หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    lpthongsukwatnongkor.jpg
    ประวัติหลวงพ่อทองสุข ลทุธเมโธ วัดหนองฆ้อ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

    หลวงพ่อทองสุข ลทฺธเมโธ วัดหนองฆ้อ อายุ 82-83ปี 62 พรรษา (ณ ปี พ.ศ.2562) เจ้าอาวาสวัดหนองฆ้อ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่แก้วเกสาโร พระผู้ทรงพุทธาคมแห่งวัดหนองพะวา ผู้คนเริ่มรู้จักท่านเมื่อครั้งพิธีปลุกเสกสีผึ้งพรายแม่ส้มที่วัดระหารไร่ เมื่อครั้งหลวงพ่อทองสุข นั่งอธิฐานจิตปลุกเสกในขณะที่นั่งอยู่นั้นได้เกิดปรากฏการน้ำมนต์เดือด และสายสิญจน์ที่ท่านปลุกเสกอยู่นั้นไม่ไหม้ไฟ ปรากฏการนี้ทำให้หลายคนถึงกับตกตลึงว่าเกจิรูปนี้คือใคร มาจากไหน และหลานคนคนคิดว่าลูกศิษย์หลวงปู่ทิมหลวงปู่แก้ว มีหลวงพ่อสิน หลวงพ่อสาคร เท่านั้นหรือแล้วหลวงพ่อทองสุขท่านมาจากไหน ต้องบอกเลยว่าลูกศิษย์หลวงปู่ทิม หลวงปู่แก้ว ไม่ได้มีเพียงหลวงพ่อสิน หลวงพ่อสาคร เท่านั้นหลวงปู่ทิมท่านยังมีลูกศิษย์ อีกหลายท่านหลายรูปที่เรายังไม่รู้จักทั้งมีชีวิตอยู่และมรณภาพไปแล้วเช่นหลวงปู่โทน วัดเขาคีรีน้อย หลวงปู่ทิมรับเป็นศิษย์เมื่อครั้งจำพรรษาที่วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี หลวงพ่อบาง วัดหนองกาน้ำ หลวงพ่อทวน วัดแม่น้ำคู้ อ.ปลวกแดง หลวงปู่เย็นวัดหัวชวด ที่กล่าวมาก็เป็นที่พอรู้จักกันบ้าง และมีบางรูปท่านหลายท่านไม่รู้จักเลย หลวงพ่อทองสุข ลทฺธเมโธ วัดหนองฆ้อ ถือว่าเป็นศิษย์หลวงปู่ทิมหลวงปู่แก้วที่คนรู้จักน้อยมาก เพราะท่านรักความสงบเรียบง่ายสมถะเก็บตัวเงียบ ไม่ค่อยได้เปิดเผยตัวเองท่านไม่ชอบความวุ่นวายและอยู่แบบนี้เรื่อยมา
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    หลวงพ่อทองสุข ลทฺธเมโธ เจ้าอาวาสวัดหนองฆ้อ นามเดิม ทองสุข นามสกุล ขอบอรัญ เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ 22 พฤษภาคม 2479 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปี ชวด ท่านเป็นบุตรของโยมพ่ออ่ำ และโยมแม่อวบบ้านเกิดหนองคอกหมู หมู่ที่ 3 ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นหมู่บ้านใกล้บ้านค่าย มีหลวงพ่อวงษ์ (อดีต)เจ้าอาวาสวัดหนองฆ้อ หลวงพ่อจะตามโยมบิดา มารดาไปทำบุญที่วัดบ้านค่ายอยู่เป็นประจำ ได้และเห็นจริยาวัตรอันงดงามเห็นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของพระภิกษุสงฆ์ทำให้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธ หลวงปู่สุขท่านมีนิสัยรักความสงบชอบศึกษาเรื่องราวเกี่ยวธรรมมะประกอบกับมีอุปนิสัยรักสันโดษ และท่านยังชอบเรียนรู้สิ่งต่างไม่ทางตำราว่านยา สมุนไพร เรื่องราวเกี่ยวกับลี้ลับต่างตั้งแต่สมัยท่านอายุยังไม่ครบบวช จึงไม่แปลกใจที่ท่านมีความรู้เรื่องราวต่างมากมาย ครั้นเมื่ออายุครบ 21 ปีอายุครบบวชท่านตั้งใจว่า วันหนึ่งเราจะบวชแบบหลวงพ่อวงษ์และศิษย์ของท่าน เมื่อถึงเวลาท่านได้ให้โยมบิดา โยมมารดาพาไปฝากวัดและอุปสมบทเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2500 โดยมีพระครูวิจิตรธรรมนุวัติ (หลวงพ่อลัด )วัดหนองกระบอกเป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระสวัสดิ์ กิตฺตวณฺโณ วัดกระบกขึ้นผึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการสร้อย ถริธมฺโม วัดหวายกรองเป็นอนุสาวนาจารย์ ได้ ฉายา “ลทฺธเมโธ” หลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วท่านได้กลับไปจำพรรษาที่วัดหนองพะวา สลับไปปฏิบัติกับพระอุปัชฌาย์ของท่าน (หลวงพ่อลัด)ที่วัดหนองกระบอกได้เรียนรู้สรรพวิชาต่างหลวงพ่อลัดไม่ว่าจะธรรมบาลี ฝึกหัดเรียนอักขระตัวธรรม หัดท่องบทสวดมนต์ พระคาถาต่าง ซึ่งเป็นพื้นฐาน หลวงพ่อทองสุขท่านมีไหวพริบดี สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและยังอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เคยโอ้อวดใครและมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เสมอระหว่างที่ไปสลับไปมา ระหว่างวัดหนองพะวะและหนองกระบอกท่านก็ได้เรียนรู้การฝึกวิปัสสนา ฝึกกรรมฐาน นั่งสมาธิภาวนาอยู่ตลอดเวลาและได้เรียนวิชาต่าง และท่านได้เรียนวิชาจากหลวงปู่แก้ว เกสาโร ไม่ว่าจะวิชาตั้งธาตุ 4 นะ มะ พะ ธะ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งเป็นพื้นฐานผู้ที่จะเรียน กสินต่างๆหลวงพ่อทองสุขได้เรียนวิชาหลวงปู่แก้ว ไม่ว่าจะเป็นวิชาสักยันต์ ว่านยาดูฤกษ์ยาม ต่าง การเขียนอักขระเลขยันต์หลวงปู่แก้วได้ถ่ายทอดให้พลวงพ่อทองสุข ยันต์ที่หลวงปู่แก้ว ได้หัดให้หลวงพ่อทองสุขคือยันต์ อิติปิโสแปดทิศ หลวงพ่อทองสุขได้เริ่มหัดเขียนยันต์นี้เป็นยันต์แรกใช้เวลาหลายวันหลวงปู่แก้วจะให้ท่องพระคาถาไปด้วยในขณะที่เขียนยันต์ เพื่อให้เกิดสมาธิและเพื่อให้เกิดพุทธคุณเมื่อหลวงปู่แก้วท่านเห็นว่าผ่านแล้วท่านจึงสอนยันต์ถัดไปหลวงปู่แก้วท่าเคร่งมากหากยังไม่ชำนาญท่านจะยังไม่สอนต่อและระหว่างที่เรียนท่านจะทดสอบอยู่เสมอเมื่อหลวงพ่อทองสุขได้เรียนรู้เกี่ยวกับอักขระเลขยันต์จนชำนาญแล้วหลวงปู่แก้วจึ่งเริ่มหัดให้ท่านสักยันต์ ให้ ยันต์ที่หลวงปู่แก้วสักให้หลวงพ่อทองสุข มีหลายยันต์ เช่นยันต์อิติปิโสแปด ยันต์พุทธเจ้าห้าพระองค์ ยันต์หนุมาน ยันต์สาม การที่หลวงปู่แก้วท่านสักยันต์ให้หลวงพ่อทองสุขนั้นเป็นเครื่องหมายว่ายอมรับการเป็นศิษย์อย่างสมบูรณ์ หลักจากได้รับการสักยันต์จากหลวงปู่แก้วแล้วหลวงพ่อทองสุข ก็เริ่มสักให้ญาติโยมแทนหลวงปู่แก้วในการสักแต่ละครั้งต้องดูฤกษ์ยามอันเป็นมงคลที่สุดแล้วค่อยทำการสักยันต์ ในสมัยนั้นจะมีการสักอยู่สองแบบคือสักหมึกและสักน้ำมันว่าน เมื่อสักเสร็จแล้วหลวงปู่แก้วท่านก็จะมาบรรจุคาถาอาคมให้เป็นอันเสร็จพิธี หลวงพ่อทองสุขท่านอยู่จำพรรษาที่วัดหนองพะวาถึง 5 พรรษา ก่อนที่จะเดินทางไปที่วัดหวายกองและอยู่จำพรรษา 1 พรรษา หลังจากพรรษาหลวงพ่อทองสุขเดินไปที่พักสงฆ์ดอนจันทร์ สมัยก่อนต้องเดินทางด้วยเท้าไม่ค่อยถนนหนทางมีแต่ป่าไม้จำทำให้เดินไปไหนมาไหนไม่ค่อยสะดวกหนักเมื่อท่านถึงพักสงฆ์ดอนจันทร์ วัดดอนจันทร์ เดิมในสมัยโบราณชาวชาวบ้านเรียกว่า วัดเนินจันทร์ เพราะเป็นเนินเตี้ยๆสภาพพื้นที่เป็นดินทรายละเอียดและมีไม้จันทร์หอมต้นใหญ่อยู่แถวที่บริเวณสร้างวัด ชาวบ้านจึงเรียกกันว่าวัดเนินนสมัยก่อนนั้นไม่มีรถและถนนหนทางก็ไม่สะดวกสบายเหมือนปัจจุบันนี้ ต่างคนก็คิดเห็นความบากจึงตกลงกันสร้างวัดในระยะเริ่มแรกสร้างเป็นกุฎีหลังเล็กๆขึ้นหนึ่งหลังพอเป็นที่พักของพระภิกษุสงฆ์ และได้อาราธนาพระภิกษุมาจากวัดต่างๆรวมทั้งหมด 7 รูป เมื่อเป็นวัดถูกต้องตามระเบียบของทางการแล้ว พระทองสุข ลทฺธเมโธ ได้รับการแต่งตั้งเจ้าอาวาสรูปแรกเมื่อพ.ศ.2531 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
    ในระหว่างที่หลวงพ่อทองสุขท่านจำพรรษาที่วัดดอนจันทร์ได้ก็ได้ถือโอกาสไปศึกษาเล่าเรียนวิชาจากหลวงปู่ทิมเป็นเวลาหลายพรรษาระหว่างที่ศึกษาวิชากับหลวงปู่ทิมนั้นท่านก็จะได้เรียนจากจากหลวงปู่แก้วอีกด้วยเพราะหลวงปู่แก้วท่านมาวัดละหารไร่อยู่เป็นประจำ วิชาที่ได้เรียนจากหลวงปู่ทิมคือการทำน้ำมนต์ ตำราการปลุกเสก วิชาอักขระเลขยันต์ วิชาแพทย์หลวงพ่อทองสุขท่านชอบศึกษาวิชาด่านสมุนไพรว่านยา ท่านจึงได้รับการถ่ายทอดมามาจากหลวงปู่ทิมและโยมฆาราวาสน นอกจากท่านไปมากับวัดอยู่พระหากท่านติดขัดเรื่องไหนเมื่อถามหลวงปู่ทิม หลวงปู่ทิมก็จะบอกว่าให้ไปหาหลวงปู่แก้วให้หลวงปู่แก้วบอกสอนแทนท่าน ดั้งนั้นหลวงพ่อทองสุข ท่านจะได้เรียนวิชาจากหลวงปู่แก้วมากกว่าหลวงปู่ทิมเพราะหลวงปู่ทิมท่านมีลูกศิษย์หลายท่านประกอบด้วยท่านมีกิจนิมนต์มากมาขอศึกษาเล่าเรียนวิชาจากท่านในยุคนั้น หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับท่านก็ไปมาที่วัดละหารไร่อยู่เป็นประจำ เพื่อมาศึกษาเล่าเรียนเวทย์มนต์คาถา ตำราต่างๆ จากหลวงปู่ทิม นอกจากได้พบเกจิหลายท่านเช่นหลวงพ่อสินวัดละหารใหญ่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กันอยู่เสมอ หลวงพ่อทองสุข ท่านคอยติดตามหลวงปู่แก้ว ตลอดเวลาไม่ว่าหลวงปู่แก้วจะเดินทางไปไหนท่านก็ติดตามไปทุกที่เช่นเมื่อครั้งหลวงปู่ทิม หลวงปู่แก้วไปจำพรรษาที่วัดแม้น้ำคู้ ท่านก็ติดตามหลวงปู่แก้ว หลวงพ่อทองสุขท่านมีความจำดีมากในเขต บ้านค่ายจะรู้จักท่านดีเพราะท่านเป็นพระคู่สวดปาฏิโมก ในสมัยนั้นเส้นทางสันจรยังลำบากจะเดินทางไปไหนต้องใช้เวลานานมากถ้าเดินทางไหนไกลๆต้องค้างคืนที่วัดนั้น

    4-34-600x450.jpg

    หลวงพ่อทองสุขท่านเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านละแวกนั้น และมีศิษยานุศิษย์ทั่วทุกสารทิศ

    5-19-450x600.jpg

    ประสบการณ์ด้านวัตถุมงคลของหลวงพ่อทองสุข นั้นมีมากมายทั้งทางด้านเมตตาแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีชาวบ้านในพื้นที่อำเภอบ้านค่ายต่างรู้จักท่านลูกศิษย์ท่านมีมากมาย และยังเป็นครูอาจารย์ของหลายเกจิ เช่นหลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย หลวงพ่อนพ วราโภ สำนักปฏิบัติธรรมสวนขนุน ชึ่งได้เล่าเรียนวิชาจากหลวงพ่อทองสุข ล้วนแต่มีประสบการณ์ วัตถุมงคลของท่านนั้น เริ่มสร้างตั้ง ปี 2517 เมื่อครั้งท่านยังจำพรรษาที่วัดดอนจันทร์ ท่านได้จัดสร้างพระสมเด็จเนื้อกระยาสารท รุ่นแรกท่านกดพิมพ์ ด้วยมือท่านเองที่ละองค์และสร้างจำนวนน้อย และได้แจกลูกศิษย์ชาวดอนจันทร์ ไว้บูชาติดตัวสมัยก่อนคนในพื้นที่ศรัทธาท่านมาก และลูกศิษย์ท่านมีหลายกลุ่ม ทั้งวัยรุ่น และโดยนิสัยของวัยรุ่นก็มีความคึกคะนองโดยปกติ เมื่อมีงานวัดก็ไปเที่ยวและเกิดการทะเลาะวิวาทเป็นธรรมดา เมื่อเกิดเรื่องก่อมีการยิงต่อสู้ ระหว่างวัยรุ่น ดอนจันทร์และวัยรุ่นเจ้าถิ่น วัยรุ่นดอนจันทร์นั้นพกพระสมเด็จของหลวงพ่อทองสุข เมื่อวัยรุ่นเจ้าถิ่น ชักปืนยิง 3 นัดแต่กระสุนไม่ออก ทำให้วัยรุ่นเจ้าถิ่นตกใจ ถึงกลับวิ่งหนี ไปตั้งหลัก ในหมู่บ้าน และสืบทราบคู่อริที่ยิงนั้นเป็นชาวหนอกละลอก หลวงพ่อทองสุขนั้นในช่วงต้นปี18 ท่านก็ไปมาระหว่างวัดดอนจันทร์ และวัดละหารไร่ ตลอดและได้มีโอกาสได้เรียนรู้ วิชาเพิ่มเติมจากหลวงปู่ทิม ท่านได้เดินทางไปพร้อมลุงเนา ในช่วงกลางคืนทุกวัน ไม่แปลกใจที่วัตถุมงคลจึงมีพุทธคุณครบทุกด้าน ทั้งเมตตาและแคล้วคลาด และท่านยังได้ติดตามหลวงปู่แก้ว ไปอยู่ที่วัดแม่น้ำคู้ เมื่อครั้งหลวงปู่แก้ว ปลุกเสกเหรียญ ปิดตาหลวงพ่อทองสุขท่านก็อยู่ในพิธีด้วย ท่านจึงเป็นเกจิอีกรูปหนึ่งที่วัตถุมงคลด้านคงกระพันชาตรี หลวงพ่อทองสุข ท่านไม่ชอบถ่ายรูปจึงไม่คอยมีรูปท่านเพราะท่านมีนิสัยรักสันโดษ และชอบศึกษาความรู้อยู่เป็นประจำ ยิ่งได้ใกล้ชิดครูอาจารย์ อย่างหลวงปู่แก้ว เกสาโร ท่านจึงได้รับการถ่ายทอดวิชาทั้งหมดที่มี ให้และเป็นศิษย์หลวงปู่แก้วไว้ใจ ในทุกเรื่อง ทั้งการสักยันต์ การทำน้ำมนต์หลวงปู่แก้วท่านได้สอนให้หลวงพ่อทองสุข ครบทุกอย่าง และหลวงพ่อนาค วัดหนองพะวา ผู้เป็นศิษย์น้อง หากทางวัดหนองพะวา จัดสร้างวัตถุมงคล เกจิที่ขาดไม่ได้คือหลวงพ่อทองสุข ที่หลวงพ่อนาคต้องนิมนต์ท่านมานั่งปรกอธิฐานจิต เพราะว่าด้วยวิชาอาคม หลวงพ่อทองสุข ท่านเก่งทุกด้าน เรื่องราวศักดิ์สิทธิ์ ของท่านไม่ใช่แค่วัตถุมงคลของท่าน น้ำมนต์ของท่านก็ศักดิ์สิทธิ์ ไม่แพ้กัน เมื่อครั้งท่านได้มาที่หนองฆ้อ เริ่มจัดตั้ง สำนักสงฆ์ ชาวบ้านมีการเจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ สามวันดี สี่วันหายและได้หาท่านว่าผีท่านได้ไปเอาขันน้ำมนต์ มาพรมให้อาการผิดปกติก็เริ่มดีขั้น ในช่วงที่ท่านมาอยู่ที่วัดหนองฆ้อ ท่านก็เริ่มจัดสร้างวัตถุมงคลหลายรุ่น เช่นพระผงสมเด็จ พระผงสมเด็จปรกโพธิ์ และเครื่องราง เช่นตระกรุด เป็นต้น
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    ชาวบ้านในพื้นที่ต่างพากันบูชาวัตถุมงคลของท่านเป็นจำนวนมาก และมีประสบการณ์อย่าง คุณอ้น ชาวบ้านหนองฆ้อมีอาชีพขับรถ ส่งของ ต่างจังหวัดอยู่เป็นประจำ วันหนึ่งได้เดินทางไปส่งสินค้าที่จังหวัด จันทบุรี พร้อมเพื่อนอีกสามคน อีกคนชื่องา ปัจจุบันบวชเป็นภิกษุที่วัดหนองฆ้อ ในขณะเดินทางเกิดฝนตกหนัก ทำให้มองไม่เป็นถนนรถได้เกิดอุบัติเหตุ พลิกควัมลงข้างทางทำให้รถพังเสียหายเป็นอย่างมาก ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์คิดว่าคนที่อยู่ในรถ ตายการหมดเพราะสภาพรถเสียหายมากแต่พอสักพักทั้งสามคนออกมาจากรถไม่มีใครได้รับบาดเจ็บเลยแม้แต่น้อย ชึ่งทำให้ชาวตกใจไม่มีใครเป็นที่อัจรรย์ใจให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์ และมีอีกหนึ่งเหตุการณ์ ป้าคร ลูกศิษย์หลวงพ่อทองสุข ได้ขับรถไปทำธุระได้เกิดอุบัติเหตุรถยนต์เสียหลักลงข้างทาง แต่ไม่รับอันตรายใดเลยในรถของป้าคร มีพระผงรูปเหมือนหลวงพ่อทองสุข และเหรียญ ฝังพัทธสีมา ติดตัวอยู่ นอกจากนี้ชาวบ้านส่วนมากมีอาชีพทำสวนมักจะถูกงูกัดอยู่เป็นประจำและสัตว์มีพิษ หลวงพ่อทองสุข จึงได้จัดสร้างพระผงสมเด็จปรกโพธิ์ เนื้อว่าน ผสมว่านกันงู เมื่อชาวบ้านนำไปบูชาติดตัว ไม่มีใครโดนงูกัดอีกเลย ทำให้วัตถุมงคลของท่านหายากเพิ่มมากขึ้น ในการสร้างวัตถุมงคลของท่าน ท่าจะเน้นเรื่องมวลสารมาก เพราะมวลสารทุกอย่างล้วนมีพลังพุทธคุณอยู่ในตัวอยู่แล้วท่านจึงพยายามหามวลสารมาให้ครบตามตำราที่ท่านได้เรียนมา นอกนี้สีผึ่งของท่านยังสิ่งที่ลูกศิษย์หลายคนนำไปบูชา เพราะหลายคนมีอาชีพค้าขาย ก็จะบูชา พุทธคุณนั้นเมตตา เหมือนมนต์นะจัง

    7-22-600x600.jpg

    คาถาเงินล้านของหลวงพ่อทองสุข ท่องแล้วร่ำรวย เงินทองไหลมาเทมา

    8-5-424x600.jpg
    :- https://verifound.com/เปิดประวัติหลวงพ่อทองส/
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    อาจารย์ยอด : หลวงปู่คำพอง ติสฺโส กรรมฐานพระป่า [พระ] new

    1,292,664 views
    อาจารย์ยอด
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่คำพอง ติสโส

    วัดถ้ำกกดู่
    อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    -หลวงปู่คำพอง-ติสโส.jpg
    หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    หลวงปู่คำพอง ติสโส ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ผู้ฝากชีวิตและจิตใจไว้กับความดีงาม ท่านเชื่อความดีที่เคยกระทํามา จึงมีความมั่นใจว่า “ความดีงาม นั้นต้องชนะอุปสรรคได้อย่างสิ้นสงสัย”

    ท่านหลวงปู่คําพอง ติสโส ท่านเป็นพระที่เปิดเผย พูดคําใดต้องเป็นคํานั้น และในคําพูด คําสอนของท่าน แม้เราไม่เข้าใจ จะคิดว่าเป็นวาจาที่รุนแรง แต่ ความจริงแล้ว ท่านไม่ได้รุนแรง กับคนฟัง! แต่รุนแรงกับกิเลสใน ตัวคนฟังต่างหาก…ดังนั้นผู้ฟัง เป็นจึงมีความเคารพบูชาท่าน ในฐานะที่พูดความจริงและเป็น การฆ่าเสียซึ่งกิเลสภายในใจคน ได้อย่างชะงัด!…
    หลวงปู่คําพอง ติสโส ท่านเกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๖๔ ณ บ้านตําบลสงเปลือย อําเภอเขื่อนคําแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี

    บิดาชื่อ บุญนาค มารดาชื่อ ลุน นามสกุล สงเคราะห์ อาชีพ ทํานาค้าขาย

    พออายุท่านเข้ารุ่นหนุ่ม ท่านเป็นนักค้ากําปั้นบนเวที (บนสังเวียน)

    ชีวิตอันทรหดและแสนลําเค็ญนี้ เป็นสัจธรรมให้ข้อคิดตั้งแต่บัดนั้นมา จึงหันเหเข้าสู่ทางธรรม

    83F0B9BF-57B6-4FCE-97DE-778A3F186879-875x1024.jpg
    หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
    อายุได้ ๒๒ ปีเต็มบริบูรณ์ ท่านได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ปีมะเมีย ณ พัทธสีมา วัดมหาไชย อ.หนองบัวลําภู จ.อุดรธานี โดยมี พระพิศาลคณานุกิจ (เส็ง กณฺณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์

    2-931x1024.jpg
    พระพิศาลคณานุกิจ (เส็ง กณฺณวโร) วัดมหาชัย อ.หนองบัวลำภู
    ผู้ตั้งวัด พ.ศ. ๒๔๘๓ – ๒๕๑๓ ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่หลวงปู่มั่น พาไปธุดงค์ด้วย
    และ เป็นพระอุปัชฌาย์ ของ หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่
    หลังจากบวชเป็นพระภิกษุหนุ่มแน่นแข็งแรงได้ไม่นาน ท่านก็ได้ออกเดินทางมายังพระธาตุพนม ในลักษณะธุดงควัตร จะเป็นด้วยความบังเอิญ หรือบุญบารมี ก็หารู้ไม่ ท่านได้มาพบบุพพาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านนามน จ.สกลนคร

    เพราะว่าขณะที่เดินทางไปถึงพระธาตุพนมนั้น เกิดได้ยินกิตติศัพท์ของท่าน จึงเดินทางมานมัสการ ซึ่งในคราวนั้น ก็มีท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม เดินทางไปพร้อมกัน ท่านจึงได้มอบกาย ถวายตัวเป็นศิษย์ตั้งแต่บัดนั้น
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    อุบายธรรมะต่าง ๆ ในระยะ แรก ๆ ท่านก็ได้รับการแนะนําจากครูบาอาจารย์ฝ่ายผู้ใหญ่ เช่น หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ บ้างเช่นกัน

    ท่านหลวงปู่คำพอง ติสโส เป็นพระนักต่อสู้ ประกอบกับท่านเป็นนักมวย มีเลือดนักต่อสู้อันโชกโชนมาก่อน

    ดังนั้น การปฏิบัติธรรมภาวนา ท่ามกลางดงสัตว์ป่านานาชนิดนั้น ไม่เคยหวั่นเกรงอันใดเลย ท่านต่อสู้ขอเพียงเพื่อลุจุดหมายปลายทาง คือ ทางพ้นทุกข์

    การประพฤติปฏิบัติธรรม ของท่านหลวงปู่คำพอง นั้น เกือบตายเพราะไข้ป่าก็หลายครั้ง ความเด็ดขาดที่ว่า “เอ้าเป็นอย่างไง ก็เป็นกัน” นั่นแหละจึงพ้นมาได้ เพราะกิเลสทั้งหลาย มันกลัวคนเอาจริง….

    ท่านพระอาจารย์คําพอง ติสโส ท่านเป็นกําลังสําคัญในกองทัพธรรมองค์หนึ่ง เดินธุดงค์ไปเผยแพร่ธรรมะทางภาคใต้รวมกําลังกับ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    ในการนั้นได้มีครูบาอาจารย์ ที่ชาวภาคใต้รู้จักดีคือ ท่านพระอาจารย์เหรียญ ท่านพระอาจารย์คําพอง ท่านพระอาจารย์โสม หลวงพ่อเอี่ยม พระมหาปิน ชลิโต เป็นต้น…

    และการเผยแพร่ธรรมะทางภาคนี้ เป็นไปด้วยความทุกข์ยากลําบาก ทุกองค์ต้องทรงจิตไว้ ด้วยพรหมวิหารธรรมอย่างเข้มแข็งจริง ๆ

    เพราะอุปสรรคที่เกิดขึ้นนั้น มีผู้ต่อต้านธรรมะของพระศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น พระภิกษุ เจ้าถิ่นเอง พวกชาวบ้านที่เป็นบัวเหล่าที่ ๕ บ้าง แต่ก็ต้องแพ้ภัย ตนเองจนหมดสิ้น

    ท่านพระอาจารย์คําพอง ติสโส ไม่เคยละลดความเพียร ยืน เดิน นั่ง นอน มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ท่านเคยเล่าว่า

    “สันดานนี้มันติดตัวมา เมื่อสมัยอยู่กับพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระอาจารย์ ใหญ่ผู้เลิศด้วยคุณธรรมวิเศษ หลวงพ่อก็เลยได้นิสัยจากท่าน มาแค่ปลาย ๆ เล็บเท้าของท่านเท่า นั้นแหละลูก ๆ เอ๊ย”’
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    -ติสโส-2.jpg
    แถวนั่ง
    หลวงพ่อคำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ วัดเกาะแก้วะดงคสถาน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย
    แถวยืน
    หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒนา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
    หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ (วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน)
    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม (วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน)

    ท่านพระอาจารย์คําพอง ติสโส ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง มีนิสัยคล้ายคลึงกับครูบาอาจารย์หลาย ๆ องค์ เช่น หลวงปู่ตื้อ พระอาจารย์มหาบัว พระอาจารย์วัน คือ..พูด แบบโผงผาง ถ้าแข็งก็แข็งดังเพชร ถ้าอ่อนก็อ่อนเป็นน้ํา ไม่ ไว้หน้าใครเอาใจใครไม่เป็นธรรมะใดที่เป็นสัจธรรม ตามความเป็นจริงแล้ว ท่านจะนํา มาฆ่าเสียซึ่งกิเลสในใจคนฟัง อย่าง เอาเป็นเอาตาย สมกับนักต่อสู้ เลือดอาชาไนย ในสายผู้ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ท่านพระอาจารย์คําพอง ติสโส ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ “ไม่มีมายา” คือ ท่านเป็นพระที่จะพูดเอาอกเอาใจญาติโยมไม่เป็น ในการนี้ได้เคยสอบถามเอา ความจริงจากท่านก็ได้รับคําตอบ ชนิดโผงผางเลยว่า
    “ลูกเอ๋ย…. ความเมตตาปรานี พรหมวิหารธรรม ย่อมต้องมีอยู่ในจิตใจของทุก ๆ คนนั่นแหละ นะ…

    แต่บางคราว เจ้ากิเลส ตัวเชื้อโรคนี้ มันยังตัว ฝังหัว ลงบนจิตใจมนุษย์เข้าไปแล้ว จะไม่ไล่ ไม่เข้าย่ํายีมันบ้างเลยนั้น ต่อไปมันจะเคยตัวนะ

    ฉะนั้นเวลาถางป่ารก ๆ โดย เฉพาะป่ากิเลสนี้ เราต้องฟันหนักๆ หน่อย มิเช่นนั้นต้นรากเหง้ามันไม่ขาด ไม่ขุดรากขุดโคน ไม่ช้ามันก็งอกเงยขึ้นอีก ไหมล่ะ

    ยิ่งพวกเรานี่นะ ชอบเลี้ยง ชอบขุน รดน้ําพรวนดินอยู่เป็นประจํา ๆ มันจะกลับงามขึ้นอีก ประไรเล่า”

    หลวงพ่อจึงพูดอยู่เสมอ ๆ ว่า…

    ถ้ารู้ตัวเจ้ากิเลสนี้ มันจะอยู่ จะอาศัยอะไรอยู่ก็ต้องฟันให้มัน กระเทือนเลย มันจะได้รู้สึกตัว

    และอีกอย่างหนึ่ง เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราจะมาพูดโกหก หลอกลวงไม่ได้ ก็พอเราไม่เคยสอนเลย พระพุทธเจ้าท่านพูดแต่ ค่าจริง สงสารจริง รักชอบจริง ไม่เคยโกหกสักครั้งเดียว
    ดังนั้น เราเป็นบุตรผู้ดําเนินตาม จะเอาคําพูดใดเล่ามาสอน ก็ต้องเอาคําพูดของพ่อ คือ พระพุทธเจ้าเท่านั้นมาสอนสั่งญาติโยม

    ถ้าผิดไปเสียจากคําสอนที่ เที่ยงธรรมแล้ว จะเป็นคําสั่งสอนปลอม พูดเอาอกเอาใจ ก็มิใช่เป็นธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมปลอม เพราะนั่นเป็นการพูดเพาะ กิเลสให้แก่ผู้ฟังธรรม ไม่ใช่พูดเพื่อขัดเกลากิเลส พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนเรื่องให้พูดเอาใจญาติโยม

    ฉะนั้น อาตมาขอพูดอย่างตรง ๆ ว่า “เอาใจใครไม่เป็น”

    หลวงปู่คำพอง เป็นโรคหัวใจโตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจไม่เต็มปอด เมื่อต้องบิณฑบาตไกลๆ หรือเดินขึ้นเขา

    กระทั่งคืนวันที่ ๒ ธ.ค.๒๕๔๔ หลวงปู่คำพอง มรณภาพอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ สิริอายุ ๘๐ ปี พรรษา ๕๙

    -ติสโส.jpg
    ภาพนี้ถูกบันทึกที่วัดถ้ำกกดู่ ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่คำพอง ติสโส
    -ติสฺโส-ณ-วัดถ้ำกกดู่-จ.อุดรธานี-1024x682.jpg
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคำพอง ติสฺโส ณ วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
    ติสฺโส-ณ-วัดถ้ำกกดู่-จ.อุดรธานี-2-1024x682.jpg
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคำพอง ติสฺโส ณ วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
    ติสฺโส-ณ-วัดถ้ำกกดู่-จ.อุดรธานี-3-1024x682.jpg
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคำพอง ติสฺโส ณ วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี

    :- https://www.108prageji.com/หลวงปู่คำพอง-ติสโส/
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2022
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    กว่าบรรลุธรรมขั้น พระสกิทาคามี ภาคที่ 1

    เรื่องเล่าพระ เป็นเรื่องราว ของการปฏิบัติธรรม กว่าจะบรรลุธรรมขั้น พระสกิทาคามี

    สารคดี วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อ
    23,952 views Dec 15, 2021
    เรื่องเล่าพระ เป็นเรื่องราว ของการปฏิบัติธรรม กว่าจะบรรลุธรรมขั้น พระสกิทาคามี1-2

     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ประวัติคุณย่าชีนารี การุณ อยู่ปฏิบัติกับหลวงปู่มั่น จนถึงที่สุดแห่งธรรม
    แชร์โพสท์โดย น้องสาวเถ้าแก่เนี้ย
    ประวัติคุณย่าชีนารี การุณ โดยย่อ

    687254-img-1372219761-1.jpg
    ชาติกำเนิด
    คุณย่าชีนารี การุณ ถือกำเนิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน11 ปีพ.ศ.2419 ณ.บ้านคะหุ้ง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยเป็นลูกสาวคนกลาง ในจำนวนพี่น้องสามคน ของนายฮ้อยเซ้งไซและแม่คำ การุณ
    คุณย่าชีนารีได้สมรสกับนายวันดี ซึ่งมีลูกด้วยกัน 6 คน เป็นหญิง 4 ชาย 2 พอคุณย่าชีนารีอายุครบ 40 ปี ก็มีอารมณ์อย่างบวชโดยไม่ทราบสาเหตุ ก่อนหน้านั้นท่านได้พบองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ
    ปฏิบัติกับท่านพระอาจารย์ใหญ่
    องค์หลวงปู่มั่นได้เดินธุดงค์ไปพักอยู่ใกล้บ้านๆและได้สอบถามถึงครอบครัวแล้วท่านก็ไป ท่านจึงขออนุญาตนายวันดีออกบวช นายวันดีให้ข้อแม้ว่าคุณย่าต้องหาภรรยาให้ซัก 3 คน
    เมื่อถึงวันบวชนายวันดีมีศรัทธาให้ออกบวชและไม่ยอมเอาเมียที่หาให้ หลวงปู่มั่นท่าน ทราบด้วยญาณจึงส่งพระมา 3 รูป คือ หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงพ่อสมบูรณ์ ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก พร้อมด้วยบริขาลมาทำการบวชให้

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน 1 ในพระเถระที่องค์หลวงปู่มั่นส่งมาให้บวชคุณย่า
    ศรัทธาออกบวช
    คุณย่าหลังจากบวชชีแล้วได้อยู่ปฏิบัติกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ โดยท่านให้อุบาย ให้คุณย่าภาวนา นะโมและพุทโธ ท่านภาวนาท่านเห็นอดีตชาติขององค์ท่านเองว่าเคยเกิดเป็นชาวรัฐเซีย ไต้หวัน กษัตริย์ ทหาร แต่ไม่เคยเกิดเป็น 3 อย่างคือ เสือ ไส้เดือน กิ้งกือ
    หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ นิพพาน ได้มีการจัดงานประุชุมพลิงที่วัดป่าสุทราวาส คุณย่าเล่าให้ฟังว่าในงานประชุมเพลิงมีเทพธิดามาร่วมถวายเพลิง 30000 องค์ ท้าวมหาพรหม 6 องค์ เทพบุตรมา 2 องค์ เกือบทุกชั้นมีเทพประธานมากำกับด้วย ท่านเห็นแล้วชื่นใจ
    หลังจากประชุมเพลิงเสร็จ ศิษยานุศิษย์องค์หลวงปู่ได้เข้าไปแย่งขี้เถ้า อัฐิ ตัวคุณย่าเองก็เข้าไปล้วงกับเค้า ได้อัฐิส่วนซี่โครง เศษอัฐิ และอังคาร มา เมื่อคุณย่าเก็บรักษาต่อมาได้แปรสภาพเป็นพระธาตุแก้วใสหมด
    หลังจากนั้นท่านก็อยู่วัดป่าสุทราวาสเรื่อยมา เมื่อปีพ.ศ. 2520 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชนีนาถมีศรัทธาสร้างกุฏิ ถวายใหม่ สมเด็จพระเทพมาครั้งใดจับแขน จับขาคุณย่า เห็นคุณย่านุ่งห่มผ้าขาวแทบจะเป็นดำ ก็เข้าไปจัดแจงจะให้คุณย่าเปลี่ยนชุดใหม่ ถึงกับทรงจะผลัดให้เอง คุณย่าต้องห้ามไว้ ท่านเล่าด้วยความปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณ
    หลังจากท่านอยู่วัดป่าสุทราวาสมานาน ท่านก็ย้ายไปจำพรรษาหลายที่ เช่น วัดป่าวังน้ำทิพย์ จนองค์ท่านได้มาหยุดที่สำนักชีบ้านหนองยาง จ.สกลนคร โดยมีคุณยายสมรและคุณตาเพลินเป็นผู้ดูแล
    หลวงปู่คำคะนิงในอดีตชาติเป็นพี่ชาติขององค์ท่าน ในชาติปัจจุบันนึ้ท่านก็มาเยี่ยมเยียนเป็นประจำ และได้นำประคำที่อยู่กับองค์ท่านมาตั้่งแต่สมัยออกปฏิบัติธรรมใหม่ๆให้แด่คุณย่า หลวงปู่หลุย จันทาสาโร นับถือคุณย่าเป็นแม่ เพราะในอดีตชาติคุณย่าเป็นแม่ขององค์หลวงปู่ หลวงปู่จะกล่าวชมให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านเป็นแม่ขาวแม่ออกที่ปฏิบัติธรรมจนเห็นธรรม หลวงปู่หลุยท่านรักและเคารพคุณย่ามากถึงขนาดทำที่ครอบฟันปลอมให้และส่งปัจจัยจำนวน 10000 บาท ให้คุณย่าทุกเดือน หลวงปู่หลอด ปโมทิโต เคารพในคุณธรรมคุณย่าและมาเยี่ยมเยียนบ่อยๆ

    หลวงปู่หลุย จันทาสาโร นับถือคุณย่าเป็นแม่ เพราะในอดีตชาติคุณย่าเป็นแม่ขององค์หลวงปู่
    ตอนที่คุณย่าจะนิพพาน หลวงปู่ถวายปัจจัยให้คุณย่า 20000 บาท หลวงปู่หลุยและหลวงปู่หลอดกล่าวว่าที่ท่านมีทุกวันนึ้ได้ก็เพราะฝีมือคุณแม่นั้นแหละ ก่อนวันที่ท่านจะนิพพาน ท่านมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สติแจ่มใสมาก ท่านบอกให้คุณยายสมรเตรียมน้ำมารับพระเถระบนกุฏิ คุณยายสมรเตรียมน้ำมาแล้วไม่เห็นใคร ท่านก็บอกให้เอาขึ้นมา พระเถระมาเต็มกุฏิแล้ว หลังจากนั้นวันต่อมา คุณย่าได้จับมือคุณยายสมรและคุณตาเพลินได้สั่งเสียไว้ว่า ถ้าท่านนิพพานแล้วอย่าทิ้งคุณย่าเขียนน่ะ(ผู้ดูแลคุณย่าตั้่งแต่สมัยวัดป่าสุทราวาส)
    คุณยายสมรและคุณตาเพลินรับคำ ท่านทรงสติมาก แล้วท่านก็ยิ้มงามมาก ยิ้มอย่างไม่อาลัยอาวรณ์ไม่สนแก่การตาย พอท่านยิ้ม ลมหายใจและหัวใจก็หยุดเต้น ท่านเข้าสู่อนุปปเสสนิพพานเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2542 เวลา 20.25 สิริอายุขัย 123 ปี อยู่ในเพศแม่ชี 83 ปีพอดี
    คุณยายสมร โถแพงจันทร์และคุณตาเพลิน โถแพงจันทร์ นักปฏิบัติธรรมทั้งคู่เป็นผู้ดูแลคุณย่าจนนิพพาน
    ในวันประชุมเพลิงมี หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปธีโป เป็นประธานในฝ่ายบรรพชิต ถวายเพลิง เมื่อไฟไกล้จะมอดเห็นดวงไฟสีเขียว พุ่งออกมา เมื่อเก็บอัฐิพบว่า อัฐิคุณย่าแปรสภาพเป็นพระธาตุทันทีหลังจากประชุมเพลิงเสร็จ ผู้มีอัฐิเป็นแก้วมณีใส ย่อมถึงที่สุดเห็นธรรมแล้ว

    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปธีโป เป็นประธานในฝ่ายบรรพชิต
    ธรรมโอวาท
    "ศีลนั้นแสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจอันสูงเพราะหากทำลายศีลเสียก็เท่ากับว่าทำลาย
    ความเป็นมนุษย์ ที่ปราศจากความดีทั้งหลาย"
    "เมื่อจิตเป็นสมาธิ จิตหยุดนิ่ง อารมณ์มันน้อย ปัญญาจึงมีโอกาศเกิดขึ้นได้"
    "ให้มีสติรู้เท่าทัน(อุปาทาน)หยุดมันเสียมันก็จะนิ่งสนิทอย่างเดิม เป็นอารมณ์เดียว"
    อัฐิคุณย่าแปรสภาพเป็นพระธาตุ
    :- https://board.postjung.com/687254
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    หลวงปู่บุญท่องกรรมฐาน ธุดงค์ภูเขาควาย | EP.64 เรื่องเล่าพระธุดงค์ | หลวงปู่บุญ ชินวังโส

    100 เรื่องเล่า
    18,799 views Mar 7, 2022
    หลวงปู่บุญท่องกรรมฐาน ธุดงค์ภูเขาควาย หลวงปู่บุญ ชินวังโส ท่านเป็นพระธุดงค์กรรมฐาน ลูกศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในชีวิตสมณะของท่าน ท่านมักจะเที่ยวจาริกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆอยู่เสมอ เพื่อขัดเกลากิเลส และในการเที่ยวธุดงค์ของท่านนี้ ได้มีประสบการณ์ต่างๆมากมาย เช่นเจอเสือแบบซึ่งๆหน้า เจอผีโป่งค่าง เผชิญหน้ากับสิ่งเร้นลับ วิญญาณต่างๆ เป็นต้น และท่านยังเคยได้เที่ยวธุดงค์ไปยังภูเขาควาย ที่ฝั่งประเทศลาว มีประสบการณ์ต่างที่น่าสนใจมากครับ

    เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญรับฟังได้เลยครับ ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    เสือที่ป่าภูพาน | EP.6เรื่องเล่าพระธุดงค์ | หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ

    100 เรื่องเล่า
    9,747 views Sep 9, 2021
    เมื่อครั้งที่ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ท่านได้ไปสำรวจ สถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งใหม่ ให้ห่างไกลจากชุมชน ท่านได้พบกับสถานที่แห่งหนึ่ง คือถ้ำเหลือ อยู่บนเทือกเขาภูพาน จ.หวัดสกลนคร ที่ถ้ำแห่งนั้น มีเสืออยู่หลายตัว มักจะคอยออกไปกินวัวของชาวบ้านในหมู่บ้านอยู่หลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้ทำอันตรายกับหลวงปู่กงมาเลย ต่อมา หลวงปู่กงมาท่านได้ตั้งวัดขึ้นที่บริเวณถ้าำเสือแห่งนั้น ชื่อว่าวัด ดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร

    เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้นเชิญรับฟังได้เลยครับ ผิดถูกประการใด ต้องขอภัยมา ณ ที่นี้ดวยครับ
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    lpkongmajirapunyo.jpg
    ประวัติ และปฏิปทา หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
    วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
    ชาติกําเนิดและชีวิตปฐมวัย

    หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เดิมชื่อ กงมา วงศ์เครือสอน

    เกิด วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๒ ปีชวด ณ บ้านโคก ตําบลตองโขบ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

    เป็นบุตร คนสุดท้องของ นายบู่ นางนวล วงศ์เครือสอน ซึ่งมีพี่ร่วมท้องเดียวกัน ๖ คน ในวัยหนุ่มมีร่างกายกํายำล่ำสันสูงใหญ่ใบหน้าคมตายเป็นนักต่อสู้ชีวิต แบบเอางานเอาการ สมัยหนึ่งได้เป็นนายฮ้อย ต้อนวัว ควาย หมูเที่ยวขายตามจังหวัด ใกล้เคียงกับบ้านเกิด จนต่อมาได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้านายฮ้อย พาคณะนายร้อยต้อน สัตว์ไปขายถึงกรุงเทพฯ โดยอาศัยการเดินทางด้วยเท้ารอนแรมหลายเดือน การเป็นหัวหน้านายฮ้อย ได้แสดงถึงความสามารถเฉพาะตัวของท่าน เช่น จดจํา ชํานาญ รู้ทิศทางดีหนึ่ง มีความสามารถอาจหาญป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดกับลูกน้องหนึ่ง มีคุณธรรมมีศีลธรรมรักษาคําสัตย์ มีความยุติธรรมหนึ่ง เป็นต้น การที่ท่านได้ท่องเที่ยวค้าขายไปในต่างถิ่นหลายที่มีประสบการณ์นําความเจริญเข้าสู่หมู่บ้าน จนเป็นที่นับหน้าถือตา ของคนในตําบลเป็นที่เชิดหน้าชูตาของพ่อแม่ เมื่อถึงกาลอันควรพ่อแม่จึงได้ไปสู่ขอ นางสาวเลา จัดพิธีแต่งงานให้มีครอบครัว เมื่อท่านอายุได้ ๒๕ ปี (๒๔๖๘) ครั้นนางเลาตั้งครรภ์แล้ว ได้เกิดป่วยอย่างหนัก สุดที่จะรักษาชีวิตไว้ได้ ในที่สุดนางเลาพร้อมบุตรในครรภ์ได้เสียชีวิตลง การสูญเสียภรรยาสุดที่รักพร้อมลูกในครรภ์ครั้งนี้ ทําให้ท่านรู้สึกว่าได้หมดสิ้นทุกอย่างที่เคยหวังและตั้งใจ เพราะตลอดเวลาได้ตรากตรําทํางานหนักเพื่อเมียและลูกนี้เองเป็นสาเหตุที่ทําให้ท่านนึกถึงพระพุทธศาสนา มีผู้เฒ่าผู้แก่บอกอยู่เสมอว่า “ไม่มีอะไรดีเท่ากับการบวชพระ” การออกบวชเป็นพระจึงอยู่ ในจิตสํานึกตลอดมา ด้วยจิตอันแน่วแน่ได้ตัดสินใจไปกราบลาพ่อแม่ญาติพี่น้อง พร้อมแจกจ่ายสมบัติทั้งหลายบรรดามีให้แก่ญาติพี่น้องทุกคนได้เห็นใจและไม่คัดค้านลูกคนสุดท้องคนนี้ ทรัพย์สมบัติที่ท่านมอบให้ครั้งนี้ก็จะเก็บรักษาไว้ เมื่อวัน ใด ท่านสึกออกมาก็จะคืนให้ ทุกคนต่างคิดว่า การออกบวชเป็นทางออกที่ดีสําหรับบุคคลที่ประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้

    -วัดดอยธรรมเจดีย์2.jpg
    หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์
    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา

    เมื่อท่านตัดสินใจออกบวช สิ่งแรกที่ท่านคิดถึง คือ เสี่ยวฮัก ชื่อมี ขณะนั้นไปบวชเป็นสามเณรอยู่กับอาจารย์วานคํา วัดบ้านบึงทวย อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร สามเณรมี (ภายหลังได้บวชเป็นพระ) ก็ได้ฟังเรื่องราวชีวิตของเสี่ยวกงมาแล้ว แนะนําให้เข้ามาบวชในที่สุดท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุมหานิกาย มีอาจาย์โท เป็นพระปุปัชฌาย์ (ไม่ทราบวันเดือนปีที่บวช) เมื่อบวชแล้วพระภิกษุกงมาก็เดินทางกลับไปจําพรรษาที่วัดบ้านตองโขบ ซึ่งไม่มีการศึกษาเล่าเรียนไม่มีการปฏิบัติ ได้แค่ท่องสวดมนต์ไหว้พระ ซึ่งยังไม่ถูกใจ จึงเดินทางไปจําพรรษาที่วัดบ้านบึงทวย ไปอยู่กับพระอาจารย์วานคํา ซึ่งพระมี (เสี่ยวฮัก) อยู่วัดนี้ด้วย อยู่วัดนี้ได้ไม่นานด้วย ความคิดว่าตนเองไม่ได้สิ่งที่ประสงค์ จึงเข้าไปปรึกษากับพระมีซึ่งเป็นพระเดินธุดงค์ที่หาตัวจับยาก เคยธุดงค์ไปลาว พม่า และไทยหลายแห่งมาแล้ว พระมีได้เล่าว่า เคยได้รับข่าวจากชาวบ้านพูดถึงเกียรติคุณของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นพระที่ประพฤติ ดี ปฏิบัติชอบมีผู้ประพฤติปฏิบัติตามมากมาย ทําให้พระกงมาสนใจ

    ต่อมาได้มีตาปะขาว ชื่ออาจารย์เสน ซึ่งได้รับการอบรมการปฏิบัติธรรม จากหลวงปู่ มั่น ได้เดินทางมาถึงบ้านคําข่า (ใกล้บ้านบึงทวย) พระกงมาจึงเดินทางไปพบและขอฟังธรรมที่เรียนมาจากหลวงปู่มั่น จนเกิดความซาบซึ้ง จึงถามถึงที่อยู่ของหลวงปู่ จน ทราบว่าขณะนั้นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อยู่ที่บ้านสามผง ดงพะเนาว์ อําเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ท่านตัดสินใจต้องไปพบให้ได้ จึงเดินทางกลับวัด ชวน พระมี เสี่ยวฮัก เข้ากราบลาพระอาจารย์วานคํา แห่งวัดบ้านบึงทวยผู้เป็นอาจารย์ แม้จะเสียดายศิษย์ทั้งสองแต่จําเป็นต้องยอมอนุญาตให้ไปตามประสงค์ พระคู่เสี่ยวฮัก ออกเดินทางด้วยเท้าเปล่า ผ่านป่าดงพงพี พบสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว ทั้งสองต่างมี ประสบการณ์ จึงไม่หวาดหวั่น มีจุดหมายปลายทาง คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เวลาผ่านไป ๒ วัน ๒ คืน ก็ลุถึงปลายทาง ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นมากแล้ว ณ บ้านสามผง ดงพะเนาว์ มีผู้ปฏิบัติธรรมกําลังนั่งสมาธิ หลวงปู่มั่น นั่งบนอาสนะสั่งสอนอยู่พอดีทั้งสองท่านก็หมอบเข้าไปนมัสการแล้วนั่งฟังธรรม เมื่อท่านแสดงธรรมจบ จึงได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ ขอปฏิบัติธรรมหลวงปู่มั่นได้รับตัวไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นมาซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๕ เมื่อหลวงปู่มั่น รับตัวเสี่ยวฮักทั้งสองท่านไว้เป็นศิษย์แล้ว นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๕ ที่ หมู่บ้านสามผง ดงพะเนาว์ เป็นหมู่บ้านที่อยู่กลางป่าดงดิบ เป็นป่าทึบ ดงใหญ่ มีสัตว์ร้ายชุกชุม เช่น เสือ ช้าง งูเห่า งูจงอาง หมี วัว กระทิง เป็นต้น ไม่ค่อยมี คนเดินผ่านเพราะกว่าจะผ่านดงนี้ไปได้ต้องใช้เวลาเดินถึง ๓ วัน ๓ คืน ท่านเสี่ยวฮักทั้งสองได้อยู่ปฏิบัติธรรมโดยมีพระอาจารย์มั่น เป็นผู้ชี้แนะสั่งสอน จนจวนจะเข้าพรรษา พระมีเสี่ยวของพระกงมาได้อําลากลับไปจําพรรษาที่ วัดบ้านบึงทวยตามเดิม ส่วนท่านกงมาก็ยังสามารถอยู่จําพรรษาในป่าดงนี้ได้ต่อไป โดยการมาขอรับฟังโอวาทจากหลวงปู่มั่นอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง ในขณะที่ปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าดง ท่านมีความรู้สึกว่าพระพุทธเจ้าท่านวิเศษเหลือเกินเพียงนึกเช่นนี้ ก็ทําให้อาจหาญไม่รู้สึกเกรงภัยใด ๆ ได้สละชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรม จนเป็นเหตุให้หลวงปู่มั่นทุ่มเทความรู้ในด้านปฏิบัติให้อย่างเต็มความสามารถ
    นปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระอาจารย์กงมาได้ เดินทางติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งเดินทางไปส่งโยมมารดาที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเดินทางถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เวลา ๑๔.๔๐ น. พระอาจารย์กงมา และพระอาจารย์ลี ซึ่งเป็นพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายก็ได้รับสวดญัตติแปรมาเป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ที่วัดบูรพา อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ท่านทั้งสองได้ฉายาใหม่ว่า จิรปุญโญ และธมฺมธโร ตามลําดับ โดยมี พระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เพ็ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    ภายหลังบวชเป็นพระธรรมยุติแล้ว ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ได้ท่องเที่ยวบําเพ็ญธรรม อบรมสั่งสอนไปตามสถานที่ต่างๆ ดังนี้

    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ธุดงค์ไปจําพรรษาที่บ้านหัววัว จังหวัดยโสธร
    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ไปจําพรรษาที่บ้าน เหล่างา อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ไปจําพรรษาที่บ้านทุ่ม อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ไปจําพรรษาที่ภูระงํา อําเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ไปจําพรรษาที่วัดป่าสาลวัน อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และ ในปีนี้ ท่านได้สร้างวัดสว่างอารมณ์ บ้านใหม่สําโรง อําเภอสีคิ้ว จังหวัด นครราชสีมา ได้สั่งสอนชาวบ้าน ซึ่งมักมีการลักขโมย มั่วสุมการพนัน แตกสามัคคี ฆ่าฟันกันด้วยอุบายธรรม เป็นผลให้ชาวบ้านหันหน้าเข้าหาธรรม ขจัดความเลวร้าย ทั้งหลายให้หมดไป จนชาวบ้านเลื่อมใสสร้างศาลาปฏิบัติธรรมถวาย จนกลายมาเป็น วัดสว่างอารมณ์ ดังกล่าว
    ณ วัดแห่งนี้ ท่านก็ได้รับเด็กชายวิริยังค์ บุญที่ย์กุล (พระอาจารย์วิริยังค์ หรือ ท่านเจ้าคุณพระญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล ซอยปุณวิถี สุขุมวิท ๑๐๑ เขตพระโขนง) เป็นศิษย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พร้อมด้วยคณะมี พระอาจารย์ปาน พระอาจารย์เงียบ สามเณรวิริยังค์ บุญที่ย์กุล ออกธุดงค์ไปภาคตะวันออก เข้าพักปฏิบัติธรรมที่วัดคลองบางกุ้ง ของพระอาจารย์ลี (วัดอโศการาม) ไม่นานก็เดินทางไปอยู่บ้านนายายอาม ตามคํานิมนต์ของ ขุนภูมินายอําเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี หมู่บ้านดังกล่าวโจรผู้ร้ายชุกชุมคนขาดศีลธรรม นายอําเภอปราบไม่สําเร็จ ภายหลังท่านเข้าไปอยู่ในหมู่บ้าน ได้สั่งสอนศีลธรรมและ ธรรมปฏิบัติ ทําให้คนรู้จัก บาปบุญคุณโทษมีศีลธรรม มีความรักสมัครสมาน ช่วยเหลือกันและกันเมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ท่านก็เดินทางกลับมายังวัดคลองบางกุ้ง ด้วยความอาลัยเสียดายของชาวบ้านนายายอามเป็นอย่างยิ่ง
    ต่อมาชาวบ้านหนองบัว อําเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ได้เห็นพ้องกันสร้าง วัดขึ้นในหมู่บ้าน พอได้ข่าวว่าพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ผู้เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาจําพรรษาอยู่ที่วัดคลองบางกุ้ง จึงได้แต่งตั้งตัวแทน ๕ คน เดินทางมานิมนต์ให้ท่าน ไปจําพรรษาที่บ้าน ผู้มานิมนต์คนหนึ่งในจํานวน ๕ คน ได้นมัสการท่านว่า เมื่อวันก่อนที่จะมานิมนต์นี้ ได้ฝันว่าได้ช้างเผือกที่มีรูปร่างสวยงามมาก หาที่ติมิได้เลย จํานวนสองเชื่อก ซึ่งเป็น นิมิตที่ดี พระอาจารย์กงมาได้ฟังเช่นนั้น ก็เห็นว่าเป็นมงคล จึงรับนิมนต์ ดังนั้นในวัน แรม ๑๓ ค่ํา เดือน ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านพร้อมด้วยสามเณรวิริยังค์ก็ได้ออกเดินทาง ไปยังหมู่บ้านหนองบัวยังความปิติมาให้แก่ชาวบ้านแถบนั้นยิ่งนัก ท่านได้แสดงธรรมสั่งสอนชาวบ้านเชิญชวนให้ทุกคนนั่งสมาธิบําเพ็ญกรรมฐาน ประชาชนต่างก็เลื่อมใสในจริยาวัตรของพระสมณะทั้งสองอย่างมาก หลั่งไหลกันมาฟังธรรมและต่างได้พร้อมใจกันสร้างเสนาสนะถวายได้ให้ชื่อว่า วัดทรายงาม
    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ และ ๒๔๘๒ มีผู้นําเรื่องไปทูลฟ้องสมเด็จพระสังฆราช เจ้ากรม หมื่นวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ว่า พระอาจารย์กงมา ปฏิบัติผิดพระวินัยหลาย เรื่อง เช่น พระอาจารย์กงมาสะพายบาตรเหมือนพระมหานิกาย พระอาจารย์กงมา เทศน์แปลหนังสือผิดไม่ถูกต้องตามคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทําให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์นั้น เสด็จไปทอดพระเนตรวัตรปฏิบัติของพระอาจารย์กงมาเองถึงในป่า จนประจักษ์ด้วยพระองค์เองแล้วตรัสว่า
    การสะพายบาตรอย่างนี้ ก็เหมือนกับอุ้ม ไม่ผิดวินัยหรอก กลับเรียบร้อยดีด้วย ส่วนเรื่องแสดงธรรมนั้น ทรงตรัสชมเชยด้วยซ้ําว่า เทศน์เก่งกว่ามหาเปรียญ ๕ ประโยคเสียอีก
    นอกจากนี้ยังมีผู้ไปทูลฟ้องสมเด็จพระสังฆราชว่า เวลาไปธุดงค์พระอาจารย์กงมา ทําตัวเป็นผู้วิเศษ แจกของขลังให้กับประชาชนหลงไปในทางผิด ทําให้สมเด็จพระสังฆราชขอออกธุดงค์กับ ท่านอาจารย์กงมา เพียงสองต่อสอง และทรงขอร้องไม่ให้บอกใครว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราช จากนั้นพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ได้พาสมเด็จพระสังฆราช ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ท่านเคยออกธุดงค์มาแล้ว วันหนึ่งได้ไปปักกลดพักอยู่ที่ เชิงเขาสระบาปเกิดลมพายุฝนตก กลดไม่สามารถป้องกันน้ําฝนได้ อนึ่งการปักกลด ของพระธุดงค์ก็ต้องอยู่ห่างกัน พอสมควร สมเด็จพระสังฆราชทรงเปียกปอนไปหมด ส่วนพระอาจารย์กงมาก็นั่งตากฝนแต่บริขารไม่เปียก เมื่อฝนหยุดท่านก็ครองผ้าเข้า เฝ้าสมเด็จฯทําให้เกิดความฉงน สมเด็จฯ จึงตรัสถามว่า ทําไมจึงไม่เปียก ได้รับ คําตอบว่า มีคาถาดี
    ภายหลังเสด็จกลับ จากเดินธุดงค์สู่วัดทรายงามแล้ว สมเด็จฯ จึงตรัสถามสามเณรวิริยังค์ จึงได้ทราบว่า เมื่อเวลาฝนตก พระองค์ต้องเก็บของทั้งหมดใส่ลงไปในบาตร แล้วปิดฝาบาตรให้สนิท ถึงตอนนี้ทําให้สมเด็จฯทรงเข้าใจชัดว่า คาถาป้องกันฝนได้ นั้น คือ อย่างนี้เอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระสังฆราช เจ้ากรมหมื่นวชิรญาณวงศ์ ทรงตรัสชมเชยการออกธุดงค์ และการปฏิบัติกรรมฐาน ของพระอาจารย์กงมาว่า ได้ให้ประโยชน์อย่างมาก การออกธุดงค์และการปฏิบัติเช่นนี้ ถ้าทํากันมากๆ จะทําให้ พระศาสนาเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น พระองค์ยังได้ให้ความ คุ้มครอง สรรเสริญ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ด้วยดีโดยตลอดมา และต่อมาพระอาจารย์กงมา ได้สร้างวัดเขาน้อย ท่าแฉลบ ตามข้อชี้แนะของสมเด็จฯ ก่อนเสด็จกลับ กรุงเทพฯ ปัจจุบันได้เป็นวัดที่มั่นคงถาวร
    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ท่านได้ทําการอุปสมบท แก่สามเณรวิริยังค์ บุญที่ย์กุล เป็นพระภิกษุ วิริยังค์ สิรินธโร และในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ท่านได้ชวนพระวิริยังค์ ออกธุดงค์ จากวัดทรายงาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อไปนมัสการ และศึกษาธรรมจาก หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยเดินเท้าเปล่า ผ่านอําเภอบะขาม กิ่งอําเภอคําพุฒ อําเภอโป่งน้ําร้อนไปจนหมดเขตไทย แต่ละแห่งล้วนเป็นป่าดงดิบมีสัตว์ป่าที่ดุร้ายไข้ป่ารุนแรงมีอสรพิษมากมาย แต่ทั้งสองอาจารย์กับศิษย์ก็สามารถผ่านพ้นป่านั้นๆไปได้อย่างปลอดภัย จากนั้นก็เข้าธุดงค์สู่เขตประเทศเขมร ผ่านบ่อไพลิน พระตะบอง มงคลบุรี ศรีโสภณ แล้วเข้าสู่เขตประเทศไทย ด้านอําเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (ขณะนั้นเป็นจังหวัดอรัญประเทศ) พักปักกลดที่บ้านหนองแวง ธุดงค์ต่อมาผ่านบ้านตาดโตน ข้ามเขาลูกใหญ่ เดิน ๑ วันเต็ม ผ่านบ้านกุดโบสถ์ถึงถ้ําวัวแดง กิ่งอําเภอท่าแซะ จังหวัดนครราชสีมาถ้ําวัวแดงเป็นเทือกเขา ใหญ่ ถ้ํานี้คนโบราณเกรงกลัวมาก โดยรอบถ้ําเป็นป่าทึบ ต้นไม้ใหญ่หนาแน่น สัตว์ป่าพวกเสือร้ายชุกชุม ภายในถ้ําวัวแดงแห่งนี้มีเสียงประหลาดน่ากลัวเกิดขึ้นอยู่เสมอ ท่านพระอาจารย์กงมาได้เล่าว่าเสียงน่ากลัวและแปลกประหลาดทั้งหลายเกิดขึ้น มันจะมาทําลายจิต ฉะนั้น ต้องทําจิตให้เป็นสมาธิ คือ ตั้งมั่นในอารมรณ์เดียวไม่แส่ส่ายไปมา ถ้าจิตไม่แน่วแน่จะเกิดความกลัวทําให้เกิดเป็นบ้าได้
    เมื่อท่านอยู่ปฏิบัติธรรม ณ ถ้ําวัวแดง เป็นเวลาพอสมควรแล้ว ก็ได้เดินธุดงค์มุ่งสู่ จังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยพระ วิริยังค์ผู้เป็นศิษย์ โดยผ่านดงพญาเย็น นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี จนกระทั่งถึง จุดหมาย คือ จังหวัดสกลนคร โดยใช้เวลาทั้งสิ้น ๓ เดือน จากวัดทรายงาม จังหวัด จันทบุรี ถึง จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์กงมา ได้นําพระวิริยังค์เข้านมัสการและฝากไว้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ท่านได้อยู่จําพรรษากับหลวงปู่มั่น ได้รับอุบายธรรมได้รับความเมตตาเป็นพิเศษ สถานที่ปฏิบัติธรรมนั้นเดิมเป็นเพียงสํานักชั่วคราว พระอาจารย์กงมาได้สร้างขึ้นใหม่จนเป็นวัดสมบูรณ์ ตั้งชื่อว่าวัดสุทธิธรรมาราม เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่มั่นได้ออกธุดงค์ พระอาจารย์กงมาเห็นว่า วัดสุทธิธรรมาราม มีความวิเวกน้อย ไม่เหมาะแก่การอยู่ปฏิบัติธรรม ท่านจึงไปแสวงหาที่เหมาะสมว่า ท่านได้พบถ้ําเสือบนเทือกเขาภูพานเห็นว่ามีความสงบวิเวกดี ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านจึงได้ขั้นปักกลดที่ปากถ้ําเสือบนเทือกเขาภูพานนั้น ปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อมา จนเสือที่เคยอาศัยอยู่ ณ ถ้ําแห่งนี้ ต้องหลีกทางให้ท่านอยู่ปฏิบัติ เพราะสู้เมตตาธรรมท่านไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2022
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    สถานที่แห่งนี้ ต่อมาพระอาจารย์กงมาได้สร้างเป็นวัด ชื่อ วัดดอยธรรมเจดีย์ พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกล เมื่อได้ ยินกิตติศัพท์ของท่าน ต่างหลั่งไหลมาฟังธรรม ปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ไม่ขาดสายตลอดมา
    ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ได้มรณภาพ ด้วยอาการสงบได้นําความเศร้าโศกมาสู่บรรดาศิษยานุศิษย์และชาวพุทธเป็นอันมาก
    ถวายเพลิงศพท่านในวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ณ วัดดอยธรรมเจดีย์ เทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนครสิริรวมอายุได้ ๖๐ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วัน
    ธรรมโอวาท
    หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เป็นพระปฏิบัติธรรมตามแนวของหลวงปู่มั่น ธรรมโอวาทมีดังนี้

    ๑.คําว่าทุกข์ แม้จะนิดเดียวก็ไม่เคยมีสัตว์โลกรายใดรัก ชอบ และ ปรารถนา ต่างก็กลัวและขยะแขยงกันมาแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว แต่หากจะมีก็อาจได้พบ เห็นในสมัย ปัจจุบัน เพราะศีลธรรมที่เคยให้ความร่มเย็นแก่โลกตลอดมากําลังถูก ตําหนิ ลบล้างด้วยความคิดของคนในปัจจุบัน โดยเห็นว่า ศีลธรรมที่ร่มเย็นเป็นของ เก่าก่อน กลับคร่ําครึ ล้าสมัย ความสุขที่เคยได้รับเป็นสันดาร จนลืมทุกข์ทรมานแต่ ก่อนเก่าไปสิ้น
    ๒. เราจะกลัวเสือ หรือ เราจะกลัวกิเลส กิเลสมันทําให้เราตาย นับภพ นับชาติไม่ถ้วน แต่เสือตัวนี้ มันทําให้เราตายได้หนเดียว
    ๓. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจัง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่สามารถจะอยู่ยงคงทนต่อไปได้ ย่อมดับย่อมสลาย ไปตามกาล พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่เที่ยงแท้แน่นอนไปได้… ทุกขัง…เมื่อมีสิ่งที่เกิด ขึ้นมาในโลก แล้วเข้าไปยึดถือว่าเป็นตัวตนของเรา ของเขายามจากไป ยามดับไป สลายสิ้น สิ่งที่รักที่พอใจนั่นแหละ พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นทุกข์อย่างยิ่ง อนัตตา ความจริงในโลกนี้ มันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมันเอง ไม่มีใครไปต่อเสริมเติมแต่ง ได้ ถึงอย่างไรก็ยังเป็นธรรมชาติ แม้ร่างกายเรานี้จะยึดตัวตนว่า เป็นของเราของเขา ไม่ได้ เพราะเขาเป็นเพียงธาตุๆ หนึ่งที่ประชุมกันเข้าเท่านั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขาทั้งสิ้น
    ๔. การประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อความบริสุทธิ์ หรือ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน คนอื่นทําให้ไม่ได้ เราต้องปฏิบัติให้รู้ยิ่ง เราต้อง อาศัยในสิ่งเหล่านี้ เพื่อจิตเข้าสู่สมาธิ จิตสงบอยู่ในอารมณ์ มาเป็นพยานขององค์วิปัสสนา ให้เห็นชัดแจ้ง เป็นความสว่างของ ปัญญา ผู้บริสุทธิ์ได้ ต้องอาศัยปัญญา นี่เอง ทั้งนี้ วิปัสสนาปัญญา จึงต้องยึดเอาตัว สังขารเรานี้เป็นพยานในการปฏิบัติ จึง จะรู้แจ้ง อย่ามองไปนอกตัวเหตุอยู่ที่นี่
    ๕. ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ล้วนเป็นเพื่อเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน ทั้งหมดทั้งสิ้น ทุกชีวิตเกิดมามีกรรมเป็นของๆ ตน นอกจากนี้ หลักธรรมที่หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ถือเป็นแนวทางปฏิบัติและสอนธรรมเป็น หลักธรรมที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้วางเอาไว้ หลวงปู่กงมา ก็จดจําได้อย่างขึ้นใจ คือ ธรรมะ ๑๑ ประการ ได้แก่

    ๑. การปฏิบัติทางใจ ต้องถือการถ่ายถอนอุปาทานเป็นหลัก
    ๒. การถ่ายถอนนั้น ไม่ใช่การถ่ายถอนโดยไม่มีเหตุ ไม่ใช่ทําเฉยๆ ให้มันถ่ายถอนเอง
    ๓. เหตุแห่งการถ่ายถอนนั้น ต้องสมเหตุสมผล เย ธมมา เหตุปูปภวา เตส์ เหต์ ตถาค โต เตสญจ โย นิโรโธ จ เอาวาที่ มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ธรรมทั้งหลาย คับไปเพราะเหตุ พระมหาสมณะมีปกติ ตรัสอย่างนี้
    ๔. เพื่อให้เข้าใจว่า การถ่ายถอน อุปาทานนั้น มิใช่มีเหตุ และไม่สมควรแก่เหตุ ต้องสมเหตุสมผล
    ๕. เหตุได้แก่ สมมติบัญญาติขึ้น แล้วหลงตามอาการนั้น เริ่มต้นด้วยการสมมติตัวของตนก่อน พอหลงตัวของเราแล้วก็ไปหลงคนอื่น หลงว่าเราสวย แล้วจึงไปหลงผู้อื่นว่าสวย เมื่อหลงตัวของตัวและผู้อื่นแล้ว ก็หลงวัตถุข้างนอกจากตัว กลับกลายเป็น ราคะ โทสะ โมหะ
    ๖. แก้เหตุต้องพิจารณากรรมฐาน ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ด้วยสามารถ แห่งกําลังของสมาธิ เมื่อสมาธิขั้นต่ํา การพิจารณาก็เป็นญาณชั้นต่ํา เมื่อเป็นสมาธิ ชั้นสูง การพิจารณาเป็นญาณชั้นสูง แต่อยู่ในกรรมฐาน ๕
    ๗. การสมเหตุสมผล คือ คันที่ไหนก็ต้องเกาที่นั้น จึงจะหายคัน คนติดกรรมฐาน ๕ หมายถึง หลงหนังเป็นที่สุด เรียกว่าหลงกันตรงนี้ ถ้าไม่มีหนัง คงจะวิ่งกันแทบตาย เมื่อหลงกันที่นี้ ก็ต้องแก้กันที่นี่ คือ เมื่อกําลังสมาธิพอแล้ว พิจารณาก็เห็นความจริง เกิดความเบื่อหน่ายเป็น วิปัสสนาญาณ
    ๘. เป็นการเดินตามอริยสัจ เพราะเป็นการพิจารณาตัวทุกข์ ดังที่ พระ พุทธองค์ตรัสว่า ชาติปิทุกข์ ชราปีทุกข์ พยาธิปทุกข์ มรณัมปิทุกข์ ใครเกิด ใครแก่ ใครเจ็บ ใครตาย กรรมฐาน ๕ เป็นต้น ปฏิสนธิเกิดมาแล้ว แก่แล้วตายแล้ว จึงได้ชื่อว่า พิจารณากรรมฐาน ๕ อันเป็นทางพ้นทุกข์ เพราะพิจารณาตัวทุกข์จริงๆ
    ๙. ทุกขสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ เพราะมาหลงกรรมฐาน ๕ ยึดมั่น จึงเป็นทุกข์ เพื่อพิจารณาก็ละ ได้ เพราะเห็นตามความเป็นจริง สมคําว่า รูปสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ สญฺญายปิ นิพฺพินทติ สงฺขาเรสุปิ นิพฺพินฺทติ วิญฺญาณสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เมื่อเบื่อหน่ายในรูป (กรรมฐาน ๕) เป็นต้น แล้วก็คลายความกําหนัด เมื่อเราพ้นเราก็ต้องมีญาณทราบชัดว่าเราพ้น
    ๑๐. ทุกขนิโรธ ดังทุกข์ เมื่อเห็นกรรมฐาน ๕ เบื่อหน่ายได้จริง ชื่อว่า ดับอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เช่นเดียวกับท่านสามเณรสุมนะ ศิษย์ของท่านอนุราช พอปลงผมหมดศีรษะก็สําเร็จเป็นพระอรหันต์
    ๑๑. ทุกขคามินีปฏิปทา ทางไปสู่ที่ดับ คือ การเป็นปัญญาสัมมาทิฐิ ปัญญาเห็นชอบเห็นอะไร เห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การเห็นจริงแจ้งประจักษ์ด้วยสามารถแห่งสัมมาทิฐิ ไม่หลงคติสุข มีสมาธิเป็นกําลัง พิจารณากรรมฐาน ๕ ก็เป็นองค์มรรค
    ปัจฉิมบท
    หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เป็นนักต่อสู้ชีวิต ต่อสู้กับกิเลส เมื่อยังเป็นฆราวาส ก็เป็นฆราวาสที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ มีคุณธรรม เมื่อพบเคราะห์กรรม ก็รู้จัก เลือกสรรสาระให้กับชีวิต ถือเพศเป็นบรรพชิตที่น่าเคารพนับถือ ทั้งในคราบของ พระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกายได้ทุ่มเทชีวิตให้กับ การประพฤติปฏิบัติ จนมีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ มีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธา เลื่อมใสในปฏิปทา ทําให้เกิดวันอันเป็นสถานปฏิบัติธรรมขึ้น ในวงของพุทธศาสนา มากมาย เกิดมีผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามหลักโอวาท ของท่านสืบมาจนถึงทุกวันนี้ โดยไม่ขาดสาย ท่านได้ชื่อว่า เป็นพระสุปฏิบัติ อุชุปฏิบัติ ญายปฏิบัติ สามีจิปฏิบัติ และเป็นโลกปุญญเขตอย่างแท้จริง

    :- https://www.108prageji.com/หลวงปู่กงมา-จิรปุญโญ/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2022
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๒๔๐ .วิบากกรรมของครูบา ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    85,176 views Mar 2, 2022

    พระภิกษุหนุ่มจากเมืองไทยเดินธุดงค์ไปแก้วิบากกรรมให้ครูบาเจ้าอาวาสวัดป่าฮุงเขตเมืองลา รัฐฉาน ที่เคยมีต่อนางหมาแม่ลูกอ่อนตัวหนึ่ง ในอดีตกาลที่ผ่านมา.
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    หลวงปู่ศรีทัตถ์1-768x996.jpg
    ประวัติ ปฏิปทาและปาฏิหาริย์
    หลวงปู่ศรีทัตถ์ ญาณสัมปันโน


    วัดพระธาตุท่าอุเทน
    อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

    พระธาตุท่าอุเทน” เป็นพระเจดีย์ที่อยู่ภายในวัดท่าอุเทน (วัดพระธาตุท่าอุเทน) อําเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยพระธาตุแห่งนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ จนได้รับคัดเลือกให้เป็นพระธาตุประจําวันของผู้ที่เกิดวันศุกร์ โดยเชื่อกันว่าผู้ที่เกิดวันศุกร์ถ้าหากได้มากราบนมัสการ พระธาตุแห่งนี้ จะได้รับอานิสงส์ให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์ เปรียบเสมือน พระอาทิตย์ขึ้นยามรุ่งอรุณอันไร้การอัสดง ซึ่งพระธาตุแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมา ประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ ทว่าได้รับความเคารพนับถือ จากประชาชนในดินแดนลุ่มน้ำโขง อีสาน ตลอดจนทั้ง ๒ ฝั่งโขงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้ที่สร้างพระธาตุแห่งนี้ เป็นผู้นํา ทางด้านจิตวิญญาณของประชาชน ในดินแดนแห่งนี้นั่นเอง ซึ่งท่านก็คือ “ญาครูสีทัตถ์ ญาณสัมปันโน (สุวรรณมาโจ)” ซึ่งประวัติของท่าน มีดังนี้


    ◎ ภูมิหลังชีวิตและการอุปสมบท
    ญาครูสีทัตถ์ หรือ พระอาจารย์สีทัตต์ (บ้างก็เรียกว่า “หลวงปู่ศรีทัตถ์”) เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ณ บ้านหมู่ ๔ ตําบลท่าอุเทน อําเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม บิดาชื่อ “นายมาก” มารดาชื่อ “นางดา” เกิดในสกุล “สุวรรณมาโจ


    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดโพนแก้ว อําเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (สันนิษฐานว่าพระอุปัชฌาย์ของท่านคือ “พระอาจารย์ขันธ์” ผู้วิเศษแห่งวัดโพนแก้วนั่นเอง)


    ภายหลังอุปสมบทพระอาจารย์ขันธ์ได้ถ่ายทอดพระปริยัติธรรมและภาษาบาลีให้แก่พระภิกษุสีทัตถ์ เมื่อพระอาจารย์ขันธ์เห็นว่า พระภิกษุสีทัตถ์มีความรู้พื้นฐานดีแล้ว จึงนําไปฝากเรียนที่สํานัก “พระอาจารย์ตาคํา แห่งวัดศรีสะเกษ” ตําบลท่าอุเทน โดยการเรียนในสํานักของพระอาจารย์ตาคํา จะเน้นการสอนคัมภีร์มูลกัจจายน์ทั้ง ๕ ตลอดจนคัมภีร์ต่าง ๆ ได้แก่ พระอภิธรรม พระวินัย สิบสองตํานาน เป็นต้น จนทําให้พระภิกษุ สีทัตถ์มีความรู้ในทางธรรมที่แตกฉาน ก่อนที่จะออกรุกขมูลไปในสถานที่ต่างๆ อันวิเวก เพื่อปฏิบัติกรรมฐานตามแนวของพระป่าอรัญวาสี จนผู้คนต่างเรียก ขานท่านว่า “พระอาจารย์สีทัตถ์”


    ◎ ลาสิกขาบท ๒ ครั้ง
    กล่าวกันว่าพระอาจารย์สีทัตถ์ได้ลาสิกขาบทถึง ๒ ครั้ง โดยครั้งแรก ท่านได้ลาสิกขาบทเพื่อออกไปสร้างครอบครัวกับหญิงสาวชาวบ้าน แต่ภายหลังท่านเกิดเบื่อหน่ายกับทางโลก จึงกลับมาอุปสมบทใหม่อีกครั้ง ซึ่งไม่ทราบ แน่ชัดว่าท่านอุปสมบทที่ใด และใครเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน (แต่ผู้เขียน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น “วัดโพนแก้ว” บ้านท่าอุเทน เพราะตามประวัติของหลวงปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพฯ ท่านได้ศึกษากับพระอาจารย์สีทัตถ์ ที่วัดโพนแก้ว ราวปี พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๔๐) แล้วจึงย้ายไปจําพรรษาที่วัดพระธาตุท่าอุเทน (ตอนนั้น “พระธาตุท่าอุเทน” ยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้น) เพื่อไปศึกษาพระกรรมฐานกับ “พระอาจารย์ตา หงษี” (กล่าวกันว่า “พระอาจารย์ตา หงษี” ท่านเป็นผู้วิเศษแห่ง ๒ ฝั่งโขง ท่านเป็นพระอภิญญาที่ชาวท่าอุเทน ตลอดจนชาวเมืองและเจ้าเมืองหินปูน แขวงคําเกิด ต่างก็ให้ความเคารพนับถือเป็นอันมาก เพราะท่านสามารถกําราบภูติผีปีศาจได้ทุกประเภท และได้รับเชิญให้ไปปราบภูติผีปีศาจที่เมืองหินปูนอยู่เป็นประจํา หากพระอาจารย์ตา หงษี เรียกร้องหรือต้องการอะไรในแขวงคําเกิด ท่านเจ้าเมืองหินปูนจะต้องหามาให้ทุกอย่าง ยกเว้นดาวและเดือนเท่านั้นที่ไม่สามารถหามาให้ได้)


    .jpg
    หลวงปู่สีทัตถ์ สุวรรณมาโจ วัดพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

    ซึ่งท่านพระอาจารย์สีทัตถ์ ได้สร้างคุณงามความดีจนเป็นที่รักของชาวท่าอุเทนและสองฝั่งโขงเฉกเช่น อาจารย์ของท่าน ส่วนการลาสิกขาบท ครั้งที่ ๒ ของท่านนั้น ชาวบ้านต่างเชื่อ กันว่ามาจากอาถรรพ์ของ “พระบาง” ที่พระอาจารย์ตา หงษีได้ขอต่อขอเจ้าเมืองหินปูนเพื่อนํามาประดิษฐานไว้ ภายในพระอุโบสถของวัดพระธาตุท่าอุเทน ซึ่งหลังจากนําพระบาง มาภาพถ่ายเก่าที่สันนิษฐานว่าคือ ญาครูสีทัตถ์ ประดิษฐานไว้ไม่นาน “พระอาจารย์สีทัตถ์” ก็ต้องลาสิกขาบทออกไป โดยมี เรื่องเล่าว่า “ท่านได้ส่งออกธุดงค์ไปฝึกกรรมฐานที่ฝั่งลาว วันหนึ่งท่านได้ยิน หญิงสาวชาวบ้านกําลังส่งเสียงร้องรําทําเพลง ซึ่งมีความไพเราะจับใจมาก จนทําให้ท่านต้องตัดสินใจลาสิกขาบทในคืนวันนั้นโดยทันที เพื่อไปสู่ขอหญิงสาว ชาวบ้านผู้นั้น การลาสิกขาบทของท่านพระอาจารย์สีทัตถ์ ได้สร้างความประหลาดแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง จึงลงความเห็นว่า “อาจเป็นเพราะท่านต้องอาถรรพ์ ของพระบางที่อยู่ภายในวัดพระธาตุท่าอุเทน” ชาวบ้านก็เลยพากันขนย้ายพระบางออกไปประดิษฐาน อยู่ที่วัดไตรภูมิตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


    สําหรับ “พระบาง” นี้ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใน สปป.ลาว เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๐๘ โดยมีสมเด็จเหมมะวันนา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ (ดังปรากฏ รอยจารึกที่รอบฐานขององค์พระบางด้วยอักษรไทยน้อย ใจความว่า “สมเด็จพระเหมะ วันทา กับทั้ง อัน เต วา สิ อุบาสก อุบาสิกา ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างพระนี้ขึ้นมา มีขนาดเท่าตัวคน เพื่อให้ไว้เป็นที่สักการะบูชา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๐๐๘ ตรงกับปีวอก เดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำ วันศุกร์…”) และมีพญาแมงวัน (มีรูปแมลงวันอยู่ที่หน้าผาก) เจ้าเมืองเหิบ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในครั้งนั้นได้หล่อพระพุทธรูปที่มีขนาดเท่ากันขึ้น ๒ องค์ คือ พระพุทธรูปปางขัดสมาธิ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่บ้านดอนติ้ว เมืองหินปูน สปป.ลาว) และ พระบาง (พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร) ภายหลังพระบางได้ถูกอัญเชิญมาจาก สปป.ลาว มาประดิษฐานที่วัดพระธาตุท่าอุเทน เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แต่ก็ประดิษฐานที่วัดพระธาตุท่าอุเทนได้ไม่นาน ก็ต้องถูกย้าย ไปประดิษฐานยังวัดไตรภูมิดังเรื่องราวที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น


    ภายหลังท่านได้กลับมาอุปสมบทใหม่เป็นครั้งที่ ๓ (สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นที่วัดพระธาตุท่าอุเทน) โดยได้รับฉายาว่า “ญาณสัมปันโน” ท่าน ปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด จึงทําให้มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสท่าน มาก และอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่ชุมชนสองฝั่งโขง จนได้รับการเรียกขานว่า “ญาครูสีทัตถ์” จวบถึงวาระสุดท้ายของชีวิตท่าน


    ◎ สร้างองค์พระธาตุท่าอุเทน
    แต่เดิมวัดพระธาตุท่าอุเทน ยังไม่มีองค์พระธาตุเช่นปัจจุบัน กระทั่งวัน อังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีกุน (ตรงกับวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓) ญาครูสีทัตถ์ได้ชักชวนพระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาให้มาร่วมกัน ก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทนขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ญาครูสีทัตถ์ ก็ได้อัญเชิญมาจากเมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า โดยจําลองแบบมาจากพระธาตุพนม (แต่มีขนาดขององค์พระธาตุที่เล็กกว่า และมีความสูงมากกว่าองค์ พระธาตุพนม) ญาครูสีทัตถ์ได้ใช้วิธีการขุดหลุมแล้วใส่ “หินนางเรียง” หรือ “หินแก้วนางฝาน” เพื่อเป็นฐานรองรับองค์พระธาตุแทนการตอกเสาเข็ม ถึงตอนนี้ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า “แก้วนางฝานคืออะไร?”


    “แก้วนางฝาน” เป็นวัตถุอาถรรพ์ศักดิ์สิทธิ์ในตํานานท้าวศรีโคตรบูรณ์ คนโบราณเชื่อว่าแก้วนางฝานมีอานุภาพค้ำคูณ ทําให้เจริญ ล้างอาถรรพ์ทั้งมวล ตลอดจนใช้ทําน้ำมนต์กันคุณไสย กันไฟกันฟ้า และภูติผีปิศาจได้ ถ้าบูชาดี ๆ แก้วนี้สามารถเรืองแสงออกมาให้ผู้เป็นเจ้าของเห็นได้ กล่าวกันว่า แก้ว ชนิดนี้ตอนขุดได้ใหม่ ๆ จะอ่อนนิ่มจนเอามีดมาฝานได้ แต่พอทิ้งไว้ให้โดนอากาศสักพักก็จะเริ่มแข็งตัวขึ้นเรื่อย ๆ เหตุที่เรียกว่า “แก้วนางฝาน” สืบเนื่องจากตํานานของท้าวศรีโคตรบูรณ์ที่กล่าวว่า ท้าวศรีโคตรบูรณ์ได้นําไม้พญางิ้วดํามากวนข้าวจนกลายเป็นข้าวดํา และกินเข้าไปทําให้มีอิทธิฤทธิจน สามารถปราบช้างกํ่าเมืองลาวได้ ทําให้พระราชาต้องยกนางเขียวค้อมลูกสาว ให้เป็นภรรยา และยกเมืองให้ปกครองกึ่งหนึ่ง ต่อมาพ่อตาเกิดความอิจฉาเลยวางแผนฆ่าลูกเขย ซึ่งพยายามทํามากมายหลายวิธีก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะท้าวศรีโคตรบูรณ์มีความอยู่ยงคงกระพัน พ่อตาจึงออกอุบายใหม่โดย ขอดูอุจจาระของคนหนังเหนียว ทําให้ท้าวศรีโคตรบรณ์ต้องมาถ่ายหนักที่ถาน (ส้วม) ภายในวังของพ่อตา โดยในถานนี้ต่อพยนต์ลูกดอกที่ทําจากแก้วชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าล้างอาถรรพ์ใด ๆ ก็ได้ โดยนางเขียวค้อมเป็นผู้เอามีดมาแกะหิน เป็นหัวลูกดอก จึงเรียกแก้วชนิดนี้ว่า “แก้วนางฝาน” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


    โดยในเดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันเสาร์ ปีกุน (ตรงกับวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓) ได้ทําพิธีบรรจุและสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ ครั้นถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ (ตรงกับวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๘) ได้ยกฉัตรขึ้นสู่ยอดพระธาตุ ต่อจากนั้นก็ปูอิฐและก่อกําแพงแก้วรอบองค์พระธาตุ ๓ ชั้น เป็นเวลา ๑ ปี (ตรงกับปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๕๙) จึงสําเร็จลุล่วง ซึ่งรวมระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ ๖ ปี
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,332
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    ภายในองค์พระธาตุก่อเป็น ๓ ชั้น ชั้นแรกอยู่ด้านในสุดเป็นอุโมงค์เพื่อบรรจุวัตถุอันมีค่าต่าง ๆ เช่น แก้ว แหวน เงิน ทอง นอ งา และพระพุทธรูป ซึ่งผู้มีจิตศรัทธานํามาถวายเพื่อสืบทอดพระศาสนาคิดเป็นยอดรวมกว่า ๓๕,๐๐๐ บาท (ในสมัยนั้น) โดยเฉพาะนายเช่า แซ่คู พ่อค้าใหญ่แห่งจังหวัดหนองคาย ผู้เดียวก็ถวายวัตถุอันมีค่ารวมกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท (ในสมัยนั้น) ชั้นที่ ๒ เป็นครอบอุโมงค์สูงประมาณ ๕ วา และชั้นที่ ๓ ชั้นนอกสุด เป็นพระ เจดีย์องค์ใหญ่สูง ๓๓ วา โดยบริเวณฐานและเรือนขององค์พระธาตุมีลายปูน ปั้นที่งดงามมาก ซึ่งช่างปั้นฝีมือดีที่ช่วยสร้างองค์พระธาตุมีด้วยกัน ๕ ท่าน ได้แก่
    ๑. พระอาจารย์มหาสนา ชาวท่าอุเทน
    ๒. พระอาจารย์ผง ชาวท่าอุเทน
    ๓. พระอาจารย์จันทร์ ชาวท่าอุเทน
    ๔. พระอาจารย์คําพัน ชาวจังหวัดหนองคาย
    ๕. พระอาจารย์ยอดแก้ว ชาวอําเภอคําชะอี จังหวัดมุกดาหาร


    กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่วนของซุ้มประตูชั้นล่างขององค์พระธาตุ ด้านทิศใต้ได้พังทลายลงมา ทางกรมศิลปากรจึงได้ทําการบูรณะจนแล้วเสร็จ ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ พร้อมทั้งได้ทําการเสริมคานคอนกรีตภายใน เพื่อป้องกันองค์พระธาตุพังทลายลงมาอีก


    ◎ พ้นข้อครหาเพราะทําดี
    ในราว พ.ศ. ๒๔๕๖ ระหว่างที่ญาครูสีทัตถ์ ทําการก่อสร้างองค์พระธาตท่าอุเทน ได้มีพระครูสมุห์วรคณิสรสิทธิ (ผู้แทนคณะสงฆ์จากกรุงเทพฯ) มาตรวจการในแถบภาคอีสาน ครั้นมาถึงจังหวัดหนองคาย พระครูสมุห์วรฯ ได้ทราบข่าวว่าญาครูสีทัตถ์เป็นผู้มีอิทธิพลและสามารถแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น ย่อแผ่นดินให้แคบ ล่องหนหายตัว และเดินข้ามแม่น้ำโขงได้ด้วยเท้าเปล่า จนมีผู้คนเลื่อมใสศรัทธามาก และอาจเป็นผีบุญปลอมตัว มาเพื่อซ่องสุมกําลังพลและคิดก่อการกบฏต่อราชการ พระครูสมุห์ฯ จึงจะมานําตัวท่านกลับไปสอบสวนที่กรุงเทพฯ


    เมื่อพระครูสมุห์ฯ ล่องเรือจากจังหวัดหนองคายมาถึงท่าอุเทนแล้ว ท่านไม่ยอมไปที่วัด แต่กลับไปที่ว่าการอําเภอแทน พร้อมทั้งโทรเลขให้พระยา พนมนครานุรักษ์ (อุ้ย นาครทรรพ) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้น ให้ขึ้นมาจับเอาตัวหลวงปู่สีทัตถ์ไปไต่สวนที่กรุงเทพฯ จึงได้มีผู้สงสัยเข้าไปถามท่านว่า “ทําไมท่านพระครูฯ ไม่ไปให้ถึงวัดเองล่ะขอรับ” ท่านก็ตอบว่า “กลัวพระสีทัตถ์จะสั่งให้ลูกน้องทําอันตรายเอา”


    ภายหลังพระยาพนมนครานุรักษ์ได้ส่งโทรเลขกลับมาความว่า “พระอาจารย์สีทัตถ์มิได้คิดกบฏซ่องสุมผู้คน หากแต่ท่านสร้างพระธาตุเจดีย์และ มีผู้คนมาจากอําเภอและจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต่างก็เดินทางมาช่วยท่าน โดยหวังผลในกุศลเท่านั้น มิได้คิดเป็นอื่นดังที่พระคุณเจ้าเข้าใจ และ ตัวท่านพระอาจารย์สีทัตถ์เองก็อยู่ในศีลธรรมอันดีรักความสงบไม่มีจิตคิดอิจฉาและแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นผู้อื่น ”เมื่อพระครูสมุห์วรฯ ทราบความจริง จึง เดินทางต่อไปยังเมืองนครพนม เหตุการณ์จึงสงบไป ส่วนทางวัดพระธาตท่าอุเทน เมื่อทราบข่าวว่าจะมีพระภิกษุจากกรุงเทพฯ จะมาจับตัวญาครูสีทัตถ์ไปไต่สวน ท่านก็ยังคงทํางานก่อสร้างพระธาตุของท่านไปเรื่อย ๆ ไม่ได้เกิดความตื่นตระหนกแต่อย่างใด ทั้งยังสั่งให้เตรียมอาสนะไว้รับรองด้วย ต่อมาพระอาจารย์ปาน พระอาจารย์ยอดแก้ว และพระอาจารย์ปิ่นได้มาขอสู้แทน ญาครูสรทัตถ์ ซึ่งท่านก็กล่าวตอบไปว่า “พระคูรสมุห์ฯ ไม่มาดอก อย่าวุ่นวายไปเลย” และพระคูรสมุห์ฯ ก็ไม่มาจริง ๆ ดังคําที่ท่านกล่าวไว้


    ◎ ปลาร้ามาได้อย่างไร?
    อาหารหลักที่จะนํามาเลี้ยงคนงานในการสร้างพระธาตุท่าอุเทนก็คือ ปลาร้า (ปลาแดก) ปลาแห้ง และผักสด ญาครูสีทัตถ์ ได้สร้างโรงครัวเพื่อให้คนงาน (รวมทั้งพระภิกษุสามเณร) ได้รับประทาน เย็นวันหนึ่งขณะที่ญาครูสีทัตถ์ ออกเดินตรวจความเรียบร้อยของงาน ท่านได้มาคุยกับแม่ครัว พวกแม่ครัวจึงพา กันกราบเรียนท่านว่า “ปลาร้ากําลังจะหมดแล้ว พรุ่งนี้อาจจะไม่มีปลาร้า มาประกอบอาหาร” พอท่านได้ยิน ท่านกลับไม่ตอบอะไรได้แต่ยิ้ม ๆ ไม่พูดอะไร พร้อมทั้งปลายสายตามามองที่ไหปลาร้าอันว่างเปล่ากว่า ๑๐ ไห ทําให้พวกแม่ครัวต่างพากันเป็นห่วงยิ่งขึ้น แต่ก่อนที่ญาครูฯ จะเดินจากไป ท่านก็พูดเปรย ๆ ขึ้นว่า “ประเดี๋ยวจะมีคนเอามาให้เอง ”คําพูดของท่านทําให้ พวกแม่ครัวพากันฉงน จากนั้นต่างก็ช่วยกันทําความสะอาดถ้วยชาม และโรงครัว


    พอรุ่งสางบรรดาแม่ครัวต่างก็พากันมาทําอาหารเพื่อเตรียมให้พวกที่ สร้างพระธาตุได้ทานกัน ปรากฏว่าไหปลาร้าที่ว่างเปล่ากว่า ๑๐ ไหเมื่อเย็นวานนี้ กลับมีปลาร้าเต็มไปหมด จึงได้บอกต่อ ๆ กันไปเพื่อให้มาดูความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งต่างก็พากันไปกราบนมัสการญาครูสีทัตถ์ให้ทราบว่า ในวันนี้มีปลาร้าอยู่เต็มทุกไหแล้ว และต่างก็สอบถามญาครูสีทัตถ์ ว่าปลาร้ามีมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้ให้มา ซึ่งญาครูสีทัตถ์ ท่านก็ไม่ยอมตอบ แต่ก็พูดเปรย ๆ ขึ้นว่า “เอ้อ! มีให้กินก็ดีแล้วหนอ ใครมีหน้าที่อะไรก็ไปทําต่อเถอะ”


    ◎ เร้นกาย-ย่นระยะทาง
    มีเรื่องเล่าว่าในสมัยก่อนญาครูสีทัตถ์ ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วดินแดนสองฝั่งโขง โดยเฉพาะฝั่งชาวเมืองหินปูน สปป.ลาว มักจะนิมนต์ท่านให้ ไปประกอบศาสนกิจอยู่บ่อยครั้ง มีครั้งหนึ่งชาวเมืองหินปูนได้มานิมนต์ท่านที่ วัดพระธาตุท่าอุเทน เพื่อให้ไปเจริญพุทธมนต์ที่วัดปากหินปูน สปป.ลาว พร้อม ทั้งจะร่วมกันถวายภัตตาหารเพลแก่ท่าน ซึ่งตอนนั้นท่านกําลังสั่งและควบคุมงานก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทนอยู่ ท่านได้กล่าวว่า “พวกเจ้าจงพาพระและเณรไปกันก่อนเถอะ เราจะมอบหมายการงานให้ช่างสร้างพระธาตุท่าอุเทนให้เรียบร้อยก่อน แล้วจะรีบตามไปทีหลัง”


    พวกญาติโยมชาวเมืองหินปูนต่างก็พากันคะยั้นคะยออยู่หลายครั้ง แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะญาครูสีทัตถ์ ท่านก็บอกว่า “ไปกันก่อนเถอะ ๆ จะตามไปทีหลัง ไม่ต้องห่วง” จากนั้นญาติโยมจึงพากันลงเรือข้ามฟาก เพื่อไปที่วัดปากหินปูน พอไปถึงภายในโบสถ์ที่ประกอบพิธีกรรมนั้น ก็เกิดความประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระและเณรของเมืองปากหินปูน ต่างกําลังนั่งห้อมล้อมญาครูสีทัตถ์อยู่ เป็นไปไม่ได้ที่ท่านจะมาถึงก่อน เมื่อพิธีเสร็จสิ้นญาติโยมต่างก็พากันเดินทางกลับมายังท่าอุเทน ซึ่งญาครูสรทัตถ์ ก็กลับมาด้วย พอมาถึงวัดญาติโยมจึงไปกราบนมัสการถามญาครูสีทัตถ์ว่า “ญาครูฯ ไปถึงวัดปากหินปูนก่อนได้อย่างไร” ซึ่งท่านก็ตอบแบบเลี่ยง ๆไปว่า “ก็ตามกันไปนั่นแหละ ไม่เห็นหรือ?” จากนั้นญาครูสีทัตถ์ จึงรีบเปลี่ยนเรื่อง คุยไป


    ◎ ย่นระยะทางข้ามน้ำโขง
    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่อําเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม โดยญาครูสีทัตถ์ได้ออกเดินธุดงค์ตามป่าเขาลําเนาไพร เพื่อแสวงหาสัจธรรมร่วมกับสามเณรรูปหนึ่ง “ในวันหนึ่งหลังจากฉันอาหารเช้าแล้ว ญาครูสีทัตถ์ได้นําสามเณรข้ามไปฝั่งลาว ท่านได้พาเดินเลาะท่าเรือที่จะข้ามไป แต่กลับไม่มีเรือสักลําผ่านมา ท่านและสามเณรได้รอเรืออยู่นาน ท่านจึงพาสามเณรเดินต่อไปเรื่อย ๆ จึงได้พบเรือแต่กลับไม่มีคนพายข้ามไป สามเณรจึงบอกกับญาครูสีทัตถ์ว่า “ผมเดินมาทั้งวัน เหนื่อยแล้ว ขอพักก่อนนะครับ” ญาครูสีทัตถ์ ท่านกล่าวตอบเณรไปว่า “เฉย ๆ ไว้ ต้องไปให้ได้เดี๋ยวเราจะพาข้ามไปเอง” จากนั้นท่านก็ สั่งให้สามเณรกลับหลังหัน หลับตาแล้วยืนนิ่ง ๆ สามเณรก็คิดในใจว่าหลวงปู่สีทัตถ์ ท่านจะพาเราไปได้อย่างไรกัน แล้วเมื่อไรหลวงปู่สีทัตถ์ ท่านจะให้เราลืมตาเสียที ทันใดนั้นเองญาครูสีทัตถ์ ก็กล่าวว่า “เอ้า! ถึงแล้ว ให้ลืมตาได้” สามเณรจึงลืมตาขึ้น และได้เห็นตัวเองกับหลวงปู่สีทัตถ์ กําลังยืนอยู่ที่ฝั่งประเทศลาว สามเณรเกิดความประหลาดใจ ใคร่อยากจะรู้ว่าหลวงปู่สีทัตถ์ ท่านทําอย่างไรถึงข้ามแม่น้ำโขงมาได้ จึงเอ่ยถามขึ้นด้วยความสงสัยว่า “หลวงปู่ครับ เราข้ามโขงมาได้อย่างไรครับ” แทนที่ท่านจะตอบถึงสาเหตุในการข้ามแม่น้ำโขงมาได้ ท่านกลับตอบเชิงดุว่า “มันไม่ใช่เรื่องที่ต้องอยากรู้ ไปกันได้แล้ว” ทําให้สามเณรเกิดความฉงนยิ่งขึ้น พลางก็เดินตามหลังท่านไป


    ◎ สร้างพระธาตุเจดีย์ครอบพระพุทธบาทบัวบก
    ตํานานอีสานบางแห่งเขียนเล่าเรื่องราวของพระพุทธบาทบัวบกไว้ว่า “ในอดีตกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ในสถานที่ต่าง ๆ เป็นจํานวนมาก ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงเสด็จมาประทับอยู่ที่ ดอยนันทะดังฮี ในแคว้นหลวงพระบาง ทรงทราบว่านาคแถบฝั่งโขงมีความดุร้าย มักรบกวนมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นประจํา เพื่อที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ พระองค์จึง ได้เสด็จไปยัง ถ้ำหนองบัวบาน และถ้ำบัวบก อันเป็นที่อาศัยของนาค ๒ ตัว คือ กุทโธปาปนาค และมิลินทนาค พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมแก่กุทโธปาปนาค เมื่อกุทโธปาปนาคได้สดับพระธรรมเทศนาก็บังเกิดความเลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสก และถือพระไตรสรณาคมน์เป็นสรณะตลอดชีวิต หลังจากนั้นกุทโธปาปนาคก็นึกถึงน้องชายคือมิลินทนาคว่า ควรจะได้สดับ พระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์เช่นตน เพื่อจะได้ประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร จึงได้กราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด เมื่อพระพุทธองค์ เสด็จมาถึงถ้ำบัวบกอันเป็นที่อยู่ของมิลินทนาค มิลินทนาคก็แสดงฤทธิ์ อํานาจเพื่อขัดขวางและทําร้ายพระพุทธองค์ด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่เป็นผล ใน ที่สุดจึงได้แปลงร่างเป็นมนุษย์ เข้าไปนมัสการพระพุทธองค์เพื่อขอขมา พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดมิลินทนาค เมื่อมิลินทนาคได้สดับ พระธรรมเทศนาแล้ว จึงสํานึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทําไปแล้ว และทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากมิลินทนาคมิใช่มนุษย พระพุทธองค์จึงอุปสมบทให้ไม่ได้ เพราะผิดพระวินัย ดังนั้นพระพุทธองค์ จึงทรงประทานไตรสรณาคมน์ ให้มิลินทนาคไว้เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกและ ถือปฏิบัติต่อไปเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิต จากที่เคยเบียดเบียนทําร้ายสัตว์โลก มาเป็นช่วยเหลือเกื้อกูลสัตว์โลกตามแนวทางของพระพุทธศาสนา เมื่อมิลินทนาครับไตรสรณาคมน์แล้ว จึงกราบทูลขอรอยพระบาทพระพุทธ องค์ไว้เป็นที่สักการบูชา พระพุทธองค์ทรงพิจารณาสถานที่แล้ว จึงได้ ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ สถานที่นี้ แล้วจึงเสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร พระพุทธบาทแห่งนี้จึงได้ชื่อว่าพระพุทธบาทบัวบก ตามชื่อถ้ำบัวบก ที่มิลินทนาคอาศัยอยู่”


    เดิมที่รอยพระพุทธบาทมีเพียงมณฑปเล็ก ๆ สร้างครอบไว้ กระทั่งใน ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ญาครูสีทัตถ์ สุวรรณมาโจ ได้เดินธุดงค์จากวัดพระธาตุท่าอุเทน พร้อมด้วยสามเณรอีกสองรูป โดยได้มาพํานักอยู่ที่ถ้ำนกเขายูงทอง เมื่อชาวบ้านทราบข่าวว่าญาครูสีทัตถ์เดินธุดงค์มาพร้อมกับสามเณรอีก ๒ รูป จึงได้ นิมนต์ให้มาจําพรรษาที่พระพุทธบาทบัวบก เพื่อให้ท่านเป็นประธานนําชาวบ้านทําการปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทบัวบก ท่านก็รับดําเนินการโดยได้เริ่มงาน รื้อมณฑปเก่าออก เพื่อสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ เมื่อรื้อมณฑปเก่าออก ท่านได้พบโบราณวัตถุที่มีค่าหลายชิ้น พร้อมทั้งศิลากลมก้อนหนึ่งที่มีขนาดใหญ่เท่าลูกนิมิตร เมื่อผ่าออกก็พบตลับเงินอันหนึ่งเป็นรูปเจดีย์ เมื่อเปิดตลับเงินออก ก็พบตลับทองคําที่บรรจุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน


    รูปแบบของพระธาตุเจดีย์ ที่ครอบรอยพระพุทธบาทบัวบกนั้น เลียนแบบมาจากองค์พระธาตุพนม แต่ได้ดัดแปลงภายในทําเป็นห้องครอบ รอยพระพุทธบาทเอาไว้ (สามารถเข้าไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่ ประดิษฐานอยู่ภายในได้) ซึ่งองค์พระธาตุมีความสูงประมาณ ๔๕ เมตร ยอด พระธาตุเจดีย์ทําด้วยฉัตรเงิน โคนทําด้วยทองคําบริสุทธิ์หนัก ๕๕๕ บาท บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบคราวซื้อมณฑปเก่าออก ส่วนรอยพระพุทธบาท บัวบกซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในห้องด้านล่างขององค์พระธาตุมีความยาว ๑.๙๓ เมตร กว้าง ๙๐ เซนติเมตร ปัจจุบันได้มีการก่อปูนเสริมให้เป็นรูปลักษณ์ของรอยพระบาทที่ชัดเจนขึ้น โดยตรงกลางทําเป็นลายบัวบานและมีนิ้วพระบาทยาวเสมอกัน พระพุทธบาทบัวบกเป็นที่เคารพสักการะของชาวอําเภอบ้านผือ และประชาชนในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งพุทธศาสนิกชนจากประเทศลาว ซึ่งจะมีงานสมโภชพระธาตุในช่วงเดือน ๓ ขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ ของทุกปี


    ◎ ถาวรวัตถุครั้งสุดท้ายและการมรณภาพ
    เมื่อเสร็จสิ้นการก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ภายในวัดพระพุทธบาทบัวบกแล้ว ญาครูสีทัตถ์ก็ข้ามฝั่งโขงไปปฏิบัติกรรมฐานอยู่ในป่าแถบ สปป.ลาว จาก นั้นจึงมาสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท (จําลอง) ที่วัดพระบาทโพนสัน จนสําเร็จลุล่วง และอยู่จําพรรษาที่วัดพระบาทโพนสันเป็นเวลา ๖ ปี กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๓ ญาครูสีทัตถ์จึงถึงแก่กาลมรณภาพที่วัดพระบาทโพนสัน สถานที่สุดท้ายที่ท่านได้สร้างถาวรวัตถุนั่นเอง สิริอายุได้ ๗๕ ปี ซึ่งก่อนมรณภาพ ท่านได้สั่งสานุศิษย์เอาไว้ว่า “เมื่อฌาปนกิจสังขารเสร็จแล้วให้เอาอัฐิธาตุของท่านไปโยนทิ้งลงแม่น้ำโขงให้หมด” ดังนั้นภายหลังเสร็จสิ้นการ ฌาปนกิจสังขารของท่านแล้ว บรรดาสานุศิษย์ของท่านจึงนําอัฐิธาตุของท่าน ทิ้งลงในแม่น้ำโขงจนหมดสิ้นตามคําสั่งเสียของท่าน


    ◎ วัตถุมงคลของญาครูสีทัตถ์
    วัตถุมงคลของญาครูสีทัตถ์ที่พบในปัจจุบันนั้น ล้วนแต่เป็น “เหรียญตาย” กล่าวคือ “ไม่ทันท่านอธิษฐานจิต” ทั้งสิ้น ซึ่งอาจจะมีวัตถุมงคลที่ท่าน สร้าง (แต่ก็ยังไม่เคยมีผู้ใดเคยพบเห็น) นั่นคือ “พระบรรจุกรุ” ภายในองค์ พระธาตุเจดีย์ทั้ง ๓ แห่ง ที่ท่านได้สร้างและบูรณะขึ้น ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มี ก็เป็นเรื่องอจิณไตยนะครับ แต่สําหรับเหรียญตายของท่านนั้น ปัจจุบันก็เป็น


    ที่นิยมกันอย่างแพร่หลายเนื่องจาก “ลูกศิษย์และศิษย์ในสายของท่านเป็น ผู้ที่อธิษฐานจิตปลุกเสกให้” และแน่นอนว่า “ต้องดีไม่แพ้ผู้ที่เป็นอาจารย์ ของท่านเลย” ซึ่งมีดังนี้
    ๑) เหรียญญาครูสีทัตถ์ วัดพระธาตุท่าอุเทน รุ่นแรก (รุ่น ๑) พ.ศ. ๒๕๑๔ เหรียญรุ่นนี้ทางวัดสร้าง เพื่อไว้แจกญาติโยมที่มากราบนมัสการ พระธาตุท่าอุเทน เหรียญรุ่นนี้อธิษฐานจิตโดยหลวงปู่สนธิ์ เขมิโย วัดอรัญญานาโพธิ์ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ลูกศิษย์ของญาครูสีทัตถ์
    ๒) เหรียญญาครูสีทัตถ์ หลังพระอาจารย์สนธิ์ วัดอรัญญานาโพธิ์ จ.นครพนม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๘
    ๓) เหรียญญาครูสีทัตถ์ หลังพระอาจารย์สนธิ์ วัดอรัญญานาโพธิ์ จ.นครพนม ปี รุ่น ๔ พ.ศ. ๒๕๑๘
    ๔) เหรียญญาครูสีทัตถ์ หลังพระอาจารย์สนธิ์ วัดอรัญญานาโพธิ์ จ.นครพนม ปี รุ่น ๕ พ.ศ. ๒๕๑๙
    ๕) เหรียญญาครูสีทัตถ์ วัดสะพานดํา พ.ศ. ๒๕๑๘
    ๖) เหรียญญาครูสีทัตถ์ หลังหลวงพ่อสี วัดสว่างคงคาราม พ.ศ. ๒๕๑๘
    ๗) เหรียญญาครูสีทัตถ์ วัดพระพุทธบาทบัวบก รุ่น ๒
    ๘) เหรียญญาครูสีทัตถ์วัดพระพุทธบาทบัวบก รุ่น ๑๐๙ ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้น
    :- https://www.108prageji.com/หลวงปู่ศรีทัตถ์/
     

แชร์หน้านี้

Loading...