หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม


    lp-tone-hist-05.jpg
    ความจริงแล้ว หลวงปู่โทน ท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากสำเร็จลุนมามาก แต่ท่านไม่ยอมเปิดเผยให้ฟังโดยละเอียด เพราะท่านกล่าวว่า จะเป็นการอวดอุตริมนุสสธรรม จะทำให้ครูบาอาจารย์ท่านเสีย เพราะท่านไม่เคยโอ้อวดใคร
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระนักปฏิบัติอย่างท่านนั้น เมื่อมีใครไต่ถามอย่างไร ท่านก็จะตอบอย่างนั้น ตอบอย่างสั้นๆ ไม่นอกเรื่องและไม่พูดมาก ซึ่งผู้ที่ไม่รู้ความจริงก็อาจจะเข้าใจผิด คิดว่าท่านถือตัวหรือหยิ่ง พบยาก อะไรทำนองนี้
    แต่ความจริงแล้ว พระนักปฏิบัติอย่างหลวงปู่โทน ท่านมีเมตตาธรรมและคุณธรรมสูงมาก เป็นผู้ให้ตลอด ไม่เคยเรียกร้องเอาอะไรจากใคร
    เมื่อถามถึงเรื่องสำคัญในการศึกษาเล่าเรียนของท่าน ท่านมักจะกล่าวว่า
    “อย่าไปพูดถึงเลย เพราะจะทำให้ครูบาอาจารย์ท่านตำหนิเอา”
    คำพูดของหลวงปู่ทุกคำ ท่านจะกล่าวยกย่องครูบาอาจารย์ของท่านอยู่ตลอดเวลา และท่านมีความเคารพในครูบาอาจารย์อยู่เสมอ

    พบหลวงปู่มั่น

    lp-mun.jpg
    หลวงปู่โทน ท่านเล่าว่า สำหรับ หลวงปู่มั่นนั้น ท่านได้พบกันในระหว่างออกเดินธุดงค์ป่าแห่งหนึ่ง เขตตระการพืชผล
    “หลวงปู่มั่นท่านสอนธรรมะอะไรให้หลวงปู่บ้างครับ”
    “ไม่ได้สอนอะไรให้ เพราะต่างคนก็ต่างออกไปหาความสงบกันในป่า และไปคนละสาย คือไปคนละทางกัน แต่ก็ได้อยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับท่านมาร่วมเดือนในป่าแห่งหนึ่ง”
    หลวงปู่โทน ท่านเล่าถึงเมื่อคราวที่ท่านได้พบกับหลวงปู่มั่น ท่านก็มีความเคารพเลื่อมใสในตัวหลวงปู่มั่นเช่นกัน โดยท่านกล่าวว่า
    “ถึงแม้อาตมาไม่ได้ติดสอยห้อยตามหลวงปู่มั่นมาตั้งแต่แรก แต่เมื่อได้มาพบกับท่านก็มีความนับถือท่าน เพราะท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่ถือเคร่งมาก”
    หลวงปู่โทนเล่าว่า หลวงปู่มั่นเคยสอบถามท่านถึงเรื่องการปฏิบัติอยู่เสมอ และบางครั้งท่านก็ได้ชี้แนะแนวทางให้ด้วย
    แต่เมื่อติดขัดจริงๆ ก็ให้ไปเรียนถามสำเร็จลุน ซึ่งหลวงปู่มั่นมีความเคารพนับถือท่านอยู่มาก

    ล้วนเป็นศิษย์อาจารย์ดัง
    หลวงปู่โทนเล่าว่า ความจริงแล้วก่อนที่ท่านจะเข้ามาบวชเป็นสามเณรนั้น ท่านได้เรียนวิชามูลกัจจายน์กับ พระอาจารย์หนู ที่วัดบ้านเกิดของท่านมาก่อนจนกระทั่งเรียนจบ เพาะในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน ใครอยากจะเรียนก็ไปเรียนกับพระที่วัด
    “อาตมาเป็นเด็กวัดไปด้วย เรียนไปด้วย จนได้วิชามูล แต่ไม่มีชั้นอย่างเช่นทุกวันนี้ ที่มี ป.๑ ป.๒ ป.๓ อะไรทำนองนี้”
    ส่วนครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่โทนได้ไปศึกษาอยู่ด้วยนั้น ท่านเล่าว่ามีอยู่มากมาย เช่นอาจารย์ตู๋ วัดบ้านขุลุ อาจารย์แพง วัดสิงหาญ สำเร็จตัน และหลวงปู่สีดา เป็นต้น

    ธุดงค์ไปภูโล้น (ที่ถูกคือ ภูหล่น)
    หลวงปู่โทนเล่าว่า ในสมัยนั้นท่านจะออกเดินธุดงค์อยู่ตลอดเวลาไม่อยู่เป็นที่ เพราะครูบาอาจารย์ท่านอบรมสั่งสอยมาอย่างนั้น ก็ต้องปฏิบัติตามท่านสอน ต่อมาท่านได้ธุดงค์ไปถึงภูโล้น ได้พบกับหลวงปู่มั่นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้อยู่ปฏิบัติธรรมได้นานถึงหนึ่งเดือน


    lp-tone-hist-27.jpg [/LEFT]
    ความผูกพันระหว่างหลวงปู่โทน และสำเร็จตันนั้น (น่าจะหมายถึงหลวงปู่มั่น) หลวงปู่โทนกล่าวว่า เป็นความผูกพันที่ลึกซึ้งอยู่ ซึ่งจะเห็นได้จากในสมัยที่ท่านออกเดินธุดงค์ไปพบกันที่ภูโล้น (ที่ถูกคือ ภูหล่น) ในเขตอำเภอโขงเจียม และอำเภอศรีเชียงใหม่ (ที่ถูกคือ อ.ศรีเมืองใหม่) นั้น ท่านเล่าว่า
    “อาตมานั่งภาวนาห่างจากหลวงปู่มั่นเพียง ๕๐ เมตร เวลามีสัตว์ป่ามาก็รู้กัน และการขบฉันก็ฉันข้าวโพดในเวลาหิวในตอนเช้าเหมือนกัน
    ส่วนการถือว่าท่านสายนั้นสายนี้ ไม่เคยถือว่าเป็นสายอะไรทั้งสิ้น เพราะถือว่าท่านเป็นพระปฏิบัติเช่นเดียวกัน
    หลวงปู่โทนท่านให้ข้อคิดในการปฏิบัติธรรมว่า “เราได้เข้าไปสู่ถนนสายนี้แล้ว เป็นถนนที่ฆ่ากิเลสตายแล้ว และไม่มีความดีใจเสียใจอะไร แม้จะมีอะไรเกิดขึ้นก็ตาม”

    ต้องอดทนและอดกลั้น
    หลวงปู่โทน ท่านได้เล่าถึงชีวิตของการออกเดินธุดงค์ของท่านในช่วงหนึ่งว่า ไม่ว่าจะเป็นการขบฉัน หรือการปฏิบัติ จะต้องมีขันติ คือความอดทนให้มากที่สุด เพราะในป่าบางแห่งไม่ได้ฉันน้ำเลยเป็นเวลาถึง ๙ วันก็ยังมี
    เคยออกเดินธุดงค์ไปด้วยกัน ครั้งหนึ่งถึง ๑๑ รูป บางรูปฉันเอกา (ฉันมื้อเดียว) ได้เพียง ๙ วันก็อดทนไม่ได้ ต้องขอกลับออกมาก่อน บางรูปก็อดทนได้ ๑๕ วันก็ทนไม่ไหว ก็ขอกลับ เพราะทนต่อความลำบากไม่ไหว
    บางครั้งได้ฉันแต่น้ำถึง ๔ วันก็ยังเคยมี เพราะไม่พบหมู่บ้านของชาวบ้านเลย แต่ถ้าพบเขาก็จะถวายข้าวโพด ให้พอประทังความหิวไปวันๆ เท่านั้น
    หลวงปู่โทนเล่าว่า สำเร็จลุน ท่านได้เทศนาสั่งสอนอยู่เสมอถึงเรื่องการมีขันติ คือความอดทน อดกลั้นไม่ให้ติดในลาภ ให้มุ่งสู่ป่า เพื่อไปฆ่ากิเลสอันหมักหมมอยู่ในตัวส่วนการปฏิบัติธรรมนั้น ท่านให้ยึดคำภาวนาว่า “พุทโธจิต ธัมโมจิต สังโฆจิต” เพราะเป็นเครื่องหมายของการสำรวมให้มีความสงบอยู่ภายใน
    “ท่านให้ยึดจิตตัวเดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็อย่าให้ทิ้ง พุทโธจิต ธัมโมจิต สังโฆจิต”

    มหาเสน่ห์สำเร็จลุน


    lp-tone-hist-07.jpg
    หลวงปู่โทนเล่าว่า ในสมัยที่ปรนนิบัติท่านสำเร็จลุนที่เมืองเวินไซ นครจำปาศักดิ์นั้น ท่านให้ท่องจำพระคาถาอยู่บทหนึ่ง ซึ่งเป็นพระคาถาสั้นๆ ว่า

    “พุทธจิตใจ ธัมมจิตใจ สังฆจิตใจ พุทโธจิต ธัมโมจิต สังโฆจิต”

    เมื่อท่องได้แล้วได้ไปกราบเรียนถามท่านว่าเป็นพระคาถาอะไร และใช้ในทางไหน ซึ่งสำเร็จลุนก็ตอบว่าเป็นคาถามหาเสน่ห์ มีประโยชน์มาก ควรรักษาไว้ให้ดี

    สำหรับวิธีใช้นั้นใช้เสกใส่สีผึ้งเป็นเมตตามหาเสน่ห์ จึงได้เรียนเอาไว้ และเมื่อนำเอามาใช่ในปัจจุบันก็ได้ผลดี แต่ต้องใช้ในทางดี ไม่ใช่ใช้เพื่อทำลายผู้หญิง

    หลวงปู่ท่านเล่าว่า มีอยู่รายหนึ่งชื่อประยงค์ ทำงานอยู่ กรป. อุบลฯ ใช้สีผึ้งไปทาไม่เลือกหน้า และทาผู้หญิง จนผู้หญิงด่าคำหยาบคายที่ถูกลวนลาม แต่ในที่สุดกลับมาชอบ และไปใช้ไม่เลือกจนมีโทษแก่ตัวเองในที่สุด
    หลวงปู่ท่านกล่าวว่า “ขอร้องให้ใช้ในด้านเมตตาก็พอแล้ว ถ้ามั่นใจว่าชอบกันจริง ถ้าหากพร้อมทุกอย่างจึงทา
    เพราะผู้หญิงเป็นเพศที่มีเสน่ห์อยู่ในตัวอยู่แล้ว ถ้าไม่รับเลี้ยงจะเป็นบาปเป็นกรรมมากกว่าจะได้ประโยชน์”
    หลวงปู่โทน ท่านกล่าวว่า ส่วนมากท่านจะให้สีผึ้งของท่านแก่ผู้ที่ควรให้เท่านั้น โดยเฉพาะหมอลำทางภาคอีสานนั้นไปขอกับท่านเป็นจำนวนมาก และผู้ที่มีอาชีพ ซึ่งต้องติดต่อธุรกิจกับผู้อื่น เช่นค้าขายเป็นต้น
    “ความมีเสน่ห์ของคนไม่ได้อยู่ที่ใบหน้าเท่านั้น ต้องงามด้วยกิริยาวาจาด้วย จึงจะเรียกว่างามพร้อมสรรพ คือ มีบุคลิกอ่อนหวาน มีวาจาไพเราะเป็นต้น”

    กลับคืนวัดบ้านเกิด
    lp-tone-hist-08.jpg
    หลวงปู่โทนเล่าว่าหลังจากออกเดินธุดงค์เพื่อหาความวิเวกจากป่าเขาลำเนาไพรต่างๆ ในเขตจังหวัดอุบลฯ แล้ว ก็ได้เดินทางกลับมายังวัดบูรพา บ้านสะพือ เพื่อมาเข้าพรรษาตามปกติ ซึ่งไม่ว่าจะเดินธุดงค์ไปแห่งหนตำบลใด ก็จะกลับมาเข้าพรรษาที่วัดบ้านเกิดของท่านเสมอ
    เมื่อกลับจากการเดินธุดงค์แล้ว หลวงปู่โทนท่านได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ด้วยการศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติม
    “อาตมาต้องแยกเวลาเรียนคือเวลาหนึ่งทุ่มไปเรียนธรรมบท ส่วนกลางวันก็เรียนนักธรรม ต้องเรียนควบคู่กันไป อาตมาเรียนได้แค่ ป.๓ เท่านั้น เพราะสมัยนั้นมีแค่ ป.๓ ก็ว่าสูงสุดแล้ว เรียกว่าเป็นครูสอนได้แล้ว” หลวงปู่ท่านกล่าว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2021
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    การศึกษาของหลวงปู่โทนนั้น ท่านเล่าว่าต้องศึกษาด้วยการท่องจำทั้งหมด มิใช่อ่านผ่านไปเฉยๆ ฉะนั้นเมื่อท่านศึกษาวิชาอะไร ท่านจึงมีวิชาอย่างมั่นคงและใช้วิชาที่ได้ศึกษามาอย่างได้ผล
    “เมื่อศึกษาจบ เขาก็เอามาเป็นครูสอน โดยหลวงปู่สีดาผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ได้ตั้งเงินเดือนให้เดือนละ ๑๐ บาทเท่านั้น” หลวงปู่ท่านกล่าว

    เสี่ยงทายได้พระโทน
    ในสมัยที่หลวงปู่โทนบวชพระได้หนึ่งพรรษานั้น ท่านเล่าว่าได้รับนิมนต์ไปประกอบศาสนกิจ ณ พระอุโบสถวัดป่าใหญ่ร่วมกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่รวมทั้งหมด ๑๓ รูป โดยหลวงปู่โทนท่านนั่งเป็นองค์สุดท้าย
    ระหว่างนั้นได้มีพระสุราษฎร์ภักดี รองเจ้าเมืองอุบลฯ ในสมัยนั้นได้มาทำบุญถวายเครื่องสังฆทาน ซึ่งเป็นอัฐบริขารกองใหญ่และได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า
    “ข้าพเจ้าพร้อมด้วยบุตรธิดาได้นำเครื่องสังฆทานอันสมบูรณ์และบริบูรณ์ทั้งหลายเหล่านี้ขอถวายแด่พระคุณเจ้าผู้วิเศษ ถ้าหากข้าพเจ้าจะมียศถาบรรดาศักดิ์สูงขึ้น ก็ขอให้ถูกพระภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยปฏิปทาและจริยวัตรอันงดงาม และเจริญด้วยธรรมเทอญ”
    พออธิษฐานเสร็จพระสุราษฎร์ภักดีก็ได้ทำสลากให้พระคุณเจ้าทั้ง ๑๓ รูปจับเพื่อเป็นการเสี่ยงทาย คือให้จับสลากได้ใบเดียว ถ้าพระคุณเจ้ารูปใดได้ก็จะถวายให้พระรูปนั้น
    พระภิกษุที่ไปร่วมพิธีในวันนั้นล้วนแต่มีพรรษามากตั้งแต่ ๔๐ พรรษาลงมาจนถึง ๑ พรรษา
    ปรากฏว่าผู้ที่จับสลากเครื่องสังฆทานจากพระสุราษฎร์ภักดีได้ คือ พระภิกษุโทน ผู้มีเพียงหนึ่งพรรษาและนั่งอยู่ปลายแถวสุดนั่นเอง
    ทำให้พระสุราษฎร์ภักดีมีสีหน้าเปลี่ยนไปเล็กน้อย และได้รับการปลอบใจจากภรรยาซึ่งเป็นคนจีนทางภาคกลาง แต่มาอยู่เมืองอุบลฯ นาน ภรรยาของพระสุราษฎร์ภักดีได้มาปลอบขวัญว่า
    “ไม่เป็นไรหรอก คุณพระ ไม่ต้องเสียใจเพราะเรามีเจตนาดีแล้ว เพราะพระองค์นี้จะเป็นผู้รักษาศาสนาให้เจริญสืบต่อไป”
    คุณพระจึงได้หันไปถามพระโทนว่า
    “อยู่ไหน”
    พระโทนก็ตอบไปว่า “อยู่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล”
    คุณพระได้ถามต่อไปว่า “มาเรียนอะไร”
    พระโทนก็เจริญพรว่า “มาเรียนมูลกัจจายน์ ซึ่งขณะนี้ได้เรียนจบแล้ว กำลังเรียน ป.๓ และนักธรรมอยู่”

    เลื่อนชั้นทันตาเห็น
    ในปีต่อมาปรากฏว่า พระสุราษฎร์ภักดีก็ได้รับพระราชทานเลื่อนยศขึ้นเป็น “พระยาปทุมเทพภักดี” ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว
    และจากมูลเหตุดังกล่าวนั้นเอง ทำให้พระสุราษฎร์ภักดีบังเกิดความเคารพศรัทธาในพระโทน ถึงกับอุทานว่า
    “ไม่คิดเลยว่าการได้ทำบุญกุศลกับท่านจะได้รับอานิสงส์ถึงเพียงนี้”
    พูดจบได้ถวายเงินให้พระโทนไป ๕ บาท พร้อมกับกล่าวขอโทษกับท่านที่ได้เข้าใจผิด ซึ่งหลวงปู่ก็ไม่ติดใจอะไร เพราะท่านเป็นพระสงฆ์ย่อมมีเมตตาธรรมอยู่แล้ว
    “คนเราอยู่ที่วาสนาบารมีที่ได้กระทำมาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งการสร้างความดีย่อมได้ผลแห่งความดีเป็นเครื่องตอบแทน เพราะชีวิตเหมือนความฝัน สิ่งสำคัญคือความดี” หลวงปู่ท่านกล่าว

    ตั้งเป็นเจ้าอาวาส


    lp-tone-hist-28.jpg
    ขณะที่หลวงปู่โทนท่านมีอายุพรรษาได้ ๘ พรรษานั้น ได้มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ออกตรวจตราความเป็นปึกแผ่นของพระพุทธศาสนา และท่านได้ไปเห็นสภาพของวัดบูรพาซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ แต่ขาดผู้บริหาร คือไม่มีเจ้าอาวาสรักษาการอยู่ท่านจึงได้ให้หลวงปู่โทนมาเป็นเจ้าอาวาส
    “สมเด็จอ้วนท่านจับให้เป็นเจ้าอาวาสเลย ท่านประทับตราแต่งตั้งให้ไม่ให้ไปไหน ให้อยู่บูรณะวัดเก่าคือวัดบูรพาแห่งนี้ต่อไป”

    วัดบูรพา เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. ใด และใครเป็นผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บริเวณวัดในปัจจุบันประมาณ ๘ ไร่เศษ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านสะพือ มีชาวบ้านประมาณ ๑,๐๐๐ หลังคาเรือน
    สันนิษฐานว่าตั้งทีหลังวัดสิงหาญ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านสะพือ เพราะหมู่บ้านแห่งนี้มีอยู่ ๒ วัด เป็นวัดเก่าแก่ทั้งคู่ ซึ่งเชื่อว่าสร้างมาพร้อมกับหมู่บ้านอย่างแน่นอน แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดลงไปให้กระจ่างแจ้ง

    สำเร็จลุนมรณภาพ
    หลวงปู่โทนได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบูรพา บ้านสะพือ เป็นองค์ที่ ๒๐ ซึ่งเป็นปีที่สำเร็จลุน เทพเจ้าของชาวไทย-ลาว พระอาจารย์ที่มีวิทยาคมสูงเป็นที่ยอมรับนับถือของหมู่ศิษย์ว่า ท่านมีวิชาตัวเบา และมีความสามารถพิเศษเหาะเหินเดินอากาศได้ พร้อมทั้งย่นระยะทางได้ด้วย ท่านได้ถึงแก่กาลมรณภาพลงที่เวินไซ แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
    การมรณภาพของสำเร็จลุนยังความเศร้าโศกเสียใจแก่หมู่ศิษยานุศิษย์ และประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงเป็นอย่างยิ่ง

    ศิษย์ร่วมอาจารย์


    lp-tone-hist-10.jpg
    หลวงปู่สำเร็จลุนท่านมีลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดของท่านคือ สำเร็จตัน หลวงปู่แพง วัดสิงหาญ พระอาจารย์ตู๋ วัดขุลุ หลวงปู่สีดา (พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน) หลวงปู่มั่น (แม่ทัพธรรมผู้มีศิษย์ทั่วประเทศ) และหลวงปู่โทน กนฺตสีโล

    เมื่อสำเร็จลุนท่านมรณภาพลง คณะศิษย์ของท่านดังกล่าวได้ร่วมกันทำการฌาปนกิจผู้เป็นอาจารย์ของตน ที่บ้านเวินไซ ซึ่งหลวงปู่โทนก็ได้ไปในงานของบรมครูของท่านด้วย

    มรดกสำเร็จลุน
    สำหรับหลวงปู่โทนนั้นนับว่าเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดมาก ทั้งยังได้รับความรักเป็นพิเศษจากสำเร็จลุน ซึ่งจะเห็นได้จาก ก่อนที่ท่านจะมรณภาพนั้น ท่านได้สั่งเอาไว้ว่า
    “ถ้าอาตมามรณภาพไปแล้ว ขอให้เก็บไม้เท้าเอาไว้ให้ดีอย่าให้หาย”
    “ไม้เท้าของสำเร็จลุนมีลักษณะอย่างไรครับ” ผู้เขียนเอ่ยถามหลวงปู่

    lp-tone-hist-29.jpg

    “ลักษณะของไม้เท้าเป็นไม้แก่นที่ปลายเป็นงา”

    “ตอนนี้อยู่กับหลวงปู่หรือเปล่าครับ”
    “ไม่อยู่ เขาขอไปไว้บูชา”
    “ใครขอไปครับ”
    “โยมที่อุบลฯ เจ้าของร้านทองย่งเฮง”
    “ทำไมหลวงปู่ให้เขาไปล่ะครับ ไม่เสียดายหรือ”
    “เขาบอกขอบูชาเอาไว้เพราะป้องกันภัย ประเดี๋ยวเขาก็เอามาคืน”
    หลวงปู่โทนท่านไม่ยินดียินร้ายต่อลาภสักการะใดๆ ทั้งสิ้น ท่านมุ่งปฏิบัติธรรมอย่างเดียว แม้ทางคณะสงฆ์จะแต่งตั้งให้ท่าน เป็นเจ้าคณะอำเภอ ท่านก็ได้ปฏิเสธไป เพราะท่านชอบอยู่อย่างเงียบๆ
    “อาตมาไม่มีเวลาที่จะไปทำงานให้คณะสงฆ์เขาหรอก ขออยู่อย่างสงบๆ ดีกว่า เพราะเคยอยู่มาอย่างนี้ถูกกับจริตดี”

    อุบายสอนศิษย์
    หลวงปู่โทนท่านได้เล่าถึงเรื่องสำเร็จตันมาปรึกษาท่านว่าจะขอลาสึก ซึ่งท่านก็ให้กำลังใจว่า
    “อายุปูนนี้แล้วจะสึกไปทำไม สึกไปก็ไม่รู้จะไปทำอะไร ตอนนั้นสำเร็จตันท่านมีอายุร่วม ๓๐-๔๐ แล้ว อาตมาก็ได้ห้ามไม่เห็นดีด้วย”
    ต่อมาความทราบไปถึงหลวงปู่สีดา ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ใหญ่ ท่านก็ชักชวนสำเร็จตันเข้าไปในป่าเพื่อหาความสงบ เป็นการขัดเกลากิเลสให้เบาบางลงไป เพราะในป่าเป็นที่ไม่มีสิ่งเย้ายวนให้เกิดกิเลส มีแต่ธรรมชาติให้ได้เห็น


    “อุบายของพระอุปัชฌาย์ได้ผล เพราะพอออกจากป่า ก็ไม่คิดอยากจะสึก จึงทำให้สำเร็จตันอยู่ครองสมณเพศจนกระทั่งมรณภาพในที่สุด” หลวงปู่โทนท่านกล่าว
    หลวงปู่สีดาท่านมีอุบายแปลกๆ ให้กับบรรดาลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอ เมื่อใครชอบอะไร ท่านก็จะให้เลือกตามจริตของพระรูปนั้นๆ
    เช่น บางองค์ก็ชอบอยู่วัดป่า แต่บางรูปก็ชอบอยู่วัดบ้าน แต่การปฏิบัติก็ให้ยึดถือหลักปฏิบัติของครูบาอาจารย์ที่ได้อบรมสั่งสอนมา
    “ใครจะชอบอะไรท่านไม่ว่า แต่อย่าให้ผิดศีลธรรม คือใครจะอยู่วัดหรืออยู่ป่าก็ได้ ขอเพียงให้ปฏิบัติเคร่องอย่างเดียว” หลวงปู่กล่าว

    เห็นว่าเลื่อมใสจึงได้อยู่


    lp-tone-hist-06.jpg
    หลวงปู่โทนเล่าว่า หลวงปู่สีดา ท่านเดินธุดงค์มาจากนครพนมเข้ายโสธร ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นตำบลเล็กๆ อยู่ จนกระทั่งเดินธุดงค์มาถึงจังหวัดอุบลราชธานี และมุ่งไปยังอำเภอตระการพืชผลเพื่อจะข้ามไปฝั่งลาว
    เมื่อมาถึงบ้านสะพือ ชาวบ้านนิมนต์ท่านไว้ให้อยู่จำพรรษา เพราะไม่มีพระเณรอยู่เลย ท่านจึงอยู่ตามคำนิมนต์
    ต่อมาท่านได้เห็นขนบธรรมเนียมของชาวบ้านเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ท่านจึงไม่คิดจะไปอยู่ที่อื่น เพราะชาวบ้านก็เคารพนับถือท่านมาก
    ในที่สุดหลวงปู่สีดาจึงได้ปักหลักอยู่ที่วัดสิงหาญ บ้านสะพือ ซึ่งเป็นหมู่บ้านใหญ่ที่อยู่ใกล้กับแก่งสะพือ อันเป็นหนองน้ำใหญ่เหมือนกับหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

    ที่มาของสะพือ
    หลวงปู่โทนเล่าว่า แก่งสะพือ กับบ้านสะพือนั้นอยู่คนละที่กัน แต่อยู่ในเขตเดียวกัน และมีความเชื่อมโยงกันมาแต่อดีต
    ในสมัยก่อนนั้นได้มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมาว่า สาเหตุที่เรียกพะพือ หรือ สะพือนี้ มีเรื่องเล่าว่า ได้มีพ่อค้าเรือสำเภาจำนวน ๗๐๐ คน ล่องเรือไปตามมหาสมุทร แต่พอล่องเรือไปได้เพียง ๗ วันเท่านั้น เรือสำเภาก็แตก น้ำได้พุ่งขึ้นมาบนเรือ ทำให้พวกพ่อค้าที่อยู่บนเรือต่างก็กลัวความตายกัน ต่างคนต่างก็วุ่นวายไปหมด ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เพราะโกลาหลไปหมด
    บางคนก็ยกมือกราบไหว้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยเหลือ บางคนก็กล่าวบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ให้มาช่วยเหลือในยามคับขันเช่นนั้น
    ในจำนวนพ่อค้าทั้ง ๗๐๐ คนนั้น ได้มีอยู่คนหนึ่งซึ่งก่อนที่เขาจะลงเรือล่องมาตามมหาสมุทร เขาได้รับศีล ๕ จากพระสงฆ์ก่อน และได้ตั้งจิตอธิษฐานอย่างแรงกล้าว่าจะขอตั้งตนอยู่ในกรอบของพระไตรสรณคมน์คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
    พูดง่ายๆ ก็คือเขาจะขอยึดเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งทุกลมหายใจ ไม่คิดเป็นอย่างอื่น
    เมื่อเรือสำเภาแตก พ่อค้าผู้มุ่งมั่นอยู่ในศีลธรรม เขาก็ตั้งจิตตั้งใจเจริญภาวนา พิจารณาซึ่งศีลและทานที่เขาได้เคยกระทำมาอย่างไม่สะทกสะท้านและกระวนกระวายใจเหมือนเช่นคนอื่นๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2021
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    เหตุเพราะใจเป็นศีล
    ในบรรดาพ่อค้าด้วยกัน เมื่อมองเห็นอากัปกิริยาของพ่อค้าคนนั้นไม่มีความเดือดร้อนอะไรเมื่อภัยมาเช่นนั้น เขาจึงเอ่ยถามไปว่า
    “เป็นเพราะอะไรท่านจึงไม่กลัวความตาย”
    พ่อค้าคนนั้นก็ตอบเพื่อนพ่อค้าด้วยกันว่า
    “เป็นเพราะเรามีจิตใจบริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในศีล ๕ ประการ ถึงแม้จะตายไปก็คงจะไปสู่ชั้นเทวโลก ฉะนั้น เราจึงไม่หวั่นต่อภัยที่กำลังเกิดขึ้น”
    พ่อค้าในเรือสำเภาสงสัยจึงได้สอบถามต่อไปอีกว่า
    “ศีล ๕ นั้นเราจะรักษากันอย่างไร ช่วยแนะนำด้วย”
    พ่อค้าผู้มีศีล ๕ ก็ตอบเพื่อนพ่อค้าในเรือสำเภาที่แตกว่า
    “รักษาได้ ถ้าหากตั้งใจจริง”
    พูดจบพ่อค้าผู้มีศีลจึงได้แนะนำให้ทุกคนรับศีลจากเขา และได้จัดคนทั้งหลายเป็น ๗ พวกด้วยกัน คือจัดให้รวมกลุ่มเป็นพวกๆ ละ ๑๐๐ คนคือ
    พวกที่ ๑ เมื่อรับศีล ๕ แล้ว น้ำได้ท่วมขึ้นมาเพียงข้อเท้าเท่านั้น
    พวกที่ ๒ เมื่อได้รับศีล ๕ แล้ว น้ำได้ท่วมขึ้นมาเพียงเข่า
    พวกที่ ๓ เมื่อรับศีล ๕ แล้วน้ำได้ท่วมขึ้นมาเพียงต้นขาเท่านั้น
    พวกที่ ๔ เมื่อรับศีล ๕ แล้วน้ำได้ท่วมขึ้นมาเพียงบั้นเอว
    พวกที่ ๕ เมื่อรับศีล ๕ แล้วน้ำได้ท่วมขึ้นมาเพียงหน้าอก
    พวกที่ ๖ เมื่อรับศีล ๕ แล้วน้ำได้ท่วมขึ้นมาถึงคอ
    พวกที่ ๗ เมื่อรับศีล ๕ จากผู้มีศีลแล้ว น้ำทะเลได้ท่วมสูงขึ้นแค่ปาก
    เมื่อพ่อค้าทั้ง ๗๐๐ คนได้รับศีลแล้ว พ่อค้าผู้มีศีลอยู่ก่อนแล้วก็ตั้งตนเป็นอาจารย์ และได้ประกาศออกไปว่า
    “ศีล ๕ นี้เป็นที่พึ่งของเรา ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะเป็นที่พึ่งแล้ว ขอให้ท่านทั้งหลายจงตั้งมั่นอยู่ในศีลกันเถิด”
    หลังจากจบคำประกาศแล้วก็ได้พากันจมลงไปยังก้นมหาสมุทรในทันที และเมื่อพวกเขาตายไปแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดอยู่ในชั้นสวรรค์พร้อมกันทั้งหมด
    ทั้งนี้เป็นเพราะอานิสงส์ของการรักษาศีล ๕ เมื่อใกล้จะถึงเวลาตายเท่านั้น ซึ่งถ้าเราได้ปฏิบัติกันก่อนก็จะยิ่งดีใหญ่

    แก่งสะพือแดนศักดิ์สิทธิ์


    lp-tone-hist-30.jpg
    หลวงปู่โทนท่านเล่าต่อไปว่า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ก้ได้มีผู้เชื่อถือว่า เหล่าวิญญาณของพวกพ่อค้าวาณิชในเรือสำเภาที่ล่มนั้นได้เกิดเป็นเทวดาและมีชื่อว่า สตุลปกายิก ทั้งหมด และได้พร้อมกันมาปกปักรักษาสถานที่แห่งนั้นอยู่
    ด้วยเหตุนี้ตามความเชื่อกันมาว่าที่อยู่ของเหล่าเทพยดาสตุลปกายิก ทั้งอาจารย์และศิษย์คือ แก่งสะพือ นั่นเอง
    ส่วนผู้เป็นหัวหน้าก็คือ พะพือ องค์ศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ในบริเวณแก่งสะพือในทุกวันนี้
    แก่งสะพือจึงเป็นทั้งสถานที่น่าท่องเที่ยวเพราะมีทิวทัศน์อันสวยงามรอบๆ แก่ง ทั้งยังมีศิลาแลงที่มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ด้วย
    ในทุกๆ ปี จะมีงานประจำปีขึ้นที่แก่งสะพือ ผู้ที่จะเดินทางด้วยเรือ และพวกหาปลาในแม่น้ำมูลจะพากันมาขอขมาและกราบสักการะมิได้ขาด เพราะมีความเคารพท่านพะพือมากที่สุด
    ต่อมาไม่ว่าชาวบ้านสะพือ หรือในที่ไกลๆ ก็พากันมากราบไหว้พะพือ ซึ่งประดิษฐานอยู่ตรงกึ่งกลางแก่งมิได้ขาด
    ทั้งนี้เพราะความศักดิ์สิทธิ์ของพะพือ ที่ใครๆ ก็มีความเคารพกราบไหว้ แต่ก็เน้นการปฏิบัติบูชา คือ ท่านให้รักษาศีลอย่างเคร่งครัดเท่านั้น

    กลับเห็นว่าบ้า
    หลวงปู่โทนท่านได้เล่าถึงอดีตในสมัยที่ท่านเป็นพระหนุ่มๆ ว่า
    “อาตมาชอบฉันผักเป็นประจำ จนใครๆ ก็นึกว่าเป็นบ้า เพราะพระองค์อื่นๆ มีแต่ฉันสองเวลา แต่อาตมาฉันมื้อเดียวและฉันผักด้วย
    ความจริงแล้วการฉันผักเป็นสิ่งดี เพราะไม่เป็นการเบียดเบียนหมู่สัตว์เล็กสัตว์น้อย
    จริงอยู่สัตว์บางชนิดเป็นอาหารของมนุษย์ แต่ควรยกเว้นสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควาย บ้าง เพราะสัตว์ดังกล่าวมีพระคุณต่อมนุษย์ มันไม่เคยเรียกร้องเอาสิ่งของจากมนุษย์เลย มีแต่มนุษย์เรียกร้องเอาจากมันทุกอย่าง เราจึงควรงดรับประทานเนื้อสัตว์จำพวกนี้เสีย
    หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง ถ้าท่านรู้ว่าหมู่บ้านใดจัดงานบุญแล้ว ฆ่าควายท่านจะไม่ไปเลย ไม่ว่างานนั้นจะยิ่งใหญ่และสำคัญแค่ไหน”
    หลวงปู่โทนท่านถึงแม้อายุจะมากแล้วก็ตาม แต่ความจำของท่านดีเลิศแท้ ซึ่งจะเห็นได้จาก ไม่ว่าใครจะเคยไปกราบท่านมาแล้ว เมื่อไปในครั้งที่สอง ท่านจะทักทายได้แม่นยำทันที
    “อาตมาพอจำได้เพราะญาติโยมมาหาไม่มากนัก เพราะวัดของอาตมาอยู่ไกล อยู่บ้านนอก ไม่เหมือนอยู่ในที่เจริญมีผู้คนพลุกพล่าน ก็คงจะจำไม่ได้หมดเป็นแน่” หลวงปู่กล่าว


    ธรรมะบนต้นไม้


    lp-tone-hist-16.jpg
    เมื่อก้าวเข้าไปยังบริเวณวัดบูรพา อันเป็นสถานที่จำพรรษาของหลวงปู่โทน ก็จะพบกับคติธรรมต่างๆ ที่หลวงปู่โทนท่านได้ให้พระลูกศิษย์เขียนติดเอาไว้ เพื่อเป็นการเตือนสติของผู้ไปกราบท่านทุกคน
    อย่างเช่นต้นตาลปากทางเข้าวัด ท่านก็เขียนธรรมะติดเอาไว้ว่า
    “นอนนานงานน้อย ใช้บ่อยเงินหมด เงินมีหน้าสด เงินหมดหน้าแห้ง”
    “เกิดเป็นคน ต้องคนให้ทั่ว ปากไม่ล้น ก้นไม่รั่ว ชั่วไม่เอา เมาไม่มี นี่คือคน”
    “แก้วที่ว่าใส ยังไม่เท่าใจอันบริสุทธิ์”
    “เกิดเป็นคนอย่าจนซึ่งน้ำใจ”
    และจากต้นมะม่วง ต้นขนุน ตลอดจนต้นมะพร้าว มะไฟ ก็มีป้ายคติธรรมของหลวงปู่ติดเอาไว้ทุกต้น เช่น

    “ไวปากเสียศีล ไวมือไวตีนตกต้นไม้ เว้นชั่วทำความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส คือหัวใจของพระพุทธศาสนา”
    “คบคนพาลมักจะล้มทับตน คบบัณฑิตให้ผลจนวันตาย”
    “มักง่ายได้ยาก ลำบากได้ดี”


    lp-tone-hist-17.jpg
    “อย่าฟังความเขา อย่าเอาความง่าย”

    “การบูชาคนดี ย่อมให้สำเร็จประโยชน์ บูชาคนโฉดย่อมพาให้ท่านฉิบหาย”
    “รกคนดีกว่ารกหญ้า รกคนบ้า รกหญ้าดีกว่ารกคน”
    “อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา”
    “ชีวิตคือความฝัน สิ่งสำคัญคือความดี”
    ธรรมะบนต้นไม้ในบริเวณวัดบูรพาของหลวงปู่โทนนี้ แต่ละคำ ล้วนแล้วแต่เป็นคติสอนใจที่อ่านแล้วเข้าใจกันได้ง่าย ทำให้ผู้ไปกราบหลวงปู่ต้องเปลี่ยนอิริยาบถให้ดูเหมาะสมในเวลาไปสนทนากับท่าน
    เพราะท่านคืออริยสงฆ์ที่เป็นเนื้อนาบุญของพุทธศาสนิกชนชาวอีสานโดยแท้ และแม้แต่ประชาชนที่อยู่ห่างไกลก็ยังเดินทางไปกราบท่านมิได้ขาด

    มีให้แต่เพียงธรรมะ
    หลวงปู่ท่านมักจะกล่าวเสมอว่า มาหาอาตมาก็ไม่มีอะไรให้นะ มาเอาธรรมะไปพิจารณาก็แล้วกัน ให้ปฏิบัติบูชาดีกว่าอามิสบูชา เพราะพระพุทธเจ้าท่านทรงให้ปฏิบัติด้วยพระธรรมของท่านที่ท่านได้ฟันฝ่ามากว่าจะได้ค้นพบ ท่านต้องเอาบารมีทั้ง ๑๐ มาสู้กับมารที่เข้ามาผจญในรูปแบบต่างๆ มาแล้วคือ
    ทาน การให้ทรัพย์แก่คนไร้ทรัพย์
    ศีล คือการรักษาความสุจริตในไตรทวาร
    เนกขัมมะ คือการละจากกาม สละทรัพย์สมบัติ และความสุขทุกอย่างในทางคฤหัสถ์ออกบรรพชา
    ปัญญา คือความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ เช่น รู้ดีรู้ชั่ว รู้บุญรู้บาป
    วิริยะ คือความเพียรบากบั่นในทางที่เป็นคุณประโยชน์
    ขันติ คือความอดกลั้นทนต่อความโกรธ ไม่กระทำตอบหรือแก้แค้น
    สัจจะ คือความสัตย์ ซื่อตรง และจริงใจ
    อธิษฐาน ได้แก่ความตั้งใจมั่น
    เมตตา หมายถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเอ็นดูต่อคนหรือสัตว์ที่น่าสงสาร
    อุเบกขา คือความวางเฉยตั้งตัวเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้ายต่อความสุขหรือลาภของคนอื่น


    lp-tone-hist-18.jpg
    หลวงปู่โทนท่านกล่าวอย่างอารมณ์ดีและเป็นกันเองกับญาติโยมทุกคน ซึ่งในบางครั้งท่านก็หัวเราะชอบใจ เมื่อมีผู้ถามถูกใจท่าน เช่น
    “หลวงปู่ให้หวยบ้างหรือเปล่า”
    หลวงปู่โทนท่านจะหัวเราะและพูดตอบไปทันทีว่า
    “ไม่เอา อาตมาไม่เอาด้วย ไม่รู้จักเลย”
    หลวงปู้ท่านพูดทำเอาคนที่เอ่ยถามท่านพลอยไม่กล้าถามท่านถึงเรื่องนี้อีกต่อไป

    นำคนเข้าวัดด้วยธรรมะ
    ในวันเข้าพรรษาของทุกปีที่วัดบูรพา ชาวบ้านสะพือต่างก็พากันเข้าวัดเพื่อฟังธรรมจากหลวงปู่โทน ซึ่งบางคนก็ได้ถืออุโบสถศีล ถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ด้วยการนอนค้างที่วัดและปฏิบัติธรรมเจริญภาวนากับหลวงปู่
    โดยเฉพาะชาวบ้านที่มีอายุมากจะพากันหันหน้าเข้าวัดกันเกือบหมด เพราะหลวงปู่โทนท่านมีอุบายในการแสดงธรรม ซึ่งเมื่อผู้ใดได้รับฟังแล้วต่างก็ซาบซึ้งและเข้าใจเป็นอย่างดี


    lp-tone-hist-14.jpg
    หลวงปู่โทนท่านเทศนาว่า
    “การรักษาศีลไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ และศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือศีล ๒๒๗ ผู้รักษาย่อมจะได้อานิสงส์ของการรักษาศีลนั้นๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็ทรงตรัสเทศนาสรรเสริญ ดังมีในพระบาลีที่พระองค์ตรัสเทศนาแก่พระอานนท์เถรเจ้าว่า
    “ดูกร อานนท์ ศีลทั้งหลายนี้เป็นธรรมอันมิได้มีโทษ เป็นธรรมอันนักปราชญ์ไม่พึงติเตียนได้ เป็นประโยชน์ และมิได้เดือดร้อนกินแหนงเป็นอานิสงส์”
    หลวงปู่โทนท่านได้เทศนากล่าวอ้างถึงพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าถึงอานิสงส์ของการรักษาศีลว่า ผู้ที่รักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์จะได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ คือ

    ๑. ผู้มีศีลรักษาศีลบริบูรณ์บุคคลผู้นั้นย่อมจะได้กองสมบัติเป็นอันมากบังเกิดขึ้นแก่ตน เพราะตนมิได้ประมาท
    ๒. ผู้มีศีลรักษาศีลให้บริบูรณ์ กิตติศัพท์กิตติคุณอันสุนทรียภาพไพบูลย์ก็ย่อมจะฟุ้งเฟื่องไปในทิศานุทิศทั้งปวง
    ๓. ผู้มีศีลและยังศีลให้บริบูรณ์นั้น จะไปสู่ชุมชนใดก็ย่อมองอาจแกล้วกล้าด้วยเหตุปราศจากโทษ
    ๔. ผู้มีศีลและบริสุทธิ์ด้วยศีลนั้น ย่อมประกอบไปด้วยความเลื่อมใสมิได้หลงลืมสติ
    ๕. ผู้มีศีลและบริบูรณ์ด้วยศีลนั้น ครั้นตายไปก็จะได้ไปบังเกิดในมนุษย์สุคติและสวรรค์เทวโลกแล”

    ชี้โทษของการละเมิดศีล
    หลวงปู่โทนเมื่อท่านได้ยกเอาเรื่องอานิสงส์ของการรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว ท่านจะยกเอาโทษของการละเมิดในศีลทั้ง ๕ ข้อเอาไว้ด้วยคือ
    ๑. ผู้ผลาญชีวิตสัตว์จนเคยชินเป็นอาจิณ เมื่อจากโลกนี้ไปแล้วก็จะไปตดนรก เกิดเป็นเปรต หรือสัตว์เดรัจฉาน และเมื่อสิ้นกรรมไปแล้ว ถ้าได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์จะต้องโทษอย่างเบาที่สุดคือทำให้อายุสั้น
    ๒. ผู้ลักทรัพย์จนเคยชินเป็นอาจิณ เมื่อได้ละสังขารจากโลกนี้ไปแล้ว ก็จะไปตกนรกเป็นเปรต หรือสัตว์เดรัจฉาน และเมื่อสิ้นผลกรรมไปแล้ว ถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีก จะได้รับโทษอย่างเบา คือฉิบหายทรัพย์ และเป็นคนล้มละลายจนสิ้นเนื้อประดาตัว
    ๓. ผู้นอกใจคู่ครองคือเล่นชู้กันเป็นอาจิณ เมื่อจากโลกนี้ไปแล้ว จะไปตกนรกเป็นเปรต หรือเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าได้กลับมาเกิดมาเป็นมนุษย์อีก ก็จะต้องโทษอย่างเบาที่สุด คือถูกจองเวร
    ๔. ผู้ผิดศีลข้อที่ ๔ คือมุสา (พูดเท็จ) นั้นถ้าได้จากโลกนี้ไปแล้ว ก็จะไปตกนรกเป็นเปรต หรือเป็นสัตว์เดรัจฉาน และเมื่อสิ้นกรรมไปแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ จะต้องโทษอย่างเบาที่สุด คือเป็นคนถูกกล่าวตู่ด้วยความเท็จ
    ๕. ผู้ที่ชอบดื่มสุราเป็นประจำ เมื่อจากโลกนี้ไปแล้ว จะไปตกนรกเป็นเปรต เมื่อหมดกรรมที่เสวยแล้ว ก็จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเพื่อใช้กรรมในเมืองมนุษย์ คือจะเป็นคนบ้าๆ บอๆ เสียสติ เป็นต้น

    ฉะนั้นจึงควรรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์เอาไว้จะได้ขึ้นสวรรค์ดังพ่อค้าวาณิชในเรือสำเภาล่มที่แก่งสะพือดังกล่าว
    หลวงปู่โทน ท่านจะเน้นให้ญาติโยมรักษาศีลให้ได้เพื่อประโยชน์ภายหน้า และปัจจุบัน ซึ่งถ้าใครมีศีลมีสัตย์ บุคคลผู้นั้นจะเป็นผู้ที่มีคนเคารพนับถือ ซึ่งก็เป็นอานิสงส์อย่างหนึ่งของมนุษย์เรา ดีกว่าไม่มีอะไรเลย ดังที่ท่านกล่าวว่า
    “ชั่วไม่เอา เมาไม่มี นี่คือคน”

    เพื่อพ่อแม่เลยไม่อยากสึก


    lp-tone-hist-15.jpg
    หลวงปู่โทนท่านเล่าว่า ในสมัยเมื่อท่านอายุได้ ๕๕ ปี มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านมีกิเลสมาพัวพันจนนึกอยากจะสึกออกไปสู่โลกภายนอก แต่พอนึกถึงพระคุณของพ่อและแม่แล้วก็ต้องหยุดคิด

    “พระคุณของพ่อและแม่นั้นใหญ่หลวงยิ่งนัก ท่านใฝ่ฝันที่อยากให้ลูกได้บวชเรียนเขียนอ่านเพื่อจะได้เป็นการทดแทนบุญคุณของท่านด้วย และอีกอย่างคือเพื่อให้พ่อแม่ได้จับชายจีวรไปสวรรค์จะได้ไม่ไปตกนรก
    เพราะความเชื่อถือของชาวพุทธะนั้น ถ้าหากบุตรของตนได้บวชในพระพุทธศาสนาก็จะพลอยให้พ่อแม่ได้บุญด้วย คือไม่ตกนรกอเวจี หรือนรกขุมไหนทั้งนั้น”
    หลวงปู่โทนกล่าวว่า เมื่อศึกษาเล่าเรียนกับสำเร็จลุนแล้วท่านจะไม่ให้สึก เพราะถ้าสึกท่านก็ไม่ให้เรียน ท่านกล่าวว่า
    “บวชเอาพ่อแม่เถอะ ไม่มีอานิสงส์อะไรที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าการได้บวชให้พ่อแม่ของตน และเมื่อบวชแล้วก็ให้ตั้งใจศึกษาหาความรู้อย่าปล่อยให้เวลามันเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะเวลาซื้อกลับคืนมาไม่ได้ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง

    ผู้ที่เกียจคร้านในการทำงานนั้นจะกล่าวโทษ ๖ อย่าง คือ
    ๑. มักอ้างว่าหนาวนักแล้วไม่ทำงาน
    ๒. มักอ้างว่าร้อนนักแล้วไม่ทำงาน
    ๓. มักอ้างว่าเวลาเย็นแล้วไม่ทำการงาน
    ๔. มักอ้างว่ายังเช้าอยู่แล้วไม่ทำการงาน
    ๕. มักอ้างว่าหิวนักแล้วไม่ทำการงาน
    ๖. มักอ้างว่ายังอิ่มอยู่แล้วไม่ทำการงาน

    สำเร็จลุนท่านสอนอย่างนี้ จึงต้องปรับปรุงตัวเองจนเอาชนะใจตัวเองได้ในที่สุด เพราะท่านว่า ใครที่หวังในความเจริญ ไม่ว่าด้วยโภคทรัพย์หรือยศถาบรรดาศักดิ์ จงพึงเว้นในข้อเสียดังกล่าวนี้”

    อยู่ป่าอยู่บ้านก็ยังปฏิบัติ
    หลังจากออกธุดงค์ไปพบครูบาอาจารย์ต่างๆ เช่น สำเร็จลุน สำเร็จตัน หลวงปู่แพง อาจารย์ตู๋ หลวงปู่มั่น มาแล้ว หลวงปู่โทนท่านก็ออกจากป่าตามคำนิมนต์ของชาวบ้านสะพือ
    ถึงแม้ท่านจะออกจากป่ามาอยู่วัดบ้าน หลวงปู่โทนก็ยังนำเอาข้อปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ได้อบรมพร่ำสอน มาปฏิบัติด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด ท่านกล่าวว่า
    “อยู่ที่ไหนไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่จิตใจดวงเดียวเท่านั้น เพราะใจเป็นใหญ่ ใจเป็นที่ตั้ง และสำเร็จก้อยู่ที่ใจเท่านั้น ดังพุทธภาษิตที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสเอาไว้ว่า
    สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นผู้นำ มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วที่ใจก่อน ถ้าคนมีใจชั่วแล้ว พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ความทุกข์ย่อมติดตามคนนั้นไป เหมือนล้อเกวียนหมุนไปตามรอยเท้าโคฉันนั้น”

    พิจารณาทุกอิริยาบถ
    หลวงปู่โทนท่านได้นำเอาวิชาความรู้ที่ท่านได้ร่ำเรียนมา นำมาประกอบการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง นอน ท่านมีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา
    การยืนของท่าน คือยืนพิจารณาก่อนออกเดินจงกรม ท่านยืนพิจารณาดูว่า เส้นทางที่จะเดินจงกรมนั้น มีอะไรอยู่ข้างหน้า มีหนาม มีใบไม้หรือมีสัตว์เล็กสัตว์น้อย เช่น มด ปลวก พากันเรียงแถวเดินกันอยู่หรือไม่ ถ้ามี ท่านก็จะหยุดยืนดูจนมดปลวกเหล่านั้นเดินผ่านพ้นทางไปก่อน เพราะชีวิตของมันก็เหมือนชีวิตของสัตว์ทั่วๆ ไป

    “ดูอย่างมดแดงนั่นซิ ถ้าเราเอามือ หรือเอาไม้ไปแหย่รังของมัน มันก็จะพากันรุมทันที เพราะสัญชาตญาณการป้องกันภัยของมัน
    หรือแม้แต่ตัวปลวกเล็กๆ มันยังมีความสามารถสร้างรังของมันให้ใหญ่ได้ ฉะนั้นอย่าได้ประมาท หรือไปรังแกมัน จงมีเมตตาต่อกัน” หลวงปู่โทนท่านกล่าว
    การเดินจงกรมของหลวงปู่โทนนั้น ท่านเดินไปสิบก้าว เดินกลับไปกลับมาก็เป็นยี่สิบก้าว แต่ละก้าวท่านใช้สติพิจารณา และภาวนาคำว่า “พุทโธ” ด้วยการสูดลมหายใจเข้า-ออกจนเกิดอาการสงบทางจิต
    สำหรับการนั่งภาวนาของหลวงปู่โทนนั้น ท่านจะนั่งภาวนาจนดึกดื่นไม่ยอมลุกไปจากที่นั่งถ้าหากไม่ง่วง หรือถ้าง่วงจริงๆ ท่านก็จะจำวัดให้น้อยที่สุด เพราะท่านถือคติที่ว่า
    “ใครอยากรวยจงลุก ใครอยากทุกข์จงนอน” หลวงปู่ท่านกล่าว

    อภินิหารไม้เท้าสำเร็จลุน
    ตั้งแต่เจ้าของร้านค้าทองย่งเฮง ที่จังหวัดอุบลฯ ได้นำเอาไม้เท้าของสำเร็จลุนที่หลวงปู่โทน ท่านมีเมตตาให้นำไปบูชาไว้ เพราะได้ขอท่านไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งเขาได้นำเรื่องราวไปเปิดเผยให้หลวงปู่โทนฟังว่า
    “มีอยู่ครั้งหนึ่ง โจรมันจะเข้ามาขโมยของที่ร้าน แต่มันก็เข้าไม่ได้ เพราะมันเห็นเสืออยู่ที่หน้าร้านทั้งๆ ที่ไม่ใช่ป่า แต่ก็มีเสือมาปรากฏให้เห็น ซึ่งเรื่องนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันจนหนาหู”
    ไม้เท้าของสำเร็จลุนเป็นที่หวงแหนของบรรดาลูกศิษย์ท่านมาก ถึงกับต้องแบ่งกันนำไปบูชาซึ่งความจริงแล้ว ก่อนที่สำเร็จลุนท่านจะมรณภาพท่านได้กล่าวว่า
    “เมื่ออาตมาไปแล้ว ขอให้เก็บไม้เท้าเอาไว้ให้ดี”
    หลวงปู่โทนท่านกล่าวว่า ท่านสำเร็จลุน ท่านได้พูดฝากไม้เท้าต่อหน้าบรรดาศิษย์ที่เป็นพระภิกษุและสามเณรหลายรูป แต่ท่านก็ไม่ได้หวงแหนอะไร เพราะบรรดาญาติโยมถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงขอยืมจากหลวงปู่โทนนำไปบูชา เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวของตนต่อไป ท่านจึงได้ให้ไปจนป่านนี้ก็ยังไม่ได้นำมาให้ท่านเก็บไว้แต่อย่างใด

    แปลกแต่จริง
    เรื่องความแปลกแต่เป็นเรื่องจริงนี้ คือเรื่องหมู่บ้านสะพือกับแก่งสะพือที่ได้กล่าวเอาไว้ในบทก่อนว่า มีชื่อที่มีตำนานเล่าขานกันสืบมาแต่โบราณกาล
    ส่วนในด้านที่แปลกคือแก่งสะพือนั้น ความจริงอยู่ห่างจากหมู่บ้านสะพือไปประมาณ ๖ กม. เท่านั้น แต่แก่งสะพือต้องไปขึ้นกับอำเภอพิบูลมังสาหาร ซึ่งอยู่ไกลมาก
    ตรงกันข้ามกับหมู่บ้านสะพือซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน แต่ขึ้นกับอำเภอตระการพืชผล ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ ๑๒ กม. จึงทำให้มีผู้เข้าใจไขว้เขวว่า แก่งสะพือน่าจะขึ้นกับอำเภอตระการพืชผลด้วยกันกับหมู่บ้านสะพือ เพราะอยู่ใกล้กันแค่นั้นเอง
    “เมื่อทางการกำหนดเอาอย่างนั้น ก็ถือกันมาอย่างนั้น” หลวงปู่ท่านกล่าว

    เมื่อเข้าวัดก็ต้องสงบ
    หลวงปู่โทนท่านใช้เวลาว่างด้วยการให้พระเณรปัดกวาดลานวัดและเขียนคติธรรมเพื่อติดเอาไว้ตามต้นไม้ต่างๆ เพื่อเป็นข้อเตือนใจแก่ทุกคนที่ได้ไปเยือนวัดบูรพาของท่าน
    บริเวณวัดบูรพาของหลวงปู่โทนจึงมองดูสะอาดหูสะอาดตาและร่มรื่นที่สุด เมื่อใครได้เข้าไปในบริเวณวัดของท่าน จะทำให้จิตใจพลอยสงบไปด้วย และได้รับความร่มเย็นทั้งกาย คือภายนอกและใจ คือภายในอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

    มาเตือนทางนิมิต
    หลวงปู่โทนท่านเล่าว่าในคืนวันหนึ่งขณะนั่งภาวนา เมื่อจิตดื่มก่ำเป็นสมาธินิมิตต่างๆ ก็ได้ปรากฏขึ้น ท่านพยายามควบคุมจิต ติดตามเข้าไปดูอย่างใกล้ชิด จึงได้เห็นประจักษ์ชัดว่าเป็นภาพของท่านสำเร็จลุน พระอาจารย์ของท่านเอง
    หลวงปู่โทนกล่าวต่อไปว่า ท่านสำเร็จลุนได้มาบอกให้หมั่นเจริญวิปัสนาอย่าให้ละเป็นอันขาด
    ท่านอาจารย์สำเร็จลุนได้เอาของมาให้ แต่ไม่ทราบเป็นสิ่งของอะไร เพราะไม่ได้สังเกตอย่างละเอียด และท่านได้พูดกำชับเอาไว้เพียงว่า ขอให้รักษาตัวให้ดี หมั่นภาวนารักษาศีลอย่าให้บกพร่อง
    อาตมาก็ได้รับปากกับท่านว่าจะปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จากนั้นภาพในนิมิตก็หายไป อาตมาก็ได้นำมาพิจารณาทบทวนดูในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนเกิดความสว่างไสวภายในใจอย่างบอกไม่ถูก
    หลวงปู่โทนท่านกล่าวอย่างช้าๆ แต่ละเอียดทุกอย่างจนผู้ฟังนั่งสงบอย่างจดจ่อในขณะที่ท่านพูด
    ...มีมาคู่กับวัด


    lp-tone-hist-11.jpg
    ที่วัดบูรพาของหลวงปู่โทนนั้นได้มีญาติโยมไปกราบนมัสการพร้อมกับจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่บนผนังโบสถ์ซึ่งมีอยู่เพียงองค์เดียวเท่านั้น


    เมื่อสอบถามดูจึงได้รู้ความจริงว่า พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีมาคู่กับวัด เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนให้ความเคารพบูชาอย่างมาก

    หลวงปู่โทนท่านกล่าวว่าพระพุทธรูปเก่าองค์นี้เมื่อท่านมาอยู่ที่วัดแห่งนี้ท่านก็ได้พบแล้วแสดงว่าพระพุทธรูปดังกล่าวคงมีมานานเป็นร้อยๆ ปี
    “ทุกวันพระ จะมีประชาชนพากันมานั่งสมาธิที่หน้าพระพุทธรูปกันเป็นประจำ บางคนก็มาขอเสี่ยงทายด้วยการตั้งจิตอธิษฐานขอให้สำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา บางคนก็ขอโชคลาภ บางคนก็ขอบุตร ซึ่งก็ได้ผลมาแล้วเช่นกัน” ลุงคนหนึ่งไม่ยอมเปิดเผยชื่อกล่าว
    ผู้เขียนได้ไปกราบท่านตามคำแนะนำของคุณลุงท่านนั้น และได้นั่งสมาธิต่อหน้าท่านสักพักหนึ่งจึงกราบลาไปหาข้อมูลต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2021
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    อย่าอยู่อย่างประมาท

    lp-tone-hist-12.jpg
    หลวงปู่โทน ท่านเคยอาพาธหนักอยู่คราวหนึ่ง จนทำให้บรรดาศิษยานุศิษย์ของท่านต่างเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อจะรับงานท่านถ้าท่านมรณภาพ แต่ท่านก็กลับหายดีเป็นปกติในเวลาต่อมา
    บางคนถึงกับชวนกันสร้างเจดีย์ไว้เพื่อเป็นที่บรรจุอัฐิของท่านขึ้นแห่งหนึ่งอย่างสวยงามยิ่ง แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วท่านได้หายจากอาพาธพอดี จึงเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์จริงๆ
    หลวงปู่โทนกล่าวว่า ดีแล้วที่สร้างเอาไว้จะได้ไม่ต้องลำบากในภายหลัง เพราะสังขารเป็นของไม่แน่นอน มีเกิดก็ต้องมีดับเป็นของธรรมดา แม้แต่พระพุทธเจ้า พระองค์ท่านก็ยังให้ละในสังขารทั้งปวงโดยท่านตรัสว่า
    -สงฺขารา อนิจฺจา สังขารเป็นของไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืน จงอย่าได้ประมาท จงเร่งสร้างความดีกันเอาไว้
    -นิพฺพานาภิรโต มจฺโจ สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ผู้ยินดีในพระนิพพาน จึงจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

    ให้เชื่อในสิ่งควรเชื่อ
    หลวงปู่โทนท่านกล่าวแก่ญาติโยมที่ไปกราบท่านคนหนึ่งซึ่งไปขอโชคลาภในทางเสี่ยงว่า
    เรื่องเกี่ยวกับโชคลาภหรือโชคชะตานั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรไปยึดถือจนเกินไป จะถือว่ามีโชคชะตาเป็นของตัว แล้วจะงอมืองอเท้าโดยมิได้ทำสิ่งใด แล้วรอให้ผลดีเกิดขึ้นเองด้วยอำนาจโชคชะตานั้นหาได้ไม่
    โชคชะตาเป็นเพียงสิ่งสนับสนุนการกระทำของตน มิใช่เป็นหลักที่ควรยึดมั่นเอาเป็นสรณะ เพราะโชคชะตาเป็นเพียงเครื่องประกอบเท่านั้น ดังคำที่ท้าวสักกะสอนเป็นคติแก่ดาบสว่า
    “ความพยายามบากบั่นของมนุษย์ มีอำนาจเหนือโชคชะตา และเทพยดาฟ้าดินทั้งมวลได้”
    อนึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงสั่งสอนไว้ ๓ อย่างคือ
    ๑. ทรงสั่งสอนเพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
    ๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
    ๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่การปฏิบัติ

    ก่อนจาก...ฝากข้อคิด


    lp-tone-hist-13.jpg
    ก่อนที่จะออกจากป่าที่ภูโล้น อำเภอโขงเจียมนั้น หลวงปู่โทนได้เข้าไปกราบลาหลวงปู่มั่น ซึ่งท่านไปปฏิบัติธรรมอยู่ด้วยกัน หลวงปู่มั่นได้กล่าวเป็นข้อคิดให้หลวงปู่โทนฟังว่า
    “ไปอยู่บ้าน (วัดบ้าน) อย่าลืมป่าเน้อ”
    คำพูดสั้นๆ ของหลวงปู่มั่นในครั้งนั้น หลวงปู่โทนท่านได้ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะบ้านกับป่านั้นมันต่างกัน
    คือป่าเป็นที่อยู่ของผู้ชอบสมถะ เป็นที่สงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ส่วนบ้านนั้นคือที่ชุมชน ย่อมมีความวุ่นวายไม่รู้จบ
    ดังนั้นท่านจึงต้องพยายามสงบระงับในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะการมาอยู่รวมกันในคนหมู่มาก ย่อมเกิดปัญหาตามมาไม่มากก็น้อย ท่านจึงต้องอาศัยการที่ได้อยู่ป่ามาก่อนเป็นเครื่องควบคุม
    “อาจารย์มั่นท่านเป็นคนมีใจหนักแน่น มีอุบายธรรมที่แยบคาย ใครได้รับฟังท่านเทศน์จะเกิดความศรัทธาปสาทะอย่างยิ่ง ท่านเกิดก่อนอาตมา ๒๗ ปี คือท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๔๑๓ ส่วนอาตมาเกิด พ.ศ. ๒๔๔๐
    สมัยที่อาตมาไปอยู่ภูโล้น (ภูหล่น) ได้พบกับท่านนั้น ท่านก็เป็นพระผู้ใหญ่แล้ว อาตมายังเป็นพระหนุ่มอยู่ ท่านมีความคล่องแคล่วว่องไว เป็นตัวอย่างที่ดีของลูกศิษย์ลูกหาที่ได้ปฏิบัติตามท่าน” หลวงปู่กล่าว

    ธรรมโอวาทจากใจท่าน
    หลวงปู่โทนท่านเทศนาสั่งสอนญาติโยมอยู่เสมอในวันพระขึ้น ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ และยิ่งในวันเข้าพรรษา ท่านจะเทศนาวั่งสอนและอบรมกรรมฐานให้บรรดาพระลูกวัดและญาติโยมได้ปฏิบัติเป็นประจำ
    หลวงปู่โทนกล่าวว่า คนเราเมื่อเกิดมาแล้วก็จงแสวงหาปัญญา เพราะปัญญาเป็นเครื่องส่องแสงสว่างให้เราได้มองเห็น บาป บุญ คุณ โทษ
    แต่การใช้ปัญญาในทางที่ผิดก็เป็นบาป หรือใช้ปัญญาเล่ห์กลก็ไม่ดีเช่นกัน
    “อันวิชาความรู้นั้น ไม่ว่าจะเป็นวิชาอะไร ถ้ารู้ดีจริงๆ แล้ว ย่อมมีคุณประโยชน์สามารถนำความสุขความสำเร็จมาให้แก่เจ้าของคือตัวเราได้
    วิชาแต่ละอย่างย่อมมีค่าสูงอยู่ในตัวของมันเอง เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งของสังคมมนุษย์ ซึ่งธรรมดาชีวิตมนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องกับหลายด้าน เช่น ด้านการศึกษา ด้านร่างกาย ด้านศีลธรรม ด้านจิตใจ ด้านการหาเลี้ยงชีพ
    ในแต่ล้านล้วนมีความจำเป็นสำหรับชีวิตเท่าๆ กัน เพราะบุคคลแต่ละคนย่อมมีความชำนาญในด้านที่ตนถนัด
    วิชาจะมีคุณค่าและอำนวยประโยชน์ให้แก่เจ้าของเต็มที่ก็ต่อเมื่อเจ้าของรู้ดีจริงๆ ในวิชานั้นๆ แต่มิใช่เอาวิชาความรู้ไปใช้ในทางที่ผิดๆ”

    ที่พึ่งที่แท้คือพุทธะ
    หลวงปู่โทนท่านได้เปิดเผยถึงชีวิตของท่านว่า
    “ในชีวิตของอาตมานี้ขอมอบไว้กับพระพุทธศาสนาตลอดชั่วชีวิต เพราะการได้ปฏิบัติในทางธรรมแล้วทำให้จิตใจสงบไม่เหมือนกับในครั้งที่เป็นฆราวาส
    เพราะเกิดมาก็มองเห็นสภาพของความทุกข์ ที่กล่าวนี้มิใช่ว่ากลัวความลำบากนะ แต่ความทุกข์ในที่นี้คือทุกข์ใจที่ไม่มีความสงบ มันฟุ้งซ่านไปหมด ไม่เหมือนกับการได้บวชเรียนเขียนอ่านอยู่ในเพศบรรพชิต มีความร่มเย็นทั้งกายทั้งใจ
    ใครก็ตาม ถ้ามีโอกาสก็ควรได้ปฏิบัติธรรมกันบ้าง เพราะจะทำให้จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ซึ่งบางคนประสบกับปัญหาชีวิตอย่างหนัก แก้ไขไม่ได้ก็ทำลายตัวเอง ซึ่งไม่ถูกต้องนัก
    คนเราทุกคนจะต้องมีความหนักแน่นในใจอย่าเป็นทาสของอารมณ์ อย่าให้อารมณ์เป็นใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด แล้วจะชนะทุกสิ่งทุกอย่าง
    ที่สำคัญคือพยายามทำใจให้ได้ รู้จักปล่อยวางได้บ้าง อย่าไปยึดอะไรมากนัก ยิ่งยึดถือมากยิ่งหนักมากเท่านั้น”

    ขอเพียงใจบริสุทธิ์
    หลวงปู่โทนท่านเป็นพระผู้ยึดสมถะไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น ใครไปหา ท่านก็จะไต่ถามสารทุกข์สุขดิบด้วยความเมตตา
    บางคนมาไกลเพียงต้องการพบพระอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเช่นหลวงปู่ แล้วก็อยู่พูดคุยกับท่านเป็นวัน และบางคนก็อยู่ปฏิบัติธรรมกับท่านไปด้วย โดยมากจะมาจากในที่ไกลๆ เช่น กรุงเทพฯ นครราชสีมา สิงห์บุรี ชัยนาท ก็มีผู้ไปกราบท่านที่วัดเป็นประจำ
    “ใครจะไปจะมาจากที่ไหนไม่สำคัญ เพียงแต่ให้มาดีไปดีมีศีลธรรมนำติดตัวไปด้วยก็พอแล้ว ไม่ต้องเอาอะไรมาให้หรอก ให้เอาใจมาปฏิบัติให้มากที่สุด เพราะกุศลจะเกิดก็เกิดจากศรัทธาอันบริสุทธิ์เท่านั้น” หลวงปู่ท่านกล่าว

    ขอพึ่งบารมี


    lp-tone-hist-32.jpg
    หลังจากหลวงปู่คำคะนิง แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำคูหาสวรรค์ได้มรณภาพลงไปแล้ว พระอาจารย์ทองสา (ฐานทินโน คำแฝง) ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิดได้เดินทางมาขอพึ่งบารมีหลวงปู่โทนที่วัดบูรพา เพราะไม่มีพระอาจารย์องค์ไหนเหมาะสมเช่นท่าน
    “ครูบาอาจารย์ที่บางคนอาจมองข้ามไปเพราะท่านไม่แสดงตัวมากนัก ผู้คนจึงไม่รู้จักท่าน แต่อาตมารู้มาก่อนแล้ว เพราะหลวงปู้คำคะนิงท่านเคยพูดถึงอยู่เสมอว่า
    ในท้องถิ่นย่านนี้ต้องยกให้ท่านโทน (หลวงปู่โทน) เขา เพราะเขาบวชมานาน รู้จักครูบาอาจารย์มามาก ท่านมีอะไรดีๆ อยู่เยอะ”
    พระอาจารย์ทองสาจึงได้เดินทางมาพบกับหลวงปู่โทนเพื่อแสดงตัวขอเป็นศิษย์กับท่าน เพราะได้รับคำกับหลวงปู่คำคะนิงไว้แล้ว ก่อนที่ท่านจะมรณภาพไม่กี่เดือน
    “ที่วัดของหลวงปู่คำคะนิงก็กำลังพัฒนาเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของหลวงปู่ท่าน แต่ท่านมาด่วนมรณภาพไปก่อน จึงต้องมาขอคำแนะนำจากหลวงปู่โทน เพื่อท่านจะได้ชี้แนะแนวทางให้ ซึ่งท่านก็มีเมตตาอนุเคราะห์ให้ความช่วยเหลือบางสิ่งบางอย่าง เพราะท่านเองก็กำลังก่อสร้างพระอุโบสถอยู่เช่นกัน” พระอาจารย์ทองสากล่าวถึงความมีเมตตาของหลวงปู่โทน

    พัฒนาที่จิตสำคัญกว่า
    หลวงปู่โทนกล่าวว่า เมื่ออกจากป่าแล้วก็ต้องมาพัฒนาวัดให้มีความเจริญหูเจริญตาแก่ผู้พบเห็น เพราะวัดบ้านมีผู้ไปมาอยู่เสมอมิได้ขาด ส่วนวัดป่าไม่มีใครไปรบกวน


    lp-tone-hist-09.jpg
    ฉะนั้น เมื่อมาอยู่วัดบ้านก็ต้องพัฒนาไปให้ทัดเทียมเขา อย่าให้เขาว่าได้ว่าอยู่ไปวันๆ โดยไม่ได้ทำอะไรเลย
    ความจริงแล้วหลวงปู่ท่านไม่ได้สร้างอะไรให้ใหญ่โตแต่อย่างใด เช่น ในการก่อสร้างพระอุโบสถของท่าน ก็จัดสร้างขึ้นอย่างย่อมๆ ไม่หรูหราใหญ่โตอะไรมากนัก
    สร้างเสนาสนะเพียงเพื่อให้มีที่ประกอบศาสนกิจทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น มิได้สร้างให้ใหญ่โตเพื่อแข่งขัน และไม่ทำให้ใครเดือดร้อนไปด้วย ใครมีศรัทธาแค่ไหนก็ทำไปแค่นั้นไม่หยุดนิ่ง คือทำไปเรื่อยๆ ไม่เร่งรีบ เสร็จเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น
    “ขอให้พัฒนาจิตใจให้ดีเสียก่อนจึงจะให้พัฒนาทางวัตถุ เพราะเมื่อจิตใจเจริญแล้ว ย่อมจะรู้ว่าอะไรควรทำและไม่ควรทำ
    ถ้าวัตถุเจริญก่อน จะทำให้เกิดกิเลส มีความคิดผิดแปลกออกไป เช่นจะต้องเอาอย่างนั้นอย่างนี้เหมือนเขา อย่างนี้มันไม่ดี ไม่ควรยึด” หลวงปู่ท่านกล่าวอย่างอารมณ์ดี

    สืบต่ออย่างเคร่งครัด
    จากการเปิดเผยของหลวงปู่โทน ท่านเล่าว่า ญาติโยมชาวบ้านสะพือแห่งนี้ มีความเชื่อถือและยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
    “ชาวบ้านสะพือยังยึดถือประเพณีของชาวอีสานอย่างเหนียวแน่น เมื่อก่อนเป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้น
    เพราะเขาได้ปลูกฝังกันมาตั้งแต่บรรพชน คือ ให้นับถือพุทธศาสนาอันประเสริฐนี้เป็นหลัก
    ประเพณีต่างๆ ยังอยู่ครบในหมู่บ้านสะพือแห่งนี้ เช่นงานบุญสลากภัต งานบุญบั้งไฟ งานบุญเข้าพรรษา และออกพรรษา มีญาติโยมเข้าวัดกันเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่เด็กเล็กจนกระทั่งถึงผู้ใหญ่” หลวงปู่โทนกล่าว
    ผู้เขียนสัมผัสกับชาวบ้านสะพือ ก็เป็นจริงอย่างนั้น เพราะไม่ว่าคนต่างถิ่นจะไปหาใครในหมู่บ้านนั้น เขาจะให้การต้อนรับด้วยการไต่ถามอย่างเป็นกันเอง ให้ความสะดวกทุกอย่างไม่เห็นแก่ตัว และที่สำคัญ ชาวบ้านสะพือ ให้ความเป็นมิตร มีความนอบน้อม ไม่แสดงกิริยาวาจาที่ส่อไปในทางอคติแต่อย่างใด จึงน่าสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะมัคนายกวัดให้ความกระจ่างในประวัติความเป็นมาของวัดเป็นอย่างดี

    ถ้ามาดีทางสะดวก
    ผู้เขียนมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเดินทางไปกราบครูบาอาจารย์สายอีสานซึ่งมีอยู่หลายรูป ที่ยังไม่ได้นำเอาอัตชีวประวัติของท่านมาเผยแพร่ ทั้งนี้เพราะมีอยู่ทั่วทุกแห่ง อย่างเช่น หลวงปู่โทน ผู้เขียนมีความตั้งใจที่จะไปกราบท่านตั้งแต่ครั้งเดินทางไปกราบ หลวงปู่คำคะนิง ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่มาก่อนแล้ว แต่ยังหาโอกาสไม่ได้สักที
    ในที่สุดความตั้งใจก็ประสบความสำเร็จ เพราะบารมีของหลวงปู่ที่ดลบันดาลให้แท้ๆ จึงได้ไปกราบท่าน ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์จริงๆ ที่จู่ๆ ก็คิดที่จะไปกราบท่านทั้งๆ ที่ยังไม่มีโปรแกรมที่จะไปทางนั้น
    ความอัศจรรย์ที่เกิดอภินิหารขึ้นระหว่างการเดินทางคือ ได้รับความสะดวกสบายไปตลอดทาง โดยไม่คาดหมายมาก่อน เช่น ได้พบแต่ผู้คนที่ดีให้คำแนะนำในเส้นทางที่จะไป และบางคนถึงกับนำรถไปส่งถึงที่ ทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็รับอาสามาให้ความสะดวก นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกอย่างยิ่ง
    “ใครไปหาหลวงปู่ก็ได้รับความสะดวกถ้าหากไปดี แต่ก็เคยมีผู้มารบกวนหลวงปู่ในเรื่องอื่นๆ เช่นกัน ท่านรู้ท่านจะไม่ออกมาพบเลย ทำเอาคนที่จะไปเบียดเบียนท่านผิดหวังไปตามๆ กัน” ลูกศิษย์คนหนึ่งที่คอยอุปัฏฐากท่านกล่าว

    พรหลวงปู่โทน


    lp-tone-hist-19.jpg
    ก่อนจาก หลวงปู่โทน ท่านได้อวยพรให้ว่า “เกิดเป็นคน อย่าจนซึ่งน้ำใจ”
    คำกล่าวของหลวงปู่เป็นคำอวยพรสั้นๆ ของท่าน ซึ่งผู้ฟังถ้าหากมองอย่างผืวเผินก็คิดว่าไม่มีอะไร เพียงเป็นคติของท่านเท่านั้น แต่ถ้าหากนำมาคิดพิจารณาให้ละเอียดแล้วจะเห็นว่า คำให้พรของหลวงปู่โทนมีความหมายอย่างลึกซึ้งมาก เพราะคนเราถ้าหากแล้งซึ่งน้ำใจแล้วใครเขาจะคบค้าสมาคมด้วย เมื่อไม่มีใครคบ โภคทรัพย์ต่างๆ ก็ไม่บังเกิดขึ้นแน่ เนื่องจากไม่มีน้ำใจให้ใคร เขาก็จะไม่มีน้ำใจตอบเช่นกัน
    “เมื่อมีน้ำใจ แม้ไม่มีทรัพย์ ก็ประเสริฐยิ่งกว่ามีทรัพย์ เช่นการช่วยเหลือผู้ที่ควรช่วยเหลือ ก็จะได้รับสิ่งตอบแทน คือการแสดงความขอบคุณ แสดงความเป็นมิตรเกิดขึ้น


    lp-tone-hist-03.jpg
    แต่ถ้าแล้งน้ำใจ ก็จะไม่มีอะไรเป็นสิ่งตอบแทน นอกจากจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว มองไปทางไหนก็ไม่มีใครสนใจ
    ฉะนั้นพรที่ว่านี้ จึงเป็นพรที่อมตะยิ่ง ให้ไปพิจารณาเอาเองก็จะรู้เองว่าอะไรเป็นอะไร เพราะการอยู่ร่วมโลกเดียวกันนี้ต้องมีน้ำใจต่อกัน จึงจะอยู่กันได้อย่างสันติ” หลวงปู่กล่าว

    เส้นทางมุ่งสู่วัด
    ท่านผู้อ่านที่ตัองการเดินทางไปกราบนมัสการ หลวงปู่โทน กนฺตสีโล พระอาจารย์ผู้เป็นศิษย์เอกของสำเร็จลุนที่ยังหลงเหลืออยู่นี้ ขอให้ท่านตั้งต้นกันที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
    จากอำเภอตระการพืชผลใปหมู่บ้านสะพือ มีระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามถนนสายตระการพืชผล-ศรีเมืองใหม่-โขงเจียมในทางทิศตะวันออก เลี้ยวขวาที่หมู่บ้านกุศกร ที่อยู่ห่างจากอำเภอตระการพืชผลเพียง ๕ กิโลเมตร

    lp-tone-hist-04.jpg
    และจากหมู่บ้านกุศกรไปอีกประมาณ ๗ กิโลเมตร ก็จะถึงหมู่บ้านสะพือ และที่ตั้งของวัดบูรพาซึ่งเป็นวีดที่หลวงปู่โทนท่านจำพรรษาอยู่
    ณ ที่แห่งนี้ร่มรื่นด้วยรสพระธรรมของพระสุปฏิปันโนผู้เป็นเนื้อนาบุญแผ่ไพศาล ควรที่ทุกท่านได้ไปกราบท่าน เพราะท่านคือศิษย์ของสำเร็จลุนโดยแท้ และเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ชื่อดังอีกหลายท่าน ล้วนแล้วแต่เป็นครูบาอาจารย์สายปฏิบัติธรรมทั้งนั้น
    เมื่อไป ถ้ำคูหาสวรรค์ แล้ว ก็ควรแวะ วัดบูรพาด้วย เพราะหลวงปู่โทน คือผู้ที่เป็นตัวแทน หลวงปู่คำคะนิง องค์ต่อไป

    bar-white-lotus-small.jpg
    :- http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tone-wat-burapa/lp-tone-hist-01.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2021
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    บุญปล่อยเต่า..ตายแล้วฟื้น!

    thamnu onprasert
    Oct 23, 2021
    อานิสงส์ผลบุญปล่อยเต่า ช่วยให้ตายแล้วฟื้น ได้กลับมาบวชสร้างความดีจนตลอดชีวิต


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2021
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    พระอริยเจ้ากล่าวถึงหลวงตามหาบัว// ปู่ดอน station

    ปู่ดอน station
    Aug 9, 2021
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านคือพระอรหันต์ที่พระอริยสงฆ์ต่างๆล้วนกล่าวยกย่องชมเชยในคุณธรรมของท่าน ซึ่งพระอริยสงฆ์เหล่านี้ ได้แก่..

    1.หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    2.หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    3.หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก
    4.หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
    5.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
    6.หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ในสายหลวงปู่มั่น พระที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณ มีใครบ้าง?//ปู่ดอน station

    ปู่ดอน station
    Sep 25, 2020
    หลวงปู่จาม และหลวงพ่อฤาษีลืงดำเคยปรารภกับลูกศิษย์ลูกหาของท่านถึงเรื่องพระที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณว่ามีอยู่ในประเทศไทยหลายรูป แต่ก็มีน้อย เพราะพระระดับนี้เป็นระดับสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา และมีประสิทธิภาพมากในการเผยแพร่สัจธรรมคำสอน ในสายของหลวงปู่มั่นเองซึ่งเป็นสายกรรมฐานที่ยิ่งใหญ่ ก็ยังมีพระประเภทปฏิสัมภิทาญาณนี้น้อย ที่พอจะเอ่ยชื่อได้ก็มี

    1. หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
    2. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    3. หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    4. หลวงพ่อชา สุภัทโท
    ทุกรูปที่เอ่ยนามมานี้ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพศรัทธาและยอมรับจากพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ และครูบาอาจารย์เหล่านี้ก็มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย..
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป ภาวนาเพ่งกระดูก จนหลวงปู่มั่นมาบอกเตือนในนิมิต// ปู่ดอน station

    ปู่ดอน station
    Sep 29, 2021
    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป พระอริยสงฆ์แห่งวัดป่าประทีปปุญญาราม จังหวัดสกลนคร ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น เป็นพระที่มากไปด้วยนิมิตทางสมาธิ นั่งสมาธิแต่ละครั้งจะมีนิมิตเกิดขึ้นมากมาย แต่ท่านก็ยึดหลักในการภาวนาเพ่งพิจารณสกระดูกเป็นประจำ มีครั้งหนึ่งที่ท่านภาวนาเพ่งกระดูกแล้ว หลวงปู่มั่นได้มาปรากฏในนิมิตบอกเตือนว่า “..ท่านผ่าน จิตอยู่ในขั้นสกิทาคามี ยังอยู่ในกามะอยู่นะ”

     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    lpPanpanyapateepo.jpg
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าปทีปปุญญาราม ต.เซือม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

    คัดลอกเนื้อหามาจาก : www.watparpateepbhunyaram.org/poopan.php

    อัตโนประวัติ

    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป มีนามเดิมว่า ผ่าน หัตถสาร เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ ณ บ้านเซือม ตำบลโพนแพง อำเภอวานรนิวาส (ปัจจุบันเป็น บ้านเซือม ตำบลเซือม อำเภออากาศอำนวย) จังหวัดสกลนคร ตอนที่โยมมารดาได้ตั้งท้องหลวงปู่นั้น โยมมารดาได้ฝันว่าได้มีคนเอามีดด้ามงามาให้ แล้วโยมมารดาก็ได้เอาไปซ่อนเพราะกลัวว่าจะมีคนมาเห็น ครั้นเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ปรากฏว่าท่านเป็นเด็กที่เลี้ยงยากมากและร้องไห้เก่ง โยมมารดาจึงได้พาหลวงปู่ไปให้พระท่านผูกสายสิญจน์ที่ข้อมือให้ จึงได้เลี้ยงง่ายขึ้น ด้วยความที่หลวงปู่เป็นบุตรคนหัวปี ญาติพี่น้องเห็นก็พากันรักใคร่ ผลัดกันเอาไปเลี้ยง ผลัดกันเอาไปอุ้ม หลวงปู่ท่านจึงมีแม่หลายคน เพราะมีคนเอาไปเลี้ยงหลายคน
    โยมบิดาชื่อ ด่าง หัตถสาร โยมมารดาขื่อ จันทร์เพ็ง หัตถสาร ต่อมาภายหลังโยมมารดาของท่านได้บวชเป็นแม่ชีจนกระทั่งได้ถึงแก่กรรม ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๓ คน มีชื่อเรียงลำดับดังนี้
    (๑) หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    (๒) นายบาน หัตถสาร
    (๓) นายบัว หัตถสาร
    (๔) นายบาง หัตถสาร
    (๕) นายคำใบ หัตถสาร
    (๖) นายบุญไทย หัตถสาร
    (๗) นางไสว หัตถสาร
    (๘) นายสีใคร หัตถสาร
    (๙) นางไสแก้ว หัตถสาร
    (๑๐) นางสม หัตถสาร
    (๑๑) นายคำกรม หัตถสาร
    (๑๒) นายอุดม หัตถสาร
    (๑๓) นายนิยม หัตถสาร

    เมื่อหลวงปู่โตขึ้นก็ได้ช่วยโยมบิดา-มารดาทำไร่ทำนาทำมาหากินตามปกติ หลวงปู่นั้นมีนิสัยเป็นคนเฉยๆ ไม่เป่าปี่ สีซอ เป่าแคนอย่างคนอื่น ไม่เคยเต้นรำวง ไม่กินเหล้าเมาสุรา หลวงปู่ท่านได้เข้าโรงเรียนเมื่ออายุ ๑๐ ขวบ แต่เรียนยังไม่ทันจบ พอดีโยมพ่อเฒ่าสุขตาย ตามประเพณีทางอีสานลูกหลานนิยมบวชให้เพื่อจูงศพเข้าป่าช้า หลวงปู่จึงได้บวชเป็นสามเณรให้โยมพ่อเฒ่าสุข บวชอยู่ประมาณ ๑ เดือนจึงได้ลาสิกขา
    การบรรพชาและอุปสมบท
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ อายุ ๑๕ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดทุ่ง ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร โดยมี พระครูวิรุฬห์นวกิจ (ผาง ฐิตสัทโธ) เป็นพระอุปัชฌาย์



    lp-pharn-52.jpg
    หลวงปู่ผ่านถ่ายเมื่อครั้งพรรษายังไม่มากนัก

    จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๒ ญาติพี่น้องได้เดินทางมาจากบ้านหนองศาลา อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร หลวงปู่จึงได้ติดตามญาติพี่น้องไปอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านเชียงเครือ ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านหนองศาลา ครั้นต่อมาหลวงปู่ได้เล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรม โดยมีพระภิกษุอน ซึ่งเป็นญาติของท่านเป็นผู้สอน จากนั้นจึงได้ไปสอบที่วัดธาตุศาสดาราม (ปัจจุบันคือวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร) ปรากฎว่าสอบผ่านนักธรรมชั้นตรี แล้วกลับไปอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยตามเดิม หลวงปู่ได้อยู่ที่วัดโพธิ์ชัยอยู่หลายเดือน และก็ได้เดินทางมาอยู่ที่วัดศรีบุญชู บ้านเซือม
    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เพื่อนที่บวชด้วยกันชวนท่านสึก ท่านได้ปฏิเสธ แต่เพื่อนบอกให้สึกด้วยกัน ท่านจึงจำใจสึกออกมาช่วยงานโยมบิดา-มารดาอยู่ถึง ๒ ปี
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พ่อใหญ่ป้อง เศรษฐาไชย เป็นพ่อเลี้ยงของหลวงปู่ได้ตายลง ญาติพี่น้องจะทำบุญอุทิศให้ตามประเพณี เมื่อทำบุญอุทิศให้ผู้ตายมักนิยมเรียกกันว่า “กองอัฎฐะ” หรือ “กองบุญ” ถ้าหากมีคนบวชในงานนี้ด้วยจะเรียกว่า “กองบวช” เนื่องจากทางลูกชายของพ่อใหญ่ป้องไม่สามารถบวชให้พ่อได้ ญาติพี่น้องจึงมาขอให้หลวงปู่ให้บวชพระในครั้งนี้ พอดีวันนั้นจิตใจของหลวงปู่รู้สึกหงุดหงิดอย่างไม่ทราบสาเหตุ เมื่อญาติพี่น้องมาขออย่างนั้น จิตใจปิติยินดีในทันทีเพราะท่านอยากบวชอยู่นานแล้ว ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัดทุ่ง จังหวัดสกลนคร แห่งเดิม โดยมีพระครูวิรุฬห์นวกิจ (ผาง ฐิตสัทโธ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระมาก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “เฉโก” หลังบวชแล้วได้ไปอยู่ที่วัดศรีบุญชู บ้านเชือม เมื่อบวชได้ ๒-๓ วัน ตอนกลางคืนปรากฏว่าพ่อใหญ่ป้อง เศรษฐาไชย เดินมาหา ถามว่ามีเทียนใช้แล้วหรือยัง หลวงปู่จึงตอบว่ามีใช้แล้ว พ่อใหญ่ป้องจึงเดินออกไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2023
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    เมื่อบวชแล้วได้เรียนนักธรรมโท โดยอ่านหนังสือเอง เมื่อไปสอบก็สอบได้ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เรียนนักธรรมเอก โดยอ่านหนังสือไปสอบเอง แต่คราวนี้สอบตกจึงไม่ได้ไปสอบอีก

    ในปีนี้วันหนึ่งพระเณรทั้งวัดได้เข้าไปในป่าหาไม้มาสร้างกุฏิ ถึงเวลาเพลชาวบ้านก็ยังไม่ได้เอาอาหารมาถวาย จนบ่ายเขาจึงได้เอามาถวาย พระเณรก็ฉันกันทุกรูปยกเว้นหลวงปู่กับเจ้าอาวาส แม้จะเหนื่อยและหิวก็ไม่ฉัน หลวงปู่ได้เห็นความประพฤติอันย่อหย่อนจากพระวินัยของพระเณร แล้วรู้สึกเบื่อมาก ซึ่งการขุดดิน ตัดไม้ ดายหญ้า รับเงินรับทองเป็นเรื่องปกติที่พระเณรทำกัน แต่หลวงปู่ไม่ทำเพราะท่านตั้งใจรักษาพระวินัยตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านจึงตั้งจิตอธิฐานว่า “จะบวชเป็นพระกรรมฐานเที่ยวธุดงค์ตามป่าเขาตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต”
    ๏ ญัตติเป็นธรรมยุต
    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงปู่ได้มากราบนมัสการ พระครูบริบาลสังฆกิจ (หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม) ที่วัดอุดมรัตนาราม บ้านอากาศ ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านเชือมเพียงแค่ ๒-๓ กิโลเมตร หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่จึงได้กราบเรียนกับท่านว่า “อยากจะบวชเป็นพระกรรมฐาน” ท่านจึงแนะนำให้สึกก่อนแล้วค่อยบวชใหม่ เมื่อกลับมาถึงวัดศรีบุญชูได้เข้าไปกราบลาพระอุปัฌชาย์ขอลาสิกขา ท่านก็อนุญาต อาจกล่าวได้ว่าท่านบวชได้ ๕ พรรษาแล้วสึกก็ได้ ส่วนพระภิกษุอีกรูปหนึ่งก็เข้าไปกราบลาพร้อมกัน พระอุปัชฌาย์ท่านคัดค้าน เพราะยังพรรษาน้อยเพียง ๒ พรรษา หลวงปู่จึงได้ลาสิกขารูปเดียว
    หลวงปู่ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยเริ่มจากการไปหัดขานนาคอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ที่วัดอุดมรัตนาราม หัดขานนาคอยู่ด้วยกันหลายคน หลวงปู่ท่านหัดอยู่ได้ประมาณ ๓ เดือน จึงถูกต้องตามอักขรฐานกรณ์ของภาษาบาลีทุกอย่าง เมื่อหลวงปู่ขานนาคได้แล้ว ซึ่งเป็นช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงได้เดินทางโดยรถยนต์ไปกับหมู่นาคที่จะบวชพร้อมกัน โดยจะไปบวชกับ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) วัดโพธิ์สมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี


    lp-pharn-04.jpg
    แต่ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ได้ไปร่วมงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ส่วนพระอุปัชฌาย์องค์อื่นๆ ก็ไปกันหมด หมู่นาคที่จะบวชจึงพากันเดินทางไป วัดจอมศรี บ้านนำฆ้อง ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเมื่อไปถึงวันนั้นก็ได้บวชเลย โดยบวชเป็นพระ ๓ รูป และบวชเป็นเณร ๕ รูป ในวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ โดยมี พระครูพิทักษ์คณานุการ (หลวงปู่สี ธัมมทินโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระสมุห์ภา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สำเร็จเมื่อเวลา ๑๓.๕๒ น. ท่านได้รับนามฉายาว่า “ปัญญาปทีโป” แปลว่า ผู้มีปัญญาดุจแสงสว่างแห่งดวงประทีป (ดวงไฟ) จากนั้นท่านก็ได้กลับมาอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ที่วัดอุดมรัตนาราม จนกระทั่งเข้าพรรษา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2021
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    ลำดับการจำพรรษา


    • พรรษาที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๙๐


    lp-pharn-05.jpg
    หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม หลวงปู่ผ่านได้เรียนการนั่งสมาธิ เดินจงกรม ตลอดจนเรียนด้านพระปริยัติธรรมด้วย ระหว่างที่อยู่ที่วัดอุดมรัตนารามนั้น หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ได้พาหลวงปู่ไปกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งตั้งอยู่กลางหุบเขา ต้องฝ่าป่าดงเทือกเขาภูพานเข้าไปจึงจะถึง ได้ไปอยู่ ๒-๓ ครั้ง
    เมื่อออกพรรษาปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงปู่ผ่านได้พาสามเณรรูปหนึ่งไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) พอถึงวัดดอยบ้านนาเชือกซึ่งเป็นวัดร้างเป็นเวลาค่ำจึงได้พักที่นั้น พักกันคนละกุฏิ พอตกกลางคืนเณรมาหาบอกว่า “ผมอยู่ไม่ได้ ผมกลัว ไม่รู่ว่าเสียงอะไรมันดังตุ้บตั้บๆ”
    หลวงปู่จึงได้ออกไปดูปรากฏว่าเป็นค้างคาว ตกลงเณรเลยขอมานอนด้วย
    พอสว่างได้ไปบิณฑบาตที่บ้านนาเชือก กลับมาฉันแล้วก็ได้เดินทางไปที่ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) พอไปถึงก็ได้ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    ท่านได้พูดว่า“ท่านผ่านมากับเณรน้อยแท้ มันไข้ได๋”(หมายความว่า พาสามเณรอายุน้อยมาด้วย สามเณรจะเป็นไข้ป่าได้ง่าย)
    หลวงปู่จึงได้ตอบว่า “ครับผม ไม่มีคนมา กระผมจึงมากับเณรน้อย”


    lp-pharn-06.jpg
    เวลาเย็นก็พากันไปสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่เป็นพระผู้น้อยเพียง ๑ พรรษาจึงได้ถูหลังเท้า รูปอื่นก็ได้ถูแข้ง ถูขา ถูแขน หลวงปู่บอกว่า “เท้าของหลวงปู่มั่นนิ่มมากๆ ถึงแม้ว่าจะเดินธุดงค์มาตลอดแต่เท้ากลับนิ่ม” ซึ่งตรงกับที่หลวงปู่หลุย จันทสาโร เคยบอกไว้ว่า “เท้าท่านพระอาจารย์มั่นนิ่ม ท่านเป็นผู้มีบุญมาก เราคนเท้าแข็งเป็นคนบาป”

    ในครั้งนั้นมีพระเณรพำนักจำพรรษากับหลวงปู่มั่น ประมาณ ๒๐ รูป อาทิเช่น พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน, พระอาจารย์วัน อุตฺตโม, พระอาจารย์อ่อนสา สุขกาโร วัดประชาชุมพลพัฒนาราม จังหวัดอุดรธานี, พระอาจารย์หลุย จันทสาโร, พระอาจารย์คำพอง ติสฺโส, พระอาจารย์หล้า เขมปัตโต, สามเณรบุญเพ็ง จันใด (หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต) เป็นต้น
    วันนั้นสรงน้ำเสร็จ พระอาจารย์มั่นบอกว่า
    “ท่านผ่านไปฉันน้ำอ้อยสดเด้อ ชาวบ้านเขาเอามาถวาย” หลวงปู่ก็คิดในใจว่า “เราจะไม่ฉันหรอกมันหนักท้อง” ท่านพระอาจารย์มั่นก็พูดซ้ำอีกว่า “ไปฉันน้ำอ้อยเด้อ” หลวงปู่ก็คิดในใจว่าจะไม่ไปฉัน เสร็จแล้วจะไปภาวนาต่อ ถึงตอนค่ำก็มารวมกันที่กุฏิท่านพระอาจารย์มั่นเพื่อรับการอบรม ซึ่งแต่ละครั้งจะนานถึง ๓-๔ ชั่วโมง แต่หลายวันจึงจะได้มีการประชุมสักครั้งหนึ่ง
    พรรษาที่ ๒-๓ พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๒
    หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่กับ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่าบ้านหนองโดก (วัดป่าโสตถิผล) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และยังมี พระอาจารย์เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พระอาจารย์บุญมี ปริปุณโณ วัดป่าบ้านนาคูณ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พระอาจารย์บุญหนา ธัมมทินโน กับเณร ๒-๓ รูป
    เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ได้กราบลาหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ มาอยู่ที่วัดป่าม่วงไข่ กับท่านอาจารย์สิงห์ (คนละองค์กับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม) ท่านได้สั่งให้ท่องปาติโมกข์ท่องอยู่ประมาณ ๑ เดือนก็ยังท่องไม่ได้ หลวงปู่ก็เลยคิดว่าจะทำอย่างไรดี ทีนี้เวลาภาวนาท่านเลยท่องแต่ปาติโมกข์นั้นจนเกือบ ๓ เดือน จึงท่องได้สำเร็จ
    ช่วงที่หลวงปู่ผ่านอยู่ที่บ้านหนองโดก วันหนึ่งพอออกจากสมาธิท่านได้เห็นบุ้งคีบตัวเล็กๆ คลานอยู่ จึงได้สงสัยว่า
    “บุ้งตัวเล็กๆ นี้จิตมันใหญ่ไหม ช้างตัวใหญ่ๆ จิตมันเล็กไหม หรือว่าเท่ากัน” พอออกพรรษาแล้วได้เข้ามาอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านได้เทศน์ให้ฟังตอนหนึ่งท่านว่า “บุ้งตัวน้อยๆ ช้างตัวใหญ่ๆ จิตมันก็เท่ากันนั้นแหละ” หลวงปู่จึงหายสงสัย เกิดความอัศจรรย์ใจและเกรงกลัวท่านพระอาจารย์มั่นมาก ไม่คิดไปนอกทางเกรงว่าท่านจะดุ


    lp-pharn-09.jpg lp-pharn-08.jpg lp-pharn-11.jpg lp-pharn-10.jpg
    ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองโดก ร่วมกับพระอาจารย์เพียร วิริโย พระอาจารย์บุญมี ปริปุณโณ อีกครั้ง โดยมีพระอาจารย์สิงห์ เป็นหัวหน้า ส่วนหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์บุญหนา ธัมมทินโน ย้ายไปจำพรรษาที่วัดป่าม่วงไข่แทน พออกพรรษาแล้วก็ยังพักอยู่ที่นั้น พอดีท่านพระอาจารย์มั่นอาพาธหนัก คณะศิษย์ได้นำท่านไปยังวัดสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ตามความประสงค์ของท่าน โดยคณะศิษย์ใช้วิธีทำแคร่ให้ท่านได้นอนและหามท่านมาตามทางจนถึงวัดป่าบ้านกลางโนนภู่ จึงได้หยุดพักอยู่ที่วัดนี้ ระหว่างนี้หลวงปู่ได้เข้าไปพยาบาลทุกวันเพราะวัดป่าบ้านกลางโนนภู่กับวัดป่าบ้านหนองโดกที่ท่านพักอยู่ไม่ไกลกัน
    ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่วัดป่าบ้านกลางโนนภู่หลายวัน จึงมีรถรับท่านไปยังวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้มรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาสนั้นเอง หลวงปู่ผ่านในฐานะลูกศิษย์องค์หนึ่งจึงเข้าไปอยู่ที่วัดป่าสุทธวาส เพื่อช่วยงานถวายครูบาอาจารย์เป็นครั้งสุดท้าย ครั้งนั้นบรรดาลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นได้เดินทางมาจากทุกสารทิศเพื่อมาร่วมงาน มีแต่พระเณรเต็มวัด ญาติโยมยังไม่มากนัก ยังไม่ตื่นพระกรรมฐานเหมือนทุกวันนี้

    lp-pharn-27.jpg
    ก่อนหน้าที่จะอยู่วัดป่าสุทธาวาส ท่านได้ไปพักอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ บ้านธาตุนาเวง กับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านเทศน์อบรมทุกวัน เทศน์เรื่อง
    “การทำจิตให้มีสมรรถภาพ” โดยท่านอธิบายว่า “ให้เพ่งร่างกาย (กายคตาสติ เพ่งให้ติดตา เมื่อติดตาแล้วให้แยกออกเป็นส่วนๆ แล้วปลงลงเพ่งจนชำนาญสามารถทำได้รวดเร็ว)” ท่านสอนเรื่องนี้ทำให้หลวงปู่ติดใจมาก เป็นเหตุให้การภาวนาต่อมาหลวงปู่พยายามจะเพ่งร่างกายนี้อยู่เสมอ ส่วนหลวงปู่ฝั้นก็ทำเช่นกันจนมีความชำนาญ ท่านมีกำลังจิตที่กล้าแข็งมากเป็นที่ยอมรับในหมู่พระกรรมฐาน
    ครั้นเสร็จงานประชุมเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ช่วงเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านติดตามหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ไปวัดป่าบ้านท่าควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ครั้งนั้นมีพระอาจารย์คำพอง ติสฺโส หลวงตาจรัส และสามเณร ร่วมเดินทางไปด้วย

    lp-pharn-12.jpg
    หลวงปู่ฝั้นท่านพาเดินทางไปที่วัดดอยธรรมเจดีย์ของ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ อยู่ ๒ คืน จากนั้นโยมเอารถมารับไปพักที่วัดป่าบ้านท่าควาย เมื่อไปอยู่วัดป่าบ้านท่าควาย หลวงปู่ฝั้นกำลังเร่งความเพียร วันหนึ่งๆ จะฉันนมเพียง ๑ แก้ว พระเณรที่ตามไปด้วย รวมทั้งหลวงปู่ผ่าน จึงพากันฉันวันเว้นวันบ้าง หลายวันต่อมาหลวงปู่ฝั้นพาเทศน์พระเวส (งานบุญพระเวส) มีเทศน์ทำบุญอย่างเดียว ไม่ได้จัดแต่งดอกบัว ดอกผักตบอย่างละ ๑,๐๐๐ ตามที่อื่นเขาทำกัน เป็นเหตุให้พวกชาวบ้านท่าควายไม่กล้ามางาน เพราะกลัวว่าทำไม่ถูกวิธีแล้วจะมีลมพญามารใหญ่พัดมา มีญาติโยมมีศรัทธาเลื่อมใสมานิดหน่อย ท่านก็เทศน์จบแล้วทุกอย่าง ไม่มีลมใหญ่อะไร ต่อมาไม่นานทางวัดที่หมู่บ้านเขาจัดบ้าง หลวงปู่ผ่านได้ไปด้วย ปรากฏตอนบ่ายมีลมพายุพัดทำลายข้าวของในงาน และกระท่อมเสียหายหมด หลวงปู่ว่านี้เป็นกำลังจิตของหลวงปู่ฝั้น จึงไม่มีอะไรรบกวน
    เมื่ออยู่บ้านท่าควายหลายวันแล้ว วันหนึ่งไปบิณฑบาตพอไปถึงสุดทางบิณฑบาต หลวงปู่ฝั้นท่านได้หยุดยืนแล้วพูดว่า “นั่นๆ ท่านผ่าน ที่จะไปภาวนา” ที่นั้นคือภูกระแต บ้านไผ่ล้อม ๒-๓ วันต่อมาหลวงปู่ฝั้นจึงพาเดินไปประมาณ ๕ กิโลเมตรจนกระทั่งถึงภูกระแต แล้วจึงแยกย้ายกันไปพำนักบำเพ็ญภาวนา ที่นี่เป็นสถานที่สัปปายะ มีสัตว์ป่ามากมาย มีแอ่งน้ำซับซึ่งผุดออกมาจากดิน อยู่ที่ตีนเขา พอรุ่งเช้ามีชาวบ้านมาเล่าถวายว่า “เมื่อคืนฝันเห็นพวกภูตผีปีศาจบนภูเขาพากันแตกตื่นย้ายครอบครัวหนี บอกว่าเจ้านายมา”
    หลวงปู่ฝั้นอยู่ที่นี้ได้ ๒ เดือน ท่านก็ได้เดินทางไปภูวัวต่อ ส่วนหลวงปู่กับหลวงตาจรัสไปอยู่ที่วัดป่าบ้านท่าควาย


    lp-pharn-28.jpg
    • พรรษาที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๙๓
    วัดป่าบ้านขามเฒ่า อ.เมือง จ.นครพนม
    ต่อมาหลวงตาจรัสชวนไปภาวนาอยู่บ้านขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และได้จำพรรษาที่นี่ เมื่อแรกไปอยู่ปรากฏว่ามีพระมหานิกายมาไล่ ไม่ยอมให้พระกรรมฐานมาอยู่ด้วย หลวงปู่ได้ตอบพระมหานิกายที่มาไล่นั้นว่า เราต่างมาบวชเพื่อจะไปพระนิพพานเหมือนกัน เหมือนกับการแจวเรือถ้าต่างคนต่างแจวก็ถึงที่หมาย ถ้าขัดกันกลางทางเรือก็ล่ม ผู้ที่เข้ามาบวชเพราะเรื่องลาภยศทำไม เรื่องจึงสงบไป
    พรรษานี้มีพระ ๓ องค์ เณร ๑ องค์ คือ หลวงปู่ผ่าน, หลวงตาจรัส, หลวงตาหมอก และเณรภูบาล ทุกคนตั้งใจบำเพ็ญภาวนา วัดนี้เคยมีพระกรรมฐานมาพักอยู่ กำนันพรหมผู้เป็นหัวหน้าญาติโยม เป็นคนมีศรัทธาชักชวนชาวบ้านเข้าวัดฟังธรรม นั่งภาวนา มีญาติโยมบ้านขามเฒ่ามาหัดทำสมาธิเป็นชาย ๑๐ กว่าคน ส่วนโยมผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชาย วัดนี้อยู่ริมแม่น้ำโขงมีกุฏิเล็กๆ สามารถย้ายได้ อยากไปอยู่มุมไหนก็ย้ายกุฏิไป การภาวนาอยู่บ้านขามเฒ่านี้ภาวนาดี จิตรวมทุกวัน เวลาจิตจะรวมบางทีกุฏิลั่นดังปึ๊บ แล้วจิตก็รวมลง หมดกำลังก็ถอยออกมา การเทศน์อบรมชาวบ้านหลวงปู่ก็เทศน์ไปตามที่ภาวนาได้ ได้แค่ไหนก็เทศน์แค่นั้น จะเทศน์สูงกว่าไม่ได้เพราะพรรษายังน้อย
    อยู่ที่นี่จะมีโยมผู้หญิงมาคอยตักน้ำให้สรง และมาคุยทุกวันๆ แต่หลวงปู่ท่านไม่เคยหวั่นไหวในมาตุคาม เพราะท่านได้อธิฐานว่าจะไม่สึกตลอดชีวิต จิตใจจึงมั่นคง โยมนั้นก็เลิกไปเอง ครั้งหนึ่งมีโยมคนหนึ่งมาขออยู่ด้วยเพราะเขาได้ยินเสียงในหูว่า “กูจะมาฆ่ามึงๆๆๆ”
    เลยกลัวผีมาก นี่เป็นกรรมของโยมคนนั้น ถ้าอยู่วัดแล้วจะไม่ได้ยิน แต่ถ้าอยู่ที่อื่นจะได้ยินตลอดเวลา วันนั้นท่านภาวนาแล้วเห็นผู้หญิงนั่งอยู่บนพื้นดินมีผมแหลมๆ ยาวถึงแขน หน้าเหลือง ตอนแรกท่านนึกว่าเป็นผีมาหาโยมคนนี้ แต่ความจริงแล้วเป็นเพียงนิมิตอันเกิดจากท่านเพ่งอสุภะเท่านั้น
    หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงตาจรัสยังอยู่บ้านขามเฒ่า ส่วนหลวงปู่ผ่านโดยสารทางเรือไปอำเภอบ้านแพง อำเภอนครพนม ไปพัก วัดเนินคนึงค้นหาแล้วไม่พบวัดนี้ในฐานข้อมูล อยู่หลายวัน แล้วไปอยู่กับพระมหาสุด ที่ บ้านบะปะทาย ค้นหาแล้วไม่พบสถานที่นี้ในฐานข้อมูล ซึ่งอยู่ใกล้กับภูลังกา พระมหาสุดท่านเป็นคนบ้านหัววัว จังหวัดอุบลราชธานี วันหนึ่งมีลมพายุใหญ่พัดมาเสียงดังอื้ออึง หลวงปู่ท่านขึ้นกุฏิ นั่งสมาธิอธิษฐานจิตว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2021
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    “ถ้ามันจะตายให้มันตาย” แล้วปล่อยวางหมด ปรากฏว่าได้ยินเสียงลมพัดมาแล้วเว้นวัดไป ข้ามไปทางอำเภอบ้านแพง ไม้ยางล้มเสียงดังหลายวัน
    ต่อมาท่านได้เข้าไปอำเภอบ้านแพง เห็นศาลาเล็กๆ กระต๊อบพังหมด แต่ที่วัดป่าบะปะทาย ค้นหาแล้วไม่พบสถานที่นี้ในฐานข้อมูล ไม่เป็นอะไรเลย ต่อมาหลวงปู่เดินทางไปบึงโขงหลง แล้วไปพักอยู่ที่บ้านโสกก่าม ๗-๘ วัน จากนั้นธุดงค์ขึ้นภูวัว โดยไปพักอยู่ที่ ถ่ำแอ่น ค้นหาแล้วไม่พบสถานที่นี้ในฐานข้อมูล (ที่ถ่ำแอ่นแห่งนี้ภายหลังเมื่อหลวงปู่มาอยู่ที่วัดป่าปทีปปุญญารามแล้ว ได้นิมิตเห็นควายเดินออกมาจากถ่ำแอ่น ท่านจึงกำหนดจิตถามว่า ทำไมจึงมีควายออกมา ก็เกิดความรู้ขึ้นมาว่า อดีตชาติท่านเคยเกิดเป็นควายและอยู่ที่ถ่ำแอ่นนี้) หลวงปู่ท่านอยู่องค์เดียว พอตอนเย็นเห็นพวกมดดำเดินอยู่ ท่านก็คิดว่าเรามีเพื่อนแล้ว ไม่ได้อยู่องค์เดียว ท่านคิดขำๆ ไปอย่างนั้น เช้ามาโยมที่ไปด้วยทำอาหารถวาย เพราะอยู่ที่นี่บิณฑบาตไม่ได้ อาศัยโยมบ้านดอนเสียด ๖-๗ วันก็ขึ้นมาเอาอาหารแห้ง ปลาแห้ง ตัดยอดบุก ยอดหวาย มาถวายพระ


    lp-pharn-18.jpg


    ต่อมา พระอาจารย์สุภาพ ธัมมปัญโญ จากวัดทุ่งสว่าง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พาพระมาพักอยู่ด้วย
    หลวงปู่ภาวนาอยู่ที่นั่นปรากฏจิตใจมีความดีอกดีใจ มีปีติมากที่ได้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาเพราะจิตอยากไปมานานตั้งแต่ก่อนบวช เพิ่งจะได้มาเป็นครั้งแรก ตอนนั้นทั้งเสือ ช้าง หมี มีชุกชุมมาก แต่หลวงปู่ท่านไม่กลัว ภาวนาดีมาก จิตรวมเป็นปรกติ
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    อยู่ที่นั่นประมาณ ๑ เดือนก็ลงมาพักอยู่บ้านโสกก่าม แล้วมาพักที่บึงโขงหลง ซึ่งเป็นเกาะอยู่กลางน้ำ สายๆ ราว ๘ โมงเช้า ญาติโยมชาวบ้านเอาเรือมารับไปบิณฑบาต อยู่ที่นี่หลายวันจึงมาอยู่ที่บ้านโพธิ์หมากแข้ง
    ต่อมาได้เดินทางไปอยู่ศึกษาธรรมกับ ท่านพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ที่วัดอิสระธรรม บ้านวาใหญ่ อำเภอวานรนิวาส (ปัจจุบันเป็นอำเภออากาศอำนวย) จังหวัดสกลนครในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ท่านพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย แห่งวัดเขาสุกิม อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ได้มาจำพรรษาอยู่ด้วย
    จากนั้นท่านกลับมาอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม อีก ไม่นานท่านก็ไปอยู่บ้านกุดเรือ หลวงปู่อุ่นท่านส่งคนมาตามกลับแต่ท่านไม่กลับ และได้เดินทางไปอยู่บ้านอุ่มเหม้า อำเภอพังโคน
    • พรรษาที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๙๔
    วัดป่าบ้านอุ่มเหม้า อ.พังโคน จ.สกลนคร
    ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงปู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านอุ่มเหม้า วัดวีระธรรม ตั้งอยู่เลขที่ ๘๐ บ้านอุ่มเหม้า หมู่ที่ ๖ ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร โดยมี พระอาจารย์แตงอ่อน กัลยาณธัมโม เป็นประธานสงฆ์ (ท่านเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต องค์หนึ่ง ปัจจุบันท่านอยู่ที่วัดป่าโชคไพศาลหรือวัดกัลยาณธัมโม บ้านหนองนาหาร อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ท่านอายุเท่ากับหลวงปู่ผ่าน) นอกจากนี้ ยังมีพระคำพันธ์ซึ่งเป็นชาวบ้านอุ่มเหม้า และองค์อื่นๆ อีกหลายองค์จำพรรษาร่วมกัน

    lp-pharn-31.jpg
    หลวงปู่ท่านเร่งความเพียรมาก เดินจงกรมจนเหนื่อยก็ยังไม่ยอมหยุด โดยเอาพระจันทร์เป็นนาฬิกา แต่ทางด้านจิตนั้นจิตก็รวมเป็นสมาธิ มีความเอิบอิ่ม มีปีติอยู่เป็นธรรมดา พรรษากาลนี้ท่านถือธุดงวัตรครุปัจฉาคะทีกังคะธุดงค์ คือไม่รับอาหารที่โยมนำมาถวายอีก ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตได้มาเท่านั้น หมากก็ไม่ฉัน บุหรี่ก็ไม่สูบ นอกจากนี้ บ่าของหลวงปู่ท่านลอกตลอดทั้งพรรษาเนื่องจากสะพายบาตรเดินมาก เมื่อครั้งลงมาจากภูวัว ตอนเย็นไม่ได้ทำวัตรสวดมนต์ร่วมกัน ต่างคนต่างภาวนา ร่วมกันทำวัตรเฉพาะวันพระ
    วันหนึ่งมีลมใหญ่พัดมา หลวงปู่ท่านขึ้นกุฏิ นั่งสมาธิอธิฐานจิตว่า “แล้วแต่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จะรักษา” แล้วเข้าสมาธิ หลวงปู่นั่งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ส่วนลมมาทางทิศตะวันตก ปรากฏว่าลมพัดเข้าไปในหมู่บ้าน ทำให้ต้นหมาก ต้นมะพร้าวหักโค่นลง ส่วนวัดไม่เป็นอะไร ตอนเช้าขึ้นมาญาติโยมชาวบ้านเขาเลยเอามาถวายพระ ตลอดพรรษากาลนี้ เวลาลงอุโบสถฟังปาติโมกข์ต้องไปลงที่วัดป่าศรีจำปาชนบท อำเภอพังโคน กับ หลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต โดยพากันเดินลัดทุ่งนาไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2021
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    เมื่อออกพรรษาแล้ว ภรรยาของกำนันพรหม บ้านขามเฒ่า มานิมนต์หลวงปู่ให้ไปอยู่บ้านขามเฒ่าอีก
    • พรรษาที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๙๕
    วัดป่าบ้านขามเฒ่า อ.เมือง จ.นครพนม
    ปีนี้จำพรรษากับ พระอาจารย์คำ (บ้านเดิมท่านอยู่ที่บ้านเศรษฐี อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเคยมาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่นด้วย) และ พระอาจารย์ปั่น ปัญญาวโร ซึ่งเพิ่งจะบวชในปีนั้น (ภายหลังท่านมาอยู่ที่วัดป่าบ้านคำตานา ตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) คราวที่อยู่บ้านหนองโดก ภาวนาเกิดคำว่า “นโม ข่ายเย็น ข่ายร้อน” นั้นจิตสว่างเห็นทางภายนอก เห็นต้นไม้ เห็นภูเขา เห็นคนนั้นคนนี้ แต่เห็นได้ไม่นาน สักพักแล้วก็ดับไป เป็นอย่างนี้ทุกครั้ง
    คราวนี้มาอยู่บ้านขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จึงพยายามจะให้เห็นร่างกายภายใน เพราะฟังครูบาอาจารย์มา ให้น้อมเข้าไปภายใน ลอกหนังออก เข้าไปถึงเอ็น แล้วเข้าไปกระดูก หลวงปู่ท่านก็พยายามเพ่งเข้าไปภายใน โดยการนึกเอาว่ากระดูก เอ็น เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ก็ยังไม่เห็น เลยเปลี่ยนเอากระดูกหลังเพียง ๓ ท่อนมาเพ่ง แทนที่จะเพ่งทั้งร่าง ท่านค่อยๆ ทำให้สติกับปัญญามีความสมดุลกัน เพ่งอยู่ไม่นานปรากฏว่าจิตรวม เกิดแสงสว่างจ้าอยู่กลางอก ไม่เห็นกระดูกเลย แต่เห็นไส้พุงทั้งเขียวทั้งดำ จิตใจเกิดความปีติ อัศจรรย์ว่าตั้งแต่บวชมาเพิ่งจะเห็นเป็นครั้งแรก จากนั้นท่านก็เพ่งจนติดตา
    ตื่นเช้ามาท่านว่า ท่านฉันข้าวไม่อร่อยเลย ตกเย็นมาท่านก็ภาวนาอีก ก็ยังไม่เห็นกระดูกอยู่เช่นเดิม แต่เห็นออกไปภายนอก โดยเห็นตัวหลวงปู่กำลังสรงน้ำอยู่กลางหุบเขา แต่สายน้ำนั้นมีความแปลก คือ ด้านหน้าไหลลงมาจากภูเขา ผ่านหลวงปู่แล้วไหลกลับขึ้นบนเขาด้านหลัง ไหลขึ้นไหลลงอยู่อย่างนั้นจนจิตถอน ท่านว่านิมิตนี้เป็นนิมิตที่ดี เป็นสิ่งบอกว่าท่านจะได้ออกจากทุกข์
    พอถึงวันที่ ๓ นั่งสมาธิจิตรวมลง ปรากฏท่านขึ้นไปอยู่บนยอดเขา ตามร่างกายมีเครื่องประดับเป็นเพชรนิลจินดาแพรวพราว จิตเกิดปีติเอิบอิ่ม มองลงมาเห็นมนุษย์ เรือนชานบ้านช่อง หลวงปู่ท่านได้พิจารณาเห็นว่ามนุษย์นี้เกิดขึ้นมา กินแล้วก็พากันนอน ตื่นมาก็ไปทำมาหากิน ได้มาแล้วก็พากันกินแล้วก็นอน เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ไม่ได้นึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ ไม่ได้นึกถึงทางหนีออกจากวัฏสงสารเลย พิจารณาได้อย่างนี้แล้วท่านจึงคิดว่า “เราเห็นแล้ว เราจะไม่ทำอย่างนั้น จะต้องหนีออกจากวัฏสงสารให้ได้” นั่งดูอยู่อย่างนั้นนานเข้า ปรากฏว่าท่านลอยไปถึงบ้านนาโดน เห็นไฟกำลังไหม้พระองค์หนึ่ง ท่านจึงพิจารณาไฟไหม้นั้นคือ ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ พระไฟไหม้คือ พระยังมีราคะ โทสะ โมหะ จากนั้นก็ลอยไปนั่งอยู่บนชะง่อนหินบนภูเขา หันหน้าไปทางทิศเหนือ นั่งภาวนาเพ่งร่างกาย เห็นตับไตไส้พุงอย่างที่เคยเห็น ตอนนี้เครื่องประดับไม่มีแล้ว นั่งเพ่งอยู่นาน จึงถามตัวเองขึ้นว่าที่นี่ที่ไหน ? จิตตอบว่า ถ้ำผากง (ถ้ำนี้อยู่อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ท่านเคยมาเอาพระพุทธรูปเศียรขาดอันเนื่องมาจากตกลงมากับพื้น ท่านเอาไปบูรณะต่อเศียร ปัจจุบัน ท่านพระอาจารย์แบน ธนากโร กำลังไปสร้างวัดอยู่ที่นั่น)

    lp-pharn-22.jpg

    เมื่อออกพรรษาแล้ว ต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงปู่ท่านได้เดินทางมาวัดป่าบ้านภู่ (วัดป่ากลางโนนภู่) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อมาร่วมงานฌาปนกิจศพ ท่านพระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน (ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นผู้ใหญ่องค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพี่ชายของ ท่านพระอาจารย์กว่า สุมโน และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร) ในงานนี้พ่อแม่ครูบาอาจารย์ได้มาร่วมงานกันมากมาย อาทิเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และหลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นต้น ท่านได้เข้าไปกราบหลวงปู่อ่อน ซึ่งพรรษานี้หลวงปู่อ่อนท่านไปอยู่ที่บ้านดอนเงิน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
    lp-pharn-26.jpg
    เมรุเผาศพของพระเถระทางภาคเหนือและอีสานทำเป็นรูปนกหัสดิลิงค์ และจะ
    เผาไปพร้อมกับศพ (เป็นภาพงานศพ พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสสโล) วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่)
    หลวงปู่อ่อนบอกว่า “ท่านผ่าน พระอุปัชฌาย์มรณภาพอยู่ที่วัดจอมศรี ให้ไปปลงศพท่านนะ”
    หลวงปู่จึงได้ติดตามหลวงปู่อ่อนไปจังหวัดอุดรธานี ไปพักที่วัดป่าบ้านจิก (วัดทิพยรัฐนิมิตร) อยู่หลายวัน จึงขึ้นรถไฟไปวัดจอมศรี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี หอศพของ พระครูพิทักษ์คณานุการ (หลวงปู่สี ธัมมทินโน) พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ ทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์คือนกมีงวงเป็นช้าง พอถึงวันที่จะเผา เขาแห่ศพด้วยเกวียนเข้าไปกลางหมู่บ้าน พวกญาติโยมก็ถวายทาน กลางคืนจึงเผา ในงานมีมหรสพมากมายทั้งฉายหนัง หมอลำ
    หลวงปู่เห็นเขาดูหนัง (ภาพยนตร์) กัน ท่านจึงพิจารณาว่าทำไมเขาเรียกว่า “หนัง” เห็นมีแต่รูปเลยถามตัวเองว่า “อะไรเป็นหนัง” จิตตอบขึ้นว่าคำที่ว่า “หนัง” คือว่ามันสวยเพราะมนุษย์และสัตว์ในโลกนี้ติดอยู่ที่หนัง ที่ว่าคนนั้นสวย คนนี้งาม ก็เพราะมีหนังห่อหุ้ม ถ้าไม่มีหนังก็น่าเกลียดน่าขยะแขยง เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้ว ท่านรู้สึกว่าหนัง (ภาพยนตร์) นั้นไม่เห็นน่าดู สังขารเขาแต่งขึ้นมาทั้งนั้น ไม่รู้จะไปหลงทำไม จิตไม่อยากดูจึงเลิกดู
    • พรรษาที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๙๖
    วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    lp-pharn-23.jpg
    เมื่อเสร็จงานศพท่านพระอาจารย์กู่แล้ว หลวงปู่เดินทางกลับมาพักที่วัดป่าบ้านจิก (วัดทิพยรัฐนิมิตร) อีก แล้วไปอยู่ที่บ้านโนนทัน ไปภาวนาอยู่ที่นั่นพร้อมกับหลวงปู่อ่อน, พระบุญหนา (ปัจจุบันคือ พระอาจารย์บุญหนา ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านหนองโดกหรือวัดป่าโสตถิผล อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร), เณรสมบูรณ์, เณรเลย อยู่หลายวัน แล้วหลวงปู่นึกอยากกลับมาเยี่ยมบ้าน จึงไปกราบนมัสการลาหลวงปู่อ่อนแต่ท่านไม่อนุญาต แต่ให้ไปบ้านหนองบัวบานกับท่าน จึงได้ไปช่วยท่านสร้างวัดป่านิโครธาราม ที่บ้านหนองบัวบาน
    วันหนึ่งหลวงปู่ท่านมีอาการไข้ป่ากำเริบ จึงไปขอยาจาก หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ได้มาแล้วก็วางยาไว้ข้างตัวแล้วนั่งสมาธิ เนื่องจากท่านพระอาจารย์มั่นได้เคยเทศน์ไว้ว่า ให้รักษาการป่วยด้วยยาปรมัตถ์คือการภาวนา ท่านจึงลองดู เมื่อนั่งแล้วจิตรวมปรากฏแสงสว่าง เห็นต้นไม้หมดทั้งโลก เอายอดทิ่มดินเอารากชี้ฟ้า ครั้นหมดกำลังสมาธิ จิตก็ถอนออก อาการไข้ก็หายเป็นปลิดทิ้ง ท่านก็สงสัยว่าทำไมเป็นอย่างนี้ จึงไปกราบเรียนถามหลวงปู่อ่อน หลวงปู่อ่อนท่านรู้วาระจิตของศิษย์แล้วแต่ท่านไม่พูด ท่านตอบว่า “เออ ! ดีอยู่ ดีอยู่”
    หลวงปู่ท่านยังสงสัย ก็เดินคิดไปในวัด พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นหัวปูมเป้า (พืชชนิดหนึ่ง) ที่เขาแขวนไว้ ท่านเลยคิดว่า “ถ้ามึงไม่ได้กินดิน มึงตายนะ”
    ทันใดนั้นท่านก็วาบขึ้นในดวงจิตว่า จิตของสัตว์ในโลกอันนี้ พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ว่า “พวกท่านทั้งหลายจงถอนตัณหาพร้อมทั้งราก”
    หากจิตของเราไม่ไปยึดเอารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ จิตนั้นย่อมเข้าถึงคุณธรรม จิตเป็นอนาสโว คือ จิตไม่ยึดมั่นถือในสิ่งทั้งปวง พ้นจากบ่วงร้อยรัดถึงความพ้นทุกข์ เหมือนกับว่าต้นไม้ที่รากไม่หยั่งลงดินแล้ว

    ครั้งหนึ่งหลวงปู่ท่านภาวนาเห็นมนุษย์พากันเอามืองมอยู่ในดินหมดทั้งโลก ท่านพิจารณาได้ว่า มนุษย์นี้เกิดมาก็พากันงมโลก หลงโลก เอาแต่ทำมาหากิน ร้องรำทำเพลง ร้องหากันแต่ผู้หญิงผู้ชาย สัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้คิดถึงทางจะหนีจากวัฏสงสาร จึงพากันงมโลก หลงโลก
    พอวันใหม่มาเข้าสมาธิอีก ปรากฏลอยขึ้นไปบนอากาศโดยมีไม้กระดาน ๒ แผ่นรองอยู่ข้างใต้ หลวงปู่ท่านจึงอุทานว่า
    “มันรองเราแล้ว” สิ่งที่รองอยู่คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา อีกวันหนึ่งภาวนา ปรากฏว่าเข้าไปในถ้ำเสือ หลวงปู่ท่านจึงคิดสละตาย ให้เสือมากินเสีย เพราะรูปอันนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา ท่านปล่อยวางได้ เสือก็ไม่ได้มากินท่าน ปรากฏมีหญิง ๒ คนมาใส่บาตรท่าน แล้วจิตก็ถอนออก หลวงปู่ท่านว่านี่เป็นสิ่งลองใจว่ายังยึดมั่นถือมั่นในรูปนี้หรือไม่
    มาถึงจุดนี้ปรากฏว่าจิตของท่านเฉย คือจิตเห็นเกิดเห็นดับ ทำจิตรอบรู้ในสังขาร รู้สภาวธาตุ รู้สภาวธรรม สภาวปัจจัย จิตหยุดไม่นึกไปในอดีต อนาคตเห็นเกิดเห็นดับหมดทั้งโลก ต้นไม้ แผ่นดิน ภูเขา เมื่อจิตเฉยก็ไม่ได้อยากพูดคุยกับใคร ไปไหนก็นั่งเฉย ขึ้นไปกราบหลวงปู่อ่อนแล้วก็เฉย จนหลวงปู่อ่อนท่านว่าพระฤๅษี
    เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านข้ามทุ่งนาจากบ้านหนองบัวบาน มาบ้านหนองแซง ซึ่งไม่ไกลกันนัก ท่านมาศึกษา กับ หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ที่วัดป่าหนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์) อยู่ประมาณ ๒๐ วัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2021
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    ช่วงที่อยู่วัดป่าหนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์) นี้ เวลาใส่บาตรแล้วญาติโยมชาวบ้านเขาจะไม่มาวัดอีกเพราะงานเขามาก วันหนึ่งพระท่านมาชวนไปภาวนาบนภูเขา (แถบวัดถ้ำกลองเพลในปัจจุบัน) หลวงปู่ท่านบอกว่า ขออธิษฐานดูนิมิตก่อน วันนั้นท่านนั่งภาวนาปรากฏจิตรวมแล้วเห็นตะขาบตัวใหญ่เท่าต้นมะพร้าวยาว ๖-๗ เมตร นอนกลิ้งไปกลิ้งมา เมื่อออกจากสมาธิจึงไปเล่าให้เพื่อนพระฟัง แล้วบอกว่าอย่าไปนะ อยู่กับครูบาอาจารย์ดีแล้ว เพราะช่วงเดือน ๓ นี้ชาวบ้านเขาขึ้นเขาไปเก็บผักหวานกัน มันจะวุ่นวาย ตกลงก็เลยไม่ไป
    วันหนึ่ง เมื่อหลวงปู่ได้ฟังหลวงปู่บัวเล่าถึงอดีตชาติที่เคยเป็นหมูของท่านแล้ว จึงรู้สึกอยากรู้อดีตชาติของตนบ้าง เมื่อเข้าที่ภาวนาจิตรวมแล้ว ปรากฏช้างมานอนอยู่ข้างหน้า จึงถามว่า มาทำไม ? จิตตอบว่า ไม่รู้หรือว่านั่นคือตัวเรา เราเคยเกิดเป็นช้างในสมัยพุทธกาล ได้เป็นลูกน้องของช้างปาลิไลย์ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ด้วยและแสดงธรรมโปรด (กับทั้งทรงมีพุทธพยากรณ์ว่า ในอนาคตเบื้องหน้าช้างปาลิไลย์โพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ามีนามว่า พระสุมงคลพุทธเจ้า จะมาตรัสรู้เป็นลำดับที่ ๑๐ เมื่อนับพระศรีอาริยเมตไตรย เป็นลำดับที่ ๑) จากนั้นจิตเห็นสุนัขนอนอยู่ จึงถามว่า ใคร ? ตอบว่า ไม่รู้จักเราหรือ เราเคยเกิดเป็นสุนัข จากนั้นก็เห็นนกกาบบัว (ซึ่งเป็นนกกินปลา) ยืนอยู่ แล้วก็ไปเห็นเป็นคนนั่งอยู่ในกระท่อม (เถียงนา) เป็นคนเลี้ยงวัว เมื่อท่านเห็นอย่างนี้แล้ว เกิดความเบื่อหน่ายในชาติ-ความเกิดเป็นอย่างยิ่ง เห็นว่ามันเป็นทุกข์หนัก
    อีกครั้งหนึ่งหลวงปู่ท่านภาวนาเกิดนิมิตเห็นงูจงอางอยู่ในอก แล้วมันก็ลอยตรงออกมา ตัวงูจงอางยาวมาก ท่านพิจารณาได้ความว่า งูจงอางเป็นสัตว์มีพิษ คือกิเลส เคยอยู่ในตัวเรา บัดนี้มันเริ่มออกจากเราแล้ว ถัดจากนั้น ๒-๓ วันเกิดนิมิตเป็นเสียงว่า “ท่านจะตายนะ” หลวงปู่จึงเร่งความเพียรอย่างหนัก เพราะเห็นว่าเวลาเหลือน้อย ต้องช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด พอถึง ๗ วันก็ยังไม่เห็นตาย จึงเล่าให้พระองค์อื่นฟัง พระองค์นั้นว่า “ตายมีหลายอย่าง ที่ว่าตายนั้น อาจจะเป็นตายจากกิเลสก็ได้”
    จากวัดป่าหนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์) ท่านกลับไปที่วัดป่านิโครธารามอีก ต่อมาจึงกราบนมัสการลาหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ กลับมาบ้านเกิด ได้มาอยู่กับ หลวงปู่อุ่น อุตตฺโม ที่วัดอุดมรัตนาราม ใกล้เข้าพรรษาแล้วหลวงปู่อุ่นให้มาตั้งวัดขึ้นที่บ้านเซือมอันเป็นบ้านเกิด หลวงปู่จึงได้พาเณรมาด้วยมาตั้งวัดขึ้นที่บ้านเซือม
    • พรรษาที่ ๘ พ.ศ. ๒๔๙๗
    ดอนบ้านร้าง บ้านเซือม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร


    lp-pharn-21.jpg
    สถานที่ที่หลวงปู่มาจำพรรษานี้เป็นดอนบ้านร้าง โยมแม่ของหลวงปู่เล่าให้ท่านฟังว่า ตอนที่ตั้งครรภ์หลวงปู่ ในปี ๒๔๖๕ นั้น ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เคยมาพำนักอยู่ที่ดอนบ้านร้างแห่งนี้ แต่สถานที่นี้หลวงปู่พิจารณา เห็นว่าคับแคบ ไม่เหมาะที่จะสร้างวัด ท่านจึงไปเลือกดูสถานที่หลายแห่ง แต่ก็ไม่มีที่ใดเหมาะสม พอออกพรรษา หลวงปู่จึงมาตั้งวัดขึ้นที่ป่าช้าบ้านเซือม คือ วัดป่าปทีปปุญญารามปัจจุบันนี้
    เมื่อตั้งวัดเรียบร้อยแล้ว ฤดูแล้งท่าน ก็ไปวิเวกที่ภูสิงห์ แล้วจึงมาอยู่ที่ถ้ำบูชา ภูวัว สมัยนั้นท่านว่า ถ้ำบูชานี้เตี้ย เวลายืนต้องระวัง เพราะหัวจะชน เพดานถ้ำ แต่ปัจจุบันมันพังลงๆ จนหัวไม่ชนแล้ว
    ต่อมาท่านขึ้นไปภาวนาอยู่ที่ถ้ำซึ่งท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เคยอยู่บนภูลังกา พร้อมกับหลวงพ่อล้อมซึ่ง เป็นพี่เขยของหลวงปู่อุ่น อุตตฺโม และเพิ่งบวชใหม่ๆ ตอนกลางวันหลวงพ่อล้อมเห็นต้นมะละกอ จึงพูดเล่นว่า “เอาไปตำฉันเพลคงอร่อย”
    ตกกลางคืน ขณะที่หลวงปู่นั่งสมาธิ ปรากฏเห็นผู้หญิงอุ้มลูกอยู่ สังเกตจากบุคลิก และสำเนียงพูด คงเป็นชนเผ่าโซ ผีนั้นพูดว่า “หลวงพ่อๆ เอาบ่หมากหุ่ง (มะละกอ)”
    สักครู่หลวงปู่ได้ยิน เสียงหลวงพ่อล้อมซึ่งกำลังจำวัดอยู่ ละเมอร้องขึ้นเหมือนกลัวอะไรสักอย่าง ท่านจึงไปปลุกแล้วถามว่าเป็นอะไร หลวงพ่อล้อมบอกว่า ฝันเห็นเสือมาหา
    ตอนที่หลวงปู่ขึ้นไปอยู่บนภูลังกานี้ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ท่านลงมาแล้ว ซึ่งช่วงฤดูพรรษาที่ผ่านมาท่านจำพรรษาบนภูลังกานี้เมื่อเข้าฤดูฝนแล้ว หลวงปู่จึงกลับมาจำพรรษา ที่วัดป่าปทีปปุญญาราม บ้านเซือม เป็นปีแรก
    • พรรษาที่ ๙ พ.ศ.๒๔๙๘
    วัดป่าปทีปปุญญาราม บ้านเซือม ต.โพนแพง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร


    lp-pharn-58.jpg
    หลวงปู่เล่าว่า ตอนที่มาอยู่ที่นี่ บรรดาปีศาจที่อาศัยอยู่ เขาพากันมาถวายสถานที่นี้ให้ท่านแล้วหนีไปอยู่ที่อื่น สถานที่นี้เป็นป่าช้าบ้านเซือม ติดกับที่นาของนายบุญชู สุวรรณเมฆ และนายคำภา ชาไมล์ โยมทั้งสองจึงถวายที่ดินเพิ่มเติมอีก จนมีเนื้อที่ทั้งหมด ๓๕ ไร่ ๒ งาน ๒๕ ตารางวา หลวงปู่จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า “ปทีปปุญญาราม” เพื่อเป็นที่ระลึกแก่โยมผู้ถวายที่ดิน ตอนท่านมาอยู่แรกๆ ก็ไม่ได้สร้างอะไรมากมาย เอาพออยู่พออาศัยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ออกพรรษาแล้วก็ไปวิเวกที่ถ้ำพระ ถ้ำบูชา ภูวัวอีก ต่อมาโยมซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่อุ่นไป แต่หลวงปู่อุ่นท่านไม่ได้ไปด้วย เพราะท่านเจ็บเท้า หลวงปู่ผ่านเวลาขึ้นภูวัวจึงได้หายาสมุนไพรมาถวายท่านอยู่เสมอ พอฤดูฝนจึงกลับมาบ้านเซือม


    • พรรษาที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๔๙๙
    วัดป่าบ้านหนองโดก อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    เมื่อใกล้เข้าพรรษา ชาวบ้านหนองโดกได้นิมนต์ไปอยู่ เพราะที่วัดไม่มีพระ ท่านจึงไปจำพรรษาที่นั่น ระหว่าง นั้นท่านได้เป็นครูสอนนักธรรมตรี ทั้งๆ ที่ท่านเป็นไข้มาลาเรียอยู่ด้วย เจ้าคุณพิศาลศาสนกิจ (สนธิ์ ขนฺตฺยาคโม) ซึ่งเป็นหลานหลวงปู่ฝั้น อาจาโร สั่งให้หลวงปู่สอบนักธรรมเอก แต่หลวงปู่ไม่อยากสอบ ท่านเจ้าคุณบอกว่าไม่ได้ ต้องสอบ หลวงปู่จึงอ่านหนังสือเอาเอง ไม่ได้เรียน พอออกพรรษาแล้วไปสอบที่วัดสุทธิมงคล พอสอบเสร็จคืนนั้น ฝันว่า ได้อยู่กลางเกาะ เห็นแผ่นดินอยู่ลิบๆ จึงมั่นใจว่าต้องสอบได้แน่ ผลปรากฏว่าสอบได้จริง ในพรรษานี้ ครั้งหนึ่งท่านถ่ายเป็นเลือดจนเกือบเสียชีวิต


    lp-pharn-24.jpg


    แผนที่แสดงสถานที่ที่หลวงปู่ผ่านธุดงค์จาริกในช่วงพรรษาที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๔๙๙)

    ปีนี้ท่านตั้งใจว่าจะไม่ขึ้นภูวัว แต่พอดีออกพรรษาแล้ว หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เดินทางมาพักกับหลวงปู่สีลา อิสสฺโร ที่วัดอิสสระธรรม บ้านวาใหญ่ อ.อากาศอำนวย ท่านสั่งคนมาบอกว่า
    “ให้ท่านผ่านมาหา ให้พาขึ้นภูวัวไปถ้ำบูชา” หลวงปู่จึงเดินทางไปรับหลวงปู่อ่อน ที่บ้านวาใหญ่ แล้วเดินทางไปบ้านโพนงาม ถ้ำเต่า ท่าแร่ แล้วข้ามลำน้ำสงคราม ไปพักอยู่ที่บ้านท่าพันโฮง ๕-๖ วัน เพราะหลวงปู่อ่อน ภาวนาจิตสงบดีมาก ออกจากบ้านท่าพันโฮง แล้วไปพักบ้านดอนแดง ๑ คืน จากนั้นไปพักที่เซกา ๑ คืน ซึ่งตอนนั้นกำลังจะตั้งขึ้นเป็น อ.เซกา แล้วไป พักอยู่บ้านซำบอน ๗ วัน จึงไปบ้านดอนเสียดแล้วขึ้นไปอยู่ที่ถ้ำบูชา บนภูวัว ต่างคนต่างภาวนา สำหรับหลวงปู่อ่อนท่านภาวนาอย่างเดียว ไม่เอาอะไรทั้งนั้น แต่หลวงปู่ยังหายาสมุนไพรไปฝากหลวงปู่อุ่นอยู่
    ที่ถ้ำบูชามีอีเก้ง หมูป่ามาอยู่ด้วยที่หน้าถ้ำ เวลาท่านเดินออกจากที่พัก พวกหมาไนมันจะเห่า เสือก็มี ทุกวันตอนเย็น นกกระต้อยตีวิด ร้องแต้แว้ดๆๆ ไล่เสือไปที่หินก้อนน้ำอ้อย ได้ยินอยู่ทุกวัน แต่มันไม่ได้เข้ามาหา เพียงแต่มา เดินเฉยๆ ที่หน้าถ้ำมีร้อยเท้าของมันปรากฏเต็มไปหมด มีแต่รอยใหญ่ๆ เท่าปากกระโถน เคยมีพระมหานิกาย ที่เคยขึ้นมาภาวนาที่นี่ เล่าให้หลวงปู่ฟังว่ากลางคืนเสือมาร้องเฝ้าอยู่ทั้งคืน พระไม่ได้จำวัดเลย แต่พอหลวงปู่ไปอยู่กลับไม่เคยมา


    lp-pharn-25a.jpg


    อยู่ถ้ำบูชานี้ ตอนเช้าลงไปบิณฑบาตรบ้านดอนเสียดต้องออกตั้งแต่ยังมืด เอาสังฆาฏิไปด้วย ฉันอยู่ข้างล่างเสร็จ แล้วค่อยกลับขึ้นมา ระยะทางไกลมาก ๘ กม. กลับถึงถ้ำก็สาย วันหนึ่ง มีโยมนิมนต์สวดมนต์เย็น พอสวดแล้ว เดินกลับขึ้นไป ใช้ไต้ (รูปร่างคล้ายกระบอง) จุด เพราะไม่มีไฟฉาย ควันไต้เข้าจมูกแสบไปหมด หลวงปู่อ่อน เดินนำ ลูกศิษย์เดินตาม ทางที่เดินเป็นทางเล็กๆ แต่ก็เดินไปได้ไม่กลัวอะไร
    วันหนึ่ง เณรไปเอาไม้มาทำร้าน (แคร่) โดยทิ้งลงมาที่หน้าผาถ้ำบูชา ตกค่ำ ได้ยินเสียงบางอย่างมาทางหน้าถ้ำ เป็นเสียงเหยียบไม้เพียะๆ ซึ่งทุกวันไม่ได้ยิน หลวงปู่เลยบอกว่าให้เงียบๆ เณรนั้นได้ยินเสียงก็เอาก้อนหินขว้างใส่ หลวงปู่จึงดุเณร ปรากฏว่า เมื่อลาหลวงปู่อ่อนลงมาจากภูวัว เณรนั้นมีอาการปวดหัวมาก ลงมาพักบ้านโสกก่าม บ้านโพธิ์หมากแข้ง เณรก็ยังเจ็บมาก จนมาถึงวัด ไม่นานก็หาย พอเดือนใหม่ก็เจ็บอีก คราวนี้เณรเลยตาย หลวงปู่บอกว่า เพราะเณรไปทำผิดในสถานที่นั้น จึงถูกผีตีหัวด้วยกระบอง จากนั้น หลวงปู่กลับมาอยู่ที่วัดป่าบ้านเซือมอีก
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    • พรรษาที่ ๑๑-๒๕ พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๑๔
    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่ท่านได้รับเลือกให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในการอุปสมบทหมู่ ๒,๕๐๐ รูป เพื่อฉลอง ๒๕ ปีพุทธศตวรรษหรือกึ่งพุทธกาล ครั้งนั้นมีพระอุปัชฌาย์เพียง ๔ รูปเท่านั้น คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี), พระธรรมดิลก (ทองดำ จันทูปโม), พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่แดง ธมฺมรกฺขิโต) และ หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ ท่านจำพรรษาที่วัดบ้านเซือมโดยตลอด ระยะนี้เริ่มมีลูกศิษย์ลูกหามาบวชอยู่ด้วย ส่วน ใหญ่ก็เป็นลูกศิษย์หลวงปู่อุ่น ท่านก็ภาวนาไปเรื่อยๆ ภูเขาก็ไม่ได้ไปอีก เพราะจิตมันหยุดแล้ว ท่านว่าอย่างนั้น ระยะแรกนี้ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักท่าน เพราะท่านยังเป็นพระผู้น้อย ประกอบกับยังมีครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ที่อยู่ไม่ไกลอีกหลายองค์ เช่น หลวงปู่อุ่น อุตตฺโม, หลวงปู่สีลา อิสสฺโร ท่านจึงมีเวลาทำความเพียรได้เต็มที่ ผิดกับปัจจุบันที่ท่านต้องรับแขกทั้งวันไม่มีจำกัดเวลา
    พ.ศ.๒๕๐๒ ท่านกลับไปที่วัดป่าบ้านไผ่ล้อม จ.นครพนม อีก แล้วข้ามน้ำโขงไปอยู่ที่บ้านนาไก่เขี่ย ในประเทศลาว ชาวบ้านเป็นคนไทยโซ่ ไปอยู่ได้ ๒ เดือน เหตุที่ได้ชื่อว่าน่าไก่เขี่ยนั้น เพราะว่า ไก่แก้วโพธิสัตว์เขี่ยหินไว้ ยังมีรอยปรากฏอยู่ที่นาชาวบ้าน จึงได้ชื่อว่า นาไก่เขี่ย อยู่ที่นี่ ท่านว่า ไม่ค่อยน่าอยู่นัก น้ำที่ฉันก็เป็นน้ำจากภูเขาหินปูน ฉันนิดเดียวก็อิ่ม แต่ไม่นานเดี๋ยวหิวอีก วันหนึ่งมีโยมมาหา เขาเรียกหลวงปู่ว่า อาญาธรรม “อาญาธรรม มาขอยา”
    ท่านจึงให้ไปจนหมดย่าม เป็นเพราะฝั่งนั้นเขาขาดแคลนยา เขาจึงมาขอ
    อีกวันหนึ่ง มีโยมผู้หญิงมากราบ สามีของนางป่วยเป็นเปลี้ยเป็นง่อย เขามาขอให้นั่งธรรม (คือนั่งสมาธิดูว่าเป็นอะไร) หลวงปู่ตอบปฏิเสธไปว่าท่านไม่ทำ กลัวจะเป็นบาป เขาก็ยอมกลับไป ตกกลางคืนท่านเกิดความเมตตา จึงลองนั่งสมาธิ อธิษฐานจิตขอดูว่าเหตุที่เขาเป็นเปลี้ยเป็นง่อยนั้นเกิดจากอะไร เมื่อนั่งสมาธิจิตรวมลง ปรากฏท่านไปนั่งอยู่บนเนินเขา เห็นนายพรานไล่ตัวอีเห็นมา มันวิ่งหนีเข้าไปในรู นายพรานจึงอุดรูนั้นไว้ ด้วยกรรมอันนี้จึงทำให้เจ็บแข้งเจ็บขาเป็นเปลี้ยเป็นง่อย
    ท่านจึงถามขึ้นว่า แล้วจะทำบุญด้วยอะไรให้เขา? ปรากฏ เป็นต้นกัลปพฤกษ์ที่ใช้ต้นกล้วยมาทำ แขวนกระดาษ ดินสอ ท่านจึงถามขึ้นอีกว่า หมดหรือยัง? ก็ปรากฏว่ามีคน ๒ คน มีไม้แป้นอยู่ตรงกลาง ทางนั้นขึ้น ทางนี้ลง ทางนั้นลง ทางนี้ขึ้น (แบบไม้กระดกที่เด็กเล่น) จึงถามว่า นี่คืออะไร? ตอบขึ้นว่า คือสร้างเจดีย์ทรายหนักเท่าตัว แล้วถามอีกว่า หมดอีกยัง คราวนี้เงียบ แสดงว่าหมดแล้ว
    เช้าขึ้นมา โยมคนนั้นมา หลวงปู่จึงถามว่า ทำอย่างนั้นจริงหรือไม่ เขารับว่า จริง เขาก็มาทำกัลปพฤกษ์ เจดีย์ทราย ตามที่ท่านบอก
    อยู่ที่นั่นหลายวันจึงกลับมาฝั่งไทยตอนกลางคืนโดยเรือแจว มาพักที่บ้านเวินพระบาท แล้วกลับมาพักที่ภูกระแต บ้านท่าควาย ต่อมาจึงกลับมาอยู่ที่บ้านเซือมอีก
    • พรรษาที่ ๒๖ พ.ศ. ๒๕๑๕
    วัดชัยมงคล อ.บ้านแพง จ.นครพนม


    lp-pharn-29.jpg
    พรรษานี้ท่านไปจำพรรษาที่ อ.บ้านแพง ท่านพาโยมมารดาซึ่งบวชเป็นชีไปด้วย ในพรรษานี้ ท่านเจ็บขามาก เพราะมีหมอมาฉีดยาไม่ถูกวิธี จนมีพระทักว่า “อาจารย์ทำไมจึงผอมอย่างกับแก่ ๘๐ ปี”

    ท่านตอบว่า “ไม่ตายก็ดีแล้ว ผมอายุ ๕๑ ปี แก่มากแล้ว” ท่านทำจิตปล่อยวางรูปสังขารนี้ มันจะตายก็ให้มันตาย คนเกิดมาต้องตาย ไม่ตายวันนี้ ต่อไปมันก็ต้องตาย จะไปห่วงมันทำไม จึงเข้าสมาธิ จิตปล่อยวางทั้งหมด ปรากฏจิตรวม ความเจ็บปวดหายไปหมด ตัวท่านลอยขึ้นไปเหนือเมฆ เห็นมนุษย์เกิดๆ ดับๆ จึงดูการ เกิดการดับของสังขารทั้งหลาย ท่านพิจารณาว่า มนุษย์ทั้งหลายเกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิด เราจะไม่หลง เราจะต้องออกจากทุกข์ให้ได้
    หลวงปู่ท่านเล่าว่า นับแต่บวชมาไม่เคยคิดจะสึก ไปทำมาหากิน สร้างภพสร้างชาติอีกเลย มุ่งหน้าแต่จะภาวนาให้ออกจากวัฏสงสารให้ได้ การภาวนาของท่านจึงดำเนินไปได้อย่างสะดวก ท่านว่า ถ้ายังไม่แน่ใจ ถอยหน้าถอยหลังอยู่ ก็ยากที่จะภาวนาไปขั้นสูงได้
    • พรรษาที่ ๒๗-๔๘ พ.ศ.๒๕๑๖– ๒๕๓๗
    วัดป่าปทีปปุญญาราม บ้านเซือม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร


    lp-pharn-30.jpg
    หลังจากปี ๒๕๑๕ แล้ว หลวงปู่มาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านเซือมโดยตลอด วันหนึ่ง ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ท่านไป กราบหลวงปู่หลุย จันทสาโร ที่ภูทอก จ.หนองคาย (ขณะนั้นท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ มรณภาพแล้ว สมัยท่านยังอยู่หลวงปู่ไปกราบคารวะท่านเกือบทุกปี) หลวงปู่หลุยถามว่า “ท่านคือใคร”
    หลวงปู่ตอบว่า “กระผมชื่อผ่าน”
    หลวงปู่หลุยจึงอุทานว่า “โอ! ท่านผ่าน ท่านยังอยู่หรือ”
    หลวงปู่ตอบว่า “ครับกระผมยังอยู่ กระผมก็เคยพบท่านอาจารย์ แต่คนมากจึงไม่ได้เข้าไปหา กระผมอยากฟังเทศน์ ขอให้ท่านเทศน์ให้ฟัง”

    หลวงปู่หลุยท่านจึงเทศน์ให้ฟัง เรื่อง “ภาวิโต พหุลีกโต” เหมือนที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เคยเทศน์
    พอลงจากภูทอก หลวงปู่มานั่งภาวนาอยู่ข้างล่าง พอจิตรวมลง ปรากฏเห็นต้นไม้ที่ภูทอกนั้นตายหมด ท่านว่า ทำไมเป็นอย่างนี้หนอ? ท่านนั่งอยู่นานจนใกล้ค่ำจึงกลับวัด มาถึงวัด มองต้นไม้ในวัดก็เหมือนต้นไม้นั้นตายหมด จึงไปภาวนาดูว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เมื่อจิตเป็นสมาธิ จึงรู้ขึ้นมาว่า

    “โลกนี้แผ่นดินนี้มีมาอยู่ก่อนแล้ว แต่ใครมาเกิด อยู่ที่ไหนก็มายึดถือเอาว่าเป็นของเรา ไร่เรา นาเรา ยื้อแย่งกันอยู่อย่างนั้นสัตว์ทั้งหลายในโลกจึงออกจากวัฏสงสารไม่ได้ เราไม่เอาหรอก เราไม่อยู่แล้ว”
    จิตถามว่า “แล้วจะไปอยู่ไหน”
    ตอบว่า “ไปอยู่พระนิพพาน อยู่ที่นี่บาปนะ เราบวชอยู่นี่กินข้าวของชาวบ้านมันบาปนะ พระพุทธเจ้าท่านว่า บุคคลใดบวชแล้วไม่ได้บรรลคุณธรรม กินข้าวของชาวบ้านนั้นกินเหล็กแดงดีกว่า”
    จากนั้นก็ภาวนาเพ่งดูแต่กระดูกนั้น เกิดเสียงขึ้นมาทางหูว่า
    “ให้ถึงสุตธรรม” ท่านจึงพิจารณาดู ได้ความว่า สุตธรรมคือ ผู้สดับธรรมครั้งแรก รู้ขึ้นมาในจิตเรื่อง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    ทุกข์ คือ ชาติ-ความเกิดเป็นทุกข์ ชรา-ความแก่เป็นทุกข์ มรณะ-ความตายเป็นทุกข์

    สมุทัย คือ ตัวสมมติ มนุษย์ทั้งหลายคิดว่า ร่างกายนี้เป็นของเรา แข้งเรา ขาเรา ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของตนเอง ยึดมั่นถือมั่นใน รูป รส เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ว่าเป็นตัวเราของเรา
    นิโรธ คือ ความรู้แจ้ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วจึงชื่อว่าถึงสุตธรรมเหมือนพระอัญญาโกณฑัญญะ ฟังเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้า พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปจึงได้ดวงตาเห็นธรรมเป็น พระโสดาบัน
    เมื่อหลวงปู่พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว จึงเข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวเราของเรา รูปอันนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน พิจารณาเห็นดังนี้แล้วปรากฏในนิมิตรว่าตัวท่านลอยขึ้นไปๆ มองลงมาแผ่นดินไม่มีบ้านเรือน มีแต่แผ่นดินภูเขา แล้วเห็นหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เดินมา
    หลวงปู่จึงคิดว่า “เอ! พระอาจารย์มาทำไมหนอ”
    ท่านมาข้างขวาแล้วเตือนว่า “ท่านผ่าน จิตอยู่ในสะกะฯ ยังอยู่ในกามานะ”
    “ครับผม”
    หลวงปู่มั่นเตือนแล้วท่านก็ไป หลวงปู่จึงพิจารณาดู ที่ว่ายังมี กามานะนั้น คือ จิตยังนึกถึงในความใคร่ จิตอันนี้ยังไม่บริสุทธิ์แท้ ละกิเลสได้อย่างหยาบ กิเลสอย่างละเอียดที่เรียกว่า อนุสัย ยังละไม่ได้
    จากนั้นหลวงปู่ก็พิจารณาเกิด แก่ เจ็บ ตาย เรื่อยไป คราวนี้ลอยขึ้นไปสูงอีก มองลงมาที่นั่นเห็นแต่มหาสมุทร มองขึ้นไปด้านบนก็เห็นแสงสว่าง ท่านลอยขึ้นจนไปพบถ้ำใหญ่ ภายในถ้ำมีโบสถ์ ท่านคิดว่า จะเข้าหรือไม่เข้าดีหนอ! สุดท้ายยังไม่เข้า ได้ไปนั่งในศาลาหน้าโบสถ์นั้น นั่งพิจารณาแต่กระดูกอย่างเดียว ท่านว่า คือจิตยังไม่แก่กล้า ท่านต้องอบรมให้แก่กล้าขึ้น ให้ถอนอนุสัยกิเลสได้หมดสิ้น
    ที่โบสถ์นั้นมีพระพุทธรูปใหญ่ ซึ่งเทศน์ได้ ท่านเทศน์เรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย หลวงปู่ท่านก็พิจารณาความเกิด แก่ เจ็บ ตาย (พิจารณาขณะอยู่ในนิมิต) เกิดเห็นว่า
    ในถ้ำนั้นมีมนุษย์ทั้งหลายเดินมา มีทั้งเด็ก หนุ่มสาว คนชรา พากันเดินไปเรื่อยๆ ท่านจึงพิจารณาว่า นี่หนอ เกิดแล้วแก่ แล้วเจ็บ แล้วตาย วนเวียนอยู่อย่างนี้ พิจารณาน้อมลงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา น้อมเข้าไปๆ ก็เห็น พวกคนชราตายลง แล้วก็เผา หลวงปู่ก็เพ่งดูอยู่ คนนั้นก็เผาคนนี้ก็เผา มองไปทางไหนมี แต่กองฟอน จึงคิดว่า ตัวเราก็ต้องตายเหมือนกัน แล้วกำหนดเอาไฟเผาตัวท่านเอง หลวงปู่ท่านก็นั่งเพ่งพิจารณาอยู่อย่างนั้นจนจิตถอนออกมา หลวงปู่บอกว่าแม้ทุกวันนี้ท่านก็ยังไปนั่งเผากระดูกแล้วพิจารณาอยู่ที่หน้าโบสถ์นั้นทุกวันๆ ยังไม่ได้เข้าโบสถ์

    ๏ การอาพาธและมรณภาพ
    หลังออกพรรษาปี ๒๕๕๓ ทางวัดป่าปทีปปุญญารามได้กำหนดวันทอดกฐินของปีนั้นในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ แต่หลวงปู่ได้เริ่มอาพาธตั้งแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายนเป็นต้นมา แต่ท่านยังคงพักรักษาตัวอยู่ที่วัด จนกระทั่งวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ก่อนวันทอดกฐินเพียงวันเดียว อาการอาพาธของท่านเริ่มหนักขึ้น คณะศิษยานุศิษย์จึงนำท่านเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร โดยคณะแพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยโรค และผลปรากฏว่าท่านอาพาธด้วยโรคเนื้องอกในกระเพาะอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ โดยคณะแพทย์ได้กำหนดทางเลือกในการรักษาไว้ ๒ วิธี คือ
    ๑. ผ่าตัดเอาเนื้องอกออก (จำเป็นต้องตัดอวัยวะภายในบางส่วน)
    ๒. ผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องเพื่อจี้ระงับการเจริญเติบโตของชิ้นเนื้อ
    ทางคณะกรรมการวัด และพระอาจารย์สัมพันธ์ ปภัสโร วัดป่าดอนประดู่มงคลทิพย์ปรึกษาหารือกันโดยได้เลือกเอาวิธีที่ ๒
    ภายหลังการผ่าตัด อาการขององค์หลวงปู่มีแต่ทรงกับทรุด ไตหลวงปู่ไม่ตอบสนอง หลวงปู่มีความประสงค์จะกลับไปรักษาตัวที่วัด คณะกรรมการวัดได้ปรึกษาหารือกันจึงได้นำองค์หลวงปู่กลับมาพักรักษาที่วัด ตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น.ของวันที่ ๑๗ พ.ย. ๕๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ได้สั่งให้แพทย์พยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด ต่อมาความทราบถึง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดรับหลวงปู่ไว้เป็นคนไข้ในพระราชานุเคราะห์
    จนเมื่อวันที่ ๒๔ ม.ค. ๒๕๕๔ เวลาประมาณเที่ยงคืนครึ่ง หลวงปู่ได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ สิริรวมอายุได้ ๘๙ ปี พรรษา ๖๔
    พิธีพระราชทานเพลิงศพได้จัดขึ้น ณ วัดป่าประทีปปุญญาราม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ในวันเสาร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ โดยพิธีได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๕๐ น. โดยประธานฝ่ายฆราวาส ได้แก่ นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ประธานฝ่ายสงฆ์ ได้แก่ พระราชญาณมุนี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ) โดยพิธีเริ่มขึ้นหลังจาก นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้ว หลวงปู่บุญมา คัมภีร์ธรรมโม เจ้าอาวาสวัดป่าสีห์พนมประชาราม ขึ้นนั่งประจำธรรมาสน์
    ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร จุดเทียนส่องธรรม เสร็จแล้วจึงแสดงพระธรรมเทศนา ให้บรรดาศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ ประมาณ ๑ แสนคน โดยมีพระภิกษุสงฆ์อีกนับหมื่น พระเกจิอาจารย์เดินทางมาร่วมพิธีจำนวนมาก ทำให้รถติดยาวเหยียดกว่า ๕ กม. ในจำนวนนี้ มีนายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร นางวิตยา ประสงค์วัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร พลตรี สิทธิ จันทร์สมบูรณ์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสกลนคร พลตำรวจตรี อุดม จำปาจันทร์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรสกลนคร รวมอยู่ด้วย
    ต่อมาเวลา ๑๕.๐๐ น. พระสงฆ์ทุกรูป สวดมาติกาเสียงดังกระหึ่มทั่วบริเวณ จากนั้นเจ้าภาพผู้มีจิตศรัทธาทอดผ้าบังสุกุลบนเมรูชั่วคราว และ นายสัมฤทธิ์ พุฒศรี นายอำเภออากาศอำนวย ได้อ่านสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ว่า
    เมื่อความทราบฝ่าละอองพระบาทว่า พระอธิการผ่าน ปัญญาปทีโป มรณภาพด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๔ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ โปรดพระราชทาน พวงมาลาวางหน้าหีบศพ คณะศิษยานุศิษย์ ทายก ทายิกา มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ทั้งนี้นับเป็นเกียรติประวัติ และพระกรุณาแก่ พระอธิการผ่าน ปัญญาปทีโป และคณะศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิตและฆราวาสโดยทั่วหน้า คณะศิษย์ทั้งปวง รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
    จากนั้นได้มีการอ่านประวัติ และ นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ประธานในพิธีได้ทอดผ้าบังสุกุล โดยมี พระราชญาณมุนี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ) เป็นผู้พิจารณาผ้าบังสุกุล ศพของหลวงปู่ผ่าน ถูกบรรจุโนโลงทองเค ประดับตกแต่งบริเวณเมรุชั่วคราว อย่างสวยงาม

    bar-1s.jpg

    ๏ เสาหลักในร่มธรรมแห่งบวรพระพุทธศาสนา
    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป พระมหาเถระพระป่านักปฏิบัติกรรมฐานอีกรูปหนึ่ง ที่มีศีลาจารวัตรที่งดงามน่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อีกองค์หนึ่ง เป็นพระสุปฏิปันโนเนื้อนาบุญของชาวโลก เป็นเสาหลักในร่มธรรมแห่งบวรพระพุทธศาสนา แม้สังขารจะเข้าล่วงปีที่ ๘๕ ปี ครบรอบปีที่ ๗ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ด้วยสุขภาพที่แข็งแรง ท่านยังได้ออกมาต้อนรับคณะศรัทธาญาติโยมที่เดินทางมาจากแดนใกล้ไกลเป็นจำนวนมาก เพื่อมาคารวะนมัสการทุกวันไม่เว้นมิได้ขาด
    ทุกครั้งที่คณะศรัทธาญาติโยมขอพรขอศีล ท่านจะบอกว่า มีหลักอยู่ ๓ อย่าง คือ “ขออย่าได้เจ็บ อย่าได้ป่วยไข้ และสุดท้ายอย่าลืมหายใจ” ครั้นเมื่อได้สดับตรับฟังหลักธรรมจากท่านแล้ว จะทำให้จิตใจสงบและร่มเย็นเป็นสุข.

    bar-red-lotus-small.jpg
    :- http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography_2/lp-parn/lp-parn-hist-01.htm


     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    "สบอาคมเขมร"อานิสงค์ของการสวดมนต์ สมเด็จโต พรหมรังสี

    VIVECK STATION
    Oct 29, 2019
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ยายชีนวล แสงทอง

    หลวงตา
    Oct 31, 2021
    ยายชีนวล แสงทอง วัดภูฆ้องคำ บ.ดงตาหวาน อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    nuan-001.jpg
    ประวัติ เรื่องของ ยายชีนวล แสงทอง
    วัดภูฆ้องคำ บ.ดงตาหวาน อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี
    เขียนโดย อำพล เจน

    โพสต์ในเวบ www.ampoljane.com วันพุธที่ ๒๑ มกราคม ๒๐๐๙
    บ่ฮู้..บ่จัก
    เมื่อถูกซักถามเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับครูบาอาจารย์รวมทั้งเรื่องที่ไม่ปรารถนาจะตอบ ยายชีนวลมักตัดบทว่า
    “บ่ฮู้-บ่จัก”

    เป็นถ้อยเป็นคำที่ออกจากปากยายชีบ่อยที่สุด
    รูปศัพท์ง่ายๆ ตรงๆ ว่า = ไม่รู้จัก
    แต่จะให้ตรงจริงๆ ในภาษากลางต้องแฝงดัดจริตคือ - ไม่รู้ไม่ชี้
    เมื่อเป็นอีสานทั้งศัพท์สำเนียงความหมายและอารมณ์นั้นกลับจริงจังไม่ดัดจริต
    เรื่องนี้วิจารณ์ได้เพียงผิวเผินว่า นั่นคือคุณลักษณะของนักปฏิบัติที่กำลังนำตนให้หลุดพ้นวัฏสงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด)
    ยุติการยึดติดกับสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบันหรือนาคต ไม่ใยดีอาลัยในสังขารตน รวมไปถึงวัตถุสิ่งของภายนอกที่เป็นสมบัติของโลก

    ดังนั้นเรื่องเล่าทั้งหมดที่เกี่ยวกับความเป็นยายชีจึงเกิดด้วยความยากลำบาก ไร้ข้อมูลที่ชัดเจน ขาดรายละเอียด ที่จะสร้างอรรถรสให้แก่ผู้อ่าน คงอาศัยจากคำบอกเล่าผู้ใกล้ชิด สานุศิษย์ ลูกหลานของยายชี ซึ่งก็เต็มไปด้วยความแผ่วเบา ขาดน้ำหนัก ด้วยว่าทุกคนล้วนอยู่ในภาวะเดียวกัน ต้องเผชิญกับคำว่า
    “บ่ฮู้..บ่จัก”
    เสมือนมีดคมบั่นกระบวนการสนทนาจนขาดสะบั้นในทันที

    ชาติกำเนิด
    nuan-002.jpg
    เกิดวันศุกร์ ไม่ทราบวันที่และเดือน คงอาศัยเค้าจากปีเกิดหลวงปู่สวน วัดนาอุดม (๘ ก.ย. ๒๔๕๓) ด้วยว่าทั้งหลวงปู่สวนและยายชีเกิดปีเดียวกัน ยายชีเป็นน้องแค่เดือน
    เป็นลูกสาวคนโตของนายส่วน แสงทอง กับนางปี๋ ผลทวี, เป็นพี่สาวของน้องหญิงน้องชายอีก ๑๐ คน ซึ่งเสียชีวิตเกือบทั้งหมด ยังคงมีชีวิตอยู่เพียงสองท่านคือยายคำ แสงทอง กับ ป้าอนันต์ แสงทอง
    เป็นศิษย์สำเร็จลุน แห่ง จำปาศักดิ์จริงหรือ?

    เท่าที่ได้เคยสัมผัสและสังเกตเห็นมาโดยตลอด บรรดาผู้ที่เป็นศิษย์สำเร็จลุนอย่างแท้จริง มักไม่นิยมกล่าวถึงครูบาอาจารย์ แม้แต่อวดอ้างเอ่ยชื่อก็ไม่ทำ ทุกคนดำรงตนอย่างเงียบเชียบอยู่ในที่กันดารที่คนเข้าถึงลำบาก โดดเดี่ยวลำพังอย่างนักปฏิบัติพันธ์แท้ ไม่คลุกคลีหมู่คณะ ไม่สะสมวัตถุสมบัติ ไม่ติดอยู่กับที่ ไร้ร่องรอย ไร้เรื่องราว
    ถ้าจะมีเรื่องราวปรากฏมักเป็นคำกล่าวขวัญขานถึงอย่างพิสดารโดยมีพื้นฐานจากความเคารพนับถือ ทำให้เกิดภาคอภินิหารใหญ่โตในภายหลัง ส่วนมากก็หลังจากบรรดาท่านเหล่านั้นละสังขารกันไปแล้ว
    ชั้นหลังๆ ได้ยินเสียงอวดอ้างเอ่ยนามสำเร็จลุนบ่อยๆ ทำนองว่าเป็นศิษย์สายเดียวกัน ป่าวประกาศให้รู้ทั่วไปโดยไม่กระดากใจว่าตนเป็นศิษย์สายนี้ บางรูปอ้างถึงกับว่าตนเป็นลูกศิษย์สายตรงที่ไม่ใช่แค่หลานศิษย์ ครั้นสอบสวนเอาความจริงล้วนโกหกทั้งเพ แค่ปีเกิดของศิษย์จอมปลอมก็ยังไม่ทันชีวิตองค์สำเร็จลุน ใยจึงไม่นึกละอายว่าตนกำลังอมคำโกหกคำโตไว้ในปากตลอดเวลา ยากจะเข้าใจว่าทำกันเช่นนั้นเพื่อผลประโยชน์อย่างใด
    เคยถามยายชีด้วยตนเองว่าครูบาอาจารย์ของยายเป็นใคร
    “บ่ฮู้-บ่จัก”
    “ถ้าไม่มีใครเป็นอาจารย์ ก็เรียนเองรู้เอง”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น ครูบาอาจารย์นั้นมีแน่..แต่ยายบ่จำ”
    บ่จำ=ไม่จำ, จำไม่ได้.
    มีดคมอีกเล่มที่หั่นประวัติสำนักศึกษาและอาจารย์ท่าน

    nuan-003.jpg
    เรื่องนี้ทราบจากยายคำ แสงทองผู้เป็นน้องหญิงคนที่ ๔ ของยายชีว่า สมัยยายชียังเยาว์วัย ป่วยเป็นฝีที่คอ รักษาอย่างไรไม่หาย วันหนึ่งมีหมอธรรมมาชี้แนะว่า มีผู้เดียวที่จะรักษาได้ เป็นพระชื่อว่าครูบาลุน อยู่ภูมะโรง เมืองจำปาศักดิ์ อยากจะหายจงเร่งไปหา ด้วยว่าเวลานั้นท่านชราภาพมากแล้ว อย่านิ่งนอนใจ ช้าไปจะไม่ทันการ
    จากตรงนี้นั่นเองจึงเป็นจุดหักเหของชีวิตเด็กหญิงคนหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้ดั้นด้นไปจนถึงภูมะโรง
    ว่ากันขณะนั้นยายชีมีอายุได้ ๑๓ ปี บางเสียงว่า ๑๘ ปี
    ถ้าจะวิเคราะห์เอาข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงความจริงที่สุด ประมาณว่ายายชีตอนนั้นควรจะมีอายุระหว่าง ๙-๑๑ ขวบ
    ดูที่ปีมรณภาพของสำเร็จลุนซึ่งมีบันทึกปรากฏชัดเจนคือปี ๒๔๖๔ (ปีระกา เดือน๑๑ เพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาใกล้รุ่ง) เอามาเป็นตัวตั้งแล้วเอาปีเกิดของยายชีคือ ๒๔๕๓ ลบไปก็จะได้ตัวเลข ๑๑ ปี
    ในขณะที่เดินทางไปภูมะโรงนั้น บิดาของยายชีกำลังอยู่ในเพศสมณมาแล้ว ๖ พรรษา น่าเชื่อได้ว่าพระภิกษุส่วน (บิดายายชี) ควรเป็นผู้นำพายายชีไปด้วยตนเอง หรือไม่ก็อาศัยผู้รู้จักหนทางที่ไว้วางใจได้ฝากฝังยายชีให้เขาคนนั้นนำพาไป

    nuan-004.jpg
    ในการเดินทางไปภูมะโรงคราวโน้นเป็นไปได้ว่าน่าจะมีหลวงปู่สวน ฉนฺทโร วัดนาอุดมร่วมเดินทางไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน (บ้านนาทม ต.คำหว้า อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี)
    เมื่อไปถึงภูมะโรงแล้ว ครูบาลุนได้บอกว่าโรคของยายชีจะหายได้ด้วยมโหสถขนานเดียว คือบวชชี รักษาศีลแปด ถือพรหมจรรย์ ซึ่งครูบาลุนได้เป็นผู้บวชให้
    ยายชีนวลเมื่ออยู่รักษาตัวที่ภูมะโรง ก็เหมือนดังว่าหายสาบสูญ ด้วยไม่เคยมีข่าวส่งไปถึงครอบครัวแม้แต่น้อย
    กระทั่งครูบาลุนมรณภาพแล้ว ข่าวคราวของยายชียังคงเงียบหายไปอีกหลายปี จนวันหนึ่งข่าวว่ายายชีถูกงูเหลือมกินก็มาถึงบ้านเกิด ทุกคนที่ทราบข่าวล้วนสลดใจสงสาร พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตามประเพณี
    ครูบาลุนเป็นใคร?
    ข้อสงสัยที่หวังให้มีผู้คลี่คลายคือ ครูบาลุน กับ สำเร็จลุน เป็นคนเดียวกันหรือไม่
    คาดคั้นเอาความจริงกับยายชี
    คำตอบเก่าๆ
    “บ่ฮู้..บ่จัก”

    lp-tone-hist-27.jpg
    คงมีเพียงพระภิกษุผู้เฒ่ารูปเดียวที่กล่าวรับรองว่ายายชีเป็นศิษย์สำนักครูบาอาจารย์เดียวกันคือสำเร็จลุน
    ภิกษุผู้เฒ่ารูปนี้มีชื่อลือนามว่าหลวงปู่สวน ฉนฺทโร วัดนาอุดม อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี
    คำตอบที่ชัดเจนเพื่อคลายปมกังขาจึงมาอยู่ที่นี่ อยู่ที่หลวงปู่สวน
    น่าแปลกใจอย่างยิ่ง หลวงปู่สวนออกจะให้ความเกรงใจยายชีนวลเป็นพิเศษ
    อาจด้วยเหตุว่า ยายชีนวลนั้นสนิทสนมคบหาสำเร็จตัน ถึงขั้นเรียกหากันว่า “เสี่ยว”
    สำเร็จตันผู้คงด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิ อันบรรดาศิษย์อาจารย์เดียวกันยกย่องนับถือ
    เป็นข้อวัตรของสำเร็จลุนหรือไม่
    มองไปที่ หลวงปู่หนุ่ย ปภากโร
    ศิษย์สำเร็จลุนรุ่นราวคราวเดียวกันกับ ปู่ผ้าขาวครุฑ (อาจารย์ของหลวงปู่คำพันธ์)
    ก็เป็นภิกษุสันโดษและโดดเดี่ยวลำพังคนเดียวในป่าดงดิบบนเขาที่เรียกว่าภูพริก (เขต อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลฯ) องค์ท่านดำรงชีพอยู่อย่างเงียบเชียบปราศจากชื่อเสียง ไม่เคยอวดอ้างเอ่ยชื่อครูบาอาจารย์ ถ้าถามจะได้ความเงียบเป็นคำตอบ
    เมื่อหลวงปู่หนุ่ยมรณภาพแล้ว หลวงปู่คำพันธ์ได้เดินทางมานมัสการธาตุอัฐิขององค์ท่านเป็นการส่วนตัว หลวงปู่คำพันธ์เรียกหาองค์ท่านว่าเป็นครูบาอาจารย์ผู้เฒ่า เสมือนปู่ผ้าขาวครุฑผู้ไร้ร่องรอยเช่นเดียวกัน

    nuan-005.jpg
    ร่องรอยเดียวที่ตามรอยได้คือ สถานที่บรรจุอัฐิของท่านทั้งสองที่ยังคงซ่อนอยู่ในป่า จะไปจะมาลำบากเอาเรื่อง ร่องรอยก่อนหน้านั้นมีอันได้สูญหายไปกับกาลเวลา

    หลวงปู่บุญสี ปคุโณ วัดภูนางแก้ว บ.สองคอน อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี มรณะไปแล้วราวๆ ๓๐ กว่าปี เป็นอีกองค์หนึ่งที่ดำรงชีพอยู่อย่างเงียบเชียบไม่กระโตกกระตาก ไม่เอ่ยอ้างตนว่าเป็นศิษย์สำเร็จลุน ไม่ยินดีกับการก่อสร้าง ไม่ออกเหรียญหรือวัตถุมงคลใดๆ สงเคราะห์ให้แก่สานุศิษย์เฉพาะรายเช่นทำตะกรุดให้เท่านั้น
    ทุกรูปทุกนามที่เป็นศิษย์แท้ของสำเร็จลุน มักไม่ไคร่อยู่สถานที่ใดนานเกินควร ธุดงค์ไปทั่ว จนกว่าจะแก่เฒ่าถึงขั้นยากลำบากในการเดินทาง จึงหยุดธุดงค์ สถานที่พำนักบั้นปลายล้วนไกลผู้คน ราวกับซ่อนตัวหลบหลีกหนีอะไรสักอย่าง
    ยายชีนวลก็เช่นกัน เมื่อครูบาลุนมรณภาพและหมดภาระที่สำนักครูบาลุนแล้ว ยายชีในวัยรุ่นสาวกลับมีความองอาจกล้าหาญออกธุดงค์โดดเดี่ยวปานพระหนุ่มๆ สักรูป เดินออกจากจำปาศักดิ์ขึ้นเหนือทะลุเวียงจันทน์ ข้ามโขงมาฝั่งไทยที่เมืองหนองคาย เข้าอุดรธานี ย้อนมาสกลนคร ผ่านธาตุพนม สู่อำเภอเขมราฐ จนกระทั่งถึงบ้านเกิดบ้านนาทม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2023
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    nuan-006.jpg
    ในขณะที่กลับถึงบ้าน ยายชีสาวเต็มตัว อายุได้ ๒๐ กว่าปี เป็นการปรากฏตัวครั้งแรกหลังจากที่ทุกคนทำความเข้าใจมาตลอดเวลา ๑๐ กว่าปีว่ายายชีนวลเสียชีวิตไปนานแล้ว
    ผู้ที่ประพฤติตนสันโดษเดียวดายเยี่ยงนี้ที่เป็นศิษย์สำเร็จลุนไม่ว่าหญิงว่าชาย ไม่ว่าบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ จะเรียกว่าถือข้อวัตรของสำนักหรือได้ไม่ เหตุใดจึงมีพฤติกรรมในการดำรงชีวิตโดดเดี่ยวเดียวดายเหมือนกันทุกคน

    สึกออกจากการเป็นชี
    พำนักอยู่บ้านเกิดไม่นาน ได้เพื่อนชีสาวอีก ๒ คือแม่ชีเที่ยง (ไม่ทราบนามสกุล)
    กับแม่ชีอีกองค์หนึ่งไม่ทราบชื่อ ชวนกันออกธุดงค์ไปจนถึงภูสามส่วม เขตอำเภอเขมราฐ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร)
    ชีทั้ง ๓ ปักกลดบำเพ็ญเพียรอยู่บนเขานั้นนานนับ ๑๐ วันจึงเกิดเหตุ
    คืนวันที่ ๑๐ นั่นเอง เสือโคร่ง ๕-๖ ตัวเข้ามาหาชีทั้ง ๓ เสือตัวหนึ่งท่าทางเหมือนจ่าฝูง เข้าใกล้ยายชีนวลที่สุด มันลงนั่งจ้องหน้า ยกฝ่าเท้าข้างหนึ่งด้วยอาการเหมือนจะตะปบเหยื่อ ยายชีนวลก็เอื้อมฝ่ามืออกไปตบเบาๆ ที่หัวเสือจ่าฝูง เสือก็หยุดกึก แล้วหันหลังกลับออกไปจากบริเวณนั้นทั้งหมด
    วันรุ่งขึ้นเพื่อนชีองค์หนึ่งเข้าใจว่าเป็นแม่ชีเที่ยง กลัวเสือที่ปรากฏตัวเมื่อคืนจนถึงกับล้มป่วย ต่อมาไม่นานก็เสียชีวิต
    บิดาของยายชีนวลทราบข่าว ได้ติดตามเอาตัวยายชีกลับบ้านขอร้องให้สึก อ้างเหตุผลไม่มีใครช่วยทำนา ยายชีนวลจึงยอมสึก
    (ต้องอธิบายเพิ่มเติมว่า บิดาของยายชีมีภรรยา ๒ คน ภรรยาคนแรกมีลูกด้วยกันคนเดียวคือยายชี ต่อมาบิดายายชีได้บวชเป็นพระอยู่หลายปีจึงสึกออกมามีภรรยาใหม่ กับภรรยาคนที่ ๒ นี้มีลูกด้วยกัน ๑๐ คน ขณะนั้นบิดามีครอบครัวใหม่แล้ว)

    แต่งงานออกเรือน
    หลังจากที่ได้สึกชีออกมาช่วยงานครอบครัวไม่นาน นายอาจ ผลทวี ได้มาติดพันชอบพอยายชี ออกปากขอแต่งงาน ยายชีไม่ขัดข้องแต่มีข้อแม้ที่ถือเป็นข้อตกลงว่า หากยายชีอยากจะไปวัด หรือไปปฏิบัติธรรมที่ไหน เมื่อไหร่ จะไปทันที ไม่ขออนุญาต ไม่บอกล่วงหน้า และอย่าได้ห้ามเสียให้ยาก นายอาจรับปากตกลง
    ชีวิตหลังแต่งงานยายชีนวลยังประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม คือรักษาศีล ๕ บริสุทธิ์ตลอด
    มีลูกทั้งหมด ๔ คน ชาย ๒ หญิง ๒
    ลูกๆ ต่างรับรองว่าแม่ (ยายชี) ไม่เคยฆ่าสัตว์ แม้มดหรือยุงก็ละเว้นไม่ล่วงเกินชีวิตสัตว์เหล่านั้น
    ระหว่างมีครอบครัวมีลูกมีเต้า ยายชีไปธุดงค์กับสำเร็จตันบ่อยๆ ออกปฏิบัติธรรมร่วมกัน ในป่าเขาและสถานที่กันดารน่ากลัวแทบทุกแห่ง เรียกว่าไม่เคยลืมความเป็นนักบวช

    ความองอาจกล้าหาญของยายชีไม่ได้เป็นรองสำเร็จตัน
    ดูแค่เพียงการอยู่ในสถานที่ต่างๆ รวมทั้งภูฆ้องคำตามลำพังคนเดียวก็นับว่าเป็นยิ่งกว่าคำรับรอง
    กลับสู่ผ้าขาวอีกครั้ง

    nuan-007.jpg
    ปี ๒๕๒๒ ขณะมีอายุได้ ๖๙ ปี ยายชีบอกกับนายอาจผู้เป็นสามี รวมทั้งลูกๆว่า
    “จะออกบวชเป็นชีอีก อยากพ้นทุกข์ พ้นวัฏสงสาร”
    แล้วออกจากบ้านหายสาบสูญไปอีก
    ลูกหลานเล่าว่ายายชีเมื่ออกธุดงค์ ไม่เคยพกพาสมบัติเงินทองติดตัว มีแค่ย่ามใบเดียว กับผ้าขาวหุ้มตัวชุดเดียว ไม่มีแม้เอกสารหลักประจำตัว เรียกว่าไปตัวเปล่าจริงๆ
    ราวๆ ปี ๒๕๒๖ จึงได้ข่าวว่ามีสถานที่ ๒ แห่งที่ยายชีปรากฏตัวไปมาบ่อยๆ คือระหว่างถ้ำค้อในเขต อ.โขงเจียมกับวัดดอนม่วง บ.ดอนรังกา อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี
    พอดีกับนายอาจผู้เป็นสามีป่วยหนัก ลูกๆ ตามไปหาแล้วแจ้งอาการป่วยของนายอาจที่ถ้ำค้อ
    แต่ยายชีบอกว่า
    “แม่ไม่ใช่หมอ ถึงไปดูก็ช่วยให้หายป่วยไม่ได้”
    ต่อมาไม่นานนายอาจ ผลทวีผู้สามีก็ถึงแก่กรรม

    ผู้ไร้ร่องรอย
    หลังจากนั้นยายชีก็หายสูญข่าวคราวไปอีก ไม่มีใครรู้ว่าไปไหน อยู่ที่ใด
    นานๆ ก็โผล่มาเยี่ยมลูก นานๆ ก็หายตัวไป เป็นปกติ
    การติดตามหาตัวยายชีเป็นไปได้ยาก เนื่องจากความไม่อยู่ติดที่ ไม่อยู่ที่ใดนานๆ
    เรื่องนี้มีผู้รับฟังคำอธิบายจากยายชีและสังเกตเห็นข้อเท็จจริงอันนี้
    ที่ใดมีคนเกลียดมากๆ ยายชีจะอยู่นานเป็นพิเศษ
    ที่ใดคนรักนับถือมากๆ ยายชีจะออกจากที่นั่นไปโดยเร็ว
    สถานที่ซึ่งมีคนเกลียด จะอยู่จนกระทั่งคลายทิฏฐิมานะของผู้คนได้สำเร็จ
    เกลียดกลายเป็นรักและนับถือเมื่อไหร่ จะจากไปเมื่อนั้น
    หลายแห่งที่ผู้คนร้องไห้อาลัย อ้อนวอนให้อยู่ต่อไป ยายชีก็จะบอกธรรม ๑ ข้อ

    “อนิจจังไม่เที่ยง มีพบก็มีพราก”
    ปี ๒๕๓๔ ยายชีนวลปรากฏตัวที่ วัดภูน้อย (บ.น้ำวุ้น ต.แก่งเค็ง อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี) ซึ่งยายชีเคยมาร่วมสร้างเอาไว้กับพระอาจารย์หมุนพร้อมด้วยชาวบ้านญาติโยม
    การย้อนกลับมาครั้งนี้ทำความสลดใจให้ยายชีเป็นอันมาก ด้วยวัดอยู่สภาพรกร้างเสื่อมโทรม เป็นเหตุให้เกิดสังเวชสงสารญาติโยมที่เขามีศรัทธาร่วมสร้างถวาย แต่กลับไม่มีพระเณรอยู่อาศัย ทั้งไม่มีใครดูแลรักษา จึงตัดสินใจพำนักอยู่ที่นั่นตามลำพังคนเดียว
    ชาวบ้านเล่าว่ายายชีมาอยู่วัดภูน้อยสมัยแรกนั้น ไม่ค่อยมีใครได้เห็นตัว นานๆ จะเห็นลงจากเขามาบิณฑบาตที
    เรื่องนี้ยายชีได้กรุณาอธิบายให้ฟังในภายหลังว่า
    “สงสารชาวบ้าน ลำพังการหาอยู่หากินก็ลำบากพอ ไม่อยากรบกวนเขามากเกินไป ได้อาหารเขาแล้วก็เว้นเสียบ้าง หาเก็บใบไม้มาหั่นกินเอาพอบรรเทาหิว ก็พออยู่ได้หรอก”
    (หั่นใบไม้กิน-ในความหมายของอีสาน บางคนว่าเสกใบไม้กิน)
    เบื้องต้นพวกชาวบ้านต่างพากันสงสัยว่ายายชีรูปนี้มาอยู่ที่นี่คนเดียวได้อย่างไร ลูกเต้าอยู่ไหน เป็นผีเป็นปอบหรือไม่ ใยจึงมาหลบซ่อนตัวอยู่ในวัดร้างบนเขาเช่นนี้ นานไปชาวบ้านจึงเริ่มรู้จักและเข้าใจ
    หลังจากนั้นข้าวปลาอาหารก็อุดมสมบูรณ์ ด้วยว่าผู้คนพากันหลั่งไหลเข้าไป
    วัดร้างก็กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่งเพียงเวลาไม่นานปี
    ทั้งพระทั้งโยมจากทางใกล้ทางไกล เดินทางมาร่วมบุญบูรณะวัด ทั้งปฏิบัติและสนทนาธรรมกับยายชีจนเป็นที่เลื่องลือ ต่างอัศจรรย์ใจในตัวยายชีที่เป็นหญิงชราปานนี้ยังมีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดน่าเลื่อมใส ถึงกับว่ามีพระหลายรูปมาฝากตัวเป็นศิษย์ ซึ่งยายชีได้กราบเรียนตอบพระเหล่านั้นอย่างนอบน้อมถ่อมตนเสมอ
    “สิบข้าน้อยฮู้ บ่ถ่ออาจารย์หลง”
    หมายความว่า - ความรู้ที่ยายชีมีนั้นจะมากแค่ไหน ก็ไม่เท่าความรู้ที่ท่านอาจารย์หลง(ลืม)

    ที่พักพิงสุดท้าย-ภูฆ้องคำ


    nuan-008.jpg
    ถึงปี ๒๕๓๙ วัดภูน้อยมีไฟฟ้าและน้ำใช้สะดวกดีแล้ว มีพระเณรอยู่ประจำ มีชาวบ้านศรัทธาค้ำจุนแน่นหนาแล้ว ยายชีนวลก็อำลาท่ามกลางความอาลัยของทุกคน ยายชีนวลมุ่งหน้าสู่ภูฆ้องคำ บ.ดงตาหวาน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดภูน้อย
    เพียงเป็นเขาคนละลูก หมู่บ้านคนละหมู่
    ภูฆ้องคำเวลานั้นเป็นที่พักสงฆ์รกร้างเช่นเดียวกับภูน้อย มีกุฏิถูกไฟไหม้อยู่หลังเดียว ยังไม่มีศาลา ไม่มีห้องสุขา กันดาร แห้งแล้ง ไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ ไม่มีแม้กระทั่งทางเข้าถึงโดยสะดวก อาศัยชาวบ้านช่วยกันเบิกทางให้ พอได้สัญจรไปมา ในเบื้องแรกยายชีต้องปักกลดอาศัยอยู่ไปก่อน โดยมีชาวบ้านช่วยกันส่งข้าวน้ำให้พอประทังชีวิต
    ไม่นานภูฆ้องคำก็ฟื้นคืนสภาพ ชาวบ้านดงตาหวานและจากทุกสารทิศ ทั้งทางใกล้ทางไกลต่างร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างศาลา๑หลัง กุฏิ ๖ หลัง ห้องน้ำห้องสุขา ๕ ห้อง ทั้งยังสร้างเจดีย์เล็กๆ บนยอดเขา รวมทั้งพระประธานองค์ใหญ่ไว้ด้วย
    ยายชีนวลพำนักอยู่ภูฆ้องตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้ตามลำพังคนเดียว ไม่มีพระเณรอยู่ประจำ ถ้ามีก็แค่อาศัยอยู่ชั่วครั้งชั่วคราว สุดท้ายยังเป็นยายชีอยู่อย่างถาวร
    ค่อนข้างแน่ใจว่าที่นี่คือสถานที่พักพิงสุดท้ายของยายชี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2021

แชร์หน้านี้

Loading...