าเราปฏิบัติดี มีศีลธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรมความดี อย่าให้บกพร่อง ของดีก็อยู่กับเรา” หลวงปู่ท่านกล่าว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...