หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    เรื่องเล่าระหว่างธุดงค์
    ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี ๒๔๙๒ เป็นต้นมา ถึงแม้เวลาส่วนใหญ่ท่านจะจำพรรษาอยู่ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต แต่ในเวลาออกพรรษา ท่านก็ยังคงออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ และบางปีท่านก็ยังไปจำพรรษายังวัดที่มีผู้นิมนต์ให้ท่านไปจำพรรษาอยู่ในโอกาสพิเศษ
    เรื่องเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์พิเศษต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการธุดงค์ของท่านนั้นได้มีอยู่มากมาย แต่ก็ไม่สามารถระบุเฉพาะเจาะจงลงไปว่าเรื่องใดเกิดขึ้นในปีใด จึงได้รวบรวมมาแสดงไว้ในหัวข้อนี้
    เรื่องเสือเฝ้าดูหลวงปู่ผาง

    คราวหนึ่งหลวงปู่ได้พักปักกลดอยู่ที่ป่าซึ่งเป็นดงเสือโคร่งลายพาดกลอน ในคืนนั้นหลังจากที่ท่านได้สวดมนต์แล้ว ก็ออกไปนั่งสมาธิภาวนาธรรมให้แก่สัตว์โลก ในขณะนั้นมีเสือโคร่งลายพาดกลอนตัวหนึ่ง ยืนมองดูท่านอยู่ แต่ก็มิได้แสดงอาการดุร้ายแต่อย่างใด ครั้นพอหลวงปู่ออกจากภาวนาก็มาเดินจงกรม ท่านเดินไป เดินมา อยู่อย่างนั้น เสือตัวนั้นเกิดความสงสัย จึงค่อยๆ คืบคลานเข้าไปดูใกล้ๆ ข้างๆ ทางที่หลวงปู่เดินจงกรม มันหมอบดูเฉย หลวงปู่ก็มองเห็นมันอยู่ แต่ท่านมิได้สนใจแต่อย่างใด สายตาของท่านทอดต่ำ ไม่มองดูอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่เดินจงกรมอย่างเดียว
    เสือโคร่งตัวนั้นมองดูหลวงปู่ด้วยความสนใจเป็นเวลานาน ด้วยความเมตตาของหลวงปู่ที่เห็นว่ามันมาดูด้วยลักษะเฝ้าท่านเช่นนี้ จึงพูดขึ้นพอได้ยินไปถึงเสือโคร่งว่า “เจ้าเสือโคร่งเอ๋ย เวลานี้เป็นเวลาค่ำคืนแล้วนะ และเป็นเวลาที่เจ้าต้องไปหาอาหารกินเยี่ยงสัตว์อื่น จะมานอนมองอยู่อย่างนี้ไม่หิวหรือ...ถ้าหิวก็ไปหากินเสียเถิด เราก็จะเดินจงกรมปฏิบัติธรรมของเราเยี่ยงนี้ ไม่หนีไปไหน”
    เหมือนปาฏิหาริย์ พอท่านพูดจบคำลงเสือโคร่งตัวนั้นเข้าใจในคำพูดของท่านกระโดดหายไป เสียง...โฮก...โครมคราม คล้ายดังกับดีใจที่ได้รับอนุญาตจากหลวงปู่
    เรื่องจริงที่นำมาเล่านี้เป็นตำนานของวัดดูน ที่หากท่านได้มีโอกาสไปกราบย้อนรอยตำนาน จะเห็นบรรดารูปปั้นของสัตว์ในตำนาน ของพระอริยสงฆ์ผู้ทรงอภิญญาและเปี่ยมด้วยเมตตาปาฏิหาริย์ หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต แห่งเทือกเขาภูผาแดง อยู่ตามพุทธสถานศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ภายในพื้นที่ ๔๘๐ ไร่ของวัดดูน

    lp-pang-033.jpg
    ผจญฝูงควาย
    วันหนึ่งขณะที่ท่านเดินธุดงค์ผ่านดงแม่เผด ตำบลนาขาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนจะถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งตอนบ่ายๆ มีควายฝูงใหญ่ประมาณสี่สิบกว่าตัว กำลังเล่นปลัก นอนกลิ้งเกลือกไปมาอยู่ในโคลนตมกลางทุ่ง มันเป็นควายของชาวบ้าน เมื่อหมดฤดูทำนา เขาก็ปล่อยมันเข้าป่าเข้าดงไปหากินเอง สมัยก่อนไม่ได้เลี้ยงวัวเลี้ยงควายลำบากเหมือนสมัยนี้ ปล่อยไว้ตามป่าอย่างนั้นแหละ เพราะไม่มีขโมย โจร เหมือนทุกวันนี้ พอถึงหน้าฤดูทำนา เจ้าของก็ไปไล่ต้อนกลับเอามาทำนา ลากแอกลากไถใส่คราด สาเหตุที่มันชอบเล่นปลักเล่นโคลน ก็เพื่อป้องกันตัวเองจากทาก เห็บ เหา ยุง ริ้น เหลือบ ที่ชอบมากัดกินเลือดมันนั่นเอง เพราะในดงในป่า มีสัตว์ที่เกาะกินเลือดวัวควาย หรือสัตว์อื่นชุกชุม โดยเฉพาะเหลือบนี่ ตัวมันคล้ายๆ แมลงวันป่า เกาะปุ๊บดูดเลือดปั๊บ โดนเกาะดูดเลือดแต่ละตัวนี่ต้องสะดุ้งโหยงเลยทีเดียว เจ็บมากเลย
    ตัวทากนี่ก็อันตราย ลักษณะมันเหมือนปลิงเข็ม เล็กเท่าก้านไม้ขีด หรือใหญ่กว่านิดหน่อย เวลามันกัดเรา ทั้งๆ ที่เราก็ระวังอย่างดีแล้ว ยังไม่รู้ว่ามันมาเกาะดูดเลือดเรากินตั้งแต่เมื่อไร มันชอบไต่เข้าไปกัดตามร่มผ้า ถ้าโดนกัดต้องรู้วิธีเอาออก ถ้าดึงมันออก เลือดเราจะไหลไม่หยุด อันนี้ให้ระวัง ต้องรู้วิธีแก้ คืออย่าเพิ่งดึงมันออก เอายาฉุนชุบน้ำนิดหนึ่ง แล้วบีบใส่ตัวมันให้โดนตรงที่มันกัด เมื่อมันเหม็นกลิ่นยาฉุนก็จะหลุดออกไปเอง อันนี้ไม่เป็นไร รู้สึกคันนิดๆ เลือดก็หยุดไหล
    เห็บนี่ก็เหมือนกัน นักเดินป่าทั้งหลายต่างรู้กิตติศัพท์ของมันดี อันตรายพอๆ กัน ผู้ที่โดนกัดต้องรู้วิธีเอาออก อย่าเพิ่งดึงออกทันที ถ้าลงว่ามันได้ฝังเขี้ยวดูดกินเลือดเราแล้ว ถ้าไม่อิ่มจนท้องป่องแล้วเป็นไม่หลุด ถูกดึงออกก็ออกแต่ตัว ส่วนเขี้ยวของมันยังฝังตัวเราอยู่ ผู้ที่แพ้พิษของมันจะออกตุ่มเปื่อย ลามไปเรื่อยๆ รักษาไม่หายง่ายๆ หรือถึงกับเป็นไข้ นี่เคยเห็นมาแล้ว ต้องเอายาหม่องนี่แหละ ทาตรงที่มันกัดแล้วมันจะหลุดออกเอง
    ท่านกำลังเดินลัดเลาะไปตามคันนา ห่างจากฝูงควายประมาณ ๓๐ เมตร ทันใดท่านก็ต้องหยุดชะงัก เมื่อมองเห็นควายฝูงนั้นแสดงอาการฟืดฟาดๆ ขู่พระอาคันตุกะผู้มาเยือน พร้อมกันลุกพรวดพราด ท่าทางไม่ประสงค์ดี สายตาของมันจ้องมองมายังท่าน แสดงอาการราวกับว่าเป็นศัตรูกันมานาน พร้อมกับวิ่งตะบึงตะบันเข้ามาหา เจอดีเข้าให้แล้วไหมล่ะ เราจะทำยังไงดี เอาล่ะ ตายเป็นตาย หนีไม่พ้นแล้วจะทำยังไง
    เราพึ่งใครไม่ได้แล้ว มีแต่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระอริยสงฆ์เท่านั้นแหละ เสี้ยววินาทีก่อนฝูงควายจะมาถึงตัวนั้น เมื่อตั้งสติได้ จึงกำหนดแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณ เจาะจงพุ่งเป้าไปที่ควายฝูงนั้นทันที อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงอยู่เป็นสุขๆ ทุกเมื่อเถิด อัศจรรย์ใจนัก โอ คุณพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ ควายทั้งฝูงหยุดชะงักทันที กิริยาอาการที่เป็นศัตรู หรือดุร้ายก่อนหน้านี้ กลับกลายท่าทางเป็นมิตร เหมือนกับว่าท่านเป็นเจ้าของมัน ทำท่าสะบัดหูสะบัดหางเหมือนรู้จักกัน และได้เดินนำหน้าหลวงปู่เข้าสู่หมู่บ้าน ท่านก็เดินตามหลังพวกมันไป
    เมื่อท่านเดินเข้าไปถึงในหมู่บ้าน ชาวบ้านต่างอัศจรรย์ใจมาก และได้เล่าให้ท่านฟังจึงได้รู้ว่า ควายฝูงนี้ดุร้ายมาก เคยไล่ขวิดไล่ชนพระเณรมรณภาพมาแล้วหลายรูป แม้ท่านเดินทางผ่านเลยไปสู่หมู่บ้านข้างหน้า ควายฝูงนี้มันก็ยังเดินนำไปส่งถึงหมู่บ้านนั้นอีก มันก็น่าแปลกอยู่

    lp-pang-043.jpg
    และก็มีอยู่ครั้งหนึ่งอีกเหมือนกัน แต่ครั้งนี้ท่านเที่ยวธุดงค์อยู่อุบลฯ ไปด้วยกันกับพระอีกสองรูป ไปถึงกลางทุ่ง ไปเจอเอาวัวฝูงใหญ่ พอมันเห็นผ้าเหลืองๆ เท่านั้นแหละ ได้เรื่องเลย วิ่งไล่ขวิดพระที่ไปด้วยผ้าเหลืองปลิวว่อน บาตรกระเด็นไปคนละทิศละทาง สัญชาตญาณความกลัวตาย ก็ย่อมวิ่งเอาตัวรอดไว้ก่อนเป็นธรรมดา เห็นต้นไม้ปั๊บไม่รู้ขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ตั้งแต่เมื่อไร แต่หลวงปู่เองกลับยืนนิ่งแผ่เมตตาให้พวกมัน จึงไม่เป็นอะไรเลย
    ธรรมดาว่าวัวหรือควาย มักจะไม่ค่อยถูกกันกับพระหรือสีผ้าเหลืองเท่าไรนัก ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว แม้ในครั้งพุทธกาลก็เคยมี อย่างเช่น พระพาหิยทารุจีริยเถระเป็นต้น ถูกวัวแม่ลูกอ่อนขวิดเอาจนถึงมรณภาพ ขณะที่ท่านกำลังแสวงหาเศษผ้าตามกองขยะ เพื่อเอามาทำเป็นสบงจีวรนุ่งห่ม ในประวัติพระเถระเล่าว่า วัวตัวนี้เคยเป็นคู่เวรคู่กรรม เข่นฆ่ากันมาแต่ชาติปางก่อน หลายภพหลายชาติ
    คงเป็นเพราะว่า หลวงปู่ไม่เคยมีเวรมีกรรมกับพวกมันกระมัง จึงทำให้มันละพยศ จากร้ายกลายมาเป็นดีด้วย อีกอย่างหนึ่งพลังจิตที่ประกอบด้วยเมตตาหาประมาณมิได้

    ผจญช้างพลายตกมัน

    ครั้งหนึ่งขณะที่หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต พักธุดงค์เจริญบำเพ็ญภาวนาอยู่กลางป่า และที่ท่านพักปักกลดอยู่นั้นเป็นดงช้างพลาย
    บังเอิญช้างพลายหัวหน้าฝูงเกิดตกมัน พอเห็นหลวงปู่กำลังยืนทอดกริยาสงบอยู่เช่นนั้น ช้างตกมันตัวนั้นซึ่งมีความดุร้ายมาก ก็วิ่งรี่ตรงเข้ามาจะทำร้ายท่าน
    แต่แทนที่หลวงปู่จะหลบหลีกกำบังท่านกลับยืนเฉยนิ่งอยู่กับที่ แผ่เมตตาจิตอันเยือกเย็นให้กับช้างพลายตกมันตัวนั้น
    เมื่อช้างตัวนั้นวิ่งมาถึงก็หยุดพรืด คล้ายขาทั้ง ๔ ข้างถูกยึดตรึงเอาไว้ยืนเฉย
    หูของมันกระพือไปมา แววตาเล็กๆ ยังกับปลาดุกนั้นส่ออาการดุร้าย หูสองข้างกระพือพัดไปมาอย่างน่าสะพรึงกลัว
    หลวงปู่ แผ่เมตตาให้มัน แล้วกล่าวด้วยน้ำเสียงอันไมตรี
    “พี่ช้างเอ๋ย เราและพี่ช้างเคยโกรธกันมาแต่ปางไหนกัน พี่ช้างจึงรีบเร่งจะมาเอาชีวิตเรา ถ้าแม้นว่าเราเคยทำบาปทำกรรมต่อกันมากับท่าน ก็เอาเถิด เรายินดีรับใช้เวรกรรม แต่ถ้าพี่ช้างกับเราไม่เคยมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจกันมาก่อนแล้ว จะเอาอารมณ์ขุ่นมัวขณะตกมันมาคิดฆ่าแกงเราซึ่งเป็นพระและสละแล้วซึ่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน ทั้งหลาย เพื่อหาทางวิมุตติ หลุดพ้น มันเป็นบาปกรรมแก่พี่ช้างนะ
    ก็ดีเหมือนกัน ถ้าเราตายไปด้วยงวง ด้วยเท้า ของท่าน ก็ขอขอบใจที่สงเคราะห์ เราจะได้ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกต่อไป"


    lp-pang-042.jpg
    หลวงปู่พูดเสร็จก็หักเอากิ่งไม้เล็กๆ ที่อยู่ใกล้มือ เคาะหัวมันเบาๆ ๒-๓ ครั้ง แล้วยืนเฉยๆ
    ฝ่ายช้างพลายตกมันได้สติก็นึกอายตัวเองที่ปล่อยอารมณ์หงุดหงิดขณะตกมันนั้น มาระบายอารมณ์กับพระผู้มีศีล มีธรรม มันไม่ยอมลงนรกเพราะทำร้ายพระผู้สละแล้วซึ่งกิเลสและมีกระแสเมตตาที่เปี่ยมล้น และด้วยกระแสเมตตาที่หลวงปู่ได้แผ่เมตตาให้ช้างพลายเชือกนั้นทำให้ฝูงช้างป่ายังวนเวียนอยู่ในป่าใกล้ๆ กับบริเวณที่หลวงปู่ปักกลดด้วยอาการสงบ
    และเป็นที่น่าแปลกใจแก่ชาวบ้านที่ขึ้นไปหาของป่าว่าข้างๆ กลดพระธุดงค์มีรอยเท้าช้างและรอยเหมือนช้างหมอบอยู่ข้างกลดหลวงปู่จำนวนมาก
    และเพื่อเป็นพุทธานุสติแก่อนุชนคนรุ่นหลังลูกศิษย์ลูกหาผู้ศรัทธาได้นำรูปปั้นช้างพลายในตำนานหลวงปู่มาไว้ที่หน้าประตูทางเข้าวัดดูน และใต้หอระฆังภายในพระเจดีย์ชัยมงคลตราบเท่าทุกวันนี้
    หลวงปู่ถูกยิง
    หลวงปู่ผางเคยถูกยิงขณะปักกลดภาวนาที่ป่าช้าแห่งหนึ่ง ผู้ยิงเป็นนายพรานที่นึกว่ากลดเป็นตัวสัตว์เพราะมืดมาก เมื่อเห็นกลดตะคุ่มๆ ในพุ่มไม้ก็ยกปืนยาวขึ้นประทับแล้วยิงทันที
    “ แชะ...แชะ...แชะ ”
    ปรากฏว่ายิงอย่างไรๆ ก็ไม่ออก ผู้ยิงได้เหนี่ยวไกยิงถึง ๔ ครั้ง เขาจึงแปลกใจมากค่อยๆ ย่องเข้าไปดูใกล้ๆ แล้วก็ตกใจแทบสลบ เพราะภาพที่เห็นคือกลดพระธุดงค์ซึ่งเอามุ้งกลดลงหมด แต่นายพรานก็ไม่แน่ใจว่าในกลดจะมีพระอยู่หรือไม่ หลวงปู่ซึ่งภาวนาสังเกตอยู่แล้วก็เลิกมุ้งโผล่ศีรษะออกมาดู....แล้วร้องถามว่า
    “หัวอีหยัง...นั่น”
    พรานกรรมหนักรีบตอบทันทีว่า “หัวคนครับ”
    “คนอีหยังจั่งบ่มีตา”
    นายพรานจึงรีบกราบขอขมาเป็นการใหญ่ที่ไปล่วงเกินท่านเข้า
    จากนั้นก็ลุกหนีหายเข้าป่าไป....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2021
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    พ.ศ. ๒๔๙๔
    ปีนี้หลวงปู่ผางได้รื้อศาลาพักฉันข้าวหลังเดิมนั้นออก และปลูกสร้างศาลาหลังใหม่แทน เป็นอาคารไม้ ๑ หลัง กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร และสร้างกุฎีเพิ่มอีก ๓ หลัง
    พ.ศ. ๒๔๙๕ – พ.ศ. ๒๔๐๔
    ช่วง ๑๐ ปีนี้ เป็นช่วงที่ไม่มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของหลวงปู่ปรากฏอยู่ในแหล่งข้อมูลใดเลย
    พ.ศ. ๒๕๐๕ – พ.ศ. ๒๕๐๗

    lp-pang-054.jpg
    ปีพ.ศ. ๒๕๐๕ หลวงปู่ผางท่านได้ไปสร้างวัดขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่บริเวณบ้านแจ้งทับม้า ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เพื่อให้พระภิกษุสามเณร ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในวัดอุดมคงคาคีรีเขต จะได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากวัดอุดมคงคาคีรีเขต ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ ๔.๗ กิโลเมตร ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า “วัดป่าพัฒนาคีรี หรือวัดบ้านแจ้ง” มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐๐ ไร่ ได้สร้างศาลาไว้ ๑ หลัง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๕ เมตร และสร้างฝายกั้นน้ำคอนกรีต กว้าง ๑.๕๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สูง ๓ เมตร เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้และดื่ม แล้วสร้างกุฎีอีก ๖ หลัง โดยใช้ไม้มุงด้วยสังกะสี
    รวมศรัทธาสร้างถนน
    แต่ก่อนนั้นถนนที่แยกมาจากถนนระหว่างอำเภอมัญจาคีรี-อำเภอแก้งคร้อ ไปวัดอุดมคงคาคีรีเขต (เส้นสีแดงในแผนที่วัดป่าพัฒนาคีรีข้างบน) ระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เป็นเส้นทางเล็กๆ แคบๆ คดเคี้ยว การคมนาคมไม่สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝนลำบากมาก
    จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ หลวงปู่จึงได้ประชุมชาวบ้านทุกหมู่บ้านที่ถนนผ่าน เพื่อช่วยกันพัฒนาตัดถนนใหม่ ให้มีเส้นทางที่ตรงขึ้น ได้มาตรฐาน ขนาดกว้างพอควร และที่ประชุมยอมรับมติที่หลวงปู่ปรารภและแนะนำ หลังจากมีมติทำถนนใหม่แล้ว ชาวบ้านทุกหมู่บ้านก็ร่วมแรงร่วมใจกัน พัฒนาจนกระทั่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ โดยหลวงปู่ได้อยู่เป็นประธานตลอด โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของรัฐแต่ประการใด เป็นเส้นทางที่สำคัญของชาวบ้านในการคมนาคม เพื่อการเกษตร ขนส่ง และอื่นๆ มีรถยนต์รับส่งผู้โดยสารและรับส่งผลิตผลของเกษตรกรได้ แต่รถยนต์ก็วิ่งไม่สะดวกนักเพราะทางสายใหม่ไม่มีหินโรย

    lp-pang-055.jpg
    จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๓ รวม ๕ ปี หลวงปู่ผางร่วมกับทางราชการได้พัฒนาถนน จากช่องสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ มาอำเภอมัญจาคีรี รวมทั้งถนนแยกเข้าบ้านนาแพงและ ถนนแยกจากบ้านแก้งคร้อน้อย เข้าไปยังวัดอุดมคงคาคีรีเขตด้วย
    ในระหว่างการสร้างถนนอยู่นั้น ถนนบางช่วงต้องทำท่อ ซึ่งเป็นงานที่เกินความสามารถของชาวบ้าน และต้องอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือเป็นเครื่องกลหนัก จึงได้ทำเรื่องขอร้องไปทาง กรป. กลาง กรุงเทพฯ ให้ช่างมาช่วยทำท่อถนนให้ และได้รับความร่วมมือจาก กรป.กลาง กรุงเทพฯ และหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่จังหวัดอุดรธานี ได้ส่งทหารจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งมี ร้อยเอกเกษม ฐิตาภรณ์ (ยศในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าชุดพร้อมเครื่องมือ มาร่วมปฏิบัติงานสร้างถนนจากสามแยกปากทาง ที่หมู่บ้านแก้งคร้อน้อย ถึงวัดอุดมคงคาคีรีเขตดังกล่าว เป็นถนนขนาดกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาว ๑๒ กิโลเมตร ลงหินลูกรังตลอดเส้นทาง สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)
    ร้อยเอกเกษม หัวหน้าชุดนายทหารที่ กรมการขนส่งทางบก ส่งมาร่วมปฏิบัติงานสร้างถนนนั้น เมื่อได้มาพบเห็นการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ ที่มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มักน้อยสันโดษ ชอบอยู่ในที่วิเวกสงบสงัด ปรารภความเพียรสม่ำเสมอเป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอย่างแท้จริง จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใส

    lp-pang-014.jpg
    แต่กว่าร้อยเอกเกษมจะลงใจในองค์หลวงปู่ ก็เคยทดลององค์หลวงปู่อยู่หลายครั้ง ดังเช่น ครั้งหนึ่งขณะเป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติงานสร้างถนนเข้ามาวัดดูนอยู่นั้น ตอนกลางคืนก็มาพักอยู่ที่วัด ตอนดึกๆ ปวดท้องเหมือนไส้จะขาดออกจากกัน ลูกน้องหายาแก้เจ็บท้องหลายชนิดที่มีอยู่มาให้กิน ก็ไม่ทุเลา นอนก็นอนไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องพึ่งน้ำมนต์จากองค์หลวงปู่ ที่ทำไว้ในอ่างน้ำมนต์กินจึงทุเลาและถึงได้หลับ หรือถึงขนาดเฝ้าดูองค์หลวงปู่เดินจงกรมตลอดทั้งคืน ก็เคยทำมาแล้ว และได้รายงานไปถึงท่านพันเอกเฉลิม คำรพวงศ์ (ยศในขณะนั้น) รองเจ้ากรมขนส่งทางบกให้ทราบว่า ได้พบพระกรรมฐานรูปหนึ่ง ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่ตัวเองได้เฝ้าสังเกตดูเป็นระยะเวลานาน
    ท่านพันเอกเฉลิม เป็นผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่แล้ว เมื่อทราบดังนั้น จึงได้เดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่ที่วัด ได้มีโอกาสสนทนาธรรม ได้รับโอวาท ได้พบเห็นการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่แบบมั่นคงและเด็ดเดี่ยว เป็นผู้มีวาจาสัตย์ พูดคำใดเป็นคำนั้น เป็นพระผู้ปฏิบัติตรงตามพระธรรมวินัยอย่างแท้จริง
    เมื่อท่านพันเอกเฉลิม ได้พบเห็นด้วยตาตนเอง แล้วเกิดความศรัทธาเลื่อมใสจึงได้ชักชวนคุณสุทธิ นาคสมภพ ซึ่งเป็นคู่เขยกัน เดินทางมากราบนมัสการท่าน ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    คุณสุทธิได้เดินดูสภาพวัด ร่มรื่น สะอาดสงบ และได้ไปดูกุฏิบุ่ง (บุ่ง หมายถึงสถานที่ลุ่ม มีแหล่งน้ำ มีต้นไม้และเถาวัลย์ปกคลุม) ซึ่งเป็นกุฏิขององค์หลวงปู่ เป็นกุฏิหลังเล็กๆ มีบันได ๓ ขั้น หลังคามุงด้วยหญ้าแฝก ฝาเอาไม้ไผ่สานขัดกระดาษถุงปูนซีเมนต์ เสาทั้ง ๔ ต้นมีน้ำหล่อไว้ ดูแล้วเหมือนตู้กับข้าว ทางเดินจงกรมอยู่ติดกับกุฏิ มุงด้วยหญ้าเหมือนกัน พอเปิดประตูเข้าไป เห็นผ้าเช็ดเท้าอยู่หนึ่งผืน เห็นบาตร กลด กาน้ำ ผ้าไตรจีวร มีแค่บริขาร ๘ เท่านั้น นี่หรือความเป็นอยู่ของพระป่า ในชีวิตก็พึ่งมาสัมผัสวัดป่าเป็นครั้งแรก เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสมัยที่บวชอยู่ในกรุงเทพแล้ว แตกต่างจากกันราวกับฟ้ากับดิน ทั้งได้พบเห็นปฏิปทาท่าน ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสในองค์ท่าน ต่อมาภายหลังจึงได้ชักชวนศรัทธาญาติโยมทางกรุงเทพฯ มากราบนมัสการองค์หลวงปู่มิได้ขาด

    bar5-ss.gif
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    พ.ศ. ๒๕๑๑


    lp-pang-021.jpg
    เมื่อท่านพระครูโอภาสสมณกิจ เจ้าคณะอำเภอชนบท จ.ขอนแก่น วัดป่าธรรมวิเวก ได้ก่อสร้างอุโบสถ ท่านพระครูฯ และคณะสงฆ์ พร้อมด้วยทายกทายิกาชาวชนบท ได้กราบอาราธนานิมนต์หลวงปู่ผางมาจำพรรษาที่วัดป่าธรรมวิเวกแห่งนี้ เพื่อเป็นประธานในการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งหลวงปู่ท่านก็ได้เมตตารับเป็นประธานด้วยดี และได้อยู่จำพรรษาที่วัดป่าธรรมวิเวกอยู่ ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาท่านก็ได้กลับมาอยู่ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขตตามเดิม และช่วยอุปถัมภ์การก่อสร้างต่อมาโดยตลอด
    พ.ศ. ๒๕๑๒
    ต่อมาในปี ๒๕๑๒ ในขณะนั้นการก่อสร้างพระอุโบสถวัดป่าธรรมวิเวกก็ยังขาดปัจจัยในการก่อสร้างอีกมาก ประกอบกับเป็นจังหวะที่พันเอกเฉลิม คำรพวงศ์ รองเจ้ากรมขนส่งทางบก ได้ขออนุญาตสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้น เพื่อให้เหล่าศิษยานุศิษย์ได้มีวัตถุมงคลของท่านไว้สักการบูชา ท่านจึงอนุญาตให้พ.อ.เฉลิมฯ จัดสร้างเหรียญรุ่นแรกของท่าน โดยให้แบ่งเหรียญส่วนหนึ่งออกเพื่อแจกให้แก่ผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคสมทบทุนสร้างพระอุโบสถ โดยที่กำหนดแจกเหรียญ ในงานทอดกฐินวัดป่าธรรมวิเวก จึงลงวันที่ในเหรียญตรงกับงานทอดกฐิน วัดป่าธรรมวิเวก คือ วันที่ ๒๓ พ.ย. ๑๒ จนกระทั่งพระอุโบสถวัดป่าธรรมวิเวกก็สำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ทุกประการ สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๕๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) โดยได้ทุนสมทบจากการให้บูชาเหรียญรุ่นแรก จำนวน ๕๐,๐๐๐ เหรียญ ซึ่ง พ.อ.เฉลิม คำรพวงศ์ สร้างถวาย

    เหรียญหลวงพ่อผาง จิตฺตคุตโต รุ่นแรก (เนื้อเงิน) วัดอุดมคงคาเขตต์ บล็อกสระอาแท็งก์น้ำ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ เหรียญรุ่นนี้ครั้งแรกมีการจัดสร้าง ๒ วัดด้วยกัน คือ ๑.วัดป่าธรรมวิเวก อ.ชนบท จ. ขอนแก่น สร้างเนื้อทองแดงรมดำอย่างเดียว ๒.วัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เพื่อหารายได้สร้างเสนาสนะและแท็งก์น้ำในแหล่งชุมชน จึงเป็นที่มาของเหรียญสระอาหน้าเอียง บล็อกแท็งก์น้ำ
    ในครั้งนั้นให้ทำบุญบูชาสมัยนั้นเนื้อทองแดงเหรียญละ ๑๐ บาท ส่วนเหรียญเนื้อเงินให้บูชาเหรียญละ ๑๐๐ บาท หลังจากขอสร้างเสร็จแล้ว พระส่วนที่เหลือทั้งเนื้อเงินและทองแดงได้สมทบทุน คืนให้วัดป่าธรรมวิเวก นำไปให้บูชาต่อไปเพื่อหารายได้สร้างอุโบสถของวัดป่าธรรมวิเวก อ.ชนบท จ.ขอนแก่น
    ด้านหลังเหรียญรุ่นนี้จะมีจุดตายดูเวลาเอียง ๔๕ องศาหรือเหรียญที่ดูง่ายๆ ด้านหลังเหรียญจะเหมือนเงารางๆ เป็นรูปเจดีย์คว่ำ ระหว่างตรงกึ่งกลางยันต์ด้านหลังของเหรียญ บางท่านบอกเหมือนรูปแท็งก์น้ำ เหรียญรุ่นแรกบล็อกสระอาแท็งก์น้ำ (ซึ่งในจำนวนการสร้างรุ่นนี้มีเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นที่สร้างเนื้อเงิน และเป็นรุ่นแรกในการจัดสร้างเนื้อเงิน)

    lp-pang-020.jpg
    ในปีนี้เอง หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต พร้อมด้วยกรรมการวัดอุดมคงคาคีรีเขต และชาวบ้านทั้ง ๓ หมู่บ้าน ซึ่งเป็นบ้านที่พระภิกษุ สามเณร ไปบิณฑบาต ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างพระอุโบสถวัดอุดมคงคาคีรีเขต โดยเป็นพระอุโบสถที่มีแบบเรียบง่าย สมกับเป็นวัดป่า โดยสร้างเป็นโครงไม้ พื้นซีเมนต์ ผนังก่ออิฐฉาบปูน ฝาโปร่ง หลังคามุงสังกะสี กว้าง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๒๑.๔๒ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ สามหมื่นบาทเศษๆ ภายในอุโบสถได้ประดิษฐานองค์พระประธานองค์ใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๗ ศอก สูง ๙ ศอก องค์พระประธานสร้างด้วยปูนซีเมนต์ ใช้เป็นที่ลงอุโบสถของพระภิกษุในวันธรรมสวนะ และอุปสมบท
    หลวงปู่ผางได้ไปจำพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ที่ วัดป่าพัฒนาคีรี ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
    สร้างเหรียญรุ่นแรก
    ในปีนี้คณะพันเอกเฉลิม-คุณสุทธิ ได้ขออนุญาตสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้นมาเพื่อนำไปสักการบูชาให้เป็นสิริมงคล ซึ่งในช่วงแรก ท่านยังไม่อนุญาตทันที โดยท่านเห็นว่าการปฏิบัติตามหลักธรรมะทางพระพุทธศาสนาต่างหาก จึงจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ตัวเองอย่างแท้จริง แต่คณะศิษย์ ได้ขออนุญาตด้วยเหตุผลนานาประการถึง ๔ ครั้ง ท่านเห็นว่า ผู้ขออนุญาตเป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส และมีเจตนาอย่างแน่วแน่มั่นคง ประกอบกับวัตถุมงคลนี้สามารถใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจที่เป็นรูปธรรมได้ และเมื่อผู้ที่ได้รับวัตถุมงคลนี้ไปมีความเชื่อในวัตถุมงคลแล้ว จักสามารถสั่งสอนให้มุ่งมั่นและสนใจปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรมได้ ท่านจึงอนุญาต
    อีกทั้งคณะศิษย์ได้ยกเหตุผล อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของทหาร ตำรวจ อส. และ ตชด. ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาอธิปไตยของชาติให้มั่นคงและปลอดภัย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบกับในช่วงนั้น ท่านพระครูโอภาสสมณกิจ เจ้าอาวาสวัดป่าธรรมวิเวก เจ้าคณะอำเภอชนบท (ธรรมยุต) ได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถแต่ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะยังขาดปัจจัยอยู่อีกมาก การสร้างเหรียญเพื่อให้ผู้ที่มีจิตศรัทธาได้เช่าบูชาเพื่อนำรายได้ไปสมทบทุนสร้างพระอุโบสถ ก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยทางวัดป่าธรรมวิเวกได้
    หลวงปู่ท่านพิจารณาแล้ว เห็นว่าจักเป็นประโยชน์ จึงได้อนุญาตสร้างเหรียญท่านได้ โดยได้อนุญาตให้ถ่ายภาพท่านเพื่อดำเนินการสร้างเหรียญ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒

    เมื่อท่านพันเอกเฉลิม ได้รับอนุญาตให้สร้างเหรียญท่านได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ปรึกษากับคุณสุทธิ ซึ่งเป็นคู่เขยกันว่า จะสร้างเหรียญรุ่นแรกของหลวงปู่จำนวนเท่าใด เมื่อปรึกษากันเรียบร้อยแล้ว จึงมีมติว่า ทางโรงงานปั๊มเหรียญหลวงปู่ได้เท่าไรก็จะสร้างเท่านั้น คุณสุทธิจึงได้ไปว่าจ้างโรงงานชโลกุล แขวงราชบพิธ กรุงเทพฯ เป็นผู้ดำเนินการสร้างเมื่อต้นปี ๒๕๑๒ ในราคาเหรียญละหนึ่งบาทห้าสิบสตางค์ โดยคุณสุทธิ-นางสงบ นาคสมภพเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการสร้างเบื้องต้น ๕,๐๐๐ บาท พันเอกเฉลิม รวมกันเป็นเงินอีก ๕,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินทุนในการสร้างเหรียญท่านรุ่นแรก จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท เมื่อทุกคนตกลงกันว่า โรงงานจะปั๊มได้เท่าไร หากค่าใช้จ่ายน้อยกว่าหนึ่งหมื่น ส่วนที่เหลือจะนำถวายวัด หากมากกว่าหนึ่งหมื่นบาท จะร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น
    เมื่อโรงงานได้รับงานแล้ว ก็ได้แกะบล็อกเหรียญ เป็นรูปหลวงปู่นั่งสมาธิ อยู่ด้านหน้าเหรียญ ส่วนด้านหลังเหรียญ เป็นตัวยันต์ข้างล่างและข้างบน ส่วนตรงกลางเป็นวันที่ เนื่องด้วยผู้จัดสร้างกำหนดจะแจกเหรียญ ในงานทอดกฐินวัดป่าธรรมวิเวก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างอุโบสถ จึงลงวันตรงกับงานทอดกฐิน วัดป่าธรรมวิเวก คือ วันที่ ๒๓ พ.ย. ๑๒

    เหรียญรุ่นแรก บล็อกแรก คือเหรียญที่คนทั่วไปเรียกว่า “บล็อก คงเค” และ “บล็อก คงเคคอติ่ง” เพราะเมื่อปั๊มเหรียญมากๆ ตรงคอด้านซ้าย เกิดแตกเป็นเนื้อเกินขึ้น เป็นตำหนิและเหรียญจำนวนนี้มีน้อยมาก สำหรับการสร้างรุ่นแรกนี้ คุณสุทธิและคุณสงบ นาคสมภพได้สร้างเหรียญทองคำขึ้นด้วย เพื่อแจกคณะกรรมการจำนวน ๑๑ เหรียญเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันเหรียญทองคำนี้ แม้ต้องการแค่จะหาดูก็ยังยาก

    จำนวนเหรียญรุ่นแรกที่สร้าง ไม่ได้กำหนดว่ามากเท่าใด ทราบจากท่านพระครูไพศาลปัญญาคุณ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ร่วมปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่รูปหนึ่งได้กล่าวว่า

    “เหรียญรุ่นแรก บล็อกแรก ไม่มีใครได้นับจำนวนไว้ว่ามีเท่าไร และเท่าที่ทราบ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ นั้น วันก่อนเข้าพรรษา เห็นรถทหารวิ่งเข้ามาในวัด พร้อมด้วยลังกระดาษหลายลัง แต่ละลังจะหนักมาก ทหารได้ช่วยกันยกมาเก็บไว้ในศาลาวัดบ้านแจ้งทับม้า (วัดป่าพัฒนาคีรี) ซึ่งทราบต่อมาว่าเป็นเหรียญของหลวงปู่ผาง ทหารได้นำมาถวายหลวงปู่ (ซึ่งในปีนั้นท่านได้อธิษฐานจำพรรษาที่วัดนั้น) เพื่อแผ่เมตตาจิตอธิษฐานตลอดพรรษา ปี ๒๕๑๒ เท่าที่ดูน่าจะมีประมาณ ๑๐,๐๐๐ เหรียญ”

    lp-pang-011.jpg

    และในปีนี้อีกเช่นกัน หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต ก็ได้สร้างเจดีย์ถ้ำกงเกวียน ซึ่งพระคุณเจ้าเองใช้เป็นที่บำเพ็ญสมณกิจ ๑ หลัง โดยสร้างครอบปากทางเข้าถ้ำกงเกวียนที่อยู่บนไหล่เขาไว้ บริเวณโดยรอบเป็นลานหินขนาดใหญ่ สงบเงียบ ห่างจากศาลาใหญ่ ๒๔ เส้น เจดีย์ถ้ำกงเกวียนก่อด้วยอิฐฉาบด้วยปูน ปลายองค์เจดีย์เป็นยอดแหลม กว้าง ๔ เมตร ยาว ๔.๕๐ เมตร สูง ๕ เมตร
    ทันทีที่สร้างเจดีย์ถ้ำกงเกวียนเสร็จ ก็ได้สร้างศาลาพักร้อน ๑ หลัง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ขึ้นที่บริเวณด้านหน้าห่างจากพระเจดีย์ถ้ำกงเกวียนไปพอสมควร และพระคุณเจ้าเองก็ได้ใช้ที่แห่งนี้เป็นที่บำเพ็ญกิจเพราะสถานที่แห่งนี้อยู่ใกล้กับศาลาใหญ่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของวัด การขึ้นลงก็สะดวกเหมาะกับหลวงปู่ เพราะอายุท่านเริ่มมากแล้ว
    เจดีย์องค์นี้กว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๐ เมตร โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่อด้วยอิฐฉาบปูน พื้นซีเมนต์ มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ สิ้นค่าก่อสร้าง ๔๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สี่แสนบาทถ้วน) และในปีเดียวกันนี้เองก็ได้สร้างกุฎีเพิ่มอีก ๕ หลัง สร้างด้วยไม้มุงด้วยสังกะสี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2021
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    พ.ศ. ๒๕๑๓


    lp-pang-019.jpg
    ปีนี้หลวงปู่ผางได้รับนิมนต์หลวงปู่นิล มหันตตปัญโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าคุ้มจัดสรร และอดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ (ธรรมยุต) ซึ่งเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกัน คือท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต โดยหลวงปู่ผางอายุมากกว่าหลวงปู่นิล ๑๐ ปี แต่พรรษาน้อยกว่าหลวงปู่นิล ๙ ปี และในขณะนั้น หลวงปู่นิลได้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุมนามัย อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เพื่อเข้าร่วมในพิธีปลุกเสกวัตถุมงคล ณ วัดป่าสุมนามัย ที่หลวงปู่นิล ท่านดำริให้คณะศิษย์สร้างเป็นที่ระลึก ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ โดยในครั้งนั้นเหรียญหลวงปู่ผางเป็น ๑ ใน ๓ แบบของเหรียญที่สร้างด้วยกันก็คือ

    ๑. เหรียญท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    ๒. เหรียญท่านเจ้าคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร)
    ๓. เหรียญหลวงปู่ผาง บล็อกแบบ เหรียญรุ่นแรก (ด้านหลัง ระบุ พ.ศ. ๒๕๑๒)

    ในพิธีเมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสก ดังกล่าว มีพ่อแม่ครูอาจารย์สายท่านอาจารย์มั่น ได้เดินทางมาร่วมปลุกเสกมากมายหลายท่าน อาทิเช่น
    ๑. หลวงปู่ดุลย์ อตุโล, ๒. หลวงปู่ขาว อนาลโย, ๓. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, ๔. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, ๕. หลวงปู่ผาง จิตตคุโต, ๖. หลวงพ่อ มหาโส, ๗. หลวงปู่นิล มหันตตปุญโญ และ ท่านอื่นๆ อีกหลายท่าน

    lp-pang-036.jpg


    · ปี ๒๕๑๓ หลวงปู่ได้สร้างเจดีย์ขึ้น ณ บริเวณ ซากเจดีย์เก่าที่ท่านได้เห็นจากนิมิต โดยสร้างครอบซากเจดีย์เก่าและรูใหญ่ที่อยู่ใกล้ๆ โดยท่านได้ให้ชื่อพระเจดีย์ที่สร้างนั้นว่า พระเจดีย์กู่แก้ว ตามนิมิตที่ท่านเห็นลูกแก้วขนาด ๖-๗ นิ้วฝังอยู่ข้างใต้ซากพระเจดีย์เก่านั้น และเมื่อถึงวันสำคัญ ชาวบ้านมักจะเห็นดวงไฟขนาดใหญ่เปล่งแสงสว่างไสวไปทั่ววัด
    ชัยภูมิ...ตำนานหมาบักแก้ว


    lp-pang-037.jpg
    · ในปีพ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านได้ออกธุดงค์จากวัดอุดมคงคาคีรีเขต มุ่งหน้าเข้าเขตคอนสาร (อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ) ได้พบสถานที่แห่งหนึ่ง เห็นว่าเป็นสถานที่สัปปายะ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนายิ่งนัก น้ำท่าอาบดื่มใช้สอยก็สะดวก หมู่บ้านสำหรับโคจรบิณฑบาตก็พอเหมาะพอดี ไม่ใกล้ไม่ไกล จึงได้พักปักกลดภาวนาอยู่ที่นั่นระยะหนึ่ง ทุกๆ เช้าหลวงปู่จะออกรับบิณฑบาตในหมู่บ้านเป็นประจำ
    มีบ้านหลังหนึ่ง ไม่เคยออกมาทำบุญใส่บาตรท่านเลย เป็นบ้านของยายผู้เฒ่าคนหนึ่ง และที่บ้านหลังนี้มีสุนัขตัวหนึ่งดุร้ายมาก แม้แต่คนบ้านใกล้เรือนเคียง ก็ไม่ค่อยกล้าเดินแวะเวียนไปมาหาสู่บ้านหลังนี้เลย
    กระทั่งวันหนึ่ง หลวงปู่คิดเมตตา อยากจะโปรดยายผู้เฒ่านั้น เพื่อบั้นปลายของชีวิต จะได้ทำบุญเป็นพลวปัจจัยในอนาคตบ้าง ท่านจึงได้เดินบิณฑบาต ไปหยุดอยู่ที่บ้านคุณยายผู้เฒ่าก่อนบ้านหลังอื่นเลย พอแกมองเห็นหลวงปู่ มาหยุดยืนอยู่หน้าบ้าน เกิดความศรัทธาเลื่อมใสปีติยินดี กระตือรือร้นอยากทำบุญใส่บาตร ด้วยความรีบร้อน วิ่งจับโน่นฉวยนี่ จนเผลอเหยียบชายผ้าถุงตัวเองหลุดลุ่ย
    เมื่อยายเดินมาจะใส่บาตร ขณะเดียวกันนั้นเอง สุนัขตัวนั้นพอเห็นหลวงปู่ซึ่งเป็นคนแปลกหน้า ก็วิ่งกระโจนเข้าหาท่าน หมายจะกัด
    หลวงปู่พอเห็นดังนั้น จึงกำหนดจิตแผ่เมตตาให้มัน พร้อมทั้งพูดว่า
    “บักแก้ว เฮามาบิณฑบาต โตมาต้อนรับเฮาติ๊” (ไอ้แก้ว เรามาบิณฑบาต เอ็งมาต้อนรับข้าหรือ ?)
    คำว่า “บักแก้ว” เป็นคำที่หลวงปู่เรียกชื่อสุนัขทุกตัวที่พบเห็น สุนัขดุร้ายนั้น พอได้ยินหลวงปู่พูดดังนั้น ความดุร้ายที่เคยมี ไม่รู้หายไปไหนหมด กลับแสดงอาการคุ้นเคยเคารพเหมือนกับท่านเป็นเจ้าของมัน พร้อมทั้งสะบัดหางไปมาด้วยความยินดี เหมือนรู้จักกันมานาน
    ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา มันก็ไม่เคยดุร้ายกัดใครอีกเลย ส่วนคุณยายผู้เฒ่าก็เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ ได้ทำบุญใส่บาตรทุกวัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2021
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    นิมิตเห็นหินรูปแม่ช้างมานิมนต์ให้ไปพักที่ถ้ำสีโห (ถ้ำน้ำหนาว)


    · จากนั้นท่านได้ธุดงค์ไปนั่งภาวนาอยู่บนเขาลูกหนึ่ง เขานั้นชาวบ้านเรียกว่าเขาสูง เพราะว่าขึ้นลงลำบากมาก แต่ว่าสงัดดี ขณะที่ไปภาวนาอยู่บนเขานี้
    วันหนึ่งเกิดนิมิตแปลกประหลาดมากที่เกิดขึ้นทางจิต ซึ่งเป็นมูลเหตุที่จะทำให้รู้จักถ้ำน้ำหนาว (ถ้ำสีโห) โดยขณะเมื่อนั่งภาวนาอยู่ ปรากฏว่า เกิดนิมิต มีหินเป็นรูปแม่ช้างใหญ่เดินมาตามหลังเขา มายืนอยู่ตรงหน้า
    ท่านก็เลยถามว่ามาจากไหน
    แม่ช้างหินก็เลยบอกว่ามาจากถ้ำสีโห ตำบลน้ำหนาว
    ท่านก็ถามต่อไปว่ามาทำไม
    หินแม่ช้างตอบว่า มานิมนต์หลวงพ่อไปอยู่ทางนั้น
    หลวงพ่อเลยตกลงรับนิมนต์ว่าจะไปอยู่ แล้วบอกให้หินแม่ช้างนั้นกลับไป
    แม่ช้างก็หันหน้าเดินกลับไปทางหลังเขา ขณะที่เดินไปนั้นปรากฏภาพเสมือนหนึ่งว่าต้นไม้บนหลังเขาอยู่ใต้ท้องช้าง เป็นภาพนิมิตติดตาติดใจอยู่ เช่นนั้นจนกระทั่งเจ้าแม่ช้างหินเดินหายเข้าไปในปากถ้ำสีโหโดยเห็นเป็นภาพชัดเจน

    lp-pang-039.jpg
    พอถึงฤดูแล้ง ท่านก็ออกเดินทางไต่ไปตามหลังเขา ตามนิมิตที่ก้อนหินแม่ช้างเดินไป ขึ้นสูงลงต่ำเดินทางอยู่หกวันหกคืนจึงไปถึงถ้ำสีโห เมื่อไปถึงก็เห็นรูปก้อนหินใหญ่เป็นรูปแม่ช้าง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หางอยู่ทางทิศตะวันตก รูปร่างเช่นเดียวกันกับในนิมิตไม่ผิดกันเลย
    ครั้งแรกท่านได้เชิญกำนัน ผู้ใหญ่บ้านชาวบ้านแถบนั้นให้ไปพบ เมื่อชาวบ้านได้มากันแล้ว หลวงพ่อก็บอกวัตถุประสงค์ว่า จะมาพักปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำนี้
    ชาวบ้านเหล่านั้นก็ไม่พูดอะไร แสดงออกเป็นเชิงว่าไม่พอใจ หลวงพ่อจะพูดขออะไรก็เงียบหมดทุกคน นั่งเฉยอยู่ ไม่นานเขาก็พากันกลับ พลางก็พูดกันว่า
    "ไม่เกิน ๓-๔ วัน หลวงพ่อแก่องค์นี้ต้องตายแน่ๆ..."
    ทำไมหนอชาวบ้านจึงไม่พอใจ ท่านผู้อ่านทุกคนคอยฟังเรื่องราว

    เรื่องนี้หลวงปู่ผางได้เล่าให้พระครูศรีปริยัติคุณ เจ้าอาวาสวัดดงเค็ง ซึ่งเมื่อท่านพระครูฯ ฟังครั้งแรก ก็นึกว่าเป็นนิยายไป นึกว่าคงเป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ปลายเดือนพฤษภาคม พระครูศรีปริยัติคุณได้เดินทางเพื่อนำอุปกรณ์ ไปทำบันไดขึ้นถ้ำไปถวายหลวงปู่ผางซึ่งไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้ ท่านพระครูพร้อมคณะกรรมการวัดดงเค็งและ ชาวตลาดดงเค็ง ๗-๘ คนด้วยกัน พอไปถึงแล้วทุกคนก็พากันพิศวงงงงวย เพราะเป็นจริงทุกประการ
    ถ้ำนี้ขึ้นตำบลน้ำหนาว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่อยู่เขตติดต่อกับทางเขตจังหวัดเลยไกลจากอำเภอหล่มสักมาก ชาวบ้านเขาเดินทางมาอำเภอกินเวลา ๑๒ ชั่วโมงพอดี
    ที่ชาวบ้านเขาไม่พอใจนั้น เพราะในถ้ำมีของศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่แต่โบราณกาลอยู่หลายชนิด ถ้าพระธุดงค์ที่ไปอาศัยอยู่ไปค้นหาเอาสิ่งของ ชาวบ้านเกิดเดือดร้อนอาเพศต่างๆ ถ้าเพราะมีญาณไม่แก่กล้าเข้าไปอยู่อาศัย จะเกิดไข้มาเลเลียตายในถ้ำ
    ชาวบ้านเขาลำบาก ยากที่จะหาคนไปนำศพออกมา
    ชาวบ้านเขาบอกว่าเคยมีมาอาศัยอยู่เป็นไข้ตายมาหลายองค์แล้ว...
    หลวงพ่อได้แต่นึกในใจว่า ทำไมหนอชาวบ้านเขาจึงไม่อนุญาตตามคำขอเรา หรือว่าเกรงใจเรา แต่ว่าชาวบ้านเขาไม่พูดคงจะอนุญาตโดยพฤตินัย ไหนๆ เราก็รับนิมนต์เจ้าหินแม่ช้างแล้ว
    ตกลงใจพระธุดงค์ก็ลงกลด ตะวันก็หมดแสงส่อง
    นั่งสวดมนต์เจริญภาวนาพักผ่อนร่างกาย ซึ่งได้รับความลำบากเหนื่อยล้ามาหลายวันโดยความสุขสบาย
    เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ท่านก็เข้าไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน วันนั้นมีผู้หญิงคนหนึ่ง นำเอาข้าวมาใส่บาตรให้แต่ไม่มีกับ รับบิณฑบาตแล้วก็กลับคืนสู่ถ้ำ
    วันที่ ๒, ๓ เข้าไปบิณฑบาตเช่นเคย ชาวบ้านนึกสงสัย ว่าทำไมหลวงพ่อองค์นี้จึงไม่ป่วยเป็นไข้ พอถึงวันที่ ๔ เทวดาหรือผี (ผู้รักษาถ้ำ) ได้เข้าสิงชาวบ้านคนหนึ่งซึ่งเป็นคนสำคัญ แกร้องเอ็ดตะโรขึ้นว่า “ชาวบ้านซาด บ้านห้วยลาด ทุกคนต้องพากันไปทำความสะอาดที่ถ้ำถ้าครัวเรือนไหนไม่ไป กูจะต้องเอาสูให้วอดวายทั้งหมด”
    พวกชาวบ้านได้ยินต่างก็พากันตกอกตกใจ ทุกคนก็ขมีขมันขะมักเขม้น บางคนถือได้ไม้กวาด บางคนถือได้จอบ เสียม มีด พร้า มุ่งหน้าพากันไปทำความสะอาดที่ถ้ำ โดยพร้อมเพรียงกัน
    หลังจากนั้นชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสเคารพนับถือยกย่องหลวงพ่อตลอดมา
    · ที่ถ้ำน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ นี้เองที่ ‘วิสุทธิจิต’ ของท่านได้บังเกิดขึ้น ท่านได้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจนบรรลุถึงวิมุติธรรมในพรรษาที่ ๒๒ ชนมายุได้ ๖๘ ปี ตรงกับพ.ศ. ๒๕๑๓ นับว่าสถานที่นี้มีบุญคุณกับท่านที่สุด
    ท่านกล่าว อย่างองอาจว่า

    “ชาติภพและการเวียนว่ายตายเกิดของเราได้ยุติลงแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดจบสิ้นกันเสียที เรื่องการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เรื่องกิเลสตัณหาอาสวะทุกประเภทได้หมดสิ้นไปจากใจของเราแล้วยังเหลือแต่จิตที่บริสุทธิ์”
    และปรารภว่า
    “คนเรานี้มีเกิดก็มีดับ ถ้าไม่มีการเกิดก็ไม่มีการดับ อันนี้มันเป็นของคู่กัน ใครสร้างใครปฏิบัติก็ได้แก่คนนั้นให้พากันประพฤติปฏิบัติเอานะ”
    ท่านเล่าว่า จิตท่านนั้นสว่างไสวอยู่ทุกเมื่อ เจิดจ้าครอบโลกธาตุอยู่อย่างนั้นทั้งกลางวันและกลางคืน คือจิตนี้เป็นธรรมธาตุที่บริสุทธิ์หลุดพ้นอาสวะไม่มีการเสื่อมสูญโดยประการทั้งปวง จึงหาวัตถุสิ่งของที่อยู่ภายนอกมาเทียบไม่ได้
    หลังจากที่ท่านได้บรรลุวิมุติธรรมแล้ว ท่านก็พักอยู่ถ้ำนั้นต่อมาเป็นเวลานานพอสมควร โดยไม่ได้จำพรรษา แล้วท่านก็ลาจากที่นั้น โดยความอาลัยอาวรณ์ของชาวบ้านเทวดาอารักษ์ มุ่งหน้าเดินธุดงค์ต่อไปตามวิสัยของพระกัมมัฏฐานผู้แสวงหาแดนสงบวิเวก
    ดังกล่าวแล้วว่าท่าน ‘สำเร็จ’ ที่ถ้ำน้ำหนาว ฉะนั้นเมื่อมีโอกาสท่านก็จะไปวิเวกที่นั่นเป็นประจำ ศิษยานุศิษย์หลายคนก็มีศรัทธาตามไปปฏิบัติกับท่านด้วย

    ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ผางซึ่งบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในถ้ำเกือบจะตลอด ๒๔ ชั่วโมง ได้ออกจากถ้ำมาสั่งว่า จงเตรียมตัวต้อนรับคณะศรัทธาที่จะเดินทางมาเยี่ยมท่านที่ถ้ำน้ำหนาวนี้ด้วย บรรดาศิษย์ก็แปลกใจเป็นหนักหนาด้วยว่าเฝ้าอยู่หน้าถ้ำตลอดเวลา ไม่เคยมีใครเข้าไปนัดอะไรกับท่านด้วย ทำไมท่านจึงว่าจะมีคนมาแต่ก็เชื่อครูจึงพากันไปเก็บของป่า เช่น เห็ด หน่อไม้ ผักกูด ผักหนามมาตระเตรียมไว้ทำอาหารต้อนรับ ผ่านไป ๓ วัน ก็มีคณะศรัทธามาจากอำเภอบ้านไผ่โดยใช้เกวียนเป็นพาหนะเดินทางและออกจากบ้านไผ่มาถึงน้ำหนาวนี้ใช้เวลา ๙ วัน
    คณะนี้มีท่านพระครูชม ปภัสสโร วัดระหอกโพธิ์ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เป็นองค์นำ มีสามเณร ๑ รูป และญาติโยมติดตามอีกเกือบยี่สิบคน เมื่อสนทนากันแล้วท่านก็ให้พระครูชมและสามเณรพักที่ถ้ำ ส่วนชาวบ้านให้พักในหมู่บ้าน จากนั้นท่านพระครูและสามเณรก็ขออนุญาตหลวงปู่เที่ยวชมภายในถ้ำซึ่งสวยงามราว เทพนิรมิต หลวงปู่ก็อนุญาตโดยท่านนั่งคอยอยู่หน้าถ้ำ
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    เมื่อท่านพระครูและเณรน้อยทัศนศึกษาจนแล้วเสร็จก็เดินกลับออกมา พอมาถึงหลวงปู่ผางท่านก็ถามขึ้นลอย ๆ ว่า
    “เข้าไปในถ้ำ ไปเอาอะไรของเขามาล่ะ?”
    ท่านพระครูก็ให้รู้สึกงงเป็นนักหนา คิดสะระตะก็ไม่เห็นว่าจะได้พบเจอสิ่งใดมีค่าพอจะหยิบฉวยมา จึงกราบเรียนท่านว่า
    “ผมไม่ได้เอาของมีค่าอะไรออกมาเลยนี่ครับ”
    หลวงปู่มองแล้วพูดว่า
    “ไม่ได้เอาอะไร ออกมาหรือ? แล้วทำไมพวกวิญญาณในถ้ำเขาถึงมานั่งฟ้องเราอยู่นี่เป็นแถว ดูซิ...เขาฟ้องว่าไปเอาของมีค่าของเขาออกมาด้วย”
    ทั้งท่านพระครูและสามเณรต่างขนลุกซู่ชูชันด้วยหวาดสยองใจ มองไปทั่วก็ไม่เห็นใครสักคน มีแต่ความเงียบวังเวงและหนาวยะเยือกของถ้ำใหญ่ ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนจะเพิ่มพูนคูณทวี
    หลวงปู่จึงย้ำว่า
    “วิญญาณในถ้ำเขามา ฟ้องเราว่า ท่านพระครูและสามเณรไปเอาเครื่องประดับถ้ำเขามา ให้รีบเอาไปคืนเสีย ถ้าไม่เช่นนั้นกลับบ้านไม่ได้นะ”
    ทั้งสองรูปนิ่งอึ้งตะลึงงัน ครุ่นคิดอึกอักอยู่เป็นครู่ก็กราบเรียนท่านว่า
    “ผมเพิ่งนึกขึ้นได้ ขณะที่เดินดูในถ้ำ เห็นก้อนหินสองก้อนเป็นคล้ายแก้วใสดูสวยงาม จึงอยากจะเอาไปเป็นของที่ระลึก ไม่นึกว่าวิญญาณในถ้ำจะหวงแหน ถ้าอย่างนั้นผมก็จะเอาไปคืนที่เดิมละครับ !!”
    ครั้นเมื่อนำไปคืนที่เรียบร้อย ทั้งสองรูปก็กลับได้โดยสวัสดี
    · วันที่ ๑๕ ก.ย. ๒๕๑๓ หลวงพ่อผางท่านได้เมตตา จัดสร้าง และ อธิษฐานจิต เหรียญรุ่น ๒ (รุ่นข้างบาตร) และ รุ่น ๒ พิเศษ (แจกเฉพาะกรรมการ) โดยจัดเป็นรุ่นที่ ๒ ในทำเนียบเหรียญ หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต ที่สร้างโดยวัดอุดมคงคาคีรีเขต
    พ.ศ. ๒๕๑๔


    lp-pang-015.jpg
    · เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๑๔ วัดดงเค็ง ต. ประทาย อ.ประทาย จ.นครราชสีมา ได้นิมนต์หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น มาเป็นผู้อุปถัมภ์การสร้างโบสถ์ ท่านจึงอนุญาตให้สร้างเหรียญขึ้น เป็นเหรียญรูปเหมือนท่าน รูปไข่เต็มองค์ เป็นจำนวน ๒๑,๒๐๐ เหรียญ ในขณะเดียวกันนั้น ได้นิมนต์หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต มาปลุกเสกเมื่อวันที่ ๒๖-๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ โดยหลวงพ่อปลุกเสกองค์เดียว นานถึง ๓ วัน ๓ คืน พร้อมทั้งจัดงานพุทธาภิเษกขึ้นในวันที่ ๑-๒ มีนาคม ๒๕๑๔ โดยมีหลวงปู่ผาง เป็นประธานพิธี นั่งปรก มีหลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย พิมาย และหลวงพ่อทอง (พระครูสมณกิจโกศล) เจ้าคณะอำเภอนาเชือก มหาสารคาม เป็นต้น ในงานพุทธาภิเษกครั้งนี้ ได้นิมนต์พระเถรานุเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิทางไสยศาสตร์ เป็นจำนวนมาก กระทำพิธีสวดพุทธมนต์พุทธาภิเษก หลังจากที่ท่านได้ปลุกเสกเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจำพรรษาที่ถ้ำน้ำหนาว (เข้าพรรษาปี ๑๔ วันที่ ๘ ก.ค. ออกพรรษาวันที่ ๔ ต.ค. )
    เหรียญที่ท่านปลุกเสกนั้นมีประชาชนขอบูชาเป็นจำนวนมาก จนไม่พอกับความต้องการ ทางวัดดงเค็งจึงได้ขออนุญาตหลวงปู่ผางทำเหรียญขึ้นอีก โดยทำเฉพาะเหรียญทองแดงอีก ๒๐,๐๐๐ เหรียญ และทันทีที่ออกพรรษาได้เพียงหนึ่งวัน คณะกรรมการวัดดงเค็ง ก็ได้ไปรับหลวงปู่ผางจากถ้ำสีโห (ถ้ำน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์) ซึ่งหลวงพ่อไปจำพรรษาอยู่ที่นั้น มาสู่วัดเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ และท่านได้ทำพิธีปลุกเสกมอบให้ทางวัด เมื่อวันที่ ๗-๒๐ ตุลาคม ศกเดียวกัน ครั้งนี้ท่านกระทำการพิธีปลุกเสกให้เป็นพิเศษ นานถึง ๑๓ วัน ๑๓ คืน
    หมายเหตุ เนื่องด้วยเหรียญหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ปี ๒๕๑๒ รุ่นแรก นั้นโด่งดังมาก มีประสบการณ์มาก เวลาวัดต่างๆ และหน่วยงานราชการมาขออนุญาตหลวงปู่ผาง จัดสร้างเหรียญท่าน จึงมักนิยมออกโดยลงวันที่ในเหรียญเป็นวันที่ตามเหรียญรุ่นแรกของท่าน โดยการแกะแม่พิมพ์ด้านหน้าใหม่ แต่ด้านหลังยังเป็น ๒๓ พ.ย. ๒๕๑๒
    เหรียญรุ่นที่ขออนุญาตสร้างนั้น นอกจากเหรียญรุ่นแรก วัดดงเค็ง ที่ลงวันที่หลังเหรียญเป็นปี ๒๕๑๒ นั้น เหรียญบางวัดสร้าง ปี ๒๕๑๖ บ้าง ๒๕๑๗ บ้าง ๒๕๑๘ บ้าง ฯลฯ เรียกว่าไม่ได้สร้างปี ๒๕๑๒ ดังเหรียญปั๊มไว้ด้านหลัง อย่างเช่น เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ออกวัดศรีจันทร์ พิมพ์หน้าแก่ สร้างน่าจะปี ๒๕๑๘ – ๒๕๑๙, เหรียญรุ่นแรกวัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ สร้างปี ๒๕๑๓ แต่ปั๊มเหรียญปี ๒๕๑๒ , เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ผาง ออกวัดบึงแก้ว อำเภอชนบท สร้างปี ๒๕๑๘ – ๒๕๑๙ ฯลฯ


    lp-pang-016.jpg
    · พระครูอาคมวุฒิคุณ (วิจิตร อินทปัญโญ) ซึ่งเป็นศิษย์สำคัญรูปหนึ่งของหลวงปู่ผาง และยังเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อหน่าย อินทสีโล วัดบ้านแจ้ง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย โดยก่อนหน้าที่ท่านจะมาอยู่ที่วัดใหม่บ้านดอนนั้น ท่านพำนักอยู่ที่วัดบ้านแจ้ง กับหลวงพ่อหน่าย ผู้เป็นอาจารย์ ต่อมานายสงวน กิ่งโคกกรวด ผู้ซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการปฏิสังขรณ์วัดใหม่บ้านดอน อ.เมือง จ.นครราชสีมา ที่รกร้างมานาน ได้นิมนต์ขอให้หลวงพ่อพระครูอาคมฯ ย้ายมาจากวัดบ้านแจ้ง มาอยู่วัดใหม่บ้านดอนเพื่อทำการบูรณะ และเมื่อท่านพิจารณาแล้วก็รับปากและลงมือพัฒนาวัดใหม่บ้านดอนเรื่อยมาจนเจริญรุ่งเรือง
    จนกระทั่งในปี ๒๕๑๔ ท่านพระครูอาคมวุฒิคุณ ได้ดำเนินการสร้างศาลาการเปรียญขึ้น โดยจัดหาทุนในการก่อสร้างด้วยการสร้างวัตถุมงคลออกให้ประชาชนได้บูชากัน พิธีจัดขึ้น ในวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๔ และในพิธีดังกล่าวหลวงปู่ผาง ได้เมตตารับเป็นองค์ประธาน ในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ได้จัดสร้างขึ้นเป็น ๒ แบบ คือ
    แบบแรก เป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธชัยมังคละสิริสีมา ด้านหลัง เป็นรูปเหมือน หลวงปู่ผาง จิตุตคุตโต
    แบบที่สอง เป็นเหรียญทรงกลม ด้านหน้า เป็นหลวงปู่ผาง นั่งสมาธิ เต็มองค์ ด้านหลัง เป็นรูปเหมือน พระครูอาคมวุฒิคุณ (วิจิตร อินทปัญโญ) เจ้าอาวาสวัดใหม่บ้านดอน ในสมัยนั้น
    นอกจาก เหรียญชุดนี้ จะได้รับการปลุกเสกจาก หลวงปู่ผาง จิตุตคุตโต แล้ว ยังมีพระเกจิ อาจารย์ชื่อดัง ของเมืองโคราช มาร่วมปลุกเสกหลายท่าน รวมทั้ง พระราชวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) แห่ง วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ด้วย
    · หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เมตตาอธิษฐานจิตพระกริ่งล้มลุก ออกวัดใหม่บ้านดอน
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    · วันที่ ๑๐ ก.พ. ๒๕๑๔ คณะลูกศิษย์ลูกหาผู้ศรัทธาในองค์หลวงปู่ได้พิจารณาว่า ในการสร้างถนนจากช่องสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ มาอำเภอมัญจาคีรี ตามโครงการพระธรรมทูต ระหว่างพ.ศ. ๒๕๐๙ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ตลอดระยะเวลา ๕ ปีนั้น หลวงปู่ได้นำชาวบ้านและคณะฝ่ายพลเรือน-ทหาร บุกเบิกสร้างถนนจนได้ระยะทาง ๘๓ กิโลเมตร โดยไม่เสียเงินค่าที่ดินเลย ดังนั้นหลังจากเสร็จโครงการ จึงได้กราบขออนุญาตทำเหรียญจอบรุ่นแรก ขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงความมุ่งมั่น บากบั่น ที่หลวงปู่ได้พาบุกป่าฝ่าดงแผ้วถางสร้างถนนขึ้น เปรียบได้กับจอบ (บักจก) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ชาวบ้านทุกคนแบกมาทำงานร่วมกับหลวงปู่ และหลวงปู่ได้เมตตานำเหรียญจอบส่วนหนึ่งมามอบให้กับวัดป่าบ้านสวนหม่อน ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เพื่อช่วยสร้างวัดด้วย
    · หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต ได้เมตตาอธิษฐานจิตในการสร้างพระปิดตารุ่น “พ่อผางเมตตา” ไว้เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔
    · อธิษฐานจิตพระผงหลวงปู่ผาง รุ่นพรหม ๔ หน้า รุ่นแรก ปี ๒๕๑๔
    · หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตโตได้อนุญาตเป็นกรณีพิเศษ ให้วัดบึงแก้ว อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น จัดสร้างรูปเหมือนปั๊มเข่ากว้างรุ่นแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยการขออนุญาตของพระครูปิยสารธรรม (บัวฮอง ฐิตเปโม) เจ้าอาวาสวัดบึงแก้ว และเจ้าคณะอำเภอชนบท (มหานิกาย) ในขณะนั้น
    ซึ่งในสมัยนั้น หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตโตท่านเคยมาจำพรรษาและเคยเป็นเจ้าอาวาสที่วัดป่าบัลลังก์ทิพย์ศิลาอาสน์ ตำบลบ้านแท่น อำเภอชนบท ก่อนจะไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ (ดูน) ได้มีความสนิทสนมกับพระครูปิยสารธรรมเป็นอย่างมาก ถือเป็นสหธรรมมิกอีกรูปก็ว่าได้
    รูปเหมือนปั๊มเข่ากว้างอุดกริ่งที่ใต้ฐานจัดสร้าง ๓,๐๐๐ องค์ หลวงปู่ผางปลุกเสกเป็นกรณีพิเศษนานถึง ๑๕ วัน (๒ วันพระ) ทำให้วัตถุมงคลรุ่นนี้มีประสบการณ์มาก และได้หมดไปจากวัดนานแล้วตั้งแต่ออกให้บูชาซึ่งในสมัยนั้นให้ทำบุญบูชาองค์ละ ๑๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๑๕
    · หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เมตตาอธิษฐานจิตเหรียญจอบมีหู รุ่นพิเศษ เนื้อฝาบาตร สร้างเมื่อ ๑๘ ก.พ. ๒๕๑๕
    · หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เมตตาอธิษฐานจิตเหรียญรุ่นเมตตาช่วยสร้างศาลาการเปรียญวัดดงกลาง ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ที่ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้นเมื่อ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
    · ร่วมอธิษฐานจิต พระกริ่งพุทธมหาจักร ที่วัดหนองแวง จ.ขอนแก่นจัดสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ โดยมีอาจารย์ไสว วัดราชนัดดา เป็นเจ้าพิธีในการผสมชนวนพระกริ่งให้มีเนื้อหาสวยงาม และออกแบบรูปทรงพระกริ่ง โดยอาจารย์เกษม มงคลเจริญ ในพิธีนั้นมี สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) วัดพระเชตุพนฯ เป็นประธานจุดเทียนชัย และมีพิธีพุทธาภิเษกถึง ๙ วัน ๙ คืนด้วยกัน ถือว่าเป็นพิธีใหญ่สุดของภาคอีสาน มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมาร่วมปลุกเสกหลายท่านด้วยกันเช่น ๑. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าถ้ำขาม ๒. หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม ๓. หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ๔. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ๕. หลวงพ่อดี วัดศรีสำราญ ๖. หลวงพ่อหนูอินทร์ วัดพุทธคยา ๗. หลวงพ่อลมูล วัดพุทธวงษา แห่งนครเวียงจันทร์ ๘. หลวงพ่อสิงห์ วัดกุญชรวราราม และ ๘. หลวงพ่อชาย วัดสังข์ทอง

    พ.ศ. ๒๕๑๖
    · หลวงปู่ได้เมตตาให้ลูกศิษย์ลูกหาที่มาร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างพระเจดีย์ถ้ำกงเกวียน (นำโดย พ.อ.เฉลิม คำรพวงศ์และคณะ) ได้ถ่ายภาพหลวงปู่จับไม้เท้าและพิมพ์ผ้ายันต์รอยเท้าข้างซ้าย และข้างขวา ลงบนผ้าข้างละผืน มาแจกผู้มาร่วมงานทอดกฐินและฉลองพระเจดีย์ถ้ำกงเกวียนในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ จึงถือได้ว่าเป็นผ้ายันต์รอยเท้ารุ่นแรกของหลวงปู่
    · ในปีนี้เช่นกับ (๑๖ พ.ค. ๒๕๑๖) หลวงปู่ได้เมตตาอธิษฐานจิตเหรียญที่ระลึกเพื่อสมทบทุนสร้างพระอุโบสถ วัดศรีแก่งคร้อวนาราม ซึ่งเป็นวัดในอุปถัมภ์ ของหลวงปู่ท่านอีกวัดหนึ่ง
    · ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๖ วัดใหม่บ้านดอน จ.นครราชสีมา ได้สร้างวัตถุมงคลในพิธีเสาร์ ๕ โดย หลวงปู่ผาง จิตุตคุตโตได้เมตตาเททองหล่อพระ และ อธิษฐานจิต วัตถุมงคลดังกล่าวได้แก่ พระนิมิตมงคลชัยสีมาเป็นพระพุทธรูปบูชา ปางมารวิชัย และ พระกริ่ง พิมพ์ล้มลุก ที่ได้ถอดแบบพิมพ์ทรงขององค์พระมาจาก พระกริ่งพิมพ์ล้มลุกท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม จัดสร้างโดยกรรมวิธีหล่อโบราณ เนื้อทองประสม รมดำ
    · ในปีนี้ทางวัดอุดมคงคาคีรีเขต ได้รื้อศาลาหลังเดิมออกเพราะชำรุดทรุดโทรมมาก สร้างใหม่เป็นแบบ ๒ ชั้น เทคานคอดิน เสา และโครงหลังคาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังปูน หลังคามุงกระเบื้อง กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ สิ้นค่าก่อสร้าง ๗๖๐,๐๐๐.๐๐ บาท (เจ็ดแสนหกหมื่นบาทถ้วน)

    พ.ศ. ๒๕๑๗
    · ๑ มกราคม ๒๕๑๗ หลวงปู่อธิษฐานจิตเหรียญทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ รุ่นพิเศษ
    · ปี ๒๕๑๗ หลวงปู่ผางอธิษฐานจิตพระเนื้อผงหลวงพ่อผาง จิตตคุตโต ออกวัดดงเค็งเป็นพระเนื้อผงที่หลวงพ่อท่านเก็บรวบรวมว่านนานาชนิดไว้ตอนขณะที่ท่านธุดงค์ไปยังสถานที่ต่าง ๆ นำมาสร้างพระเนื้อผงสำหรับญาติโยมที่มีจิตศรัทธา
    · คณะลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดได้กราบขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างเหรียญรุ่น “ผจญภัย” ขึ้น เพื่อแจกญาติโยมที่มาร่วมบุญกับทางวัดดูนและแจกผู้เฒ่าผู้แก่ที่มาจำศีลที่วัด โดยด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงปู่ ส่วนด้านหลังจะเป็นรูป ไอ้บอด จระเข้คู่บุญบารมีของหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต
    · วันที่ ๖ – ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๗ หลวงปู่ผางได้เข้าร่วมในพิธีปลุกเสกวัตถุมงคล ณ วัดใหม่บ้านดอน จ.นครราชสีมา ร่วมกับพระเกจิอาจารย์อีก ๑๘ องค์ อาทิเช่น หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่, พระครูอุดมศีลาภรณ์ (หลวงพ่อเสาร์) วัดกุดเวียน, พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม, พระครูปราสาทขันธคุณ (หลวงพ่อมุม) วัดปราสาทเยอร์ ฯลฯ เพื่อสมทบทุนสร้างพระอุโบสถ
    · วัตถุมงคลที่วัดใหม่บ้านดอนได้จัดสร้างในพิธีดังกล่าวได้แก่ พระสมเด็จนิมิตมงคลชัยสีมา, พระบูชานิมิตมงคลชัยสีมา, สมเด็จนางพญางิ้วดำ และพระกริ่งไตรรัตน์
    · ปีนี้หลวงปู่ผางได้อธิษฐานจิตในการสร้างเหรียญรุ่นพิเศษ วันที่ ๑๖ เม.ย. ๒๕๑๗
    · อธิษฐานจิตในการสร้างเหรียญหลวงปู่ผาง จิตตฺคุตฺโต ปี ๒๕๑๗ ที่ระลึกสร้างศาลาการเปรียญ

    พ.ศ. ๒๕๑๘
    · ในปีนี้ หลวงปู่ได้อนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิตเหรียญรุ่นต่างๆ ดังนี้
    รุ่นขวัญถุง, รุ่นหาทุนสร้างกุฏิสงฆ์ วัดป่าสุวรรณไพโรจน์ จ.ชัยภูมิ, รุ่นปล้องอ้อย เพื่อสมทบทุนสร้างพระอุโบสถวัดไทรงาม สระบุรี, รุ่นหาทุนสร้างโบสถ์วัดสามัคคีอุปถัมภ์ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย, เหรียญหลวงปู่ผาง ปี ๒๕๑๘
    · ปี ๒๕๑๘ หลวงปู่ผางอธิษฐานจิตพระเนื้อผงหลวงพ่อผาง จิตตคุตโต รูปไข่
    · หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อผาง รูปไข่ ด้านหลังเป็นรูปลายเซ็นหลวงปู่
    · ๕ ม.ค. ๒๕๑๘ หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อผาง ทรงกลม รวมพลังจิต ส.อ. รุ่นอนุเคราะห์
    · หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตเหรียญรูปเหมือนนั่งเต็มองค์ปักกลด ทรงสี่เหลี่ยม รุ่นอุดมโชค ปี ๒๕๑๘
    · พระกริ่งหลวงพ่อผาง ปี ๒๕๑๘ รุ่นแรก ออกที่วัดจันทรัตนาราม (วัดพระธาตุเมืองพล) อ.พล จ.ขอนแก่น สำหรับผู้มีจิตศรัทธาบริจาค ร่วมทำบุญสมโภชสร้างพระธาตุที่ว่าเป็นรุ่นแรกเพราะสร้างก่อนพระกริ่งมัญจาคิรี ซึ่งสร้างในปี ๒๕๑๙ แต่สร้างหลังพระกริ่งล้มลุก ซึ่งออกวัดใหม่บ้านดอน จ.ขอนแก่น ซึ่งออกปี ๒๕๑๔ แต่ด้วยเป็นพิมพ์ล้มลุก ซึ่งไม่ใช่พระกริ่งใหญ่ที่เป็นแบบมาตรฐานทั่วไป จึงถือพระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่งแบบมาตรฐานรุ่นแรกที่หลวงปู่ปลุกเสก
    ซึ่งหลวงพ่อผางอุปถัมภ์ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือในการก่อสร้างเสนาสนะของพระสงฆ์ พิธีร่วมบุญสมโภช ๙ วัน ๙ คืน นั่งปรกปลุกเสกโดยพระสุปฏิปันโน ๙ รูปคือ
    ๑.หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำพู,
    ๒.หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด ,
    ๓.หลวงปู่แจ้ง ฉินฺมนฺโท วัดโนนสูง จ.นครราชสีมา,
    ๔.หลวงปู่คูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา,
    ๕.หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร,
    ๖.หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์,
    ๗.หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย,
    ๘.หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย, และ
    ๙.หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต
    · ในปีนี้ (๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘) หลวงปู่ผางได้เมตตาอธิษฐานจิตเหรียญ รุ่นเมตตาต่อวิทยาลัยสงฆ์ภาคฯ เมื่อประมาณ ๓๐ ปีก่อน ได้มีการทดลองความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องโดยการใช้ปืนยิง พระเครื่องหลายองค์ได้ถูกยิงแตกกระจุยเสียหายหมด แต่เหรียญหลวงปู่ผางรุ่นนี้ยิงถึงสามนัดก็ไม่ออกแม้แต่สักนัดเดียว การทดลองเมื่อครั้งนั้น นอกจากจะเป็นการพิสูจน์ว่า อำนาจความศักดิ์สิทธิ์หรือพุทธคุณมีจริงแล้ว ก็ยังเป็นการพิสูจน์ให้เห็นอีกว่า พระเครื่องที่เลี่ยมพลาสติกหุ้มจนมิดชิด สามารถแผ่พลังพุทธคุณออกมาได้ เพราะเหรียญหลวงปู่ผางที่ทดลองยิงเมื่อครั้งนั้น ถูกเลี่ยมพลาสติกกันน้ำปิดหมดทั้งหน้า-หลัง
    · ปีนี้หลวงปู่เริ่มก่อสร้างพระเจดีย์ชัยมงคล และแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยในระหว่างการก่อสร้างได้มีลูกศิษย์ลูกหาและผู้ศรัทธามาร่วมทำบุญก่อสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุมากมายทั่วทุกสารทิศ และในระหว่างการก่อสร้างพระเจดีย์ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ หลวงปู่ได้เมตตามอบวัตถุมงคลไว้ให้กับลูกหลานลูกศิษย์ลูกหา เพื่อเป็นอนุสติและเป็นธรรมรักษา
    พระเจดีย์ชัยมงคลที่สร้างขึ้นมีขนาดฐานวัดโดยรอบ ๑๐๐ เมตร สูง ๒๘ เมตร ส่วนล่างและส่วนบนขององค์พระเจดีย์เป็นบัวคว่ำบัวหงายประดับลวดลายไทย ลงรักปิดทองและติดกระจก พื้นในองค์เจดีย์ปูด้วยหินแกรนิตสีดำ และส่วนที่เป็นยอดขององค์พระเจดีย์นั้น ใช้โมเสคสีทองจากประเทศอิตาลีเป็นวัสดุก่อสร้าง ส่วนบนสุดเป็นยอดฉัตรทำด้วยโลหะปิดทอง
    ชั้นบนสุดขององค์พระเจดีย์เป็นที่สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ข้างล่างสร้างเป็นที่เก็บพิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่
    ภายในองค์เจดีย์ได้ประดิษฐานพระพุทธชินราชเป็นองค์พระประธาน และรูปเหมือนของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงปู่ผางทั้งสองรูป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2021
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    และในระหว่างการก่อสร้างพระเจดีย์ชัยมงคลนี้เองก็เกิดเรื่องเล่าที่กลายเป็นตำนานอันแสดงถึงเมตตาและปาฏิหาริย์ที่หลวงปู่ผางมีต่อนายช่างผู้รับเหมาสร้างพระเจดีย์ผู้ประสบปัญหาทางด้นการเงิน โดยเรื่องนี้นายช่างผู้รับเหมาได้เล่าให้คุณดำรงค์ ภู่ระย้า นักเขียนประจำกองบรรณาธิการนิตยสารโลกทิพย์ ฟังด้วยตนเอง และคุณดำรงได้ตีพิมพ์ข้อเขียนนี้ไว้ในนิตยสารฉบับดังกล่าว โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เทพเจ้าแห่งภูผาแดง” โดยเรื่องที่นายช่างรับเหมาก่อสร้างได้เล่าไว้ก็มีอยู่ว่า
    มีลูกศิษย์ของหลวงปู่ผาง เล่าเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นให้ฟังเรื่องหนึ่ง ผู้เขียนได้รับฟังมาด้วยตนเอง ซึ่งเขาเองเป็นนายช่าง รับเหมาก่อสร้างพระเจดีย์ที่สวยสดงดงามแห่งวัดอุดมคงคาคีรีเขต ที่ยืนตระหง่านอยู่ในปัจจุบัน
    นายช่างผู้เป็นลูกศิษย์เล่าว่า...
    “ผมไปรับเหมาก่อสร้างให้ท่าน โดยมีลูกน้องอีกหลายคน ผมมีความเคารพศรัทธาท่านมาก และขณะนั้น การเงินไม่ค่อยดี ลูกน้องไม่มีเงินจะซื้ออาหารกิน
    เรื่องนี้หลวงพ่อท่านรู้ดี ท่านสงสารพวกเรา แต่ก่อนจะเล่าเรื่องนี้ ผมต้องขอย้อนหลังสักเล็กน้อย คือ
    จระเข้เข้าวัด
    เดิมบริเวณโดยทั่วไปนั้น มีลำน้ำเจิ่งนองมาก เพราะเป็นที่ลุ่ม ต่อมาน้ำลดลงไป อาจเพราะมีเขื่อนกั้นน้ำในปัจจุบันนี้ก็เป็นได้
    แต่ว่าอย่างอื่นไม่สำคัญเท่าเรื่อง จระเข้ตัวหนึ่ง คงจะมาตามน้ำ เพราะน้ำท่าได้ลดลง และในที่สุด จระเข้ตัวนั้นก็มาอยู่อาศัยบริเวณสระน้ำในวัดกับหลวงปู่ผาง
    จระเข้ตัวนี้มีความเชื่องมากทีเดียว หลวงปู่ผางจะเดินลงมาพูดกับมัน แผ่เมตตาให้มัน และข้อพิเศษ มันฟังเข้าใจที่หลวงพ่อหรือใครๆ พูดได้ดี ทำตามให้เห็นด้วย
    ผมไปอยู่ก่อสร้างพระเจดีย์ใหม่ๆ ไม่เคยรู้เรื่องจระเข้ตัวนี้มาก่อน พออยู่นานๆ ไปก็เคยเห็นลอยตัวขึ้นมาอย่างเด่นชัด แต่ไม่มีใครทำอันตรายมัน และจระเข้ก็ไม่เคยปรากฏว่าจะทำอะไรใครด้วย
    โปรดนายช่าง
    วันนั้นพวกเราไม่มีเงินซื้ออาหารกิน หลวงพ่อท่านบอกว่า
    “เออ...นายช่าง ไม่มีเงินค่าแรงลูกน้อง ไม่มีเงินจะซื้อข้าวกิน
    อือม์...ของที่เป็นบารมีควรได้ และไม่ผิดศีลธรรมอันใดเลย เอ้า นี่เงินของนายช่าง ๒๐๐ บาท แล้วเอาเงินนี่ไปซื้อนะ แต่ก่อนไปตลาด จงไปขัดเรือที่หน้าวัดเสียก่อน...”
    นายช่างผู้เป็นลูกศิษย์ยังไม่เข้าใจว่า เงิน ๒๐๐ บาท จะไปซื้อกับข้าวก็คงพออยู่ แต่ท่านมีอุบายอันใดที่จะให้ไปขัดเรือหน้าวัด
    นายช่างพอเข้าใจบ้างว่า เรือหน้าวัดนั้นเป็นอะไร หมายถึงอะไร !
    นายช่างเล่าให้ฟังว่า
    “มือนี่สั่น ขาสั่นเลยเชียวละ แต่ภายในจิตใจนั้น เชื่อมั่นศรัทธาหลวงปู่ผางมากในชีวิตเลย”
    เรือหลวงพ่อ
    นายช่างเล่าต่อไปว่า
    “ผมหาแปรงลวดได้อันหนึ่ง ก็เดินไปยังสระหน้าวัดตามคำบอกของหลวงพ่อ
    พอไปถึงตรงระหว่างจะถึงบันไดสระ จระเข้ตัวที่หลวงพ่อเลี้ยงไว้ ก็ลอยตัวติดกับบันไดเลยทีเดียว
    ผมคอยมองทางหนีตอนจระเข้ไล่ มือไม้สั่นไปหมดแต่ขาก็ก้าวเดินลงไป มือขวาหาที่มั่นยึดไว้แน่น มือซ้ายถือแปรงลวด ค่อยๆ เอื้อมลงไป
    แต่ใจของผมขณะนั้นคิดไปว่า ถ้าจระเข้เอาหางฟาดโครมเข้ามา เห็นทีต้องเรียกหลวงพ่อลั่นวัดกันละ
    ผมเอาแปรงถูหลัง จระเข้ก็เฉย ไม่มีปฏิกิริยาอันใด จึงลงมือขัดเรือลำที่เป็นญาติกับชาละวัน
    ขัดๆ ไปใจเริ่มกล้าขึ้น เพราะเขาไม่ทำอะไรเรา จิตใจค่อยดีขึ้น ความศรัทธายิ่งเพิ่มมากขึ้น เลยลงมือขัดใหญ่
    ขัดไปชั่วเดี๋ยวเดียว สายตาของผมก็พบกับ เลขสามตัวเข้า จำติดตาชัดเจนเลยที่เดียว ผมจึงได้รู้ ร้อง อ้อ...ในใจเบาๆ
    พอเห็นได้ชัดเจน จำได้แม่นดังนั้นแล้ว เรือของหลวงพ่อจมตัวปุ๊บ หายไปเลย
    ผมเห็นว่า อย่างนี้นี่เอง หลวงพ่อจึงให้มาขัดเรือก่อนที่จะไปตลาด
    เอ๊ะ รอช้าไม่ได้ วันนี้แล้วนี่ เดี๋ยวไม่ทันการ ลูกน้องอยู่ใกล้ๆ ให้ขับรถเข่าตลาดไป และงวดนั้นผมมีเงินจ่ายลูกน้อง มีค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูกน้องอีกด้วย
    ผมกับลูกน้อง จึงได้เชื่อในปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อจริงๆ
    เรื่องนี้เป็นวาสนาของบุคคล และเป็นบารมีที่สร้างสมกันมาในอดีต เรื่องเช่นนี้ มิใช่เรื่องการบอกใบ้ให้หวยแต่อย่างใด เพราะการที่ครูบาอาจารย์จะกระทำอย่างนั้น ท่านรู้ด้วยอำนาจญาณมากกว่า (ผู้เขียน)

    พ.ศ. ๒๕๑๙
    · วันที่ ๘ ก.พ. ๒๕๑๙ เวลา ๐๙.๓๘ น. หลวงปู่ผางได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ก่อสร้างพระเจดีย์ชัยมงคล และในวันเดียวกันนั้น ทางวัดก็ได้จัดเตรียมสถานที่สำหรับพิธีเททองหล่อพระ และพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งปัญจาคีรี ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ ๙ ก.พ. ๒๕๑๙
    พิธีเททองหล่อและพุทธาภิเษกพระกริ่งปัญจาคีรี อันยิ่งใหญ่นั้นมีที่มา โดยเมื่อพล.ต.ท.แสวง หงษ์นคร ท่านมารับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจภูธร ๒ คุมอีสานทั้งหมด ๑๙ จังหวัด ในระยะนั้นเป็นช่วงสงครามเย็น ในการต่อสู้ระหว่างคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลไทย ฝ่ายรัฐต้องสูญเสียชีวิตข้าราชการทหาร ตำรวจ และฝ่ายพลเรือนอยู่ตลอดเวลา ท่านจึงมีดำริอยากสร้างพระ วัตถุมงคล แจกจ่ายให้กับข้าราชการตำรวจในปกครองให้ทั่วถึงทั้งภาคอีสาน เพื่อคุ้มครองป้องกันภัยจากการปฏิบัติหน้าที่ พิธีกองบัญชาการตำรวจภูธร พ.ศ.๒๕๑๙ นี้ นับได้ว่าเป็นการสร้างพระที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในสายพระป่าโดยมีพระคณาจารย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ๙ รูปคือ
    ๑. หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    ๒. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดหนองบัวบาน จ.อุดรธานี
    ๓. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
    ๔. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
    ๕. หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก จ.หนองคาย
    ๖. หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย
    ๗. หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย
    ๘. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย
    ๙. หลวงปู่โส กสฺสโป วัดป่าคำแคนเหนือ จ.ขอนแก่น
    เข้าร่วมนั่งปรกบริกรรมคาถาปลุกเสก ตลอดคืนตามมหาฤกษ์เวลา ๐๐.๓๘ น. ถึง เวลา ๐๕.๐๙ น.ของวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ จนเป็นที่มาของตำนานพระเครื่องชุด ๙ อรหันต์ที่เล่าขานกันสืบมา
    มหาพิธีภูธร ๙ อรหันต์ ๘-๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
    พิธีเททองหล่อพระกริ่งปัญจาคีรีของหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต ตามกำหนดการฤกษ์ เททองหล่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ปัญจาคีรี ซึ่งหลวงปู่ผางท่านได้กำหนดให้คือ
    เมื่อวันที่ ๘ ก.พ. ๒๕๑๙ เวลา ๐๙.๓๘ น. ซึ่งเป็นมหาอุดมมงคลฤกษ์ เพราะเป็นวันเดียวกันกับวันที่หลวงปู่ผางได้กำหนดวางศิลาฤกษ์ ก่อสร้างพระเจดีย์ชัยมงคลที่วัดของท่าน ทั้งชาวบ้านและทางวัดได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดเตรียมสถานที่เพื่อพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์
    หลวงปู่ได้บอกคณะกรรมการจัดสร้างพระกริ่งชุดนี้ ให้ไปทำพิธีพร้อมกันที่วัดของท่าน เพราะวันนั้นเป็นวันดี และมีพระคณาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐานองค์สำคัญหลายรูป จะมารวมกันที่นั่น นับว่าเป็นนิมิตดีอย่างมาก หาโอกาสเช่นนี้ได้ยากยิ่ง
    ทางคณะกรรมการเมื่อได้รับข่าวดีเช่นนี้แล้ว ก็จัดแจงพาคณะเดินทางจากกรุงเทพฯไปถึงวัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ ๗ ก.พ. ๒๕๑๙ เวลาประมาณ ๑๖ นาฬิกาเศษ พอไปถึงวัดได้พาคณะไปกราบนมัสการให้ท่านทราบเรื่องแล้ว หลวงพ่อก็ชี้ให้เลือกสถานที่เอาตามสะดวกภายในบริเวณวัดของท่าน
    ช่างสมร รัชนะธรรม ซึ่งเป็นนายช่างผู้รับสร้างพระกริ่ง ก็ได้สั่งการให้ลูกน้องจัดการเตรียมสถานที่ ก่อเตาไว้สุมทองสุมหุ่น พราหมณ์จัดการตั้งราชวัตรฉัตรธงวงสายสูตรตามตำรับของพิธีพราหมณ์ เพื่อให้ถูกต้องตามตำรับโบราณาจารย์ ใช้เวลาในการนี้ประมาณสามชั่วโมงเศษจึงสำเร็จเรียบร้อย แล้วพาคณะพักผ่อนชมบริเวณวัดของท่าน แล้วกราบนมัสการเรียนถามท่านว่า "หลวงปู่ที่สระน้ำมีจระเข้จริงหรือเปล่า" หลวงปู่ท่านบอกว่า "คนมีบุญเท่านั้นที่จะได้เห็น" เมื่อสนทนากับหลวงพ่อได้เวลาพอสมควรจึงพากันไปอาบน้ำที่สระที่ว่ามีจระเข้อาศัยอยู่
    มีเด็กร่วมคณะคนหนึ่ง อยากจะลองดี เมื่อผลัดผ้าอาบน้ำเรียบร้อยแล้วก็ไปนั่งตรงหัวสะพานอาบน้ำ ยกมืออธิษฐานกล่าวออกมาดัง ๆ ว่า "ถ้าผมมีบุญ หรือถ้าหลวงปู่ผางศักดิ์สิทธิ์จริง ขอให้เห็นจระเข้เดี๋ยวนี้" พลันเสียงพูดขาดคำปรากฏว่ามีจระเข้ประมาณนับได้ ทั้งหมด ๖ ตัวโผล่พรวดขึ้นมาตรงหัวสะพาน ทำเอาคณะที่อยู่ตรงนั้นหลายคนอกสั่นขวัญแขวนขนลุกซู่ไปตามๆ กัน จระเข้ฝูงนั้นปรากฏตัวให้เห็นราวๆ ๓ นาที จึงดำน้ำหายไป
    พอคณะอาบน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้เวลาช่างสมรเริ่มสุมหุ่น ช่างได้จัดพิธีบูชาครูตามธรรมเนียมของช่างหล่อพระ ก็มีฝนตกปรอยๆ เป็นนิมิตอันดียิ่ง เพราะเมื่อตอนที่คณะไปถึงนั้นแดดร้อนเปรี้ยง ๆ เพราะเป็นหน้าแล้ง แต่พอเริ่มพิธีกลับท้องฟ้ามืดครึ้ม คืนนั้นทั้งคืนคณะผู้สร้างได้จุดธูปเทียนบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มารับรู้ในการหล่อสร้างพระกริ่งครั้งนี้ด้วย และขอให้พระกริ่งชุดนี้จงศักดิ์สิทธิ์โด่งดัง สมกับชื่อเสียงของหลวงปู่ผาง ที่โด่งดังขจรขจายไปทั่วสารทิศ
    ปรากฏว่าคืนนั้นทั้งคืนฝนตกลงเม็ดปรอย ๆ ตลอดคืนจนกระทั่งรุ่งเช้าของวันที่ ๘ ก.พ.๒๕๑๙ ฝนได้ตกลงมาอีกอย่างหนัก ทำให้ ช่างสมร และคณะผู้สร้างใจคอไม่สู้จะดีนัก เพราะถ้าฝนไม่หยุดตกการเททองก็จะเป็นไปอย่างยากลำบากมาก เพราะหุ่นพระจะถูกน้ำฝนไม่ได้ แต่พอใกล้เวลาจริงๆ โหรได้ทำพิธีบูชาฤกษ์สังเวยบวงสรวงเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก่อนจะถึงเวลาฤกษ์เททอง ๐๙.๓๘ น. หลวงปู่ผาง ได้มาทำพิธี
    พอหลวงพ่อเข้าไปในประรำพิธีท่ามกลางสายตาคนนับเป็นพัน ต่างก็อัศจรรย์แปลกใจไปตามๆ กัน เพราะฝนที่ตกลงมาอย่างหนักพลันก็หยุดตกไปในทันตาเห็น พอได้เวลา หลวงปู่ผางหย่อนแผ่นทองลงไปในเบ้า พลันปรากฏเป็นแสงสายรุ้งพุ่งเป็นลำขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นเวลานานประมาณครึ่งนาที แสงนั้นจึงหายไป
    ได้เวลา ๐๙.๓๘ น. ตรง หลวงปู่ผางจับสายสูตรเททอง พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์เป่าสังข์แกว่งบัณเฑาะว์ลั่นฆ้องชัย พอสิ้นเสียงพระสวดชัยมงคลคาถา ประชาชนที่อยู่รอบๆ โรงพิธีก็พากันชุลมุนวุ่นวายยื้อแย่งด้ายสายสิญจน์ที่วงอยู่รอบโรงพิธี และบรรดาอิฐเตาหลอมพระและสิ่งประกอบในพิธีไปจนหมดสิ้น
    พอพิธีเรียบร้อยฝนก็ตกกระหน่ำลงมาอีกประมาณ ๕ นาที จึงหยุด เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นยิ่งนัก พอฝนขาดเม็ด ช่างจึงทำการตัดพระกริ่งออกจากช่อ บรรจุไว้ในลังเรียบร้อยแล้ว ได้นำไปมอบให้หลวงปู่ผาง ปลุกเสกต่อภายในพระเจดีย์ชัยมงคล ที่วัดดูนจนถึงวันที่ ๑๓ ก.พ.๒๕๑๙
    และในวันที่ ๑๓ ก.พ.๒๕๑๙ ทางคณะกรรมการผู้จัดสร้างจึงได้จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง ณ วัดป่าชัยวัน อ. เมือง จ.ขอนแก่น และในการนี้ได้นิมนต์พระคณาจารย์สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ มาร่วมแผ่พลังจิตปลุกเสกพระกริ่งพระชัยวัฒน์ปัญจาคีรีและวัตถุมงคล "พิธีตำรวจภูธรจัดสร้าง พ.ศ.๒๕๑๙" ของหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต ซึ่งมีรายนามสุดยอดพระเถระสายป่าเข้าร่วมพิธีคือ
    ๑. หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    ๒. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดหนองบัวบาน จ.อุดรธานี
    ๓. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
    ๔. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
    ๕. หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก จ.หนองคาย
    ๖. หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย
    ๗. หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย
    ๘. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย
    ๙. หลวงปู่โส กสฺสโป วัดป่าคำแคนเหนือ จ.ขอนแก่น
    โดยจัดพิธีถูกต้องตามตำรับของการสร้างพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) แห่งวัดสุทัศนเทพวราราม มี พล.ต.ท.แสวง หงษ์นคร อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๒ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ได้ฤกษ์เวลา ๑๙.๐๙ น. พราหมณ์ทำพิธีบูชาฤกษ์ เสร็จแล้วพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๙ รูปสวดพระคาถาจุดเทียนชัย หลวงปู่ผางจุดเทียนชัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้ว พระคณาจารย์สายพระอาจารย์มั่น ๑๙ รูป เข้าประจำที่นั่งปรกปลุกเสก พระพิธีธรรม ๔ รูป สวดพุทธาภิเษกไปจนถึงเวลา ๔.๓๘ น. หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ดับเทียนชัย เป็นเสร็จพิธี และเป็นที่มาของตำนานพระเครื่องชุด ๙ อรหันต์ที่เล่าขานกันสืบมา

    รายการวัตถุมงคลที่จัดสร้าง
    ๑. พระกริ่งปํญจาคีรี เนื้อทองคำ (ตามจำนวนสั่งจอง) เนื้อเงิน จำนวน ๑๙๙ องค์ เนื้อนวะ จำนวน ๒,๕๑๙ องค์ และเนื้อนวะก้นเงิน กรรมการ จำนวน ๑๕๘ องค์
    ๒. พระชัยวัฒน์ เนื้อทองคำ (ตามจำนวนสั่งจอง) เนื้อนวะ จำนวน ๕๐๐ องค์
    ๓. เหรียญหล่อลายฉลุทองคำ (ตามจำนวนสั่งจอง) เนื้อเงิน จำนวน ๒๙๙ เหรียญ เนื้อนวะ จำนวน ๑,๙๙๙ เหรียญ
    ๔. เหรียญรูปไข่ภูธรทองคำ (ตามจำนวนสั่งจอง) เนื้อเงิน จำนวน ๕๙๙ เหรียญ เนื้อนวะ จำนวน ๙๙๙ เหรียญ เนื้อทองแดงรมน้ำตาล จำนวน ๙,๙๙๙ เหรียญ
    ๕. พระอุปคุตทองคำ (ตามจำนวนสั่งจอง) เนื้อเงิน จำนวน ๒๙๙ องค์ เนื้อนวะ จำนวน ๑,๙๙๙ องค์
    ๖. พระผงโต๊ะหมู่ แจกคณะกรรมการ จำนวน ๒,๐๐๐ องค์ (แจกคณะกรรมการจัดสร้างระดับ ผกก.สถานีตำรวจทั่วภาคอีสาน และนายทหารที่เป็นคณะกรรมการจัดสร้าง)
    ๗. เหรียญพิเศษพิมพ์เล็ก (เหรียญตุ้มหูยายซิ้ม) จำนวน ๒,๐๐๐ เหรียญ (แจกคณะกรรมการที่นำผ้าป่ามาทอดถวายในพิธี)
    · ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ ออกเหรียญที่ระลึกสร้างพระเจดีย์ชัยมงคล รูประฆัง
    · ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ หลังพิธีเททองพระกริ่งพระชัยวัฒน์ปัญจาคีรี ๑ วัน ที่วัดดูนมีพิธีทอดผ้าป่าที่ลูกศิษย์ลูกหาผู้ศรัทธานำมาทอดถวายหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เพื่อสมทบช่วยสร้างพระเจดีย์ชัยมงคล และในวาระดังกล่าวหลวงปู่ได้เมตตามอบ เหรียญ ก้าวหน้า-ก้าวหลัง ซึ่งมีความหมายเป็นมงคลอย่างยิ่งให้กับผู้มาร่วมทอดผ้าป่า
    · ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ อนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิตเหรียญหลวงปู่ผาง รุ่นศูนย์การแพทย์อนามัย อ.ประทาย จ.นครราชสีมา ตามที่ศูนย์การแพทย์อนามัย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้นเป็นกรณีพิเศษ (เหรียญ รุ่นคุ้มภัยให้ลาภ) จัดสร้างโดยอนามัยส่วนภูมิภาคเขต ๔ ปี ๒๕๑๙ สร้างถวายโดย คุณหมอสุจินต์ อยู่สวัสดิ์
    · ๙ มีนาคม ๒๕๑๙ อธิษฐานจิตเหรียญรูปเหมือนนั่งเต็มองค์หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น ด้านหลังเป็นรูปศาลา ออกเนื่องในวาระสร้างศาลาวัดดงเค็ง อ.ประทาย จ.นครราชสีมา
    · ๑๑ มีนาคม ๒๕๑๙ เป็นหนึ่งใน ๓๙ พระเถราจารย์ผู้ทรงวิทยาคมในพิธีปลุกเสกเหรียญหลวงปู่ผาง รุ่นสร้างพระอุโบสถ ณ วัดพลับพลา จังหวัดนนทบุรี
    · ๑๑ เมษายน๒๕๑๙ อธิษฐานจิตเหรียญหล่อ รูปเตารีด ออกให้วัดโคกกลาง จ.สระบุรี
    · ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ อนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิตเหรียญที่ระลึกในงานสร้างพระเจดีย์ วัดพระธาตุหนองบัว จ.อุบลราชธานี ออกที่วัดหนองบัว
    · ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ อนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิตเหรียญที่ระลึกในงานสร้างพระอุโบสถ วัดบึงแก้ว อ.ชนบท จ.ขอนแก่น
    · อนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิตเหรียญ หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ด้านหลัง เป็นรูปพระครูสุนทรศีลพรต (แพง) วัดป่าศิลาเลข อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
    · อนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิตเหรียญรุ่น “พลังจิต” เป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ด้านหลังเป็น ยันต์พญาเต่าเรือน นะมะพะทะ นาสังสิโม สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ นะอุทะกะ เมมะ อะอุอะ

    · อนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิตเหรียญข้างบาตรหลวงปู่ผาง ออกวัดพระธาตุ หนองบัว จ.อุบลราชธานี ที่ระลึกในงานสร้างพระเจดีย์
    · อนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิตเหรียญหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต เนื้อทองแดง รุ่นพิเศษ จัดสร้างเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เนื่องในงานที่ระลึกฉลองพระอุโบสถ วัดศรีแก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ
    · ๙ ก.ย. พ.ศ. ๒๕๑๙ หลวงปู่ผางได้อธิษฐานจิตเหรียญที่ระลึกสร้างพระเจดีย์ วัดอุดมคงคาคีรีเขต เป็นเหรียญทรงระฆัง
    · หลวงปู่ผางได้อธิษฐานจิต พระพิมพ์ใบโพธิ์ รูปเหมือน จัดสร้างเป็นที่ระลึกในการสร้างพระเจดีย์ วัดอุดมคงคาคีรีเขต ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙
    · หลวงปู่ผางได้อธิษฐานจิตเหรียญหลวงพ่อผาง รุ่นพิเศษ ที่ระลึก สร้างเจดีย์ ปี ๒๕๑๙
    · หลวงปู่ผางได้อธิษฐานจิต เหรียญหล่อรูปเหมือนซุ้มพญานาค
    · หลวงปู่ผางได้อธิษฐานจิต พระสังกัจจาย์มหาลาภปี พ.ศ. ๒๕๑๙
    · หลวงปู่ผางได้อธิษฐานจิต รูปหล่อหลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต ออกวัดแก้ว อ.บางแพ จ.ราชบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๑๙
    · หลวงปู่ผางได้อธิษฐานจิต เหรียญหล่อพระนาคปรก วัดอุดมคงคาคีรีเขต ปี พ.ศ. ๒๕๑๙
    · หลวงปู่ผางได้อธิษฐานจิต เหรียญรุ่นพิเศษ ที่ระลึกสร้างพระเจดีย์ วัดอุดมคงคาคีรีเขต
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    พ.ศ. ๒๕๒๐
    lp-pang-057.jpg
    · ในวันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมกันทั้ง ๕ พระองค์ เพื่อปิดทองฝังลูกนิมิตพระอุโบสถวัดป่าธรรมวิเวก และเททองสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ผาง โดยในวันนั้น หลวงปู่ผางได้เดินทางมารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย นับได้ว่าเป็นเกียรติประวัติครั้งสำคัญยิ่ง ของชาวอำเภอชนบท คณะศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่ผาง และชาวจังหวัดขอนแก่นทั้งมวล
    · ปี พ.ศ.๒๕๒๐ หลวงปู่ผางอนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิตเหรียญหลวงปู่ผาง รุ่นศูนย์สงครามพิเศษ ตามที่ศูนย์สงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี ได้ขออนุญาตจัดสร้างเพื่อแจกทหาร
    · หลวงปู่ได้เมตตาพิมพ์ผ้ายันต์รอยเท้าทั้ง ๒ ข้างในผืนเดียวกัน เพื่อแจกคณะศรัทธาที่นำผ้าป่ามาทอดถวาย เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๐ เพื่อสมทบทุนสร้างพระเจดีย์ชัยมงคล นับเป็นวาระที่สองที่หลวงปู่ได้สร้างผ้ายันต์รูปรอยเท้า โดยวาระแรก ท่านได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยครั้งนั้นได้พิมพ์รอยเท้าแต่ละข้างบนผืนผ้าคนละผืน
    · ปี ๒๕๒๐ หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตเหรียญรุ่นนิรภัย ซึ่งจัดสร้างถวายโดย ชมรมอนุเคราะห์พุทธศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแจกจ่ายแก่ตำรวจและทหาร ที่ปฏิบัติงานตามแนวชายแดน
    · ปี ๒๕๒๐ (๓๐ ม.ค.) หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตเหรียญทรงระฆัง และพระสมเด็จลายเสือ เนื้อผง ออกที่วัดประชาคมาราม อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา
    · ปี ๒๕๒๐ (๔ มี.ค.) หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตเหรียญที่ระลึกวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถวัดหนองจิก อ.หนองแค จ.สระบุรี
    · หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตเหรียญในงานที่ระลึกสิริอายุ ๗๗ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ด้านหลังของเหรียญระบุวันเกิดของท่านเป็นวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๓
    · หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตเหรียญเสมา หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ปี ๒๕๒๐
    · หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตเหรียญหลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต ปี ๒๕๒๐ ออกวัดไชยสถาน อำเภอสารภี เชียงใหม่

    พ.ศ. ๒๕๒๑
    · เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต ทำพิธีฉลองพระพุทธชินราชจำลอง ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพระประธานในพระเจดีย์ชัยมงคลที่ท่านได้เริ่มสร้างขึ้นในปี ๒๕๑๘ และในวาระอันเป็นมงคลนี้ ท่านได้อนุญาตให้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นโดยเป็นเหรียญพิมพ์มะละกอ
    · คณะลูกศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างเหรียญรุ่นสหชาติ พ.ศ.๒๕๒๑ ขึ้นเพื่อรำลึกถึงเมตตาธรรมของหลวงปู่และตำนานเสือคู่บารมี โดยทำเป็นเหรียญทรงกลม ด้านหลังของเหรียญทำเป็นรูปเสือเผ่น ไว้เป็นหนึ่งในตำนานสหชาติคู่บารมีหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตโต เช่นเดียวกับ ตำนานเรื่อง จระเข้, ช้าง, งู, วัว, เหล็กไหลคู่บารมี ไว้ให้ลูกหลานได้บูชากราบไหว้และเล่าขานสืบต่อกันมา
    · หลวงปู่อธิษฐานจิต เหรียญทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สร้างโดยวัดอุดมคงคาคีรีเขต ปี ๒๕๒๑
    · หลวงปู่อธิษฐานจิต เหรียญทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างโดยสำนักงานคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ปี ๒๕๒๑
    · หลวงปู่อธิษฐานจิต เหรียญทรงกลม รุ่นวัดเกาะแก้ ว อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

    พ.ศ. ๒๕๒๒
    · ท่านอนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิตเหรียญหลวงปู่ผาง รุ่นอิทธิฤทธิ์ ออกในงานพิธีผูกพัทธสีมา วัดป่าวิเวกธรรม เมื่อวันที่ ๑ - ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒
    · หลวงปู่ผางอนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิตเหรียญหลวงปู่ผาง เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ในการเปิดโรงพยาบาลวิเชียรบุรี เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๒
    · ปีนี้หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตให้กับเหรียญหลวงปู่ผางรุ่นทูนเกล้า โดยคณะศิษย์ลูกเสือชาวบ้าน อ.บ้านไผ่ จัดสร้างถวาย
    · อนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิต เหรียญกฐินโค้วยู่ฮะ เหรียญรุ่นนี้ บริษัทโค้วยู่ฮะ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ isuzu เจ้ายักษ์ใหญ่ของเมืองขอนแก่น จัดสร้างเป็นที่ระลึกในคราว เป็นเจ้าภาพนำกฐินทอดถวาย หลวงปู่ผาง จิตุตคุตโต วัดดุน ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นเหรียญที่หลวงปู่ผาง ท่านชื่นชอบมากๆ ท่านเห็นเหรียญรุ่นนี้ ท่านถึงกับเอ่ยปากชมว่า " เมตตา ดีเนาะ "
    · ๒๙ มิ.ย. ๒๕๒๒ หลวงปู่ผางอธิษฐานจิต เหรียญรูปหัวใจ ออกวัดจันทรัตนาราม อ.พล จ.ขอนแก่น

    พ.ศ. ๒๕๒๓
    · ในปีนี้ หลวงปู่ได้เมตตารับเป็นประธานอำนวยการสร้าง “พระธาตุขามแก่นศิโรดม” ขึ้นที่หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับพ่อค้า ประชาชน ภาคราชการ เอกชนทุกหมู่เหล่า เพื่อร่วมฉลองสองร้อยปีกรุงรัตนโกสินทร์ และในวันที่ ๒๙ พ.ย. ๒๕๒๓ หลวงปู่ผาง สร้างพระธาตุขามแก่นศิโรดมฯ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วันที่ ๙ ส.ค. ๒๕๒๔ หลวงปู่ผาง ประกอบพิธีเทฐานฤกษ์สถูปครอบพระธาตุขามแก่นศิโรดม และในวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๕ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (วาสน์ วาสโน) เสด็จทำพิธีเปิดพระธาตุขามแก่นศิโรดม ให้ประชาชนได้สักการบูชา
    ปัจจุบัน พระธาตุขามแก่น ศิโรดม ถือได้ว่าเป็นปูชนียสถานที่สำคัญคู่เมืองขอนแก่น ทางจังหวัดได้กำหนดให้มีงานนมัสการพระธาตุขามแก่นศิโรดม เป็นงานประจำปีของจังหวัด ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ถึง ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี
    เพื่อเป็นการหาทุนทรัพย์ในการจัดสร้าง พระธาตุขามแก่นศิโรดมนี้ คณะกรรมการจัดสร้างฯ ได้ขออนุญาต หลวงปู่ผาง จัดสร้างเหรียญรูปเม็ดแตง รุ่นนำโชค โดยเหรียญรุ่นนำโชคนี้ หลวงปู่ท่านได้อธิษฐานจิตให้ถึง ๔ วัน ๔ คืนเต็มๆ และท่านได้ให้พรแก่ผู้ที่มีเหรียญนำโชคไว้ดังนี้ “ให้เจ้าสุขขีล้นกว่าคนทั้งโลก โชคให้ไหลหลั่งเข้าคีอจังน้ำแม่ทะเลเด้อ”
    · เหรียญหลวงพ่อผาง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งสมาธิเต็มองค์ ด้านล่างของรูปเหมือนมีข้อความ “อายุ ๗๙ ปี” ด้านหลังเป็นรูปพระธาตุขามแก่น วัดเจติยภูมิ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ออกพร้อมเหรียญนำโชค ที่ระลึกสร้างพระธาตุขามแก่นศิโรดม หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น
    · เหรียญที่ระลึกผูกพัทธสีมาวัดบึงพระ จังหวัดนครราชสีมา ๗-๑๑ เม.ย. ๒๕๒๔


    lp-pang-056.jpg
    · ๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๓ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร นมัสการ พระหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต คราวเสด็จเปิดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
    · ต่อมาวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๒๓ หลวงปู่ได้มีหนังสือถึงสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อของบประมาณทำถนนเส้นดังกล่าวเป็นถนนลาดยาง ซึ่งทางราชการก็ได้อนุมัติ และได้ทำเป็นถนนลาดยางในเวลาต่อมา ซึ่งก็ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ ดังเช่นที่ปรากฏในปัจจุบัน
    · หลวงปู่ผางอธิษฐานจิตเหรียญ ทรงกลมด้านหน้าเป็นรูปเหมือนใบหน้าหลวงปู่ผาง ด้านหลังเป็นรูปเสือเผ่น ปี พ.ศ. ๒๕๒๓
    · หลวงปู่ผางอธิษฐานจิตเหรียญรุ่นพิเศษ แจกลูกเสือชาวบ้าน มีทั้งทรงกลม และ รูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนใบหน้าหลวงปู่ผางเอียงไปทางด้านขวา ด้านหลัง ด้านบนเป็นรูปอัฐบริขาร ด้านล่างเป็นรูปเสือหมอบ ปี พ.ศ. ๒๕๒๓

    พ.ศ. ๒๕๒๔
    · ๖ ม.ค. ๒๕๒๔ หลวงปู่ผางอธิษฐานจิตเหรียญหลวงปู่ผาง ออกวัดสะอาด อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
    · หลวงปู่ผางอธิษฐานจิตเหรียญหลวงพ่อผาง จิตตคุตโต ปี ๒๕๒๔ ออกที่วัดเพชรวิศยาราม จ.ชัยภูมิ
    · หลวงปู่ผางอธิษฐานจิตเหรียญเม็ดแตงด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อผางครึ่งองค์ ด้านหลังเป็นรูปเหมือนพระมหาปิ่น ปัญญาพโล ออกเป็นที่ระลึกฉลองศาลาการเปรียญวัดป่าแสงอรุณ พ.ศ. ๒๕๒๔
    · หลวงปู่ผางอธิษฐานจิตเหรียญรูปไข่หูเชื่อม รุ่นคุ้มภัยให้ลาภ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หลวงพ่อผาง จิตตฺคุตโต ด้านหลังส่วนบนมีข้อความ “คุ้มภัยให้ลาภ” ตรงกลางเป็นรูปธรรมจักร ส่วนล่างมีข้อความ “ที่ระลึกเปิดศูนย์อนามัยส่วนภูมิภาค เขต ๔”
    · ๒๐ เมษายน ๒๕๒๔ หลวงปู่ผางได้เข้ารับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง จากภูพานราชนิเวศน์ไปทรงเททองหล่อพระประธานกันทรวิชัย ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม ซึ่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม กองทัพภาคที่ ๒ กองบัญชาการตำรวจภูธร ๒ และจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๖ จังหวัด ได้ร่วมกันจัดหล่อขึ้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปแบบอีสาน และเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจประชาชน
    และในการนี้หลวงปู่ได้นำเหรียญรุ่นนำโชค ที่ได้จัดสร้างขึ้นเมื่อคราวสร้างพระธาตุขามแก่นศิโรดม ขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย (จากคำบอกเล่าของท่านพระอาจารย์จำนงค์ ปคุโณ ศิษย์เอกของหลวงปู่)
    · หลังจากที่พระเจดีย์ชัยมงคลสร้างเสร็จ คณะลูกศิษย์ลูกหาได้พิจารณาเห็นว่ากุฏิหลังเก่าของหลวงปู่ที่บริเวณข้างพระเจดีย์กู่แก้ว ที่เป็นกุฏิไม้เสา ๔ ต้น หลังคามุงจาก ฝาไม้ไผ่ขัดแตะ ซ่อมด้วยถุงปูนซีเมนต์ที่สร้างพระเจดีย์ ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จึงได้ขออนุญาตสร้างกุฏิหลังใหม่ ถวายหลวงปู่ และหลวงปู่ก็ได้อนุญาตให้สร้างได้ และได้เมตตาอธิษฐานจิตเหรียญที่ระลึกในวาระสร้างกุฏิใหม่นี้มอบให้ด้วย
    · เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๒๔ หลวงปู่ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพทั่วไปที่โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา อายุได้ ๘๐ ผลตรวจปรากฏว่าสุขภาพทั่วไปดี ความดันโลหิตและชีพจรปกติ ตาเริ่มเป็นต้อกระจกอ่อนๆ ทั้งสองข้าง ผลเอ็กซเรย์ปอดคลื่นหัวใจเป็นปกติ ผลการตรวจเลือดพบว่าหน้าที่ของไต ตับและระดับไขมันในเลือดปกติ
    · ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๒๔ งานเททองเศียรพระใหญ่ วัดภูเม็งทอง บ้านเหมือดแอ่ ต.บ้านเม็ง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
    · ๙ ส.ค. ๒๕๒๔ หลวงปู่ผาง ประกอบพิธีเทฐานฤกษ์สถูปครอบพระธาตุขามแก่นศิโรดม
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    lp-pang-041.jpg
    · เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๔ หลวงปู่พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ทายก ทายิกา และคณะศิษยานุศิษย์ ได้พร้อมใจกันจัดผ่าป่าสามัคคี “ผ้าไหมไตรจีวร” ไปทอดถวาย ๓ วัดด้วยกันคือ
    ๑. ทอดถวายสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
    ๒. ทอดถวายสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวธฺฒโน ป.ธ.๙ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเพทฯ ซึ่งต่อมาท่านได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    ๓. ทอดถวายพระพรหมมุนี (สนั่น จนฺทปชฺโชโต ป.ธ.๙) วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ ซึ่งต่อมาท่านได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหามุนีวงศ์
    การไปทอดผ้าป่าสามัคคีของหลวงปู่ครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ท่านปรารภจะทำมานานแล้ว ซึ่งเป็นการจัดผ้าป่าไปทอดถวายครั้งแรกในชีวิตของท่าน และก็ถือว่าเป็นครั้งสุดท้ายด้วยเช่นกัน
    · เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ (บางแหล่งข้อมูลว่าวันที่ ๒๘) หลวงปู่ได้ไปเข้ารับการตรวจอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากมีอาการแน่นท้อง จากการเอ็กซเรย์ระบบทางเดินอาหารพบว่า หลวงปู่เริ่มเป็นมะเร็งที่กระเพาะอาหาร คณะแพทย์โรงพยาบาลแพทย์ปัญญาได้ถวายคำแนะนำให้รักษาโดยการผ่าตัด แต่หลวงปู่ไม่ยินยอม

    พ.ศ. ๒๕๒๕
    · วันที่ ๙ มกราคม ๒๕๒๕ หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตเหรียญรูปเหมือนเต็มองค์นั่งสมาธิ รุ่นนำโชค เนื่องในวาระการสร้างพระอุโบสถวัดโพธาราม อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด
    · หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตเหรียญ "หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต" ปี ๒๕๒๕ ออกสำนักสงฆ์แสงชัยปิยาราม จ.ชัยภูมิ
    · วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ (บางแหล่งข้อมูลว่าวันที่ ๒๓) หลวงปู่ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเดิมอีก ด้วยอาการอ่อนเพลียเนื่องจากมีอาการเลือดออกในทางเดินอาหารและแพทย์ยังพบว่า มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจตาย
    หลวงปู่ได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา คุณนายเข็มทอง โอสถาพันธ์ ได้ติดตามอาการ และปรึกษากับคณะแพทย์ ถึงการรักษาโดยตลอด จึงทราบจากแพทย์ว่า เนื่องจากหลวงปู่ไม่ฉันเนื้อสัตว์ และฉันอาหารได้น้อย ร่างกายของท่านจึงขาดสารอาหารบางชนิด คณะแพทย์จึงได้ขอร้องให้คุณนายจัดอาหารมาแอบเสริมให้ท่านฉัน คุณนายจึงได้สั่งคุณอ้อยทิพย์ แสนแก้ว นำตับมาบด กรองเอาแต่น้ำมาต้มกับข้าวต้ม แล้วใส่ขิง แล้วเอาผักชีโรย คุณอ้อยทิพย์นำอาหารนั้นมาใส่กระติกปิดฝา พร้อมทั้งลูกศิษย์อื่นๆ ก็ได้นำอาหารมาถวายเช่นกัน แต่เช้าวันนั้น หลวงปู่ไม่ยอมฉัน ลูกศิษย์ได้อ้อนวอนหลายครั้งให้ท่านฉัน หลวงปู่เมตตาตอบแต่เพียงว่า “วันนี้ไม่ฉัน มันสิบาป” ว่าแล้วก็นั่งหันหลังให้
    ตอนเพล คุณนายเข็มทอง พร้อมทั้งลูกศิษย์ได้นำอาหารมาถวายท่านอีก เพราะเห็นว่า ตอนเช้าหลวงปู่ไม่ได้ฉัน คุณนายอ้อนวอนแล้วอ้อนวอนเล่า หลวงปู่ก็ตอบอย่างเดิมว่า “วันนี้ไม่ฉัน” คุณนายอ้อนวอนหลายครั้งเข้า จนน้ำตาไหลคลอ แล้วกราบเรียนหลวงปู่ด้วยความสำนึกผิดว่า “วันหลังลูกจะไม่ทำอีกแล้ว เจ้าค่ะ” หลวงปู่จึงเมตตาตอบว่า “เออ ได้บุญอยู่ดอก”
    หลวงปู่ได้มาพักรักษาตัวที่กรุงเทพฯ ในครั้งนี้เป็นเวลา ๒๐ กว่าวัน แต่อาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้แจ้งให้คณะศิษย์ได้ทราบว่า
    “ที่ผ่านมา หลวงปู่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ทำบุญกับหลวงปู่เต็มที่แล้ว ทั้งๆ ที่รู้ว่าโรคนี้ไม่มีทางรักษาหาย มันจะหายก็ต่อเมื่อเอาไฟมาเผาเท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างความลำบากแก่ตนเองและผู้อื่นอีกต่อไป ขอให้นำหลวงปู่กลับวัดได้แล้ว”


    lp-pang-018.jpg
    · วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๕ คณะศิษย์ได้นิมนต์ท่านกลับวัดอุดมคงคงคาคีรีเขต จังหวัดขอนแก่น โดยทางโรงพยาบาลแพทย์ปัญญาได้จัดรถไปส่ง และจัดบุรุษพยาบาลไปดูแลที่วัดอีกด้วย
    · วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๕ พระเทพบัณฑิต (พระมหาอินทร์ ถิรเสวี ป.ธ.๕) รองเจ้าคณะภาค ๙ (ธ) วัดศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น กับคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมอาการอาพาธหลวงปู่ ได้พบว่าหลวงปู่มีอาการหนักมาก ท่านเจ้าคุณพระเทพบัณฑิตคาดว่าหลวงปู่คงจะอยู่ไปไม่เกิน ๑๐ วัน ท่านจึงสั่งพระเณรในวัดไว้ ห้ามไม่ให้เคลื่อนย้ายหลวงปู่ไปที่ไหนอีกเป็นอันขาด ท่านเจ้าคุณฯ เล่าว่า
    “ในวันนั้นหลวงปู่ผางได้พูดกับข้าพเจ้าว่า ให้ช่วยไล่ผีป่าให้หน่อย ข้าพเจ้าเรียกผีป่าพวกนี้ว่า ญาติพระเจ้าพิมพิสาร ข้าพเจ้ารับปากว่าจะช่วยไล่ให้ สนทนากันพอสมควรแล้ว ข้าพเจ้าก็ลากลับวัดศรีจันทร์”
    · วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๒๕ เวลาประมาณ ๐๙-๑๐.๐๐ น. คณะศิษย์ผู้เฝ้าดูแลหลวงปู่พยาบาล ต่างก็แปลกใจและดีใจไปตามๆ กันที่เห็นท่านลุกขึ้นมานั่ง และเดินได้เหมือนคนปกติ ประหนึ่งว่า อาการอาพาธที่ท่านเป็นอยู่คงหายแล้ว
    ท่านพระอาจารย์สมชาย ฐิตธมฺโม ซึ่งเป็นพระที่เฝ้าดูแลท่านในขณะที่ท่านอาพาธ ได้กล่าวว่า
    “ในวันนั้น ลูกศิษย์ทั้งพระทั้งฆราวาส ต่างก็ดีใจที่เห็นหลวงปู่ลุกขึ้นมาเดินได้ และท่านได้สั่งคณะสงฆ์และชาวบ้านที่ดูแลอุปัฏฐาก ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขตไว้ว่า
    ‘หมู่เฮาให้เบิ่งให้แงงกัน ซุ่มพ่อออกแม่ออกกะให้มากินมาทานคือเก่าเด้อ’
    ‘พระสงฆ์ สามเณร ชี ให้ดูแลกันเหมือนเดิม ให้สามัคคีกันไว้ ผู้ใหญ่ให้ดูผู้น้อย ผู้น้อยให้ดูผู้ใหญ่ ญาติโยมให้พากันมาทำบุญเหมือนเดิม หลวงปู่อยู่เคยพาทำแบบไหน ให้พากันทำแบบนั้น หลวงปู่จากไปก็อย่าพากันทิ้งวัดทิ้งวา’
    นี่คือโอวาทครั้งสุดท้ายที่ท่านพูดไว้”
    มรณภาพด้วยอาการอันสงบ
    ก่อนมรณภาพไม่กี่วัน สังขารร่างกายของหลวงปู่ทรุดโทรมมาก บรรดาศิษย์ต่างวิตกไปตามๆ กันและปลงใจว่าหลวงปู่ไม่รอดแน่ ยิ่งได้เห็นความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า และทุกขเวทนาที่หลวงปู่ได้รับอยู่นั้น ศิษย์ทุกคนกลั้นน้ำตาไว้ไม่ได้ หลวงปู่ทราบเรื่องนี้ จึงถามคณะศิษย์ที่คอยเฝ้าดูอาการอาพาธอยู่โดยรอบในขณะนั้น เพื่อเป็นการเตือนสติว่า "อยากเป็นไหมล่ะ อย่างนี้?"
    วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๒๕ หลวงปู่ฉันอาหารและน้ำแทบไม่ได้เลย ปัสสาวะน้อย และท่านได้ละสังขารในตอนบ่ายนั้น เวลา ๑๖.๔๕ น. ด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ ๘๐ ปี (๓๔ พรรษา)


    lp-pang-022.jpg


    lp-pang-023.jpg


    lp-pang-029.jpg


    คณะศิษย์ผู้ใกล้ชิด วันมรณภาพ


    ศิษยานุศิษย์ร่วมพิธีรดน้ำศพ


    คณะสงฆ์ประกอบพิธีขอขมาศพ


    lp-pang-032.jpg


    lp-pang-026.jpg


    lp-pang-030.jpg


    แม่ชีบาง พี่สาวหลวงปู่ผาง
    ศาลาที่ประดิษฐานศพหลวงปู่ผาง
    คุณนายเข็มทอง โอสถาพันธ์
    โยมอุปัฏฐากหลวงปู่ผาง


    lp-pang-031.jpg


    lp-pang-025.jpg


    lp-pang-028.jpg


    คุณนายเข็มทองฯ ใส่บาตรแด่พระภิกษุสงฆ์
    บำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม โดยคุณนายเข็มทอง โอสถาพันธ์ และครอบครัวเป็นเจ้าภาพ
    พระภิกษุสงฆ์ แม่ชี และชาวบ้านมาคารวะศพ
    เล่ากันว่าวันที่หลวงปู่มรณภาพ เหล่าจระเข้ที่หลวงปู่เลี้ยงไว้ในบึง ก็ได้ลอยไปทางด้านเหนือของบึงและร้องเสียงดังอยู่เป็นเวลานาน คล้ายจะบอกให้รู้ว่าหลวงปู่จะจากพวกเราไปแล้ว และเป็นการแสดงถึงความอาลัยอาวรณ์ของสัตว์เลี้ยงของหลวงปู่
    การมรณภาพของท่าน นับเป็นการจากไปของพระสุปฏิปันโนผู้มีคุณธรรมอันเลิศรูปหนึ่ง ที่ไม่ปรารถนาลาภ ยศ สรรเสริญ หรือติดในโลกธรรมแต่ประการใด แต่คุณธรรมและปฏิปทาของท่านยังเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมิรู้ลืม คณะศิษยานุศิษย์จึงได้กำหนดพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ ขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔-๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต โดยพิธีพระราชทานเพลิงศพจะกระทำในวันอังคารที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๒๘ เวลา ๑๖.๐๐ น.


    lp-pang-024.jpg


    lp-pang-024.jpg


    lp-pang-024.jpg



    ในวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ผาง ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศมาร่วมงานกันอย่างมืดฟ้ามัวดิน พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ โดยตลอดงานทั้ง ๓ วันไม่มีมหรสพแม้แต่ชิ้นเดียว มีแต่การบำเพ็ญภาวนา สวดมนต์ ผู้คนมากมายรับประทานอาหารที่โรงทาน โดยผู้มีศรัทธาได้ตั้งไว้สำหรับต้อนรับโดยเฉพาะ ถึงกระนั้นประชาชนผู้ศรัทธาหลั่งไหลไปจากทุกมุมของประเทศ เพียงเพื่อให้ได้มีโอกาสวางดอกไม้จันทน์ และนมัสการท่านหลวงปู่เป็นครั้งสุดท้ายเท่านั้น


    lp-pang-009.jpg


    กิจวัตรของหลวงปู่
    หลวงปู่ผาง ในชีวิตสมณะของท่าน ท่านได้ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางที่ศึกษามาจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตอย่างเคร่งครัด
    กิจวัตรของท่านแทบจะกล่าวได้ว่า ท่านเมตตาแก่บรรดาประชาชนทั้งหลายโดยตลอด
    เช้าท่านออกบิณฑบาตโปรดชาวบ้านทั่วๆ ไป กลับมาฉันแล้ว ท่านออกรับบรรดาผู้เข้านมัสการตอบปัญหาธรรมและธุระต่างๆ
    เวลา ๑๐.๓๐ น. เข้ากุฏินั่งสมาธิภาวนาทำความเพียร
    เวลา ๑๔.๐๐ น. ลงศาลาประชุมสงฆ์ แก้ข้อข้องใจในธรรมะที่พระสงฆ์องค์ใดติดขัด หลวงปู่ผางจะแก้ไขนำอุบายธรรมให้ได้ประพฤติจนกระจ่างทุกเรื่องไป
    เวลา ๑๕.๐๐ น. ลงมาปัดกวาดลานวัด กุฏิที่อยู่อาศัย เสร็จแล้วสรงน้ำ จากนั้น เดินจงกรม จนเวลาล่วงไป
    เวลา ๑๙.๐๐ น. สวดมนต์ไหว้พระ แล้วนั่งสมาธิ จนเวลา ๒๓.๐๐ น. แยกย้ายกันออกไปพักผ่อน หรือเดินจงกรม
    เวลา ๐๓.๐๐ น. ตื่น ล้างหน้า สวดมนต์ทำวัตรเช้า-นั่งสมาธิ-ภาวนา
    เวลา ๐๕.๐๐ น. เดินจงกรม จนได้อรุณ ออกบิณฑบาต เป็นกิจวัตรทุกวันเรื่อยไป

    ธรรมโอวาท
    หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เป็นพระนักปฏิบัติที่มั่นคงอดทนเป็นเลิศรูปหนึ่ง ชอบทำมากกว่าพูด บทโอวาทเทศนาสั่งสอนต่างๆ จึงไม่ค่อยมี ท่านมีอุดมคติอยู่ว่า "มีชื่อบ่อยากให้ปรากฏ มียศบ่อยากให้ลือชา" ศีลข้อ ๕ เป็นข้อที่หลวงปู่ย้ำเน้นตลอดมา
    หลวงปู่มักจะให้โอวาทให้พรว่า
    "อย่าสิเอาพระรัตนตรัยไปกินเหล้า เด้อ"
    "ให้สำบายๆ เด้อ"
    "ให้อยู่ดีมีแฮง เด้อ"
    หลวงปู่ผางท่านห้ามดื่มเหล้า ท่านใดที่จะรับพระจากมือท่าน ท่านจะถามว่า “ดืมเหล้าบ่ เลิกได้บ่” หากตอบว่าเลิกครับ ท่านจะคล้องคอให้ หากไม่รับปากว่าเลิก ท่านจะบอกว่า “ถ้าดื่ม ถอดออกเด้อ”
    เนื่องจากหลวงปู่ไม่เป็นพระนักพูดนักเทศน์ที่ดีแต่สอนคนอื่นแล้วตนเองไม่ปฏิบัติตาม ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถจะนำบทเทศนาสั่งสอนมาลงให้เป็นเรื่องเป็นราวได้ เหมือนอย่างที่เห็นโดยทั่วไป แต่ก็พอสรุปโอวาทที่หลวงปู่เคยพร่ำสอนบรรดาสานุศิษย์อยู่โดยมากได้ดังนี้
    ๏ ให้พากันวางความตาย อย่าเสียดายความมี ตู้คัมภีร์ใหม่อยู่ในกายเฮานี่
    (ให้พากันวางความตายอย่าเสียดายความมั่งมี ตู้พระไตรปิฎกอยู่ในกายของเรานี้)
    ๏ ให้พากันพายเฮือข่วมทะเลหลวงให้ม่มฝั่ง อย่าสิกลับต่าวปิ้นนำ พั่วหมากแบ่งดง
    (ให้พากันพายเรือข้ามทะเลหลวงให้รอดฝั่ง อย่าได้กลับมาวนเวียน อยู่กับ วัฏฏสงสาร)
    ๏ ให้ภาวนาว่า ตายๆ ผีกะย่าน บ่กล้ามาใกล้ดอก
    (ให้ภาวนาว่า ตายๆ ผีก็จะกลัว ไม่กล้าเข้ามาใกล้)
    ๏ หมอบๆ เข่าหัวเท่าง่ายาง ย่างโย่งๆ หัวแทบขี้ดิน
    (คนพาลถึงจะทำเป็นอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างไร เขาก็รู้ว่าเป็นคนพาลอยู่นั่นเองหรือได้แก่คนที่เคารพแต่กายส่วนใจไม่เคารพ ส่วนคนดีมีความเคารพถึงแม้จะคุยโวไม่เคารพ แต่ใจนั้นเคารพอยู่)
    ๏ มีดพร้าโต้ควงแบกท่วมหู คมมันบางท่อคูคันต้อน ซุยซำซะ ลากขี้ดินจำก้น
    (คนผู้มีอาวุธคือปัญญาหรือศีลธรรมอันยิ่งใหญ่ ถึงแม้ว่าจะแสดงตนว่าไม่ดีอย่างไรเขาก็รู้ว่าเป็นคนดีอยู่นั่นเอง)
    ๏ คนสามบ้านกินน้ำส่างเดียว เที่ยวทางเดียว บ่เหยียบฮอยกัน
    (คนสามหมู่บ้านดื่มน้ำจากบ่อเดียวกัน เดินบนเส้นทางเดียวกันแต่ไม่เหยียบรอยเท้ากัน
    หมายถึงคนทุกวันนี้ดื่มน้ำจากแหล่งเดียวกันคือ น้ำประปาและการเดินทางทุกวันนี้ใช้รถยนต์ไม่มีรอยเท้าให้เห็น)
    ๏ อย่าได้มัวเมาหม่นนำดวงดอกไข่เน่า เมานำพั่วหมากหว้ามันสิช้าค่ำทาง
    (อย่าได้มัวเพลิดเพลินอยู่กับดอกไม้หอมในป่า หรือลูกไม้ในป่า จะทำให้ชักช้าไปไม่ถึงที่หมาย หมายถึงอย่าได้มัวเพลินอยู่ในกามารมณ์ จะทำให้เราชักช้าไม่พ้นวัฏฏสงสาร)
    ๏ ลิงกับลิงชิงขึ้นต้นไม้ บัดสิได้แม่นบักโกกนาโถ
    (เมื่อลิงทั้งหลายแย่งชิงกันขึ้นต้นไม้ ตัวที่แย่งได้เป็นตัวที่มีความคล่องแคล่วว่องไวกว่าเพื่อน)
    ๏ นักปราชญ์ฮู่หลง หงส์ทองถืกบ้วง ควายบักตู้ตื่นไถ
    (นักปราชญ์ยังมีโอกาสพลาด หงส์ทองยังมีโอกาสติดบ่วง และควายที่คุ้นกับไถก็ยังตื่อไถได้หมายถึงบุคคลผู้รู้จักบาปบุญแล้วยังหลงทำความชั่วได้ บุคคลผู้มีสติก็ยังขาดความระมัดระวังและบุคคลที่เป็นผู้รู้แล้วยังเป็นพาลได้)
    ๏ อย่าพากันเที่ยวทางเวิ่งเหิงหลายมันสิค่ำ เมานำพั่วหมากหว้ามันสิช้าค่ำทาง (อย่าพากันเถลไถล ออกจากทางตรง เดี๋ยวจะมืดค่ำก่อน อย่ามัวเพลินกับผลไม้ป่า จะทำให้ชักช้ามืดค่ำในระหว่างทางได้)
    ๏ พุทโธ พุทโธ หัวใจโตกะรักษาบ่ได้ (รู้จักแต่พุทโธ พุทโธ แต่ไม่รู้จักจิตใจของตัวเอง)
    ๏ ศีลมีมากมายหลายข้อ บ่ต้องรักษาเหมิดทุกข้อดอก รักษาแต่ใจเจ้าของอย่างเดียวให้ดีท่อนั่น กาย วาจา กะสิดีไปนำกัน (ศีลมีมากมายหลายข้อ ไม่ต้องรักษาหมด ทุกข้อหรอก รักษาแต่ใจตัวเองอย่างเดียวให้ดีเท่านั้นกายวาจาก็จะดีไปด้วยกัน)
    เรื่องเล่าเกี่ยวกับหลวงปู่ผาง

    เหล็กไหล
    ดอนแก่นเฒ่าเป็นที่ตั้งของภูผาแดงอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเดิมเคยเป็นเมืองอันรุ่งเรืองมาก่อนในสมัยขอม
    กาลต่อมาเมืองเก่าแก่นี้ได้สลายลงตามกฎของอนัตตา กลายสภาพเป็นป่าดงพงไพร ต้นไม้เถาวัลย์ปกคลุมไปทั่ว จนเป็นป่าดงดิบมานานนับพันๆ ปี
    วันหนึ่ง ขณะที่หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เข้ามาพำนักปฏิบัติธรรม ซึ่งท่านได้เดินธุดงค์มาจากถิ่นต่างๆ มาแล้วหลายแห่ง
    ณ ที่แห่งนี้ ขณะเจริญภาวนา ท่านได้ปรากฏนิมิต
    มีชายสูงอายุแต่งตัวคล้ายเป็นฤๅษี หนวดเครารุงรัง แต่ผิวขาวสะอาด กิริยานอบน้อม เดินมาหาท่าน ในมือถือสิ่งของอันเป็นวัตถุเรืองแสงสีฟ้าปรากฏชัดเจน และได้เข้าถวายวัตถุนั้นกับหลวงพ่อ เมื่อถวายแล้วผู้สูงอายุคนนั้นก็หายไปทันที
    แต่นิมิตยังปรากฏเป็นวัตถุสีนิลเรืองแสงสีฟ้า วางอยู่ตรงหน้า
    เมื่อเห็นอย่างนั้น หลวงปู่ผางกำหนดดูว่า “สิ่งนี้เป็นอะไรกันแน่”
    จิตภายในบอกว่า นี่เป็น “เหล็กไหล” ที่มีอายุเป็นหมื่นๆ ปีมาแล้ว เป็นวัตถุที่ฤๅษีหรือผู้ทรงวิชาในโบราณ เล่นแร่อันลึกลับนี้ด้วยอำนาจฤทธิ์วิทยาคมอันสูงเยี่ยม
    เหล็กไหล เป็นธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้มีฤทธิ์อำนาจทางใจเป็นผู้ประสิทธิ์ขึ้น และมีหลายชนิด แต่ละชนิดเป็นไปตามฤทธิ์อำนาจของผู้ประสิทธิ์ เมื่อกระทำสำเร็จแล้ว ก็มีความภาคภูมิใจ ยึดมั่นอยู่กับสิ่งที่ตนได้กระทำมาแล้วสำเร็จ อันเกิดจากวิชาที่ได้ร่ำเรียนมา ครั้นจะสิ้นอายุขัยของตนก็ได้นำเหล็กไหลชนิดนั้นๆ ไปฝังลงในภูเขาหินหรือภายในถ้ำลึกลับด้วยอำนาจฤทธิ์ทางใจและสัจจะอธิษฐาน เมื่อสิ้นชีวิตลงไปแล้ว จิตที่ผูกพันกับสิ่งของนั้นๆ ก็มาเฝ้าหวงแหน
    ดังนั้นเหล็กไหลจึงมิค่อยมีผู้ใดเป็นเจ้าของนัก ถ้าจะได้มาเป็นสมบัติของตน นั่นหมายถึงต้องมีวิชา ที่เก่งกว่าผู้เป็นเจ้าของเดิมซึ่งเป็นฤๅษีหรือผู้ทรงวิชานั้น
    แต่หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต ได้มา ๒-๓ ก้อน (ลักษณะเป็นก้อน) จิตของท่านกำหนดรู้ข้อแลกเปลี่ยนดังนี้
    ๑. ภูผาแดง ต่อไปขอให้สร้างเป็นวัด เพื่อพระภิกษุสามเณรจะได้จำพรรษา ขออานิสงส์ของบุญ
    ๒. ขอให้สร้างพระเจดีย์หรือจุฬามณี อุทิศกุศลถวายพระพุทธเจ้า และบรรจุเหล็กไหล ๑ ก้อน ในจุฬามณีสถาน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
    ๓. จะมาขอเมตตาบารมีอยู่เสมอๆ จากหลวงปู่ผาง
    ๔. ขอถวายหลวงปู่ผาง ๑ ก้อน (ปรากฏท่านได้นำบรรจุลงในวัตถุมงคล แล้วนำแจกแก่บรรดาพุทธบริษัท)
    ๕. อีก ๑ ก้อน ท่านจะบรรจุในวัตถุมงคล หรือเป็นพระพุทธรูปกริ่งก็ไม่ปรากฏแน่ชัด
    เรื่องนี้จึงปรากฏว่า วัตถุมงคลของหลวงปู่ผาง จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำนาจจิตอธิษฐานและด้วยอำนาจเหล็กไหล ซึ่งเป็นเหรียญรูปไข่และโด่งดังมาแล้วเมื่อ ๑๐ ปี ที่ผ่านมา

    ต้องรักษาความดี
    ทำไมหลวงปู่ผางจึงได้เหล็กไหล อันเป็นวัตถุที่ลึกลับนั้นมาอย่างง่ายดาย
    ถ้าเราทั้งหลายไม่พูดถึง บุญบารมี ของท่านแล้ว ก็เห็นจะยากในการวินิจฉัยในแนวอื่น
    ถ้าผู้ใดมีวัตถุมงคลอันเป็นเครื่องน้อมระลึกถึง ความเมตตาธรรมของท่านแล้ว ควรเก็บรักษาไว้ให้ดี และควรกระทำคุณงามความดีให้ปรากฏในดวงจิตด้วยความเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะบังเกิดผลให้อยู่เย็นเป็นสุข
    แต่ถ้ามีสิ่งของของท่าน แล้วไม่ประพฤติตามแนวทางความดีซึ่งหลวงปู่ผางท่านมิได้ประสงค์... อาจเสื่อม-หายไปได้เหมือนกัน

    วาจาสิทธิ์
    หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เป็นพระคณาจารย์ผู้เคยฝากตายไว้กับบุญบารมีกลางป่าเขา จนสามารถสร้างพลังจิตมหัศจรรย์เป็นที่ประจักษ์
    บางคนที่เป็นศิษย์ กล่าวว่า หลวงปู่ผาง ท่านมีวาจาสิทธิ์มากทีเดียว ถ้าจะกล่าวคำใด ก็ต้องเป็นไปตามนั้น
    หลวงปู่ผาง เคยห้ามในการถ่ายรูป ต้องได้รับอนุญาตจากท่านเสียก่อน
    เรื่องนี้ มีพระภิกษุที่ไม่ค่อยสำรวมรูปหนึ่ง ท่านมาจากวัดใดก็ไม่ทราบ พอท่านมาถึงแล้วอาศัยเป็นพระทันสมัย แขวนกล้องถ่ายรูปเดินอาดๆ เข้าไปยังบริเวณวัด
    ติดตามด้วยลูกศิษย์ประเภทปากแดงๆ คล้ายนกกระจอกนกกระจาบ วี้ดว้าย กระตู้วู้...ลั่นไปหมดในบริเวณ
    พอสนองตัณหาของตนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เดินเข้าไปพบหลวงปู่ผาง ซึ่งขณะนั้น หลวงปู่ผางกำลังสนทนากับพระองค์หนึ่ง
    พระภิกษุทันสมัยนั้นมาถึง ก็ยกกล้องที่แขวนบนคอโตงเตงถ่ายรูปทันที ฉับ...ๆ...ๆ...เข้าให้
    หลวงปู่ผางหันมาพูดว่า
    “พระผีบ้าอันหยังมาถ่ายรูป เป็นบ้าหรือ”
    พอท่านพูดขาดคำ พระทันสมัยตกใจกลัวจนตัวสั่น ต่อมาไม่นาน พระทันสมัยรูปนั้นเกิดเสียจริต เป็นบ้าเป็นบอไปตามวาจาของท่านพูดจริงๆ
    และตั้งแต่บัดนั้นมา หลวงปู่ผางได้ยินข่าวเรื่องนี้เข้า ท่านไม่เคยพูดว่ากล่าวใครอีกเลย แม้จะมีคนมาถ่ายรูปท่าน ท่านก็ไม่พูดอีกต่อไป ปล่อยจิตใจของท่านอย่างสบายๆ เฉย
    ปกติแล้ว หลวงปู่ผางเป็นพระเงียบๆ ถือสันโดษ ยิ้มยากที่สุด จนทำให้ผู้เข้าไปหาท่านเกิดความเกรงกลัว และคิดว่าท่านดุ
    ความจริงแล้ว หลวงปู่ผางเป็นพระที่มีเมตตา วางอุเบกขานิ่งเฉยเป็นนิสัย มุ่งมั่นปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบมากกว่าสิ่งอื่น
    ต่อมาในระยะหลังๆ ท่านได้พยายามเข้าหาผู้สนใจในธรรมะปฏิบัติ ท่านพึงพอใจในผู้ที่จะกระทำความดี
    ถ้าผู้ใดได้น้อมคำถามเรื่องการปฏิบัติแล้ว หลวงปู่ผางจะเมตตาสอนแนะนำเป็นกรณีพิเศษเลยทีเดียว
    หลวงพ่อนิยมนักในเรื่องสัจจะ ถ้าผู้ใดมีสัจจะแล้ว ท่านกล่าวว่า
    “ผู้นั้นย่อมเป็นผู้เจริญ ไม่ทุกข์ยากลำบาก”
    สัตว์ยังรู้จักจรรยา
    ท่านผู้เดินทางไปนมัสการหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต คงเคยได้เห็นมาบ้างแล้วว่าแม้แต่สัตว์เดรัจฉาน ยังรู้จักจรรยาบรรณสงฆ์ได้ดี
    อย่างเช่นไก่ตัวหนึ่ง ที่ได้เข้ามาอาศัยบุญบารมีจากหลวงพ่อ ... ไก่ตัวนี้จะคอยมองดูแขกที่มาเยี่ยมเยือน
    เมื่อแขกผู้เข้ามาพบหลวงพ่อเข้าใจดีว่า การเข้าหาพระหรือเข้ามายังปริวาสสถานที่ควรเคารพ ถอดรองเท้าแล้วหิ้วเดินมาวางตรงบันได ไก่ตัวนี้จะชื่นชอบเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งแสดงออกมาทางกิริยา
    แต่ถ้าแม้ว่าผู้ที่รุ่มร่ามเข้ามาถึงบริเวณที่ควรให้ความเคารพ แต่ไม่ยอมถอดรองเท้า ไก่ตัวนี้จะเข้าสอนมารยาทด้วยการ จิก-ตี ขาของผู้นั้น เหมือนกับจะพูดว่า
    “มาถึงบริเวณที่เป็นปริวาสสถานอันควรเคารพ ทำไมจึงไม่ถอดรองเท้า ถอดซี ถอดรองเท้าซี ๆ ๆ”
    ทั้งจิกทั้งตีเป็นพัลวันทีเดียว ถ้ายังเซ่อไม่รู้เรื่องอยู่อีก ก็ยังต้องเอาให้เจ็บ จิกไปร้องไปให้คนมาบอก ไล่ตามไปจนถึงกุฏิหลวงพ่อเลยเชียวละ
    ครั้นเมื่อถอดรองเท้าแล้ว ไก่ตัวนี้จะหยุดจิกตี กลับไปดูแลต้นทางต่อไป
    ปฏิปทาจริยาอันสงบเยือกเย็น เป็นความสงบระงับด้วย ศีล ด้วยจริยา แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ยังชอบ ยังเข้ามาเป็นบริวารบารมีของท่าน
    นับเป็นสัตว์คู่บุญคู่บารมีโดยแท้ ตั้งแต่จระเข้ที่เป็นสัตว์ประเภทดุร้าย ลงมาถึงไก่ตัวเล็กๆ ก็ได้มาอาศัยร่มบุญของหลวงปู่ผาง แห่งวัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น
    โปรดโยมแม่
    ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านบวชเมื่ออายุมากแล้ว ก็เลยตั้งจิตอธิษฐานว่า เมื่อบวชออกเรือนแล้วจะไม่หวนกลับมาเรือนอีก ต่อมาโยมแม่ของท่านหลวงปู่ได้เจ็บป่วย ท่านทราบข่าวจึงเดินทางกลับไปเยี่ยม ครั้นตกค่ำลง บ้านท่านอยู่ติดแม่น้ำชี ท่านจึงนั่งเรือไปปักกลด ฝั่งตรงข้ามกับบ้านของท่าน ไม่จำวัดที่บ้านโยมแม่ เมื่อถึงเวลาเช้า ท่านจึงมาเยี่ยมโยมแม่ที่บ้าน พอท่านเรียกโยมแม่ โยมแม่ก็ไม่ตอบ คงจะโกรธที่ท่านไม่พักบ้าน พอโยมแม่ท่านเสียชีวิต ท่านจึงนั่งสมาธิส่งจิตดูว่าโยมแม่ท่านอยู่ที่ไหน ปรากฏว่าพบวิญญาณโยมแม่ท่านอยู่ในอบายภูมิ มีไฟเผาไหม้อยู่ ท่านจึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ด้วยอานิสงส์ท่านได้บวช ได้ประพฤติดี ประพฤติชอบ ขออานิสงส์ทั้งหลายทั้งปวงได้โปรดช่วยโยมแม่ของท่านด้วย เมื่ออธิษฐานแล้วปรากฏว่ามีเสาต้นหนึ่งปักลงไปถึงก้นหลุม วิญญาณของโยมแม่ท่านได้อาศัยเสาต้นนั้นปีนขึ้นมาจากอบายภูมิ
    ท่านเมตตาบอกว่าเกิดจากโยมแม่ท่านเข้าใจผิด ยังยึดถือว่าท่านเป็นลูก จึงโกรธที่กลับมาถึงเรือนแล้วไม่พักที่เรือน โดยไม่คิดว่าท่านได้บวชเป็นลูกของพระพุทธเจ้าแล้ว ยิ่งท่านบำเพ็ญเพียรมาก โยมแม่ยิ่งผิดมาก ท่านหลวงปู่จึงเมตตาสอนว่า “มีลูกมีทรัพย์ ก็ใช่ว่าทรัพย์จะช่วยได้ทุกอย่าง แต่มีลูกมีศีลสามารถช่วยในสิ่งที่ทรัพย์ช่วยไม่ได้”
    หลวงปู่ตอบคำถามเรื่องผี
    บางครั้งเมื่อมีคนถามหลวงปู่ว่า เชื่อว่าผีมีจริงไหม
    หลวงปู่ก็ตอบว่า เชื่อมาตั้งนานแล้ว
    เมื่อถามว่า หลวงปู่เคยเห็นผีไหม
    หลวงปู่ตอบว่า เคยเห็นอยู่บ่อยๆ
    และเมื่อถามว่า หลวงปู่คิดกลัวผีบ้างไหม
    หลวงปู่ตอบว่า กลัวอยู่เหมือนกัน เพราะผีพวกนี้มันพูดยากสอนยาก
    แล้วก็ถามว่า ผีมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ผีพูดเป็นด้วยหรือ
    หลวงปู่ก็ตอบว่า ก็ที่กำลังนั่งกำลังถามอยู่นี่แหละคือผีทั้งนั้นเลย
    หลวงปู่สอนเรื่องฤกษ์ยาม
    หลวงปู่สอนไม่ให้เชื่อมงคลตื่นข่าว ไม่ให้เชื่อฤกษ์ยาม แม้ว่าในปัจจุบันการถือฤกษ์ยามนับว่าเป็นเรื่องสำคัญ จะเดินทางประกอบธุรกิจ ขึ้นบ้านใหม่และอะไรหลายๆ อย่าง ต้องมีฤกษ์ถ้าถูกวันอุบาทว์ โลกาวินาศ วันลอย วันจม แล้วต้องงด ควรเป็นวันธงชัย วันอธิบดี และวันฟู จึงจะเป็นมงคล
    มีครั้งหนึ่งคุณนายท่านหนึ่งมากราบหลวงปู่ ปรารภถึงวันเปิดร้านเพื่อประกอบธุรกิจการค้า คุณนายถามหลวงปู่ถึงวันที่จะเป็นมงคลสำหรับการเปิดร้าน หลวงปู่ก็บอกว่าดีทุกวัน เปิดพรุ่งนี้ได้ยิ่งดี คุณนายแย้งว่า วันพรุ่งนี้เป็นวันโลกาวินาศ หลวงปู่บอกว่าไม่เคยได้ยินวันโลกาวินาศ เคยได้ยินแต่วันอาทิตย์วันจันทร์ คุณนายก็เลยเรียนหลวงปู่ว่า
    "เขามีมานานแล้วหลวงปู่ วันธงชัย วันอธิบดี วันฟู นี่ถึงเป็นมงคลเจ้าข้า"
    หลวงปู่ก็เลยถามว่า แล้ววันนี้ล่ะวันอะไร ก็ได้คำตอบจากคุณนายว่าเป็นวันฟู แต่ร้านไม่เรียบร้อยก็เลยเปิดไม่ทัน หลวงปู่จึงได้บอกให้คุณนายลองโยนก้อนหินลงไปในที่ล้างเท้า แล้วหลวงปู่ก็ถามว่า แล้วก้อนหินมันฟูไหม ได้คำตอบว่า "จม" หลวงปู่จึงได้สั่งสอนว่า "ที่ว่าวันฟู มันทำไมจึงไม่ฟู นี่แหละมันฟูไม่จริง"
    นี่แสดงให้เห็นถึงปฏิภาณไหวพริบในการสอนธรรมะของหลวงปู่ สอนให้เห็นของจริง ให้รู้ชัดว่าทุกสิ่งทุกอย่างประกอบด้วยเหตุและผล หินเป็นวัตถุที่จมน้ำมันก็ย่อมจะจมน้ำ ไม่ว่าจะเป็นวันลอยวันฟู ท่านชี้ให้เห็นว่าวันเดือนปี ก็เป็นกาลเวลาไม่มีผลต่อความเป็นอยู่ ความเจริญรุ่งเรืองของเรา แต่การกระทำของเราต่างหากที่จะมีผลต่อตัวเราเอง
    เรื่องมหาน้อยเจ้าปัญหา
    มีครั้งหนึ่งมหาน้อยเป็นชาวอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นมีนิสัยชอบถามปัญหาธรรมกับพระสงฆ์อยู่เป็นประจำ วันหนึ่งได้ไปนมัสการหลวงปู่ที่วัด แล้วถามหลวงปู่ว่า
    "เขาว่าพระกัมมัฏฐานถือธุดงควัตรอย่างหลวงปู่ ไม่รับเงินรับทองและใช้จ่ายรูปิยะวัตถุอนามาสด้วยมือตนเองใช่ไหม?"
    หลวงปู่มองดูหน้ามหาน้อยแล้วถามกลับว่า "ถามทำไม?"
    มหาน้อยตอบ "ก็อยากรู้สิ หลวงปู่ ถึงถาม"
    หลวงปู่ตอบ "ก็ใช่นะสิ"
    มหาน้อยพูดต่อว่า "นั่นก็แสดงว่า หลวงปู่ได้บรรลุธรรมเป็นอรหันต์หมดความอยากแล้วใช่ไหม?"
    หลวงปู่ตอบว่า "เอ้า จะพูดไปอะไรปานนั้น ต้องเป็นอรหันต์เท่านั้นเหรอ จึงจะไม่จับเงิน จับทอง พระคนธรรมดาไม่จับไม่ได้หรือ"
    มหาน้อยพล่ามต่อไปอีกว่า "ผมถามหลวงปู่ เพื่อต้องการทราบว่า หลวงปู่ไม่รับเงินรับทองของอนามาสนั่นน่ะ เพราะหมดความอยากแล้วใช่ไหม ผมถามอย่างนี้"
    หลวงปู่ตอบว่า "ไม่รับเฉยๆ นี่แหละ มันจะเพราะอะไร"
    ปัจฉิมบท
    หลวงปู่ผางเป็นพระสงฆ์ผู้มีจิตใจเมตตาอยู่เสมอ ท่านบำเพ็ญพรหมวิหารธรรม เมตตาบารมีของท่านนี้เป็นกระแสธรรมที่นุ่มนวลเยือกเย็น ในวัดอุดมคงคาคีรีเขต มีบึงเป็นที่อาศัยของจระเข้อยู่แห่งหนึ่ง ทราบว่ามีหลายตัวบางคราวน้ำป่าหลากมามาก ทำให้จระเข้หนีไปอยู่ในถิ่นอื่น หลวงปู่ต้องตามไปบอกให้กลับมาเฝ้าวัดที่บึงแห่งเดิม และจระเข้ก็กลับมาจริงๆ ด้วย
    เล่ากันว่าวันที่หลวงปู่มรณภาพ จระเข้ลอยไปทางด้านเหนือของบึงและร้องเสียงดังอยู่เป็นเวลานาน คล้ายจะบอกให้รู้ว่าหลวงปู่จะจากพวกเราไปแล้ว และเป็นการแสดงถึงความอาลัยอาวรณ์ของสัตว์
    คราวหนึ่งได้มีการสร้างกุฏิในบึงดังกล่าว พวกช่างไม่กล้าลงไปปักเสาในน้ำเพราะกลัวจระเข้ หลวงปู่ต้องลงไปยืนแช่ในน้ำ คอยไล่ไม่ให้จระเข้เข้ามารบกวนพวกช่าง เมื่อถูกถามว่าไม่กลัวจระเข้หรือ หลวงปู่ตอบว่าเลี้ยงมันมาแต่เล็กแต่น้อยจะไปกลัวมันทำไม
    อีกเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพลังเมตตาของหลวงปู่คือ หลายครั้งที่เกิดเหตุไฟป่าใกล้กับบริเวณวัดบรรดาสัตว์ป่านานาชนิดกระเสือกกระสนหนีไฟเข้าไปอาศัยในเขตวัด ส่วนพวกที่หนีไฟไม่ทันเพราะหมดกำลังและยังอ่อนก็ถูกไฟไหม้ตายเป็นกองอย่างน่าอเน็จอนาถ หลวงปู่ย่อมเห็นเหตุการณ์โดยตลอด ด้วยพลังแห่งเมตตาธรรมที่มีอยู่ในใจเป็นเหตุให้หลวงปู่ต้องอดอาหารเป็นเวลาหลายวัน เข้านั่งสมาธิเพื่ออุทิศกุศลผลบุญให้แก่สัตว์ที่ถูกไฟไหม้ตาย
    หลวงปู่ผางเป็นพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยท่านเป็นผู้มีจิตใจเข็มแข็งแก่กล้ามาก ปฏิภาณไหวพริบเฉียบแหลม อีกทั้งวาจาของท่านที่พูดออกมาก็มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นจริงดังคำพูดของท่านเสมอ

    "วาจาสิทธิ์"
    หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เป็นพระคณาจารย์ผู้เคยฝากตายไว้กับบุญบารมีกลางป่าเขา จนสามารถสร้างพลังจิตมหัศจรรย์เป็นที่ประจักษ์ บางคนที่เป็นศิษย์กล่าวว่า หลวงปู่เป็นผู้มีวาจาสิทธิ์มาก ถ้ากล่าวคำใดก็จะเป็นคำนั้น
    หลวงปู่เคยห้ามในการถ่ายรูป ต้องได้รับอนุญาตจากท่านเสียก่อน เรื่องนี้มีพระภิกษุที่ไม่ค่อยสำรวมรูปหนึ่ง ท่านมาจากวัดใดก็ไม่ทราบ พอท่านมาถึงแล้วอาศัยเป็นพระทันสมัย แขวนกล้องถ่ายรูปเดินอาดๆเข้าไปยังบริเวณวัด ติดตามด้วยลูกศิษย์ส่งเสียงดัง...ลั่นวัด พระรูปนั้นเดินเข้าไปพบหลวงปู่ผาง ซึ่งขณะนั้นกำลังสนทนากับพระอีกรูปหนึ่ง พระภิกษุทันสมัยรูปนั้นมาถึงก็ยกกล้องที่แขวนคออยู่ถ่ายรูปทันที...ฉับ...ๆ...ๆ เข้าให้
    ....หลวงปู่ผาง หันมาพูดว่า "พระผีบ้าอันหยังมาถ่ายรูป...เป็นบ้าบ่" พอหลวงปู่พูดขาดคำพระทันสมัยตกใจกลัวจนตัวสั่น ต่อมาพระรูปนั้นเกิดเสียจริต...เป็นบ้าเป็นบอตามวาจาที่หลวงปู่พูดจริงๆ และตั้งแต่บัดนั้นมา หลวงปู่พอได้ยินเรื่องนี้เข้าท่านก็ไม่เคยพูดว่ากล่าวใครอีกเลย แม้จะมีคนถ่ายรูปท่าน ท่านก็ไม่พูดอีกต่อไป ปล่อยจิตใจของท่านอย่างสบายๆ...เฉย
    ปกติหลวงปู่เป็นพระเงียบๆถือสันโดษ ยิ้มยากที่สุดจนทำให้ผู้เข้าไปหาท่านเกิดความเกรงกลัวและคิดว่าท่านดุ ความจริงแล้วหลวงปู่เป็นผู้มีความเมตตา วางอุเบกขา นิ่งเฉยเป็นนิสัย มุ่งมั่นปฏิบัติดีและปฏิบัติชอบมากกว่าสิ่งอื่น ถ้าผู้ใดได้น้อมคำถามเรื่องการปฏิบัติแล้วหลวงปู่จะเมตตาสอนแนะนำเป็นกรณีพิเศษ และที่สำคัญหลวงปู่จะนิยมนักในเรื่อง "สัจจะ" ท่านกล่าวว่า "ถ้าผู้ใดมีสัจจะแล้ว ผู้นั้นย่อมเจริญ ไม่ทุกข์ยากลำบาก"


    bar-red-lotus-small.jpg

    ขอบพระคุณที่มา :- http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-pang/lp-pang-hist-01.htm
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    พระวิสุทธิญาณเถร-หลวงปู่สมชาย-ฐิตวิริโย.gif
    ลี้ลับในดงลึก | เรื่องเล่าพระธุดงค์ | หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย

    100 เรื่องเล่า
    หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย แห่งวัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ท่านขึ้นไปบนภูวัวกับคณะลูกศิษย์อีกหลายท่าน และที่ภูวัวแห่งนี้ก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับลิ่งลี้ลับอีกด้วย พอท่านลงจากภูวัว ก็ได้มาพักจำพรรษาที่บ้านโสกก่าม และได้เดินทางต่อไปที่ภูลังกา พบหมู่บ้านแห่งหนึ่ง และท่านได้เผชิญเปรตสมภารวัด ได้พาชาวบ้านทำบุญ
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ประวัติพระวิสุทธิญาณเถร (สมชาย ฐิตวิริโย)
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    พระวิสุทธิญาณเถร วิ.
    (สมชาย ฐิตวิริโย)

    หลวงพ่อสมชาย
    เกิด 7 เมษายน 2468
    มรณภาพ 18 มิถุนายน 2548
    อายุ 80 ปี 72 วัน
    อุปสมบท 23 มิถุนายน 2489
    พรรษา 60 พรรษา
    วัด วัดเขาสุกิม
    จังหวัด จังหวัดจันทบุรี
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
    วุฒิ พุทธศาสน์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหามกุฏราชวิทยาลัย
    ตำแหน่ง ผู้ก่อตั้ง และอดีตประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม
    25px-Dharma_wheel.svg.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
    พระวิสุทธิญาณเถร
    นามเดิม สมชาย ฉายา ฐิตวิริโย เป็นวิปัสสนาจารย์สายพระป่าในประเทศไทยของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อดีตประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม
    ประวัติ
    หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านเป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ด เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2468 ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีฉลู เวลาเที่ยงวัน ณ หมู่บ้านเหล่างิ้ว ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ในตระกูลที่เป็นชาวฮินดู หลวงปู่สมชาย เป็นบุตรคนที่ 2 ของโยมบิดาชื่อ "สอน มติยาภักดิ์" โยมมารดา "บุญ มติยาภักดิ์" โยมมารดาของท่านเป็นบุตรตรีคนเล็กของหลวงเสนา ศาสนาพราหมณ์ในท้องถิ่นนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเพียง 2 คน คือ 1. นายหนู มติยาภักดิ์ 2. หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย

    หลวงปู่สมชายได้ถือกำเนิดในสกุลของศาสนาพราหมณ์ วันที่หลวงปู่สมชาย กำเนิดนั้น เป็นวันตรงกับเวลาประกอบพิธีทางศาสนา พอเริ่มขบวนแห่ มารดาของท่านให้กำเนิดท่าน ซึ่งทำให้พิธีการทางศาสนาที่กำลังกระทำอยู่ ต้องหยุดชะงักลงด้วยนิมิตหมายอันนี้ คุณตาหรือคุณหลวงเสนาจึงได้ทำนาย ไว้ว่า "หลวงปู่สมชาย จะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงศาสนาเดิมของตระกูล" และก็เป็นไปตามนั้น เพราะท่านมีความสนใจในธรรมะทางพระพุทธศาสนาท่าน ชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาก โดยท่านมีอุปนิสัยในทางธรรมตั้งแต่อายุ 16 ปี ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ในทางฆราวาส จนถึงอายุ 19 ปี ด้วยความ เบื่อหน่ายต่อความเป็นอยู่ของโลก ที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย และ เต็มไปด้วยความทุกข์ไม่เที่ยง ท่านจึงคิดที่จะสละเพศฆราวาสออกบวชในบวรพุทธศาสนาเพื่อแสวงหาความพ้นทุกข์

    อุปสมบท
    ท่านได้บรรพชาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก อายุ 19 ปี ณ อุโบสถวัดเหนือ อ.เมือง จ. ร้อยเอ็ด ดยมีท่านเจ้าคุณ พระโพธิญาณมุนีเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ธรรมยุตเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้ ถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อปลายปี พ.ศ. 2487 ที่ วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    ท่านได้ทำการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดศรีโพนเมือง จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2489 โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ครูบาอาจารย์ที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของ หลวงปู่มั่นทั้งสิ้น โดยเฉพาะพระธรรมเจดีย์นั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโรอีกด้วย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เป็นทั้งลูกศิษย์ หลานศิษย์และเหลนศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภายหลังจากได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว หลังจากประพฤติปฏิบัติธรรม จนเกิดซาบซึ้งในพระศาสนาพอสมควรแล้ว ท่านได้นำเอาธรรมะไปอบรมสั่ง สอนประชาชนในท้องถิ่นเดิมของท่าน ปัจจุบันหันมานับถือพุทธศาสนาจนหมดสิ้น

    สมณศักดิ์
    • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระวิสุทธิญาณเถร[1]
    ละสังขาร
    หลวงพ่อสมชาย เข้ารับการรักษาโรคไตวายเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ จนกระทั่งวันที่ 18 มิถุนายน 2548 เวลา 10.40 น. ได้มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดในปอดสิริอายุ 80 ปี 72 วัน 60 พรรษา
    :- https://th.wikipedia.org/wiki/พระวิสุทธิญาณเถร_(สมชาย_ฐิตวิริโย)
    :- https://palungjit.org/threads/คุณค่าของการทำสมาธิ-หลวงปู่สมชาย-ฐิตวิริโย.636638/
    :-
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2023
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ลี้ลับแรงบุญ กลางทะเลทราย

    thamnu onprasert
    Nov 11, 2021
    พ่อค้ากองเกวียนชาวเมืองปาฏลีบุตรนับร้อย หลงทางกลางทะเลทรายท่ามกลางวงล้อมปีศาจ แต่รอดมาได้เพราะแรงบุญอย่างน่าพิศวง

     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    prachatchaiApivischo.jpg
    อาจารย์ยอด : พระอาจารย์นิค ผจญสิ่งลี้ลับภูเขาควาย [พระ] new

    อาจารย์ยอด
    4.63M subscribers
    Oct 16, 2021
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    LpJarmKnowSelf.jpg
    แก่งผี..หินหลวง

    thamnu onprasert
    Nov 13, 2021
    ประสบการณ์ธุดงค์ป่าลี้ลับของหลวงปู่จาม ท่านได้เล่าไว้ ถึงชะตากรรมของคนขุดสมบัติวัดอุโมงค์ และภูตผีลี้ลับที่แก่งหินหลวงแม่น้ำกกกลางป่าลึก.
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    lp-jarm-pic-01.jpg
    ประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    จากหนังสือพุทธังกุโร มหาปุญโญ
    โดย พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก
    วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง อุดรธานี
    คัดลอกจาก http://www.dhammasavana.or.th
    ตอนที่ ๑
    ต้นตระกูลภูไท บรรพบุรุษของหลวงปู่จาม
    หลวงปู่จาม มหาปุญโญ นามสกุล ผิวขำ มีต้นตระกูลเป็นชนเผ่าภูไท กลุ่มเจ้าครองนคร หรือกลุ่มผู้ปกครอง
    ถิ่นฐานเดิมของภูไท อยู่ที่สิบสองปันนา สิบสองจุไท อาณาจักรน่านเจ้า มีสภาพภูมิอากาศหนาวจัด ต่อมาเมื่อมีประชากรมากขึ้น การทำมาหากินเริ่มอัตคัดขาดแคลน ส่วนหนึ่งได้อพยพมาหาแหล่งทำมาหากินโดยมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองแถง เขตประเทศเวียดนาม ซึ่งอยู่ห่างจากป้อมเดียนเบียนฟูประมาณ ๒๓ กิโลเมตร และที่เมืองอังคำ เขตประเทศลาว
    ต่อมา ภูไทส่วนหนึ่ง ก็ได้อพยพต่อมาหาแหล่งที่ทำมาหากินที่เมืองพิน เมืองพะ-ลาน เขตประเทศลาว ผู้ปกครองลาวสมัยนั้นคือเจ้าอนุวงศ์ ได้เกณฑ์ชาวภูไทไปเป็นทหารเพื่อขยายอาณาจักรและจัดกองทัพเพื่อมารบพุ่งกับชาวไทย (ชาวสยามประเทศ) แต่เนื่องจากชาวภูไทรักสงบ ไม่ต้องการรบพุ่งทำสงคราม จึงอพยพหนีมาอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยข้ามมาทางเรณูนคร มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณดงบังอี่ (คำชะอี หนองสูงในปัจจุบัน) ส่วนกลุ่มที่ข้ามมาทางท่าแขก นครพนมนั้น มาตั้งถิ่นฐานอยู่พรรณานิคม ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๒ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ชาวภูไทได้เข้ามาในประเทศไทย (สยาม) หลายระลอกในหลายรัชสมัยได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่แถวอำเภอกุสุมาลย์ พรรณานิคม วาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร และบางส่วนก็เลยไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคกลางอีกหลายแห่ง ชาวภูไท เรียกตัวเองว่า ภูไท หรือผู้ไท สำเนียงอาจเพี้ยนกันบ้าง จึงอนุโลมเรียกภูไทหรือผู้ไทก็ได้ เพราะเข้าใจความหมายว่า เป็นกลุ่มเผ่าเดียวกันโดยความหมายที่แท้จริง คือ เป็นคนไทย เพราะชาวภูไทเองนั้น ภาคภูมิในความเป็นคนไทย หรือเป็นไท แปลว่าอิสระ รักสงบ


    ภูไทมีภาษาของตนเอง พูดภาษามีสำเนียงหางเสียงท่วงทำนอง ไพเราะน่าฟัง เป็นภาษาไทยแบบภูไท มีขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเอง แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ถ้าหากพิจารณาเห็นว่าดีกว่า เหมาะสมกว่า เมื่อมาอยู่ในประเทศไทย ชาวภูไทมีความรักสามัคคีกัน สำหรับชาวภูไท ตระกูลของหลวงปู่จาม ทางบ้านห้วยทราย เป็นเชื้อเจ้า ทางผู้หญิงอพยพมาจากเมืองวัง เรียนหนังสือเก่ง มีความคิดเฉียบคม ปัญญาเฉียบแหลม มีขุนบรมเป็นบรรพบุรุษต้นตระกูล เมื่อถูกจีนรุกรานจึงอพยพมาเรื่อย ๆ ตามลำดับจากเมืองแถง สู่เมืองวัง เข้าสู่ประเทศไทยตามลำดับ


    ตอนที่ ๒


    วิถีชีวิตชาวภูไทในไทย


    lp-jarm-pic-02.jpg
    ตระกูลภูไทของหลวงปู่จาม มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ เป็นผู้มีปัญญานักปกครอง มีความเด็ดเดี่ยว รักสงบ ไม่รุกราน มีความยุติธรรม


    โดยทั่วไป ประเพณีหลัก จะยกย่องลูกผู้ชายคนแรก (ลูกกก) ให้ดูแลพ่อแม่ แต่ถ้าลูกชายคนแรกไม่มีความเหมาะสม พ่อแม่ก็จะเลือกลูกชายคนสุดท้อง (ลูกหล้า) ให้เป็นหลักของครอบครัว ดูแลเลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่าลักษณะฝากผีฝากไข้ ชาวภูไท ชอบอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่มีลักษณะภูเขาผสมที่ราบ มีป่าไม้ รักธรรมชาติ เพราะมีที่ดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะที่จะทำมาหากิน ใช้ชีวิตเรียบง่าย รักสงบ แต่มีความกล้าหาญสมเป็นนักรบในจิตวิญญาณของชาวภูไท ประเพณีดั้งเดิม นับถือผี นับถือไสยศาสตร์ ถือว่าผีเหล่านั้นเป็นผีปู่ผีย่ามีการบ่วงสรวง เซ่นไหว้ ยึดถือผีปู่ผีย่าเป็นสรณะที่พึ่งโดยไม่ลึกซึ้งคำสอนในพระพุทธศาสนา


    ต่อมาเมื่อ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้จาริกมาบำเพ็ญธรรมแถวภูผากูด และที่อื่น ๆ ในแถบนี้ จึงมีโอกาสได้ศึกษาเรียนรู้ธรรมะจากหลวงปู่ทั้งสองในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นต้นมา ท่านสั่งสอนให้ยึดมั่นในไตรสรณคมน์เป็นหลักใจ คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไว้เป็นที่พึ่งที่ระลึก เป็นหลักในการดำเนินชีวิต ย่อมจะเจริญรุ่งเรือง ทำให้วิถีชีวิตของชาวภูไทเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ความสันติสุขเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ความศรัทธาในพระกรรมฐานจึงมีมากขึ้น ทำให้เกิดสำนักสงฆ์มากขึ้น และเป็นวัดในเวลาต่อมา พระกรรมฐานจึงเพิ่มขึ้นอย่างมาก วิถีชีวิตของภูไทจึงยึดมั่นในแนวทางสัมมาทิฎฐิไว้เป็นหลักใจของชุมชน
    ชาวภูไทที่ได้บวชเป็นพระกรรมฐานที่มีชื่อเสียงมีปฏิปทาน่าเคารพ เลื่อมใสกราบไหว้บูชาเป็นสิริมงคล แก่คนและฟังคำสั่งสอนอบรมย่อมได้ปัญญานำทางดำเนินชีวิตไปสู่ความสุขในปัจจุบันและถ้าหากปฏิบัติตามอย่างจริงจังก็อาจพ้นทุกข์ได้ เท่าที่สามารถทราบได้ขณะเขียนก็ได้แก่ หลวงปู่คำ คมฺภีรญาโณ หลวงปู่กงแก้ว ขนฺติโก ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงปู่เสาร์ และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่กว่า สุมโน หลวงปู่แว่น ธนปาโล เป็นต้น ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงปู่มั่น นอกจากนั้นก็มี หลวงปู่คูณ อธิมุตโม ที่มหาสารคาม ล้วนเป็นเชื้อสายภูไท และพระกรรมฐานรุ่นกลางรุ่นถัด ๆ ไปก็มีอีมาก ผู้เขียนยังหาหลักฐานไม่ทันขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
    ตอนที่ ๓
    กำเนิดเด็กชายจามในตระกูลสัมมาทิฎฐิ
    บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เป็นที่กำเนิดของเด็กชายจาม ผิวขำ เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๕๓ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ
    นายกา และ นางมะแง้ ผิวขำ (ขณะเด็กชายจาม ก่อกำเนิดนั้นยังไม่มี นามสกุล เพิ่งได้รับการตั้งนามสกุลในรัชกาลที่ ๖) เป็นผู้ให้กำเนิดที่มีศรัทธาแรงกล้าต่อหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลวงปู่มั่น ได้มาจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่เสาร์ที่ภูผากูด อำเภอคำชะอี พ่อแม่ได้พาเด็กชายจาม อายุประมาณ ๖ ปี ไปกราบหลวงปู่ทั้งสอง พ่อแม่ให้กราบ เด็กชายจามก็กราบทุกแห่ง และพระกรรมฐานทุกองค์ ตามที่แม่บอก ด้วยความตั้งใจ นับว่าแม่ได้สั่งสอนปลูกฝังนิสัยให้เป็นคนดีตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ จึงกล่าวได้ว่าเป็นตระกูลสัมมาทิฎฐิ ยึดมั่นในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก
    ต่อมาช่วงปี พ.ศ. ๒๔๖๔ บรรดาศิษย์ของหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นจำนวนประมาณ ๗๐ รูป ได้มารวมกันเป็นกองทัพธรรมสายพระกรรมฐานมากเป็นประวัติการณ์ ขณะเด็กชายจาม อายุได้ประมาณ ๑๑ ปี ได้ติดตามพ่อแม่ไปอุปัฏฐากดูแลพระกรรมฐานอย่างใกล้ชิด แม่มะแง้ได้แกงขนุนอ่อนถวายพระสงฆ์ สามเณร แห่งกองทัพธรรมทั้งหมด
    เท่าที่ตรวจดูสอบถามได้มี หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม หลวงปู่ดุลย์ อตุโล หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่กงแก้ว ขนฺติโก หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่แว่น ธนปาโล หลวงปู่กว่า สุมโน หลวงปู่ มหาปิ่น ปญฺญาพโล หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่กู่ ธมฺมทินโน หลวงปู่ดี ฉนฺโน หลวงปู่ซามา อจุตโต หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่เทสก์ เทสฺรังสี หลวงปู่สาม อกิญจโน หลวงปู่เกิ่ง อธิมุตโต หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่คำ คมฺภีรญาโณ เป็นต้น
    การบำเพ็ญสมณธรรมของกองทัพธรรมดังกล่าวได้ใช้ภูผากูดเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น พักประจำอยู่ที่ถ้ำจำปา ต่อมาจึงตั้งสำนักสงฆ์หนองน่องทางทิศใต้ของบ้านห้วยทรายให้เป็นที่รวมประชุมพระกรรมฐานแห่งกองทัพธรรมและบรรดาศิษย์ได้กระจายกันอยู่หาสถานที่วิเวกบำเพ็ญจิตภาวนา ซึ่งมีภูต่าง ๆ บริเวณนั้นมากมาย เช่น ภูผาแดง ภูเก้า ภูจ้อก้อ ภูค้อ ภูถ้ำพระ ภูกระโล้น ภูผากวาง ภูสร้างแก้ว ภูบันได ภูผาบิ้ง ภูกอง ภูผากูด ภูผาชาน ภูเขียว เป็นต้น
    นายกา และแม่มะแง้ ผิวขำ ได้ให้กำเนิดบุตรร่วมอุทรเดียวกันจำนวน ๙ คน ได้แก่ นายแดง นายเจ๊ก นายจาม นายเจียง นายจูม นางจ๋า นายถนอม นายคำตา และนางเตื่อย
    นายแดง ผิวขำ คือโยมบิดาของพระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก นางเจียงได้บวชเป็นแม่ชีตลอดชีวิต นอกจากนั้นก็ได้ให้กำเนิดลูกหลานปลูกฝังอุปนิสัยจนได้บวชใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกหลายคน


    ตอนที่ ๔ lp-jarm-pic-03.jpg
    เรียนรู้ชีวิตปฐมวัย พ่อมอบสมบัติทิพย์ให้
    เด็กชายจามมีอุปนิสัยใจร้อน ใจเร็ว ตัดสินใจเด็ดขาด อดทนมุ่งมั่น มุ่งสู่อนาคต ทำอะไรทำจริง ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนเมื่ออายุ ๙ ปี ที่โรงเรียนบ้านคำชะอี ห่างจากบ้านห้วยทรายประมาณ ๓ กิโลเมตร ได้ขี่ม้าไปโรงเรียนกับเด็กชายเจ๊กผู้พี่ชาย บางวันได้แกล้งพี่ชายให้เดินไปเองเสี่ยงภัยจากเสือ ตนเองได้ควบม้าหนีกลับบ้าน แต่พี่น้องก็รักกัน โดยเฉพาะนายเจ๊กรักเด็กชายจามมาก ทั้งสองพี่น้องมีสติปัญญาดี แต่เรียนได้แค่ ป. ๒ เนื่องจากทางราชการแจ้งระงับการเรียน ของเด็กที่บ้านอยู่ห่างโรงเรียนเกิน ๒ กิโลเมตร เพราะเสือชุกชุมได้กัดคนตายอยู่บ่อย ทั้ง ๆ ที่เด็กทั้งสองรักการเรียน ก็ได้แต่ร้องไห้
    เมื่อเด็กชายจามอายุย่างเข้า ๑๔ ปี ได้มีโอกาสขับเกวียนร่วมขบวน ๕ เล่ม บรรทุกอัฐบริขารและอาหารซึ่งมีนายกา ผิวขำ ผู้บิดาไปกับขบวน หลวงปู่มั่น พาโยมแม่ของท่านและคณะพระสงฆ์สามเณรเดินทางไปโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ขบวนทั้งหมดต้องบุกป่า ฝ่าดงไปด้วยความยากลำบาก แม้กระทั่งหมาที่เดินตามไปถึงกับหมดแรงต้องอุ้มหมาคู่ใจขึ้นเกวียนไปด้วย
    ด้วยความสามารถเฉพาะตัวของเด็กชายจาม ทำให้พ่อกาเชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงให้ขับเกวียนบรรทุกสินค้าต่าง ๆ เช่น ไหม ฝ้าย และของป่าไปขายที่จังหวัดยโสธร เพื่อแลกเกลือ ปลาร้าและของกินนำไปขายที่คำชะอีเพื่อเลี้ยงชีพ
    ต่อมานายจามอายุย่างเข้า ๑๖ ปี นายกาจึงนำไปฝากกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    ก่อนที่หลวงปู่มั่นจะรับฝากได้ถามนายกาว่า “โยมรักลูกไหม”
    ท่านตอบว่า “ยังรักอยู่”
    หลวงปู่มั่นตอบว่า “ถ้ายังรักอยู่ก็ไม่รับ“
    จากคำตอบเด็ดขาดของหลวงปู่มั่นทำให้นายกาต้องคิดหนัก เพราะผิดหวังแต่ก็ยังไม่ย่อท้อ ได้ปรึกษากับหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโมและศิษย์หลวงปู่มั่นท่านอื่น จึงได้รับคำแนะนำว่า
    “ถ้ามอบให้ท่านก็ให้เป็นลูกท่านเลย ไม่ต้องห่วงใย จะสมประสงค์“
    จึงเข้าไปกราบหลวงปู่มั่นอีกครั้งหนึ่งแล้วกราบเรียนว่า ขอมอบนายจามให้เป็นลูกโดยเด็ดขาด จะทำอย่างไรก็แล้วแต่หลวงปู่มั่นจะเห็นสมควร ท่านจึงยินยอมรับฝากตั้งแต่นั้นมา และหลวงปู่มั่นกล่าวยกย่องนายกาว่า
    “มีสติปัญญาดี ตัดสินใจถูกต้อง ไม่เสียแรงที่ได้อบรมธรรมะให้ตลอดที่อยู่ห้วยทราย”
    จึงถือว่าเป็นจุดแปรผันของชีวิตที่สำคัญยิ่งที่พ่อได้มอบสมบัติทิพย์ให้ ด้วยมองเห็นอนาคตอันสดใส
    นายจามได้เป็นศิษย์นุ่งขาวห่มขาวอยู่ประมาณ ๙ เดือน ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ที่บ้านหนองขอน อำเภอบุ่ง (อำเภอหัวตะพาน) จังหวัดอุบลราชธานี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2023
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    ตอนที่ ๕
    ชีวิตสามเณรน้อยที่เด็ดเดี่ยว
    “กลัวจนขี้ขึ้นสมอง” เป็นคำกล่าวเปรียบเปรยคนขี้กลัวผีทั้งหลายที่มักจะมีอาการสั่นเทาทำอะไรไม่ถูก หรืออีกคำพูดหนึ่งว่า “สติแตก” ผู้อ่านคงจะได้ยินมาแล้ว เหตุการณ์ที่จะเล่าถึงสามเณรจามต่อไปนี้ คงจะไม่ถึงขนาดนั้น แต่ใครเล่าอยากจะเอาตัวไปเสี่ยงกับเหตุการณ์นั้น
    คราที่ หลวงปู่มั่น เดินทางจาริกจากไป ท่านได้ฝาก สามเณรจาม อยู่ในความดูแลของ หลวงปู่กงมา หลวงปู่อ่อน หลวงปู่มหาปิ่น เผอิญโยมได้นิมนต์พระเณรไปยโสธร ระหว่างทางต้องแวะพักแรมเป็นเหตุให้เหลือแต่สามเณรสิมกับสามเณรจาม พักปักกลดอยู่ที่ป่าช้า วันนั้นมีการเผาศพคนตาย ๒ ศพ สมัยนั้นต้องใช้สิ่งของอยู่ในป่าต้มน้ำดื่ม ก็ได้อาศัยไม้ไผ่หามศพ มาตัดเป็นกระบอกต้มน้ำดื่มพอพลบค่ำต่างก็เข้ากลด ซึ่งอยู่ห่างกันพอประมาณในป่าช้านั้น
    ความมืดเริ่มเข้ามาเยือน พร้อมกับความเงียบวังเวง อากาศเย็นก็โชยมาตามกระแสลมไม่ได้ยินเสียงผู้คนเพราะหมู่บ้านอยู่ห่างไกลได้ยินแต่เสียงสัตว์บางครั้งก็เสียงแมลงบางชนิดฟังดูมีอาการเย็นที่เท้าที่มือ หลังจากได้สวดมนต์แล้วต่างก็เข้าที่หวังจะภาวนาเอาธรรมะเป็นเพื่อน ความที่จิตยังตื่นกวัดแกว่งประกอบกับสัญญาที่มองเห็นศพที่ถูกเผา สังขารเกิดปรุงขึ้นผสมสัญญาเก่าในเรื่องผี จะภาวนาอย่างไรจิตก็ไม่สงบฟุ้งซ่านพิกล อากาศก็เย็นลงอีกเกิดปวดปัสสาวะขึ้นมาอีก ความรู้สึกก็ทวีมากขึ้นจนท้องแข็ง โผล่จะออกจากกลดเพื่อไปปัสสาวะ จิตก็ปรุงต่อไปอีกว่า


    “ผีมันคงมานั่งเฝ้ากองไฟ ดูการไหม้ของร่างกายของมันแน่ๆ”
    ขยับแล้วขยับอีกก็ปวดหนักขึ้นมาอีก พยายามนิ่งไว้ให้ความปวดทุเลา เปิดมุ้งกลดเอาหัวโผล่ ๓ - ๔ ครั้งไม่กล้าออกจากกลด ครั้นจะเรียกสามเณรสิมออกมาเป็นเพื่อน ก็เกรงเพื่อนจะว่าขี้ขลาดตาขาว
    สามเณรจามตัดสินใจพุ่งตัวออกจากกลดเพราะฉี่จะราดแล้ว น้ำปัสสาวะซึมออกมาแล้ว รีบวิ่งไปที่โล่งแล้วก็ปล่อยออกทันที ด้วยอาการเหลียวหน้าเหลียวหลังเพราะความกลัวจนสุดขีด ปัสสาวะไม่สุดสักที ใช้เวลานานเพราะกลั้นไว้นาน
    ขณะที่น้ำปัสสาวะกำลังออกมา ได้สติดีขึ้นโดยลำดับเกิดปัญญาออกมาว่า
    “เอ ก็ไม่เห็นมีอะไร ผีมาหลอกก็ไม่ทำร้ายให้ถึงตายได้ “
    ถามตัวเองว่า “เรากลัวอะไร”
    และจะหาคำตอบของความกลัวนั้น “ใครทำให้เรากลัว“
    ตาก็มองไปดูที่กองไฟกำลังครุกรุ่นไหม้ศพอยู่ใกล้จะหมดแล้ว เมื่อปัสสาวะสุดดีแล้ว ขณะนั้นความกลัวลดลง แต่ยังหวาดผวาอยู่ จึงตัดสินใจเดินไปดูที่กองฟอน เพื่อให้แน่ใจและจะหาคำตอบของความกลัวนั้น จากนั้นเขี่ยดุ้นฟืนเข้าไปในเตาเผา ซึ่งเป็นเตาเผาศพบ้านนอกก่อแบบชาวบ้านง่ายๆ เมื่อเขี่ยฟืนเข้าไปทั้งสองเตาไฟก็ลุกโพลงขึ้น
    ท่านพิจารณาทบทวนเหตุการณ์ตั้งแต่เกิดความรู้สึกกลัว จนถึงขณะนั้นจึงได้คำตอบว่า
    “ที่กลัวเพราะกลัวจิตตนเองที่กิเลสบังคับให้ปรุงแต่งให้จิตฟุ้งซ่านไป เพราะขาดสติปัญญา กิเลสเข้าครอบงำปัญญา ธรรมะจึงไม่เกิด เมื่อธรรมะเกิดเพราะมีสติปัญญามาทันก็ไม่กลัว”
    ท่านว่า
    “ธรรมะย่อมชนะกิเลส ถ้ามีสติปัญญาพร้อม”
    “กิเลสทำให้เรากลัว เราไม่ได้กลัวผีกลัวจิตของเราที่ปรุงแต่งไปต่างหาก”
    แต่ส่วนลึกของจิตใจยังมีข้อสงสัยว่า
    “ผีมีจริงหรือ“
    จะต้องพิสูจน์แต่ที่แน่ๆ คือ “เราไม่กลัวผี” แล้ว
    ขณะที่สามเณรจามอยู่กับหลวงปู่มั่น สามเณรจามได้มีสหธรรมิกที่เป็นเพื่อนสามเณรด้วยกัน คือ สามเณรสิม (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) และมีศิษย์หลวงปู่มั่นที่จำพรรษาอยู่เท่าที่จำได้คือ หลวงปู่สิงห์ ขนฺยาคโม หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นต้นมา ต่อมาหลวงปู่มั่นจะปลีกตัวออกไปวิเวกที่อื่น จึงฝากสามเณรจามไว้ให้อยู่ในความดูแลของ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม


    lp-jarm-pic-04.jpg
    หลวงปู่สิงห์ ได้เดินทางไปสร้างวัดป่าบ้านเหล่างา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และนำกองทัพเผยแผ่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า สามเณรจามได้ติดตามไปช่วยงานสร้างวัด และได้รับฟังการอบรมธรรมะตามโอกาส ขณะที่ไปเผยแผ่ธรรมะจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม เป็นต้น


    ขบวนกองทัพธรรมนำโดย หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม นั้นมีครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถปัญญาบารมีเฉพาะตัวหลายอย่างแตกต่างกัน หลวงปู่สิงห์ จะเน้นด้านปัญญา ด้านหลักธรรม ไตรสรณาคมน์ เป็นหลัก หลวงปู่ดี ฉันโน จะเน้นด้านกสิณมีฤทธิ์ สามารถปราบความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผี ได้รื้อศาลต่างๆ ที่นับถือผีอยู่เดิม ถ้ามีข่าวว่ามีผีเฮี้ยนที่ไหน ท่านจะเดินทางไปปราบ แล้วสั่งสอนชาวบ้านให้ยึดมั่นไตรสรณาคมณน์ ทำให้สามเณรจามได้สนใจศึกษาทางสมถะภาวนาเพื่อให้มีพลังกสิณ และฝึกฝนจนประสบผลสำเร็จตามที่มุ่งหวัง
    ด้วยความมุ่งมั่นพากเพียรปฏิบัติตามแนวทางพระกรรมฐานอย่างเด็ดเดี่ยว เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สามเณรจามเป็นโรคเหน็บชาถึงขั้นวิกฤติ เพราะได้บำเพ็ญในระดับขั้นอุกฤษฏ์ เพื่อมุ่งสู่ความพ้นทุกข์ในชาตินี้ ทั้งอดอาหาร อดนอน อธิษฐาน อดอาหาร ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน บางช่วงจะออกบิณฑบาต เพื่อฉันเฉพาะวันพระ และอดนอน เพื่อทำความเพียรภาวนา หลายวันติดต่อกันเป็นระยะๆ ตลอดไตรมาส จึงเป็นเหตุให้ร่างกายขาดอาหารและพักผ่อนน้อยเกินไป จนทำให้ร่างกายอ่อนเพลียอ่อนกำลัง คำนึงในใจว่าชีวิตนี้เราคงสิ้นหวังกระมัง
    ตอนที่ ๖
    สามเณรจาม เจอผีจริงเข้าแล้ว
    ชาวบ้านแถวจังหวัดยโสธรสมัยนั้นนิยมเลี้ยงผีเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่ตนเชื่อถือ จะนับถือผีมากกว่านับถือพระ ชาวบ้านได้สร้างศาลผีปู่ผีย่าไว้ในหมู่บ้าน พื้นที่บริเวณใด ชาวบ้านพบว่าผีดุ ก็จะไม่กล้าเข้าไปใกล้ เพียงแต่ให้เครื่องเช่นไหว้บวงสรวงขอให้ช่วยเหลือ
    คราวหนึ่ง หลวงปู่อ่อนเป็นหัวหน้าพร้อมด้วยหลวงปู่กงมา (ขณะนั้นยังเป็นพระหนุ่ม ๆ) พระอื่น ๆ อีก และสามเณรจามได้ติดตามไปเที่ยววิเวกในป่ารกชัฏตามแนวทางพระกรรมฐานที่หลวงปู่เสาร์ และหลวงปู่มั่นได้สั่งสอนและได้ปฏิบัติมา สถานที่ใดที่มีผีดุ ชาวบ้านกลัว ท่านจะไปภาวนาทำความเพียรเพื่อทดสอบฝึกฝนตนเอง หาประสบการณ์ ตลอดจนวิจัยธรรมที่จะเหมาะสมในการละกิเลสอุปาทานทั้งหลาย ในทำนองที่ว่า
    “สถานที่น่ากลัวที่สุดย่อมมีสิ่งที่ดีที่สุด”
    ท่านไม่เคยปฏิเสธว่าไม่มีผีไม่มีเทวดา แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ปฏิเสธ
    คณะจาริกของหลวงปู่อ่อนพร้อมสามเณรจาม ได้เลือกพักปักกลดบริเวณป่ารกแห่งหนึ่ง ที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าผีดุมาก เคยแสดงให้ปรากฏมาแล้วบริเวณใกล้ ๆ ที่เนินที่มีกอไผ่งามลำใหญ่ ไม่มีร่องรอยใครมาตัดฟันเลยแม้แต่บริเวณใกล้เคียงกันนั้นก็ตาม คณะจาริกแสวงธรรมได้ปักกลดอยู่ห่างกันพอประมาณ สามเณรจามอายุประมาณ ๑๖ - ๑๗ ปี กำลังแข็งแรงล่ำสัน อาสาที่จะไปหาฟืนแห้ง ไม้ไผ่แห้งมารมบาตรหรือระบมบาตร เพื่อไม่ให้เป็นสนิม ทำถวายหลวงปู่อ่อนและหลวงปู่กงมา
    เหตุสำคัญอยู่ที่ กอไผ่มีศาลพระภูมิ มีไม้แห้งจำนวนมากจากที่ได้ค้นหาที่อื่นมาแล้ว กอไผ่ยืนตายอยู่เพราะเกิดขุยไผ่หรือไผ่ออกดอกแล้วก็แสดงว่าหมดอายุ แต่ไม่มีรอยใครตัดเลย สามเณรจามจึงไปเรียนถามหลวงปู่ทั้งสองซึ่งยังเป็นครูบาในขณะนั้น ท่านวางเฉย แสดงว่าท่านคงรู้ว่าน่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ก็ได้ หรือไม่กล้าบอกเพราะความจำเป็นก็สุดจะคาดเดาได้
    สามเณรจามก็จัดแจงตัดมาจำนวนเพียงพอที่จะใช้เผา (ระบม) บาตร ขณะที่จะตัดไม้สามเณรจามตะโกนร้องบอกว่า
    “ผีตาปู่เอ๋ย ถ้าอยู่ที่นี่ก็หนีไปก่อนนะข้าต้องการไม้ไผ่ เอาไปเผาบาตร ข้ากำลังต้องการไม้ไผ่อยู่ สูออกไปจากที่นี่ก่อนนะ”
    เย็นวันนั้นเอง สามเณรจามได้ยินเสียงเหมือนเสียงผู้หญิงสาวร้องโอย ๆ โหยหวนเข้าไปในหมู่บ้านแล้วก็กลับไปที่ศาลในป่า จากนั้นก็ได้ยินเสียงอื้ออึงในบ้าน หมาเห่าหอนกันทั้งคืน วันนั้นชาวบ้านก็ไม่เป็นอันนอน เสียงถ้วยโถโอชามกระทบกันก๊องแก๊ง ๆ ชาวบ้านในหมู่บ้านรู้ดีว่าต้องมีใครไปรบกวนผีที่ศาลแน่ ๆ
    พอรุ่งเช้าก็เกิดเรื่องใหญ่ ชาวบ้านแห่กันมากล่าวโทษเผดียงว่า เพราะเหตุที่พระเณรมาอยู่ที่นี่ ทำให้ผีปู่ย่าเดือดร้อนไปรบกวนที่ศาลพระภูมิเจ้าที่ ผีจึงมากวนชาวบ้าน ไม่ได้หลับไม่ได้นอนกัน ขอร้องให้ท่านย้ายไปอยู่ที่อื่นเถิด
    ด้วยเหตุที่ต้องการสถานที่สัปปายะและอาศัยชาวบ้านบิณฑบาตเลี้ยงชีวิต หลวงปู่อ่อนและหลวงปู่กงมา ขณะเป็นพระหนุ่ม ๆ ได้ เดินทางไปหาสถานที่ใหม่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน สามเณรจามทำหน้าที่เฝ้าอัฐบริขารอยู่องค์เดียว จนมืดค่ำก็ยังไม่กลับก็ได้แต่เฝ้ารอ หลังจากสรงน้ำเสร็จก็นั่งผ่ามะขามป้อมจิ้มเกลือฉันไปรอไปในความมืด
    ช่วงระหว่างโพล้เพล้พลบค่ำนั้น สามเณรจามยังไม่ได้เข้ากลดเอาเสื่อปูนั่งฉันมะขามป้อมไปพลาง เริ่มมืดสนิทได้ยินเสียงผู้หญิงร้องไห้คร่ำครวญวนเวียนอยู่แถวศาล ได้ยินเสียงใบไม้ กร๊อบแกร๊บ ต่อมาก็ได้ยินเสียงเหมือนสัตว์หรือหนูวิ่งเข้ามาหา เมื่อใกล้ก็กระโจนเข้ามาใต้เสื่อที่นั่งอยู่ สามเณรจามจึงเอามือตบตรงเสียงนั้น ตะโกนว่า “ มึงเข้ามาทำไม” จึงจุดเทียนขึ้นส่องดูก็ไม่เห็นมีอะไร รอจนดึกหลวงปู่ทั้งสองก็ยังไม่กลับมา จึงดับเทียนไหว้พระนั่งภาวนา
    ครั้นหลวงปู่ทั้งสองกลับมาแล้ว หลวงปู่อ่อนส่งเสียงเรียก “ เณร…เณร” มาแต่ไกลแต่ท่านไม่ตอบ จนกระทั่งใกล้จึงตอบรับว่า
    “ครับผม มีอะไรหรือครับ”
    หลวงปู่อ่อนว่า “คิดว่าเธอนอนหลับแล้ว ยังไม่นอนหรือ”
    พอรุ่งเช้าจึงได้เล่าเหตุการณ์เมื่อคืนนี้ให้หลวงปู่ทั้งสองฟัง ท่านก็พอใจในความกล้าของเณร
    พ่อแม่ครูอาจารย์เสาร์ พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น และศิษย์พระกรรมฐานทั้งหลายที่จาริกไปแสวงหาสถานที่วิเวกเพื่อทำความเพียร เจริญจิตภาวนานั้นก็เพื่อให้เกิดปัญญาในธรรมขั้นสูง ๆ ขึ้นไป ในขณะเดียวกันนั้นก็เพื่ออบรม สั่งสอนประชาชนชาวบ้านที่ไปโปรดทั้งบิณฑบาต และแสดงธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ละทิฏฐิเก่าที่เชื่อนับถือผี ให้หันมายึดในไตรสรณคมน์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นสัมมาทิฏฐิและเป็นหนทางที่จะดับทุกข์ได้ ภูต ผี เทวดาต่าง ๆ ยังมีกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ พอใจก็ให้คุณได้ ถ้าไม่พอใจก็ให้โทษ แต่ไตรสรณคมน์นั้นมีแต่คุณ พระพุทธเจ้าสอนให้ละ โลภะ โทสะ โมหะ และชักจูงให้ชาวบ้านญาติโยมประพฤติปฏิบัติตามจะได้มีสุขและหาทางพ้นทุกข์ในที่สุด
    ชาวบ้านที่มาฟังธรรม รักษาศีล ตามวัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็ยังรู้สึกกลัวผี โดยเฉพาะผู้หญิง เด็ก เรียกว่า “ขวัญอ่อน” เคยมีเหตุการณ์ยามดึกสงัด โยมได้ยินเสียงเสมือนสัตว์วิ่งเหยียบใบไม้บนพื้นดังชอบ ๆ สักพักก็หยุดแล้วก็ดังใหม่ขึ้นอีกมาเป็นระยะ ๆ เสียงตะโกนมาว่า “ช่วยด้วยผีมา” ได้ยินเหมือนขึ้นต้นไม้เมื่อฉายไฟไปยังเสียงก็ปรากฏว่าเป็นตัวบ่างวิ่งหากินในยามค่ำคืน นี่แหละจิตที่กิเลสครอบงำอยู่ปรุงแต่ง ปัญญาธรรมเข้ามาไม่ทันก็กลัว เมื่อรู้อย่างนี้แล้วความกลัวคงน้อยลง ความกล้าคงมากขึ้นจนไม่กลัวเลย
    พระอาจารย์อินทร์ถวาย เคยถามหลวงปู่ว่า “หลวงอา กลัวไหมครับ”
    หลวงปู่ตอบว่า “ไม่กลัวมันหรอก เพราะเขากลัวเราจนร้องห่มร้องไห้แล้ว เราจะไปกลัวเขาทำไม”
    เมื่อน้อมมาพิจารณาเป็นธรรมะจะเห็นได้ว่า ผีในจิตใจของเราร้ายยิ่งกว่าผีภายนอก กิเลสในจิตใจเป็นผีร้ายคอยสิงอยู่ให้จิตใจคิดทำความชั่ว บาปอกุศล แต่ถ้าธรรมะเข้ามาอยู่ในจิตใจเมื่อใดย่อมจะคิดทำความดีทำบุญกุศล หลวงปู่จามจึงพยายามสั่งสอนให้ทำความดีย่อมได้ผลดีตลอดไป
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    ตอนที่ ๗
    นิมิตสิ่งโบราณ


    lp-jarm-pic-05.jpg
    ขณะที่บำเพ็ญธรรมพากเพียรมุ่งมั่นขั้นอุกฤษฏ์ อยู่กับหลวงปู่มั่นที่วัดป่าบ้านหนองขอน อุบลราชธานี สมเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เป็นลูกธรรมแท้ในพระพุทธศาสนา แม้ว่าสุขภาพร่างกายจะไม่เอื้ออำนวยนักก็ตามแต่ก็คุ้มค่าของความพากเพียร


    ผลที่ได้รับทำให้จิตสงบดีขึ้นโดยลำดับ เกิดนิมิตแปลกใหม่ที่ไม่เคยปรากฏและแตกต่างกับผู้อื่นจึงพอใจในผลงานของตน คุ้มค่าที่อดนอนและอดอาหาร


    นิมิตเป็นภาพเจดีย์ปรักหักพังหลายแห่ง พระพุทธรูปเก่าแก่หลายปางมากมาย เนื้อเป็นทองคำบ้าง ทองสัมฤทธิ์บ้าง หินบ้าง ไม้บ้าง ปรากฏซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกิดปีติในสมาธิจนน้ำตาไหล เห็นภาพต้นโพธิ์ ต้นไม้อื่นที่พระพุทธเจ้าบางองค์ที่ได้ตรัสรู้


    ความสงสัยในจิตใจเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับปลื้มปีติในผลงานของการบำเพ็ญสมาธิภาวนา การปฏิบัติแต่ละวันแต่ละคืน เกิดภาพในสมาธิบ้าง เกิดภาพในฝันยามหลับนอนบ้าง แม้ว่าจะเปลี่ยนแนวทางมาพิจารณาปัญญาแต่ปัญญาไม่เกิด จะมีแต่ภาพนิมิตเกิดขึ้นมาแทน จึงเกิดความสงสัยในวิธีการปฏิบัติของตน แต่ความเป็นสามเณรน้อยเป็นเด็ก ๆ อยู่ไม่กล้าที่จะสอบถามหลวงปู่มั่น เพราะเกรงบุญญาบารมีของท่าน ได้แอบถามเพื่อนสหธรรมิกแต่ไม่กล้าเล่าให้ใครฟังเกรงจะเป็นการอวดอุตริหรืออวดความสามารถจึงเจียมตัวไว้


    ระยะหลัง ๆ ที่ได้อุปสมบทเป็นพระสงฆ์แล้ว ได้ธุดงค์ไปแสวงหาสถานที่วิเวกเพื่อภาวนา ก็ได้ปรากฏภาพทำนองนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่เดิมก็คิดว่าเป็นภาพสัญญาที่เกิดขึ้นมาหลอกด้วยอำนาจของกิเลสจึงพยายามแก้ข้อสงสัยนั้นเรื่อยไป แต่เมื่อธุดงค์ไปกลับพบสิ่งปรักหักพังที่วัดเก่าแก่ต่าง ๆ จึงได้แน่ใจขึ้นอีกว่า คงจะเป็นบุญญาบารมีที่ตนเองได้เคยสร้างสมไว้แต่อดีตชาติ


    คำถามที่ถามในใจตนเองว่า เหตุในอดีตคืออะไร เราสร้างบารมีเพื่อจุดมุ่งหมายอันใดแน่


    ทั้ง ๆ ที่เราพากเพียรเพื่อความพ้นทุกข์ในชาตินี้


    ตอนที่ ๘


    ชีวิตวัยหนุ่มเรียนรู้ชีวิตทางโลก


    สามเณรจาม อายุได้ ๑๙ ปี ใกล้จะอุปสมบทแต่ความป่วยไข้เป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น มีอาการหนักขึ้นตามลำดับ จนไม่สามารถออกไปบิณฑบาตได้ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ได้เขียนจดหมายแจ้ง นายกา ผู้เป็นบิดา ได้ทราบอาการป่วยและนายกาจึงขับเกวียนไปรับเพื่อนำมารักษาตัวที่บ้านห้วยทราย


    การรักษาโรคเหน็บชา จะต้องให้กินอาหาร ๓ มื้อหรือมากกว่าเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ด้วยเหตุของการอดอาหารเป็นระยะเวลานานและให้การรักษาด้วยยาพื้นบ้านที่ต้องใช้สุราเป็นกระสายยา จึงต้องให้ลาสิกขาจากสามเณร ทั้ง ๆ ที่ปรารถนาจะอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ในอีกไม่นานนัก การรักษาใช้เวลาประมาณ ๓ ปี โรคเหน็บชาจึงหายขาด


    ช่วงนี้เป็นระยะแห่งการเปลี่ยนแปลงในครอบครัว นายแดงผู้เป็นพี่ชายคนโตได้แต่งงาน จึงแยกครอบครัวไปตั้งรกรากที่บ้านแวง ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปมากน้องชายก็ได้ออกบวชทำให้ขาดกำลังที่จะช่วยทำมาหากินและทำงานต่างๆให้ครอบครัวตลอดจนดูแลน้องๆ อีกหลายคน ภาระอันหนักจึงตกอยู่แก่นายจามที่เป็นหลักให้แก่ครอบครัว


    จนกระทั่งอายุได้ ๒๗ ปี นายกาผู้เป็นพ่อได้ศรัทธาออกบวชเป็นพระ นางมะแง้ผู้เป็นแม่ก็ได้ออกบวชเป็นแม่ชี เนื่องด้วยเสียใจมากที่ลูกชายคนสุดท้องได้เสียชีวิตอีก ทั้งอายุมากแล้วควรหาที่พึ่งและสมบัติทิพย์ในบั้นปลายของชีวิต ดังนั้น นายจามจึงรับภาระหนักขึ้นในการดูแลเลี้ยงดูน้องๆ ด้วย


    ด้วยเหตุนี้เองญาติพี่น้องจึงหมายมั่นจะให้นายจามแต่งงานมีครอบครัวเป็นหลักฐาน มีแม่บ้านมาช่วยเหลืออีกแรงหนึ่ง จึงได้มีการทาบทามหญิงสาวสวยชาวภูไท ญาติผู้ใหญ่ได้ไปขอหมั้นเป็นเงิน ๑๒ บาทตามประเพณีและผู้ชายจะต้องปลูกเรือนหอ ทำไพลหญ้ามุงหลังคาด้วยตนเอง


    นายจามคิดคำนึงถึงภาระอันหนักหน่วง และห่วงที่จะเกิดขึ้นมาผูกคอผูกเท้าผูกมือ แต่ในจิตใจส่วนลึกหวังจะออกบวชเพื่อหาทางพ้นทุกข์ เพราะได้รู้ได้เห็นทุกข์ของการมีครอบครัวและความยากลำบากในการเลี้ยงดู เอาอกเอาใจผู้อื่นอีกหลายคนจะไหวหรือ ในที่สุดจึงไปปรึกษาแม่ชีมะแง้ที่อยู่ภูเก้า (วัดภูเก้า) อำเภอหนองสูง ซึ่งบำเพ็ญธรรมร่วมอยู่กับ แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ


    แม่ชีมะแง้ได้ให้ข้อคิดเป็นแนวทางตัดสินใจด้วยตัวเองว่า


    “ถ้าลูกจะแต่งงานนั้นแม่ดีใจ แต่ถ้าลูกบวชแม่จะดีใจยิ่งกว่า”


    แสดงถึงความมีสัมมาทิฏฐิอย่างแท้จริง นายจามจึงได้นำข้อคิดของแม่มาพิจารณาทบทวน เนื่องจากตามประเพณีเมื่อหมั้นผู้หญิงแล้วถ้าหากไม่แต่งงานจะต้องถูกปรับสินไหม


    นายจามจึงกลับไปปรึกษากับแม่ชีมะแง้อีกครั้งหนึ่งว่า “ แม่อยากจะให้บวชจริงๆหรือ เขาจะต้องปรับถ้าไม่แต่งงานกับเขา” แม่ชีมะแง้ตอบอย่างหนักแน่นว่า


    “ ปรับก็ไม่เป็นอะไรหรอกลูก แม่ยินดีมากๆเลย ที่จะเห็นลูกบวช “


    เหตุการณ์เกิดเกื้อหนุนพอดี นายจูมผู้เป็นน้องชายได้ลาสิกขา มาเป็นกำลังให้ครอบครัว จึงเป็นโอกาสมาแก้ไขวิกฤต ประกอบกับแม่ชีมะแง้ได้เจรจาต่อรองกับฝ่ายหญิงว่าจะบวช โดยไม่มีเจตนาจะหนีหมั้นแต่อย่างใด จึงได้ลดค่าปรับลงเหลือเพียง ๖ บาท


    (สมัยนั้นควายราคาตัวละ ๒ บาท ๕๐ สตางค์) นายจามจึงตัดสินใจบวชโดยเร็ว


    next-page.gif


    lp-jarm-hist-01.gif
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    ตอนที่ ๙
    สงครามหัวใจ

    lp-jarm-pic-06.jpg
    พระอาจารย์พัน โยมบิดาของพระอาจารย์ สวัสดิ์ โกวิทโท ซึ่งเคยบวชเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ขณะเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง พร้อมด้วยแม่ชีมะแง้ แม่ชีแก้ว และญาติได้พา นายจาม เดินทางจากบ้านห้วยทรายเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๔๘๐ เดินเท้ากันไปไหว้พระธาตุพนมที่นครพนม เพื่ออธิฐานขอบวชแล้วเดินทางเรียบแม่น้ำโขง ผ่านสกลนคร เพื่อมุ่งหน้าไปอุดรธานี
    เมื่อถึงบ้านผือได้พบหญิงชื่อบาง เธอได้ชักชวนให้นอนด้วย จะปล้ำเอาเป็นผัว
    “พี่นาคเข้าห้องด้วยกันเถอะ”
    หญิงสาวคนนี้ตามตื้ออยู่หลายวันแม้จะเดินทางต่อไปผ่านบ้านอื่นก็พบหญิงสาวผู้นี้ตามไม่ลดละ
    แม่ชีมะแง้ได้ปรึกษากับแม่ชีแก้วและญาติแล้วเห็นว่าอาจเสียทีเขา
    “กลัวผู้หญิงตะครุบเอาไปเป็นผัวจะต้องบวชให้โดยเร็ว”
    จึงรีบพานายจาม ไปบรรพชาเป็นสามเณรไว้ก่อนที่วัดป่าบ้านโคกคอน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๘๑ เพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเพราะหญิงสาวผู้นี้ในขั้นต้นเสียก่อน
    การเดินทางสมัยนั้น ค่อนข้างยากลำบาก เดินไปกันทางเท้าค่ำไหนนอนนั้น ต้องใช้เวลารอนแรมไปหลายเดือน จะต้องพบปะกับผู้คน เดินทางไปแต่ละแห่งก็ได้พบหญิงสาวหลายแห่งหลายคน ที่บึงกาฬก็พบหญิงสาวขอแต่งงานแต่ไม่หนักหนาเท่าหญิงสาวที่บ้านผือ ได้สอบถามหลวงปู่ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวท่านบอกว่า
    “อดีตชาติเคยเป็นสามีภรรยากันมา” และ
    “เป็นธรรมดาที่เกิดมาหลายชาติ”
    และเหตุการณ์นั้นได้ผ่านพ้นได้อย่างหวุดหวิด อาจเป็นด้วยแรงอธิฐานที่ปรารถนาไว้ จึงมีทางออก ให้สามารถแก้ปัญหาวิกฤติชีวิตนั้นผ่านไปได้ ท่านยิ่งเชื่อมั่นในไตรสรณคมน์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างถึงหัวใจเอาชนะสงครามหัวใจของอำนาจกิเลสได้
    ตอนที่ ๑๐
    แม่วางเส้นทางชีวิต


    lp-jarm-pic-07.jpg
    แม่ชีมะแง้ ได้รับคำแนะนำจาก แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ ผู้เป็นญาติสนิทและพระอาจารย์พัน ได้พร้อมใจกันวางเส้นทางชีวิตให้สามเณรจามโดยจะต้องรีบบวชเป็นพระโดยเร็ว และเลือกวัดที่มีรากฐานทางด้านพระกรรมฐาน ตามที่พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นได้วางแนวทางไว้ตามที่ตั้งใจไว้แต่เดิมนั้น ถูกต้องเหมาะสมแล้วคือ วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เพื่อดำเนินตามรอยทางพระกรรมฐาน ที่มีแหล่งกำเนิดที่ดี และเชื่อมั่นในแนวทางที่จะบำเพ็ญพากเพียร เพื่อที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้ และมีทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป
    ในที่สุดคณะก็ได้ไปถึงวัดโพธิสมภรณ์ การอุปสมบทจึงเกิดขึ้น เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ตรงกับเดือนเกิด อายุเกือบ ๒๙ ปีเต็ม โดยมี พระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่พระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ เป็นอันว่าแม่ชีมะแง้ได้วางเส้นทางชีวิตให้ลูกชายได้สมความปรารถนาแล้ว
    แม่ชีมะแง้และแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ เป็นเพศหญิงย่อมเข้าใจในจริตนิสัยใจคอของผู้หญิงสาวอยู่แล้วอย่างดี จึงใช้สติปัญญาปฏิภาณไหวพริบที่ทั้งสองได้เคยผ่านชีวิตทางโลกมาแล้ว สามารถปกป้องคุ้มครองลูกชายให้ผ่านพ้นสงครามหัวใจ ที่เป็นเหตุการณ์สำคัญถึง ๒ ครั้ง ท่านเข้าใจดีว่า
    “เสือป่านั้นไม่น่ากลัวเท่าเสือบ้าน”
    เสือบ้านคือผู้หญิงจะตะครุบเอาไปกินน่ากลัวกว่าเสือในป่าเพราะเชื่อมั่นว่าบุญบารมีของพระจามนั้นได้สะสมมาแต่อดีตชาติแล้วได้แววมาตั้งแต่เด็กแล้ว ใครเล่าจะรู้จักลูกของตนดีไปกว่าแม่บังเกิดเกล้าคงไม่มีอีกแล้ว
    แม่ชีมะแง้เป็นผู้มีสติปัญญาดี มีไหวพริบปฏิภาณดีมีอุปนิสัยเป็นคนละเอียดช่างสังเกต การปฏิบัติที่แสดงถึงคุณสมบัติดังกล่าว เมื่อคราวหลวงปู่มั่นพาโยมแม่กลับไปจังหวัดอุบลราชธานี ได้แวะพักที่ห้วยทราย เห็นหลวงปู่มั่นเดินหลังจากบิณฑบาตได้แวะไปแบ่งอาหารให้โยมมารดาถึง ๒ ครั้งในวันเดียวกัน แม่ชีมะแง้เห็นอย่างนั้นจึงจัดแจงทำอาหารคาวหวานไปให้โยมแม่หลวงปู่มั่นเสียเอง เป็นที่ประจักษ์ใจท่าน เมื่อหลวงปู่มั่นจะนำอาหารในบาตรออกมาให้โยมแม่ของท่าน โยมแม่ของหลวงปู่มั่นจึงห้ามว่า “แม่แดงจัดมาให้ฉันทานแล้ว” (ที่เรียกว่าแม่แดง เรียกตามชื่อลูกชายคนโต แม่ชีมะแง้มีลูกชายคนโตชื่อแดง) และพฤติกรรมของหลวงปู่มั่นที่ปฏิบัติต่อโยมแม่อย่างนี้เป็นที่ประทับใจและเป็นตัวอย่างอันดี เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งนอกเหนือปฏิปทาอื่น ๆ ของท่านแล้วนั้น ทำให้ชาวบ้านแถบนี้ได้เคารพนับถือด้วยคำเรียกว่า “ญาท่านเสาร์” และ “ญาท่านมั่น”ด้วย
    มีข้อสังเกตกันว่า แม่ชีมะแง้คงจะเข้าใจรู้จักลึกซึ้งในคุณธรรมบุญวาสนาบารมีของ พระจาม ผู้เป็นลูกชายที่อดีตชาติคงได้บำเพ็ญบารมีมามาก จะเห็นจากคุณลักษณะประจำตัวที่เด็ดเดี่ยวทำอะไรทำจริง ประสบความสำเร็จเป็นขั้นเป็นตอนชะรอยจะต้องบวชอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ตลอดชีวิตอย่างแน่นอน เล่ากันว่า แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ คงจะมีส่วนสำคัญในการให้คำปรึกษาเพราะการปฏิบัติเจริญจิตภาวนาของแม่ชีแก้วนั้นเจริญก้าวหน้ารวดเร็ว รู้จักนรกสวรรค์ได้อย่างดี ญาณทัศนะที่ล้ำลึกเป็นสิ่งที่เชื่อมั่นได้และสิ่งที่ปรากฏประจักษ์ในคุณธรรมของ แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ ที่ได้ละสังขารไปแล้ว กระดูกอังคารของท่านกลายสภาพเป็นสิ่งสดใสเสมือนแก้วไปแล้ว ท่านผู้รู้ได้โปรดพิจารณา
    ตอนที่ ๑๑
    วิกฤติสร้างวีรบุรุษ
    เมื่อการบวชได้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย คณะจึงได้เดินทางไปนมัสการปูชนียสถานสำคัญ เพื่ออธิษฐานฝากฝั่ง พระจาม ตลอดจนพระจาม ก็อธิษฐานตนฝากไว้ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ให้ตลอดรอดฝั่ง จึงพากันไปนมัสการ พระธาตุหลวง ที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยผ่านไปนมัสการพระธาตุบัวบกที่บ้านผือ พระธาตุโคกซวก ที่ศรีเชียงใหม่ ข้ามไปยังฝั่งประเทศลาว ความมั่นใจจึงเกิดขึ้นอย่างเต็มหัวใจ คณะจึงมุ่งกลับสู่คำชะอี ด้วยการเดินทางด้วยเท้าไม่มียานพาหนะและคณะมีหลายคนบางคนก็อายุมาก ย่อมทำให้การเดินทางได้ไม่รวดเร็วเท่าที่ควรประกอบด้วยลักษณะนิสัยประจำตัวของพระจามที่มีอยู่เดิมนั้น ค่อนข้างใจร้อนทำอะไรรวดเร็ว เด็ดเดี่ยวอยู่แล้วจึงได้ขอร้องกับคณะที่ไปส่งโดยขอแยกตัวไปเพื่อแสวงหาสถานที่วิเวกเพื่อภาวนาสักระยะหนึ่งจึงจะตามไป
    เมื่อข้ามจากฝั่งประเทศลาวมาไทยแล้ว พระจามจึงขอแยกออกจากคณะเพื่อ มุ่งไปบำเพ็ญจิตภาวนาเพียงองค์เดียว เพราะมีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างเต็มหัวใจ ที่ตนเองได้เคยศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่หลวงปู่มั่นขณะเป็นเณรมาในขั้นอุฤษฏ์แล้ว ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้จากครูบาอาจารย์ผู้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นหลายองค์ เช่นหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม หลวงปู่ดี ฉนฺโน มาแล้วโดยเฉพาะหลวงปู่ดี เก่งทางกสิณพระจามเชื่อมั่นตนเองว่า มีฤทธิ์อำนาจพอที่จะรักษาตนเองได้ตลอดจนเรียนรู้ธรรมเนียมพระธุดงค์กรรมฐานอย่างดีมาแล้ว
    พระจามได้มุ่งสู่ถ้ำพระ อำเภอผือ ปักกลดบำเพ็ญจิตภาวนาระยะหนึ่งแล้วเดินธุดงค์ต่อไปยังถ้ำเกิ้ง ใกล้ภูย่าอู่ เขตจังหวัดอุดรธานี อยู่บนเทือกเขาภูพาน ที่บริเวณนั้นมีเสือชุกชุม เสือแถบนี้เคยกินคนมาแล้ว เมื่อชาวบ้านทราบจึงมีความเป็นห่วงว่าจะถูกเสือตะครุบเอาไปกิน
    ชาวบ้านบอกเล่าว่า มีเสือโคร่งสามารถกินควายวัวคนได้ เสือดาวมักจะกินลูกควายลูกวัวและคนได้ เสือดำมักกินหมาที่ติดตามคนไปแต่ถ้าเข้าใจผิดว่าคนเป็นหมาก็สามารถกินคนได้เช่นกันที่เสือแถวนี้ชอบกินคนเพราะได้เคยกินศพคนเดินทาง มีคณะที่แบกหามสัมภาระไปขายโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเวียดนาม เมื่อใครตายก็ทิ้งศพไว้ในป่าโดยไม่เผาหรือฝัง เสือจะกินซากศพที่ตายใหม่ ๆ รสชาติเนื้อคนคงจะอร่อยทำให้เสือติดใจในรสชาติจึงเป็นสาเหตุที่เสือชอบกินคน
    ชาวบ้านแนะนำว่ากลางคืนต้องอยู่ในกลดอย่าออกมาข้างนอกจนกว่าจะรุ่งเช้า ต้องหากระบอกไว้ปัสสาวะในกลด เสือดำ เสือดาว อาจเข้าใจเป็นหมาก็จะตะครุบเอาไปกิน ถ้าออกมานอกกลด แม้แต่ระหว่างการเดินทางก็ต้องระมัดระวัง
    คืนวันแรกที่ถ้ำเกิ้ง พระจามสวดมนต์ก่อนพลบค่ำจากนั้นก็เข้าภาวนาในกลด โดยไม่ออกมาจนกระทั่งรุ่งเช้าออกไปบิณฑบาตปรากฏว่าคืนนั้น เสือไม่มาหากินบริเวณนั้น เป็นเรื่องที่แปลกประหลาด เมื่อชาวบ้านทราบตอนไปบิณฑบาต ถามเรื่องราวแล้วชาวบ้านตกใจถามว่า “ เสือไม่มาหรือ” ท่านตอบว่า “ ไม่มี “ แต่ชาวบ้านเข้าใจเหตุการณ์ดีจึงพากันไปตัดไม้ไผ่มาปักตามซอกหินที่เงื้อมผาถ้ำเกิ้งนั้นทำคอก ๒ ชั้น และทำไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันเสือทุกชนิด ทำให้พระจามได้ใจชื้นขึ้นจากความรู้สึกที่ชาวบ้านเล่าเหตุการณ์ให้ฟัง
    คืนวันที่สองท่านได้เข้าคอกเข้ากลดสวดมนต์ทำวัดเสร็จเรียบร้อยก่อนมืด พอเริ่มพลบค่ำได้ยินเสียงเสือร้องรับกันเป็นทอดๆแต่ไกลและเสียงร้องใกล้เข้ามาๆ เป็นระยะหลายตัวเสียงดังสนั่นหวั่นไหว จิตเริ่มปรุงแต่งจึงเกิดความกลัวมากขึ้นตามลำดับ รู้สึกกลัวมากขึ้นจนตัวสั่น แม้ยังไม่เห็นตัวก็เพราะเป็นเวลาค่ำมืด ในช่วงวิกฤติตรงที่เสือมาร้องอยู่ที่หน้าถ้ำห่างนิดเดียวที่พึ่งสุดท้ายคือการสวดมนต์ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ท่านบอกว่าเริ่มแรกนั้นตั้งนะโม สวดก็ไม่จบ สวดอิติปิโสก็ไม่ถูก เสือเดินวนไปเวียนมา ได้แต่นะโมเฉยๆ อิติปิโสเฉยๆ เกิดกลัวจนขนพองสยองเกล้า แต่เมื่อเสือไม่เข้ามาตะกุยคอกที่ชาวบ้านสร้างให้ไว้ ก็มีสติขึ้นมา ตั้งสติได้ก็สวดมนต์ได้จนจบ สวดอย่างถี่ยิบเพื่อให้จิตสงบโดยเร็ว เพราะไม่แน่ใจว่าเสืออาจหวนกลับมาเล่นงานก็ได้
    จากนั้นไม่นานจิตก็สงบเป็นสมาธิ ความกลัวหายไปหมด เชื่อมั่นในพระรัตนตรัยอย่างปราศจากข้อสงสัย ต่อจากนั้นก็ปรากฏหัวหน้าเทวดาแต่งตัวสวยงามมาบอกว่า ถ้าต้องการให้ช่วยเหลือก็ให้นึกถึงจะมาช่วยเหลือทันที และบอกบริวารที่เป็นเพศหญิงให้ออกไปจากบริเวณถ้ำเสียก่อนและให้ช่วยปกป้องคุ้มครอง และบอกอีกว่าใกล้ๆมีบ่อน้ำทิพย์ให้ใช้ดื่มกินได้
    วิกฤติชีวิตได้ผ่านไปจากการเสี่ยงภัยจากเสือร้าย ท่านจึงเกิดความมั่นใจ ตอนรุ่งเช้าออกไปบิณฑบาต ก็ได้เดินสำรวจดูรอยตีนเสือมากมายตามทางเดิน แต่จิตใจไม่สะทกสะท้าน จิตใจมั่นคงอยู่กับ “พุทโธ” ตลอดเวลาท่านได้พักภาวนาอยู่ที่ถ้ำนี้ระยะหนึ่งพอสมควรแล้วและเห็นว่าใกล้จะเข้าพรรษา จึงเดินทางกลับไปจำพรรษาที่ห้วยทราย ที่โปรดโยมแม่ชี
    เมื่อพรรษาผ่านไปรู้สึกเป็นห่วงโยมแม่ จะลาสิกขาถ้าตัวเองไม่อยู่ห้วยทราย จึงไปเรียนปรึกษา ว่าจะออกธุดงค์ไปหาวิเวกที่ต่างๆ เป็นระยะเวลายาวนาน แม่ชีมะแง้จึงกล่าวให้เกิดความสบายใจว่า “ไม่ต้องเป็นห่วงใยแม่ เพราะแม่มีหลักใจแล้วขอให้ออกไปแสวงหาธรรมขั้นสูง ณ สถานที่สัปปายะตามรอยพระกรรมฐานเถิด” ต่อจากนั้นพระจามจึงตัดสินใจ ออกหาวิเวก โดยเดินทางไปลาพ่อซึ่งบวชเป็นพระอยู่ที่ภูเก้า เพื่อไปหาพระอาจารย์คูณ อธิมุตโตที่มหาสารคาม หลวงพ่อกา จึงเดินทางไปจำพรรษาที่มหาสารคามเพราะด้วยความห่วงใย
    ตอนที่ ๑๒
    อัศจรรย์เด็กผู้หญิง

    lp-jarm-pic-08.jpg
    เมื่อออกพรรษาญาติโยมได้รับหลวงพ่อกากลับไปห้วยทราย พระจามและสหธรรมิกรวม ๔ องค์ ได้เดินธุดงค์ไปตามป่าเขา ช่วงระหว่างเลยกับเพชรบูรณ์ เพื่อแสวงหาสถานที่วิเวก บนเชิงเขาหินผาได้พบพระธุดงค์ ๒ องค์ จะเดินข้ามดงใหญ่ องค์หนึ่งพึ่งหายป่วยตั้งใจจะข้ามไปอีกฟากเขา พอเดินไปกลางดงก็หมดแรง ขอให้เพื่อนกางกลดให้เพื่อพักอยู่ก่อนโดยขอให้เพื่อนเดินไปให้พ้นดงก่อนมืด แล้วชวนให้ชาวบ้านกลับมาช่วยในวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าในคืนนั้นพระองค์นั้นถูกเสือคาบไปกินเหลือแต่ร่องรอย เป็นอัฐบริขารในกลด สันนิษฐานว่าคงออกไปปัสสาวะข้างนอกจึงถูกเสือคาบเอาไปกิน ส่วนท่านและสหธรรมิกเดินข้ามฟากไปโดยปลอดภัย
    ต่อมาได้ไปพักปักกลดอยู่บนเชิงเขาแห่งหนึ่งใกล้หมู่บ้านเลยวังใส ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ริมแม่น้ำเลย เช้าวันหนึ่งคณะสงฆ์ได้เดินทางออกไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน มีศรัทธาญาติโยมใส่บาตรให้พอสมควรแล้วก็เดินทางกลับไปที่พักปักกลด ได้มีศรัทธาญาติโยมบางท่านติดตามเอาอาหารมาถวายเพิ่มเติม มีเด็กหญิงตัวเล็กๆ ไปด้วยโดยไม่มีพ่อแม่นำไป เด็กหญิงคนนั้นได้นำข้าวและสัปปะรดครึ่งลูกไปถวาย
    ขณะนั้นก็มีการเตรียมอาหารแยกอาหารและกับข้าวเพื่อจัดถวายพระสงฆ์เพื่อเฉลี่ยกันฉันให้ทั่วถึง เด็กหญิงคนนั้นกุลีกุจอจัดอาหารคาวหวานตลอดจนการประเคนอาหารมีความแคล่วคล่องกว่าผู้ใหญ่ การพูดการจาฉะฉานรู้จักวิธีการปฏิบัติต่อพระกรรมฐานอย่างดีกว่าผู้ใหญ่ที่มาถวายด้วย เพราะยังรู้สึกเก้ๆกังๆ ทำอะไรไม่ค่อยจะถูก เด็กหญิงคนนั้นพูดขึ้นว่า
    “ขออภัยด้วยบ้านนี้เป็นบ้านป่าดง ไม่รู้จักพระเจ้า ไม่รู้จักพระสงฆ์ ทำอะไรไม่ค่อยจะถูก”
    ทุกคนรู้สึกประหลาดใจ สะดุดใจ ทำไมเด็กหญิงตัวน้อยๆ พูดจาฉะฉานดีกว่าผู้ใหญ่ รู้ข้อวัตรปฏิบัติของพระกรรมฐานดีขนาดนี้ พระจามและสหธรรมิกรู้สึกแปลกใจ ทั้งๆ ที่ผู้ใหญ่ได้ผ่านโลกมาก็มากผ่านการทำบุญมาก็มาก ทำไมจึงแตกต่างกันถึงปานนั้น ท่านได้นำคำพูดนั้นมาสนทนาพิจารณาทบทวนความสงสัย ในที่สุดก็ลงความเห็นเป็นคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ว่า
    “ถ้าเป็นมนุษย์ก็เป็นโสดาบันมาเกิดใช้ชาติ แต่ถ้าไม่ใช่มนุษย์ก็เป็นเทวดา”
    คณะจึงเดินทางไปบำเพ็ญจิตภาวนาที่ถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย ระยะหนึ่ง การภาวนายังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงเดินธุดงค์ต่อไปยังเพชรบูรณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2021
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    ตอนที่ ๑๓
    ทดสอบจิตใจตนเอง
    คณะสหธรรมิกได้จาริกไปถึงเทือกเขาในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่บริเวณเทือกเขาแห่งนี้เป็นบริเวณที่สัปปายะพื้นที่ลาดลงไปทุ่งนา มีหมู่บ้านไม่ไกลนัก ขณะที่บำเพ็ญจิตภาวนาอยู่ที่นี่
    สหธรรมิก ๑ องค์เป็นไข้มาลาเรียอาการหนักไม่สามารถรักษาได้เพราะอยู่ห่างไกล แม้จะใช้ยาพื้นบ้านก็ไม่สามารถรักษาให้อาการทุเลาได้เป็นเหตุให้เสียชีวิต
    ส่วนอีก ๑ องค์เกิดได้มีศรรักปักอกเพราะได้พบรัก จึงลาสิกขาบทไปแต่งงาน
    จึงเหลือเพียง ๒ องค์ มุ่งทำความเพียรที่นั่นต่อไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะหาทางพ้นทุกข์ การบำเพ็ญพากเพียรไม่เกิดผล เพราะเหตุสหธรรมิก ๒ องค์ต้องลาจากไปด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้จิตใจสับสนกระวนกระวายภาวนาหลายคืนจิตไม่สงบ มีแต่ร้อนรนรุ่มร้อน
    พระจามได้นึกถึงวิธีการสั่งสอนฝึกจิตที่ พระพุทธเจ้า ตอบสารถีผู้ฝึกม้า ควรจะทำอย่างไรกับม้าที่ฝึกยาก ม้าที่ฝึกยากเปรียบเสมือนจิตของคนเราที่จะต้องฝึกฝนทรมานอย่างเหมาะสมกับจริตนิสัยของตน ท่านจึงหาวิธีทดสอบจิตที่ดื้อมากขณะนั้นทั้ง ๆ ที่เคยทำได้และสูญหายไป ฝึกใหม่ก็ไม่ยอมลง แสดงถึงจิตตนเองมีความดื้อมากขณะนั้น
    ช่วงนั้นระหว่างเดือน ๙ เดือน ๑๐ ฝนกำลังตกหนักน้ำไหลจากภูเขา ไหลตามลำห้วยลงมาในทุ่งนาท่วมเอ่อเป็นบริเวณกว้างต้นข้าวกำลังงอกงามดี เกิดความคิดขึ้นมาว่า เอาละคราวนี้จะลองภาวนาในน้ำ เพื่อแก้ความร้อนรนในจิตใจ เอาความเย็นเข้าแก้ไข และแก้สติที่ชอบเผลอหลับขณะภาวนาเสมอ
    เมื่อคิดได้เช่นนั้นจึงตั้งจิตอธิษฐานไม่นอน จะภาวนาในอิริยาบถนั่ง จึงลงไปภาวนาในทุ่งนา โดยแช่ตัวในน้ำ บางคืนตั้งแต่ ๓ ทุ่มบ้าง ๔ ทุ่มบ้าง จนถึงตี ๔ หรือตี ๕ แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละคืน พระจาม กับสหธรรมิกอีก ๑ องค์ จำพรรษาอยู่ที่นั้นตลอดไตรมาสโดยชาวบ้านได้สร้างเสนาสนะให้ชั่วคราว
    ท่านได้บำเพ็ญความเพียรอย่างเอาจริงเอาจัง บางครั้งก็หลับขณะนั่ง หลับขณะยืน หลับขณะเดินจึงแก้ไขการหลับในน้ำกลางทุ่งนา นั่งในน้ำอยู่ระดับคอหอยพอดี ถ้าหลับสัปหงกหัวทิ่มลงมาน้ำจะเข้าจมูก หน้าแช่น้ำพอรู้สึกว่าจะสำลักน้ำตาย ก็โผล่ขึ้นมาหายใจ ปฏิบัติอยู่อย่างนี้อยู่หลายคืนเว้นบ้าง ถ้าขณะภาวนาตัวลอยขึ้นก็จะใช้มือจับต้นข้าวไว้ เพื่อให้ตัวจมไว้ในระดับที่ต้องการ ทำให้การบำเพ็ญจิตภาวนาได้ผลดีขึ้นพอสมควร
    เมื่อจิตสงบก็พิจารณาไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาธาตุสี่ ดินน้ำลมไฟ พิจารณากายานุสติ พิจารณาอสุภะอสุภังว่าร่างกายนี้ไม่สวยไม่งาม ปัญญาทางธรรมยังไม่เฉียบคมพอที่จะตัดกิเลสออกได้แม้แต่กิเลสหยาบหรือกลาง แล้วกิเลสขั้นละเอียดจะหลุดออกจากจิตใจได้อย่างไรเกิดความสงสัยตัวเองอย่างบอกไม่ถูก เมื่อจิตออกจากสมาธิก็เร่าร้อน จึงต้องหาสาเหตุว่าทำไมจิตจึงร้อน ถามใจตนเอง ต้องค้นหาความจริงให้ได้
    ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ที่ตั้งไว้แน่วแน่ที่จะต้องให้หลุดพ้นในชาตินี้ให้ได้ จึงทรมานจิตอย่างหนักหน่วงอย่างต่อเนื่อง ผลการปฏิบัติแม้ว่าจะไม่ได้ผลเท่าที่ตั้งใจไว้ก็ตาม แต่ก็ยังเกิดความรู้ขึ้นเกือบทุกครั้งที่เกือบตาย เกือบขาดใจ ทำให้เข้าใจแจ่มแจ้งถึงหน้าที่ของกายกับจิตนั้นแยกกัน จิตไม่อาจบังคับกายได้ทุกอย่าง จิตจะบงการการให้ทำงานตามที่ธรรมชาติสร้างไว้ให้ กิเลสจะคอยปิดบังให้จิตหลงว่าเป็นเจ้าของกาย จึงหวงกายเป็นที่สุด แท้จริง กายไม่ใช่ของใจ ใจเพียงอาศัยกายอยู่ กายตายได้แต่ใจไม่ตายแต่กิเลสบังไว้ พระพุทธเจ้าจึงให้พิจารณาไตรลักษณ์คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
    บางคืนจิตสงบเป็นสมาธิก็เกิดนิมิตภาพเดิม ๆ อีก เห็นพระพุทธรูปมากมาย วัดร้างต่าง ๆ ที่ชำรุดผุพัง ต้นโพธิ์ เกิดความรู้สึกขึ้นว่าได้เกิดหลายชาติ มีส่วนในการสร้างสิ่งที่ปรากฏในนิมิตนั้น บางคืนเกิดญาณทัศนะรู้อดีตชาติแบบลาง ๆ แต่ย้อนไปหลายชาติ แม้กระทั่งบางชาติเคยตกนรก บางชาติเคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
    เมื่อออกพรรษาได้ระยะหนึ่งท่านจึงจาริกต่อไป ด้วยการเดินทางตามป่าเขาลัดเลาะไป ณ สถานที่ต่าง ๆ ค่ำที่ไหนก็หาที่พักปักกลดภาวนา ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง เรื่อย ๆ ไปมุ่งไปเหนือ
    ตอนที่ ๑๔
    แสวงหามัชฌิมาเพื่ออริยมรรค


    lp-jarm-pic-09.jpg
    พระจามเดินธุดงค์ไปยังเชียงใหม่ ได้ปักกลดบำเพ็ญภาวนาทำความเพียรบริเวณที่เนินเขาแห่งหนึ่งใกล้แม่งัด การภาวนายังไม่ก้าวหน้าจิตจะดิ้นรนแส่ส่ายออกไปภายนอกอยู่ตลอดเวลา จิตจะปรุงแต่งไม่ยอมสงบ แม้ว่าจะผ่านการทดสอบจิตใจอย่างเข้มข้นมาแล้ว เป็นปัญหาหนักที่ท่านต้องเอาไปขบคิดอย่างหนัก ต้องหาทางออกที่เหมาะสมเป็นอย่างไรแน่ ท่านหวนคิดถึง แนวคำสอนของหลวงปู่มั่น ที่ตนต้องค้นหาแนวทางที่เหมาะสม หาความพอดีของตนเอง แต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านได้ทบทวนแนวคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ได้ไปพบปัญจวัคคีย์ พระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จึงเกิดความคิดขึ้นว่าเราเองทดลองมาสมควร ยังหาจุดสมดุลของจิตยังไม่ได้ กระนั้นเลยเราต้องหาจุดที่เป็นมัชฌิมาเฉพาะตนให้รู้แจ้งให้ได้ มิฉะนั้นจะดำเนินไปสู่อริยมรรคไม่เกิดผล เกิดความเชื่อว่าจะหามัชฌิมาที่นี่แหละคราวนี้
    วันหนึ่งได้ไปสรงน้ำที่ริมน้ำแม่งัด เหลือบเห็นขอนไม้จมอยู่ใต้น้ำ เกิดสะดุดใจขึ้นว่า เราต้องใช้ขอนไม้นี้เป็นครูสอนจิตของเราที่ดื้อด้านนัก จึงพิจารณาท่อนซุงจมน้ำ ซุงเขาคงไม่รู้จักร้อนไม่รู้จักหนาวอยู่ของเขาเฉย ๆ แม้น้ำจะไหลแรงก็เฉยความรู้เกิดขึ้นว่านั้นคือธรรมชาติของเขา เมื่อน้อมนำมาสู่จิตของตนเองก็เกิดปัญญาฉุกขึ้นว่า เราคงต้องวางเฉยไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ต้องอยากได้ใคร่ดี จะภาวนา “พุทโธ” อย่างเดียวจิตจะสงบหรือไม่ก็ไม่สนใจไม่ต้องการใด ๆ ไม่รู้สึกใด ๆ เป็นแบบซุงไม้จมน้ำ จิตเราก็จมอยู่ในกิเลสก็เป็นทำนองเดียวกันนั้นแหละ
    ต่อจากนั้นท่านก็จัดแจงนุ่งผ้าให้กระชับเพื่อไม่ให้หลุดลงน้ำแล้วตั้งจิตอธิษฐาน แล้วดำลงไปใต้ซุงเอามือค้ำซุงไว้บริกรรม “พุทโธ” จนสุดกลั้นลมหายใจก็โผล่ขึ้นมาหายใจ ต้องการรู้ว่าจิตจะเป็นสภาพอย่างไรขณะกำลังจะหมดลมหายใจ ขณะใจจะขาดจะเป็นอย่างไร
    ปัญญาได้เกิดขึ้น ขณะที่ลมหายใจจะหมดกำลังจะขาดใจ จิตจะรวมลงเป็นสมาธิเป็นระยะ ๆ จะดำน้ำได้นานขึ้นเรื่อย ๆ เพราะขณะที่จิตรวมเป็นสมาธิได้ลมหายใจจะแผ่วเบาต้องการอากาศไปใช้น้อยลงเกิดความรู้ความเข้าใจความสัมพันธ์สามัคคีกันของจิตกับกาย สติ สมาธิ ปัญญา มารวมกันแนบแน่นเป็นเอกัคคตารมณ์ มีพลังมาก จึงเข้าใจอำนาจของจิต ความรู้แจ้งเกิดขึ้นว่านี้คือ มัชฌิมาของตนเฉพาะมีพลังแรงมาก เดินทางปัญญาได้แล้ว
    ท่านเกิดความมั่นใจว่าตนเองดำเนินตามแนวทางปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว คงจะสามารถบรรลุธรรมขั้นสูง หลุดพ้นได้ในชาตินี้กระมัง เกิดปีติอย่างแรงกล้า หารู้ไม่ว่าเป็นวิปัสนูปกิเลส ที่หลอกให้หลงทางเสียอีกแล้ว จึงมุ่งมั่นภาวนาเดินทางปัญญาหนักขึ้น เพื่อพิจารณาสติปัฏฐาน เอาอริยสัจสี่ มรรคแปด มาดำเนินไปแต่ผลที่ได้ยังไม่เป็นที่พอใจ กลับมีสัญญาเกิดขึ้นเป็นนิมิตแบบเดิม ๆ
    ท่านหันมาพิจารณาในนิมิต โดยตั้งใจใหม่ว่า ถ้านิมิตจะเกิดก็ให้เกิด เราจะดูให้รู้เฉย ๆ เกิดก็เกิดไป เราจะรู้เขาเท่านั้น โดยไม่เอาจิตตามเหมือนที่เคยทำมาแล้ว เราจะวางจิตเป็นกลางไว้เสมือนท่อนซุงที่จมอยู่ในน้ำ กิเลสจะหลอกก็หลอกไปดูซิว่าจะมีฤทธิ์เดชสักแค่ไหน ในที่สุดนิมิตที่เกิดขึ้นนั้นมีปัญญาเกิด เพราะญาณทัศนะเกิดขึ้นบอกชัดว่าอดีตชาติตนเองเสริมสร้างบารมีไว้มาก นิมิตภาพเหล่านั้นชัดเจนว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมสร้างไว้หลายต่อหลายชาติมาแล้วดังนั้นจึงปรากฏให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก จิตส่วนลึกว่าเราอาจไม่ใช่จะเป็นสาวกที่สามารถหลุดพ้นอาสวะกิเลสได้เพราะการอธิษฐานไว้เดิมคงไม่ใช่เสียแล้ว
    ตอนที่ ๑๕
    เหตุการณ์ประหลาด


    lp-jarm-pic-10.jpg
    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังจากได้แยกกับหลวงปู่สิมไปแล้ว จึงไปพบหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ธุดงค์ไปด้วยกันตามภูต่าง ๆ ที่ชาวเขาอาศัยอยู่ ได้ระยะหนึ่งก็ได้แยกทางกันธุดงค์ไปตามลำพังหลวงปู่ชอบได้ธุดงค์ไปตามหมู่บ้านชาวกระเหรี่ยงไปเรื่อย ๆ ส่วนหลวงปู่จามก็เดินธุดงค์ไปตามลำน้ำแม่ขาล ได้ไปปักกลดอยู่ที่ถ้ำใกล้หมู่บ้านหาดเสียวสะเมิง บริเวณถ้ำมีโพรงลึกเข้าไปมีรอยตีนเสืออยู่บริเวณถ้ำ ชาวบ้านเรียกว่าถ้ำเสือนอน


    หลวงปู่จามได้พักอยู่ในถ้ำนั้นระยะหนึ่งจึงเดินธุดงค์ต่อไป ระยะทางที่จะไปยังมีหมู่บ้านท่ากระถิน ซึ่งไกลมากต้องใช้เวลาเดินทาง ๑ วันเต็มๆ หลังจากฉันอาหารแล้วก็พักผ่อนพอสมควร เมื่อตะวันตรงหัวก็เริ่มเดินทางไปยังหมู่บ้านดังกล่าว


    ขณะเดินทางไป ได้พบทหารยามที่อยู่บนคบไม้ เพื่อตรวจการเข้ามาของเครื่องบินพันธมิตรที่ตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ในพม่า ทหารยามเห็นพระธุดงค์เดินมา จึงลงจากคบไม้และนิมนต์ให้พักและขอเครื่องรางของขลัง แต่หลวงปู่จามไม่มีอะไรจะให้เผอิญมีรูปถ่ายของท่านที่ทำใบสุทธิเหลืออยู่ ๑ รูป จึงมอบให้ทหารไทยคนนั้น ประมาณ ๔ โมงเย็นจึงได้เดินทางต่อไป ตามแนวทางเดินเป็นสภาพป่าดงดิบสลับห้วย ต้องเดินลัดเลาะไปตามลำห้วยขึ้นดอยลงดอย เพื่อมุ่งไปสู่บ้านเป้าหมาย คือบ้านท่ากระถิน ไปทาง อ.สันป่าตอง ขณะเดินทางตะวันได้ตกดินไปแล้วแต่ สิ่งที่น่าประหลาดใจว่าทำไมตามทางเดินไปนั้นไม่มืดเห็นทางสว่างตลอด เห็นต้นไม้ได้ชัดเจนเห็นสัตว์ป่าวิ่งตัดหน้า ทั้ง ๆ ที่เป็นข้างแรมไม่เห็นดวงจันทร์ ใช้เวลาเดินทางไปจนเมื่อยล้าก็พักผ่อนตามทาง เมื่อกระหายน้ำก็แวะตักน้ำดื่มตามลำห้วย เกิดความสงสัยว่าเหตุใดจึงสว่างไสวเช่นนั้น ยังหาคำตอบไม่ได้


    การเดินทางในคืนนั้นปรากฏว่ามาถึงทางสามแพร่ง ไม่แน่ใจว่าทางใดจะไปสู่บ้านท่ากระถิน จึงได้หยุดพิจารณาดูแต่ไม่แน่ใจ จึงหลับตาตั้งจิตอธิษฐานว่าเส้นทางใดจะไปสู่บ้านท่ากระถินก็ให้จิตใจอยากไปทางนั้น หลังจากอธิษฐานเสร็จ จิตก็บอกให้ไปทางซ้ายมือปรากฏว่าถูกทาง พอเดินไประยะหนึ่งก็พบลำห้วยจึงข้ามห้วย ขณะนั้นก็มืดลงทันทีมองไม่เห็นสิ่งใดต้องใช้มือคลำทางไป รู้สึกแปลกใจอย่างมาก


    ขณะนั้นมีไม้ขีดไฟเหลืออยู่เพียง ๒ ก้าน ไม่มีไฟฉายไม่มีเทียน เพราะใช้หมดแล้ว จึงตัดสินใจเอาไม้ขีดมาจุด เพื่อดูทางไปได้ เห็นต้นไม้ถูกฟันเปลือกออกแสดงว่าใกล้หมู่บ้านแล้ว จึงใช้มือคลำต้นไม้เพื่อแหวกทางเดินต่อไปอีกระยะหนึ่งก็ได้กลิ่นควันไฟ จึงแน่ใจว่าคงจะพบคนบริเวณไม่ไกลนัก ได้ยินเสียงชาวบ้านคุยกันจึงมุ่งตรงไปยังเสียงนั้น


    ต่อมาได้เห็นชาวบ้านออกมาผิงไฟเพราะอากาศหนาวจัด จึงมุ่งตรงไปหา ชาวบ้านแตกตื่นคิดว่าเป็นคนร้ายจึงได้ถือมีดไม้ออกมา พอรู้ว่าเป็นพระจึงนิมนต์เข้าไปในบ้านปรากฏว่าเวลาขณะนั้นประมาณตี ๔ เศษใกล้สว่าง ชาวบ้านต่างแปลกใจว่าท่านมาได้อย่างไรเพราะตามเส้นทางมีเสือชุกชุม ถามท่านว่า


    “ไม่พบเสือหรือ”


    ท่านตอบว่า “ไม่เห็นเพียงได้กลิ่นเยียวเห็นรอยเยี่ยว”


    ทำให้ชาวบ้านแปลกประหลาดใจทั้ง ๆ ที่เดือนมืด ชาวบ้านจึงนิมนต์ไปพักผ่อนที่บ้านระยะหนึ่ง นอนได้ถึงแปดโมงเช้า ชาวบ้านก็นำอาหารมาถวาย ชาวบ้านได้ทำที่พักให้พัก อยู่ ๗ วันท่านจึงลากลับ


    ด้วยความสงสัยยังไม่หายข้องใจว่าทำไมจึงสว่างตามทางเดินทั้ง ๆ ที่เป็นเวลาค่ำคืนเดือนมืด ท่านจึงเดินทางตอนกลางวันย้อนกลับไปยังบ้านหาดเสี้ยวอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้รับความกระจ่างจนถึงบัดนี้ใช้เวลาเดินทางตั้งแต่ประมาณ ๗ โมงเช้าถึง ๕ โมงเย็นจึงถึงบ้านหาดเสี้ยว


    ตอนที่ ๑๖


    ผีสางเทวดา


    lp-jarm-pic-11.jpg
    หลวงปู่จามเดินธุดงค์ไปริมแม่น้ำกก เชียงราย เดินดุ่มไปองค์เดียว เพื่อวิเวกแสวงหาธรรมขั้นสูง ในพื้นที่ธรรมชาติป่าเขาลำเนาไม้ ริมแม่น้ำกก ที่เชิงดอยมีถ้ำขนาดเล็กพออาศัยพักพิงทำความเพียรได้เพียงองค์เดียว


    หลังจากที่ท่านได้ทดสอบจิตใจ ทดสอบวิธีการฝึกฝนอบรมจิตใจของตนเอง ณ สถานที่สัปปายะต่าง ๆ มาโดยลำดับแล้ว ก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ มิอาจแสวงหาคำตอบข้อสงสัยได้จึงเลือกสถานที่ใหม่ เพื่อทดสอบแสวงมัชฌิมาอันเป็นทางสายกลางที่จะเดินอริยมรรคเพื่อให้จิตละกิเลสตัณหาอุปาทานออกไปจากจิตใจให้ได้
    การบำเพ็ญจิตภาวนาที่บริเวณถ้ำริมแม่น้ำกก ท่านได้ทำความเพียรอย่างแกล้วกล้าแต่จิตก็ไม่สงบ แส่ส่ายออกไป มีแต่สัญญาเข้ามาและปรุงแต่งออกไปอย่างกว้างขวางจนถึงกับท้อใจบ้างในบางเวลาแม้จะพิจารณาธรรมด้วยสติปัฏฐาน เอาอริยสัจมาเป็นข้อธรรมเพื่อเดนอริยมรรคมีองค์แปด ก็เกิดสับสนในจิตใจ ปัญญาไม่เกิดสว่างไสวเท่าที่ควร
    ท่านจึงเกิดความสงสัยว่าจะอำนาจอื่นหรือพลังอื่นเข้ามาขวางกัน ไม่ให้ความเพียรที่ทำนั้นเกิดผลหรืออย่างไร ท่านจึงตะโกนออกไปว่า
    “เทวดา ยม ยักษ์ นาค มารบกวนทำไมอยากจะตกนรกหรือ”
    ต่อจากนั้นท่านก็บริกรรมพุทโธต่อไปอีกไม่นานจิตก็สงบ เห็นพญานาคโผล่มาในนิมิต มาบอกว่าไม่ได้เกี่ยวข้องไม่มีส่วนในการรบกวนใดๆ
    “การไม่สงบเพราะจิตใจของท่านเองต่างหาก”
    ท่านจึงหวนมาพิจารณาในจิตท่านว่า
    “ชะรอยจะไม่ใช่บำเพ็ญตนมาเพื่อตัดกิเลสแต่เพียงผู้เดียวเสียแล้ว คงจะได้ปรารถนาเป็นพระพุทธ องค์หนึ่งในภายภาคหน้ากระมัง”
    เป็นการตอกย้ำความมั่นใจของตนเองว่า ชาตินี้เราคงบรรลุมรรคผลนิพพานไม่ได้เสียแล้ว


     

แชร์หน้านี้

Loading...