หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    ตอนที่ ๑๗
    เทพเป่าและนำทางไป

    lp-jarm-pic-12.jpg
    หลวงปู่จาม ธุดงค์องค์เดียวจากเชียงรายไปอำเภอแม่สาย เพื่อมุ่งไปสู่อำเภอพร้าว ระยะทางไกลมากต้องอาศัยเดินลัดตัดดอยข้ามดอยไปจะใกล้กว่าเดินทางตามทางราบ ท่านจึงบากบั่นมุ่งหน้าไปอย่างไม่ลดละ จากบ้านหนึ่งกับบ้านหนึ่งระยะก็ห่างกัน ค่ำก็ปักกลดพักภาวนา บางวันก็ได้ฉันอาหารบางวันก็ไม่ได้ฉันเพราะไม่มีหมู่บ้านจะไปบิณฑบาตได้ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียแต่จิตใจไม่ท้อถอยคงมุ่งมั่นบากบั่นตามที่ตั้งใจไว้จนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ก็ปักกลดอยู่ใกล้ๆ ไม่ห่างไกลนักเพื่อจะได้บิณฑบาตในตอนเช้า

    ชาวบ้านได้มาพบก็ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านว่ามีพระธุดงค์มาพักอยู่ชายบ้าน ผู้ใหญ่บ้านก็ทำอาหารมาถวายในตอนค่ำ แต่หลวงปู่จามไม่รับถวายเพราะเลยเวลาฉันแล้ว แต่ผู้ใหญ่บ้านคนนั้นไม่เข้าใจ ผู้ใหญ่บ้านเสียใจจึงกลับไปบอกลูกบ้านว่า
    “รุ่งขึ้นไม่ต้องใส่บาตร เพราะพระองค์นี้ไม่ฉันอาหาร ขนาดต้มไก่ร้อนๆ มันยังไม่ฉันเลย”
    รุ่งเช้าหลวงปู่จามก็เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านปรากฏว่าไม่มีใครใส่บาตรเลยแม้แต่คนเดียว บางคนมีศรัทธาแต่ไม่กล้าเพราะเกรงกลัวผู้ใหญ่บ้าน ท่านก็แต่สะพายบาตรเปล่ากลับไปที่พัก ดื่มแต่น้ำเปล่า แล้วเตรียมบริขารเดินทางต่อไปจนกระทั่งเวลาประมาณ ๓ โมงเย็น ไปพบหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งก็ปักกลดพักอยู่ใกล้ๆหมู่บ้านนั้น
    พอรุ่งเช้าอีกวันหนึ่งก็สะพายบาตรเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ปรากฏว่าหมู่บ้านนี้ชาวบ้านนับถือคริสต์ศาสนาไม่มีใครใส่บาตรได้เลยแม้แต่คนเดียวก็สะพายบาตรเปล่ากลับมาอีกเป็นคำรบที่สอง ได้ฉันน้ำ เก็บอัฐบริขารเดินทางต่อไปอีกจนค่ำก็ปักกลดบนดอย ได้ยินเสียงคน เสียงหมาเห่า อยู่เชิงดอย ก็หวังว่ารุ่งเช้าจะได้บิณฑบาต ฉันอาหารให้อิ่มหนำสำราญ
    เมื่อตะวันขึ้นก็สะพายบาตรลงเขาไปบิณฑบาตตามข้อวัตรปฏิบัติ เดินจนสุดหมู่บ้านก็ไม่มีใครใส่บาตรอีกเพราะเป็นหมู่บ้านที่คริสต์ศาสนาได้ไปเผยแพร่คำสอนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ท่านก็เดินต่อไปยังบ้านโดดเดี่ยวหลังหนึ่ง ที่มียายกับหลานเล็กๆ ๑ คนอายุประมาณ ๖ - ๗ ขวบ หลานออกมาดูแต่ยายไปหลบอยู่ที่หลังบ้าน ท่านจึงยืนนิ่งอยู่นาน หลานได้โผล่หน้าดูแล้วบอกว่า
    “ยายๆตุ๊เจ้ามากุมบาต” ( กุมบาต หมายถึง มาบิณฑบาต )
    ยายบอกว่า “อย่าไปมองดูมัน”
    หลานบอกยายว่า “ไม่มองดูก็เห็น ยืนอยู่หน้าบ้าน”
    ยายเห็นว่าท่านยืนอยู่ไม่ไปไหน ยายจึงเอาข้าวมาปั้นหนึ่งให้หลานลงมาใส่บาตรให้ หลานจึงลงมาใส่บาตรให้ท่าน
    ต่อจากนั้นท่านก็เดินกลับที่พักเพื่อจะฉันข้าวปั้นนั้น ขณะกำลังเดินกลับใกล้จะพ้นหมู่บ้านนั้นมีหมาแม่ลูกอ่อนวิ่งตามมา จะไล่กลับมันก็ไม่กลับวิ่งตามไปตลอด ท่านจึงหยุดคิดพิจารณาว่าหมามันคงจะอยากกินข้าว มันคงหิว และต้องมีนมให้ลูกมันกิน
    ท่านคิดในใจว่า “ข้าวปั้นเดียวกินคงไม่อิ่ม ให้หมาหิวมันกินดีกว่า”
    ก็เลยล้วงข้าวปั้นจากบาตรโยนให้หมาลูกอ่อนกิน เมื่อเดินกลับไปที่พักก็จัดอัฐบริขารเดินทางต่อไป
    เนื่องจากไม่ได้ฉันอาหารมา ๓ วันแล้ว ประกอบกับการเดินทางที่ต้องใช้พละกำลังขึ้นเขาลงห้วยทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ระหว่างเดินทางไปในวันนั้นรู้สึกหูอื้อตาลาย ใจหวิว จนถึงเวลาประมาณเที่ยงวันขณะเดินปีนเขารู้สึกวูบดับไปไม่รู้สึกตัวล้มลง พอรู้สึกตัวอยู่ในท่านอนอยู่บนทางเดินในป่า ได้พบชายหนุ่มคนหนึ่งอายุประมาณ ๒๐ ปี
    ชายหนุ่มถามว่า “ท่านคงจะเหนื่อยมากนะครับ”
    ท่านตอบว่า “เหนื่อยมาก ไม่ได้ฉันอาหารมา ๓ วันแล้ว”
    ชายหนุ่มบอกว่า “ไม่เป็นไรให้นอนอยู่นิ่งๆ เดี๋ยวจะเป่าให้”
    เขาเริ่มเป่าตามแขน ขาลำตัว ขึ้นมาถึงตีนผม รู้สึกประหลาดว่า ลมที่เป่านั้นเย็นมาก พอเป่าตรงจุดไหนก็เบาสบายขึ้น แล้วเป่าย้อนลงไปจากตีนผมลงไปถึงเท้า
    เมื่อชายหนุ่มเป่าเสร็จก็นิมนตให้ท่านลุกขึ้นนั่งแล้วถามว่า “เป็นอย่างไรสบายดีหรือยัง ให้ลองขยับแขนขาดู”
    หลวงปู่ตอบว่า “รู้สึกสบายขึ้น”
    ชายหนุ่มถามว่า “ท่านจะไปไหนต่อ”
    หลวงปู่ตอบว่า “จะไปที่บ้านป่าเมี่ยงแม่สม”
    ชายหนุ่มตอบว่า “งั้นก็ไปทางเดียวกับผม เดี๋ยวผมจะสะพายกลดสะพายบาตรให้ ท่านคอยเดินตามผมไป”
    ท่านก็เดินตามหนุ่มคนนั้นไป ทิ้งระยะไม่ห่างนัก ไม่ใกล้นัก ถ้าจะคุยกันก็ไม่ค่อยสะดวก แต่ก็พอมองเห็นกันได้เพราะอยู่ในป่า ถ้าเห็นว่าทิ้งระยะห่างมากชายหนุ่มก็ยืนรอ แม้จะเร่งฝีเท้าก็ตามไม่ทันชายหนุ่ม จนถึงทางแยก ชายหนุ่มบอกว่าทางนี้ไปบ้านป่าเมี่ยง ผมจะไปอีกทางหนึ่งแยกกันตรงนี้ จึงประเคนบาตร กลด คืนท่าน บอกว่าเดินข้ามห้วยก็ถึงบ้านป่าเมี่ยงแล้ว
    เมื่อแยกกันท่านก็นั่งพักสักครู่เพื่อจะเดินทางต่อไปนั่งมองดูชายหนุ่มที่เดินแยกทางไป พอเห็นผ่านต้นไม้ใหญ่ก็ไม่เห็นโผล่ออกมาตามทางเดินนั้นอีกเลย ชายหนุ่มหายลับไปที่ต้นไม้ใหญ่ ด้วยความสงสัยจึงไปตรวจสอบดูรอยเท้าก็ไม่พบรอยเท้าเลยแม้แต่น้อย
    เมื่อถึงบ้านป่าเมี่ยง ท่านได้นอนพักหลับไปและโยมได้นำน้ำอ้อยมาถวายให้ฉันทำให้ร่างกายดีขึ้น หูที่เคยอื้อไม่ได้ยินก็ดีขึ้นโดยลำดับ
    ตอนที่ ๑๘
    ผจญผีที่ซากเจดีย์เก่า


    lp-jarm-pic-13.jpg
    หลวงปู่จามได้เดินธุดงค์ไปอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่กับ พระอาจารย์หนู สุจิตโต และมีตาผ้าขาวไปด้วยหนึ่งคน ไปปักกลดบนหลังดอยที่มีลักษณะหลังปลาช่อน ด้านหนึ่งของภูป็นสันสูงเป็นหลังปลามีซากเจดีย์ปรักหักพังอยู่หนึ่งองค์ อีกด้านหนึ่งเป็นผาชัน หลวงปู่จามได้ปักกลดมุมหนึ่งขององค์เจดีย์ ส่วนตาผ้าขาวปักกลดอยู่อีกมุมหนึ่งตรงกันข้าม ส่วนพระอาจารย์หนู ปักกลดอยู่ด้านหน้าผา
    ชาวบ้านได้ทัดทานว่าอย่าปักกลดแถวนั้นเลยจะเกิดเภทภัย เพราะเคยมีพระและฆราวาสขึ้นไปถูกอาถรรพ์ โดยเกิดภาพหลอนให้เห็นเป็นน้ำ จึงว่ายหนีน้ำแต่เป็นการว่ายอยู่บนบก อกแถกพื้นดินพื้นหินเกิดบาดแผลฟกช้ำดำเขียวอยู่ไม่ได้มาแล้ว แต่ตาผ้าขาวดันปากโป้งบอกว่าไม่กลัว หลวงปู่จามบอกว่าจะมาภาวนาหาทางพ้นทุกข์ไม่ต้องการทรัพย์สินใดๆ
    พอเริ่มพลบค่ำต่างก็เข้าอยู่ในกลดขณะที่กำลังสวดมนต์อยู่นั้น ตาผ้าขาวมองเห็นชายนุ่งผ้าโสร่งเดินไปมารอบกลด ภาวนาจิตก็ไม่สงบ ไม่ได้หลับนอนตลอดคืน พอรุ่งเช้าเผ่นหนีไป ส่วนหลวงปู่จาม ขณะสวดมนต์ได้ยินเสียงคล้ายค้างคาวบินไปมาอยู่รอบกลด ๓ ตัวและเข้ามาในกลด และกระโดดเกาะหลังรู้สึกคล้ายสำลีมาสัมผัสหนังท่านจึงเอามือปัด ก็กระโจนหนีได้ยินเสียงร้องคิกคักเป็นเสียงคล้ายผู้หญิง สมัยนั้นไม่มีไฟฉาย มีแต่เทียนไขจึงต้องภาวนาไม่ได้นอนหลับเลย พอมาคืนที่สองก็เกิดเหตุการณ์ลักษณะทำนองเดียวกัน ต้องนั่งภาวนาตลอดคืน ส่วนกลางวันต้องหลับพักเอาแรงไว้สู้กับอมนุษย์ที่มองไม่เห็นตัวต่อไป
    เริ่มค่ำในคืนที่สาม หลวงปู่จาม รำลึกถึงโอวาทของ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ขณะอยู่ที่วัดป่าห้วยน้ำริน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ให้สวดบทโพชณังคปริตร จะช่วยระงับเหตุเภทภัยอาเพทต่างๆ

    หลวงปู่จามจึงสวดมนต์บทนี้แทนการภาวนาพุทโธ สวดโพชฌงค์ หลายๆ เที่ยวต่อเนื่อง ทำให้จิตสงบรวมลงเป็นสมาธิ สิ่งที่เคยรบกวนไม่สามารถเข้ามาใกล้ได้เลย จิตได้สงบเป็นสมาธินานพอสมควร ก็บังเกิดความสว่างไสวมองเห็นได้ทั่วบริเวณ ปรากฏเห็นร่างเป็นหญิง ๓ คนที่เคยกระโดดเกาะหลัง หลวงปู่จามจึงส่งกระแสจิตขู่จะใช้กสิณไฟ ร่างอมนุษย์นั้นทำท่ากลัวจนตัวสั่น บอกว่ามารบกวนเพราะได้รับคำสั่งจากเจ้านายผู้ชายนุ่งโสร่งเจ้าของทรัพย์สมบัติที่เฝ้าอยู่เพราะห่วงสมบัติ
    ต่อมาก็เห็นภาพผู้ชายนั้นยืนอยู่ มือถือพระพุทธรูปทองคำ เทียน ๒ เล่ม อีกมือหนึ่งถือแก้วมณีบนเชิงรองลูกแก้วมณีเปล่งแสงประกายโตขนาดไข่ไก่ หลวงปู่จามจึงส่งกระแสจิตตวาดว่ามารบกวนทำไม
    อมนุษย์ตอบว่า กลัวท่านจะมาขุดเอาของมีค่าใต้เจดีย์ จึงต้องหาทางให้ท่านหนีไป
    หลวงปู่จามจึงบอกว่า “มาที่นี่ไม่หวังทรัพย์สินเงินทองใดๆ เรามาภาวนาเพื่อหาทางพ้นทุกข์ มารบกวนไม่กลัวบาปกรรมหรือ จะตกนรกนะ”
    หลวงปู่จามถามว่า “ในมือเจ้านั้นอะไร”
    เขาเลยว่า “สมณะไม่สำรวม”
    ท่านเลยขู่ไปทางกระแสจิตว่า “เดี๋ยวจะใช้เตโชกสิณเผาให้เป็นจุณหรอก”
    พวกนั้นจึงกลัวลาน ร้องขอชีวิต
    ท่านจึงกล่าวสำทับว่า “พวกเจ้าไม่รู้จักบุญกุศลหรือมาทำบาปทำกรรมอยู่ทำไมจะตกนรก”
    ต่อมาจึงได้ตกลงว่าต่างคนต่างอยู่ไม่รบกวนกัน แต่สัญญานี้ไม่รวมถึงพระอาจารย์หนูด้วย ต่อจากนั้นพระอาจารย์หนูก็ถูกเล่นงาน
    หลวงปู่จามถามพระอาจารย์หนูว่า “อาจารย์หนูทำอะไรเสียงดัง ฟันดาบหรืออย่างไรเมื่อคืนนี้”
    พระอาจารย์หนูตอบว่า “ฟันดาบอะไรพวกผีมันอาละวาดต่างหาก”
    พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก ขณะที่ไปจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ที่วัดดอยแม่ปั๋ง จึงขอให้พระอาจารย์หนูได้ไขปริศนาเกี่ยวกับผีผู้หญิง ๓ ตนนั้น
    พระอาจารย์หนูบอกว่า “มันไม่เพียงกระโดดเกาะหลังเท่านั้น มันเข้ามาจับหำ (ของลับ) อาจารย์ด้วย”

    ตอนที่ ๑๙
    รู้แจ้งประจักษ์อนาคตอันไกลโพ้น
    lp-jarm-pic-14.jpg
    หลวงปู่จาม ได้เดินธุดงค์ไปเชียงใหม่ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโรงธรรม อำเภอสันกำแพง อยู่กับ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ๒ พรรษา ในช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านจึงอยู่ที่นี่เป็นหลักในบางโอกาสก็ออกไปหาวิเวกตามดอยต่างๆ
    ต่อมาได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ ในช่วงนั้น ได้มีการทิ้งระเบิดในเมืองบ่อยครั้ง จึงเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะปลอดภัย หลวงปู่สิมจึงชวนหลวงปู่จามออกไปอยู่ที่จอมทอง ระยะหนึ่ง
    การปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนาที่จอมทองแห่งนี้ได้พบกับความแปลกใหม่ของจิตตัวเอง เพราะเป็นสถานที่สัปปายะเหมาะสมแก่การบำเพ็ญพากเพียร และบุคคลสัปปายะ เนื่องด้วยหลวงปู่สิมเคยเป็นสามเณรอยู่ด้วยกัน ขณะที่อยู่กับหลวงปู่มั่น จึงมีความเข้าใจสนิทสนมกันดี
    ในช่วงแรกของการภาวนา จิตไม่สงบแส่ส่ายออกนอกเกิดสัญญาปรุงแต่งลักษณะเดียวกันกับที่เคยปรากฏมาก่อนแล้ว แม้ว่าจิตจะเคยสงบถึงขั้นอัปปนาสมาธิหลายครั้งแล้วก็ตามเกิดเสื่อมลงอย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งๆที่ได้ใช้อุบายต่างๆ แก้ไขมาหลายครั้งต่อหลายหนแล้ว บางคืนจิตร้อนรนเสมือนว่ากิเลสไม่เบาบางเลยทั้งๆที่ปกติธรรมดาจะไม่ปรากฏแต่พอเริ่มอธิฐานจิตเข้าที่ภาวนาจะเกิดอาการลักษณะนี้ขึ้นมา คิดทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา ทั้งๆที่บำเพ็ญพากเพียรอย่างจริงจัง แต่ผลที่ได้ดูเหมือนไม่คุ้มค่ารู้สึกว่าเกือบหมดกำลังใจ
    แต่เนื่องด้วยอุปนิสัยของท่านเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ท่านระลึกถึงหลวงปู่มั่น ตลอดจนครูบาอาจารย์ที่เคยให้คำแนะนำสั่งสอนและปฏิปทาของท่านเหล่านั้นแล้ว จึงเกิดพลังใจตั้งสัจจะอธิฐานว่า
    “ถ้าจิตจะสงบหรือไม่สงบก็ไม่ว่า จะเกิดหรือไม่เกิดอะไรก็ไม่ว่า เราไม่หวังอะไรอีกแล้วต่อไปนี้จะเอาเฉพาะ พุทโธ ให้แนบแน่นกับลมหายใจที่ตรงหัวใจของเรา จะไม่ยอมให้หนีไปไหน”
    ต่อจากนั้นอีกไม่นาน จิตค่อยๆ สงบละเอียดรวมลงเป็นสมาธิกายเบาจนไม่มีกายเหลือแต่จิตดวงเดียว เกิดนิมิตภาพเจดีย์ปรักหักพังมากมาย พระพุทธรูปเก่าแก่ปางต่างๆมากมาย ต้นโพธิ์ ต้นจิก และอื่นๆ เป็นภาพแล้วภาพเล่า ต่อจากนั้นก็เห็นภาพตนเอง ในอดีตชาติเกิดขึ้นมาจนนับไม่ไหว ท่านได้กำหนดรู้ในภาพนิมิตที่เกิดขึ้นมาโดยลำดับปัญญารู้แจ้งในแต่ละชาติในอดีตทั้งกรรมดีกรรมชั่วคละเคล้าปะปนกันไป ตลอดจนบุญบารมีที่สร้างไว้แต่อดีตชาติ ทั้งขึ้นสูงและลงต่ำ สวรรค์ นรก มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน
    การพิจารณากลับไปกลับมาปรากฏความรู้แจ้งชัดขึ้นมาว่าการที่มุ่งทำความเพียรเพื่อละกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นเพื่อความหลุดพ้นทุกข์ในชาตินี้คงเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว เสมือนว่ามีอะไรสักสิ่งหนึ่งปิดกั้นไว้ ปัญญาไม่ทะลุแจ้ง ฉุกคิดถึงแนวทางปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาพุทธภูมิมาแล้ว ชะรอยเราจะเคยปรารถนา............มาแล้วกระมัง ท่านจึงถอนจิตออกจากสมาธิแล้วไปที่หน้าองค์พระพุทธรูป ห่มผ้าจีวรจรดไหล่เรียบร้อย กราบแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า
    “ถ้าได้เคยปรารถนา......ที่บำเพ็ญมาเพื่อการเป็น.......ในภายภาคหน้าแล้วก็ขอให้จิตสงบเยือกเย็นขอให้ภาพนิมิตเหล่านั้นหายไปและให้เกิดความรู้แจ้งเห็นชัดเป็นที่ประจักษ์เถิด” จึงได้พักผ่อนหลับ
    ในคืนต่อมาการภาวนาได้ผลดี จิตสงบรวดเร็วจิตใจที่เคยร้อนมีแต่เยือกเย็น เบาสบาย จิตรวมลงถึงฐานอัปปนาสมาธิพักในสมาธิเพื่อให้เกิดพลังเต็มที่แล้วจิตถอนขึ้นมาเองอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ เกิดญาณทัศนะสามารถรู้เห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างที่ไม่เคยรู้เห็นมาก่อน หยั่งรู้เข้าใจภาพนิมิตที่เคยปรากฏมาแล้วอย่างปราศจากข้อสงสัย รู้แจ้งแล้วว่าชาตินี้ยังไม่สามารถบำเพ็ญพากเพียรให้สิ้นอาสวะกิเลสได้ ได้รู้เห็นจิตใจของตนในส่วนลึกอย่างละเอียดว่า ได้เคยอธิฐานตั้งความปรารถนา...........ไว้แล้วในอดีตชาติและได้รับการ...............แล้ว ไม่สามารถถอนออกได้ จึงจะต้องบำเพ็ญบารมีเพิ่มขึ้นจะต้องเกิดตายอีกหลายชาติ จนกว่าบารมีจะเต็มและถึงระยะเวลาที่จะต้องลงมาอีก เพื่อการ................ ที่จะต้องมาโปรดสัตว์ที่โลกกำลังร้อนระอุซึ่งเป็นระยะเวลาอีกนานเท่าใดไม่สามารถจะประมาณได้
    การสั่งสมอุปนิสัยบุญบารมีในแนวทางของความเป็น.......และได้รับการ...........แล้วนั้นก็เป็นเรื่องเฉพาะตน การจะบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นใครก็เป็นเรื่องเฉพาะของการเป็นใครคนนั้น กรณีบำเพ็ญสาวกบารมีก็จะเป็นสาวก บำเพ็ญอัครสาวกบารมีก็จะเป็นอัครสาวก บำเพ็ญปัจเจกบารมีก็เป็นปัจเจกพุทธเจ้า ถ้าบำเพ็ญพุทธบารมีก็ต้องเป็นพระพุทธเจ้า
    ผู้เขียนได้ถามหลวงปู่ว่า เกิดตายอีกหลายชาติไม่เบื่อหรือ
    ท่านตอบว่า “เบื่อไม่ได้เพราะเป็นหน้าที่ต้องมาเกิดตายจนกว่าจะหมดภาระหน้าที่นั้น”
    ตอนที่ ๒๐
    ทำเพื่อชาติเพื่อแผ่นดินเพื่อพระพุทธศาสนา
    ขณะที่ท่านใช้ชีวิตเป็นสามเณรอยู่ ๔ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๗ - ๒๔๗๑ ก็ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ พากเพียรภาวนาอย่างหนักหน่วงตามแนวทางการปฏิบัติของพระกรรมฐานตามคำสั่งสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ต่อมาได้ลาสิกขาไปดำเนินชีวิตฆราวาส ตามความเป็นไปในทางโลกเป็นเวลาประมาณ ๑๑ ปี จึงมีประสบการณ์ทางโลกมากพอสมควร ต่อจากนั้นก็ได้กลับมาใช้ชีวิตใต้ร่มกาสาวพัสตร์ ดำเนินตามรอยแนวทางพระกรรมฐานได้ยึดมั่นในข้อวัตรปฏิบัตรอย่างเอาจริงเอาจังโดยจะบำเพ็ญสมณธรรม เพื่อหวังให้หมดกิเลสอาสวะพ้นทุกข์เสียในชาตินี้ เพราะได้รู้ได้เห็นได้เข้าใจชีวิตความเป็นไปของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่จะต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร
    เมื่อหลวงปู่จาม ได้มีโอกาสเข้ามาสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ อีกครั้งหนึ่งนั้น (เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ขณะอายุเกือบ ๒๙ ปีเต็ม) ก็เร่งทำความเพียรโดยออกเดินธุดงค์ไปในสถานที่ต่าง ๆ ป่าเขาถ้ำเงื้อมผาที่ทุรกันดารตามแม่น้ำลำธาร เจริญรอยตามพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติมา เชื่อมั่นว่าธรรมชาติจะเป็นครูสอนธรรมให้เกิดขึ้นได้ เฉพาะเหมาะสมกับจริตนิสัยของตน แสวงหาโมกขธรรมอันเป็นสมบัติทิพย์แห่งตน ได้ใช้เวลาอีกประมาณ ๖ ปี ขณะที่อายุได้ประมาณ ๓๖ ปีเป็นพรรษาที่ ๖ ของการอุปสมบทในปี ๒๔๘๙ จึงได้รู้แจ้งประจักษ์ชัดเจนต่ออนาคตของตนเองว่าได้ปรารถนาพุทธภูมิไว้แล้ว
    เมื่อท่านได้รู้แจ้งประจักษ์ความเป็นไปของตนเองอย่างปราศจากข้อสงสัยแล้ว จึงได้เปลี่ยนแนวทางมากำหนดใหม่ที่จะต้องบำเพ็ญธรรมสะสมบุญวาสนาบารมี เพื่อความเป็นพุทธะต่อไป โดยการอบรมเทศนาสั่งสอน ท่านได้จาริกย้อนกลับไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ได้เคยเดินธุดงค์ไป ที่เคยได้รับการสนับสนุนดูแล เกื้อหนุนด้านอาหาร ด้านความสะดวก ตลอดจนการสร้างเสนาสนะและการปกป้องความปลอดภัย เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ และสร้างความสัมพันธ์ให้เป็นญาติธรรมด้วยการให้การศึกษาเรียนรู้ทั้งด้านปริยัติและแนะแนวทางปฏิบัติควบคู่กันไปตามแนวคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยเน้นเกี่ยวกับบารมี มงคล กรรมฐาน และการปฏิบัติธรรมโดยทั่วไป จึงเกิดประโยชน์ในแง่ของการเผยแผ่พระศาสนาให้กว้างขวางและลึกซึ้งเข้าสู่จิตใจมากยิ่งขึ้น จึงเป็นการประพฤติปฏิบัติงานพระพุทธศาสนาเพื่อประชาชนอันเป็นผลต่อส่วนรวมของประเทศชาติ
    นอกจากนั้นความแคลงใจอยู่ถึงกรณีบางหมู่บ้านที่เคยนับถือพุทธศาสนาอยู่เดิมแต่กลับกลายเป็นไปนับถือศาสนาอื่น จึงไม่ยินดีตักบาตรให้ ทำให้ต้องอกโซจนเกือบเอาชีวิตไม่รอดนั้นยังฝังใจอยู่ จึงอยากจะทดลองขีดความสามารถของตน ได้มุ่งเดินธุดงค์ไปยังหมู่บ้านเหล่านั้น ท่านได้ปักกลดอยู่ที่บริเวณป่าช้า กำหนดกลยุทธ์ที่จะหาทางพลิกสถานการณ์ให้กลับมาสู่สภาพเดิมและคาดหวังที่จะทำให้ชาวเขาเหล่านั้นกลับมานับถือพระพุทธศาสนาตามเดิมมีหลายครั้งหลายโอกาสได้ปะคารมกับนักสอนศาสนาอย่างประทับใจแก่ชาวเขาทำให้หันกลับมานับถือพระพุทธศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก
    หลวงปู่จามได้ใช้เวลาจาริกไปสั่งสอนอบรมนำการปฏิบัติจิตภาวนาทั่วไปเป็นเวลาถึง ๒๔ ปี จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๑๒ ท่านอายุประมาณ ๖๐ ปี ญาติโยมที่ห้วยทรายเห็นว่าท่านได้จากไปนานมากแล้วอายุก็มากแล้ว สมควรที่จะกลับมาเป็นมิ่งขวัญของญาติพี่น้อง และคณะศรัทธาจะได้มีโอกาสมากราบนมัสการและรับฟังเทศนาธรรมที่ท่านได้ไปแสวงหามา เพื่อโปรดทางนี้บ้าง แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ จึงร่วมใจกับคณะแม่ชี จัดสร้างกุฏิไว้รอรับการกลับมาที่วัดป่าห้วยทราย (วัดป่าวิเวกวัฒนาราม) และส่งคณะญาติโยมไปนิมนต์กลับมาอยู่ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    ความเป็นมาของวัดป่าห้วยทราบนี้นั้นเมื่อประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตได้ตั้งสำนักสงฆ์หนองน่องอยู่ทางทิศใต้ของบ้านห้วยทราบ ได้มีพระกรรมฐานมาปฏิบัติธรรมอยู่หลายองค์ เท่าที่มีข้อมูลก็ได้แก่ หลวงปู่เทสก์ เทสฺรังสี หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น ที่สำนักสงฆ์แห่งนี้เป็นที่รวมของพระกรรมฐานศิษย์ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ที่มีการเทศนาสั่งสอนในวันพระและวันสำคัญ ๆ
    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘ หลวงปู่พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้มาสร้างเสนาสนะให้เป็นสำนักสงฆ์ถาวรโดยจำลองแนวความคิดมาจากวัดป่าบ้านหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม เพื่อหวังจะให้เป็นที่ศึกษาอบรมปฏิบัติธรรมของพระกรรมฐาน และศรัทธาญาติโยมในแถบนี้ จึงย้ายสำนักสงฆ์จากหนองน่องมาเป็นสำนักสงฆ์ห้วยทรายบริเวณป่าช้าบริเวณทางทิศตะวันตกของบ้านห้วยทราย ซึ่งหลวงตาพระมหาบัวได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “วัดป่าวิเวกวัฒนาราม” และขอเป็นวัดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๒๘
    เท่าที่ค้นหาหลักฐานได้ปรากฏว่า ท่านที่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ต่อจาก หลวงตาพระมหาบัว ก็ได้แก่ หลวงปู่สม โกกนุทโท หลวงปู่สิงห์ทอง ธมฺมวโร และหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2021
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    ตอนที่ ๒๑
    ชีวิตในบั้นปลาย

    lp-jarm-pic-15.jpg
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ หลวงปู่จาม อายุได้ ๖๒ ปี ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ท่านพิจารณาเห็นว่า เสนาสนะเดิมนั้นชำรุดทรุดโทรมจากปลวกเกรงจะเป็นอันตรายต่อบรรพชิตและฆราวาส ท่านจึงดำริให้บูรณะปฏิสังขรณ์ให้สภาพดีขึ้นและในปี ๒๕๒๑ หลวงปู่ได้ออกแบบกุฏิเสาเดียวสร้างเป็นตัวอย่างครั้งแรก ๑ หลัง สามารถกันปลวกได้ จึงได้เปลี่ยนกุฏิไม้เดิมมาเป็นกุฏิเสาเดียวสร้างด้วยเหล็กถือปูนอีกหลายหลังในระยะต่อ ๆ มา


    เมื่อปี ๒๕๒๓ หลวงปู่จามได้นิมิตว่า “เทวดาจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระสาวกมาถวายให้” หลังจากนิมิตไม่นานได้มีโยมจากพิษณุโลก ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกมาอย่างละไม่กี่องค์ถวายหลวงปู่ในปีนั้นเอง จึงได้นำมาบูชาไว้ ต่อมาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกก็ได้เสด็จมาเพิ่มเองในภาชนะที่อัญเชิญไว้มากขึ้น ๆ ตลอดจนมีญาติโยมก็ได้อัญเชิญมาถวายอีกเป็นจำนวนมากขึ้นอีก ญาติโยมห้วยทรายและบ้านใกล้เคียงเคยเห็นแสงพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าในเวลาค่ำคืนวันพระเสมอ ๆ
    ต่อมาเมื่อปลายปี ๒๕๒๗ หลวงปู่เห็นว่าสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกควรจะเป็นความเหมาะสมกับคติความเชื่ออันเป็นแบบฉบับตามคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาจึงดำริให้สร้างเจดีย์ ท่านเป็นผู้ออกแบบพระเจดีย์ประยุกต์ศิลปะลักษณะผสมผสานขึ้นดังปรากฏเด่นสง่าเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าและพระธาตุสาวกเพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะแก่พุทธบริษัทโดยทั่วไป การก่อสร้างพระเจดีย์ท่านควบคุมก่อสร้างเองโดยอาศัยช่างชาวบ้านถิ่นนี้ใช้เวลาก่อสร้าง ๓ ปีแล้วเสร็จ มีโยมบัวผัน โยมบู่ทอง โยมเลียงพรรณ โยมสุพจน์ คหบดีเชียงใหม่ ตลอดจนคณะศรัทธาในอำเภอต่าง ๆ ที่ได้เคยดูแลอุปัฏฐากหลวงปู่ ช่วงไปบำเพ็ญทำความเพียรที่เชียงใหม่ ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียง และเมื่อหลวงปู่อาพาธไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลลานนา คณะศรัทธาญาติโยมดังกล่าวได้มีส่วนสำคัญในการร่วมทุนสร้างเจดีย์และเสนาสนะอื่นด้วย
    ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จึงได้ประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุสาวก ตลอดจนพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ญาติโยมคณะศรัทธาอัญเชิญมาถวายอีกจำนวนมาก
    นอกจากนี้พระพุทธรูปบูชาองค์ใหญ่ๆ ที่ศรัทธาญาติโยมมาถวายไม่สามารถอัญเชิญไว้ที่พระเจดีย์ได้ ก็จะนำมาประดิษฐานไว้ที่ศาลา และพิจารณามอบให้วัดอื่น ที่ยังขาดพระพุทธรูป พระประธานอีกหลายแห่ง ตลอดจนโรงเรียนต่างๆ เป็นที่น่าสังเกตว่าทำไมพระพุทธรูปส่วนใหญ่จะเป็นปางพระพุทธชินราชมากมายนัก ผู้เขียนจึงค้นหาความจริงได้ว่าหลวงปู่บอกว่า “พระพุทธชินราช เป็นปางที่ใกล้เคียงปุริสลักษณะ”
    (ปุริสลักษณะ หมายถึง ลักษณะพระพุทธเจ้า ๓๒ ประการ)
    ข้อวัตรปฏิบัติที่สำคัญในบั้นปลายนี้หลวงปู่จะเน้นการอบรมสั่งสอนและการปฏิบัติจิตภาวนา ควบคู่กันไปโดยมุ่งหวังให้พุทธบริษัททั่วไปประพฤติดีปฏิบัติชอบตามแนวทางคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้รู้เข้าใจในนรก สวรรค์ พรหมโลก มีจริง บาปอกุศลและบุญกุศลมีจริง และนิพพานก็มีจริง อย่าประมาทในชีวิตที่เกิดมาเป็นมนุษย์เป็นโอกาสดีที่สุดแล้ว
    เมื่อปี ๒๕๓๐ ขณะหลวงปู่ ปลูกต้นสักในวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ท่านพูดเชิงปรารภกับพระอาจารย์เพชร อรุโณ ว่า
    “เมื่อต้นสักนี้โตขึ้นเท่าแขนก็จะละสังขารเพราะมีอายุขัยเพียง ๘๓ ปี”
    ต่อมาเมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ท่านอายุ ๘๓ ปีพอดี หลวงปู่ก็ล้มป่วยหนักเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ญาติโยมจึงกราบนิมนต์ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลลานนาเชียงใหม่ ท่านก็ยินดีและอดทนเดินทางไปรับการรักษา ขณะที่ผ่าตัดเสร็จแล้วหลวงปู่พูดกับพระอาจารย์เพชร และญาติโยมว่า
    “อายุขัยหมดแล้ว ต่อไปเหลือแต่อายุที่หมอเขาต่อให้”
    มาจนถึงบัดนี้ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ รวมอายุได้ ๙๕ ปี
    ตอนที่ ๒๒ (จบ)


    ส่งท้ายไว้ให้คิด


    lp-jarm-pic-16.jpg
    โดยปกติแล้วผู้มีอายุยืนยาวนาน ผู้คนในแผ่นดินก็จะให้การยกย่องเคารพนับถืออย่างสูง เพราะถือว่าได้ผ่านโลกมามากผ่านประสบการณ์ชีวิตอย่างโชกโชน ประกอบกับความสมบูรณ์พร้อมด้วยคุณวุฒิวัยวุฒิและชาติวุฒิ


    สำหรับองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ นั้นท่านอายุยืนยาวถึง ๙๕ ปีในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ท่านได้ดำรงสมณเพศมายาวนาน การประพฤติตามข้อวัตรและปฏิปทาที่ท่านได้บำเพ็ญคุณงามความดีมาอย่างดี ไม่มีสิ่งด่างพร้อยถือเป็นบุคคลหาได้ยากท่านหนึ่งในแผ่นดิน น่าที่คนรุ่นหลังจะได้น้อมนำมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจตน และนำมาเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี และเป็นการสมควรที่จะเชิดชู ยกย่องให้ท่านเป็นปูชนียบุคคลผู้หนึ่งที่สมควรคารวะกราบไหว้บูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ดังคำสอนของพระพุทธเจ้าในมงคลสูตร


    “บูชาบุคคลที่สมควรบูชาย่อมเป็นมงคลอย่างยิ่ง”
    ผู้เขียนได้มีโอกาสมากราบท่านครั้งแรก ประทับใจในความเมตตาเสมือน “ปู่ใจดี” เมื่อรู้ว่าผู้เขียนมีอาชีพเป็นทหาร ท่านก็เล่าเหตุการณ์ในอดีตเป็นคุ้งเป็นแคว อย่างกว้างขวาง เสมือนกับเป็นนักประวัติศาสตร์ชั้นยอด มีความจำ ดีมาก ยกเหตุการณ์ต่างๆ เล่าให้ฟังแม้แต่การรบพุ่งการศึกสงคราม ทั้งในประเทศและต่างประเทศผู้เขียนรู้สึกทึ่งในความรู้ความสามารถของท่านอันเป็นความประทับใจครั้งแรกที่ได้พบท่าน


    เป็นโอกาสดีที่ผู้เขียนได้รับมอบหมายจากพระอาจารย์อินทร์ สนฺตุสฺสโก ให้ช่วยเขียนประวัติปฏิปทาและสาระธรรมเท่าที่จะทำได้ จึงเดินทางเพื่อหวังจะสอบถามรายละเอียด จะได้มีข้อมูลในการเขียน แต่เอาเข้าจริงหลวงปู่ท่านคงจะรู้ว่าเรามาเพื่อจะเขียนประวัติของท่าน ท่านจึงตอบคำถามแต่เพียงสั้นๆ ทำให้ผู้เขียนหนักใจอยู่แต่ก็ได้รับความอนุเคราะห์ร่วมมือจากหลายท่าน จึงค่อยอุ่นใจบ้างแม้จะไม่สมใจก็ตาม ถึงแม้ว่าหลวงปู่จะตอบสั้นแต่มีสาระ ที่สมควรนำมาคิด จึงขอนำมาลงบันทึกไว้บ้างดังนี้
    ถาม : หลวงปู่ไม่เอาพระอรหันต์ในชาตินี้หรือ ?
    ตอบ : เอาอยู่ แต่เอาไม่ได้
    ถาม : หลวงปู่สร้างสมบุญญาบารมีไว้มากมายพอหรือยังและได้ญาณทัศนะถึงขั้นไหน ?
    ตอบ : ธรรมดาผู้ที่เกิดตายหลายชาติ นับไม่ไหว ย่อมมีอยู่
    ถาม : พลังอำนาจทางกสิณ หลวงปู่ได้เมื่อใด ?
    ตอบ : มีของเดิมอยู่
    ถาม : หลวงปู่ปรารถนาพุทธภูมิจะต้องเกิดอีกกี่ชาติ ?
    ตอบ : เกิดตายอีกหลายชาตินับไม่ไหว
    ถาม : เกิดตายอีกหลายชาติ หลวงปู่ไม่เบื่อหรือ ?
    ตอบ : เบื่อไม่ได้ เป็นหน้าที่
    ถาม : เคยเกิดมาเป็นใหญ่เป็นโต เคยเป็นตำแหน่งใดบ้างในอดีตชาติ ?
    ตอบ : พระเจ้าแผ่นดิน ฮ่องเต้ เจ้าชาย พราหมณ์ อาจารย์ทิสาปาโมกข์ ฤาษี แม่ทัพ
    ถาม : หลวงปู่เคยตกนรกไหม ?
    ตอบ : เคย หลายชาติ
    ถาม : หลวงปู่เคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานไหม ?
    ตอบ : เคย หลายชาติ
    ถาม : หลวงปู่ กลัวอะไรมากที่สุด ?
    ตอบ : ช้าง เจอต้องหนี
    ถาม : หลวงปู่ชอบ อะไรมากที่สุด ?
    ตอบ : “หัวเราะ” ก็แล้วแต่จะเป็นไป
    ถาม : หลวงปู่เกลียดอะไรมากที่สุด ?
    ตอบ : ตกนรก


    lp-jarm-pic-17.jpg
    ผู้เขียนได้ฟังคำบอกเล่าจากพระอาจารย์เพชร อรุโณ ว่าได้เคยมีผู้สื่อข่าวมาถามหลวงปู่ จึงขอนำคำถาม – คำตอบ มาลงให้ผู้อ่านพิจารณาเอาเองดังนี้
    ถาม : หลวงปู่ไปธุดงค์ทางไหนบ้าง ?
    ตอบ : ทุกทิศทุกทาง
    ถาม : หลวงปู่เจออะไรบ้าง ?
    ตอบ : เจอทุกอย่างที่พบ
    ถาม : หลวงปู่เจออาจารย์ไหนบ้าง ?
    ตอบ : เจอทุกคนที่เห็น
    ถาม : หลวงปู่เจออุปสรรคอะไรบ้าง ?
    ตอบ : อุปสรรคอื่นไม่มี มีแต่เตะก้อนหินเป็นแผลเดินไม่ได้
    ถาม : หลวงปู่กลัวเสือไหม ?
    ตอบ : บางครั้งก็กลัวบางครั้งก็ไม่กลัว เพราะเสืออยู่ฝายาหม่องพกใส่ย่ามเลย
    นัยว่าผู้สื่อข่าวพบคำตอบเช่นนี้ จึงไม่มีข้อมูลปาฏิหาริย์ จะนำไปเขียนขายหาเงินดังที่หวังไว้แต่เดิม จึงต้องผิดหวังกลับไป


    bar-red-lotus-small.jpg
    :- http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-jarm/lp-jarm-hist-01.htm
    พระป่าสายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น “หลวงปู่จาม มหาปุณโญ” ละสังขารแล้ว
    วันนี้ (19 ม.ค.) นายสมบัติ ผิวขำ อายุ 54 ปี บ้านเลขที่ 232 หมู่ 3 บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า ที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร หลวงปู่จาม มหาปุณโญ วัย 104 ปี เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ถึงแก่มรณภาพแล้ว เมื่อเวลา 09.00 น. หลังจากป่วยเป็นโรคปอดติดเชื้อ และด้วยโรคชรา โดยจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพหลวงปู่จาม ในวันที่ 20 ม.ค.56 เวลา 14.30 น. โดยนายสกลสฤษฎ์ บุญประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานในพิธี
    :- https://mgronline.com/local/detail/9560000007558



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2021
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๒๒๙. เปรตบาป ดอยเปา ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    28,131 views Nov 16, 2021
    เรื่องราวลี้ลับกฏแห่งกรรมที่พระภิกษุหนุ่มจากเมืองไทยได้พบที่ดอยเปา เขตเมืองปางยาง รัฐฉานเหนือ

     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ผีกุฏิตาอวย | เรื่องเล่าพระธุดงค์ | เรื่องเล่าจากหลวงปู่บุญ ชินวังโส

    100 เรื่องเล่า
    22,592 viewsSep 22, 2021
    ผีกุฏิตาอวย เป็นเรื่องเล่าจากหลวงปู่บุญเมื่อครั้งที่ท่านเคยบวชเป็นผ้าขาวคอยติดตามพระพี่ชายของท่าน คือ ท่านพระอาจารย์พร ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขา ต่างๆ ได้พบกับสิงประหลาด และความเชื่อต่างๆของชาวบ้านในถิ่นห่างไกล กุฏิตาอวยนี้ ตั้งอยู่บ้านกุดตะกาบ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร ชาวบ้านเชื่อว่ามีเจ้าที่แห่งนี้เฮี้ยนนัก ไม่มีใครกล้าเข้าไไปลบหลู่ เพราะจะโดนผีเจ้าที่ทำร้ายเอาได้ เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญรับฟังได้เลยครับ ผิดถูกประการใดต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ศาลาพันห้อง | หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี | โลกหลังความตาย

    100 เรื่องเล่า
    Sep 29, 2021
    หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี ท่านเล่าถึงโลกหลังความตาย เมื่อครั้งที่ท่านนั่งเข้าฌาณ 15 วันที่วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ริมฝั่งแม่น้ำโขง และท่านก็เป็นลมล้มฟุบลง หลังจากนั้น จิตของท่านก็ได้ไปพบกับศาลาพันห้อง ที่มีพญายมบาลเป็นประธานอยู่ที่นั่น เพื่อตัดสินคดีเมื่อครั้งที่ยังเป็นมนุษย์ หรือสัตว์อยู่ในโลกมนุษย์ เพื่อรอการไปรับกรรมของตน เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญรับฟังได้เลยครับ ผิดถูกประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ดงหม้อทอง | เรื่องเล่าพระธุดงค์ | พระอาจารย์จวนและหลวงปู่ขาว

    100 เรื่องเล่า
    60,269 viewsNov 2, 2021
    ดงหม้อทอง ตั้งอยู่อำเภอวานรนิวาส จ.สกลนคร และต่อมาเขตนั้นได้แยกตัวเป็นอำเภอบ้านม่วง ดงหม้อทองจึงขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านม่วงในปัจจุปัน สมัยก่อนนั้น ดงหม้อทองเป็นดงหนาป่าทึบ เต็มไปด้วยสัตว์ป่าน้อยใหญ่มากมายหลายชนิด ทั้งเสือ ช้างป่า หมี นกยูง เก้งกวาง เป็นต้น ต่อมาท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ แห่งวัดภูทอก ท่านได้ไปบุกเบิกพาชาวบ้านเข้าไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ต่อมาจึงได้มีชาวบ้านเข้าไปเข้าไปอยู่อาศัยมากขึ้น และที่ดงหม้อทองแห่งนี้ หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านก็เคยมาพักจำพรรษาที่นี่ด้วย และท่านก็ได้เผชิญกับเสือ แบบใกล้ๆ ด้วย

    เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญรับฟังได้เลยครับ ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    LpThongAyana.jpg
    ประวัติหลวงปู่ทอง อายะนะ วัดราชโยธา เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
    ประเทศไทยทุกยุคทุกสมัย จะขาดสถาบันสามไม่ได้เลย

    เราจะเห็นได้ว่าชาติอยู่ได้ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็ต้องมีบทบาทอันสําคัญอยู่เสมอทุกครั้ง
    ดังนั้น จึงไม่มีใครกล้าบังอาจ แยกออกจากดวงใจของคนไทยได้เลย
    อดีตที่ผ่านมา ทหาร พระสงฆ์องค์ประมุข นับได้ว่าเลิศด้วยพระคุณแก่ชาวไทยทั้งหมด
    สมัยนั้น พระภิกษุสงฆ์ไทย ต่างก็มีบทบาทอันสําคัญ แม้มิได้ช่วยโดยทางตรง แต่ก็ช่วยได้ใน ทางอ้อม คือทางด้านพลังใจ
    พระสงฆ์ มีองค์ศีลคุ้มครองอยู่ จึงไม่มีพระภิกษุองค์ใดละเมิด พระวินัย แต่ก็ได้ประสิทธิ์วิชา ให้ในฐานะศิษย์กับอาจารย์เพื่อความอยู่ยง แคล้วคลาด ปราศจาก ภัยทั้งปวง
    หลวงปู่ทอง อายะนะ ท่านเป็นพระผู้มีจิตหนักแน่น มีปฏิปทาในทางกรรมฐานอย่างเคร่งครัด ทั้งยังมีความอัศจรรย์ วาจาศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย
    หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา แม้จะอยู่ในกาลแห่งชราภาพสิ่งหนึ่งดังที่ได้เล่าสืบๆ กันว่า
    หลวงปู่ทอง แห่งวัดราชโยธา องค์นี้มีความจําดีเยี่ยม สติแจ่มใส จิตใจเบิกบาน มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว
    ร่างกายของท่านนั้นปราดเปรียว ว่องไว แข็งแรง ความเจ็บป่วย เช่นปวดหัว ตัวร้อน ดู เหมือนหลวงปู่ไม่รู้จักเลยทีเดียว
    ทั้งนี้ หลวงปู่ทองมีสติรู้ชัด สํารวมกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ท่านจะยึดอารมณ์กรรมฐานตลอดเวลา”
    หลวงปู่ทอง แห่งวัดราชโยธา ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๓ ปีมะโรง ในสมัยปลายรัชกาลที่ ๒ และเป็น ปีที่โรคห่า (คืออหิวาตกโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นหมื่นคนเลยทีเดียว)
    บิดาเป็นชาวจีน ชื่อ ฮวด มารดาเป็นชาวมอญ มีอาชีพบรรทุกอิฐมาขายโดยทางเรือ
    ในชีวิตของท่านนั้น ถูกกระแสโลกพัดกระหน่ําอย่างหนัก ซึ่งเป็นไปด้วยอํานาจแห่งบารมีแต่ปางก่อนทั้งสิ้น เพราะบิดาหายสาบสูญกลางทะเล มารดาเสียใจทําให้สติฟันเฟือน
    แต่ถ้าบิดาและมารดายังอยู่ โดยปกติแล้ว หลวงปู่ทอง อาจไม่ได้บวชพระก็ได้ นี่จึงต้องอ้าง ถึงอํานาจบารมีแต่ปางก่อน
    ในปี พ.ศ.๒๓๘๔ อายุได้ ๒๑ ปีเต็ม ท่านได้อุปสมบท ณ วัดเงิน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
    โดยมีท่านเจ้าคุณวินัยกิจการีเถร (ภู่) เป็นพระอุปัชฌาย์
    บวชแล้วหลวงปู่ทองได้พยายามศึกษาเล่าเรียนวิชาธรรมต่างๆ ตลอดถึงข้อวัตรปฏิบัติธรรมกรรมฐาน เจริญตามพระโอวาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    โดยยึดถือระเบียบและวินัยอย่างเคร่งครัด จนอายุได้ ๓๐ ปี พระอุปัชฌาย์จึงสั่งให้มาครองวัดราชโยธา ซึ่งการสร้างวัดราชโยธานี้เป็นสมัยต้นรัชกาลที่ ๔
    ท่านเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่าเป็นปรมาจารย์ ผู้รอบรู้ ทั้งทางโลกและทางธรรม มีความเจนจบสิ้นทั้งพุทธศาสตร์ และไสยศาสตร์
    ท่านเป็นพระภิกษุผู้ทรงศีล จริยวัตรอันแก่กล้า ทรงวิทยาคม เป็นที่เลื่องลือในกฤษฎาภินิหาร
    ตลอดอายุ ๑๑๗ ปี ของ พระคุณเจ้าได้บําเพ็ญประโยชน์แก่พุทธศาสนานานัปการ จนได้ รับการยกย่องศรัทธาจากมหาชน และลูกศิษย์ทุกชั้นว่า
    ท่านเป็นพระอาจารย์ผู้มี กฤษฎาภินิหาร มหัศจรรย์ ปาฏิหาริย์ มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มีปณิธานหนักแน่นในพระกรรมฐาน มักน้อยสันโดษ ชานาญในทางอิทธิเวท ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน ท่านยึดมั่นในพระกรรมฐานเป็นอารมณ์
    พระคุณเจ้าหลวงปู่ทองเป็น ผู้มีอํานาจจิตกล้าแข็ง ได้รับความเคารพยกย่องจากมหาชนทั้งใกล้และไกล จนมีประชาชนหลายอาชีพ หลายประเภทเลื่อมใสฝากตัวเป็นลูกศิษย์มากมาย
    ประกอบกับการที่ท่านเป็นผู้ให้ธรรมะ โดยอุปมาเปรียบเทียบคําพูดทั้งทางโลกและทางธรรมอยู่เสมอมิได้ขาด จึงเป็นเสน่ห์อีกประการหนึ่งที่ทําให้ผู้ที่ได้สนทนากับ ท่านมีความรู้สึกสบายใจ มองเห็นความจริงที่ท่านกล่าวทุกประการ
    นับว่าเป็นจุดรวมทางใจของกลุ่มชนและบรรดาลูกศิษย์ให้ประกอบแต่ความดีจํานวนมิใช่น้อย เป็นที่ปรากฏแจ้งชัดทั้งในอดีตและในปัจจุบันว่า
    บรรดาลูกศิษย์ลูกหาหรือผู้ที่ได้เคยพบเห็นวิสาสะกับท่านแล้ว มักจะเป็นผู้ที่ได้ประกอบสัมมาอาชีพโดยถูกต้องกับหลักธรรม และมีเมตตาธรรมในส่วนตน กับเสียสละให้แก่ประโยชน์ของ ส่วนรวมและประเทศชาติ
    พระคุณเจ้าหลวงปู่ทองเป็น ผู้ทรงคุณธรรมเป็นเลิศ หมั่นเพียรในการประกอบกิจทางพระศาสนา ทําวัตร สวดมนต์ ทั้งในด้านกิจ นิมนต์ท่านก็มิได้ว่างเว้น นอกจาก จะอาพาธ และในด้านประกอบศาสนกิจ ทําสังฆกรรม ให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรโดยมิได้เลือกว่าเป็นใคร มาจากไหน ถ้าไม่ขัดต่อบทบัญญัติ ทางพระวินัยแล้วท่านเป็นรับนิมนต์โดยถ้วนหน้า
    วัดราชโยธา เป็นวัดที่มีคนไทยน้อย แต่ห้อมล้อมด้วยชาวไทย อิสลามโดยส่วนมาก
    ชายไทยอิสลามหลายคนได้ มีความเคารพบูชาหลวงปู่ทองอย่างหมดหัวใจ ก็เพราะได้พบความอัศจรรย์ ครั้งที่ปล่อยวัวควายมาถ่ายมูลในวัด
    หลวงปู่ทอง เลยทรมานเจ้าของด้วยการทําให้หาไม่พบ แล้วให้ไปเปิดกะลามะพร้าว จึงพบ ควายหนึ่งฝูง ๗ ตัว
    ดังนี้ จึงมีคําพูดเล่าต่อๆ กัน มาในหมู่ไทยอิสลามและคนไทยว่า
    “ขี้ควายอยู่ ควายไม่อยู่ ขี้ควายไม่อยู่ควายอยู่”
    ดังนั้น ลานวัดจึงสะอาดไม่เลอะเทอะอย่างแต่ก่อน
    พระคุณเจ้าหลวงปู่ทอง จึงเป็นเสมือนดวงประทีป ที่ส่องสว่างอยู่ท่ามกลางหมู่ชนอิสลาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2021
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    หลวงปู่ทอง อายะนะ แห่งวัดราชโยธา แขวงประเวศ เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ท่านเป็นพระผู้ทรงคุณธรรมสูง มีความมานะพยายาม นําคุณประโยชน์แก่พระ พุทธศาสนาเป็นอเนกประการ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลวงปู่ทอง ได้มรณภาพด้วยลักษณะนั่ง สมาธิภาวนา หลับตาบําเพ็ญธรรม ถึง ๓ วันแล้วสิ้นลมไปในที่สุด
    นับได้ว่า จิตใจของท่านช่างเด็ดเดี่ยวยิ่งนัก
    :- https://www.108prageji.com/หลวงปู่ทอง-วัดราชโยธา/
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    LPJaiIntasuwanno.jpg
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ใจ อินทสุวัณโณ
    วัดเสด็จ จ.สมุทรสาคร
    หลวงปู่ใจ อินทสุวัณโณŽ หรือ พระราชมงคลวุฒาจารย์ วัดเสด็จ ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งลำน้ำแม่กลอง
    อีกทั้งยังเป็นพระนักพัฒนาที่มีผลงานเป็นประจักษ์มากมาย ทั้งในส่วนของการพัฒนาวัดวาอาราม ตลอดถึงสถานศึกษาต่างๆ อิทธิคุณความเข้มขลังด้านพุทธาคม เป็นที่เลื่องลือกล่าวขาน จากประสบการณ์ในวัตถุมงคลของท่านที่ได้สร้างและปลุกเสกเอาไว้

    เดิมชื่อ ใจ ขำสนชัยŽ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 23 พ.ย.2405 ที่ บ้าน ต.บางกุ้ง อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม
    อายุ 15 ปี ครอบครัวอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่ ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ภูมิลำเนาของบิดา

    อายุ 21 ปีบริบูรณ์ อุปสมบทที่วัดบางเกาะเทพศักดิ์ มีพระอาจารย์จุ้ย เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา อินทสุวัณโณŽ

    หลังอุปสมบท อยู่จำพรรษาวัดบางเกาะเทพศักดิ์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย วิปัสสนากัมมัฏฐาน รวมถึงพุทธาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์

    ตั้งใจเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งอักษรไทยและขอมจนแตกฉาน มีความสนใจในด้านวิทยาคมต่างๆ และศึกษาวิชาทางสมาธิจากหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว พระเกจิอาจารย์ชื่อดังกาญจนบุรี

    พ.ศ.2434 พระอาจารย์จุ้ย ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ พิจารณาเห็นว่า ท่านเป็นผู้มีความสามารถภูมิปัญญาความรอบรู้ พอที่จะดูแลตัวเอง และหมู่คณะได้เป็นอย่างดี และขณะนั้น วัดใหม่ยายอิ่ม ซึ่งเป็นวัดสร้างใหม่ ไร้เจ้าอาวาสปกครองดูแลพัฒนา จึงมอบหมายให้ท่านไปดูแลปกครองในฐานะเจ้าอาวาส
    ท่านทุ่มเทสติปัญญา กำลังกาย กำลังใจ สร้างและพัฒนาวัดแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ จนเป็นวัดแห่งหนึ่งของสมุทรสงคราม ที่มีความใหญ่โต สวยงาม เป็นหน้าเป็นตาของจังหวัด
    ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ วัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์ตามหัวเมืองใหญ่ ได้เสด็จมายังวัดแห่งนี้ ได้ประทานนามวัดเสียใหม่ว่า วัดเสด็จŽ

    ทรงมีความคุ้นเคยกับวัดเสด็จ และมีเมตตาต่อหลวงปู่ใจ ดังจะเห็นได้จากอุโบสถที่สร้างใหม่นั้น ประทานทุนทรัพย์จ้างช่างหลวง ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างให้ นอกจากนี้ พระบรมวงศานุวงศ์ที่เคยตามเสด็จ ยังร่วมบริจาคทรัพย์สมทบในการสร้างอุโบสถวัดเสด็จด้วย

    หลวงปู่ใจ เป็นพระเถราจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกรอบพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดเสมอต้นเสมอปลาย พูดน้อย และพูดแต่คำที่เป็นประโยชน์ ไม่ยกตนข่มท่าน และไม่โอ้อวดคุณวิเศษที่มีอยู่ในตัว

    ย้อนกลับไปในสมัยที่หลวงปู่ใจ กำลังสร้างวัดเสด็จ ต้องเดินทางไปที่จังหวัดกาญจนบุรีอยู่บ่อยครั้ง เพื่อไปหาซื้อไม้มาสร้างวัด ท่านขึ้นล่องอยู่หลายปีจึงสร้างวัดได้สำเร็จ และทุกปี จะมาแวะพักที่วัดหนองบัว นำหมากพลูมาถวายหลวงปู่ยิ้ม ซึ่งท่านเคารพหลวงปู่ยิ้มมาก

    ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ยิ้ม พูดกับท่านว่า ถ้าสนใจในวิทยาคมก็จะถ่ายทอดให้ ท่านจึงรีบขอเป็นศิษย์ทันที หลวงปู่ยิ้ม มอบบทเรียนบทแรกว่าด้วยการทดสอบพลังจิต โดยจุดเทียนตั้งไว้ที่ขันน้ำมนต์ แล้วให้ท่านเพ่งกระแสจิตไปที่เทียนให้เทียนขาดกลางให้ได้ ถ้าทำได้เมื่อใดจึงจะมอบวิชาให้

    หลวงปู่ใจ ทำอยู่ 7 คืน เทียนก็ไม่ยอมขาด หลังจากกลับมาพัก จึงตัดสินใจว่าถ้าหากคืนพรุ่งนี้ เทียนยังไม่ขาด ก็จะกลับอัมพวา ปรากฏว่าคืนวันที่ 8 ท่านทำได้สำเร็จ

    หลวงปู่ยิ้ม กล่าวชมว่า เมื่อแรกเรียนท่านก็เก่งกว่าเสียแล้วŽ เพราะหลวงปู่ยิ้ม ต้องทำอยู่นานถึง 15 วัน หลวงปู่ยิ้มจึงถ่ายทอดวิชาว่าด้วยการสร้างตะกรุดปราบทาษามหาระงับ ตะกรุดลูกอมอันเลื่องลือให้แก่หลวงปู่ใจจนหมดสิ้น

    ทั้งนี้ การสร้างวัตถุมงคล หลวงปู่ใจ จะพิถีพิถันใช้ความประณีตบรรจงอย่างที่สุด เช่น ตะกรุดแต่ละชนิด ต้องมีขนาดเท่ากัน การม้วนต้องเหมือนกัน การควั่นไหม 5 สีร้อยตะกรุด ต้องใช้เส้นไหมที่มีขนาดเท่ากันทุกเส้น เวลาควั่นต้องจัดเกลียวให้เป็นระเบียบเดียวกัน เป็นต้น

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2496 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสุทธิสาราวุฒาจารย์
    วันที่ 5 ธ.ค.2504 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชมงคลวุฒาจารย์

    มรณภาพ เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิ.ย.2505 สิริอายุ 100 ปี พรรษา 78

    :- https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/amulets/news_11039
    41848.jpg
    พระกริ่งอินทสุวัณโณ
    รายละเอียด

    พระกริ่งอินทสุวัณโณ หลวงปู่ใจ อินฺทสุวณฺโณ (พระราชมงคลวุฒาจารย์) อดีตเจ้าคณะจังหวัดและเจ้าอาวาสวัดเสด็จ ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา สมุทรสงคราม พุทธคุณแคล้วคลาดและเมตตามหานิยม มีหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ปลุกเสก ประวัติโดยย่อหลวงปู่ใจ เดิมชื่อ ใจ ขำสมชัย เกิดวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2405 ณ บ้าน ต.บางกุ้ง อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม บุตรนายขำ นางหุ่น ขำสมชัย ปี พ.ศ. 2426 อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางเกาะเทพศักดิ์ มี พระอาจารย์จุ้ยเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา อินทสุวัณโณ เป็นศิษย์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. 2434 เป็น เจ้าอาวาสวัดใหม่ยายอิ่มต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดเสด็จ พ.ศ.2469 เป็นเจ้าคณะอำเภอที่พระครูสุทธิสาร พ.ศ.2496 เป็น พระสุทธิสาราวุฒาจารย์ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2504 เป็นพระราชมงคลวุฒาจารย์ และมรณภาพ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2505 สิริอายุได้ 100 ปีพระราชทานเพลิงศพ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2506
    :- http://dupra.mirakar.com/shop.php?id_pro=3064&id_member=225
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2021
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๒๓๐ .ผีโพง ป่าคำ ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    66,059 viewsNov 21, 2021

    เรื่องราวลี้ลับของอสุรกายผีโพง ที่บ้านป่าคำ เขตเมืองปางยาง รัฐฉานเหนือ
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์

    AKedOLR5CUQ6zi36TIVzxRg-0kvM3mTkobYG5DT9lXlb=s48-c-k-c0x00ffffff-no-rj.jpg
    หลวงตา

    6,482 viewsNov 23, 2021

    พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ "เทวดาแห่งเมืองคอน" อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    images.jpg
    ประวัติพระครูพิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนฺทสุวณฺโณ)

    พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนฺทสุวณฺโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขันและวัดพระธาตุน้อย เดิมชื่อ คล้าย สีนิล เกิดวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2417 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95 ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็ง มรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2513 รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน

    ลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นที่รักของบิดามารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก

    เมื่ออายุ 15 ปี ประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พระครูพิศิษฐ์อรรถการได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเอง และใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ

    ขาของพระครูพิศิษฐ์อรรถการนั้นเสียข้างหนึ่ง คือ ขาด้านซ้ายขาดตั้งแต่ตาตุ่มลงไป (เสียตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดนต้นไม้ทับที่บ้านญาติของท่านที่ จ.กระบี่ ขาเป็นหนองเลยต้องตัดทิ้ง โดยท่านใช้มีดปาดตาลตัดเอง) ท่านเลยต้องใส่กระบอกไม้ไผ่แทน

    พระครูพิศิษฐ์อรรถการได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2438 (อายุ 19 ปี) บรรพชาที่วัดจันดี ต.หลักช้าง บรรพชาโดยอาจารย์ พระอธิการจัน เจ้าอาวาสวัดจันดี (ทุ่งปอน) และพระครูพิศิษฐ์อรรถการสามารถท่องจำพระปาฏิโมกข์จนได้แม่นยำ

    เมื่ออายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุทกุกเขปสีมา หรือศาลาน้ำ ได้รับฉายาว่า จนฺทสุวณฺโณ ณ วัดวังม่วง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช โดยมี พระครูกราย คงคสุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี

    ตามประวัติ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ ท่านมีความเคารพนับถือ พระเกจิอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งแม้จะไม่เคยพบเห็นหน้าตากันมาก่อนเลยก็ตาม พระเกจิอาจารย์ท่านนั้นคือ หลวงพ่อเฟื่อง วัดคงคาเลียบ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ตอนที่ หลวงพ่อเฟื่อง มรณภาพ ก็ได้ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ นี้แหละ เป็นผู้นำอัฐิของ หลวงพ่อเฟื่อง ขึ้นไปบรรจุไว้บน เจดีย์วัดคงคาเลียบ ที่ตั้งตระหง่านสูงเด่นอย่างสวยงามอยู่ริมถนนสายเอเซีย หาดใหญ่-พัทลุง ตราบเท่าทุกวันนี้
    ผลงานและเกียรติคุณ
    ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการในปี พ.ศ. 2498 ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในนามสมณศักดิ์เดิม แต่ประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามชื่อเดิมว่า พระครูพิศิษฐ์อรรถการ
    ตำแหน่ง



      • เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อย ใน พ.ศ. 2500 เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ประชาชนได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว วัดนี้ก็เป็นที่ประดิษฐานสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว
        งานด้านศาสนา
        พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ผลงานสำคัญ ดังเช่น

        สร้างวัด พระครูพิศิษฐ์อรรถการ ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง เมื่อ พ.ศ. 2445 จนมรณภาพ แต่เมื่อ พ.ศ 2500 ท่านยังได้เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อยอีกด้วย เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ชาวบ้านได้สร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพระครูพิศิษฐ์อรรถการ และสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุทั้งหมด การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. 2513 และแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส พระครูพิศิษฐ์อรรถการมรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ..ศ. 2513 รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ในสัตตมวาร หรือพระเจดีย์น้อยวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน

        พระครูพิศิษฐ์อรรถการเห็นความสำคัญของปูชนียสถาน จึงได้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ วัดมะปรางงาม ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. 2490พ.ศ. 2500 ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดินใกล้ตลาดนาบอนจึงสร้างวัดขึ้นเรียกชื่อตามสมณศักดิ์ว่า วัดพิศิษฐ์อรรถการาม

        สร้างพระเจดีย์ พระครูพิศิษฐ์อรรถการได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสาร

        พ่อท่านคล้ายได้รับนิมนต์เพื่อไปช่วยเหลือวัดกลางเก่า(บ้านดอน) อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี ที่ถูกไฟไหม้เป็นเวลา ๔ วัน ๔ คืน เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๖ และได้นำรูปกระจกมาแจกเพื่อให้ญาติโยมได้ทำบุญช่วยเหลือวัดกลาง มีข้อความระบุบนรูปกระจกว่า “ให้เป็นที่ระลึกในการช่วยเหลือวัดกลาง ๓๐ ตุลาคม ๒๔๙๘” สมัยนั้นหากพ่อท่านมีกิจนิมนต์ในละแวก อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี พ่อท่านมักจะมาจำวัดที่วัดกลางเก่า(บ้านดอน) โดยในสมัยนั้นที่วัดกลางเก่า(บ้านดอน)มีเจ้าอธิการพระมหายุตต์ ธมฺมวิริโย เป็นเจ้าอาวาสและเป็นสหธรรมิกกับพ่อท่านคล้าย ซึ่งต่อมาท่านได้สร้างพระเครื่องและพ่อท่านคล้ายได้มาร่วมทำการปลุกเสกด้วย อีกทั้งพ่อท่านได้เคยมาปลูกต้นโพธิ์ไว้ที่วัดกลางเก่า(บ้านดอน) ซึ่งปัจจุบันยังคงปรากฏให้เห็นอยู่
        งานด้านพัฒนาท้องถิ่น
        พระครูพิศิษฐ์อรรถการ จัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ตลอดชีวิต ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ได้เดินทางไปพัฒนาในที่ต่าง ๆ มากมาย สร้างถนน สะพานมากมาย ด้วยเมตตาบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และประชาชน ดังเช่น
        • สร้างถนนเข้าวัดจันดี
        • ถนนจากตำบลละอายไปพิปูน
        • ถนนจากวัดสวนขันไปยังสถานีรถไฟคลองจันดี
        • ถนนจากตำบลละอายไปนาแว
        • ถนนระหว่างหมู่บ้านในตำบลละอาย
        • สะพานข้ามคลองคุดด้วนเข้าวัดสวนขัน
        • สะพานข้ามแม่น้ำตาปีจากตลาดทานพอไปนาแว
        • สะพานข้ามคลองเสหลา หน้าวัดมะปรางงาม
        • สะพานข้ามคลองจันดี เป็นต้น
          ด้านความมีเมตตาและวาจาสิทธิ์
          ศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือ ศรัทธาพระครูพิศิษฐ์อรรถการได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พระครูพิศิษฐ์อรรถการจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน "ขอให้เป็นสุข เป็นสุข" ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย

          ความวาจาสิทธิ์ ของท่าน

          มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ไป จังหวัดชุมพร ท่านต้องขึ้นรถไฟที่สถานีคลองจันดี สมัยนั้นยังเป็นรถไฟหัวจักรไอน้ำ ท่านลืมสังฆาฎิที่บ้านญาติโยมในตลาดจันดี พอดีรถไฟที่ท่านจะต้องขึ้นกำลังเปิดหวู้ดจะออก ท่านบอกให้เด็กวัดที่ไปกับท่านไปเอาสังฆาฏิ ที่บ้านญาติโยม ในตลาดจันดี เด็กที่ไปกับท่านบอกว่า ไม่ทันแล้วพระครูพิศิษฐ์อรรถการ รถจะออกแล้ว พอท่านกล่าวว่า ไปตะ รถไฟมันรอ สิ้นคำพระครูพิศิษฐ์อรรถการรถไฟออก แต่ออกไปไม่ได้ รถล้อฟรี นี้คือความวาจาสิทธิ์ของท่าน

          มีอยู่คราหนึ่ง มีโจรเข้ามาขโมยโกร่ง (ตู้รับบริจาค) ในวัดธาตุน้อยและมีคนมาบอกพระครูพิศิษฐ์อรรถการ พระครูพิศิษฐ์อรรถการกล่าวว่า ไซรมั่นเหล่า เดี่ยวก็เอามาคืนปรากฏว่าโจรนำออกไปนอกวัดไม่ได้เลยเดินวนเวียนหลายหน เห็นรอบวัดมีแต่น้ำไปหมด

          คนที่ไปนมัสการหวังที่จะได้วัตถุมงคล บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพระครูพิศิษฐ์อรรถการก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด
          มรณภาพ
        • พ่อท่านคล้ายหรือพระครูพิศิษฐ์อรรถการ เมื่อครั้นถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2513 ตรงกับแรม 9 ค่ำ เดือน12 ปีจอ พ่อท่านจะต้องเดินทางไปจังหวัดสุรินทร์ เนื่องในงานพุทธาภิเษกที่คณะพุทธบริษัท จังหวัดนั้นนิมนต์ใว้ เวลา 16.00 น. ของวันเดินทาง คณะศิษย์เป็นว่าพ่อท่านอาพาธกะทันหัน จึงนิมนต์พ่อท่านขึ้นรถด่วนเข้ากรุงเทพ ถึงวันรุ่งขึ้นได้นำพ่อท่านเข้าโรงพยาบาลพระมงกุฎในวันนั้น แพทยืได้พยายามรักษาจนเต็มความสามารถ เป็นเวลา 14 วัน อาการมีแต่ทรงกับทรุด ครั้งถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2513 เวลา 23.05 น. พ่อท่านคล้าย มรณภาพด้วยอาการสงบ รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน
    :- https://th.wikipedia.org/wiki/พระครูพิศิษฐ์อรรถการ_(คล้าย_จนฺทสุวณฺโณ)
    วัตถุมงคล :- https://www.google.com/search?sxsrf...jokEHd8HCIYQ7Al6BAgCEDk&biw=951&bih=588&dpr=1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2021
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    คติธรรม~คำสอน พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ เทวดาเมืองคอน
    nakhononline-640x417.jpg
    สาธุดังๆ!!! คติธรรม คำสอน ~ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์, พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ, พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปว่า “พ่อท่านคล้าย” เทวดาเมืองคอน

    “ทุกคนเกิดมาในโลกนี้แล้ว มีโอกาสทำชั่วได้หมด
    ก็ควรหาโอกาสเสริมสร้างความดีเอาไว้บ้าง
    คนทำชั่ว นั้นก็เพราะ ไม่มีสติไม่มีปัญญา
    จึงเป็นเหตุ ให้ไปก่อทุกข์ภัยมาสู่ตนเอง”

    1-20.jpg


    อันทุกคนที่เกิดมาบนโลกนี้ จะไม่เคยทำชั่วเลยนั้น คงจะไม่มีแม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก่อนที่จะบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ทรงผิดพลาดมาแล้วเช่นกัน

    เพียงแต่หากรู้ว่าผิดแล้ว ก็ควรทำให้ถูกเสีย แบบนี้จึงได้ชื่อว่าผู้มีปัญญา คนที่ทำความชั่วทุกคน ต่างก็เป็นเพราะขาดสติ เมื่อไม่มีสติ ปัญญาจึงหามีไม่

    คำว่าปัญญาในทางพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้วัดกันที่ความรู้ทางด้านวิชาการ หรือความรู้ด้านไอคิว ซึ่งเป็นความรู้ทางโลก แต่ปัญญาทางพระพุทธศาสนานั้น เป็นความรู้ทางจิตใจ

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิตใจที่ถูกฝึกฝนขัดเกลามาดีแล้วนั้น ย่อมชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญามาก

    3-10.jpg

    ที่กล่าวมานี้ใช่จะกล่าวว่า ความรู้ทางโลกนั้นไม่สำคัญเพียงแต่การที่มีความรู้ทางโลกเพียงอย่างเดียว ก็ไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ ถึงจะมีความสุขก็เป็นความสุขจอมปลอม หรือเป็นความสุขที่ปรุงแต่งขึ้นมาเอง ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริงตามหลักพระพุทธศาสนา

    เวลามีความสุข ตอนนั้นจะยังไม่มีใครอยากทำความชั่ว แต่เมื่อชีวิตเริ่มเกิดปัญญา และมีอุปสรรคขึ้นมา ตอนนี้แหละที่จะ

    เป็นเครื่องวัดว่า ใครจะใช้ปัญญาแก้ไขได้ดีกว่ากัน หากใช้ปัญญาทางโลกแก้ปัญหา มักจะเกิดข้อผิดพลาด เพราะเป็นการแก้ที่ภายนอก แก้ที่คนอื่นแก้ที่สิ่งรอบตัว

    5-6.jpg


    แต่ปัญญาทางธรรมนั้น สอนให้แก้ที่ในตัวและ ในจิตใจของตัวเองเป็นหลัก ผู้ที่ไม่มีสติจึงมักมองออกนอกตัวเมื่อเกิดเรื่องอะไรขึ้นจะโยนไปให้คนอื่นตลอด โดยไม่ได้สนใจเลยว่าตัวเองทำผิดหรือไม่ สุดท้ายแล้วความชั่วที่โยนออกไปก็ไม่ได้ไปที่ไหน ก็อยู่ที่ใจคนโยนนั่นเอง

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนว่า

    เมื่อให้สิ่งใดกับใคร สิ่งนั้นก็จะอยู่กับเรา

    ดังนั้นเมื่อเราให้ความชั่วแก่คนอื่น ความชั่วก็อยู่กับเรา แต่ถ้าเราให้
    ความดีแก่คนอื่น ความดีก็จะอยู่กับเราเช่นกัน

    6-4.jpg

    ขอขอบคุณ : palungjit.org / บารมีพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    วิบากกรรมที่เชียงใหม่

    thamnu onprasert
    52,568 viewsNov 23, 2021
    เรื่องราวกฏแห่งกรรม วิบากกรรม ที่เกิดขึ้นกับผู้คน ณ เมืองเชียงใหม่ในอดีตที่ผ่านมา..



     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ธุดงค์ไปพม่าในเส้นทางเถื่อน | เรื่องเล่าพระธุดงค์ | หลวงพ่อจง พุทธสโร

    100 เรื่องเล่า
    19,199 viewsNov 24, 2021
    ธุดงค์ไปพม่าในเส้นทางเถื่อน เป็นเรื่องเล่าในส่วนหนึ่งของหลวงพ่อจง พุทธสโร แห่งวัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นพระหนุ่ม ท่านเคยเดินจาริกธุดงค์ไปประเทศพม่า เพื่อนมัสการพระมหาเจดีย์ชเวดากอง ในตอนแรกท่านเดินทางไปเพียงรูปเดียว แต่ในระหว่างทางก็มีพระภิกษุขอร่วมเดินทางไปกับท่านด้วย แต่ก็ต้องมรณะภาพไปในระหว่างทาง 7 รูป ด้วยสัตว์ร้าย ต่างเช่นงู เสือ จรเข้ และไข้ป่า สุดท้ายแล้วก็เหลือเพียงท่านเพียงรูปเดียวที่ได้ไปนมัสการพระมหาเจดีย์ชเวดากอง ในประเทศพม่า และท่านก็เดินทางกลับเพียงลำพังรูปเดียว ในเส้นทางที่ทุรกันดาร เต็มไปด้วยภยันตรายต่างๆรอบด้าน

    เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญรับฟังได้เลยครับ ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    Lp.jpg
    หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน จ.พิจิตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2022
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

    หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ มีนามเดิมว่า "เงิน" เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 10 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2348

    "หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ" เป็นชาวบ้านบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรคนที่ 4 บิดาของท่านชื่อ อู๋ เป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาของท่านชื่อฟัก เป็นชาวบ้าน จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์ มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 6 คนด้วยกัน (มีพี่น้องร่วม บิดาเดียวกันทั้งหมด 6 คน คนที่ 1 ชื่อ พรม คนที่ 2 ชื่อทับ คนที่ 3 ชื่อ ทอง คนที่ 4 ชื่อ เงิน คนที่ 5 ชื่อ หล่ำ คนที่ 6 ชื่อ รอด)

    b2.jpg ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

    เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้พา หลวงพ่อเงิน ไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่ง หลวงพ่อเงิน เติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำ หลวงพ่อเงิน ไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมา จนหลวงพ่อเงินอายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วหลวงพ่อเงิน ท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงคราม ท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตาราม

    b22_1.jpg ประวัติหลวงพ่อเงิน

    ต่อมา หลวงพ่อเงิน ย้ายมาจำพรรษาที่ วัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) จ.พิจิตร ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หลวงพ่อเงิน หรือ หลวงปู่เงิน ในสมัยนัันมีผู้คนมาให้ท่านช่วยรดน้ำมนต์ให้ไม่ขาดสาย ลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงินวัดบางคลานที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อมาก็มีหลายท่าน เช่น

    หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ที่มีชื่อเสียงในด้านตะกรุดคู่ชีวิต
    หลวงพ่อน้อย วัดคงคาราม ผู้สร้างตะกรุดหนังปลากระเบน และตะกรุดหนังอีเก้ง ปลัดชุ่ม วัดท้ายน้ำ
    หลวงพ่อหอม วัดหลวง
    หลวงพ่อนวล วัดหาดมูลกระบือ
    หลวงพ่อฟุ้ง วัดปากน้ำ
    หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย
    หลวงพ่อไป๋ วัดท่าหลวงพล ผู้สร้างเหรียญหล่อหลวงพ่อเพชรจำลอง
    หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ

    นอกจากนี้ศิษย์ฆราวาสก็คือเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ท้ายที่สุด หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ ฝ่ายวิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเงิน ท่านได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีมะแมเวลา 5.00 น.ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462 รวมอายุได้ 111 ปีพรรษา 90 ณ วัดวังตะโก ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร คงทิ้งไว้แต่เรื่องราวอันเป็นปาฏิหาริย์มากมาย นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีอายุยืนนานมากที่สุดรูปหนึ่ง
    จนมาถึงในปัจจุบัน หากใครที่ติดตามหรืออยู่ในแวดวงพระเครื่องจะต้องรู้กันดีถึงพระหลวงพ่อเงิน ว่าเป็นพระเครื่องหายากสามารถคุ้มครอง ทรงคุณทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี และเสน่ห์เมตตามหานิยม ให้ลาภผลแก่ผู้สักการบูชา

    >>>>>> ตัวอย่างพระเครื่องอันโด่งดังของหลวงพ่อเงิน <<<<<



    b33.jpg ตัวอย่างพระเครื่องอันโด่งดังของหลวงพ่อเงิน



    b44.jpg ตัวอย่างพระเครื่องอันโด่งดังของหลวงพ่อเงิน



    อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    >>>> คำบูชา คาถาหลวงพ่อเงิน คลิก!
    :- https://www.sanook.com/horoscope/53405/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2023
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    lpsuk.jpg
    ประวัติพระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท (2390 - 2466)

    พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข)
    วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท

    นามเดิม ท่านชื่อ ศุข นามสกุล เกษเวช ต่อมาลูกหลานได้ใช้ เกษเวชสุริยา ก็มี เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีวอก พ.ศ. ๒๓๙๐ ที่บ้านมะขามเฒ่า ( เรียกกันในสมัยนั้น ปัจจุบันเรียก บ้านปากคลอง ) ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โยมบิดาชื่อ น่วม โยมมารดาชื่อ ทองดี ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลนี้ มีบุตรและธิดา ด้วยกัน ๙ คน ( ๑ ) หลวงปู่ศุข ( ๒ ) นางอ่ำ ( ๓ ) นายรุ่ง ( ๔ ) นางไข่ ( ๕ ) นายสิน ( ๖ ) นายมี ( ๗ ) นางขำ ( ๘ ) นายพลอย ( ๙ ) หลวงพ่อปลื้ม

    หลวงปู่นั้น ท่านมีลุงคนหนึ่งชื่อ แฟง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางเขน จังหวัดพระนคร ( ในสมัยนั้น ) มีอาชีพ ทำสวน ไม่มีบุตรหรือธิดา จึงได้มาขอหลานจากโยมบิดามารดาหลวงปู่ศุขไปเลี้ยง โยมท่านก็อนุญาตให้เลือกเอา ลุงแฟงก็เลือกเอาคนโต หรือ เรียกว่าคนหัวปี คือ หลวงปูศุข เข้าใจว่าขณะนั้นอายุประมาณ ๑๐ ขวบ เมื่อหลวงปู่ศุขไปอยู่กับลุงแฟง เจริญเติบโตที่ตำบลบางเขน จนอายุได้ ๑๘ ปี ก็ได้ภรรยาคนหนึ่งชื่อ สมบุญ อยู่ครองคู่กันโดยประกอบอาชีพทำสวน ต่อมาได้กำเนิดบุตรชาย ๑ คน ชื่อ สอน
    การอุปสมบทของหลวงปู่ศุขนั้น ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๕ ปี ที่วัดโพธิ์บางเขน ( ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโพธิ์ทองล่าง ) โดยมี พระครูเชย จนฺทสิริ วัดโพธิ์บางเขน เป็น พระอุปัชฌาย์ พระถายมเป็นพระคู่สวด การอุปสมบทนี้มีลุงแฟงเป็นผู้อุปการะทั้งสิ้น ส่วนโยมบิดามารดาไม่ได้มาร่วมพิธีด้วย เพราะการเดินทางสมัยนั้นลำบากมาก จากชัยนาทถึงกรุงเทพฯ ก็กินเวลาอย่างน้อย ๒ ถึง ๓ วัน จึงจะถึง

    เมื่อได้อุปสมบทแล้วอยู่กับพระอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์หาที่สงบฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชาอาคมต่าง ๆ จากสำนักที่มีชื่อเสี่ยงโด่งดังในสมัยนั้นจนชำนาญดีแล้ว จึงกราบลาอาจารย์กลับบ้านเกิดของท่าน โดยมาพักอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งข้างหมู่บ้านของท่าน ชื่อวัดอู่ทอง ปัจจุบันนี้เรียกว่า วัดปากคลอง ชาวบ้านแถวนั้นมีความศรัทธาเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั้น เพื่อที่ว่าจะได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ ดังนั้นท่านจึงได้อยู่ ณ ที่นั้นมาจนท่านมรณภาพ
     

แชร์หน้านี้

Loading...