หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    สามเณรประมัยผู้บรรลุธรรมท่องธุดงค์กรรมฐาน | EP.73 เรื่องเล่าพระธุดงค์ | สามเณรประมัย กาฬเนตร

    100 เรื่องเล่า
    26,611 views May 26, 2022
    สามเณรประมัย กาฬเนตร ท่านเป็นสามเณรรูปหนึ่ง ที่มีความสนใจทางด้านวิปัสนากรรมฐาน มาตั้งยังเป็นสามเณร และมักจะออกเที่ยวจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในป่าเขา ในชนบทห่างไกล ท่านมีสหธรรมมิกหลายรูปคือ พระครูอุดมธรรมคุณ พระมหาโฮม และพระกระจ่าง และเชื่อกันว่า สามเณรประมัย ท่านบรรลุธรรมขั้นพระอนาคามีแล้ว


    เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญรับฟังได้เลยครับ ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ประวัติสามเณรประมัย กาฬเนตร

    วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

    ฉบับเรียบเรียงใหม่ โดย
    webmaster dharma-gateway.com

    bar-1s.jpg

    คำนำ

    sn-pramai-02s.jpg

    สามเณรประมัย กาฬเนตร


    ประวัติสามเณรประมัย สีลาภิรโต (กาฬเนตร) ฉบับเรียบเรียงใหม่นี้ ได้เรียบเรียงโดยใช้โครงเรื่องตามประวัติของท่านที่พิมพ์ไว้ในหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานฌาปนกิจศพท่านสามเณรประมัย ที่ขุนศิริสมานการ ผู้เป็นโยมบิดา จัดพิมพ์เป็นหลัก โดยเนื้อหาของหนังสือของหนังสือนั้น จะเป็นเรื่อง “ศาสนวิถี” และ “ธัมมานุวัตต์” ซึ่งสามเณรประมัยได้เรียบเรียงขึ้น
    หนังสือที่ท่านขุนศิริฯ จัดพิมพ์ขึ้นนี้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของท่านเพียงแหล่งเดียว ทั้งนี้ก็เพราะสามเณรประมัยท่านไม่อยากให้ใครสนใจประวัติของท่าน ท่านอยากให้สนใจธรรมะและการปฏิบัติอันจะนำประโยชน์มาให้มากกว่า ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ต่อมาไม่ค่อยมีใครได้ทราบประวัติของท่านนัก

    ในเรื่องภาพถ่ายของท่านก็เช่นกัน ซึ่งเท่าที่ทราบมีเพียง ๒ ภาพเท่านั้นเอง คือภาพเดี่ยว ซึ่ง คุณนวพรหมพร คำฟู หรือ “ทั่นยาย” สมาชิกเวบลานธรรมเสวนา ผู้ซึ่งได้มีโอกาสอ่านหนังสือธัมมานุวัตต์ และเกิดความเลื่อมใสในตัวผู้เรียบเรียง ได้อุตสาหะพยายามสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียบเรียงจึงติดตามค้นหาประวัติและรูปภาพของท่านทุกวิถีทาง พอได้เบาะแสว่าใครและที่แห่งใด ที่เคยเกี่ยวข้องกับท่านสามเณรประมัยก็จะตามไปสืบเสาะหาจนได้ ก็ได้ไปพบภาพของสามเณรประมัย ซึ่งค่อนข้างหายากมาก มีอยู่เพียง ๒ ภาพ คือภาพเดี่ยว หนึ่งภาพ ไปหาเจอที่วัดวิเวการาม ชลบุรี และภาพหมู่อีกหนึ่งภาพ มีพระราชมุนี (หลวงปู่โฮม โสภโณ ) พระกระจ่าง กนตฺสีโร สามเณรประมัย สีลาภิรโต ซึ่ง คุณนวพรหมพร ได้ภาพนี้จากหนังสืองานพระราชเพลิงศพของพระราชมุนี (หลวงปู่โฮม โสภโณ ) และไปกราบขอยืมมาจาก พระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร จิตตฺถาวโร ) วัดปทุมวนาราม มา

    sn-pramai-28.jpg

    คุณนวพรหมพร คำฟูกำลังถวายของแด่

    พระวินัยโสภณ (เล็ก ธัมมปาโล) วัดปทุมวนาราม

    สำหรับข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับสามเณรประมัยได้นำมาจาก

    ๑. คำสัมภาษณ์ที่ คุณนวพรหมพร ได้สัมภาษณ์พระวินัยโสภณ (เล็ก ธัมมปาโล) แห่งวัดปทุมวนาราม เมื่อปี ๒๕๕๒

    ๒. หนังสือ “ทางสู่สันติ” หนังสืออนุสรณ์งานศพ พระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุก สุจิตโต) เขียนโดย หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร

    ๓. บทความเรื่อง “พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) ช้างเผือกในอารามกลางกรุง" โดย คุณทองทิว สุวรรณทัต ตีพิมพ์ในหนังสือโลกทิพย์ ฉบับที่ ๓๖ ปีที่ ๓ เดือน ก.ค. ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ และได้โพสต์ในเวบพลังจิต โดย aprin เมื่อ ๒๐-๐๖-๒๐๑๐

    ๔. สีลาภิรตานุสรณ์ สามเณรประมัย กาฬเนตร โดย ภัทระ คำพิทักษ์ ลงใน นสพ โพสทูเดย์ วันที่ ๙ ก.ย. ๕๕

    ๕. หนังสือ “เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา” ซึ่งพระประชา ปสนฺนธมฺโมได้สัมภาษณ์ท่านพุทธทาสไว้

    bar5-ss.gif

    ประวัติสามเณรประมัย กาฬเนตร

    วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

    เรียบเรียงขึ้นใหม่โดย webmaster dharma-gateway.com

    สามเณรประมัย กาฬเนตร (สีลาภิรโต) เป็นบุตรขุนศิริสมานการ (ตาดำ กาฬเนตร) อดีตนายอำเภอพิบูลมังสาหาร* และ นางศิริสมานการ (แตงอ่อน) เกิดเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๘ ตรงกับวันพฤหัสบดี ตามประวัติของท่านในหนังสือส่วนมาก ระบุวันเกิดท่านเป็นวันศุกร์ ซึ่งเมื่อเช็คสอบกับปฏิทิน ๑๐๐ ปีแล้วที่ถูกเป็นวันพฤหัสบดี-ผู้เรียบเรียง แรม ๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีเถาะ ที่บ้านอำเภอบุ่ง อำเภอบุ่ง เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภออำนาจเจริญ และต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดอำนาจเจริญ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ จังหวัดอุบลราชธานี

    ประวัติการเปลี่ยนแปลงลักษณะปกครองท้องที่ เมืองพิบูลมังสาหาร
    เดิมก่อนที่จะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๑) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น เมืองพิบูลมังสาหาร เป็นเมืองที่ขึ้นตรงกับ เมืองอุบลราชธานี และปกครองด้วยระบอบอาญาสี่ ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่แบ่งออกเป็น ๔ ชั้น ประกอบด้วย เจ้าเมือง, อุปฮาด (อุปราช), ราชวงศ์ และราชบุตร เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองมาเป็นแบบเทศาภิบาล (มณฑล) ทั่วประเทศ ยกเลิกการปกครองแบบเก่าที่ใช้ระบบอาญาสี่ เปลี่ยนการเรียกเมืองต่าง ๆ เสียใหม่ว่า อำเภอ ให้เจ้าเมืองเป็นนายอำเภอ ให้อุปฮาดเป็นปลัดอำเภอ ให้ราชวงศ์เป็นสมุห์อำเภอ ให้ราชบุตรเป็นเสมียนอำเภอ ดังนั้นเมืองพิบูลมังสาหาร จึงเปลี่ยนเป็นอำเภอพิบูลมังสาหาร เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร จึงเป็น นายอำเภอพิบูลมังสาหาร

    จากข้อมูลประวัติการเปลี่ยนแปลงลักษณะปกครองท้องที่ เมืองพิบูลมังสาหาร นับได้ว่า สามเณรประมัยได้ถือกำเนิดมาในครอบครัวที่หัวหน้าครอบครัวเป็นถึงข้าราชการระดับเจ้าเมือง บิดาของท่าน เนื่องจากเป็นข้าราชการระดับสูงสุดของอำเภอแล้วยังเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อีกด้วย ท่านจึงรู้จักพระภิกษุชาวอุบลที่ชาวเมืองพิบูลมังสาหารและชาวอุบลราชธานีเคารพนับถือ เช่น พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล แห่งบ้านข่าโคม พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู ฐิตปัญฺโญ) พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แห่งบ้านคำบง อำเภอโขงเจียม พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม แห่งบ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน เป็นต้น
    มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับขุนศิริสมานการกับ หลวงปู่เสาร์ ไว้ว่า ท่านขุนฯ กับนายคำกาฬ เป็นผู้อาราธนาพระอาจารย์เสาร์ให้มาตั้งสำนักปฏิบัติธรรมบนที่ดินที่มีผู้บริจาคให้เป็นที่เนินป่าภูดิน นอกเมืองพิบูลมังสาหาร ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านจึงได้ให้พระอาจารย์เสงี่ยม และพระอาจารย์ดี ฉนฺโน มาตั้งสำนักปฏิบัติธรรม ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็นวัดคือ วัดป่าภูเขาแก้ว หรือ วัดภูเขาแก้ว ในปัจจุบัน

    สามเณรประมัยมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๖ คน คือ
    ๑. นางอุดม
    ๒. นายชมพู
    ๓. นายประมวล
    ๔. สามเณรประมัย
    ๕. นางอุทัย
    ๖. เด็กชายไพบูลย์

    sn-pramai-14.jpg

    พระปัญญาพิศาลเถร
    (หนู ฐิตปัญฺโญ)

    เมื่อเยาว์วัยได้เข้าศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนประจำอำเภอ จนอายุ ๑๑ ปี ก็เรียนจบหลักสูตรชั้นประถมในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ แล้วเข้าศึกษาที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ตัวสะกดชื่อโรงเรียน "เบ็ญจะมะมหาราช" แห่งนี้แตกต่างจากโรงเรียนอื่นที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า "เบญจม" ทั้งหลาย เพราะถือเอาตามลายพระหัตถ์ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้ประทานนามไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ และเป็นโรงเรียนเดียวที่ต่อท้ายด้วย "มหาราช" ในประเทศไทย-ผู้เรียบเรียง ซึ่งเป็นโรงเรียนชายล้วนประจำมณฑลอุบลราชธานี คู่กับโรงเรียนนารีนุกูลที่เป็นโรงเรียนหญิงล้วน จนกระทั่งท่านอายุได้ ๑๓ ปี (พ.ศ. ๒๔๗๐) กำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยม ๒ อยู่นั้น ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ด.ช.ประมัยถึงกับลาออกจากโรงเรียนกลางคัน แล้วหันมาศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง เหตุดังกล่าวก็คือ

    sn-pramai-36.jpg

    โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี
    ในเวลานั้น ท่านพระอาจารย์มั่น ได้เดินทางมายังจังหวัดอุบลราชธานีบ้านเกิดของท่าน เพื่อนำแม่ชีมารดามาให้น้องสาวเป็นผู้ดูแลต่อไป หลังจากที่แม่ชีมารดาได้ออกติดตามท่านพระอาจารย์มั่นผู้เป็นลูกไป จนกระทั่งท่านพระอาจารย์มั่นเห็นว่าแม่ชีมารดาท่านอายุมากแล้ว ไม่สะดวกในการสมบุกสมบันเดินทางติดตามท่านอีกต่อไป จึงได้นำกลับมายังบ้านเกิดดังกล่าว ในการนี้พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโมและพระภิกษุสงฆ์จำนวนมากได้ติดตามพระอาจารย์มั่นมาด้วย ในปี ๒๔๗๐ นี้ ท่านได้จำพรรษาที่บ้านหนองขอน อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี


    ครั้นออกพรรษาในปี ๒๔๗๐ แล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้เดินธุดงค์เข้าไปถึงตัวจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้นำโยมแม่ออกท่านไปมอบให้น้องสาวท่านในเมืองอุบล ฯ ท่านและคณะศิษย์บางส่วนพักที่วัดบูรพา ส่วนพระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น และคณะศิษย์ส่วนที่เหลืออีกประมาณ ๔๐ องค์ได้ไปพักอยู่ที่สำนักสงฆ์ท่าวังหิน ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตก ๔ กิโลเมตรเศษ
    เมื่อข่าวพระอาจารย์มั่นกับคณะศิษย์ธุดงค์กลับบ้านเกิดแพร่ไปในหมู่ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ขุนศิริสมานการก็ย่อมได้ยินข่าวนั้นด้วย และด้วยความที่ท่านเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งผู้หนึ่ง ก็ย่อมต้องหาโอกาสพาครอบครัวไปกราบนมัสการเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต
    และนั่นน่าจะเป็นโอกาสให้ด.ช.ประมัยได้พบกับพระอาจารย์มั่นและคณะศิษย์เป็นครั้งแรกหรือไม่ ? และการพบกันนั้นจะมีครั้งต่อๆ ไปอีกหรือไม่ ? และด.ช.ประมัยจะได้มีโอกาสฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นหรือไม่ ? หรือท่านจะมีโอกาสฟังธรรมกับพระอาจารย์ผู้หนึ่งผู้ใดที่เป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นหรือไม่ ? ประวัติศาสตร์ไม่ได้บันทึกไว้ แต่ที่แน่ๆ ก็คือในปีนั้นด.ช.ประมัยได้ตัดสินใจเลิกเรียนกลางคัน หันมาปฏิบัติธรรมอย่างเต็มตัวและได้รักษาอุโบสถศีลเป็นอุบาสก

    sn-pramai-09.jpg
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

    ออกพรรษาปี ๒๔๗๐ แล้วพระอาจารย์มั่นก็ได้มอบการปกครองคณะสงฆ์ให้แก่พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม และประมาณเดือน ๓ หรือเดือน ๔ ช่วงปลายปี ๒๔๗๐ และต้นปี ๒๔๗๑ ท่านก็ได้ออกเดินทางต่อไปยังกรุงเทพฯ กับเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ และจำพรรษาปี ๒๔๗๑ ที่วัดสระปทุม ออกพรรษาแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นก็ได้ติดตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ไปจำพรรษายังจังหวัดเชียงใหม่

    ทางด้านหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระมหาปิ่น ผู้เป็นน้องชาย กับคณะพระภิกษุสามเณรรวมกันถึง ๘๐ รูป ที่ได้ติดตามพระอาจารย์มั่นมาจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้เดินทางเที่ยววิเวกไปในสถานที่ต่างๆ เที่ยวเทศนาอบรมศีลธรรมประชาชนโดยการขอร้องของเจ้าเมืองอุบลฯ ในการนี้สามเณรประมัย ซึ่งในขณะนั้นได้รักษาอุโบสถศีลเป็นอุบาสก ได้ติดตามท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปด้วย

    ตามประวัติของด.ช.ประมัยในช่วงนี้กล่าวเพียงว่า "เมื่อท่านอายุ ๑๕ ปี ก็ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ มาพำนักอยู่ที่วัดปทุมวนาราม" เท่านั้น โดยไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ท่านเดินทางเข้ากรุงเทพแต่อย่างใด

    เรื่องต่อไปนี้อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุบาสกประมัยออกจากคณะธุดงค์ของพระอาจารย์สิงห์ แล้วเดินทางเข้ากรุงเทพฯ
    กล่าวถึงคณะธุดงค์ของพระอาจารย์สิงห์ ที่ได้ตระเวนเผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่นั้น เมื่อจวนเข้าพรรษาก็ได้ไปพักจำพรรษาอยู่วัดบ้านหัวงัว อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นบ้านญาติท่านพระอาจารย์สิงห์ ในระหว่างที่พระอาจารย์สิงห์ อยู่ที่บ้านหัวงัว ท่านก็ได้ทราบข่าวจาก พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์ เขมิโย)* ชื่อและฉายาพ้องกับ พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดนครพนม เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูพิเศษสุตคุณ รองเจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นญาติของท่านด้วย ว่าทางขอนแก่นมีเหตุการณ์ไม่สู้ดี คนที่นั่นไม่ศรัทธาในพระธุดงค์กรรมฐาน แสดงอาการต่อต้าน บางครั้งถึงกับแสดงอาการจะทำร้าย พระธุดงคกรรมฐาน

    พระอาจารย์สิงห์จึงปรึกษากับหมู่ศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ด้วยกัน ก็ตกลงใจจะเดินทางไปขอนแก่นเพื่อช่วยท่านพระครูพิศาลอรัญญเขตแก้ไขสถานการณ์ และได้พิจารณาว่า การเดินทางไปขอนแก่นในครั้งนี้อาจจะไม่ปลอดภัยสำหรับอุบาสกประมัยซึ่งยังเด็กอยู่ ครั้นจะส่งกลับไปอยู่ที่บ้านจังหวัดอุบล อุบาสกประมัยก็ตั้งใจลาออกจากการเรียนหนังสือ หันมาเอาดีทางการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน แต่ในขณะนั้นก็ไม่มีพระผู้ใหญ่ในสายพระอาจารย์มั่นที่จะแนะนำวิธีปฏิบัติธรรมกรรมฐาน อยู่ในจังหวัดอุบลแล้ว ต่างพากันแยกย้ายธุดงค์ออกไปเผยแผ่ธรรมะและปฏิบัติธรรมตามที่ต่างๆ จึงดำริที่จะส่งอุบาสกประมัยไปยังสำนักวัดปทุมวนาราม กรุงเทพ ซึ่งมีพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู ฐิตปัญโญ) เป็นเจ้าอาวาสอยู่ โดยที่ท่านพระปัญญาพิศาลเถระผู้นี้ เป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ธุดงค์ร่วมกันมาอย่างโชกโชนในอดีต สามารถเป็นที่พึ่งทางด้านปฏิบัติแก่อุบาสกประมัยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งอุบาสกประมัยจะได้ศึกษาพระปริยัติธรรมและบาลีไวยากรณ์อีกด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2022
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)

    เหตุการณ์ไม่สู้ดีที่ขอนแก่น


    ตามที่พระครูพิศาลอรัญเขตว่าไว้ ดังที่ปรากฏในหนังสือ อัตโนประวัติหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ซึ่งในสมัยนั้นท่านได้ร่วมอยู่ในคณะด้วย ท่านได้เขียนไว้ว่า


    ข้าได้พักอยู่กับพระอาจารย์สิงห์ ฟังเสียงพวกโยมคนเมืองขอนแก่น ไม่เคยเห็นพระกรรมฐาน ตื่นเต้นกล่าวร้ายติเตียนกันไปสารพัดต่างๆ นานา........


    เขาจำต้องมีมือ ถือไม้ค้อนกันมาแทบทุกคน เมื่อมาถึงหมู่พวกข้าแล้ว ถือค้อนเดินไปมาเที่ยวดูพระเณรที่พากันพักอยู่ตามร่มไม้และร้านที่เอากิ่งไม้ แอ้ม และมุงนั้นไปๆ มาๆ แล้วก็ยืนเอาไม้ค้อนค้ำเอว ยืนดูกันอยู่ก็มีพอควร แล้วก็พากันกลับบ้าน เสียงร้องว่าเห็นแล้วละพวกบักเหลือง พวกอีหล้าคางเหลือง พวกมันมาแห่น (แทะ) หัวผีหล่อน (กะโหลก) อยู่ป่าช้าโคกเหล่างา มันเป็นพวกแม่แล้ง ไปอยู่ที่ไหนฝนฟ้าไม่ตกเลยจงให้มันพากันหนี ถ้าพวกบักเหลืองไม่หนีภายในสามสี่วันนี้ ต้องได้ถูกเหง้าไม้ไผ่ค้อนไม้สะแกไปฟาดหัวมันดังนี้ไปต่างๆ นานา จากนี้ไปก็มีเขียนหนังสือปักฉลากบอกให้หนี ถ้าไม่หนีก็จะเอาลูกทองแดงมายิงบูชาละ ดังนี้เป็นต้น.......”


    ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ พออายุ ๑๕ ปี อุบาสกประมัยได้เดินทางเข้ากรุงเทพ และได้มาพำนักอยู่ที่วัดปทุมวนาราม เพื่อมาศึกษาพระปริยัติธรรม และเมื่อมาพำนักอยู่วัดปทุมวนารามเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์และสอบไล่ได้ในปีถัดมาคือ พ.ศ. ๒๔๗๓


    sn-pramai-13.jpg


    พระยาพิพากษาสัตยาธิปตัย

    (โบ้ คอมันตร์)


    เป็นที่น่าสังเกตว่าท่านได้สมาทานศีล ๘ ประพฤติตนเป็นอุบาสกมาตั้งแต่ได้ติดตามท่านพระอาจารย์สิงห์ออกธุดงค์เมื่อครั้งนั้นแล้วจนกระทั่งเข้ากรุงเทพศึกษาบาลีไวยากรณ์ ก็ยังคงประพฤติตนเป็นอุบาสกโดยไม่ได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้มาบรรพชาเป็นสามเณรในสำนักวัดปทุมวนารามเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ขณะที่ท่านอายุ ๑๗ โดยท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า "สีลาภิรโต" ในการบรรพชานี้มีพระยาพิพากษาสัตยาธิปตัย (โป้ คอมันตร์ บิดานายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมัยจอมพลสฤษฏิ์ ธนรัชต์ ) และคุณหญิง ถนอม คอมันตร์ เป็นผู้อุปการะ และสอบนักธรรมตรีได้ในปีที่บวชนั้นเอง และถึงแม้ต่อมาท่านจะมีอายุครบบวชแล้วแต่ท่านก็ไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ


    ในช่วง ๑๐ ขวบ ท่านเริ่มป่วยมีโรคประจำตัว ซึ่งก็ได้รักษาแต่ก็มิได้หายขาด จนกระทั่งท่านอายุได้ ๑๖ ปีโรคจึงได้เงียบหายไป


    sn-pramai-30.jpg


    พระมหาทองสุก สุจิตฺโต


    ถ่ายปี ๒๔๗๖ อายุ ๒๕ ปี


    พระมหาโฮม โสภโณ


    ถ่ายปี ๒๔๗๕ อายุ ๒๗ ปี


    ในขณะที่อุบาสกประมัยได้เข้ามาอยู่ที่วัดปทุมวนารามนั้น ท่านก็ได้รู้จักกับพระมหาโฮม โสภโณ และ พระมหาทองสุก สุจิตโต โดยพระมหาโฮมซึ่งเกิดในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ แก่กว่า อุบาสกประมัย ๑๐ ปี ได้มาอยู่ที่วัดปทุมวนารามในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ส่วนพระมหาทองสุกนั้นท่านเกิดในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ แก่กว่าอุบาสกประมัย ๗ ปี อยู่วัดปทุมวนารามมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ สหธรรมิกอีกรูปหนึ่งของสามเณรประมัย คือ พระกระจ่าง กนฺตสีโล ซึ่งเคยออกธุดงค์ร่วมกับสามเณรประมัย แต่ไม่มีประวัติของท่านให้สืบค้น


    กุฏิของพระเณรที่วัดปทุมวนารามในสมัยนั้น จะเป็นตึกสองชั้นเสียส่วนใหญ่ มีความสะดวกสบายพอสมควร เพราะอยู่ในกำแพงวัดทั้งหมด แต่สามเณรประมัยไม่พักที่กุฏิในวัดร่วมกับพระเณรรูปอื่นๆ เพราะท่านเป็นผู้ที่ชอบความสงบ มุ่งมั่นในการภาวนามาก ท่านจึงไปพักที่กระต๊อบในป่าข้างหลังวัด ซึ่งมีชาวจีนคนหนึ่งมาปลูกไว้สำหรับใช้ในการปฏิบัติธรรม บริเวณที่ตั้งของกระต๊อบนั้น คือ บริเวณที่เป็นสวนป่าด้านหลังวัดปทุมวนารามในปัจจุบันนั่นเอง ภายหลังวัดปทุมวนารามปรับปรุงพื้นที่ภายในวัด จึงรื้อถอนกระต๊อบที่สามเณรประมัยเคยอยู่ และกุฏิเก่าที่หลวงปู่มั่นเคยพักออกไปทั้งหมด เหลือเพียงกุฏิเก่าข้างโบสถ์ที่เป็นตึกสองชั้นสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ เพียงหลังเดียวเท่านั้น...


    จากการสัมภาษณ์พระวินัยโสภณ (เล็ก ธัมมปาโล) แห่งวัดปทุมวนาราม เมื่อปี ๒๕๕๒ ขณะ “หลวงตาเล็ก” อายุ ๙๙ ปี ๗๘ พรรษา ท่านเป็นสามเณรรุ่นๆ เดียวกับสามเณรประมัย โดยหลวงตาเล็กอายุมากกว่าสามเณรประมัย ๔ ปี โดยมีพระอุปัชฌาย์รูปเดียวกันคือพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) “หลวงตาเล็ก” เล่าว่า


    หลวงตาเล็กบอกว่าสามเณรประมัยหัวดีเรียนเก่งมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สามเณรประมัยท่านหยุดเรียนเพียงแค่นั้น เพื่อหันมาทุ่มเทให้กับการปฎิบัติอย่างจริงจัง ซึ่งตรงนี้หลวงตาเล็กเล่าว่าสามเณรประมัยเคยมีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่นด้วย ในสมัยที่หลวงปู่มั่นมาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม สามเณรประมัยจึงมีโอกาสได้เรียนรู้แนวทางในการปฎิบัติกรรมฐานจากหลวงปู่มั่น ท่านจึงชอบออกธุดงค์กรรมฐานไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยได้อยู่ที่วัดนานๆ จึงจะกลับมาสักครั้ง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านสามเณรประมัย ไม่ค่อยได้คลุกคลีกับพระเณรรูปอื่นๆในวัดมากนัก จึงไม่ค่อยมีใครได้ทราบเรื่องราวของท่านเท่าไหร่ (จากคำสัมภาษณ์ของคุณนวพรหมพร คำฟู)


    ในเวลาที่อุบาสกประมัยเข้ากรุงเทพมาพักอยู่ที่วัดปทุมวนาราม ขณะนั้นเป็นช่วงที่หลวงปู่มั่นเข้า กทม.มาจำพรรษาพำนักอยู่ที่วัดปทุมวนารามเป็นครั้งคราว และสามเณรประมัยได้มีโอกาส “เข้าไปรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่นอยู่เสมอและได้เรียนกรรมฐานจากหลวงปู่มั่นด้วย จึงอาจจะเรียกได้ว่า สามเณรประมัยเป็นศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น”


    “หลวงตาเล็ก” เล่าว่า สามเณรประมัยมุ่งมั่นในการปฏิบัติมาก จึงไม่ค่อยได้พำนักอยู่ที่วัดปทุมวนารามนัก หากแต่นิยมออกธุดงค์ไปเรื่อยๆ บางครั้งก็มีหมู่คณะไปด้วย แต่บ่อยครั้งที่ท่านจะออกธุดงค์ไปเพียงลำพัง สหธรรมมิกที่ออกธุดงค์ไปกับสามเณรประมัย ก็มีพระอุดมธรรมคุณ (ทองสุก สุจิตโต) วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม และพระกระจ่าง กันตสีโล วัดปทุมวนาราม


    ในช่วงแรก สามเณรประมัยได้ออกธุดงค์กับ พระมหาโฮม โสภโณ และพระกระจ่าง กนฺตสีโลเท่านั้น เนื่องจาก พระมหาทองสุกนั้น ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺทเถร) ได้ขอให้ท่านไปเป็นครูสอนปริยัติธรรม ณ ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ออกพรรษาปี ๒๔๗๔ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่อพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๗๕ และพระอาจารย์มั่นได้ลาออกจากตำแหน่งสมภารวัดเจดีย์หลวง หลีกเร้นไปปฏิบัติธรรมตามลำพัง พระมหาทองสุกจึงกลับมาที่วัดปทุมวนาราม (เข้าใจว่าท่านได้อยู่จำพรรษาปี ๒๔๗๕ ที่วัดเจดีย์หลวงจนออกพรรษาเมื่อ วันที่ ๑๔ ตุลาคม เมื่อออกพรรษาแล้วก็ออกจากเชียงใหม่ มางานพระราชทานเพลิงศพท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ที่กรุงเทพ ในวันที่ ๓๐ ตุลาคม ปีเดียวกัน แล้วก็ไม่ได้กลับไปวัดเจดีย์หลวง-ผู้เรียบเรียง) เมื่อท่านกลับมาวัดปทุมวนารามแล้ว ทางวัดก็ขอร้องให้ท่านสอนบาลีต่อไปอีก แต่ท่านก็ไม่รับ เนื่องจากท่านมีความประสงค์แน่วแน่ที่จะเอาดีทางด้านปฏิบัติ คือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามที่ได้รับการแนะนำจากท่านพระอาจารย์มั่นมาแล้ว


    sn-pramai-33.jpg


    sn-pramai-32.jpg


    พ.ศ. ๒๔๗๕ พระมหาโฮม โสภโณ พระกระจ่าง กนฺตสีโล สามเณรประมัย สีลาภิรโต ออกธุดงค์


    ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๕ พระโฮม โสภโณ, พระกระจ่าง กนฺตสีโล และ สามเณรประมัย กาฬเนตร ได้ออกธุดงค์ โดยตระเตรียมบริขารในการออกธุดงค์ ๓ เดือน เช่น บาตร กลด มุ้งกลด กาน้ำ เครื่องกรองน้ำ ผ้านิสีทนะผ้ารองนั่ง และผ้า ๓ ผืน แล้วออกจากวัดปทุมวนารามไปลงเรือ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ท่าพระจันทร์ เดินไปเรื่อยๆ ค่ำตรงไหนปักกลดในที่นั่น และนั่งสมาธิภาวนาปฏิบัติธรรมหมู่บ้านละ ๓ คืนบ้าง ๔ คืนบ้าง เพื่อหาทางสงบจิตในสถานที่วิเวกตามถ้ำและภูเขา ได้เที่ยวจาริกไปเพื่อบำเพ็ญสมณะธรรม ที่ถ้ำแฝด อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดปทุมวนารามเข้าพรรษาวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕


    เมื่อกลับมายังวัดปทุมวนารามแล้ว สามเณรประมัยก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบไล่ได้นักธรรมโท และบาลีประโยค ๓ ในปีถัดมาคือปี พ.ศ. ๒๔๗๖ และปีนั้นนับเป็นปีประวัติศาสตร์ของวัดปทุมวนาราม ที่มีสามเณรสอบเปรียญธรรม ๓ ประโยคได้พร้อมกันถึง ๑๐ รูป


    ครั้นประสบผลสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมในระดับหนึ่งแล้ว สามเณรประมัยซึ่งมีนิสัยใคร่ในการปฏิบัติธรรม ได้เคยศึกษา สมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน กับท่านเจ้าคุณผู้เป็นอุปัชฌาย์ จนมีความรู้และเลื่อมใสในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ว่าจะไม่สอบพระปริยัติธรรมอีก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จะมุ่งหน้าต่อการปฏิบัติธรรมอย่างเดียว จึงเรียนความเห็นนั้น แด่ท่านเจ้าคุณผู้อุปัชฌาย์ ท่านก็อนุโมทนาด้วย


    “พ.ศ. ๒๔๗๖...... ปีนี้ มหาทองสุก (ยังไม่ได้สมณศักดิ์) จึงเดินทาง (ธุดงค์) ร่วมกับ พระราชมุนี (มหาโฮม โสภโณ โพธิศรีทอง ป.ธ. ๖ ยังไม่ได้สมณศักดิ์) และ สามเณรประมัย นี้ แตกฉานในทางปฏิบัติมาก สามเณรจะเป็นผู้คอยแนะนำทางจิตอยู่เสมอ และพวกเราก็เชื่อถือสามเณรมาก ได้พักจำพรรษาที่บ้านหนองคาง จ.ประจวบคีรีขันธ์ มหาทองสุกได้ปรารภความเพียรเริ่มกัมมัฏฐานอย่างจริงจัง เมื่อสงสัยอะไรก็ได้สามเณรประมัย เป็นที่ปรึกษา...” จาก หนังสือ “ทางสู่สันติ” หนังสืออนุสรณ์งานศพ พระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุก สุจิตโต) ศิษย์อีกรูปหนึ่งของพระอาจารย์มั่น ซึ่งเขียนโดย หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร


    sn-pramai-15.jpg


    วัดอรัญญิกาวาส (วัดหนองคาง)


    อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์


    เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๖ คณะธุดงค์อันประกอบด้วย สามเณรประมัย ซึ่งขณะนั้นอายุได้ ๑๘ ปีเต็ม พระมหาทองสุก อายุ ๒๕ ปี และ พระมหาโฮม อายุ ๒๘ ปี และทั้งสามรูปต่างก็เป็นเปรียญ ๓ ประโยค จึงได้เที่ยวจาริกไปทางใต้ ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี แล้วพักจำพรรษาเข้าพรรษาวันที่ ๘ ก.ค. ๒๔๗๖ ที่วัดร้าง ตำบลหนองคาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


    ระหว่างที่พักจำพรรษา ก็ตั้งหน้าปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดแข็งแรง ถึงกับตั้งสัตยาธิษฐานว่า จะไม่เอนหลังนอนเลย และได้สมาทานเนสัชชิกังคธุดงค์เนสัชชิกังคะ สมาทานถืออิริยาบถนั่ง-อิริยาบถยืน-อิริยาบถเดินเพียง 3 อิริยาบถไม่อยู่ในอิริยาบถนอน ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการหลับด้วย ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด (มักเรียกการประพฤตินี้ว่าเนสัชชิก)อย่างอุกฤษฏ์ เพื่อปฏิบัติธรรม ให้เต็มกำลังสามารถสมความตั้งใจจนตลอดพรรษาออกพรรษาวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ และต่อมา
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (cont.)
    เหตุการณ์ในช่วงนี้ ตามประวัติพระครูอุดมธรรมคุณ (มหาทองสุก สุจิตโต) ในหนังสือ "ทางสู่สันติ" อันเป็นหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานพระเพลิงศพ พระครูอุดมธรรมคุณ (มหาทองสุก สุจิตโต) ในส่วนประวัติพระอาจารย์มหาทองสุกนั้น หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร เป็นผู้เขียนได้บรรยายไว้ว่า


    “ดังนั้นปีนี้ท่าน ‘ท่าน’ ในที่นี้หมายถึง พระมหาทองสุก จึงได้เดินทางร่วมกับ พระราชมุนี (โฮม) และสามเณรประมัย (สามเณรประมัย) นี้แตกฉานในการปฏิบัติมาก สามเณรจะคอยเป็นผู้แนะนำทางจิตอยู่เสมอ และพวกเราก็เชื่อถือสามเณรมาก ได้พักจำพรรษาเข้าพรรษาวันที่ ๒๗ ก.ค. ๒๔๗๗) ที่บ้านหนองคาง ประจวบคีรีขันธ์ ท่านได้ปรารภความเพียรเริ่มบำเพ็ญกรรมฐานอย่างจริงจัง เมื่อสงสัยอะไรก็ได้สามเณรประมัยเป็นที่ปรึกษา


    ณ ปีนี้เองสามเณรประมัยปรารถนาความเพียรอย่างยิ่งใหญ่ สมาทานเนสัชชิกังคธุดงค์ เนสัชชิกังคะ สมาทานถืออิริยาบถนั่ง-อิริยาบถยืน-อิริยาบถเดินเพียง ๓ อิริยาบถไม่อยู่ในอิริยาบถนอน ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการหลับด้วย ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด (มักเรียกการประพฤตินี้ว่าเนสัชชิก)ไม่นอนตลอดพรรษา จนเชื่อมั่นว่าตนเองได้สำเร็จพระอนาคามี


    ขณะอยู่ที่นี้มีอีกามาก ยิ่งเลี้ยงยิ่งมากขึ้นจนเป็นที่รบกวน จิกกัดข้าวของเสียหาย ยิ่งกว่าสุนัข จนเป็นที่รำคาญ ภายหลังได้หาวิธีไล่จนมันหนีไปหมด


    วันหนึ่งท่านเล่าว่า ท่านกับสามเณรประมัยกำลังนั่งสนทนาธรรมกัน ได้มีงูจงอางขนาดใหญ่ประมาณเท่าต้นหมาก วิ่งพุ่งปรูดเข้ามาตรงพวกเราทั้งสอง ไม่ทราบว่าจะหนีอย่างไรจึงหยุดพูดแล้วเจริญเมตตาฌาน ทำจิตให้สงบ ขณะที่งูตัวนั้นมันกำลังจะเข้าถึงพวกเราอีกประมาณวาเศษ ๆ ก็ได้มีสุนัข ๕ ตัวกระโดดเข้ามาขวางทางงู ได้เกิดการต่อสู้กันระหว่างสุนัข ๕ งู ๑ งูสู้ไม่ไหวเลยหนีไป แต่ในวัดที่แท้จริงไม่มีสุนัขสักตัวเดียว


    เมื่อท่านได้อาศัยอยู่ในวัดนี้ก็ได้ปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ มีการสร้างศาลาขึ้นมาหนึ่งหลังกว้าง ๔ วา ยาว ๖ วา พอได้อาศัยสวดมนต์ภาวนากัน น้ำก็หายากจึงได้ขุดบ่อขึ้น ๑ บ่อ ได้น้ำจืดสนิทดี นับว่าเป็นความสำเร็จที่สำคัญ เพราะบ่อนั้นทางวัดได้ใช้มาจนบัดนี้ ทั้งชาวบ้านด้วย การก่อสร้างเหล่านี้สำเร็จได้เพราะสามเณรประมัยได้เขียนหนังสือปฏิบัติกรรมฐานขึ้นเล่มหนึ่งน่าจะเป็นหนังสือ ‘ศาสนวิถี’ – ผู้เรียบเรียง) และได้รับความสนใจจากประชาชนมาก ช่วยกันบริจาคจนพอ


    มีเหตุการณ์ที่น่าหวาดเสียวเกิดขึ้น ในคราวหนึ่ง คือขณะที่ท่านพาชาวบ้านไปตัดต้นสำโรงจะเอามาทำการก่อสร้าง มีคนมาช่วยกัน ๑๐ กว่าคน ในระหว่างที่พักรับประทานอาหารอยู่นั้น นายนาคเป็นสอนเขาฟันขวาน ๆ หลุดกระดอนกลับมาตรงคอพอดี แต่หลบทันมิฉะนั้นตายแน่ นายนาคคนนี้เป็นนักเลงเก่า ได้มาฟังธรรมของท่านก็เลิกเป็นนักเลง เข้ามาปฏิบัติธรรมเป็นคนดี”


    และในช่วงที่ธุดงค์อยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นี้เอง ก็ได้มีเหตุการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ในการออกธุดงค์ของท่าน เรื่องนี้ท่านพระมหาโฮมเล่าว่า


    ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ นี่เองที่วันหนึ่งท่านไปพบเชิงเขา ซึ่งมีถ้ำใหญ่และอากาศก็เย็นสบาย เหมาะแก่การพักแรมอยู่แห่งหนึ่ง พอปลงบริขารพักแรม นั่งสมาธิอยู่ที่ปากถ้ำ จิตดำเนินสู่สมาธิไปจนดึกจึงถอนออกมา พลันรู้สึกว่ามีใครมานั่งอยู่ข้างๆ พอหันกลับมาดูแล้วถึงกับตัวชาไปทั้งร่างราวถูกคนเอาน้ำเย็นราดตั้งแต่ศีรษะยันปลายเท้า เพราะเห็นเสือตัวใหญ่นั่งอยู่ห่างออกไปแค่สองศอก ท่านว่า เห็นดังนั้นแล้วได้แต่รีบกำหนดสติ กลับมาภาวนาพุทโธ แผ่เมตตา จนฟ้าสางถึงถอนออกจากสมาธิ


    นอกจากนั้นยังได้ช่วยแนะนำสั่งสอนชาวบ้าน ให้มีความรู้ในธรรมปฏิบัติตามควร เมื่อได้มาพบวัดร้าง ที่บ้านหนองคาง อ.สามร้อยยอด ก็คิดจะฟื้นฟูวัดร้างนั้นขึ้นมาใหม่โดยในตอนแรกจะให้มีลักษณะเป็นวัดป่าแบบป่าช้า แต่ด้วยเหตุผลใดไม่ปรากฏ แนวความคิดนั้นก็ไม่สำเร็จ แต่ก็ได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดร้างนั้นให้เป็นสำนักสงฆ์ขึ้น (ปัจจุบันคือ วัดอรัญญิกาวาส (หนองคาง) ต.ศิลาลอย อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์)


    ในเรื่องนี้ท่านพุทธทาสได้ให้สัมภาษณ์พระประชา ปสันฺธมฺโม ตามที่ปรากฏในหนังสือ “เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา” ไว้ตอนหนึ่งว่า “สามเณรประมัย..... เป็นเณรโต อายุมากแล้ว เขาธุดงค์มากับมหาโฮม รู้เรื่องสวนโมกข์จากหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา เขาธุดงค์กันมา ตอนแรกคิดจะสร้างวัดป่าแบบป่าช้าที่ประจวบฯ แต่ไม่สำเร็จ จึงเลยมาที่นี่” และได้จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลประจำตำบลหนองคางจนสำเร็จ


    sn-pramai-31.jpg


    พุทธทาสภิกขุ


    สวนโมกขพลาราม


    สระตระพังจิก ในสวนโมกข์ (เก่า) พุมเรียง สุราษฎร์ธานี


    ถ่ายไว้เมื่อก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๙


    ออกพรรษา (ออกพรรษาวันที่ ๒๓ ต.ค. ๒๔๗๗แล้ว ได้จาริกไปสวนโมกขพลาราม (ซึ่งในขณะนั้นอยู่ที่ ต.พุนพิน อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี) ตามเรื่องราวที่ท่านได้อ่านจากหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา ที่ได้ตีพิมพ์เป็นเล่มแรกในเดือน กรกฎาคม ปีนั้นเอง เพื่อดูกิจการเกี่ยวด้วยการปฏิบัติธรรม ซึ่งแนวความคิดของท่านพุทธทาสในการสร้างสถานปฏิบัติธรรมแบบสวนโมกขพลารามเป็นของใหม่ในหมู่พุทธศาสนิกชนในสมัยนั้น


    ตามข้อมูลที่ท่านพุทธทาสได้ให้สัมภาษณ์กับพระปสันนธมฺโมภิกขุ ตามที่ปรากฏในหนังสือ “เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา” ได้กล่าวถึงแต่เพียง พระมหาโฮม โสภโณ และสามเณรประมัยเท่านั้น ไมได้กล่าวถึง พระมหาทองสุก สุจิตโต ซึ่งในตอนเริ่มออกธุดงค์ได้ระบุว่า ท่านได้ร่วมคณะมาด้วย


    เข้าใจว่า พระมหาทองสุกประสงค์ที่จะออกตามหาท่านพระอาจารย์มั่น ที่หลีกเร้นหมู่คณะ ออกปลีกวิเวกแต่เพียงลำพัง อยู่ในป่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ ท่านจึงขอแยกตัวออกไปและออกเดินธุดงค์ไปทางเขาเต่า ไปทางจังหวัดสุพรรณบุรี มุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ และน่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่สามเณรประมัยได้พบกับพระมหาทองสุก สุจิตโต


    ทางด้านพระมหาโฮม และสามเณรประมัยก็ได้เดินธุดงค์ไปยัง ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เดิมสวนโมกขพลาราม อยู่ที่ตำบลพุมเรียง อ.ไชยา ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่ ตำบลเสม็ด อ.ไชยา ในปัจจุบัน เพื่อศึกษาแนวความคิดในการสร้างวัดป่าแบบกรรมฐานของ สวนโมกขพลาราม อันมีท่านพุทธทาสเป็นประธานอยู่ ณ ที่นั้น


    เมื่อไปถึงสวนโมกข์ ด้วยความที่ท่านทั้งสองมีคุณสมบัติตรงตามกฎเกณฑ์ในการรับผู้ที่จะมาอยู่ที่สวนโมกข์ที่กำหนดไว้ว่าจะรับเฉพาะผู้ที่เป็นเปรียญหรือนักธรรมเอกเท่านั้น ท่านทั้งสองจึงได้พักอยู่ที่สวนโมกข์เป็นเวลานานพอสมควร โดยพระมหาโฮมพักอยู่ประมาณ ๒ เดือน ท่านก็ขอลากลับวัดปทุมวนาราม ที่กรุงเทพฯ เพื่อไปเตรียมสอบบาลีประโยค ๔ ที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปี ๒๔๗๗ และท่านก็สอบได้เป็นเปรียญ ๔ ประโยคในปีนั้นตามต้องการ ส่วนท่านสามเณรประมัยพอใจที่จะอยู่ที่สวนโมกข์ต่อ เนื่องเพราะท่านได้ตั้งใจไว้แล้วว่าจะมุ่งเอาดีทางด้านปฏิบัติเพียงอย่างเดียวโดยหยุดทางด้านปริยัติไว้เพียงประโยค ๓


    กุฏิที่พักของพระมหาโฮมและสามเณรประมัยได้สร้างขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่ดัดเป็นโครงรูปโค้งแบบประทุนเรือแล้วมุงด้วยจาก อยู่ๆ ไปก็เกิดมอดมากินไม้ไผ่ ฝุ่นผงที่เกิดจากขี้มอดก็ฟุ้งกระจาย (และอาจด้วยความที่ท่านมีโรคประจำตัวอยู่แล้วแต่โรคได้ระงับไปหลายปีมาแล้ว เมื่อเจอกับฝุ่นขี้มอดไม้ไผ่ ก็เลยทำให้โรคกำเริบขึ้นจนไอเป็นเลือดและก็พลอยทำให้มหาโฮมก็เกิดไอเป็นเลือดไปด้วยเช่นกัน) และเลยทำให้คิดไปว่า ท่านพุทธทาสใช้วิชาอาคมใส่ท่านทั้งสอง ซึ่งเรื่องนี้ท่านพุทธทาสได้เล่าว่า


    “เขาพักกันอยู่ที่กุฏิทำแบบประทุนเรือ ทำด้วยไม้ไผ่ เขาไอเป็นเลือดออกมา ทั้ง ๒ คน แล้วเขาก็คิดว่าผมนี่แหละใช้วิชาอาคม จะทำให้เขาตาย เขาคิดกันถึงขนาดนั้น (หัวเราะ) ต่อมาเขารู้ว่าเพราะโดนละอองขี้มอดไม้ไผ่ เขาก็มาขอโทษ ผมไม่รู้เรื่อง เขามาบอกว่าเขาเคยคิดรุนแรงอย่างนั้น ว่าผมเล่นวิชาคาถาอาคมทำให้เขาต้องเลือดออก”


    สำหรับสามเณรประมัยในช่วงที่อยู่ที่สวนโมกข์นอกเหนือไปจากปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นปกติแล้ว ก็ยังช่วยเหลือกิจการของสวนโมกข์เท่าที่จะทำได้ อย่างหนึ่งที่ท่านได้ปฏิบัติก็คือการขึ้นเทศน์เผยแผ่ธรรมะแก่ชาวบ้านในแถบนั้น เพราะเป็นธรรมเนียมของสวนโมกข์ในขณะนั้น ที่ทุกวันพระก็ไม่ได้มีกิจกรรมทำบุญอะไรกันที่วัด เพราะไปจัดที่บ้านโยมซึ่งเปิดเป็นห้องธรรมทานอยู่แล้ว มีเทศน์กันทุกวันพระตอน ๑ ทุ่ม ก็มีชาวบ้านมาฟังราว ๒๐-๓๐ คนเท่านั้น เพราะสถานที่มันจุได้ไม่มากกว่านั้นเท่าไร พระที่เทศน์โดยมากก็เป็นพระในวัดสวนโมกข์นั่นเอง เคยมีพระอื่นมาเทศน์บ้างสักครั้ง ๒ ครั้ง


    เรื่องพระจากที่อื่นมาเทศน์นั้น ท่านพุทธทาสเล่าถึงสามเณรประมัยไว้ว่า


    “อีกคนที่ชาวบ้านชอบคือสามเณรประมัย เทศน์หลายหน ชาวบ้านชอบมากกว่าผมอีก เขาพูดจาโผงผางดูชัดเจนดี เรื่องๆ เดียวกันแต่เขาพูดน่าฟังกว่า....... เณรประมัยเคยแต่งหนังสือเรื่องพุทธานุวัตร ที่ถูกคือ ธัมมานุวัตต์-ผู้เรียบเรียง ตอนหลังกลับไปเป็นวัณโรคหรืออะไรตายเสีย”


    ท่านพุทธทาสได้พูดถึงมหาโฮม สหธรรมิกร่วมคณะของสามเณรประมัย ไว้ว่า


    “มหาโฮมเขาทำสมาธิ สนใจเรื่องผี คุยกันว่า ที่บ้านแกหมายถึงแถบจังหวัดบ้านเกิดของท่าน คือ จังหวัดอุบลราชธานี-ผู้เรียบเรียง เต็มไปด้วยผี ประชาชนนับถือผีไม่รู้กี่ชนิดต่อกี่ชนิด ยุ่งยากไปหมด เกี่ยวกับเรื่องผี มาชวนผมไปปราบผี ต่อมากลับไปอยู่วัดสระปทุม ได้เป็นเจ้าคุณอะไร…..”


    sn-pramai-34.jpg


    sn-pramai-35.jpg


    จากข้อความในประวัติสามเณรประมัยที่ตีพิมพ์ในหนังสือที่ระลึกงานฌาปนกิจศพ ได้เขียนถึงเหตุการณ์หลังจากที่สามเณรประมัยออกจากสวนโมกข์แล้ว ไว้สั้นๆ ดังนี้


    “กลับจากนั้นแล้ว เลยจาริกไปทางเหนือจนถึงเชียงใหม่”


    จากข้อความนี้แสดงว่าท่านมิได้กลับเข้ากรุงเทพฯ แต่ได้ธุดงค์องค์เดียวโดดๆ ไปจนถึงเชียงใหม่ เหตุการณ์ในช่วงนี้ไม่มีรายละเอียดการเดินทางและการพบปะผู้คนในระหว่างทาง ท่านได้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๘ จึงได้ธุดงค์ออกไปทางจังหวัดอุตรดิตถ์ จำพรรษา๑๖ ก.ค. – ๑๒ ต.ค. ๒๔๗๘ ที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระแท่นศิลาอาสน์นี้มีความสัมพันธ์กับวัดปทุมวนารามในระดับหนึ่ง เนื่องด้วยท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (สิงห์) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม รูปที่ ๓ เมื่อก่อนที่ท่านจะมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามนั้น ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์มาก่อน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ช่วยสมภารวัดพระแท่นฯ จัดการปฏิสังขรณ์เสนาสนะ และเรียบเรียงหนังสือ "ธัมมานุวัตต์" เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ต่อมาได้เรียบเรียง หนังสือ "ศาสนวิถี" อีก (ระหว่างอาพาธลงแล้ว)


    sn-pramai-20.jpg
    sn-pramai-18.jpg

    sn-pramai-16.jpg sn-pramai-17.jpg
    วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์ ในอดีต
    วัดวิเวการาม ต.บางพระ ชลบุรี

    วัดเขาถ้ำกุญชร ต.ห้วยไผ่ ราชบุรี เขาช้าง อ.ปากท่อ ราชบุรี
    "หนังสือธัมมานุวัตต์" ที่สามเณรประมัยเรียบเรียงขึ้นนี้ได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ซึ่งเป็นปีที่ท่านสามเณรเรียบเรียงหนังสือนี้เสร็จนั้นเอง และการพิมพ์ครั้งต่อมาในปี ๒๔๘๐ ก็เป็นการพิมพ์เป็นที่ระลึกงานฌาปณกิจศพสามเณรประมัยเอง โดยขุนศิริสมานการ โยมบิดาของสามเณรเป็นคนดำเนินการ รวมทั้งได้มีการลงประวัติของสามเณรไว้ด้วย


    sn-pramai-21a.jpg


    วัดปทุมวนารามในอดีต


    ในระหว่างที่อยู่ช่วยเหลือกิจการที่วัดพระแท่นฯ นั้น โรคเดิมซึ่งเคยเป็นมาแต่อายุ ๑๐-๑๖ ปี ได้กำเริบขึ้น เนื่องด้วยตรากตรำงานมากเกินไป เริ่มอาพาธกระเสาะกระแสะมาแต่เดือนธันวาคม แต่ก็จำต้องช่วยเหลืองานเทศกาลกลางเดือน ๓ เป็นงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ประจำปี ซึ่งกระทำเป็นประเพณีมานานตั้งแต่อดีต - webmaster ปีนั้นจนสำเร็จ และก็ได้รักษาตัวเรื่อยมา


    จนวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ไปรักษาตัวที่เชียงใหม่ ได้เพียง ๒๙ วัน อาการของโรคก็ไม่ทุเลาลง จึงต้องกลับมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน และจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นวัณโรค ถึงกระนั้นก็ดี ก็ยังพยายามปฏิบัติธรรมอยู่มิได้ท้อถอย


    sn-pramai-37.jpg


    รูปหล่อสามเณรประมัย กาฬเนตร

    วัดวิเวการาม ชลบุรี


    เมื่ออาการของโรคค่อยทุเลาขึ้นและออกพรรษาแล้ว วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๙ ก็ได้ธุดงค์ไปทางจังหวัดชลบุรี พักที่วัดร้าง ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา มีผู้เลื่อมใส จนบัดนี้ได้จัดตั้งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมขึ้น ซึ่งปัจจุบันคือ วัดวิเวการาม ต่อมาท่านเจ้าอาวาสวัดนี้เองได้รวบรวมประวัติและหนังสือธัมมานุวัตต์ รวมทั้งหล่อรูปเหมือนท่านขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์แก่คนรุ่นหลัง


    วันที่ ๑๘ ธันวาคม กลับไปพักอยู่ที่เขาถ้ำ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งต่อมาคือ วัดถ้ำกุญชร อ.เมือง จ.ราชบุรี เร่งบำเพ็ญ‌สมณธรรม ขณะที่โรคร้ายก็ลุกลามขึ้นเรื่อยอาการของโรคก็คือ ท่านมักเป็นไข้เสมอ มิใคร่ปกติได้ แม้เช่นนั้นก็ไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวต่อพยาธิเลย อุตส่าห์รีบเร่งบำเพ็ญสมณธรรมจนเต็มความสามารถ เพื่อหวังความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง และพยายามรักษาพยาบาลเต็มกำลัง อาการคงทรงอยู่อย่างนั้น บางครั้งก็หนักลง


    จนถึงวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้ย้ายจากเขาถ้ำไปรักษาตัวทางเขาช้าง อำเภอปากท่อ เมื่อเห็นอาการไม่ทุเลาขึ้น จึงกลับมารักษาตัวที่วัดปทุมวนารามเมื่อต้นเดือนมิถุนายน และเลยจำพรรษาที่วัดนั้น


    sn-pramai-19.jpg


    เจ้าจอมมารดาทับทิม


    ในการรักษาตัวครั้งนี้ ได้รับอุปการะจากท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปัญฺโญ) และเจ้าจอมมารดาทับทิม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๕ สกุลเดิม โรจนดิศ เป็นพระมารดาของ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (กรมหลวงนครชัยศรีสุรเดช) เป็นอย่างดี ตลอดจนพระภิกษุสามเณรและทายกทายิกาที่คุ้นเคย ก็ได้พร้อมใจกันช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ แต่อาการของโรคมีแต่ทรงกับทรุดเรื่อยมา หมดความสามารถของแพทย์ที่จะเยียวยาได้ ได้ถึงแก่มรณภาพเสีย เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑ นาฬิกา ๔๐ นาที คำนวณอายุได้ ๒๒ ปี กับ ๖ เดือน


    การที่สามเณรประมัยได้ด่วนมรณะไปเสียในปฐมวัยเช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุนำมา ซึ่งความเศร้าสลดแก่บรรดาญาติมิตรสหายเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็เป็นธรรมดาของสังขารอย่างนั้นเอง สุดวิสัยที่ผู้ใดจะฝืนให้เป็นไปได้ตามประสงค์ หากแต่ว่า ถ้าผู้มรณะนี้ยังมีชีวิตอยู่ ก็คงจะสามารถทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาได้ผู้หนึ่ง


    อวสานต์


    bar-red-lotus-small.jpg
    :- http://www.dharma-gateway.com/monk/...mai-kalanet/sn-pramai-kalanet-hist-01-new.htm
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    แค่ศีลข้อเดียว

    หลวงตา
    May 28, 2022
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    เทวดาถูกสาปมาสถิตย์ในต้นพิกุล เมื่อครบ 100 ปี จะเกิดอะไร...โดยหลวงพ่อจรัญ ชุดกรรมกำหนด Ep.12/13

    Siammelodies
    May 22, 2022
    เล่าเรื่องจริงชุด... กรรมกำหนด โดยหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน EP.12/13 อานิสงส์บรรพชาช่วยเตี่ยขึ้นจากนรก เสียงอ่านโดย อ.วิษณุกร
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    อดีตกรรมพระธุดงค์

    thamnu onprasert
    61,138 views May 30, 2022
    "อะกะตัง ทุกกะตัง เสยโย ขึ้นชื่อว่าความชั่ว อย่าทำเสียเลยดีกว่า"

    ๑.หลวงตาเจียง อดีตนายฮ้อยขายควาย บวชเป็นพระแล้ว ถูกวิบากกรรมตามมาเผาผลาญจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
    ๒.พระภิกษุหนุ่มคำผอง อดีตเด็กเลี้ยงควาย ชดใช้กรรมที่เคยทรมานกบใหญ่ตัวหนึ่ง โดยตนเองต้องขาเน่าอยู่หลายสิบปี จึงสามารถแก้กรรมนั้นได้.

     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ

    หลวงตา
    21,248 views May 29, 2022
    พระไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง ติสฺสโร) วัดท่ากระบือ (วัดท่าควาย) จ.สมุทรสาคร
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ประวัติหลวงปู่รุ่ง ติสฺสโร
    002.jpg
    ประวัติหลวงปู่รุ่ง

    พระไพโรจน์วุฒาจารย์ (หลวงปู่รุ่ง ติสฺสรมหาเถระ)
    ชาติภูมิ

    พระไพโรจน์วุฒาจารย์ ฉายา ติสฺสโร นามเดิม รุ่ง นามสกุล พ่วงประพันธ์ เกิดที่ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เกิดวันเสาร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีระกา ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๖ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๑๖ โยมบิดาชื่อ นาย พ่วง พ่วงประพันธ์ โยมมารดาชื่อ นางกิม พ่วงประพันธ์
    บรรพชาอุปสมบท

    บรรพชาอุปสมบทเมื่อวันเสาร์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๓๗ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย มีเจ้าอธิการทับ วัดน้อยนพคุณ แขวงสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการบัว วัดใหม่ทองเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ อุปสมบทได้ ๒ วัน ก็ย้ายมาอยู่วัดท่ากระบือ ขณะนั้นมีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ ตั้งขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๓๐
    งานปกครอง

    • พ.ศ. ๒๔๔๒ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เรียกว่า พระอธิการรุ่ง ติสฺสโร
    • พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เรียกว่า เจ้าอธิการรุ่ง ติสฺสโร
    • พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูประทวน เรียกว่า พระครูรุ่ง ติสฺสโร
    • พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอกระทุ่มแบน เมื่อ ๘ เมษายน ๒๔๘๓
    • พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ พระครูไพโรจน์มันตาคม เมื่อ ๑ มีนาคม ๒๔๘๙
    • พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๔
    • พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระราชาคณะที่ พระไพโรจน์วุฒาจารย์ เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๙
    • งานการศึกษา
    • ส่งเสริมพระภิกษุ สามเณรให้ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย
    • ส่งเสริมศิษย์วัดให้เรียนหนังสือได้อ่านออก เขียนได้
    • จัดส่งพระภิกษุ สามเณรและคฤหัสถ์ได้เข้าสอบนักธรรมและธรรมศึกษาในสนามหลวง
    • จัดส่งพระภิกษุไปศึกษาเล่าเรียนภาษาบาลี
    • จัดส่งพระภิกษุไปศึกษาสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    งานการเผยแพร่
    หลวงปู่รุ่งท่านได้แสดงพระธรรมเทศนาอบรมสั่งสอนพุทธบริษัทให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

    จัดส่งพระภิกษุไปแสดงธรรมใหเผู้ถือศีลปฏิบัติธรรมในวันธรรมสวนะ

    ส่งเสริมการศึกษาปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิภาวนา

    งานสาธารณูปการ

    • การสงเคราะห์ประชาชน เช่น ประกอบยาแผนโบราณแก่ผู้เจ็บป่วย
    • งานนวกรรม การก่อสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุร่วมกับพระและประชาชน
    ดังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน

    ๑.กุฏิสงฆ์ ๓๑ หลัง

    ๒.ศาลาการเปรียญ พ.ศ. ๒๔๖๒

    ๓.ศาลาสามมุข พ.ศ. ๒๔๖๔

    ๔.หอสวดมนต์ พ.ศ.๒๔๖๘

    ๕.อุโบสถ พ.ศ. ๒๔๘๕

    ๖. วิหารใหญ่ ๒ หลัง พ.ศ.๒๔๙๓

    ๗.หอไตรปิฎกสามมุข พ.ศ.๒๔๗๙

    ๘.โรงเรียนประชาบาล พ.ศ. ๒๔๘๒

    ๙.พระประธานปางสมาธิ ในอุโบสถ พ.ศ.๒๔๘๗

    ๑๐.พระปางปฐมเทศนา ในวิหาร พ.ศ.๒๔๙๓

    มรณภาพ

    พระไพโรจน์วุฒาจารย์ (หลวงปู่รุ่ง ติสฺสรมหาเถระ) มรณภาพเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๗ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๐ สิริรวมอายุได้ ๘๔ ปี โดยมีพรรษา ๖๔ พรรษา

    อนุสรณ์ รูปหล่อเหมือน และวิหารหลวงปู่รุ่ง

    พระคุณท่านกอร์ปด้วยพระเมตตากรุณา เป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทั่วไป ซึ่งมีความอาลัยในการสูญเสียพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ร่วมกันจัดสร้างรูปหล่อเหมือนและวิหารหลวงปูรุ่งขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ เมื่อวันที่ ๗ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑ เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ ลูกหลาน บุคคลทั่วไปได้ทำการสักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล


    รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นาม โคตฺตํ น ชีรติ

    “ร่างกายสลายไป คงไว้แต่เกียรติคุณ”
    :- https://tamai55.wordpress.com/รายนามเจ้าอาวาสวัดท่าไ/ประวัติหลวงปู่รุ่ง/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2022
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ผู้มีชีวิตในท้องปลา

    หลวงตา
    18,488 views May 30, 2022
    ท่านพากุละ ผู้มีชีวิตในท้องปลา

     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    หลวงปู่มหาทองสุก ธุดงค์ในป่าใหญ่ | EP.74เรื่องเล่าพระธุดงค์ | หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตโต

    100 เรื่องเล่า
    13,215 views Jun 2, 2022
    หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตโต แห่งวัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ท่านเป็นพระป่า พระธุดงค์กรรมฐาน ลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เรื่องราวในการเดินธุดงค์ของท่านนั้น มีหลายเรื่องน่าสนใจมาก ท่านต้องผจญกับสถานการณ์ต่างๆมากมาย หลายอย่าง แทบจะเอาชีวิตไม่รอด

    เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญรับฟังได้เลยครับ ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต

    วัดป่าสุทธาวาส
    อ.เมือง จ.สกลนคร

    -สุจิตฺโต.jpg
    พระมหาทองสุก สุจิตฺโต วัดป่าสุทธาวาส
    พระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตโต) แห่งวัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร ท่านเป็นพระมหาที่มีปฏิปทาของนักต่อสู้ในทางธรรมอย่างผู้อาจหาญ

    ท่านได้ต่อสู้ผจญภัยในท่ามกลางถิ่นทุรกันดาร เพื่อติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งการติดตามนั้นรู้ได้ว่าหลวงปู่มั่น คือ ธรรมทายาทที่แก่กล้าสามารถยิ่งองค์หนึ่ง
    และการแสวงหาโพธิ์ทองแห่งชีวิตในครั้งนั้น ท่านแทบเอาชีวิตไม่รอด เกือบต้องตายจากโรคภัยไข้เจ็บเสียก็หลายครั้ง ความตั้งใจจริงของท่านนั้น มีชีวิตเป็นเดิมพัน

    ท่านพระมหาทองสุก สุจิตโต เคยพูดอยู่ทุกครั้งว่า..

    “ผู้บวชเป็นพระครองผ้าเหลือง ได้ชื่อว่าสมณศากยบุตร ต้องรักษาพระวินัยยิ่งกว่าชีวิต พระภิกษุนั้นจะต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จึงจะเป็นพระที่ดี ถ้าล่วงพระวินัยแล้วเป็นพระเลว”

    พระภิกษุสงฆ์ที่ยอมเสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่ร่างกายก็ต้องเสียสละเพื่อพระ ธรรมวินัยนี้เป็นปฏิปทาของท่านพระมหาทองสุก สุจิตโต พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบองค์นั้น

    สัทธานุสารี..ได้แก่ท่านที่ บรรลุธรรม เพราะมีศรัทธาอันแรงกล้า คงจะไม่เกินท่าน

    พระมหาทองสุก สุจิตโต นามเดิมท่านชื่อ ทองสุก มหาหิง ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๑ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ํา เดือน ๖ ปีวอก ณ บ้านตําบลห้วยป่าหวาย อําเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี (ปัจจุบัน เป็นอําเภอพระพุทธบาท)

    บิดาชื่อ นายเกลี้ยง มหาหิง มารดาชื่อ นางบุญมี มหาหิง อาชีพ ทํานา-สวน

    อายุ ๑๖ ปี บิดามารดาได้นํามาถวายวัด เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร ท่านได้รับความเมตตาจากพระผู้กระเดื่องนามแห่งยุค

    คือ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖

    -จันทร์-สิริจันโท.jpg
    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท ป.ธ.๔)
    เมื่อบวชแล้วท่านได้มาอยู่จําพรรษา ณ ดินแดนนักปราชญ์ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

    ขณะเป็นสามเณรท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่เคยลืมอดีตว่าการบวชเข้ามานี้เพื่อ ประสงค์อะไร ?…
    ต่อมาอายุครบบวช ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ ๒๔๗๐ โดยมี ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นพระ อุปัชฌาย์ พระปลัดบุญมี อินทเชฏฐโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    -หนู-ฐิตปุญฺโญ.jpg
    พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปุญฺโญ)
    เมื่อบวชเป็นพระภิกษุทองสุก สุจิตโต แล้ว ท่านได้เล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป จนสอบธรรมเปรียญ ๓ ประโยคได้
    ท่านพระอาจารย์มหาทองสุก ได้รับหน้าที่สนองคุณครูบาอาจารย์ดังนี้
    ๑. เป็นครูสอนธรรมที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ เป็นเจ้าอาวาสวัดทรายงาม จันทบุรี (หลวงปู่กงมาได้สร้างไว้)
    ๒. เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าบ้าน ห้วยหีบ จ.สกลนคร
    ๓. เป็นเจ้าอาวาส วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร

    ณ วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ท่านพระอาจารย์มหาทองสุก สุจิตโต ได้มีโอกาสเข้า นมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เพราะหลวงปู่มั่นท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดเจดีย์หลวง มีสมณศักดิ์ พระครูวินัยธร

    นับได้ว่าบุญกุศลที่ท่านเคย ประพฤติปฏิบัติธรรมมาแต่อดีตชาติก็เป็นได้ บัดนี้ท่านได้พบพระบุพพาจารย์ฝ่ายสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งสามารถอบรมสั่งสอนท่านให้พ้นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้อย่างสิ้นเชิง

    ท่านพระอาจารย์มหาทองสุก ขณะที่ท่านอยู่วัดเจดีย์หลวงนี้ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูอุดมธรรมคุณ และได้เลื่อนเป็นพระครูชั้นเอกอีกด้วย แต่พระกรรมฐาน ศีล สมาธิ ปัญญาธรรม ได้ฝังลึกลงรากสู่กั้นบึงจิตใจเสียแล้ว ท่านมองดูการเดินธุดงค์จากไปของหลวงปู่มั่น อย่างแสนเสียดาย เพราะจะตามไปในขณะนั้นไม่ได้

    ท่านคิดแล้วว่า..“เอาละ ไปเหมือนกัน กับตําแหน่งหน้าที่ จะเสียดายอะไรกัน ไม่ใช่ทางหลุดพ้นเลย”

    ท่านพระอาจารย์มหาทองสุก จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ลาออกจากตําแหน่งตามขั้นตอน แล้วท่านก็แบกกลดสะพายบาตร ออกมุ่งหน้าติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    ชีวิตที่สละแล้ว ไม่มีตัวตนอีกแล้ว นอกจากความตั้งใจประ พฤติปฏิบัติธรรมหาความหลุดพ้นในระยะแรกๆ ก็มีความกลัวอยู่บ้าง เพราะกิเลสนั้นขัดเกลาออก จากจิตใจชนิดค่อยขัดค่อยเกลา แต่นานไปความอดทนรู้สภาวธรรมแล้วท่านวางใจจนหมดสิ้น

    ธรรมะ ต้องทุ่มเทชีวิตจิตใจลงไป จึงจะแลกมาได้เป็นของๆตน ความนึกคิดมีอยู่ว่า “ถ้าจะตาย ก็ขอตายในสมาธิ ขอถวายชีวิต”

    ท่านหลวงปู่มหาทองสุก สุจิตโต มีความพากเพียรเป็นเลิศ ท่านไม่ได้ฉันอาหารหลายวัน เพราะเดินหลงป่า บางคราวเบื้องบนก็มาทดสอบจิตบ้างตามธรรมเนียม อย่างที่เรียกว่า “รับน้องใหม่” เดินอยู่กลางป่า เกิดพายุฝน ลูกเห็บ งูพิษ เสือ ช้าง บางครั้งต้นไม้โตๆล้มทับกุฏิโครมเดียวกุฏิแหลกเป็น ชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วท่านต้องยืนเจริญภาวนาท่ามกลางพายุลมฝน อันหนาวสะท้าน

    การติดตาม หลวงปู่มั่น มิใช่ของง่าย เพราะต่างคนต่างเดิน เมื่อไปถึงควรจะได้พบ กลับคว้าน้ําเหลวเพราะท่านได้ออกธุดงค์ไปแล้ว แม้ไม่มีจิตใจที่อดทนศรัทธาจริงแล้ว ย่อมทําไม่ได้อาจเสียผู้เสียคนเพราะหมดสัจจะ

    ท่านพระอาจารย์มหาทองสุก องค์นี้ได้ต่อสู้ทนลําบากลําเค็ญอย่างแสนสาหัส จนที่สุดท่านก็ได้พบกับความเป็นจริง ได้พบกับยอดธรรมขั้นสูง ซึ่งยากที่จะอธิบาย

    นี้แหละบุตรพระตถาคตเจ้าผู้บริสุทธิ์ ท่านได้ขัดเกลา กิเลสออกจากจิตใจได้จนหมดเชื้อ น่ากราบไหว้บูชายิ่ง…!

    ณ บ้านแม่กน ท่านได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับพระคณาจารย์ ถึง ๔ ท่าน คือ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ขาว อาจารย์มนู อาจารย์สาร และอาจารย์มหาทองสุก นับได้ว่าธรรมะในครั้งนั้นเป็นประโยชน์ ต่อมาไม่ขาดสาย
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    ท่านได้ออกแสดงเผยแพร่ธรรมปฏิบัติจนสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน ชาตินักรบยอมตายกลางสนามแม้จะตรากตรําเพียงใดท่านก็ไม่หวั่นไหว เมื่อความตายมาถึงท่านก็ยิ้มรับด้วยจิตใจชื่นบาน เพราะท่านเป็นผู้ชนะกิเลสจนหมดสิ้นแล้ว

    หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตโต ได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๘ เวลา ๐๖.๐๔ นาฬิกา ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ
    ขอบพระคุณที่มา :- https://www.108prageji.com/หลวงปู่มหาทองสุก/
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    พระญวนแก้กรรม จากเรื่องจริง โดยหลวงพ่อจรัญ ชุดกรรมกำหนด Ep.6/13

    Siammelodies
    May 10, 2022
    เล่าเรื่องจริงชุด... กรรมกำหนด โดยหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน EP.6/13 พระญวนแก้กรรม เสียงอ่านโดย อ.วิษณุกร






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2022
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    EP.23 หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ธุดงค์ หุบเสือคลั่ง : คติธรรม 3D ( ศิษย์อาจารย์ยอด )

    คติธรรม 3D
    1,156,905 viewsJul 6, 2021
    หลวงพ่อคูณกำราบหมอผี |โดนคุณไสย | เรื่องเล่าพระธุดงค์

    100 เรื่องเล่า
    หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ. ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นพระหนุ่มได้ออกเดินจาริกธุดงค์กรรมฐาน ครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปพำนักที่ ภูเขาควาย และได้เผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ จนมีชาวบ้านศรัทธาเลื่อมใสต่อท่านเป็นอย่างมาก ทำให้พวกหมอผีในหมู่บ้าน เสียผลประโยชนจึงได้ทำคุณไสย์ใส่ท่าน แต่ก็โดนคุณไสย์กลับคืนเข้าตัว จนต้องมาหาหลวงพ่อให้ช่วย

    เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญรับฟังได้เลยครับ ผิดถูกประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2022
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ลึกลับวัดร้าง สันกำแพง เชียงใหม่

    thamnu onprasert
    106,064 views Jun 3, 2022
    หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป แห่งวัดอรัญญวิเวก แม่แตง ได้เดินธุดงค์ไปพบกับสิ่งลึกลับในวัดร้างเขตอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ๕๘ ปีที่ผ่านพ้นมา

     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ๒๔๘.โปรดผี..ที่เวียงกุนเหง ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    81,842 views Jun 6, 2022
    พระภิกษุหนุ่มจากเมืองไทย เดินธุดงค์จาริกไปโปรดผีบนดอย ริมฝั่งแม่น้ำป๋าง เขตเวียงกุนเหง รัฐฉาน.

     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,333
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ธุดงค์ถ้ำเสือ เทือกเขาภูพาน

    thamnu onprasert
    72,520 views Jun 8, 2022
    เรื่องราวสุดอัศจรรย์ พระภิกษุผู้ทรงฌานรูปหนึ่งสามารถพักปฏิบัติอยู่กับเสือร้ายในถ้ำบนเทือกเขาภูพาน เมื่อ๗๐ปีเศษที่ผ่านพ้นมา พระอริยะเจ้ารูปนั้นคือ"หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ"เจ้าอาวาสรูปแรกแห่งวัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนครในปัจจุบัน สาธุ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...